อันดับ 7 พรีเซ็นเตอร์แห่งปี
2018
ในปีนี้จาก 2 กระแสละครดังทั่วบ้านทั่วเมือง คือเรื่อง
“บุพเพสันนิวาส” และ “เมีย 2018” ทำให้นักแสดงนำของทั้ง 2
เรื่อง ก้าวขึ้นเป็นตัวท็อป และรับงานพรีเซ็นเตอร์
และเดินสายรับงานอีเว้นต์ เกือบทุกวันตลอดทั้งปี
ได้แก่ โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ ,
เบลล่า ราณี แคมเปน และ ฟิล์ม ธนภัทร กาวิละ
รวมถึงนักแสดงประกอบจากละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” หลายคนก็พลอยได้รับอานิสงส์ ความฮ็อต กระแสละคร
ทำให้ได้งานโฆษณา โชว์ตัว อีเว้นต์ ในระดับน้องๆ เช่นกัน อาทิ ปราง กัญญรัตน์,
ปั้นจั่น ปรมะ, ซูซี่ สุษิรา, บิ๊ก ศรุต ,หลุยส์ สก็อต ฯลฯ ในส่วนของกระแสเมีย 2018
แจ้งเกิด ฟิล์ม ธนภัทร และมารี เบิร์นเนอร์ ไปพร้อมๆ กัน
แต่ความฮ็อตไปเทที่ฟิล์มเพียงคนเดียว ทำให้เป็นละครแห่งปีของช่อง ONE
งานพรีเซ็นเตอร์ตัวใหญ่ในปีนี้
ที่พวกเขาได้ ได้แก่
1.โป๊ป ธนวรรธน์ พรีเซ็นเตอร์หลัก ๆ ได้แก่ Truemove H
,app true (เถ้าแก่ 4.0), Cathy Doll, Wink White,ครีมกันแดด Mana , 7-eleven
ชุดบุพเพเมนูแซ่บ ,แอร์ Mitsubishi, อาหารสุนัข
Smart Hart, เสื้อผ้า Hugo Boss,กาแฟสำเร็จรูป
Nescafe Blend & Brew,เนสกาแฟ Red Cup ,ผลิตภัณฑ์ไส้กรอก
Betagro , เครื่องดื่ม ฮาบุ by Coca Cola, กะทิ RealThai , ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
BSC ฯลฯ
2.เบลล่า ราณี พรีเซ็นเตอร์หลักๆ ได้แก่ Scb
Easy Plus, AIS one 2 call, Neutrogena Cushion Foam , Mistine
ซุปเปอร์แบล็ค ฟิกซ์ไลน์เนอร์ , ยาสีฟันเทพไทย , 7-eleven, เมืองไทยประกันชีวิต, Lazada 6th Birthday Party, กะทิ RealThai , My Whey Protein ฯลฯ
3.ฟิล์ม ธนภัทร พรีเซ็นเตอร์หลักๆ ได้แก่ เครื่องดื่ม
Calpis Lacto Monowheel Duo (ร่วมกับมาริโอ้) , Samsung
Galaxy Note 9, Cathy Doll Speed White CC Cream, Swensen’s Bing Su Festival ,
Teapot รสช็อกกาแลต , ปลาเส้น Taro , เครื่องดื่ม
Ichitan Happy Tea, เครื่องสำอาง Rojukiss Acne Spotless Serum , Office Mate ฯลฯ
จัดเป็นปีทองของทั้ง
3 คน
ที่วิ่งรอกรับงานอีเว้นต์ไม่เว้นแต่ละวัน ตลอดทั้งปี และขึ้นเป็นตัวท็อปของช่อง มีงานละครเปิดเรื่องใหม่อย่างต่อเนื่อง
และอยู่ในอันดับ 7 ของสุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2018
ในปีนี้
อันดับ 6 ภาพรวมการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ไทยปีนี้
ฟรีค่าธรรมเนียม ยุบสาขา ตั้งเอเย่นต์แบ็งค์กิ้ง พัฒนาแอพพลิเคชั่น E-Payment
Banking และ E-Wallet
เป็นปีที่ธุรกิจธนาคารเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็ว่าได้
จากการที่คนหันมาทำธุรกรรมการเงินผ่านออนไลน์มากขึ้น เดินทางไปสาขาน้อยลง
จนทำให้ธนาคารต่าง ๆ ต้องปรับตัวให้ทัน ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2561 ของธนาคารแห่งประเทศไทย
พบว่า จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา
(ม.ค.-พ.ย. 2561) ปรับลดลงถึง 46 แห่ง เหลือ 6,734 แห่ง จากช่วงต้นปี 2561 ที่มีจำนวน 6,780 แห่ง และมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อย ๆ ในปีต่อ ๆ ไป
สอดคล้องกับกลยุทธ์ของหลายธนาคารที่ประกาศชัดเจนว่าจะมุ่งเน้นเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลกันมากขึ้น
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ ลดลง 53 สาขา - เหลือ 1,109 สาขาในเดือนพฤศจิกายน จากเดือนมกราคม 2561
ที่มี 1,162 สาขา ผลประกอบการของธนาคารไทยพาณิชย์
งวด 9 เดือนแรกของปี 2561 - รายได้รวม
104,443 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 0.1% และกำไรสุทธิ
32,984 ล้านบาท ปรับลดลง 2.9%
2. ธนาคารกสิกรไทย ลดลง 44 สาขา - เหลือ 987 สาขาในเดือนพฤศจิกายน จากเดือนมกราคม 2561
ที่มี 1,031 สาขา ผลประกอบการของธนาคารกสิกรไทย
งวด 9 เดือนแรกของปี 2561 - รายได้รวม
136,303.81 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 31,426.15 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 9.76% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
3. ธนาคารทหารไทย ลดลง 15 สาขา - เหลือ
416 สาขาในเดือนพฤศจิกายน จากเดือนมกราคม 2561 ที่มี 431 สาขา ผลประกอบการของธนาคารทหารไทย งวด 9
เดือนแรกของปี 2561 - รายได้รวม 36,556.84
ล้านบาท และกำไรสุทธิ 9,900.19 ล้านบาท
ปรับเพิ่มขึ้น 53.1% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
4. ธนาคารธนชาต ลดลง 6 สาขา - เหลือ
515 สาขาในเดือนพฤศจิกายน จากเดือนมกราคม 2561 ที่มี 521 สาขา ผลประกอบการของธนาคารธนชาต งวด 9
เดือนแรกของปี 2561 - รายได้รวม 46,240.59
ล้านบาท และกำไรสุทธิ 5,819.62 ล้านบาท
ปรับเพิ่มขึ้น 14.88% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
5. ธนาคารกรุงเทพ ลดลง 4 สาขา - เหลือ
1,163 สาขาในเดือนพฤศจิกายน จากเดือนมกราคม 2561 ที่มี 1,167 สาขา ผลประกอบการของธนาคารกรุงเทพ งวด 9
เดือนแรกของปี 2561 - รายได้รวม 115,039.20
ล้านบาท และกำไรสุทธิ 27,228.80 ล้านบาท
ปรับเพิ่มขึ้น 11.1% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยธนาคารที่มีการลดจำนวนสาขา
ล้วนแต่เป็นธนาคารขนาดใหญ่แทบทั้งนั้น ซึ่งกำลังเดินหน้าพัฒนาระบบ Mobile
Banking และ Internet Banking เพื่อชิงกลุ่มลูกค้ากันอย่างหนัก ธนาคารที่มีการขยายสาขาในรอบ 11 เดือนของปี 2561 กลับพบว่ามีเพียง 2 ธนาคารเท่านั้น ได้แก่
1. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย เพิ่มขึ้น 77 สาขา -
เพิ่มเป็น 209 สาขา ในเดือนพฤศจิกายน
จากเดือนมกราคม 2561 ที่มี 132 สาขา ผลประกอบการของธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย
งวด 6 เดือนแรกของปี 2561 - รายได้รวม
2,009 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 325 ล้านบาท
ปรับเพิ่มขึ้น 78.57% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพิ่มขึ้น 2 สาขา - เพิ่มเป็น 664 สาขา ในเดือนพฤศจิกายน จากเดือนมกราคม
2561 ที่มี 662 สาขา ผลประกอบการของธนาคารกรุงศรีอยุธยา งวด 9
เดือนแรกของปี 2561 - รายได้รวม 106,008.57
ล้านบาท และกำไรสุทธิ 18,702.51 ล้านบาท
ปรับเพิ่มขึ้น 6.68%
พาดหัวข่าวในปีนี้
สะท้อนการแข่งขันอย่างดุเดือดของวงการธนาคารไทย ดังนี้
ศึกชิงลูกค้ายุคดิจิทัล แบงก์พาณิชย์ “เล่นใหญ่-จัดหนักฟรีค่าธรรมเนียม”
ปล่อยสินเชื่อผ่านไลน์ได้แล้วนะ กสิกรไทย ร่วมทุน LINE ตั้ง “บริษัท
กสิกรไลน์”
SCB เตรียมตั้ง “7-Eleven” เป็น “แบงกิ้งเอเย่นต์” ดีเดย์ต้นปี 2562
กสิกรไทย ลุย “แบงกิ้ง เอเย่นต์” ตั้ง “ไปรษณีย์ไทย”
รายแรก ประเดิมรับฝากเงินสด ค่าธรรมเนียม 20 บาท
ถอนเงินเริ่มปีหน้า ร้านสะดวกซื้อ-ห้างฯ-ปั๊มน้ำมันคิวต่อไป
ออมสิน ควงเซเว่นอีเลฟเว่น เปิด แบงกิ้ง เอเย่นต์ ฝากถอน 24 ชม. เริ่ม 31 ต.ค.
E-Wallet สมรภูมิที่เหมือนจะมีผู้ชนะแล้ว K
PLUS, SCB Easy, Rabbit Line Pay, หรือ TrueMoney?
ข่าวใหญ่ในปีนี้ก็คือ KBank และ SCB ประกาศโอนเงินและจ่ายบิลฟรีไม่เสียค่าธรรมเนียมอีกต่อไปถ้ามองดูคร่าวๆเหมือนทั้งสองแบงก์จะเสียรายได้จากค่าธรรมเนียมซึ่งน่าจะเป็นหลักพันล้านบาทหรืออาจจะหมื่นล้านบาทสำหรับรายได้จากค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ ดูเหมือนเยอะแต่ก็ไม่เยอะมากเมื่อเทียบกับรายได้รวมหลายแสนล้านบาท ที่ได้กลับมาคือ สามารถลดจำนวนสาขา ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้
และยังได้ข้อมูลการใช้งานจริงของผู้ใช้
ช่วยให้ธนาคารเข้าใจผู้ใช้และนำข้อมูลไปวิเคราะห์นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสม
และที่น่าจะคุ้มค่าที่สุดสำหรับแบงก์ทั้งสองคือ การปิดประตูไม่ให้ e-wallet
app เจ้าอื่นๆและเจ้าใหม่ ให้มาแย่งผู้ใช้ได้
E-wallet คืออะไร
E-wallet app คือ app ที่ใช้เป็นกระเป๋าเงินออนไลน์ ไว้ซื้อสินค้าออนไลน์ ไว้โอนเงินให้เพื่อน ไว้ชำระค่าบริการต่างๆ นอกจาก app ธนาคารแล้ว ก็จะมี TrueMoney, Rabbit Line Pay และ Airpay ของ Garena ที่เป็นผู้เล่นสำคัญมีผู้ใช้เกินล้านคน
การใช้งาน TrueMoney
ถามว่าทำไม app พวกนี้ถึงสำคัญนักทั้งที่ผู้ให้บริการก็แทบเก็บค่าธรรมเนียมอะไรก็ได้ เหตุผลคือเป็น app ที่ผู้ใช้ใช้บ่อยมากรองจาก chat และ social
media ที่สำคัญคือเป็นข้อมูลการใช้เงิน รู้ว่าเราจ่ายเงินซื้ออะไร ซื้อร้านไหนซึ่งเป็นประโยชน์กว่าการรู้ว่าเรากด Like เพจไหนบน Facebook ธนาคารสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้นำเสนอผลิตภัณฑ์การเงินที่เหมาะสมกับเรา หรือแม้แต่เอามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ เพิ่มเติมหรือใช้แทนหลักฐานการอนุมัติสินเชื่อทั่วไป wallet app ที่ไม่ใช่ของธนาคาร ประสบความสำเร็จมากในเมืองนอก เช่น Venmo เป็น app ที่คนอเมริกาใช้โอนเงินให้กันมากที่สุด ในเมืองจีนคือ Alipay และ Wechatpay ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้แบงก์ในไทยตื่นตัวไม่อยากเป็นเหมือนแบงก์ในจีนและอเมริกา ที่แพ้ฟินเทคไป
ปัญหาหลักๆ ที่ทำให้คนไม่ใช้ app ธนาคารทั้งที่มีเงินอยู่ในนั้น แต่กลับใช้ e-wallet app คือ
1.
โอนเงินข้ามแบงก์เสียค่าธรรมเนียม
2.
App ธนาคารแย่ ไม่น่าใช้งาน
3.
ไม่มีบัญชีธนาคาร
4.
การบังคับจ่ายด้วยบัตรเครดิตบน App Store และผู้ใช้ไม่มีบัตรเครดิต
5.
บาง App โดยเฉพาะเกม กำหนดให้ผู้ใช้ต้องสมัคร
6.
รายได้หลักถูกโอนเข้าบัญชี e-wallet โดยตรง
7.
E-wallet เชื่อมต่อกับช่องทาง saving และ investment ที่ผู้ใช้ชอบ
8.
App เช่น Wechat ที่กลายเป็น App ที่ App อื่นไปสร้างบริการไว้หมด ผู้ใช้สามารถทำทุกอย่างทั้งเรียก taxi สั่ง food delivery จองตั๋วหนังได้บน app เดียว
Venmo กลายเป็น app อันดับหนึ่งที่คนอเมริกาใช้โอนเงินเพราะข้อ 1 และ 2 ทำให้ผู้ใช้โอนเงินให้เพื่อนไม่เสียค่าธรรมเนียมและตัว
App ทำออกมาดีมาก
Wechat Pay เริ่มจากข้อ5 คือเป็นที่เติมเงินเล่นเกม และเติบโตสุดขีดด้วยข้อ 1
3 และ 8 โอนเงินหากันฟรีบน Wechat
ที่คนจีนใช้กันทุกคนทุกวัน และเมื่อ Wechat กลายเป็น
app ที่คนจีนใช้ทำทุกอย่าง จะจองโรงแรม จะสั่งอาหาร
จะเช่าจักรยาน Wechatpay ได้ทำให้การทำธุรกรรมจ่ายเงินทุกอย่างบน
Wechat ง่ายและสะดวกสบายไร้รอยต่อ
Alipay เริ่มจากข้อ 6 สำหรับทั้งผู้ขายและผู้ซื้อบนเว็บในเครือ Alibaba ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ไว้ใจกันในช่วงแรกของecommerce ทำให้ Alibaba ต้องสร้าง Alipay ขึ้นเพื่อใช้เป็นระบบจ่ายเงินที่เงินของผู้ซื้อจะถูกเก็บไว้ในระบบก่อน รอจนผู้ซื้อคอนเฟิร์มสินค้าแล้วจึงโอนให้ผู้ขาย ด้วยความยิ่งใหญ่ของ Alibaba ฝั่ง ecommerce ทำให้คนใช้ Alipay เป็นจำนวนมาก และ Alibaba ก็ต่อยอดด้วยข้อ 7สร้าง Alipay เป็น Ant
Financial ที่ผู้ใช้สามารถซื้อกองทุน ซื้อประกันได้ โดยไม่ต้องมีขั้นต่ำ ขณะที่ในเมืองไทย TrueMoney ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากก่อนหน้านี้ด้วยข้อ 3 4 5 นั่นคือ TrueMoney มีผู้ใช้กลุ่มแรกคือกลุ่มเล่นเกมและขยายไปยังวัยรุ่นกลุ่มใหญ่ที่ยังไม่มีบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต แต่อยากซื้อ sticker Line และซื้อเพลงบน itune ขณะที่ Rabbit Line
Pay เกิดจากบัตร BTS ซึ่งเป็นสิ่งที่คนกทมนับล้านที่ขึ้น BTS ต้องใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ส่วน Airpay นั้นเกิดจากเกม
ใครจะเป็นผู้ชนะในตลาดนี้?
ที่จีนและอเมริกาแล้วว่า app ธนาคารก็ยังมีคนใช้อยู่ เพราะเงินเดือนยังเข้าบัญชีธนาคาร แต่คนไม่ได้ใช้เป็น app หลัก ด้วย network effect ของ e-wallet app ที่ความน่าใช้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีคนใช้ app นี้มากขึ้น เมื่อมีคนใช้มากขึ้น ร้านค้าและบริการต่างๆก็อยากเป็นพันธมิตรด้วย ทำให้เมื่อตลาดพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง จะมีผู้ชนะเพียงไม่กี่ราย ในเมืองไทยนั้นต้องยอมรับว่า KBank และ SCB ปรับตัวได้เร็วมาก พัฒนา app ได้โอเค ไม่แย่ ถึงจะมีผู้ใช้บ่นอยู่ไม่น้อย ทำการตลาดได้ผู้ใช้ไปอย่างรวดเร็ว และปิดจุดอ่อนไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องค่าธรรมเนียม ด้วยฐานผู้ใช้ App กว่า 5 ล้านคนของ SCB และ 8 ล้านคนของ KBank ทำให้เป็นเรื่องยากมากที่ App อื่นจะสร้างสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าใช้App นั้นแล้ว ดีกว่า สะดวกกว่า หรือประหยัดกว่า อย่างชัดเจน สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่มีบัญชีธนาคาร การจะเกิดกรณีอย่าง Alipay ที่เกิดจากคนใช้ e-ecommerce เว็บนึงเป็นอย่างมากมายและใช้ระบบจ่ายเงินที่ทางเว็บพัฒนามาเอง ปัจจุบันเราไม่ได้มีปัญหาเรื่องผู้ซื้อผู้ขายไม่ไว้ใจกันเหมือน Alibaba ในช่วงแรก เช่นกันกับการจะเกิดกรณีอย่าง Wechat ที่กลายเป็นแอปที่ผู้ใช้ใช้ทำทุกอย่างนั้นก็น่าจะยาก พฤติกรรมการใช้มือถือของคนไทยกับจีนนั้นต่างกัน Line ที่ใกล้เคียงกับ Wechat สุด ก็ยังห่างไกลมาก
โอกาส อนาคตและทิศทางของ wallet
app
KBank และ SCB ได้ประกาศแผนอย่างชัดเจนว่าต้องการเป็นมากกว่า app ธนาคาร หนึ่งคือเอาบริการด้านการเงินมาให้บริการบน app ไม่ต้องไปสาขา สองคืออยากเป็นให้ได้อย่าง wechat ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะซื้ออะไรออนไลน์ก็ซื้อได้หมดบน App สามคือกระตุ้นให้ผู้ใช้ใช้QR Code ไม่ใช่เงินสด และสุดท้ายคือใช้ AI นำเสนอสิ่งที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้
สิ่งที่ต่างกันคือ SCB เริ่มจากสิ่งที่เราสามารถซื้อออนไลน์ได้ง่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องมีการเปรียบเทียบ เช่น ตั๋วหนัง ขณะที่ KBank ต้องการใช้เครือข่าย SME ที่มีมากสุดในไทย มานำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้น่าจะสนใจ ผ่านรูปแบบ marketplace บน app
K PLUS ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากกว่าเพราะต้องแข่งกับ ecommerce เจ้าตลาด ช่องว่างที่ทั้งสองแบงก์ยังขยายได้ไปอีกคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือมีแต่ไม่มีบัตรเครดิต พวกเขาซื้อ stickers ซื้อเพลงออนไลน์ ปัจจุบันพวกเขาใช้ TrueMoney ตลาดนี้นั้นน่าสนใจมากเพราะอายุยังน้อย จะเป็นลูกค้าธนาคารได้อีกนาน และคุ้นเคยกับการซื้อออนไลน์
อีกช่องว่างคือกลุ่มคนสูงอายุที่ไม่คุ้นเคยกับ smartphone นัก
และกังวลเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง SCB เริ่มแล้วกับโครงการ
Senior Buddy สอนผู้สูงอายุ ใช้ SCB Easy
TrueMoney นั้นมีผู้ใช้ประจำเกือบล้านคน ปัญหาของ TrueMoney คือผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่มีบัตรเครดิตมีกำลังเงินไม่มาก ใช้โอนเงินให้กันครั้งละไม่เยอะ เฉลี่ยครั้งละ 120 บาท และใช้เติมเงินเล่นเกม อาวุธเด็ดสุดในมือ True คือ 7-11 ที่คนหลายล้านคนเข้าทุกวัน ปัจจุบัน TrueMoney มีการทำโปรโมชั่นร่วมกับ 7-11 คือ ใช้ TrueMoney ครั้งแรกลด 30 บาท มีการติดป้ายอย่างชัดเจนที่เคาน์เตอร์จ่ายเงิน แต่จากที่สังเกตคือเกือบทุกคนก็ยังใช้เงินสดอยู่ และในอนาคตอันใกล้จะมีการติดตั้งเครื่องรูดบัตรเครดิต ซึ่งยิ่งทำให้คนที่มีบัตรเครดิตและไม่จ่ายเงินสดก็จะเลือกจ่ายบัตรเครดิตแทนใช้
TrueMoney เพราะยังได้พอยท์บัตร ถ้า True จะผลักดัน TrueMoney ให้สุด อาจต้องทำโปรโมชั่นที่จูงใจผู้ใช้ชัดเจนว่าถูกกว่าและยอมเข้าเนื้อกว่านี้ เช่น ลด 1% ทุกครั้งที่จ่ายด้วย
TrueMoney
การใช้งาน Rabbit LINE Pay
ผู้เล่นสำคัญรายสุดท้ายคือ Rabbit
Line Pay ที่ดูจากอาวุธในมือแล้วมีโอกาสมากเพราะ Line คือ App ที่คนไทยใช้บ่อยสุดแล้ว และคนซื้อstickers บน Line จำนวนมาก บัตร Rabbit นั้นก็แก้ปัญหาเรื่องการแลกเหรียญแล้วต้องไปหยอดเหรียญอีกทีได้อย่างชัดเจนและผูกขาดเจ้าเดียว ส่วน AIS นั้นเป็นผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ที่สุด
แต่ผ่านมาหลายปีแล้ว เรายังไม่สามารถเติมเงิน BTS ผ่านมือถือได้ เรียกว่าช้ากว่าคู่แข่งเป็นอย่างมาก
การทำให้สามารถเติมเงิน BTS บนมือถือ ไม่ต้องไปต่อคิวที่เคาน์เตอร์นั้นน่าจะทำให้คนใช้ Line
Pay เพิ่มขึ้นมากและบ่อยขึ้นมาก แต่ก็ยังไม่พอ เพราะคนส่วนใหญ่น่าจะเติมเดือนละครั้ง อีกสิ่งหนึ่งที่ Rabbit
Line Pay พยายามทำคือขยายร้านค้าออฟไลน์ที่รับบัตร Rabbitคำถามคือถ้าคนไม่ใช้เงินสด คนจะใช้ QR
Code หรือบัตร Rabbit ไม่นับรวมถึงฝั่งร้านค้าที่การติดตั้ง QR
Code ที่ร้านนั้นสะดวกกว่าการติดตั้งเครื่องรับบัตร Rabbit
บทสรุป
ในอีก 2-3 ปีนี้ เราน่าจะได้เห็นผู้ชนะใน e-wallet ที่จะมีผู้ใช้รายวันมากกว่าเจ้าอื่นและยอดการใช้จ่ายอย่างเทียบกันไม่ได้
ระหว่างนี้เราน่าจะได้เห็นโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมเพื่อจูงใจให้คนใช้ เราน่าจะได้ใช้บริการทางการเงินที่ครบวงจรบน app เดียวตั้งแต่เปิดบัญชี ฝากเงิน ลงทุน ถอนเงิน โอนเงิน ขอสินเชื่อ จ่ายเงิน เราน่าจะได้เห็น wallet app ที่ฉลาดรู้ใจเรามากขึ้น เปิด app มา ก็แสดงสิ่งที่เราสนใจ ไม่ใช่แค่สรุปสถานการณ์การเงินของเรา แต่บอกเลยว่าเราควรทำอะไรต้องทำอะไรเกี่ยวกับเงินเราบ้างวันนี้ และบางอย่างก็ทำให้เลยโดยอัตโนมัติ อีกคำถามที่เราควรกลับมามองคือ ต่างชาตินั้นนวัตกรรมด้านนี้ถูกผลักดันและครองตลาดโดยฟินเทค ขณะที่ในไทยไม่มีฟินเทคทำด้านนี้เลย มันเป็นเพราะกฎระเบียบที่ปกป้องธนาคารมากเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้ฟินเทคได้เกิด หรือเพราะธนาคารเมืองไทยนั้นเก่งจริงสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้และปรับตัวเร็วมาก หรือเพราะฟินเทคไทยไม่เก่งเอง (เครดิตบทความจากเพจ Brandinside.asia)
อันดับ 5 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2561 โดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น พร้อมระดับราคา แต่ปีหน้า 2562 อาจชะลอตัว จากปัจจัยเพิ่มเงินดาวน์ ขยับดอกเบี้ย
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร
ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจว่า
การศึกษาเกี่ยวกับภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดตัวใหม่ในครึ่งปีแรก 2561 พบว่าขยายตัวร้อยละ 4.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า
ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส
และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2561 ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี 2560 ร้อยละ 2.0
และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ
4.2–4.7 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 4.5)
การเปิดตัวโครงการใหม่ในครึ่งปีแรกจำนวน 191 โครงการ
(ที่อยู่อาศัย 189 โครงการ และ อสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ 2
โครงการ โดยการพัฒนาส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชั้นใน
ชั้นกลางและพื้นที่รอบนอก ที่มีแหล่งงานหรือแหล่งชุมชนที่อยู่อาศัย เป็นสำคัญ
ซึ่งการพัฒนาหลักยังเป็นการพัฒนาอาคารชุดและพัฒนาโดยผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นสำคัญ
โดยภาพรวมครึ่งปีแรกมีโครงการใหม่ลดลง 13 โครงการ (-6%)
มีจำนวนหน่วยเปิดใหม่รวม 45,942 หน่วย ลดลง 8,366
หน่วย (15%) มีมูลค่าโครงการ 187,258 ล้านบาท ลด 2,739 ล้านบาท (1%) เมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรก 2560
การเปลี่ยนแปลงราคาแยกตามประเภทบ้านและระดับราคา
- บ้านเดี่ยว
ภาพรวมของตลาดมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 0.54%
โดยปรับเพิ่มทุกระดับราคา (ยกเว้นระดับราคา 1.001-2.000
ล้านบาท) กลุ่มที่มีการปรับราคาเพิ่มมากที่สุด คือ ระดับราคา
>20.000 ล้านบาท ปรับเพิ่ม 2.44% รองลงมา
คือ ระดับราคา 10.001-20.000 ล้านบาท ปรับเพิ่ม 0.74%
และระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาท
ปรับเพิ่ม 0.42% ตามลำดับ
- บ้านแฝด
ภาพรวมมีการปรับราคาเพิ่มทุกระดับราคา 0.54%
ระดับราคาที่มีปรับเพิ่มมากที่สุด คือ 3.001-5.000 ล้านบาท 0.87% รองลงมา คือ ระดับราคา 5.001-10.000
ล้านบาท ปรับเพิ่ม 0.05% ส่วนที่ราคาคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคา
คือ ระดับราคา 1.001-2.000 และระดับราคา
>20.000 ล้านบาท ตามลำดับ
- ทาวน์เฮ้าส์
ภาพรวมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.88%
ระดับราคาที่มีปรับเพิ่มมากที่สุด คือ ราคา 10.001-20.000
ล้านบาท ปรับเพิ่มมากถึง 2.13% รองลงมา
คือ ระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาท ปรับเพิ่ม 1.09%
(ทาวน์เฮ้าส์ในเขตเมืองชั้นในและชั้นกลาง)
- อาคารพาณิชย์
ภาพรวมมีการปรับราคาลดลง -0.77% โดยระดับราคาที่มีการปรับลดมากที่สุด คือ ราคา >20.000 ล้านบาท ปรับลด -6.50% รองลงมา คือ ระดับราคา 1.001-2.000
ล้านบาท ปรับลด -0.41% ส่วนที่ระดับราคาเพิ่ม
คือ ระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาท ปรับลด 0.39%
ตามลำดับ
- ภาพรวมของตลาดอาคารชุด
ราคามีการปรับเพิ่มเกือบทุกระดับราคา โดยปรับเพิ่มขึ้น 0.38% โดยกลุ่มราคาที่มีการปรับเพิ่มขึ้นมากสุด
คือ อาคารชุดราคา 2.001-3.000 ล้านบาท ปรับเพิ่ม 0.56%
รองลงมา คือ ระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาท
ปรับเพิ่ม 0.52% ส่วนกลุ่มที่มีการปรับราคาลดลง คือ
ระดับราคา 0.500-1.000 ล้านบาท ปรับลด 1.14%
- ที่ดินจัดสรร
ภาพรวมรอบนี้ไม่มีการเพิ่มขึ้น/ลดลงของราคา
หรือภาพรวมส่วนใหญ่ของตลาดระดับราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านราคาเลย
การเปลี่ยนแปลงราคาบ้านมือสองในตลาด
การวิเคราะห์นี้ก็เพื่อทราบในโครงการบ้านหลังเดิมหรือหน่วยเดิม
มีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างไร ตลอดช่วงที่ผ่านมา 27 ปี พบว่า
บ้านที่มีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดก็คือ อาคารชุดราคาปานกลาง 1.1-2.5 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 65% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปลายปี 2560
(เพิ่มขึ้น 5.6%) และบ้านเดี่ยวราคาปานกลาง (2.1-3.0
ล้านบาท) โดยเพิ่มขึ้น 66% (เพิ่มขึ้น 5.9%)
ในอัตราเท่ากัน รองลงมาคือ ทาวน์เฮ้าส์ราคาถูก (ไม่เกิน 0.8 ล้านบาท) โดยเพิ่มขึ้น 49% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปลายปี 2560
(เพิ่มขึ้น 3.7%) ส่วนอาคารชุดราคาแพง (3.0
ล้านบาทขึ้นไป) เพิ่มขึ้น 55% (เพิ่มขึ้น 2.7%)
และบ้านเดี่ยวราคาแพง (5.1-7.0 ล้านบาท)
เพิ่มขึ้น 34% (เพิ่มขึ้น 1.2%) จากปลายปี
2560
แม้ในรอบนี้ราคาที่อยู่อาศัยจะเพิ่มขึ้นทุกประเภท
แต่อย่างไรก็ตามสินค้าที่ราคาตกเพิ่มขึ้น
แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับสินค้าประเภทอื่น ก็คือ
อาคารชุดราคาถูก ซึ่งผ่านมา 27 ปี ราคาเพิ่มขึ้น 77% ของราคาตอนเริ่มต้น (ราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2.0% จากปลายปี 2560) เนื่องจากขาดการดูแลและการบริหารหลังการขายที่ไม่ดี
นิติบุคคลอาคารชุดไม่ได้ดูแลเท่าที่ควรจะเป็น
อันเนื่องจากกลุ่มคนที่พักอาศัยในอาคารชุดราคาถูก เป็นกลุ่มคนรายได้น้อย
หาเช้ากินค่ำ ไม่ค่อยจะให้ความร่วมมือกับส่วนรวม เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมภายในโครงการน่าอยู่
เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรในพื้นที่ดังกล่าวบ้าง กลับมาห้องก็มืดแล้ว
ไม่มีเวลาไปใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทางโครงการจัดเตรียมให้
การจัดเก็บค่าส่วนกลางจึงทำได้ยาก
สำหรับการเพิ่มขึ้นของราคาในช่วง 6 เดือนล่าสุดพบว่า
มีการทุกกลุ่ม ทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเพิ่มขึ้นจากปลายปี 2560 ประมาณ 2%-6% ที่ปรับเพิ่มสูงสุดในรอบนี้ คือ
บ้านเดี่ยวราคาปานกลาง (2.1-3.0 ล้านบาท)
และอาคารชุดราคาปานกลาง (1.1-2.5 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 5.9%
และ 5.6% ตามลำดับ
บริษัทมหาชนและบริษัททั่วไป
พิจารณาภาพรวมของที่อยู่อาศัยที่ยังเปิดขายอยู่ทั้งหมด ณ
กลางปี 2561 จะพบว่าบริษัทมหาชนมีสัดส่วนมูลค่าสูงถึง 53%
และมีจำนวนหน่วย 50% ของทั้งตลาด
และบริษัทมหาชนส่วนใหญ่สามารถผลิตที่อยู่อาศัยที่มีระดับราคาสูงกว่าบริษัทนอกตลาด
ซึ่งเน้นการผลิตจำนวนหน่วยขายจำนวนมากแต่มีแบรนด์
จึงส่งผลให้มีสัดส่วนของมูลค่าโครงการในตลาดสูงกว่าบริษัททั่วไป
โดยมีราคาขายเฉลี่ยที่ 4.188 ล้านบาท
ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยต่อหน่วยของบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ที่มีราคาเฉลี่ย 3.516
ล้านบาท
ดร.โสภณคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี
2562 อาจจะดีขึ้นกว่าปี
2561 เนื่องจากการพัฒนาสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และอาจมีการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้เกิดความหวังใหม่ ๆ
ขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจไม่ได้ดีดังที่ทางราชการคาดการณ์ไว้
และหากไม่มีการเลือกตั้ง ก็จะทำให้ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวดังเดิมต่อไปอีก
(เครดิตข้อมูลจากเพจ area.co.th)
ข่าวพาดหัวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้
-อสังหาปี 2561 ปรับฐานแนวราบมาแรงแซงคอนโด
-เจาะเทรนด์อสังหาริมทรัพย์ไทย ปี 2562 มิกซ์ยูส-โครงการผู้สูงวัยมาแรง ทำเลเกิดใหม่ป้อมปราบศัตรูพ่าย-บางแค ราคาพุ่ง 36%
-แสนสิริ สร้างปรากฏการณ์เปิดบันทึกหน้าใหม่ วางเป้ายอดขายสูงสุดในรอบ 34 ปี ครึ่งปีแรก 24,000 ล้านบาท ทั้งปี 45,000 ล้านบาท
-ที่อยู่”หลังแรกของคนGen Y ทำไมต้องเป็น “ทาวน์เฮ้าส์
อสังหาฯ ปี 62 ส่อชะลอตัว ตัวแปรเกณฑ์เพิ่มเงินดาวน์
ดอกเบี้ยขยับ
ศูนย์ข้อมูลฯ ระบุมาตรการเพิ่มเงินดาวน์ แรงเร่งยอดโอนบ้านสิ้นนปี
ถึงไตรมาสแรกยอดถล่มทลาย พ่วงแบงก์เร่งปล่อยกู้ คาดยอดสิ้นปีแตะระดับ 7 แสนล้านบาท ด้านคอนโดฯ
ซัปพลายชะลอตัว สวนทางแนวราบ จับตาอสังหาฯ ต่างจังหวัดยังเติบโตลดลง
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายกลยุทธ์ 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยถึงผลจากมาตรการคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ LTV ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน เม.ย.ปี 2562 จะทำให้เกิดการชะลอตัวการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 ที่บางส่วนตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการผ่อนชำระสินเชื่อบ้านสัญญาแรกยังไม่ถึง 3 ปี มีผลกระทบ และต่างเริ่มตระหนักว่า การจะซื้อบ้านใหม่เป็นสัญญาเงินกู้ที่ 2 จะมีเงินดาวน์เพียงพอร้อยละ 20 หรือไม่ และกลุ่มผู้ซื้อเพื่อเป็นทรัพย์สินของครอบครัว กลุ่มผู้ซื้อเพื่อปล่อยเช่าโดยตรง ผู้ที่ซื้อเพื่อหวังว่าผู้อื่นสนใจจะซื้อใบจอง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่ซื้อเพื่อการลงทุน จะหยุดพิจารณานานประมาณ 2-3 ไตรมาส และมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธปท. ยังทำให้เกิดการเร่งการซื้อ เร่งโอนกรรมสิทธิ์บ้านในปีนี้มากกว่าปกติ โดยจะเติบโตมากกว่าร้อยละ 10 มูลค่าการโอนจะโตขึ้น เพราะหน่วยการโอนมีมูลค่าสูงขึ้น คาดมูลค่าจะเติบโตกว่าร้อยละ 11 ขณะที่ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ทั่วประเทศปีนี้จะมีมูลค่าแตะระดับ 7 แสนล้านบาท
ช่วงไตรมาสที่ 4 และต้นปีหน้าก่อนที่มาตรการจะมีผลใช้บังคับ ผู้ซื้อบ้านจะเร่งโอน โดยผู้ประกอบการจะจัดรายการส่งเสริมการขายอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งปีหลังชะลอตัวลงได้ และคาดตลาดรวมปี 2562 หดตัวร้อยละ 10 รวมถึงตัวเลขมูลค่าการโอนที่ลดลงเช่นกัน
ด้านแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้านั้น มีโอกาสปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง เพราะส่วนต่างดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.กับของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีส่วนต่างค่อนข้างมาก ซึ่งหากปรับขึ้นดอกเบี้ยก็จะทำให้ความสามารถในการซื้อบ้านของประชาชนลดลงได้ เพราะแม้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยปรับขึ้นในทันที แต่จะมีผลให้ต้นทุนในการระดมเงินจากตลาดเงินตลาดทุนต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย จึงสะท้อนออกมาให้ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้นตามไปด้วย เรื่องนี้จึงส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อบ้านลดลงได้ เพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จึงได้วงเงินกู้น้อยลง
ส่วนภาพรวมคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น ขณะนี้ยังไม่ถือว่าอยู่ในภาวะฟองสบู่ ล่าสุด มีจำนวนเหลือขายอยู่ประมาณ 56,800 หน่วย ส่วนใหญ่ระดับราคาอยู่ในช่วง 2-5 ล้านบาท เพราะมีการทำออกมาขายในกลุ่มนี้มากที่สุด ภาพรวมจึงอยู่ในลักษณะของการมีภาวะความเสี่ยงจากการที่ตลาดชะลอตัว และอาจมีภาวะปริมาณมากกว่าความต้องการเกิดขึ้นตามมา อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของการเกิดขึ้นของคอนโดมิเนียมแต่ละปียังเพิ่มขึ้นในระดับปกติที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.5
สำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในภูมิภาคในปี 2561 คาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวของอุปสงค์อย่างชัดเจน จะมีหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงถึงประมาณร้อยละ 21 ขณะที่อุปทาน ซึ่งดูจากการขอใบอนุญาตก่อสร้างกลับมีการลดลงร้อยละ 3.2 โดยการขอใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดมีการลดลงถึงร้อยละ 49 ขณะที่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.9 เท่านั้น ซึ่งทำให้เห็นการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทานที่มีความสมดุลกันมากขึ้น
ส่วนแนวโน้มภาพรวม ปี 2562 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์คาดการณ์ว่า ผลจากมาตรการควบคุมสินเชื่อ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และในพื้นที่ภูมิภาค โดยคาดว่าจะมีการชะลอตัวทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน (เครดิตข้อมูลจากหน้าเพจข่าวอสังหาฯ MGR online)
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายกลยุทธ์ 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยถึงผลจากมาตรการคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ LTV ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน เม.ย.ปี 2562 จะทำให้เกิดการชะลอตัวการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 ที่บางส่วนตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการผ่อนชำระสินเชื่อบ้านสัญญาแรกยังไม่ถึง 3 ปี มีผลกระทบ และต่างเริ่มตระหนักว่า การจะซื้อบ้านใหม่เป็นสัญญาเงินกู้ที่ 2 จะมีเงินดาวน์เพียงพอร้อยละ 20 หรือไม่ และกลุ่มผู้ซื้อเพื่อเป็นทรัพย์สินของครอบครัว กลุ่มผู้ซื้อเพื่อปล่อยเช่าโดยตรง ผู้ที่ซื้อเพื่อหวังว่าผู้อื่นสนใจจะซื้อใบจอง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่ซื้อเพื่อการลงทุน จะหยุดพิจารณานานประมาณ 2-3 ไตรมาส และมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธปท. ยังทำให้เกิดการเร่งการซื้อ เร่งโอนกรรมสิทธิ์บ้านในปีนี้มากกว่าปกติ โดยจะเติบโตมากกว่าร้อยละ 10 มูลค่าการโอนจะโตขึ้น เพราะหน่วยการโอนมีมูลค่าสูงขึ้น คาดมูลค่าจะเติบโตกว่าร้อยละ 11 ขณะที่ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ทั่วประเทศปีนี้จะมีมูลค่าแตะระดับ 7 แสนล้านบาท
ช่วงไตรมาสที่ 4 และต้นปีหน้าก่อนที่มาตรการจะมีผลใช้บังคับ ผู้ซื้อบ้านจะเร่งโอน โดยผู้ประกอบการจะจัดรายการส่งเสริมการขายอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งปีหลังชะลอตัวลงได้ และคาดตลาดรวมปี 2562 หดตัวร้อยละ 10 รวมถึงตัวเลขมูลค่าการโอนที่ลดลงเช่นกัน
ด้านแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้านั้น มีโอกาสปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง เพราะส่วนต่างดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.กับของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีส่วนต่างค่อนข้างมาก ซึ่งหากปรับขึ้นดอกเบี้ยก็จะทำให้ความสามารถในการซื้อบ้านของประชาชนลดลงได้ เพราะแม้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยปรับขึ้นในทันที แต่จะมีผลให้ต้นทุนในการระดมเงินจากตลาดเงินตลาดทุนต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย จึงสะท้อนออกมาให้ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้นตามไปด้วย เรื่องนี้จึงส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อบ้านลดลงได้ เพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จึงได้วงเงินกู้น้อยลง
ส่วนภาพรวมคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น ขณะนี้ยังไม่ถือว่าอยู่ในภาวะฟองสบู่ ล่าสุด มีจำนวนเหลือขายอยู่ประมาณ 56,800 หน่วย ส่วนใหญ่ระดับราคาอยู่ในช่วง 2-5 ล้านบาท เพราะมีการทำออกมาขายในกลุ่มนี้มากที่สุด ภาพรวมจึงอยู่ในลักษณะของการมีภาวะความเสี่ยงจากการที่ตลาดชะลอตัว และอาจมีภาวะปริมาณมากกว่าความต้องการเกิดขึ้นตามมา อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของการเกิดขึ้นของคอนโดมิเนียมแต่ละปียังเพิ่มขึ้นในระดับปกติที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.5
สำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในภูมิภาคในปี 2561 คาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวของอุปสงค์อย่างชัดเจน จะมีหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงถึงประมาณร้อยละ 21 ขณะที่อุปทาน ซึ่งดูจากการขอใบอนุญาตก่อสร้างกลับมีการลดลงร้อยละ 3.2 โดยการขอใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดมีการลดลงถึงร้อยละ 49 ขณะที่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.9 เท่านั้น ซึ่งทำให้เห็นการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทานที่มีความสมดุลกันมากขึ้น
ส่วนแนวโน้มภาพรวม ปี 2562 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์คาดการณ์ว่า ผลจากมาตรการควบคุมสินเชื่อ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และในพื้นที่ภูมิภาค โดยคาดว่าจะมีการชะลอตัวทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน (เครดิตข้อมูลจากหน้าเพจข่าวอสังหาฯ MGR online)
หยิกแกมหยอก
วิเคราะห์และเรียบเรียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น