วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Renovate ,Re-Branding, Re-Positioning ศูนย์การค้า ตอนที่ 1


ภาพลักษณ์กรุงเทพฯ เมืองหลวงแห่งย่านช็อปปิ้งและศูนย์การค้า



การเพิ่มขึ้นของประชากรในกรุงเทพฯ ซึ่งเกิดจากการอพยพเข้ามาของประชากรจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง หรือการเพิ่มขึ้นของชาวต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยว ถูกส่งมาทำงาน หรือหลบหนีมาอาศัยทำมาหากินในประเทศไทย ทั้งหลายเหล่านี้คือที่มาที่ทำให้เกิดการขยายตัวของจำนวนประชากรในกรุงเทพฯ ซึ่งรวมถึงจังหวัดบริวารของกรุงเทพฯ รอบๆ ด้วย (ได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ธนบุรี) ทำให้กรุงเทพฯ ติดอันดับมหานครที่แออัดและมีประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกเหนือจากนี้กรุงเทพฯ ยังถูกจัดอันดับเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวที่สุดในโลก จากการจัดอันดับและผลโหวตล่าสุดของสมาชิกนิตยสาร เทรเวล แอนด์ เลชเชอร์ (Travel & Leisure) นิตยสารด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสหรัฐอเมริกา ปีล่าสุด และเคยได้รับรางวัลนี้มาแล้วถึง 3 ปีซ้อน กรุงเทพฯ เป็นมหานครที่มีความเป็นวาไรตี้มากที่สุด คือมีทุกอย่างครบครัน ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย มีย่านการค้าที่ทันสมัย มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเริงรมย์ สถานบันเทิงในแบบสถานโลกีย์กลางคืน เป็นศูนย์กลางด้านการรักษาพยาบาล มีโรงพยาบาลที่ทันสมัย มีสถานที่จัดประชุม สัมมนา พื้นที่จัดแสดงสินค้ามากมายใหญ่โต หลายแห่ง มีโรงมหรสพชั้นดี เช่น โรงภาพยนตร์ทันสมัย โรงละครขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน มีสวนสนุกขนาดใหญ่ สวนน้ำ หรือสวนสัตว์ขนาดใหญ่ มีแหล่งที่พักอาศัยชั้นดี ประเภทโรงแรม 5-6 ดาว จำนวนมาก,มีเซอร์วิสอพาร์ตเม้นท์ คอนโดมิเนียมที่พักอาศัยชั้นดี มีร้านอาหารชั้นดี แหล่งช็อปปิ้งตั้งแต่ระดับไฮเอ็นด์จนถึงตลาดสดติดแอร์ มีระบบการธนาคารดีเยี่ยม สถาบันการเงินชั้นนำ มีตลาดหุ้นทันสมัย เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ส่งออก จึงเป็นประเทศที่มีรถยนต์ใหม่ป้ายแดง ขับเล่นกันเกลื่อนเมืองรวมถึงรถยนต์หรูหราราคาแพง มีสถานศึกษา มหาวิทยาลัยชั้นดีมากมาย รวมถึงเป็นเมืองหลวงที่มีห้างสรรพสินค้า โมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ หรือศูนย์การค้าทันสมัยผุดขึ้นมากมายราวกับดอกเห็ด มีแทบจะทุกมุมเมือง เป็นแหล่งช็อปปิ้งที่มีสินค้าตั้งแต่แบรนด์เนมระดับโลกจนถึงสินค้าแบกะดิน หรือสินค้าก็อปปี้ สินค้าจีน ฯลฯ

ไม่รู้ว่าไก่กับไข่อะไรมาก่อนกัน ระหว่างความเป็นวาไรตี้ของกรุงเทพฯ จึงดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาสู่มหานครแห่งนี้ หรือการเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีจำนวนมากนำมาซึ่งกำลังซื้อมหาศาล จึงเป็นแรงดึงดูดของทุกธุรกิจ ทุกชนิดสินค้าหรือบริการ ใช้กรุงเทพฯเป็นตลาดสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิกาคแห่งนี้ ที่เกริ่นมาทั้งหมดก็เพื่อที่จะนำเสนอความเป็นมหานครของกรุงเทพฯ ที่มีย่านช็อปปิ้งหรือศูนย์การค้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความคึกคักอย่างมาก และกิจกรรมทางการค้าสูงตามจำนวนประชากรที่มีอยู่

ศาสตร์ของฮวงจุ้ยได้ถูกนำมาใช้ในการวางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับตัวสถานที่ตั้งของย่านการค้าและศูนย์การค้าด้วย ซึ่งความเชื่อของฮวงจุ้ยที่มีที่มาจากประเทศจีนนั้น เชื่อว่าถ้ามีการจัดวางฮวงจุ้ยดี ปริมาณเงินและการค้าบริเวณนั้นย่อมดีตามไปด้วย และถ้าจะจัดอันดับย่านการค้าที่มีกำลังซื้อสูงหรือเป็น prime area ที่สำคัญที่สุดของกรุงเทพฯ คงต้องยกให้ย่านนับตั้งแต่สี่แยกปทุมวัน ผ่านไปทางสี่แยกราชประสงค์ ไปจนจรดสี่แยกเพลินจิต ที่ปัจจุบันเรียกบริเวณตรงนั้นว่าช็อปปิ้งสตรีทของกรุงเทพฯนั่นเอง คล้ายๆ ถนนนาธานของฮ่องกง หรือถนนออร์ชาร์ดของสิงคโปร์ บนถนนพระราม 1 จรดถนนเพลินจิตตลอดแนวถนนเป็นบริเวณที่ตั้งของศูนย์การค้าขนาดใหญ่และทันสมัยจำนวนมาก อาทิ มาบุญครอง สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ สยามพาราก้อน เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า เกสรพลาซ่า อัมรินทร์พลาซ่า เซ็นทรัลชิดลม และที่กำลังจะเปิดตัวในอีก 2 ปีข้างหน้าก็คือเซ็นทรัลเอ็มบาสซี่ ตรงสี่แยกราชประสงค์เป็นแหล่งของทวยเทพมากมายของฮินดู จึงทำให้ย่านนั้นนอกจากเป็นย่านการค้าแล้วยังเป็นย่านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปด้วยในตัว มีผู้คนไปสักการบูชากราบไหว้เทพต่างๆ ที่เคารพกัน นอกจากนี้ยังเป็นย่านที่มีโรงแรม ออฟฟิซบิลดิ้ง และคอนโดระดับ 5 ดาว อยู่เป็นจำนวนมากด้วย ในอนาคตย่านการค้าที่จะมีศักยภาพในระดับเดียวกับย่านราชประสงค์เพลินจิต ยังขยายตัวไปในหลายปริมณฑล หรือทุกมุมเมือง อาทิ ย่านการค้าแถบบางนา ย่านการค้าแถบงามวงศ์วานและศูนย์ราชการ ย่านการค้าแถบถนนรัชดาห้วยขวางพระราม 9 ย่านการค้าแถบฝั่งธนปิ่นเกล้า ย่านการค้าแถบพระราม 2 ย่านการค้าแถบรังสิต ย่านการค้าแถบสุขุมวิท เป็นต้น

กลยุทธ์ Renovate สถานที่,การ Re-Branding, Re-Positioning

ในช่วง 5-6 ปีมานี้รวมถึงที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า สมรภูมิรบทางด้านห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า moderntrade ,convenience store จะร้อนระอุอย่างรุนแรงทีเดียว เพราะร่องรอยของการต่อสู้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง การก้าวเข้ามาของห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าแห่งใหม่ในแต่ละพื้นที่สร้างผลสั่นสะเทือนต่อคู่แข่งที่มีอยู่เดิม ทำให้ต้องปรับตัวหรือตั้งรับที่จะปกป้องฐานลูกค้าของตนเอาไว้ให้ได้ ไม่ให้ถูกช่วงชิงไปจากคู่แข่งผู้มาใหม่จำนวนมาก กรณีของห้างมาบุญครอง เป็นต้นแบบของการ Renovate ห้างตัวเองจนประสบความสำเร็จมาแล้ว เมื่อตอนที่ห้างสยามดิสคัฟเวอรี่ กับสยามพาราก้อนกำลังจะมาเปิดใกล้ๆ ห้างของตัวเอง เกิดการ Renovate กันขนานใหญ่ของห้างสรรพสินค้าบริเวณนั้น รวมไปถึง การ Renovate ห้างเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ตรงสี่แยกราชประสงคของกลุ่มเซ็นทรัล จนเปลี่ยนเป็นห้างใหม่ที่ชื่อว่า เซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงการ Renovate ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลมใหม่ เมื่อตอนที่ห้างเอ็มโพเรี่ยม มาเปิดใหม่ๆ ทั้งที่ตัว area อยู่ไกลกันพอสมควร แต่เนื่องจากจับลูกค้ากลุ่มเดียวกัน และตัวสถานที่ถือว่าไม่ไกลกันมาก คือห่างกันแค่ 4 สถานีรถไฟฟ้าเท่านั้น , การมาของห้างเซ็นทรัลพลาซ่าสาขารัตนาธิเบศร์ กับเซ็นทรัลงามวงศ์วาน ถึงกับทำให้เดอะมอลล์งามวงศ์วาน ต้อง Renovate ห้างตัวเองใหม่หมด ,การมาของ Mega bangna และ อี้อู แฟคตอรี่เซ็นเตอร์ หรืออี้อูโมเดล ก็ทำให้เซ็นทรัลบางนา และ อินเด็กลิฟวิ่งมอลล์ สาขาบางนา ต้องปรับตัวกันขนานใหญ่เพื่อตั้งรับการรุกคืบของห้างใหญ่ที่รุกเข้ามาใหม่ , การเปิดตัวของ Paradise Park ที่เกิดจากการ Renovate ห้างเสรีเซ็นเตอร์เดิม ก็สร้างความสั่นสะเทือนให้ซีคอนสแควร์ จนต้องมีการปรับปรุงห้างบางส่วน จัดอีเว้นท์มาร์เก็ตติ้งเพิ่มขึ้น

บริเวณสมรภูมิย่านการค้าประตูน้ำเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างที่น่าสนใจ ที่มีทั้งห้างที่กำลังเปิดใหม่ เลยก็คือ platinum phrase 2 ห้างที่เปิดใหม่ภายหลัง Renovate อย่างบิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ราชดำริ zen ใหม่ภายใต้เซ็นทรัลเวิลด์ ประตูน้ำเซ็นเตอร์ภายหลัง Renovate ใหม่ และที่กำลังก่อสร้างอยู่อีกหลายโครงการบริเวณนั้น ทำให้ห้างเก่าอย่าง pantip plaza เดิมที่ไม่เคยเดือดร้อนเลย กับสภาพการแข่งขันบริเวณนั้น อาจต้องถึงเวลา Renovate ห้างของตนเองแล้ว เพราะด้วยตัวอาคารที่เก่า สถานที่จอดรถไม่เพียงพอ แม้ว่าจะ position ตัวเองเป็น IT center ซึ่งบริเวณนั้นไม่มีคู่แข่งโดยตรงก็ตาม แต่ในอนาคตหากไม่ปรับปรุงสถานที่ก็อาจถูกแย่งกำลังซื้อทางอ้อมให้กับห้างสรรพสินค้าต่างๆ บริเวณนั้นจำนวนมาก ยังมีพื้นที่ว่างบริเวณสวนลุมไนท์บาซาร์เดิมหรือโรงเรียนเตรียมทหารเดิม ก็กำลังรอกลุ่มเซ็นทรัลเข้ามาพัฒนาเป็นศูนย์การค้าแห่งใหม่อีก

การกลับมาด้วยรูปโฉมไฉไลใหม่ของเซ็นทรัลลาดพร้าวภายหลัง Renovate ใหม่ทั้งหมดย่อมยังผลสะเทือนไปถึงศูนย์การค้าใกล้เคียงบริเวณนั้นทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น jj mall , union mall ,บิ๊กซีลาดพร้าว รวมถึงเดอะมอลล์บางกะปิ ซึ่งก็มีการ renovate ด้วยเช่นกัน เพราะถือเป็นสมรภูมิรบเดียวกัน  จับตากลุ่มทุนเบียร์ช้างหรือคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่แอบสะสมพื้นที่ทำเลทองจำนวนมากหรือไปซื้อห้างเก่าในอดีตไว้มากมาย เช่น บางลำภู พาต้า เมอร์รี่คิงส์ ทั้งในส่วนฝั่งธน และบริเวณพระนครจำนวนมาก รวมถึงล่าสุดซื้อร้านหนังสือในเครือ asia book รอวัน Renovate เป็นห้างใหม่หรือ outlet และที่ทำไปแล้วคือ พันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน และ Digital Gateway ตรงบริเวณสยามเซ็นเตอร์พ้อยท์เดิม ซึ่งทำเป็น IT mall ซึ่งอนาคตก็เป็นอีกกลุ่มทุนนึงที่มีศักยภาพในการทำห้างค้าปลีก อีกกลุ่มทุนนึงที่กำลังกระโดดลงมาในเวทีค้าปลีกอีกเจ้านึงก็คือกลุ่มอัศวโภคิน ที่ทำห้าง Home Pro เดิม เปิดตัวห้างใหม่ Terminal 21 บริเวณอโศก ที่น่าจับตา ทำให้ห้างดิเอ็มเรี่ยมของกลุ่มเดอะมอลล์ต้องมีการขยับขยาย เพื่อต้อนรับสมรภูมิการค้าอันดุเดือดบนถนนสุขุมวิท

คำว่า  Renovate หมายถึง การซ่อมแซม ปรับปรุง ต่อเติม บูรณะ ปฏิสังขรณ์ ทำใหม่ให้มีชีวิตชีวา พัฒนาให้ดีขึ้น
กลยุทธ์การ Renovate จะทำต่อเมื่อ

-มีคู่แข่งรายใหม่ที่ใหญ่กว่ามาเปิดตัว แย่งชิงพื้นที่ แย่งชิงลูกค้า ในปริมณฑลเดียวกันกับเรา

-ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ บรรยากาศของตัวสถานที่ สร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ หรือประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้า บางครั้งอาจทำไปพร้อมๆ กับการ Re-Branding เช่น กรณีของห้างตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี ภายหลัง Renovate ห้างใหม่ ก็เปลี่ยนชื่อห้างเป็น T-Square เลย เน้นลูกค้าที่มีกำลังซื้อในย่านนั้น

-ต้องการปรับเปลี่ยนฐานลูกค้าเป็นกลุ่มใหม่ หรือโฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น ที่เรียกว่า Re-Positioning เช่น กรณีของการ Renovate,Re-Branding,Re-Positoning จากเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์มาเป็น เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ๋า เป็นการเปลี่ยนแบบไม่เหลือสภาพเดิมและยกระดับ upgrade ขึ้นไปเลย หรืออย่างกรณี Paradise Park เปลี่ยนจากห้างเสรีเซ็นเตอร์เดิมก็ใช่

ยังมีอีก 2 กระแสที่น่าจับตามองของรูปแบบย่านการค้าที่กำลังปรับตัวขนานใหญ่ นั่นก็คือ 1 กระแส moderntrade ทันทีที่บิ๊กซีไปเทคโอเวอร์คาร์ฟูร์มาได้สำเร็จ จนทำให้ขนาดของธุรกิจไปใกล้เคียงกับคู่แข่งเบอร์ 1 อย่างเทสโก้โลตัส ก็เกิดการสัปประยุทธ์ด้านสงครามโปรโมชั่นต่อกันอย่างไม่มีใครยอมแพ้ จนเป็นคดีฟ้องร้องกันขึ้น การรุกเงียบของร้าน 7-11 ขยายตัวอย่างมากและต่อเนื่อง ทำให้ทั้งเทสโก้โลตัสและท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ตต้องกระโดดลงมาในสมรภูมิ convenience store ด้วย โดยมาในรูปแบบย่อขนาดลงมาเป็นขนาดมินิ ที่เรียกว่า โลตัสเอ็กซ์เพรส ในขณะที่บิ๊กซีกับกระโดดไปในไลน์บนคือจะไปทำsuperstore แบบ wholesales หรือขายส่งแข่งกับ Makro ใช้ชื่อบิ๊กซีจัมโบ้ ดังนั้นสมรภูมินี้จึงกลายเป็นช้างชนช้าง ในแบบ กลาง ล่าง บน ใครขยับไปทางไหนเป็นต้องฟันกันเลือดสาด ส่วนกระแสที่ 2 แม้เป็นกระแสใหม่ที่ไม่ใช่กระแสหลักเหมือนอย่าง ห้างหรือ convenience store แต่กำลังจะเป็นกระแสของอนาคต และในอนาคตก็อาจทำให้รายใหญ่กระโดดลงมาร่วมวงโคจรมากขึ้น นั่นคือ Community Mall ถ้าจะอธิบายแบบง่ายๆ และเข้าใจก็คือ เป็นพลาซ่าแบบเปิด เป็น open air มีกิจกรรมสันทนาการร่วมกันของชุมชน อาทิ เช่น J avenue, play ground ทองหล่อ , la Villa วิลล่ามาร์เก็ตเพลส ปากซอยอารีย์ พหลโยธิน,  ,trendy place หัวหิน และที่อื่นๆ โดยต้นตำรับซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ก็คือสยามฟิวเจอร์ดิเวลล็อปเม้นท์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็ก ซึ่งนับวันก็จะมีการเปิดในหลายๆพื้นที่ทุกมุมเมืองมากขึ้น เป็นย่านการค้าแนวอินดี้ ไม่ยึดติดกับรูปแบบมากนัก และก็มีพื้นที่ให้สันทนาการใกล้บ้าน และก็ไม่แออัด จัดเป็นห้างนอกกรอบที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนดีไซน์ได้ตาม area แต่จับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงเป็นหลักเฉพาะย่านนั้นๆ

ข่าวการเปิดตัวคอมมูนิตี้มอลล์แห่งใหม่ถึง 4 แห่ง เมื่อไม่นานมานี้

มร. ปรับ ทักราล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทบูทิค ผู้พัฒนาโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์แบรนด์ "เรนฮิลล์" ทำเลหัวมุมสุขุมวิท ซอยสุขุมวิท 47 เปิดเผยว่า โครงการเรนฮิลล์ออกแบบเป็นอาคาร 5 ชั้นมีพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร ทำเลตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างสถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์และทองหล่อ โดยเรนฮิลล์เป็นคอมมิวนิตี้มอลล์เพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท อยู่ระหว่างหัวมุมถนนสุขุมวิทและซอยสุขุมวิท 47 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ที่อาศัยในย่านสุขุมวิท รวมถึงชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชุมชนชาวญี่ปุ่นที่พำนักในไทย  ล่าสุด บริษัทได้จัดพิธีลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการร่วมกับผู้เช่าพื้นที่ชั้นนำกว่า 25 ราย ตอกย้ำความเป็นคอมมิวนิตี้มอลล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมแล้วที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในปลายปีนี้
“การเข้าร่วมในโครงการเรนฮิลล์ของพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นร้านค้าแบรนด์ดังๆ อาทิ โอ บอง แปง, ด็อท ไลฟ์, แม็กซ์แวลู ทันใจ, ไวน์ คอนเน็คชั่น เดลิ แอนด์ บิสโทร, โทราจิโร่, อิน เดอะ มู้ด ฟอร์ เลิฟ, เพนกวิน ไลค์ส ช็อกโกแลต, สวีท อิท ทิส, ส้มตำดอกรัก, ฮ่องกงคิทเช่น, พริมาดา, อาย ไบร์ท บาย ท้อปเจริญ, ยานกี แคนเดิล, คาสะ, เอเอสเอพี, พาร์, ดีล สแตน บาย หมี่, ฮิมแอนด์เฮอ, เนลแคร์, เบบี้ส์ จีเนียส, เฮาส์ ออฟ สลัด, คาซ่า เดอร์มา และไทย ฟอร์ คิดส์ ทำให้โครงการเรนฮิลล์กลายเป็นไลฟ์สไตล์ คอมมิวนิตี้มอลล์ ที่รวมร้านค้าหลากรูปแบบ"
โครงการเรนฮิลล์ ครอบคลุมพื้นที่ห้าชั้น มีร้านค้าให้บริการ แบ่งออกเป็น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 37% สถาบันการศึกษา 21% ร้านค้าเพื่อสุขภาพและความสวยงาม 14% ร้านกาแฟและเบเกอรี่ 7% ซุปเปอร์มาร์เก็ต 5% แฟชั่น 10% และร้านค้าปลีกทั่วไป 6% ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ให้เช่าขนาดประมาณ 4,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยร้านค้ารวมทั้งสิ้น 40 ยูนิต โดยจะเปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00-22.00น. โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการภายในเรนฮิลล์เฉลี่ย 3,000 คน ต่อวัน (สำหรับจันทร์ถึงศุกร์) และ 5,000 คนต่อวัน (สำหรับเสาร์-อาทิตย์) แต่ละชั้นของอาคารได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นสัดส่วน โดยแบ่งเป็น ชั้น 1 จะเป็นโซนร้านกาแฟ เบเกอรี่ และไลฟ์สไตล์ทั่วไป ชั้น 2 เป็นโซนร้านเสื้อผ้า แฟชั่น เครื่องประดับ และร้านอาหาร ชั้น 3 เป็นโซนร้านอาหาร สุขภาพและความงาม ชั้น 4 เป็นโซนเพื่อการศึกษา และชั้น 5 จะเป็นอพาร์ตเม้นท์ให้เช่า และชั้น B1 และ B2 จะเป็นที่จอดรถ
นอกจากนี้ ตัวอาคารยังได้รับการออกแบบมาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามปณิธานของเรนฮิลล์ตั้งแต่ริเริ่มแนวความคิด ทั้งการใช้พลังงานแบบรีไซเคิล เพื่อประหยัดพลังงาน พร้อมกับระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำระบายความร้อน ซึ่งเป็นการลดมลภาวะทางความร้อนทางหนึ่ง ทั้งนี้แนวความคิดนี้จะถูกส่งต่อไปยังร้านค้าที่จะเข้ามายังเปิดภายในโครงการ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สังคมที่ใส่ใจรายละเอียดแก่ส่วนรวมร่วมกัน
มร.ปรับกล่าวด้วยว่า ปัจจุบัน กลุ่มบริษัทบูทิคมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ภายใต้การบริหารอยู่จำนวน 8 แห่ง เป็นโครงการที่แล้วเสร็จ 6 แห่ง ภายใต้แบรนด์ Citadines และ Oakwood และอยู่ระหว่างดำเนินการ 2 แห่ง โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ 6 แห่ง มีจำนวน 715 ห้อง ซึ่งบริษัทฯ มีแผนจะขยายขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องในอีก 3 ถึง 5 ปีข้างหน้า ล่าสุด เราหันมาสนใจกลุ่มธุรกิจศูนย์รวมร้านค้า ด้วยการเปิดตัว เรนฮิลล์ ด้วยเงินลงทุนกว่า 300-400 ล้านบาท

The Nine พระราม 9 ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์แห่งใหม่

และแล้ว คอมมิวนีตี้มอลล์แห่งใหม่ ในย่านพระราม 9 ก็เปิดตัวขึ้นแล้ว ภายใต้ชื่อ The Nine Neighborhood Center หรือเรียกกันง่ายๆ ติดปากว่า The Nine พระราม 9 ด้วยกระแสของการรวมร้านกิน ร้านช๊อปมากมาย มาไว้ในพื้นที่กว้างใหญ่ และตกแต่งด้วยดีไซน์เก๋ๆ กำลังมาแรง ยกตัวอย่างเช่นโครงการ CDC ในเส้นเลียบทางด่วน หรือ The Circle ในย่านราชพฤกษ์ จึงทำให้กระแสการสร้างคอมมิวนีตี้มอลล์เติบโตตามไปด้วย และ น่าจะผุดขึ้นมาอีกหลายเส้นในอนาคตอันใกล้นี้
ภายใต้บรรยากาศทันสมัย สถาปัตยกรรมที่ได้รับการออกแบบ ภายใต้แนวคิด Tropical Village ที่ผสมผสานกันระหว่าง ความสถาปัตยกรรมที่มีมิติ และ ธรรมชาติ จึงทำให้สดชื่น และนำสมัย มีชีวิตชีวา เหมาะเป็นศูนย์รวมของการใช้ชีวิตในรูปแบบต่างๆ

โครงการ The Nine ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 14 ไร่ ที่สามารถเข้าออกได้หลายทาง อย่าง ทางด่วนพระรามเก้า ถนนพระรามเก้า ถนนรามคำแหง ถนนพัฒนาการ ถนนศรีนครินทร์ และโครงการยังอยู่ในแนว ของAirport Rail Link ที่จะเปิดดำเนินการในอนาคต

โครงการ The Nine แบ่งโซนทั้งหมดออกมาดังนี้
Zoning Concept
• Supermarket & Fresh Market
• Restaurant and Quick Service Restaurant Zone
• Community lifestyle Zone
• Lifestyle Café, Coffee Shop & Bakery Zone
• Lifestyle Service & Shopping Zone
• Edutainment Zone

บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA ทุ่มงบลงทุนกว่า 500 ล้านบาท เปิดตัวโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ภายใต้ชื่อ “SENA fest” ที่มีรูปแบบทันสมัย สะดวก ครบครัน ตอบสนองกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคย่านสาทร-ธนบุรี ทั้งเป็นแหล่งช้อปปิ้ง และแหล่งนัดพบแห่งใหม่ เพื่อตอกย้ำแบรนด์เสนา ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างในนามของดีเวลลอปเปอร์มืออาชีพ ที่พัฒนาโครงการอย่างสร้างสรรค์ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดย SENA fest อยู่ที่ตั้งสุดยอดทำเลของ ถนนเจริญนครตัดกับสะพานตากสิน บนพื้นที่ขนาด 4 ไร่ 1 งาน มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 25,000 ตารางเมตร คอนเซ็ปต์ของโครงการเป็นรูปแบบอาคาร 4 ชั้น รองรับร้านค้าปลีก ร้านอาหารกว่า 120 ร้าน และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น สำหรับที่จอดรถ 300 คัน เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ

นางสาวเพ็ญศิริ ทองสิมา  กรรมการบริษัท และ นายโจนาธาน บาสซาจ ชวิมเมอร์  ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอส.ที. ธรรมพร จำกัด พร้อมด้วย นายอิศนันท์  วชิระธรรมา รองผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อ ธุรกิจขนาดใหญ่  นางสุรางค์ ธนัตถานนท์ ผู้อำนวยการฝ่าย รักษาการผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายธุรกิจบริการ  และ นายพิชิต ใจรักธรรม  ผู้จัดการสาขาบางขุนเทียน ธนาคารกรุงไทย ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสเปิดตัวโครงการพาร์ค วิลเลจ พระราม 2 คอมมิวนิตี้ มอลล์ใหม่ล่าสุด แห่งแรกและแห่งเดียวในย่านพระราม 2 โดยมีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554


สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะรูปแบบใด เป้าหมายจุดประสงค์ก็คือการดึงคนให้เข้าไปในพื้นที่การค้านั้นๆ แล้วกระตุ้นด้วยกิจกรรมทางการตลาดทุกรูปแบบ เพื่อหวังดึงเงินในกระเป๋าของผู้มาเยี่ยมชมให้ซื้อสินค้าหรือเป็นลูกค้าให้ได้ ในปัจจุบันศูนย์การค้าในระดับเดียวกัน จับกลุ่มลูกค้าเดียวกัน เขาไม่ทำตัวเป็นศัตรูคู่แข่งกันแล้ว แต่จะทำตัวเป็นพันธมิตร เพื่อนร่วมอุดมการณ์ โดยจัดทำกิจกรรมร่วมกันทางการตลาด เพื่อจะพยายามดึงดูดลูกค้าให้มาช็อปปิ้งใน่ย่านนั้นให้ได้ แล้วแบ่งลูกค้ากันไป เรียกว่าสร้างเป็น cluster ทางธุรกิจ เหมือนอย่างที่วิสาหกิจธุรกิจย่านราชประสงค์จับมือรวมตัวกัน แล้วสร้างอีเว้นท์มาร์เก็ตติ้งในระดับประเทศร่วมกัน เพื่อหวังดึงคนมาช็อปปิ้งในย่านราชประสงค์ผ่านแคมเปญ ไทยแลนด์แกรนด์เซลลอินวิเตชั่น หรือ ลดทุกห้าง ลดทุกร้าน ลดทั้งร้าน 50-80% หรืออย่างที่ฮ่องกง สิงคโปร์ จัดแคมเปญลดทั้งเกาะ ในช่วงเทศกาลช็อปปิ้งของประเทศเขา ลดทุกร้านบนถนนช็อปปิ้ง เพื่อดึงดูดชาวต่างประเทศให้ไปใช้เงินในประเทศของเขา บ้านเราอีกหน่อยอาจจะใช้วิธีนี้กับหลายๆ ย่านการค้าเพื่อดึงดูดคน เพราะเดี๋ยวนี้ต้องแข่งกันเป็นย่านๆ แล้ว ไม่ใช่ห้างใครห้างมันแบบที่เป็นอยู่นี้ หรือรวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย

เปิดแผนลงทุน "เดอะมอลล์ กรุ๊ป" เตรียมลอนช์โปรเจ็กต์ยักษ์ "เอ็มโพเรียม 2" ยึดทำเลลานจอดรถฝั่งตรงข้ามเอ็มโพเรียมเดิม พร้อมไล่เก็บพื้นที่รอบ ๆ เพิ่ม วางคอนเซ็ปต์ "รีเทล-ออฟฟิศ-เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์" รองรับดีมานด์ลูกค้า-ซัพพลายเออร์ล้น เจรจา "บีทีเอส" ปรับพื้นที่เชื่อมระหว่างศูนย์  นับตั้งแต่เปิด "สยามพารากอน" 9 ธันวาคม 2548 โปรเจ็กต์ยักษ์หมื่นล้าน ทุนร่วมระหว่างกลุ่มเดอะมอลล์กับสยามพิวรรธน์ เพื่อให้เป็นศูนย์การค้ายิ่งใหญ่ และเป็น "ทอล์กออฟเดอะทาวน์" ทั้งในเมืองไทยและระดับสากล ภาพความเคลื่อนไหวของ "เดอะมอลล์ กรุ๊ป" ดูเหมือนว่าจะนิ่งและไม่หวือหวา เมื่อเทียบกับคู่แข่งในวงการค้าปลีก เพราะในช่วงที่ผ่านมา การลงทุนส่วนใหญ่ กลุ่มเดอะมอลล์ได้เน้นที่การรีโนเวตพื้นที่ภายในศูนย์ หรือปรับโฉมในสาขาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและสอดรับกับไลฟ์สไตล์ลูกค้าเป็นหลัก  แต่ในความเป็นจริง ภาพและความ เคลื่อนไหวของการลงทุนในโปรเจ็กต์ใหม่ของกลุ่มเดอะมอลล์ กลับไม่ได้นิ่งและเงียบอย่างที่คนภายนอกคิด ล่าสุด "ศุภลักษณ์ อัมพุช" หัวเรือใหญ่ เตรียมแผนลงทุน "ดิ เอ็มโพเรียม 2" ศูนย์การค้าโครงการยักษ์ที่ร่วมกับกลุ่มทุน "โสภณพนิช" 1 ในพันธมิตรที่ผนึกกำลังร่วมลงทุนในโปรเจ็กต์นี้ หลังจากเป็นพาร์ตเนอร์กันมาแล้วในโครงการดิ เอ็มโพเรียม ในปัจจุบันแม้ว่าจะยังไม่ปรากฏชัดถึง "ขนาดและมูลค่า" การลงทุนของโครงการใหม่นี้ แต่ที่ผ่านมา ภาพการลงทุนแต่ละครั้งของกลุ่มเดอะมอลล์ มักไม่ธรรมดา และต้องเรียกเสียง "ว้าว" ในตลาดได้เสมอ โดยก่อนหน้านี้ นางสาวศุภลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีโปรเจ็กต์การลงทุนครั้งใหญ่ที่เตรียมไว้ ซึ่งถ้าเปิดตัวเมื่อไหร่ต้อง "แรงและสร้างกระแส" ทั้งตลาด ตามสไตล์การลงทุนของกลุ่มเดอะมอลล์ที่ต้องใหญ่เท่านั้น หรือถ้าจะเป็นไซซ์เล็ก ก็ย่อมต้องเก๋ ชิก และไม่เหมือนใคร

โมเดลของศูนย์การค้าแห่งใหม่นี้ ได้วางคอนเซ็ปต์ผสมผสานระหว่างรีเทล-สำนักงานออฟฟิศให้เช่า-เรสซิเดนต์ และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โดยทำเลตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียมเดิม จากการสำรวจของผู้สื่อข่าวระบุว่า โครงการดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ลานจอดรถของดิ เอ็มโพเรียม ในซอยสุขุมวิท 35 (ทำเลเดียวกับที่เคยจัดสเตเดียมโดม) ครอบคลุมถึงพื้นที่ตึกแถวด้านหน้า เรียบถนนสุขุมวิทที่ปิดร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ ไล่ไปจนถึงศูนย์บริการและโชว์รูมโตโยต้าที่หมดสัญญาเช่าแล้ว นอกจากนี้ กลุ่มเดอะมอลล์ยังได้ประสานกับรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อปรับพื้นที่สำหรับเชื่อมระหว่าง 2 ศูนย์การค้าใหม่ให้สอดรับกับคอนเซ็ปต์ศูนย์การค้า  สอดคล้องกับแหล่งข่าวระดับสูงสายการเงินและการลงทุนชี้ว่า โปรเจ็กต์นี้ได้มีการพูดคุยกันมาสักพักใหญ่ ๆ แล้ว เป็นการลงทุนร่วมของ 3-4 ราย แต่ที่เป็น 2 รายหลักแน่ ๆ คือกลุ่มเดอะมอลล์และทุนส่วนตัวของโสภณพนิช ตามแพลนงาน ไม่ปลายปีนี้ ก็ช่วงปีหน้าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการ หรือเห็นภาพโมเดลการลงทุนที่ชัดขึ้น "คอนเซ็ปต์คล้าย ๆ ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียมและเอ็มโพเรียมสวีต เป็นพื้นที่ทำกำไรได้ดี ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศ หรือ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ มีกลุ่มลูกค้าต่างชาติเยอะ โดยเฉพาะคนญี่ปุ่นชอบมาก และส่วนใหญ่เช่าแบบลองเทอม" ผู้บริหารระดับสูงรายนี้อธิบายเพิ่มเติม   เช่นเดียวกับแหล่งข่าวสินค้าลักเซอรี่แบรนด์ยอมรับว่า ที่ผ่านมา คุณแอ๊ว (ศุภลักษณ์ อัมพุช) ได้เปิดโมเดลและคอนเซ็ปต์ศูนย์การค้าใหม่ให้กับซัพพลายเออร์บางส่วนดูแล้ว โดยเฉพาะแบรนด์สินค้าที่ไม่มีช็อปในดิ เอ็มโพเรียม ซึ่งพื้นที่ค่อนข้างเต็ม รวมถึงการติดต่ออินเตอร์แบรนด์ใหม่ ๆ ที่อยากเข้ามาเปิดในเมืองไทย โดยต้องยอมรับว่าทำเลของดิ เอ็มโพเรียมนั้นตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประเมินว่า โปรเจ็กต์ใหม่นี้น่าจะแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการใน 2-3 ปีหน้า ด้วยทาร์เก็ตที่ดูเด็กขึ้น แต่ยังคงความเป็นพรีเมี่ยม หรือ พรีเมี่ยมแมส ล่าสุดทราบว่าได้ออกแบบแปลนโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อไล่ย้อนความเคลื่อนไหวของ "กลุ่มเดอะมอลล์" ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าการลงทุนต่าง ๆ แม้จำนวนปริมาณจะไม่มาก เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทุกการลงทุนจึงอยู่ในกรอบ "คุ้มค่าและมีความเชี่ยวชาญ" หรือไม่ ระมัดระวังในทุกเม็ดเงินที่ใช้จ่าย และโฟกัสถึงผลรับจากการลงทุนแต่ละครั้งต้อง return ให้เร็วที่สุด แต่ทุกครั้งที่ตัดสินใจลงทุนต้องใหญ่และหวือหวา  รวมถึงการสร้างโมเดลการลงทุนแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาเสริม และปรับตัวรับมือการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการยกโมเดลลงทุนนอกศูนย์การค้าครั้งแรกร่วมกับคอมมิวนิตี้มอลล์ "เค วิลเลจ" ด้วยการเปิด ซูเปอร์มาร์เก็ตพรีเมี่ยม "กูร์เมต์ มาร์เก็ต" หรือเพิ่มน้ำหนักในบทบาทของดิสทริบิวเตอร์สินค้าต่าง ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับศูนย์การค้า ด้วยการตั้งบิสซิเนส ยูนิต (บียู) ธุรกิจขึ้นมานำร่องที่กลุ่มแฟชั่น ทำหน้าที่ในการคัดสินค้าแฟชั่น และนำเข้ามาขายในลักษณะเอ็กซ์คลูซีฟ เพื่อสร้างความแตกต่างในด้านของแบรนด์ และเป็นการสร้างธุรกิจใหม่ของกลุ่มเดอะมอลล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น