วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

กลับมาทำไม (น้องน้ำ) ฉันลืมเธอไปหมดแล้ว

ภาพการรายงานข่าวน้ำท่วมในฟรีทีวี กับการอัพเดทข้อมูลในโซเชียลมีเดีย ตลอดจนการรายงานข่าวของภาคประชาชนในนามของเว็บไซต์ ThaiFlood ได้เปิดเว็บไซต์/แฟนเพจ เพื่อรับแจ้ง/รายงานข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์อุทกภัยและภัยอื่นๆ กำลังจะกลับมา เพื่อเป็นอีกช่องทาง/ทางเลือกของสื่อที่ไม่ใช่กระแสหลัก โดยไม่ต้องพึ่งพาการรายงานของทางภาครัฐ ที่ล่าช้าและให้ข้อมูลที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ล่าช้า หรือปกปิดข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนต้องพึ่งพาความช่วยเหลือกันเอง ผ่านสังคมออนไลน์ เครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ก และหน่วยงานของภาครัฐที่กระตือรือร้นที่จะเข้าไปช่วยเหลือทันที โดยไม่ต้องรอรัฐบาลสั่งนั่นก็คือหน่วยงานทหารต่างๆ และไม่น่าเชื่อว่า พอมาปีนี้ สถานการณ์อุทกภัยร้ายแรงในแบบปีที่แล้ว กำลังวนซ้ำกลับมาเกิดขึ้นอีกในปีนี้ ราวกับฉายหนังซ้ำ เรื่องเดิม บทเดิมๆ และตัวละครก็ดูเหมือนจะเป็นตัวเดิมๆ อีกแล้วครับท่าน ถ้าวลีเด็ดของปีที่แล้วคือ "เอาอยู่"  ปีนี้ก็คงจะเป็น "เอาอีก" แล้ว 

• อุตุฯ เตือนฉบับ 1 เกือบทุกภาคฝนตกหนักช่วง 13-17 ก.ย.นี้ [ 12 ก.ย. 2555 ]ประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 12 กันยายน 2555

• ทหารเร่งวางเกเบรียล อุดรูรั่วพนังกั้นน้ำสุโขทัย [ 12 ก.ย. 2555 ]ความคืบหน้าล่าสุด (12 กันยายน) สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเมืองสุโขทัยธานี ขณะนี้ชาวบ้านเผชิญน้ำท่วมเป็นวันที่ 4 แล้ว ซึ่งระดับน้ำยังคงท่วมสูงและขยายเป็นวงกว้าง

• พิจิตรประกาศ 3 อำเภอ เป็นพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วม [ 12 ก.ย. 2555 ]ผวจ.พิจิตร ประกาศ 3 อำเภอ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม นำงบช่วยประชาชน พร้อมสั่งเร่งระบายน้ำ ลงแม่น้ำน่าน

• ปลอดประสพ สั่งตรวจประตูระบายน้ำ 4 จังหวัด [ 12 ก.ย. 2555 ]ปลอดประสพ สั่งตรวจประตูระบายน้ำ และพนังกั้นน้ำ จ.อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ และอยุธยา พร้อมรายงานใน 48 ชม. หวั่นซ้ำรอย จ.สุโขทัย

• มาอีกแล้ว! จดหมายจากน้องน้ำ 2012 (ฮาจนท้องแข็ง) [ 12 ก.ย. 2555 ] หลังจาก "น้องน้ำ" ได้ร่ำลา "พี่กรุง" ไปเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2555 หลายคนก็คงคิดว่า "น้องน้ำ" คงจะไปแล้วไปลับ ไม่กลับมาหา "พี่กรุง" อีกแล้ว

• แฉ! กบอ. โทษพนังเก่าทำท่วมสุโขทัย - จริง ๆ เพิ่งสร้างใหม่ [ 12 ก.ย. 2555 ] วันนี้ (12 กันยายน) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์อุทกภัยในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยยังคงวิกฤต โดยชาวบ้านยังคงเดือดร้อนหนักจากน้ำที่ท่วมสูงในหลายจุด

• ประกาศ! อีสาน-ใต้ 7 จังหวัด เตรียมรับมือน้ำท่วม 12-15 ก.ย.นี้ [ 12 ก.ย. 2555 ]ประกาศเตือน! อีสาน-ใต้ 7 จังหวัด เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 12-15 กันยายนนี้ ด้านกรมอุตุฯ ระบุ ประเทศไทยตอนบนฝนตกชุก ขณะที่ กทม. - ปริมณฑล ฝนตกร้อยละ 60 ของพื้นที่

• พร้อม! ทหารลพบุรีเตรียมอุปกรณ์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม [ 12 ก.ย. 2555 ]ทหารหน่วยรบพิเศษจากลพบุรี กว่า 800 นาย เตรียมความพร้อม และยุทโธปกรณ์ เพื่อออกช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว

• นครสวรรค์เจ้าพระยาน้ำลดแล้ว ตลิ่งทรุด-ถนนพัง [ 12 ก.ย. 2555 ]ขณะนี้ปริมาณแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ลดลงแล้ว แต่ก่อนหน้านี้ส่งผลให้น้ำเซาะตลิ่งพัง ถนนทรุด ขณะที่ทางจังหวัดเร่งก่อสร้างพนังกั้นป้องกันน้ำท่วมเขตเศรษฐกิจเตรียมรับมือน้ำท่วม

• กาชาดขอแรงจิตอาสา บรรจุถุงธารน้ำใจ วันนี้ [ 12 ก.ย. 2555 ]สภากาชาดไทย ขอแรงชาวไทย ช่วยบรรจุถุงธารน้ำใจช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบอุทกภัยอยุธยา ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ในวันนี้

• สุโขทัยวิกฤติ! น้ำท่วมสูง - ขาดแคลนอาหาร [ 12 ก.ย. 2555 ]ความคืบหน้าล่าสุด สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเมืองสุโขทัยธานี ขณะนี้ชาวบ้านเผชิญน้ำท่วมเป็นวันที่ 4 แล้ว ซึ่งระดับน้ำยังคงท่วมสูงและขยายเป็นวงกว้าง

• น้ำวังเอ่อล้นท่วมพื้นที่ของ 3 ตำบล ใน จ.ตาก [ 12 ก.ย. 2555 ]น้ำล้นเขื่อนกิ่วคอหมา ทะลักเข้าแม่น้ำวัง เอ่อล้นท่วมพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล อ.สามเงา จ.ตาก ระดับน้ำสูงกว่า 60 ซ.ม.

• มาแล้ว! น้ำจากสุโขทัยท่วมพิษณุโลก นาจม 6 พันไร่ [ 12 ก.ย. 2555 ]น้ำจากสุโขทัยที่เร่งระบาย เข้าท่วม อ.พรหมพิราม - อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก กว่า 50 - 100 ซม. ทะลักเข้าไร่นาชาวบ้านรวม 6,000 ไร่

ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีและพณฯ ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ บูรณาการระบบน้ำอย่างเบ็ดเสร็จ


นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมการสาธิตการปฏิบัติการ Single Command Center โดยระบุข้อมูลทั้งหมดเรื่องน้ำทั้งเรื่องของการประมวลปริมาณน้ำทั้งหมด การวิเคราะห์ และระบบการสั่งการเกี่ยวกับการเตือนภัยจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลตรงยังทุก หน่วยงานที่มีข้อมูลเรื่องน้ำ เพื่อให้นำไปปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีความเป็นเอกภาพ

วันนี้ (12 มิ.ย.55) เวลา 17.30 น. ณ เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เยี่ยมชมการสาธิตการปฏิบัติการ Single Command Center (SCC) พร้อมรับฟังการบรรยายการบริหาร Flow ของระบบน้ำทั่วประเทศ จากนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.รอยล จิตรดอน ประธานคณะอนุกรรมการติดตามวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำชุดใหม่ เพื่อดูและบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) โดยได้มีการอธิบายขั้นตอนการทำงานของ SCC เริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลสร้างแบบจำลอง เพื่อจัดสร้างเกณฑ์การเตือนภัย การดำเนินการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ โดยศูนย์ปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำ (ศปน.) สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) การจัดทำ Scenario ทางเลือกแต่ละสถานการณ์ คู่มือการปฏิบัติของหน่วยงานแต่ละพื้นที่ ข้อมูลฝน น้ำในลำน้ำ น้ำในเขื่อน ระดับน้ำทะเล ขั้นตอนการดำเนินการเมื่อมีปริมาณฝนมาก โดย สบอช.จะรวบรวมข้อมูลและรายงานเสนอนายกรัฐมนตรีทราบ ฯลฯ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี ได้มีการซักซ้อมการสั่งการ SCC ที่เขื่อนเจ้าพระยาด้วย โดยได้มีการจำลองเหตุการณ์จะต้องมีการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของฝั่งตะวันออกและตะวันตก เนื่องจากขณะนี้ฝั่งตะวันออกเกษตรกรยังไม่พร้อมรับการระบายน้ำเพราะยังเก็บเกี่ยวไม่เสร็จและฝั่งตะวันตกสามารถรับน้ำได้อีกเล็กน้อย นายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการผ่านระบบ Conference ให้กรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำดังกล่าวและเมื่อสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติก็ได้สั่งการให้ปิดประตูระบายน้ำ

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า สิ่งที่ได้ร่วมกันดำเนินการเรื่องน้ำวันนี้มีทั้งเรื่องของการประมวลปริมาณน้ำทั้งหมด การวิเคราะห์ และระบบการสั่งการเกี่ยวกับการเตือนภัย ข้อมูลทั้งหมดจะรวมอยู่ที่ตึกแดงศูนย์ Single Command Center และจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลตรงยังทุกหน่วยงานที่มีข้อมูลเรื่องน้ำและเป็น real time โดยจะนำข้อมูลดิบต่าง ๆ ทั้งหมดมาวิเคราะห์ให้เกิดเอกภาพ เพื่อคณะกรรมการในการระบายน้ำหรือคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ นำไปใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นในทิศทางเดียวกันและมีความเป็นเอกภาพต่อไป

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าภายหลังจากที่ได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการปฏิบัติการของ SCC และข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำแล้วก็มีความรู้สึกสบายใจ รวมถึงสิ่งที่ได้มีการสั่งการและมอบหมายให้ไปดำเนินการก็มีความคืบหน้าและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ขณะเดียวกันขอให้มีการนำภาพถ่ายทางอากาศไปดำเนินการและใช้วิเคราะห์ในส่วนของเขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ในช่วงนี้ด้วย และขอให้กระทรวงคมนาคมดูในเรื่องของถนนที่ขวางเส้นทางน้ำทำให้น้ำไหลได้ไม่สะดวก รวมทั้งขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องเว็บไซต์ P-MOC FLOOD มีการนำข้อมูลที่เกี่ยวกับน้ำ การบริหารจัดการน้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ได้มีการเก็บรวบรวมไว้บันทึกลงในเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและเป็น real time เพื่อจะได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่องของการขุดลอกคูคลองต่าง ๆ ซึ่งหากการดำเนินงานของโครงการหรือหน่วยงานใดยังไม่คืบหน้าจะได้เร่งรัดให้มีการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ความสามารถในการระบายน้ำของคลองและการเชื่อมต่อกันทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นั้นมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งหากสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มารวมไว้บนภาพเดียวกันได้ก็จะทำให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและผู้ที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้สื่อสารประชาสัมพันธ์เป็นภาษาที่ประชาชนเข้าใจได้ง่ายผ่านเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนสามารถนำไปเผยแพร่ต่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันอย่างต่อเนื่อง โดยขอให้ทำเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น อีกทั้ง นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบหมายผู้ที่เกี่ยวข้องแปลงข้อมูลในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำออกมาเป็นภาคปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนมีความสบายใจ และเข้าถึงแหล่งข้อมูล เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับกับสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งตรงนี้หากมีการแจ้งข้อมูลล่วงหน้าได้ก็เป็นสิ่งที่ดี หรือในบางครั้งในกรณีที่เกิดภัยขึ้นอย่างกะทันหัน อย่างน้อยฐานข้อมูลที่ถูกต้องก็จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการอบรมให้เกิดความเข้าใจฐานข้อมูลนี้ในเบื้องต้น เพื่อจะทำให้ทางจังหวัดและท้องถิ่นสามารถที่จะตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ทันทวงทีและถูกต้องแม่นยำต่อไป

ล่าสุด "ปลอดประสพ"  ขอโทษชาวสุโขทัย หลังน้ำท่วมพื้นที่ บอกเป็นเหตุสุดวิสัย แจงน้ำท่วมอยุธยา ไม่เกี่ยวทดสอบระบายน้ำ

นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี ว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย ต้องขอโทษชาวสุโขทัย ที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้สำรวจและซ่อมแซมกำแพงกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำที่เก่าที่ชำรุดโดยด่วน อีกทั้ง ฃให้เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ลงพื้นที่ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนก่อนน้ำจะมาถึง ทั้งนี้ จากการรายงานของกรมชลประทานรายงานว่า ภายใน 1 - 2 วัน น้ำในพื้นที่ จ.สุโขทัย จะลดลง

"นายกฯ บอกว่า จุดไหนที่เป็นจุดเสี่ยง ให้ส่วนหน้าฟ้องเรื่องเข้ามา โดยให้ ปภ. ไปอยู่ก่อนเลย และให้ไปทำงานเชิงรุก ให้ช่วยเหลือเยียวยาก่อนน้ำมา" นายปลอดประสพ กล่าว

อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปฏิเสธว่าการทดสอบระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ไม่ได้ส่งผลกระทบให้น้ำเอ่อเข้าท่วมใน อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้หารือกับเกษตรกรในพื้นที่แล้ว ว่าต้องการเก็บกักน้ำใช้ในการเกษตร จึงไม่ได้เป็นความจริงตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด

วันนี้ (12 กันยายน) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์อุทกภัยในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยยังคงวิกฤต โดยชาวบ้านยังคงเดือดร้อนหนักจากน้ำที่ท่วมสูงในหลายจุด ซึ่งเมื่อวานนี้ (11 กันยายน) คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สาเหตุที่น้ำท่วมจังหวัดสุโขทัยนั้น เป็นเพราะพนังกั้นน้ำในจังหวัดสร้างไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จึงชำรุดทรุดโทรมแล้ว อีกทั้งยังเป็นโครงสร้างแบบที่ไม่มีเสาเข็ม ทำให้ไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำจำนวนมากได้ เป็นเหตุให้น้ำหลากเข้าท่วมในเขตเศรษฐกิจของจังหวัดดังที่ปรากฏ แต่คาดว่า ในจุดอื่น ๆ น้ำจะไม่ท่วมหนักเท่าปีที่ผ่านมา


ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ก็ออกมาระบุสาเหตุของน้ำที่ทะลักเข้าท่วมตัวเมืองสุโขทัยครั้งนี้ว่า เกิดจากปริมาณน้ำเหนือลอดใต้กำแพงกั้นน้ำ ซึ่งเป็นกำแพงเก่าที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2544 อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองสุโขทัย

อย่างไรก็ตาม จากคำชี้แจงดังกล่าวของนายปลอดประสพ ก็ได้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องพนังกั้นน้ำเก่ากันหนาหูในโลกไซเบอร์ หลังจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความและรูปภาพในเฟซบุ๊กส่วนตัว Dr.Tortrakul ว่า "สุโขทัย เอาไม่อยู่ สร้างเขื่อนคอนกรีตริมแม่น้ำใหม่ ๆ กันน้ำได้วันเดียว"

ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จริง ๆ แล้ว พนังกั้นน้ำที่พังดังกล่าวเพิ่งสร้างเสร็จมาใหม่ ๆ แต่กั้นน้ำได้เพียงวันเดียวก็พังลง แต่ กบอ. กลับไปโทษว่า เป็นเพราะพนังกั้นน้ำเก่าทำให้น้ำท่วม ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ชาวไซเบอร์วิพากษ์วิจารณ์กันมากมายถึงความสามารถในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาพูดความจริงเสียที

ข่าวเมื่อตอนช่วงต้นปี บริษัท ทีมกรุ๊ป จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการน้ำของ กทม.ได้รายงานผลการศึกษาไว้ดังนี้
"ทีมกรุ๊ป" เปิดแบบจำลองน้ำท่วมปี 2555 ฟันธง 7 จังหวัดริมเจ้าพระยาตอนล่างอ่วม โดยเฉพาะอยุธยาน้ำจะสูงกว่าเดิม 1 เมตร

ทีมกรุ๊ป เปิดแบบจำลองน้ำท่วมปี 2555 ฟันธง 7 จังหวัดริมเจ้าพระยาตอนล่างอ่วม โดยเฉพาะอยุธยาน้ำจะสูงกว่าเดิม 1 เมตร โดยปัญหาน้ำท่วมยังคงสร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชนในหลายพื้นที่ แม้รัฐบาลจะพยายามออกมาสร้างความมั่นใจในการป้องกันก็ตาม โดยสถานการณ์ล่าสุด บริษัท ทีมกรุ๊ป จัดสัมมนา “รับรู้...สู้ภัยน้ำท่วม” เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น และข้อเสนอแนะในการเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2555

นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการผู้จัดการทีมกรุ๊ป กล่าวว่า หลังจากอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 ซึ่งบริษัททีมกรุ๊ป ได้นำเสนอแนวทางที่จะใช้ป้องกันน้ำท่วมไปยังรัฐบาลรวม 7 แนวทาง โดยมีจุดประสงค์เพื่อตัดน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมตั้งแต่ต้นสาย ซึ่งเป็นสาเหตุน้ำท่วมภาคกลางและกรุงเทพฯ มีความคืบหน้าไปแล้ว โดยพบว่ารัฐบาลได้นำส่วนหนึ่งไปใช้ในโครงสร้างการป้องกันในแผนระยะเร่งด่วนที่ทำไปแล้ว 80-90% โดยเฉพาะการขุดลอกคูคลองการปรับปรุงคันดินกั้นน้ำ แต่ยังมีปัญหาว่ารัฐบาลยังไม่ได้ทำตามที่บริษัทเสนอไปในบางจุดแต่ทำเกินกว่าที่ได้เสนอไป

ดังนั้น จะมีผลทำให้ระดับน้ำยกสูงขึ้นกว่าเดิม เช่น ในพื้นที่ปทุมธานี และนนทบุรี ซึ่งการปรับปรุงคันกั้นน้ำไม่เป็นไปตามที่บริษัทได้เสนอไป ทำให้ปัญหาน้ำท่วมต้องขยายพื้นที่ไปเยอะ และเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณเหนือคลองพระยาบรรลือ และพื้นที่เหนือคลองระพีพัฒน์ คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลอง 13 ที่ทำแนวกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้เข้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ดังนั้น มีข่าวดีว่าในปีนี้จะทำให้น้ำไม่ไหลเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ ปทุมธานี และ จ.นนทบุรี

นายชวลิต กล่าวว่า แต่จากการประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมในปี 2555 โดยใช้แบบจำลองจากปัจจัยปริมาณน้ำเท่ากับปี 2554 ปริมาณเฉลี่ยรายปี ปริมาณน้ำท่า และโครงสร้างการป้องกันที่รัฐบาลทำเพิ่งทำไปแล้ว ทำให้พบว่า ถ้าปริมาณน้ำมากเท่ากับปี 2554 ในปี 2555 น้ำจะท่วมสูงกว่าระดับน้ำท่วมเดิมของปี 2554 โดยเฉพาะในเขตลุ่มเจ้าพระยา ไล่ตั้งแต่พื้นที่ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรีจะยังคงเจอสถานการณ์น้ำท่วมเหมือนปี 2554 เนื่องจากยังไม่สามารถจัดหาพื้นที่แก้มลิง 2 ล้านไร่ทางทุ่งด้านเหนือของ กทม.โดยบางพื้นที่จะมีระดับความรุนแรงจากปริมาณน้ำท่วมที่แย่ลงกว่าเก่า

นายชวลิต ระบุอีกว่า ที่สำคัญพื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ ที่ในปีที่ผ่านมา ไม่ได้ถูกน้ำท่วมก็อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมด้วยเช่นกัน พื้นที่ช่วงระหว่างคลอง 13- อ.บ้านนา อ. องครักษ์ จ.นครนายก ที่จะมีน้ำท่วมเพิ่มอีก 0.70 ซม. รวมทั้ง อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา และเส้นทางบางส่วนของฉะเชิงเทรา เนื่องจากมีการเบี่ยงน้ำออกไปในพื้นที่ดังกล่าว




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น