วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2018 (อันดับที่ 10,9,8)



อันดับ 10  ตลาดรถยนต์เมืองไทย เติบโตขึ้น ใกล้แตะ 1 ล้านคันตามเป้าหรือไม่




สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2561 
ปริมาณการขาย (คัน) เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของ 2560 
ปริมาณการขายรวม 489,118 คัน +19.3% 
รถยนต์นั่ง 190,310 คัน +17.9% 
รถเพื่อการพาณิชย์ 298,808 คัน +20.2% 
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 237,429 คัน +18.1% 
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 207,405 คัน +20.2%
เพียงแค่ครึ่งปีแรกยอดขายรถยนต์โดยรวม ปาเข้าไปเกือบ 5 แสนคันเข้าไปแล้ว จึงมีการประมาณการณ์ยอดขายของทั้งปีใหม่เป็น  ตลาดรถยนต์รวมปี 2561 ปรับเป็น 980,000 คัน
เป็นคำยืนยันจาก มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2561 พร้อมปรับประมาณการตลาดรถยนต์ไทย ปี 2561 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมโอกุระ กรุงเทพฯ  (ซึ่งตัวเลขจริงอาจใกล้เคียงตัวเลขประมาณการณ์หรือไม่ ยังไม่มีใครรู้ เนื่องจากขณะที่กำลังเขียนบทความอยู่นี้ ยังไม่สิ้นสุดสิ้นปี แต่เชื่อว่า ตัวเลขจริงจะใกล้เคียงกับที่ประมาณการณ์ไว้ของผู้บริหารโตโยต้าฯ)

งาน Motor Expo 2018 ช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ในช่วงสิ้นปี ของทุกปี
ผ่านพ้นไปด้วยดี สำหรับการจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 35 นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงานฯ ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ในปีนี้มีจำนวนเกือบ 45,000 คัน ในขณะที่ยอดจำหน่ายจักรยานยนต์ก็เป็นไปตามเป้าหมาย และมีปริมาณเงินหมุนเวียนภายในงานมากกว่า 5.6 หมื่นล้านบาท
●   ยอดจำหน่ายรถยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 44,189 คัน คิดเป็นอัตราส่วนเพิ่มขึ้นจากปี 2017 ราว 10.9% โดย 5 อันดับสูงสุดได้แก่:
1. Honda จำนวน 6,842 คัน
2. Mazda จำนวน 6,509 คัน
3. Toyota จำนวน 5,907 คัน
4. Isuzu จำนวน 4,437 คัน
5. Mitsubishi จำนวน 3,619 คัน
●   ในจำนวนนี้ รถยนต์นั่งมีสัดส่วนยอดจำหน่ายคิดเป็น 38.9% ใกล้เคียงปีที่ผ่านมา (38.7%) แบ่งเป็นรถซีดาน 25.4% และแฮทช์แบค 13.5% โดย 5 อันดับแรกได้แก่:

1. Honda Civic
2. Honda City
3. Mazda2
4. Honda Jazz
5. MG3
●   กลุ่มรถเอนกประสงค์ (SUV และครอสโอเวอร์) มีสัดส่วน 34.3% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย (33.9%) 5 อันดับแรกได้แก่:
1. Mitsubishi Pajero Sport
2. MG ZS
3. Honda CR-V
4. Honda HR-V
5. Ford Everest
●   กลุ่มรถปิคอัพ มีสัดส่วนลดลงเหลือ 17.2% ซึ่งนับว่าลดลงจากปีก่อนเพียงเล็กน้อย (17.9%) 5 อันดับแรกได้แก่:

1. Ford Ranger
2. Isuzu D-MAX
3. Mitsubishi Triton
4. Toyota Hilux Revo
5. Nissan Navara
●   กลุ่มรถในแบรนด์พรีเมี่ยม มียอดขายรวมถึง 4,213 คัน โดย 5 แบรนด์หรูที่ได้รับความสนใจสูงสุดได้แก่:
1. Mercedes-Benz
2. BMW
3. Volvo
4. Audi
5. Porsche
●   ปิดท้ายด้วยฝั่งรถจักรยานยนต์ ซึ่งปีนี้มีแบรนด์ผู้ผลิตเข้าร่วมงาน 23 แบรนด์ และมีรถรุ่นใหม่ล่าสุดเปิดตัวหลายรุ่นภายในงาน สามารถทำยอดจำหน่ายรวมได้ 9,169 คัน ซึ่ง นายขวัญชัย ระบุว่าสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ โดยยอดจำหน่าย 5 อันดับแรกได้แก่:
1. Honda จำนวน 1,531 คัน
2. Yamaha จำนวน 1,111 คัน
3. Lambretta จำนวน 1,012 คัน
4. Kawasaki จำนวน 775 คัน
5. Vespa จำนวน 605 คัน

(เครดิตข้อมูลบทความ,ข่าวจากเพจ drivetripper.com, thairath.co.th)

อันดับ 9   ตลาดโทรศัพท์มือถือ แบรนด์จีนครองเมือง และในระดับโลก

ปฏิเสธไม่ได้ว่า สมาร์ทโฟน ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน แต่ละแบรนด์ แต่ละค่าย ต่างเร่งพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใส่ไว้ในสมาร์ทโฟน ในทุกๆ 3-4 เดือน เรามักจะเห็นแบรนด์ต่างๆ เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ กันอยู่เรื่อยๆ ตลาดโทรศัพท์มือถือ จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคเองก็เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ กันบ่อยมากขึ้น อายุการใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนของแต่ละคนก็สั้นลง บางครั้งอาจจะใช้งานไม่ถึง 1 ปี ก็เปลี่ยนเครื่องใหม่ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่แต่ละแบรนด์เร่งพัฒนา ได้ถูกใส่เข้าไปในสมาร์ทโฟน รุ่นใหม่ และอีกปัจจัยหนึ่งคือ ราคาของสมาร์ทโฟนที่ถูกลงอย่างมาก จึงทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่จะเปลี่ยนไปใช้สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ที่มีฟีเจอร์การใช้งานและลูกเล่นต่างๆ ที่มากขึ้น ตลาดโลกของสมาร์ทโฟนจึงเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันอย่างมาก  เนื่องจากตลาดสมาร์ทโฟนกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเราจะมาดูกัน เป็นเกร็ดความรู้ 10 แบรนด์สมาร์ทโฟนที่เป็นเจ้า ตลาดมือถือ ในปี 2018 มีใครบ้าง แบรนด์ไหนมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดมาดูกันเลย
สมาร์โฟนที่มีส่วนแบ่งใน ตลาดมือถือ สูงสุด 10 อันดับ ในปี 2018

1. Samsung  อันดับ 1 ยังคงเป็น Samsung ที่เป็นเจ้าตลาดมือถือสมาร์ทโฟนอยู่ในปี 2018 โดยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกอยู่ที่ 22%
2. Apple  อันดับที่ 2 เป็น Apple จากข้อมูลของ บริษัท Counterpoint Research บริษัท มีส่วนแบ่งในตลาดโลกถึง 11%
3. Huawei  อันดับ 3 เป็น Huawei สมาร์ทโฟนของจีนมียอดขายทั่วโลกประมาณ 38.4 ล้านเครื่อง ซึ่งขายได้มากกว่าปีก่อนถึง 20%
4. Oppo  อันดับ 4 ของโลกเป็น Oppo ที่มีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนของโลกอยู่ที่ 8.4%
5. Vivo   Vivo มีตำแหน่งเป็นอันดับที่ 5 โดยมีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนของโลกอยู่ที่ 6.6%
6. Xiaomi   อันดับที่ 6 เป็น Xiaomi มีส่วนแบ่งในตลาดโลก 6.6 เปอร์เซ็นต์ โดยทำยอดขายสมาร์ทโฟนได้ทั้งสิ้น 23.2 ล้านเครื่อง
7. LG  อันดับที่ 7 เป็นแบรนด์ LG สมาร์ทโฟนจากเกาหลีใต้ ในปีที่ผ่านมา ทำยอดขายสมาร์ทโฟนได้ทั้งสิ้น 13.3 ล้านเครื่อง
8. ZTE  อันดับที่ 8 เป็น ZTE มีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนของโลกอยู่ที่ 3.3%
9. Lenovo  อันดับที่ 9 เป็น Lenovo  มีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนของโลกอยู่ที่ 3.2%
10. Alcatel  อันดับที่ 10 เป็น Alcatel มีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนของโลกอยู่ที่ 1.3%
(เครดิตข้อมูลบทความ,ข่าว จากเพจ Thaitoplist.com)

ข่าวพาดหัวของ 2 ผู้เล่นรายใหญ่ในปีนี้ ระหว่าง Apple i-phone VS  Samsung galaxy 

ลือ! "iPhone 2018" รุ่นใหม่เตรียมเปิดตัว 12 กันยายนพร้อมกัน 3 รุ่น
ผลประกอบการผู้ผลิตชิ้นส่วนให้ Apple ชี้ iPhone ใหม่ 2018 ทั้ง 3 รุ่นมาพร้อมกล้อง TrueDepth



Galaxy A8 | A8+(2018) ภาพสวย คมชัด แม้ในที่มืด | Samsung Thailand


Samsung เล็งเปิดตัวมือถือจอพับได้ Galaxy X ปลายปี 2018 คาดมาพร้อมหน้าจอ OLED ขนาด 7.3 นิ้ว



Samsung Galaxy Note 9 ใหม่ | S Pen ที่ฉลาดและสนุกกว่าเดิม‎



Huawei แซง​ iPhone ขึ้นแท่นอันดับ 2 ตลาดสมาร์ทโฟนโลก​ ยอดขายพุ่งถึง

จากที่ CEO ของ Huawei เคยประกาศถึงเป้าหมายของตัวเองเอาไว้เมื่อปี 2016 ว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์มือถืออันดับ 1 ของโลก ให้ได้ภายใน 5 ปี ดูเหมือนจะไม่คำคุยซะแล้วเพราะล่าสุด ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ Huawei สามารถเขี่ยแบรนด์ Apple ให้ร่วงลงไปอยู่อันดับที่ 3 และขึ้นมาแทนที่เป็นอันดับที่ 2 ของแบรนด์มือถือโลกเรียบร้อยแล้ว โดยสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้ถึง 15.4% และขายมือถือได้มากถึง 54 ล้านเครื่อง
โดยข้อมูลล่าสุดที่ออกมาจาก IDC (International Data Corporation) บอกว่า การที่ Huawei สามารถก้าวขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 ของตลาดสมาร์ทโฟนโลกได้เป็นครั้งแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2018 ด้วยการขายมือถือได้มากถึง 54.2 ล้านเครื่อง มากกว่าของปีที่แล้วถึง 41% แซงหน้า Apple ที่ขายได้ 41 ล้านเครื่อง (ซึ่งมีการเติบโตจากปีที่แล้วอยู่แค่ 1% เท่านั้นเอง) ส่วนหนึ่งก็มาจากยอดขายมือถือเรือธงรุ่นล่าสุดอย่าง Huawei P20 / P20 Pro ที่สามารถทำยอดขายทั่วโลกได้มากถึง 7 ล้านเครื่องเลยทีเดียว และไม่ใช่ว่า Huawei จะหยุดอยู่แค่นี้แน่นอน เพราะตอนนี้ Huawei ยังคงมีการสร้างและขยายศูนย์วิจัยและพัฒนาระดับโลก เช่น ดีไซน์เซ็นเตอร์สำหรับออกแบบ UX (User Experience) ที่ซานฟรานซิสโก, ดีไซน์เซ็นเตอร์ที่ลอนดอน, ศูนย์วิจัยและออกแบบด้านสุนทรียศาสตร์ที่ปารีส และศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีด้าน 5G ในเยอรมนี ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำๆ ทั้งหลายแหล่ของ Huawei ไม่ว่าจะเป็น AI ชิปเซ็ต รวมถึงผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนและดีไวซ์ต่างๆ ที่รองรับความต้องการของทุกกลุ่ม ตั้งแต่รุ่นที่มีราคาประหยัดไปจนถึงรุ่นเรือธงระดับพรีเมี่ยม 
เหลือเวลาอีกประมาณ 3 ปี จากที่ Huawei ได้ให้สัญญาเอาไว้ว่าจะก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ในตลาดสามาร์ทโฟนของโลก ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะยากเท่าไหร่แล้ว เพราะขนาดผ่านไปแค่ 2 ปี ก็สามารถทำผลงานได้เป็นที่น่าพอใจสุดๆ ด้วยการก้าวขึ้นเป็นที่ 2 พร้อมยอดการส่งออกที่ก้าวกระโดดจากปีที่แล้วแบบเห็นได้ชัด แฟนๆ Huawei ก็รอลุ้นรอให้กำลังใจกันได้เลย (ที่มา : IDCCanalys)



อันดับ 8  เทรนด์ใหม่ ธุรกิจหันมาเน้นเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เพื่อตอบสนอง Lifestyle ที่เปลี่ยนแปลงไปของคนเมือง
คุณธีรวิทย์ ลิ้มทองสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด กล่าวว่า ตอนนี้มีหลายธุรกิจที่ต้องการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร โคเวิร์กกิ้ง สเปซ หรือแม้กระทั้ง ศูนย์บริการความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น ฟิตเนส,โรงภาพยนตร์ เป็นต้น โดยมองว่าเป็นสิ่งที่น่าจับตามองและเป็นโอกาสที่ดีของหลายธุรกิจ ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบของตลาดรีเทลไทย  นอกจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยียังเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันโดยเทคโนโลยีได้เข้ามาช่วยให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น พร้อมกันนี้ ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่หันมาให้ความสนใจกับสุขภาพอย่างจริงจัง โดยจะเห็นได้จากกิจกรรมเพื่อสุขภาพต่างๆที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังต้องการความสะดวกสบายที่จะเข้าถึงสุขภาพที่ดี จึงทำให้เกิดธุรกิจเพื่อสุขภาพเช่นฟิตเนสหรือคลาสสุขภาพต่างๆ โดยสถานที่ออกกำลังกายกระจายอยู่ในแทบทุกอาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้าหรือคอมมูนิตี้มอลล์ รวมถึงอาคารสำนักงานต่างๆ ธุรกิจฟิตเนสในไทยเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา หลายแบรนด์ดังมีแผนขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ฟิตเนสเชนส่วนมากจับกลุ่มตลาดระดับบนและส่วนมาก ฟิตเนสระดับกลางจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้เกิดช่องว่างทางการตลาดของฟิตเนสระดับกลาง  เมื่อความสะดวกสบายและเทรนด์สุขภาพมารวมกัน จึงทำให้เกิดโมเดลธุรกิจเพื่อสุขภาพ 24 ชั่วโมง โดยฟิตเนสที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง อย่างน้อย 3 แบรนด์ จากต่างประเทศเล็งเห็นถึงช่องว่างและความเป็นไปได้ทางการตลาดในไทย และได้เข้ามาเป็นผู้เล่นใหม่ในตลาด แต่ละรายพยายามหาพื้นที่เช่าที่แตกต่างออกไปจากฟิสเนสที่เคยเห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยความต้องการหลักคือต้องการเช่าพื้นที่ชั้นล่าง ที่มองเห็น เข้าออก เดินทางได้สะดวก แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงความต้องการและยอมรับ  คงต้องใช้เวลาสักพักที่จะทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการหลายๆ รายว่า ฟิตเนสจะสามารถเป็นตัวดูดลูกค้าเข้ามาในพื้นที่ได้เหมือนสตาร์บัคหรือแมคโดนัล  อนาคตตลาดรีเทลยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีเสน่ห์ที่น่าสนใจ สิ่งที่จะท้าทายผู้ประกอบการคือ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำอย่างไรที่จะดึงจุดเด่นทางเทคโนโลยีเข้ามาสร้างความแตกต่าง เพื่อให้สามารถแข่งขันและตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุดคุณธีรวิทย์  กล่าวถึงทิศทางของธุรกิจรีเทลในอนาคต  เปิดศึกฟิตเนส 24 ช.ม. “Jetts- Fitness24Seven” สร้างจุดขายใหม่ อุดข้ออ้างของคนไม่มีเวลา  ตลาดฟิตเนสยังบูมจัดในไทย 2 แบรนด์ใหม่ Jetts และ Fitness24Seven บุกตลาดในไทยต่อเนื่อง ปั้นจุดขายเปิด 24 ชั่วโมง พร้อมทำเลติดรถไฟฟ้า อุดข้ออ้างของคน ไม่มีเวลาขณะที่ Fitness First พี่ใหญ่ เตรียมแผนเปิดโมเดล 24 ชั่วโมงเช่นกัน  Jetts ขยายรัว 4 สาขา ทำเลรถไฟฟ้า  จริงๆ แล้ว Jetts ฟิตเนสจากออสเตรเลียได้ทำตลาดในไทยมาพักใหญ่แล้ว ถือเป็นผู้บุกเบิกฟิตเนสรายแรกๆ ที่เปิดให้บริการ 24 ชม. แต่ด้วยโลเคชั่นที่ไม่ได้อยู่ใจกลางเมืองมากนัก ทำให้ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ แต่เดิมมีอยู่ 3 สาขา ได้แก่ สวนเพลิน มาร์เก็ต (พระราม 4), นวมินทร์ ซิตี้ อเวนิว (เกษตร-นวมินทร์) และเดอะซีน (ทาวน์อินทาวน์) กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จึงเป็นคนในระแวกนั้น  ในปีนี้ Jetts ได้เปิดเกมรุกตลาดฟิตเนส 24 ชั่วโมงด้วยการเปิดสาขารวดเดียว 4 สาขาใหม่ในกรุงเทพฯ ปักหลักโลเคชั่นแนวรถไฟฟ้า หวังทราฟฟิกผู้ต้องการออกกำลังกายแบบสะดวก ได้แก่ สาขาสเตเดียม วัน (จุฬาฯ) BTS สนามกีฬาฯ, เดอะสตรีท (รัชดา) MRT ศูนย์วัฒนธรรม, เดอะฟิล (อ่อนนุช) BTS อ่อนนุช และ สีลม คอนเนค (ช่องนนทรี) BTS ช่องนนทรี   ไมเคิล เดวิด แลมบ์ กรรมการผู้จัดการ Jetts 24 hour fitness – Asia กล่าวว่า ธุรกิจด้านสุขภาพและฟิตเนสในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ปัจจุบัน สัดส่วนของกลุ่มคนอายุ 18-60 ปีที่ใช้บริการสถานออกกำลังกายมีเพียง 5% ธุรกิจฟิตเนสจึงมีโอกาสเติบโตอีกมาก Jetts เลยใช้จุดเด่นด้วยทำเลที่สะดวกในการเดินทาง เน้นใกล้เส้นทางรถไฟฟ้า   จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ Jetts คือเป็นยิมขนาดไม่ใหญ่มากพื้นที่เฉลี่ย 800 – 1,000 ตารางเมตรต่อสาขา ทำให้สามารถขยายสาขาได้รวดเร็ว และราคาสมาชิกเฉลี่ยต่ำกว่ายิมอื่นๆ 25% ไม่มีเงื่อนไขผูกมัด และสามารถเข้าใช้บริการได้กว่า 250 แห่งทั่วโลก ทั้งในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ในปีนี้มีแผนจะขยายสาขาเพิ่มให้ครบ 15 แห่งภายในสิ้นปี สเต็ปต่อไปก็คือ 35 สาขา โดยคาดว่าจะครบ 100 สาขาใน 5 ปี (เครดิตข้อมูลข่าวจากเพจ Brandinside.asia)


นับเป็นการขยับตัวครั้งใหญ่ของ “ซีพีเอ็น” (CPN) Developer ในเครือเซ็นทรัล กรุ๊ป ขยายไลน์ธุรกิจใหม่ คือการทำ “Coworking Space” ภายใต้แบรนด์ “Common Ground” ให้บริการ 24 ชั่วโมง โดย เป็นการร่วมทุน “Common Ground Group” ผู้ให้บริการ Coworking Space จากมาเลเซียที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 1,400 คนใน 6 สาขาในมาเลเซีย เช่น กัวลาลัมเปอร์ และมีแผนเปิดครบ 15 สาขาทั่วมาเลเซียในปีนี้ พร้อมทั้งขยายธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มายังไทย และฟิลิปปินส์  สำหรับในไทย ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท “Common Ground Thailand” ถือหุ้นโดย “ซีพีเอ็น 51% / “Common Ground Group”29% / “MSB Asia” กลุ่มการเงินของมาเลเซีย ถือหุ้น 20% ด้วยทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท
เปิดสาขาแรกที่ เซ็นทรัลเวิลด์ให้บริการ 24 ชั่วโมง  สำหรับสาขาแรกจะเปิดที่ เซ็นทรัลเวิล์ด ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2019 โดยสาขานี้เป็น Regional Flagship ขนาดพื้นที่ 4,500 ตารางเมตร ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของ Common Ground อยู่ในพื้นที่ศูนย์การค้าในทำเลที่สามารถเข้า-ออกจากข้างนอกได้ง่าย ตลอด 24 ชั่วโมง  รูปแบบการสมัครสมาชิก แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 1. Hot Desk (1 ที่นั่ง) ไม่มีที่นั่งประจำ ค่าสมาชิก 4,000 บาทต่อเดือน / 2. Fixed Desk (1 ที่นั่ง) มีที่นั่งประจำของตัวเอง / 3. Private Office รองรับได้ตั้งแต่ 2 – 8 ที่นั่ง ราคาค่าสมาชิกรูปแบบนี้ 4 คน 10,000 บาทต่อเดือน และ 8 คน ค่าสมาชิก 20,000 บาทต่อเดือน  ซีพีเอ็น ตั้งเป้าเปิด 20 สาขาทั่วประเทศใน 5 ปี ด้วยงบลงทุน 800 ล้านบาท เฉลี่ยขนาดพื้นที่สาขา 2,000 ตารางเมตร เน้นเปิดในศูนย์การค้าเซ็นทรัล ที่ตั้งอยู่ในย่าน CBD และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด และคาดว่าในปี 2020 บริษัทร่วมทุนนี้จะมีรายได้ 500 ล้านบาท  (เครดิตข่าวจากเพจ MarketingOops.com)

ร้านกาแฟ เป็นอีก 1 ธุรกิจที่กระโดดลงให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง อาทิ 8 ร้านดัง เช่น
8     คาเฟ่ที่เปิดแบบลืมหลับลืมตื่น 24 ชั่วโมง 1 FU.5 Coffee. ...2 Too Fast To Sleep. ...3 My Cafe the Library. ...4 Think Tank (third place) ...5 Hollys Coffee. ...6 10 Thirthy Cafe. ...7 Tom N Toms. ...8 Let's Say Cafe.  Etc.



12 ร้านอาหารเปิด 24 ชั่วโมง อิ่มได้ทั้งวัน ได้แก่  1.ฌาบีบี โรตี~ชา  ร้านอาหารไทย-มุสลิมประยุกต์ เปิด 24 ชั่วโมง ย่านจุฬาฯ .... 2. My Cafe The Library  เป็นร้านกาแฟและอาหารนานาชาติ เมนูที่อยากให้ลอง คือ สปาเกตตีเป็ดกรอบแถวนวมินทร์ซิตี้ ชั้น 1 ......3. ราดหน้าอาหลิวบางพลัด  อยู่แถวๆ สะพานซังฮี้ ฝั่งธน....   4.กรีนเฮ้าส์ โรงแรมแลนด์มาร์ค......  5. Too Fast Too Sleep KU แถว ม.เกษตร.......6. R.E.A.D Café อยู่แถว ม.เกษตรอีกแล้ว  ....... 7. Vabua Restaurant Vabua Asotel Bangkok อยู่ตรง ถนนลาดพร้าว ซ.130.......8.Mr. Pizza  อยู่ตรง The Street รัชดา......9. Sulbing Korean Dessert Cafe  อยู่ในโครงการ  อโศก-โคเรียนทาวน์ สุขุมวิท ซ12......10.   25 Degrees Burgers, Wine & Liquor Bar Pullman Bangkok Hotel G อยู่แถว โรงแรม Pullman สีลม ชั้น G.......11. SO asean Cafe & restaurant อยู่ในโครงการ เดอะ สตรีท รัชดา....12. Little Hong Kong (ซือฝางไช่) The Street Ratchada (เครดิตข้อมูลจากเพจ Wongnai.com และเพจ Siam2nite.com)


หยิกแกมหยอก วิเคราะห์และเรียบเรียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น