ใน ค.ศ. 1969 เพลงแรกที่ถูกเอ่ยถึงคือเพลง "Only the Strong Survive" ของ Jerry Butler เพลงนี้มีหลายส่วนใช้องค์ประกอบของดิสโก้โดยเพลงนี้ได้รวมแนว Philly และ New York soul เป็นที่มาคนดนตรีแบบโมทาวน์ด้วย แต่คำว่าดิสโก้ถูกทำให้รู้จักขึ้นโดยบทความของ Vince Aletti ฉบับวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1973 ในนิตยสาร The Rolling Stone
ใน ค.ศ. 1974 เริ่มมีเพลงดิสโก้ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 เช่นเพลง "Rock The Boat," ของ Hues Corporation , "Love's Theme" โดย Love Unlimited Orchestra (วงของแบร์รี ไวท์) หลังจากนั้นได้มีเพลงฮิตบนชาร์ตอยู่หลายเพลง เช่น Van McCoy เพลง "The Hustle" และ Donna Summer เพลง "Love to Love You, Baby", Silver Convention เพลง "Fly Robin Fly" (ค.ศ. 1975), และ The Bee Gees เพลง"Jive Talkin'" (ค.ศ. 1975) เพลงดิสโก้เริ่มได้รับความนิยมสูงสุดในช่วง ค.ศ. 1976 - 1979 มีภาพยนตร์ดังหลายเรื่องที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับดิสโก้เช่น Saturday Night Fever และ Thank God It's Friday
เพลงดิสโก้ในระดับต้นๆ
• (Shake, Shake, Shake) Shake Your Booty -KC & the Sunshine Band
• That's The Way I Like It - KC & the Sunshine Band
• YMCA - Village People
• Boogie Wonderland - Earth, Wind & Fire
• Car Wash - Rose Royce
• Disco Inferno - The Trammps
• Don't Leave Me This Way - Thelma Houston
• Funkytown - Lipps, Inc.
• Good Times - Chic
• Hot Stuff - Donna Summer
• I Will Survive - Gloria Gaynor
• Le Freak - Chic
• D.I.S.C.O. - Ottawan
• Hands Up (Give Me Your Heart) - Ottawan
แต่ไม่รู้ว่าดิสโก้มันหน้าตาเป็นยังไง หรือว่าเพลงแบบไหนมันเป็นดิสโก้ไม่รู้ แต่ผู้เขียนรู้จักเพลงดิสโก้เพลงแรกจากเพลงของทีน่า ชาร์ล นี่แหละ อย่างเช่น เพลง Go เพลงดังในยุคเดียวกัน ได้แก่ Ring my bell, Oneway Ticket, และ Lady Bumb
และหลังจากนั้นก็หลงไหลในเสียงเพลงแนวนี้เอามากๆ ช่วงยุคปี 1980's เป็นยุคทองของดนตรีและเพลงแนวดิสโก้มากๆ เพลงฮิตหลั่งไหลกันเข้ามาให้ได้ฟัง ได้รู้จัก ติดหูมากมาย อาทิ เพลงนี้ทุกคนต้องรู้จัก และก็เป็นเพลงดิสโก้ที่คนทั่วโลกต้องเต้นตาม กลุ่มนี้ได้แก่ That's The Way ( I Like It) , Y.M.C.A , Hand up! , Stayin' Alive ,Billy Jean, Kungfu Fighting, Rasbutin ,I'll never dance again, Clap your hands ,Play that Funky Music , Oye Como Va
และช่วงที่ผู้เขียนเริ่มเที่ยวราตรี สถานที่ที่ไปบ่อยก็คือดิสโก้เธค ในยุคนั้นแน่นอนยอดฮิตต้องเป็น เดอะพาเลซ ,เดอะฟลามิงโก้ ,นาซ๋าสเปซี่โดรม ,พาราไดซ์มิวสิคฮอลล์ (อันนี้ยุคปลายๆของเธคใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ) เพลงในยุคนี้ที่ติดหูและร้องได้ราวกับเพลงชาติไทย ก็ได้แก่ เพลงในกลุ่มนี้ครับ Agadoo, Tarzan boy, One night in bkk, Thai nana, Give it up, Tokyo Town, I'm gonna give my heart , Congo ,Papa don't preach, I hate my self for loving you ,Have ever seen the rain, What 've I done to deserve this , It's a sin ,walk like a man ,I just died in your arms, Broken Heart Women, Clap your Hand etc.
ถ้าเทียบงานของเขากับ จางอี้โหมว (Ju Dou), เทียนจวงจวง (The Blue Kite) หรือล่าสุด โจน เช็ง (Xiu Xiu: The Sent down Girl ) งานเขาอาจจะไม่สนองต่อ ความรู้สึก ที่มีต่อแผ่นดินใหญ่ ไม่กล่าวถึงความล้มเหลว ในระบบของประเทศ และก็ไม่ใช่หนังกำลังภายใน บู๊ล้างผลาญ อย่างของชอร์บราเธอร์ (เห็นจะมีแต่ As Tears Go By ที่ถือได้ว่า เป็นแอ็กชั่นโหด แบบลูกผู้ชาย เพียงเรื่องเดียวที่เขาทำ) แต่งานของเขา โดดเด่นขึ้นมา ท่ามกลางความแปลกแยก ของเนื้อหา หนังที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครทำ ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาหยิบยก และเจาะเน้นเรื่องราว ของผู้คนยุคปัจจุบัน ที่อยู่ด้วยความสับสน และเปลี่ยวเหงา ภาวะจิตใจ ที่ไร้การยึดเหนี่ยวและการค้นหาตัวตน ซึ่งดูจะเป็นแกนของหนังทุกเรื่อง ของเขา และเป็นเรื่องของความรู้สึก ใกล้ตัวเราอย่างที่สุด
เมื่อผู้เขียนไปได้แผ่นหนังเรื่อง In the Mood for Love จากแผงกระบะลดราคามา เมื่อเห็นเป็นผลงานของเฮียเหลียงเฉาเหว่ยและผู้กำกับคู่บุญของเขาคือ หว่องกาไว จึงรีบฉวยมาชมด้วยความอยากดู พอดูจบ ไม่มีความเข้าใจเท่าที่ควร เหตุก็เพราะว่าการจะชมหนังของหว่องกาไวให้เข้าใจนั้น ควรจะได้ชมอย่างน้อย 2-3 เรื่องขึ้นไป จึงจะเข้าใจบริบท ความเป็นหนังอาร์ตของเขา ลีลาท่วงท่าของเขาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจริงๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับเอเซียคนนึง อีกทั้งเรื่อง In the Mood for Love เล่าต่อจาก Days of Being Wild และเป็นต้นกำเนิดของเรื่อง 2046 อีกด้วย จึงทำให้ผู้เขียนต้องเดือดร้อนควานหาหนังที่เหลืออีก 2 เรื่องมาดูต่อกันในคราวเดียว แม้ว่าเรื่อง Days of Being Wild เคยได้ชมผ่านตามาแล้วเมื่อครั้งสมัยที่ยังลงโรงฉายและก็กลายมาเป็น vcd, dvd มาเมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้ว แต่ใช่ว่าผู้เขียนจะจำเนื้อหาของเรื่องได้ จึงต้องไปขวนขวายซื้อหามาดูกันใหม่อีก และก็ไม่ใช่งานง่ายเลยกับหนังของคุณพี่หว่องกาไว ที่จะหาซื้อได้ง่ายๆ ตามท้องตลาด ขนาดควานหาทั่วตลาดย่านคลองถม ดินแดนที่เรียกว่าเป็นศูนย์กลางจำหน่ายหนังแผ่นมากที่สุด ก็ยังไม่พบเจอ ทั้งร้าน J Big และชิบูญ่า ต่างพูดเป็นเสียงเดียวว่าหมดไปนานแล้ว และเคยนำมาจัดรายการก็ไม่เห็นมีใครสนใจ มิพักต้องไปออกแรงหาหนังเรื่องอื่นๆ ของเขา เพราะทั้ง 3 เรื่องที่กล่าวมาก็ถือว่าเป็นหนังที่ดังที่สุดของเขาแล้ว ยังหาซื้อไม่ได้เลย แต่เดชะบุญผู้เขียนไปได้ Days of Being Wild มาได้จากร้านเจบิ๊ค ที่คลองถม เขานำมาวางขายใหม่ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ของหว่องกาไว เกือบจะครบเซ็ท ขาดก็เพียงหนังเรื่องหลังๆ ของเขา และก็เรื่อง 2046 ยังตามหาไม่เจอ (คงหมดลิขสิทธิ์ไปแล้ว สำหรับตัวแทนจำหน่ายในบ้านเรา หากอยากได้ต้องสั่งซื้อจากเมืองนอกเข้ามา) นี่แหละหนอเวลาไม่เห็นคุณค่าของอะไรซักอย่าง แม้วางรวมอยู่ในกองเดียวกันยังเมินเลย แต่เวลาเป็นของมีค่าอยากจะได้มาเชยชม ต้องควานหาแทบพลิกแผ่นดิน เข้าเรื่องดีกว่า
Days of Being Wild เมื่อครั้งที่เคยได้ชมตอนสมัยมาลงโรงฉายในบ้านเรา ดูแล้วก็เฉย ๆ กับพล็อตเรื่องและก็บทหนังที่ไม่รู้สึกว่ามีอะไรที่แปลกหรือติดใจอะไรนักหนา แต่ที่ชื่นชอบคงเป็นที่นักแสดงในเรื่องหลายคนเป็นนักแสดงที่เราชื่นชอบ และก็เล่นส่งบทกันได้ดีทุกคน โดยเฉพาะที่โดดเด่นมากก็คือเลสลี่จาง เฮียแกเล่นหนังแนวนี้ได้ดีกว่าหนังแนวกำลังภายในมาก ชื่นชอบทั้งในเรื่องโหดเลวดี Farewell to My Concubine และก็ Happy Together มากกว่าในโปเยโปโลเย แต่ไม่คาดคิดว่าบรมครูผู้กำกับอย่างหว่องกาไว แกจะมาเหนือเมฆ แกวางโครงเรื่องนี้ (Days of Being Wild) ให้เป็นธีมหลักเพื่อเดินเรื่องเล่าในอีกแบบต่อๆ มา ยัง In the Mood for Love และก็ 2046 เมื่อดูไตรภาคของ 3 เรื่องนี้แล้วกลายเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ภาค 2-3 เปลี่ยนคนเล่าเรื่องจาก ยกไจ๋ (เลสลี่จาง) มาเป็นเล่าผ่านโจวมู่หวัน (เหลียงเฉาเหว่ย) แทน และตัวละครอย่างโจวมู่หวันก็มีไปโผล่แซมๆ แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวก่อนแล้วในภาคแรกคือ Days of Being Wild นี่คือชั้นเชิงขั้นเทพทีเดียว เราเคยได้รับความรู้สึกดีๆ จากหนังไตรภาคแบบนี้สักกี่เรื่อง สำหรับผู้เขียนเคยได้รับจาก Infernal Affairs มาก่อนแล้วด้วย อยากจะบอกว่าถ้าใครอยากจะเห็นการแสดงที่ดีที่สุดของนักแสดงแถวหน้าของเอเซีย และก็เทียบชั้นการแสดงในระดับฮอลลีวู้ด จะต้องชมภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องนี้แหละ และการดูก็อย่าไปทำความเข้าใจหนังให้มันละเอียดทุกซอกทุกมุมมากเกินไปเลย จับพล็อตจับประเด็นให้ถูกเป็นพอ เชื่อว่าส่วนที่เหลือ เราจะได้ดื่มด่ำกับบทเพลง การกำกับภาพ องค์ประกอบศิลป์ ฉาก เครื่องแต่งกาย การแสดงสีหน้าอารมณ์ของนักแสดง แค่นี้ก็อิ่มเอม คุ้มเกินพอแล้ว อยากจะบอกว่าถ้าคุณเป็นนักดูหนังจีนตัวยง แต่คุณพลาดหนังทั้ง 3 เรื่องนี้แล้วหล่ะก็ คุณยังไม่ใช่แน่ๆ และคุณกำลังพลาดหนังจีนดีๆ ในรอบ 20 ปีไปเลยทีเดียว
ผู้เขียนมักติดนิสัยการดูหนังแล้วมามองย้อนดูตัวเองเสมอ แต่ชีวิตตัวเองไม่ได้โลดโผน ตื่นเต้นหรือมีสาระอะไร ดังนั้นจึงขอนำไปเปรียบเทียบกับบรรยากาศการเมืองในบ้านเราดีกว่า ขอเปรียบเทียบยกไจ๋ จากเรื่อง Days of Being Wild เป็นอดีตนายกฯ คุณทักษิณ แกก็เป็นคนที่มีปมลึกในใจ (ไม่รู้ว่าปมอะไรนะ) แกก็เลยทำร้ายทำลายคนที่แกเคยรักซะทุกคนเลย คนที่เคยรักแกเตือนแกก็ไม่ฟัง (สนธิ,จำลอง) แต่แกจะฟังคนที่มาปอกลอกเอาผลประโยชน์จากแก มาป้อยอเอาอกเอาใจ เลียแข้งเลียขา แบบนี้แกจะฟัง เสร็จแล้วแกก็สร้างเรื่องราวต่างๆ เอาไว้มากมาย เปรียบเสมือนนกไร้ขาในเรื่อง ที่โบยบินไปเรื่อยๆ หาทางลงไม่ได้ เมื่อไหร่ที่แกจะลง นั่นก็คือแกตายแล้ว หรือแกต้องตายนั่นแหละ (อุ๊ย อันนี้ไม่ได้แช่งนะ พูดตามเนื้อหาเรื่อง Days of Being Wild) ส่วนอีกคน คือ โจวมู่หวัน (เหลียงเฉาเหว่ย) จากเรื่อง In the Mood for Love และ 2046 เปรียบเทียบเป็นคุณอภิสิทธิ์ อดีตนายกฯ อีกคนจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีบุคลิกหวนคิดคำนึงแต่เรื่องราวในอดีต อันแสนหวาน (เมื่อครั้งเป็นนายก และดูดดื่มกับศิริโชค) กับความเจ็บปวด (พวกพันธมิตรและการโหวตโน) ยังคงคิดถึงห้องทำงานหมายเลข 2046 ในตึกไทยคู่ฟ้า และบ้านพิษณุโลก ผ่านรถไฟสายแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่เจ๊งไม่เป็นท่า เอ๊ยไม่ใช่ หมายถึงรถไฟสายอดีต ที่นั่งย้อนเวลากลับไปหาอดีตหรืออนาคตก็ไม่รู้ ชักสับสนในตัวเอง เหมือนตัวละครโจวมู่หวัน ในเรื่อง In the Mood for Love และ 2046 ซึ่งขอทิ้งทายไว้ด้วยไดอะล็อค บทพูด วรรคทอง เด็ดๆ ของหนัง 2 เรื่องนี้ไว้ดังนี้
หนังผีในยุคแรกๆ ที่เข้ามาฉายในโรงภาพยนตร์บ้านเราที่ผู้เขียนจำได้น่าจะเป็นพวกมนุษย์หมาป่า แฟรงเค่นสไตน์ ท่านเคาน์แดร็กคูล่า กล่มนี้จะมีการสร้างออกมาหลายเวอร์ชั่นมาก แต่สร้างออกมาฉายทีไรก็ยังดูสนุกทุกครั้ง ทั้งๆ ที่เนื้อเรื่องและเดาทางของหนังได้หมด แต่ก็ยังดูสนุกอยู่ดี เพราะเทคนิคการถ่ายทำตลอดจนวิธีการนำเสนอ และบรรยากาศของหนังพาไป ถ้าจะนับหนังผีที่ผู้เขียนได้ดูจริงๆ ในโรงภาพยนตร์น่าจะอยู่ในยุค 80’sท้ายๆ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Bram Stoker’s Dracula , The Lost Boys, A Nightmare on Elm Street (นิ้วเขมือบ) หลายภาค, Fright Night, Ghostbusters, Poltergeist, Betlejuice , Interview with the Vampire, The Addam Family, Evil Dead, The Return of the Living Dead (ผีลืมหลุม), From dust till dawn เป็นต้น ในกลุ่มแรกๆ ที่ดู ยังมีหนังผีขึ้นหิ้งได้รับการยอมรับในวงการภาพยนตร์ว่าขึ้นชั้นคลาสสิคนั่นก็คือ The Exorcist ผู้เขียนก็มีโอกาสได้ดูเมื่อตอนเป็นวีดีโอแล้ว หรือมาฉายทางทีวี ส่วนทางฟากฝั่งเอเชียก็ไม่น้อยหน้า มีหนังผีในยุคแรกๆ ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสได้ชมบ่อยก็ตระกูลผีกัดอย่ากัดตอบ ,โปเยโปโลเย เป็นต้น
หนังผีในยุคต่อมาซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่าเป็นยุค 2000 ก็แล้วกัน คือกลางเก่ากลางใหม่ พวกนี้จะเริ่มมีพล็อตมีประเด็นของหนังที่น่าสนใจ มีวิธีการนำเสนอแปลกๆ อย่างเช่น ในกลุ่มของ The Six Sense ,The Others ,Resident Evil , UnderWorld ,The Blair Witch Project, The Haunting, Twilight ,Zombieland, Paranormal Activity ,Let the right one in ในฟากฝั่งของเอเชีย ก็จะมีพวก Ju-On, Kairo(Pulse) ,The Ring ,A Tale of 2 sisters ที่เป็นผู้ปลุกกระแสหนังผีเอเซียขึ้นมา
และแล้ว คอมมิวนีตี้มอลล์แห่งใหม่ ในย่านพระราม 9 ก็เปิดตัวขึ้นแล้ว ภายใต้ชื่อ The Nine Neighborhood Center หรือเรียกกันง่ายๆ ติดปากว่า The Nine พระราม 9 ด้วยกระแสของการรวมร้านกิน ร้านช๊อปมากมาย มาไว้ในพื้นที่กว้างใหญ่ และตกแต่งด้วยดีไซน์เก๋ๆ กำลังมาแรง ยกตัวอย่างเช่นโครงการ CDC ในเส้นเลียบทางด่วน หรือ The Circle ในย่านราชพฤกษ์ จึงทำให้กระแสการสร้างคอมมิวนีตี้มอลล์เติบโตตามไปด้วย และ น่าจะผุดขึ้นมาอีกหลายเส้นในอนาคตอันใกล้นี้
ภายใต้บรรยากาศทันสมัย สถาปัตยกรรมที่ได้รับการออกแบบ ภายใต้แนวคิด Tropical Village ที่ผสมผสานกันระหว่าง ความสถาปัตยกรรมที่มีมิติ และ ธรรมชาติ จึงทำให้สดชื่น และนำสมัย มีชีวิตชีวา เหมาะเป็นศูนย์รวมของการใช้ชีวิตในรูปแบบต่างๆ
โครงการ The Nine ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 14 ไร่ ที่สามารถเข้าออกได้หลายทาง อย่าง ทางด่วนพระรามเก้า ถนนพระรามเก้า ถนนรามคำแหง ถนนพัฒนาการ ถนนศรีนครินทร์ และโครงการยังอยู่ในแนว ของAirport Rail Link ที่จะเปิดดำเนินการในอนาคต
โครงการ The Nine แบ่งโซนทั้งหมดออกมาดังนี้
Zoning Concept
• Supermarket & Fresh Market
• Restaurant and Quick Service Restaurant Zone
• Community lifestyle Zone
• Lifestyle Café, Coffee Shop & Bakery Zone
• Lifestyle Service & Shopping Zone
• Edutainment Zone
อันดับ 1 Hong Kong International Airport หรือสนามบินนานาชาติ เช็ก แล็ป ก๊อก ของฮ่องกง
จำนวนผู้โดยสาร คน/ปี : 50,410,819
อันดับโลกปีที่แล้ว : 3
รางวัลพิเศษ : Best Airport Washrooms (#3) and Best Airport Dining (#3)
Why it's awesome: Located less than five flying hours from half of the world's population, Hong Kong's airport is one of the busiest in the world. The airport also features a nine-hole golf course to pass the time during long layovers.
รางวัลพิเศษ : Best Airport Leisure Amenities (#1), Best Airport Shopping (#2), Best International Transit Airport (#1), and Best Airport Dining (#3)
Why it's awesome: Changi takes passengers to over 200 destinations on more than 90 international airlines and handles about 5,000 arrivals and departures each week. The airport is also home to a nature trail, fitness center, swimming pool, and Singapore's tallest slide.
อันดับ 3 Incheon International Airport หรือสนามบินนานาชาติ อินชอน ประเทศเกาหลีใต้
จำนวนผู้โดยสาร คน/ปี : 30,000,000
อันดับโลกปีที่แล้ว : 2
รางวัลพิเศษ : Best International Transit Airport (#2), Best Airport Security Processing (#3), Best Airport Cleanliness (#1), and Best Airport Washrooms (#2)
Why it's awesome: Incheon is the largest airport in South Korea serving passengers with over 70 airlines. The airport features a museum showcasing Korean culture and a center for traditional Korean culture where travelers can enjoy performances while they wait for their connecting flight.
อันดับ 5 Beijing Capital International Airport หรือ สนามบินนานาชาติปักกิ่ง ประเทศจีน
จำนวนผู้โดยสาร คน/ปี : 73,891,801
อันดับโลกปีที่แล้ว : 8
รางวัลพิเศษ : Best Airport Immigration Service (#2)
Why it's awesome: Beijing Capital is the busiest airport in Asia and can accommodate up to 78 million passengers per year. The tallest building, terminal 3, has a red painted roof, China's good luck color.
อันดับ 9 Kuala Lumpur International Airport หรือสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
จำนวนผู้โดยสาร คน/ปี : 29,700,000
อันดับโลกปีที่แล้ว : 5
รางวัลพิเศษ : Best Airport Immigration Service (#1)
Why it's awesome: Kuala Lumpur is located in the southern corridor of Malaysia and one of Asia's busiest airports. The main terminal keeps green in mind, an entire section of the rain forest was placed inside the main terminal with the "Airport in the forest, forest in the airport," idea.