วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นักเขียนผู้เป็นแรงบันดาลใจ 3

หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช


เกิดวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสคนสุดท้อง ในบรรดาโอรส-ธิดา ทั้ง 6 คน ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นคนที่ 4) โดยชื่อ "คึกฤทธิ์" นั้น มาจากการที่ ชอบร้องไห้เสียงดังในวัยทารก จึงได้รับพระราชทานนามนี้จาก สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงพักตร์พริ้ง ทองใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2479 มีบุตรธิดา 2 คน คือ หม่อมหลวงรองฤทธิ์ ปราโมช และ หม่อมหลวงหญิง วิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาได้แยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พักอยู่ที่บ้านในซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยอยู่ในซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ เขตสาทร บ้านหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "บ้านซอยสวนพลู"

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นับเป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง ท่านเป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส.ในมือเพียง 18 คน รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี นายบุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น

ก่อนดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยรับบทเป็น นายกรัฐมนตรี ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่ง ชื่อว่าประเทศ สารขัณฑ์ ในภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (1963) คู่กับมาร์ลอน แบรนโด เมื่อ ปี พ.ศ. 2506 และหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เคยรับบทเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี เมื่อปี พ.ศ. 2526

ระหว่างการเล่นการเมือง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีบุคลิกที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองที่ทุกคนรู้จักดี คือ วาทะศิลป์ และบทบาทเป็นที่ชวนให้จดจำ เช่น การผวนพูดเล่นชื่อของตัวเองเมื่อมีผู้ถามว่า หมายถึงอะไร โดยตอบว่า "คึกฤทธิ์ ก็คือ คิดลึก" เป็นต้น

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย เช่น "เฒ่าสารพัดพิษ" "ซือแป๋ซอยสวนพลู" ภายหลังเมื่อมีอาวุโสสูงวัย จนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ จึงได้รับฉายาว่า "เสาหลักประชาธิปไตย" นอกจากนี้อีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในบางแห่งคือ "หม่อมป้า"

ในด้านวรรณศิลป์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, หลายชีวิต, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น "มอม" ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ เช่น สี่แผ่นดิน, หลายชีวิต และทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง


การศึกษา

ในเบื้องต้น ท่านได้เข้าศึกษาในโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียน Trent College จากนั้น ได้สอบเข้า 'วิทยาลัยควีนส์' (The Queen's College) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เพื่อศึกษาวิชาปรัชญา,เศรษฐศาสตร์ และการเมือง (Philosophy, Politics and Economics - PPE) โดยสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม (และ 3 ปีต่อมา ก็ได้รับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยดังกล่าว ตามธรรมเนียมสำหรับผู้สำเร็จปริญญาเกียรตินิยม และได้ผ่านการใช้ความรู้ความสามารถในวิชาที่ร่ำเรียนมาจนมีประสบการณ์ช่ำชองมาระยะหนึ่ง)

เมื่อกลับมาเมืองไทยได้ทำงานที่กรมสรรพากร แล้วลาออกไปทำที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จนเป็นผู้จัดการสาขาในจังหวัดลำปาง พอดีเกิดสงครามจึงถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร เมื่อรัฐบาลจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น ม.ร.ว..คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับเชิญมารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายในสำนักผู้ว่าการ ระหว่างนี้ได้ไปเป็นอาจารย์สอนวิชาเศรษฐศาสตร์และการธนาคารที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดต่อกันหลายปี ภายหลังสงครามได้ลาออกจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีช่วยฯ รัฐมนตรีว่าการ ประธานสภานิติบัญยัติแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีในท้ายสุด

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ก่อตั้ง นสพ.สยามรัฐและหนังสือในเครือ และเขียนเรื่องลงหนังสือดังกล่าวเป็นประจำ ทั้งบทนำ คอลัมน์ นิยาย และเรื่องสั้น อาทิ สี่แผ่นดิน ,หลายชีวิต ,ไผ่แดง ,ฮวนนั้ง, ซูสีไทเฮา ,ห้วงมหรรณพ ,พม่าเสียเมือง ฯลฯ และได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เป็นคนแรกเมื่อ พ.ส. /2528

พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ส. 2538 เมื่ออายุได้ 84 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอชื่อให้ท่านเป็น บุคคลสำคัญของโลก กับทาง ยูเนสโก พร้อมกับครูเอื้อ สุนทรสนาน ซึ่งได้รับในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลพ.ศ. 2553


ผลงานเขียน

นวนิยาย

• สี่แผ่นดิน

• ไผ่แดง

• กาเหว่าที่บางเพลง

• ซูสีไทเฮา

• สามก๊กฉบับนายทุน

• ราโชมอน

• ฮวนนั้ง

• โจโฉ นายกตลอดกาล

รวมเรื่องสั้น

• มอม

• เพื่อนนอน

• หลายชีวิต

นวนิยาย

• สี่แผ่นดิน

• ไผ่แดง

• กาเหว่าที่บางเพลง

• ซูสีไทเฮา

• สามก๊กฉบับนายทุน

• ราโชมอน

• ฮวนนั้ง

• โจโฉ นายกตลอดกาล

รวมเรื่องสั้น

• มอม

• เพื่อนนอน

• หลายชีวิต

บทละครเวที ลูกคุณหลวง

รงค์ วงษ์สวรรค์

’รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538 เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดชัยนาท เป็น นักเขียนที่มีผลงานหลายอย่าง เช่น คอลัมน์ในนิตยสารและหนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี บทภาพยนตร์ เอกลักษณ์ของงานเขียนคือการใช้ภาษา ซึ่งใช้คำยุคเก่า แต่สื่อถึงเรื่องราวที่ทันสมัย นามปากกา ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ย่อมาจากชื่อจริง คือ ณรงค์ วงษ์สวรรค์

’รงค์ วงษ์สวรรค์ เสียชีวิตจากอาการเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อเวลาประมาณ 18.05 น. ของวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ โรงพยาบาลเทพปัญญา จังหวัดเชียงใหม่

ผลงานหนังสือแยกตามปี

• 2503 - หนาวผู้หญิง, เถ้าอารมณ์ , ไฟอาย

• 2504 - สนิมสร้อย,บนถนนของความเป็นหนุ่ม, สนิมกรุงเทพฯ

• 2505 - ปักเป้ากับจุฬา, บางลำพูสแควร์, คืนรัก

• 2506 - เสเพลบอยบันทึก,พ่อบ้านหนีเที่ยว

• 2511 - ใต้ถุนป่าคอนกรีต ขบวนหนึ่ง, หอมดอกประดวน,นิราศดิบ

• 2512 - เสเพลบอยชาวไร่, ผู้มียี่เกในหัวใจ, หัวใจที่มีตีน, ใต้ถุนป่าคอนกรีต ขบวนสอง,หลงกลิ่นกัญชา

• 2513 - ฝนซาฟ้าหม่น

• 2514 - น้ำค้างเปื้อนแดด, ไอ้แมลงวันที่รัก,แดง รวี,หนามดอกไม้, ใต้ถุนป่าคอนกรีต ขบวนสาม

• 2515 - 00.00 น., ปีนตลิ่ง, ดลใจภุมริน,บ้านนี้มีห้องแบ่งให้เช่า

• 2516 - นักเลง โกเมน,กรุงเทพฯ รจนา, สัตหีบ : ยังไม่มีลาก่อน, ตาคลี : น้ำตาไม่มีเสียงร้องไห้,ชุมทางพลอยแดง (สารคดี),นาฑีสุดท้ายทับทิมดง

• 2517 - อเมริกันตาย, แม่ม่ายบุษบง

• 2518 - คึกฤทธิ์แสบสันต์, 23 เรื่องสั้น,ไม่นานเกินรอ,น้ำตาสองเม็ด,ความหิวที่รัก,มาเฟียก้นซอย,๒๘ ดีกรีเที่ยงวัน บรั่นดีเที่ยงคืน (’รงค์ วงษ์สวรรค์ และ "หำน้อย"), ดอกไม้ในถังขยะ

• 2519 - จากแชมเพญถึงกัญชา, ขี่ม้าชมดอกไม้, จากโคนต้นไม้ริมคลอง, ถึงป่าคอนกรีต, 2 นาฑีใต้แสงดาวแดง, ปักกิ่ง-กรุงเทพฯ, ซูสีไทเฮา, กัญชาธิปไตย

• 2520 - ดอกไม้และงูพิษ, ยินโทนิค 28 ดีกรี

• 2521 - แอลกอฮอลิเดย์, เบื้องข้างพันเอกณรงค์ กิตติขจร, บนหลังหมาแดดสีทอง, ผู้ดีน้ำครำ 1, ’รงค์ วงษ์สวรรค์ แสบสันต์, แกงส้มผักบุ้ง 22.00น.

• 2522 - ผู้ดีน้ำครำ 2

• 2525 - บักหำน้อย ซ้ายปลาร้าขวาเนย, สาหร่ายปลายตะเกียบ

• 2527 - นินทากรุงเทพฯ บุหลันลบแสงสุรยา-บรูไน, ระบำค้อนเคียว, ลมหายใจสงคราม

• 2528 - ไสบาบานักบุญในนรก

• 2529 - สามเหลี่ยมในวงกลม

• 2531 - สารคดีไฉไลคลาสสิค , ครูสีดา

• 2535 - ผกานุช บุรีรำ

• 2536 - ดอกไม้ดอลล่าร์, ระบำนกป่า,พูดกับบ้าน, ขุนนางป่า

• 2537 - แมงบาร์

• 2538 - 2 นาฑีบางลำพู,บูชาครูนักเลง,บาลีนีส์ทัดดอกลั่นทม,ดอกไม้ในถังขยะ, พรานล่าอารมณ์ขัน

• 2539 - คึกฤทธิ์ ปราโมช ในเงาเวลาของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์, บนถนนอากาศ

• 2540 - กินหอมตอมม่วน

• 2542 - เมนูบ้านท้ายวัง, เงาของเวลา, นอนบ้านคืนนี้, ลมบาดหิน

• 2544 - นินทา ฯพณฯ สากกะเบือ, นินทานายกรัฐมนตรี, โคบาลนักเลงปืน, หงา คาราวาน เงา-สีสันของแดด, อเมริกา -อเมริกู

• 2545 - มาดเกี้ยว

• 2546 - ฝนเหล็ก -- ไฟปืน '๓๕, นาฑีสุดท้ายทับทิมดง (รวมเล่มครั้งแรก)

• 2547 - บักสี อีจำปา

บัณฑิต อึ้งรังษี

บัณฑิต อึ้งรังษี (เกิด 7 ธันวาคม พ.ศ. 2513 ที่หาดใหญ่ สงขลา) วาทยกรชาวไทยที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติและเป็นที่ยอมรับในหมู่นักดนตรีในเมืองไทย บัณฑิตเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันมาร์เซล วิล่า (Maazel-Vilar International Conducting Competition) [1] ซึ่งเป็นการแข่งขันอำนวยเพลงรายการใหญ่และมีเกียรติสูงสุด ที่ คาร์เนกีฮอลล์ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2545

ชีวิตงานดนตรี

การที่เขาได้รับรางวัลการแข่งขันวาทยกรระดับนานาชาติหลายครั้ง เช่น ที่ประเทศฝรั่งเศส ( Besancon Competition ) ในปี พ.ศ. 2540, ที่ประเทศโปรตุเกส (รางวัลชนะเลิศ) ในปีพ.ศ. 2542 ที่ประเทศฮังการี ในปีพ.ศ. 2545 และล่าสุดที่ Carnegie Hall มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2545 ในการแข่งขัน Maazel-Vilar International Conducting Competition[2] ซึ่งเป็นการแข่งขันวาทยกรที่สำคัญที่สุดในโลก [ต้องการอ้างอิง] โดยเป็นผู้ชนะเลิศจากผู้แข่งขัน 362 คนทั่วโลก จากการตัดสินของคณะกรรมการที่มีชื่อเสียงของโลกเช่น Lorin Maazel, Kyung-Wha Chung, Glenn Dicterow, Krzysztof Penderecki ฯลฯ ทำให้ตัวเขาเอง ผู้ที่ชื่นชอบเขา และฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเขามักกล่าวอ้างอยู่เสมอว่าเขาเป็น "วาทยกรไทยระดับโลก"

บัณฑิตได้รับเชิญไปอำนวยเพลงให้กับวงออร์เคสตร้าและโรงอุปรากร (Opera House) ที่สำคัญต่างๆทั่วโลก รวมกันแล้วมากกว่า 400 คอนเสิร์ต วงต่าง ๆที่เขาได้กำกับมาแล้วก็มีวง New York Philharmonic Orchestra, Los Angeles Philharmonic Orchestra, Orchestra Filarmonica di Arturo Toscanini, La Fenice ในเมืองเวนิส, Orchestra of Rome and Lazio และวงในประเทศต่าง ๆ เช่น สเปน ตุรกี เกาหลี ออสเตรีย ญี่ปุ่น รัสเซีย อิตาลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี เชคโกสโลวาเกีย มาเลเซีย ไทย โปรตุเกส และทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งคณะนักร้องประสานเสียงชื่อดังของโลก Mormon Tabernacle Choir ซึ่งถ่ายทอดสดออกอากาศทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังได้รับการเชิญหลายครั้งจาก Orchestra Internazionale d’Italia ในการตระเวณเปิดการแสดงทั่วเอเชีย

บัณฑิตได้เคยทำงานร่วมกับศิลปินชั้นนำของโลก เช่น Maxim Vengerov, Julia Migenes, the LaBeque Sisters, Paula Robison, Christopher Parkening, Christine Brewer และ Elmer Bernstein และเขายังได้รับการกล่าวขวัญถึงจากหนังสือพิมพ์และสื่อสำคัญต่าง ๆ ของโลก ได้แก่ Los Angeles Times, New York Times, American Record Guide, Charleston Post and Courier, Deseret News, Salt Lake Tribune, Gramophone magazine, New York Magazine, L’Unione Sarda (อิตาลี), El Correo Gallego (สเปน) ฯลฯ

นอกเหนือจากการเดินทางไปกำกับวงต่าง ๆ รอบโลกแล้ว บัณฑิตยังเคยดำรงตำแหน่งให้กับวง New York Philharmonic และวง Charleston Symphony Orchestras รวมทั้งเป็น Principal Guest Conductor ของ Seoul Philharmonic Orchestra ในประเทศเกาหลีใต้, Associate Conductor ของวง Utah Symphony, Music Director ของวง Debut Orchestra (Los Angeles), Apprentice Conductor ของวง Oregon Symphony Orchestra และ Assistant Conductor ของวง Santa Rosa Symphony ทั้งยังได้รับความไว้เนื่อเชื่อใจจากรัฐบาลเกาหลีใต้ เมื่อได้มีการปรับปรุงวงการดนตรีคลาสสิคครั้งใหญ่ของเกาหลีในปี พ.ศ. 2548 ให้ไปพัฒนาวงออร์เคสตร้าที่ดีที่สุดของประเทศนั้นให้พัฒนาถึงระดับโลกได้

บัณฑิตได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญ อัสสัมชัญพาณิชย์ และ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และได้รับปริญญาตรีสองสาขา ทั้งทางด้านดนตรี และบริหารธุรกิจ ที่ประเทศออสเตรเลีย ได้รับปริญญาโทเอกการอำนวยเพลงที่ University of Michigan ในสหรัฐอเมริกา และศึกษาเพิ่มเติมในประเทศอิตาลี ออสเตรีย รัสเซีย เยอรมนี และ ฟินแลนด์ ในปีพ.ศ. 2541 เขาเป็นหนึ่งในวาทยกรรุ่นใหม่ 9 คนจากทั่วโลกที่ได้รับเชิญไปศึกษาที่ Carnegie Hall ในมหานครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเหตุให้เขาได้รับทุน Leonard Bernstein Fellowship ไปศึกษาต่อกับ Seiji Ozawa ที่ Tanglewood Music Center ระหว่างเรียนได้ทำงานดนตรี ในฐานะวาทยกรสมัครเล่นมาโดยตลอด

ในประเทศบ้านเกิดของตนเอง คุณบัณฑิตได้รับความสนใจจากสื่อ ได้รับเชิญไปออกรายการทีวีและวิทยุ ที่สำคัญ ๆ คือ รายการเจาะใจ ชีพจรโลก ตาสว่าง กว่าจะเป็นดาว กฤษณะล้วงลูก ฯลฯ

ปัจจุบันนี้คุณบัณฑิตแบ่งเวลาให้กับการเดินทางไปกำกับวงออร์เคสตร้า การเขียนหนังสือทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และการเป็นวิทยากรพิเศษให้ความรู้กับนักธุรกิจ นักศึกษาและองค์กรต่าง ๆ มากมาย หนังสือทั้งสองเล่มของเขา ชื่อ "ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้" และ"30 วิธีเอาชนะโชคชะตา" ได้ติดอันดับหนังสือขายดี และตอนนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วภายใต้ชื่อว่า "Conduct Your Dreams" และ "The Luckiest Man in the World" ตามลำดับ

ผลงาน "การอัดเสียง" มีสองอัลบั้ม คือ Mozart in Love ทีอัดกับวง Charleston Symphony Orchestra ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ Elgar Violin Concerto ที่อัดให้กับ Naxos และ DVD 2 อัลบั้ม คือ Beethoven Symphony No. 5 กับวง Orchestra Internazionale d’Italia และ Classics Meet Jazz กับวง Seoul Philharmonic Orchestra

คุณบัณฑิตได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เป็น "ทูตวัฒนธรรม" ในปี พ.ศ. 2549 และทั้งได้รับรางวัล "ศิลปาธร" ในปี 2548

คุณบัณฑิตมีภรรยาเป็นนักร้องเพลงแจ๊สมืออาชีพชาวอเมริกันชี่อ แมรี่ อึ้งรังษี มีบุตรสาวด้วยกันสามคน

ผลงานเขียน

ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้

30 วิธีเอาชนะโชคชะตา

39 ข้อคิดจิตวิทยาแห่งความสำเร็จ
 
ทำสิ่งที่รัก...ยังไงก็รุ่ง
 
กฏแห่งความโชคดี
 
สำเร็จก่อนใคร
 
ดนตรีดีๆ ไม่มีกระได
 
ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น