วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แผนที่แสดงระดับน้ำท่วมในกรุงเทพฯ

แผนที่แสดงระดับน้ำท่วมในกรุงเทพฯ


อ้างอิง :  www.bangkokbiznews.com/home/


แผนที่ของของ"กรมแผนที่ทหาร "ประกอบด้วยข้อมูลจาก 2 หน่วยงาน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำที่กำลังท่วม เป็นข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กับข้อมูลความสูงภูมิประเทศ และข้อมูลแผนที่กรุงเทพฯของกรมแผนที่ทหาร



แผนที่ฉบับนี้เป็นการนำข้อมูลน้ำล่าสุดมาทาบซ้อนกับข้อมูลที่กรมแผนที่ทหารมีอยู่ เพื่อประเมินทิศทางน้ำว่าจะไหลไปทางไหน โดยแบ่งพื้นที่เป็นสีฟ้า สีชมพู และสีเขียวอ่อน โดยสีฟ้าคือพื้นที่น้ำท่วมขัง สีชมพูคือพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และสีเขียวอ่อนคือพื้นที่ที่คาดว่าน้ำจะไม่ท่วม โดยพิจารณาจากทางน้ำไหลประกอบความสูงของภูมิประเทศ เป้าหมายที่ทำออกมาก็เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำไปวิเคราะห์ในเบื้องต้น

โดยในแผนที่นั้น จะบ่งบอกถึงพื้นที่น้ำท่วม แนวคันกั้นน้ำ ถนน ทิศทางมวลน้ำไหลผ่าน และเขตกทม.ที่คาดว่าน้ำจะไม่ท่วมและได้คิดถึงการวาง Bic Bag วางกันมวลน้ำก้อนใหญ่ไว้แล้ว(ดูแผนที่)

จากภาพแรกแผนที่ ถ่ายเมื่อ 29 ต.ค.และปรับปรุงอีกครั้ง 1พ.ย.แสดงให้เห็นว่าน้ำ(สีฟ้า)ได้ล้อมรอบกรุงเทพ โดยเฉพาะในฝั่งตะวันออก ที่ตีโอบเข้ามา ประชิดกับสุวรรณภูมิ...เพียงแต่จะเห็นลำคลอง ที่ขวางกั้นไว้ ซึ่งเป็นระบบที่น่าจะป้องกันได้อย่างดี และที่ผ่านมาก็ได้ว่าระบบคันกั้นน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จึงไม่น่าจะส่งผลอย่างไร ขณะที่ภาพแผนที่ดอนเมือง น้ำได้ท่วมไปแล้ว

อีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือพื้นน้ำอยู่เหนือ กทม.ยังกินบริเวณกว้าง หลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับว่า แนวกั้นต่างๆจะรับมือได้มากน้อยแค่ไหน และระบบการระบายน้ำจะเป็นไปตามที่วางแผนกันหรือไม่

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขานุการคณะทำงานบริหารจัดการน้ำ ได้ชี้แจงกรณีมวลน้ำที่มีการถกเถียงกันว่ายังมีเหลืออยู่เหนือ กทม.มากน้อยแค่ไหน ว่าตั้งแต่สุโขทัยลงมา ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้ำกระจายอยู่ราว 12,000 ล้านลบ.ม. แต่เป็นน้ำหลากตามท้องทุ่งตามปกติที่กักขังเพื่อการเกษตร และน้ำในระบบแม่น้ำลำคลองเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงราว 3,000 ล้านลบ.ม. ที่จะหลากลงมาหา กทม. เท่านั้น ปกติน้ำในระบบทางภาคเหนือลงมาจะมีราว 12,000 ล้านลบ.ม. แต่ปีนี้มีมากถึง 16,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งขณะนี้ได้ระบายลงทะเลแล้วราว 4,000 ล้านลบ.ม. จึงเหลือราว 12,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งเราพยายามจัดการให้ลงทะเลมากที่สุด

มาถึงการประเมินว่ากทม.เขตไหนบ้างจะไม่ท่วม!

แผนที่สีเขียวอ่อน คือสัญลักษณ์เขตที่คาดว่าจะรอดจากน้ำท่วม

ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา...พบว่า เขตบางซื่อ ดินแดง วังทองหลาง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี ปทุมวัน สาธร ห้วยขว้าง วัฒนา สวนหลวง ประเวศ...เขตเหล่านี้รอด

ส่วนเขตที่คาดว่าจะท่วม..ไล่มาตั้งแต่ บางเขน ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม คลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง จตุจักร ลาดพร้าว บึงกุ่ม สะพานสูง คันนายาว บางกะปิ บางนา พระโขนง คลองเตย บางรัก ยานนาวา บางคอแหลม คลองสาน ธนบุรี พระนคร สัมพันธวงศ์ ดุสิต

ซึ่งพิจารณาตามแผนที่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และนิคมอุตสาหกรรมบางชันก็อยู่ในจุดทางน้ำและเสี่ยงน้ำท่วมเช่นกัน ขึ้นอยู่กับมาตรการของแต่ะแห่งแล้วว่าจะแข็งแกร่งมากน้อยแค่ไหน

ด้านฝั่งตะวันตกของเจ้าพระยา...เขตที่คาดว่าจะรอดจากน้ำท่วม ไล่มาตั้งแต่ บางกอกน้อย ภาษีเจริญ จอมทอง บางบอน บางขุนเทียน ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ

ส่วนที่คาดว่าจะท่วม...บางพลัด บางกอกใหญ่ ธนบุรี คลองสาน ตลิ่งชัน บางแค หนองแขม ทวีวัฒนา เป็นต้น

ขณะที่ก่อนหน้านี้ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เปิดเผย ถึงการระบายน้ำท่วมในกทม.นั้นมีเขตที่จะรอดจากน้ำท่วม 19 เขตคือ

1.บางขุนเทียน 2.บางบอน3.ทุ่งครุ4.ราษฎร์บูรณะ5.จอมทอง6. ภาษีเจริญ 7.วัฒนา 8.ดินแดง 9.สาทร 10.ราชเทวี 11.พญาไท 12.ปทุมวัน 13.ป้อมปราบฯ 14.สวนหลวง 15.ประเวศ 16.ห้วยขวาง 17.วังทองหลาง 18.บางซื่อ 19.บางกอกน้อย

"ทีมกรุ๊ป" เตือนภัยฉบับ 3 ระบุสถานการณ์น้ำท่วมภาคกลางยังไม่ดีขึ้น ยังมีน้ำมากกว่า 1.2 หมื่นล้านลบ.ม. เปรียบเท่าเขื่อนภูมิพลอยู่ที่บางไทร ชี้หากไม่สามารถระบายน้ำลงทะเลได้มากกว่าปัจจุบัน พนังกั้นน้ำพื้นที่ต่างๆจะทยอยพัง บวกกับน้ำทะเลหนุนสูง 26 - 31 ต.ค. ยิ่งทำสถานการณ์เลวร้าย ระบุหลัง 15 พ.ย. ระดับน้ำ อ่างทอง อยุธยา สุพรรณบุรี จะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วน บางไทร ปทุมฯ นนท์ นครชัยศรี สมุทรปราการ กรุงเทพฯ ระดับน้ำจะลดลงอย่างช้าๆ


วันนี้ 22 ต.ค. บริษัท TEAM GROUP กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาของคนไทย ที่มีความชำนาญในวิชาชีพด้านการบริหารจัดการน้ำมากว่า 30 ปี ได้เตือนภัยน้ำท่วม ฉบับที่ 3 ระบุว่า สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลางยังไม่ดีขึ้น แม้ระดับน้ำที่อยุธยาจะลดลง 2 ซม. และระดับน้ำที่บางไทรได้เริ่มคงที่ ทั้งนี้จากปริมาณน้ำในทุ่งเจ้าพระยาที่ยังมีมากกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเสมือนมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลอีก 1 อ่าง อยู่ที่บางไทร และปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยา แม้จะลดลงแต่ยังมีปริมาณมากกว่าน้ำที่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ เช่น เมื่อ 21 ต.ค. มีน้ำไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยาวันละ 419 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลทั้งที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน และทางทุ่งและคลองฝั่งตะวันออกรวมทั้งสิ้นได้วันละ 403 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำเหลือสะสมเพิ่มเติมในทุ่งเจ้าพระยาอีกวันละ 16 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงทำให้ระดับน้ำในทุ่งเจ้าพระยาตอนล่างเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ นครชัยศรี บางเลน บางใหญ่ เมืองนนทบุรี ปากเกร็ด ลาดหลุมแก้ว เมืองปทุมธานี คลองหลวง ธัญบุรี สายไหม ลำลูกกา หนองจอก คลองสามวา ลาดกระบัง บางเสาธง และบางบ่อ

หากไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้มากกว่านี้ จะมีผลทำให้พนังกั้นน้ำที่อ่อนแอกว่าพังลง น้ำจะไหลพุ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น และพนังกั้นน้ำที่ไม่แข็งแรงหรือความสูงไม่เพียงพอ ก็จะพังลงเรื่อยๆ ตามลำดับ นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.นี้เป็นต้นไป น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไปหนุนสูงสุดในวันที่ 31 ต.ค. ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ อยู่ที่ +2.45 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง ซึ่งจะมีผลเสริมทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำและมีคลองเชื่อมโยงกับแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีน หลังจากนั้นระดับน้ำจะทรงตัว และจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ จนถึงหลังวันที่ 15 พ.ย.ไปแล้ว ระดับน้ำในพื้นที่ อ่างทอง อยุธยา สุพรรณบุรี จึงจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในพื้นที่ บางไทร ปทุมธานี นนทบุรี นครชัยศรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ระดับน้ำจะลดลงอย่างช้าๆ

ดังนั้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่น้ำจะท่วม (ดูจากเตือนภัยน้ำท่วมฉบับที่ 1) จะต้องเสริมความแข็งแรงให้พนังกั้นน้ำต่างๆ และเสริมเพิ่มความสูงให้เพียงพอ และให้คงทนอยู่ได้ถึงหลังวันที่ 15 พ.ย. ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูง โรงงาน และนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องป้องกันน้ำท่วมเป็นพิเศษที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และฝั่งตะวันออกของถนนบางพลี-บางตำหรุ ควรเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำให้มั่นคง และให้มีระดับความสูงไม่น้อยกว่า +3.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง

แผนที่แสดงระดับความเสี่ยง และระดับน้ำท่วม ของพื้นที่ต่างๆ แสดงไว้ในรูปที่แนบท้ายนี้






อ้างอิง : ข้อมูลจาก
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000135063

บริษัททีมกรุ๊ป ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4 ล่าสุด ลงวันที่ 27 ต.ค.ได้เตือนถึงความรุนแรงของน้ำท่วมและการเตรียมพร้อมรับมือ ระบุว่า...


สถานการณ์น้าท่วมยังไม่ดีขึ้น แม้ปริมาณน้ำไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยาจะลดลงจนน้อยกว่าปริมาณน้ำที่ระบายลงสู่ทะเลแล้ว แต่ปริมาณน้ำในทุ่งดังกล่าวยังมีมากกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน ในการระบายน้ำออกสู่ทะเล หากไม่สามารถเพิ่มช่องทางการระบายน้าลงสู่ทะเลให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบันได้

2. พนังกั้นน้ำบนคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ด้านตะวันตกของประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ยังรั่วอยู่ และพนังกั้นน้ำบนคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ใกล้ตลาดรังสิตยังมีน้ำไหลล้นจานวนมาก ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้คลองเปรมประชากร คลองประปา ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน และผู้ที่อยู่สะพานใหม่ บางบัว บางเขน เกษตร ลาดพร้าว โชคชัยสี่ สายไหม เฉพาะที่อยู่ในที่ลุ่มใกล้คลองถนน คลองบางบัว คลองลาดพร้าว และคลองสาขาที่เคยเกิดน้ำท่วมขัง ให้เก็บของขึ้นที่สูง ระดับน้ำท่วมจะทรงตัวอยู่จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน

3. ผู้ที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือคลองบางกอกน้อย และเหนือทางรถไฟสายใต้และบริเวณด้านตะวันออกของคลองบางกอกใหญ่ และผู้ที่อยู่ในอาเภอพุทธมณฑล นครชัยศรี สามพราน กระทุ่มแบน และเมืองสมุทรสาคร ที่อยู่ในบริเวณด้านตะวันตกของถนนพุทธมณฑลสาย 4 และถนนสาย 3310 รวมถึงผู้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำท่าจีน คลองมหาชัย คลองสนามชัย คลองจินดา คลองดาเนินสะดวก และคลองสุนัขหอน ที่อยู่ทางตะวันออก ของถนนสาย 3097 ขอให้ย้ายของขึ้นที่สูงมากกว่า 1.5 เมตร และให้เอารถไปจอดไว้ที่สูง ระดับน้ำจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงหลังวันที่ 5 พฤศจิกายน แล้วทรงตัวอยู่ถึงกลางเดือนพฤศจิกายน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มลดลง   น้ำทะเลจะหนุนสูงอีก 15 ซ.ม.

4. ผู้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 15 ซ.ม. พนังกั้นน้ำมีโอกาสจะพัง จะทาให้น้ำไหลเข้าท่วมแรงและเร็วมาก ขอให้เพิ่มความแข็งแรงและเสริมคันกั้นน้ำให้สูงขึ้น และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ป้องกันไม่ให้พนังกั้นน้ำพัง ให้ระวังจนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ส่วนพื้นที่อื่นๆ น้ำจะทรงอยู่จนถึง 15 พฤศจิกายน 2554 ขอให้ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

5. พื้นที่ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ที่จะถูกน้ำท่วม เพิ่มเติมจาก TEAM Group เตือนภัยน้ำท่วม ฉบับก่อนนี้ ได้แก่

5.1 พื้นที่ด้านเหนือของถนนบรมราชชนนี จากคลองบางกอกน้อย ถึงถนนวงแหวนรอบนอก

5.2 พื้นที่ด้านตะวันออกของคลองบางกอกใหญ่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

5.3 พื้นที่เหนือถนนแจ้งวัฒนะทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ด้านเหนือถนนสรงประภา เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการท่วมฉับพลัน น้ำไหลแรงและเร็ว หากมีการพังของพนังกั้นน้ำบนคลองรังสิตประยูรศักดิ์ บริเวณด้านตะวันตกของประตูน้ำจุฬาลงกรณ์

5.4 พื้นที่เหนือถนนงามวงศ์วานทั้งหมด

5.5 พื้นที่เหนือคลองบางเขนทั้งหมดและพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับคลองบางเขน

5.6 พื้นที่เหนือคลองบางซื่อตั้งแต่คลองเปรมประชากร ถึงคลองลาดพร้าว และพื้นที่ใกล้คลองลาดพร้าวและคลองสาขา

5.7 พื้นที่เหนือถนนรามอินทราทั้งหมดจากที่ทำการเขตบางเขนไปจนถึงเขตมีนบุรี รวมถึงพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอกที่อยู่เหนือคลองแสนแสบ

6. การเตรียมการรับสถานการณ์น้ำท่วม ขอให้ทุกท่านร่วมกันปฏิบัติดังนี้

6.1 ตรวจตราพนังกั้นน้ำในแต่ละพื้นที่ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และให้มีระดับเพียงพอ ที่จะกั้นน้ำได้ หากพบรอยรั่วให้ช่วยกันวางกระสอบทรายซ่อมแซม หรือพบว่ามีน้ำรั่วลอดใต้พนังกั้นน้ำให้ใช้กระสอบทรายกั้นเป็นคอกล้อมไว้ โดยให้กระสอบทรายมีระดับสูงกว่าระดับน้ำขอให้จัดเวรยามคอยตรวจตรา เฝ้าระวังพนังกั้นน้ำอย่างเข้มแข็งอย่างน้อย จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554

6.2 ขอให้ดูแลระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ไม่ให้ถูกน้ำท่วม ขอให้สร้างพนังกั้นน้ำที่แข็งแรง และสูงเพียงพอกั้นล้อมรอบอุปกรณ์ที่สาคัญ รวมทั้งระบบไฟสารอง ที่อยู่ในระดับต่า และ จัดเวรยามดูแลอย่างใกล้ชิด

6.3 ขอให้แต่ละชุมชนจัดเวรยามผลัดเปลี่ยนดูแลทรัพย์สินของแต่ละชุมชน อย่าให้มีการลักขโมยทรัพย์สิน

6.4 ขอให้เตรียมยาอย่างน้อยตามที่ นพ.พรชัย มูลพฤกษ์ ได้แนะนำมาดังนี้

(1) ยารักษาโรคที่ใช้ประจำ

(2) ยาสามัญประจาบ้าน เช่น Paracetamol เกลือแร่

(3) ยาทาแผล Betadine solution

(4) พลาสเตอร์ปิดแผล

6.5 ขอให้ระวังสัตว์มีพิษต่างๆ เช่น งู ตะขาบ เป็นต้นที่อาจจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน

6.6 สำรองอาหาร และน้ำดื่มให้เพียงพอ ประมาณ 3 วัน

7. รายละเอียดระดับความสูงของพื้นที่ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.teamgroup.co.th และ www.facebook.com/TEAMGroupConsulting และขอให้ติดตามข้อมูลต่างๆ อย่างสม่าเสมอ

8. ในส่วนของน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่เมื่อใด ระดับเท่าใด ขอให้รับฟังประกาศของทางราชการ และติดตามข่าว SMS เตือนภัยจากพนักงานของกลุ่มบริษัททีม (TEAM GROUP) อย่างใกล้ชิด

ขยายดูพื้นที่เสี่ยง..

http://depot12.tempf.com/file/4b3943387b3cda2f50e1f6b82e8e8cf9/4ea913f0/dev3/0/001/699/0001699978.fid/public4ea8e757350c71085220?image/jpeg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น