วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ท่องโลก (A2) ทางความคิดไปกับคีย์เวิร์ดที่ขึ้นต้นจาก A-Z อักษร A ตอนที่ 2



ท่องโลกด้วยตัวอักษร A (ตอนที่ 2)

มีใครไม่รู้จัก บรรษัทขนาดใหญ่ 4 แห่งนี้บ้าง ได้แก่
Alphabet
Apple
Amazon
Alibaba

Amazon Inc.
Amazon  คนละอันกับกาแฟ Amazon นะครับ อันนี้เป็นบริษัท E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีกิจการอย่างอื่นอีก อาทิ Cloud Computing, e-book etc.  ก่อตั้งโดย นายเจ็ฟฟ์ เบซซอส เมื่อปี 1994 แรกเริ่มเดิมที เขาทำเว็บออนไลน์เพื่อบริการขายหนังสือทางออนไลน์เป็นหลัก ต่อมาก็ให้บริการดาวน์โหลดวีดีโอสตรีมมิ่ง หรือ MP3,MP4  จากนั้นจึงขยายเว็บไซด์กลายเป็น E-Commerce ขนาดใหญ่ ที่ขายสินค้าแทบทุกอย่างบนออนไลน์ และพัฒนาต่อยอดไปถึงขั้นให้บริการที่จัดเก็บข้อมูลบนเว็บไซด์หรือที่เรียกว่า Cloud Computing

ตารางข้อมูลเกี่ยวกับรายได้,ทรัพย์สิน,ทุน และจำนวนพนักงาน
Revenue
IncreaseUS$177.86 billion (2017)
Decrease US$4.106 billion (2017)
Increase US$3.033 billion (2017)
IncreaseUS$131.31 billion (2017)
IncreaseUS$27.709 billion (2017)
Number of employees
Increase 566,000 (2017)
       เครดิตข้อมูลจาก wikipedia





กลยุทธ์ของ Amazon

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา Amazon ยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกของอเมริกา (และของโลก)
 มีการเคลื่อนไหวทางกลยุทธ์ที่น่าสนใจหลายประการ ซึ่งน่าจะสร้างมิติใหม่ๆ และเป็นกรณีศึกษาให้กับธุรกิจของไทยได้ดี เชื่อว่าทุกท่านพอจะคุ้นกับประวัติของ Amazon อยู่แล้ว ที่เริ่มต้นจากการเป็นร้านขายหนังสือออนไลน์อันดับหนึ่งของโลก ก้าวสู่ยักษ์ด้านค้าปลีกที่ขายสินค้าสารพัดอย่างผ่านทางระบบออนไลน์ จนถึงผู้ให้บริการด้านเพลง ภาพยนต์ หรือแม้กระทั่ง Cloud Service

ในระยะหลัง Amazon ได้รับการกล่าวขวัญมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถูกบรรจุลงไปในเป็นหนึ่งในกลุ่ม FANGซึ่งเป็นบริษัททางด้านเทคโนโลยี ที่ราคาหุ้นมีการพุ่งทะยานมากในปีนี้ ประกอบด้วย Facebook (F), Amazon (A), Netflix (N), Google (G)
ทุกคนทราบกันดีว่า Amazon เติบโตมาจากการขายของออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะทำให้ Amazon เติบโตจนกระทั่งราคาหุ้นใกล้จะแตะ $1,000 อยู่แล้ว ยังทำให้ธุรกิจค้าปลีกแบบเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านหนังสือ หรือ ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมจำนวนมากต้องปิดตัวเองไป แต่ล่าสุดดูเหมือนกลยุทธ์ของ Amazon กลับจะสวนทางความเชื่อหรือสมมติฐานเดิมๆ นั้นคือ Amazon มีการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่เป็นร้านค้ามากขึ้น (จาก online มาสู่ offline)
เริ่มจากการเปิดร้านหนังสือ (ทั้งๆ ที่ Amazon เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ร้านหนังสือจำนวนมากต้องปิดตัวเองไป) โดยเมื่อเดือนที่แล้ว Amazon ได้เปิดร้านหนังสือของตนเองเป็นแห่งที่ 7 ในใจกลางกรุงนิวยอร์ค หลังจากที่ได้ทดลองเปิดแห่งแรกเมื่อปี 2015 และยังมีแผนที่จะเปิดต่อไปเรื่อยๆ  อย่างไรก็ดีร้านหนังสือของ Amazon มีความแตกต่างจากร้านหนังสือทั่วๆ ไปอยู่พอสมควร ทั้งการหันปกหน้าของหนังสือออกทุกเล่ม (ไม่มีเล่นไหนแสดงถึงสันปก) ด้านล่างของหนังสือทุกเล่มจะมีป้ายเล็กๆ แปะไว้ว่าหนังสือเล่มดังกล่าวได้รับการรีวิวไว้กี่ดาวและมีคนมารีวิวไว้กี่คน (นำข้อมูลมาจาก amazon.com) นอกจากนี้บนชั้นยังมีการแนะนำหนังสือประเภทว่า ถ้าคุณชอบเล่มนี้ คุณจะต้องชอบเล่มเหล่านี้” ซึ่งข้อมูลทั้งหมดก็นำมาจาก amazon.com รวมถึงการนำข้อมูลอื่นๆ ที่ได้จากการขายหนังสือบนเว็บมาใช้ในการจัดหนังสือ เช่น หนังสือที่คนอ่านจบภายในเวลา 3 วัน (เก็บข้อมูลจาก Kindle ซึ่งเป็นเครื่องอ่านหนังสือ e-book ของ Amazon) หรือ หนังสือนิยายที่ขายดีที่สุดในนิวยอร์ค สรุปง่ายๆ คือ Amazon ได้นำเอาข้อมูลจากการขายหนังสือออนไลน์กว่า 20 ปีมาใช้ในการออกแบบชั้น ออกแบบร้าน เพื่อให้คนรักหนังสือสามารถค้นหาหนังสือที่ตนเองถูกใจมากขึ้น

ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Amazon ประกาศจะซื้อ Whole Foods ในราคา $13.7 billion ซึ่งถือว่าสร้างความแตกตื่นกันได้พอสมควร เนื่องจาก Whole Foods เป็นยักษ์ใหญ่และผู้นำในการขายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นดี มีคุณภาพ และ Organic ถึงแม้ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาผลการดำเนินงานของ Whole Foods จะตกลง (จากภาวะการแข่งขัน) แต่ Whole Foods ก็ยังเป็นอันดับหนึ่งในด้านสินค้า Organic (และราคาสูง) มีสาขาอยู่ทั่วอเมริกา 460 สาขา  มีการคาดการณ์กันไปหลายทฤษฎีถึงสาเหตุที่ Amazon เข้าซื้อ Whole Foods ทั้งในด้านการใช้เป็นช่องทางส่งสินค้าของ Amazon หรือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขายบรรดาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Amazon เช่น Alexa หรือระบบสมาชิกของ Amazon (Prime membership) หรือเนื่องจาก Amazon มองว่าสินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นตัวขับเคลื่อน การเติบโตที่สำคัญในระยะยาวของธุรกิจค้าปลีก แต่ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม กลยุทธ์ในระยะหลังของ Amazon เริ่มมีความน่าสนใจในแง่ของการขยายจาก online มาสู่ offline มากขึ้น ซึ่งคงจะต้องดูกันต่อไปว่า Amazon กำลังคิดอะไรอยู่

(เครดิตข้อมูลบทความจาก Bangkokbiznews.com)



         
Alibaba Inc.

อาลีบาบากรุ๊ปโฮลดิง จำกัด เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกันทั้งอีคอมเมิร์ซ ค้าปลีก อินเทอร์เน็ต เอไอและเทคโนโลยีข้ามชาติของจีน ก่อตั้งในปี 1999 ซึ่งให้บริการขายแบบลูกค้าต่อลูกค้า ธุรกิจต่อลูกค้า และธุรกิจต่อธุรกิจผ่านเว็บพอร์ทัล ตลอดจนบริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เสิร์จเอนจินซื้อสินค้า และบริการคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์ บริษัทเป็นเจ้าของและดำเนินการธุรกิจหลากประเภททั่วโลกในหลายส่วน และฟอร์จูนออกชื่อว่าเป็นบริษัทที่ได้รับความชื่นชมมากที่สุดในโลกบริษัทหนึ่ง

อาลีบาบาเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่สุดและมีมูลค่ามากที่สุดในโลกตั้งแต่เดือนมษายน 2016 โดยมีกิจการอยู่ใน 200 ประเทศทั่วโลก เช่นเดียวกับเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตใหญ่ที่สุดในโลกบริษัทหนึ่ง ยอดขายและกำไรของบริษัทแซงหน้าผู้ค้าปลีกทุกรายในสหรัฐรวมกัน (รวมทั้งวอลมาร์ท แอมะซอนและอีเบย์) ตั้งแต่ปี 2015 หลังจากนั้นขยายสู่อุตสาหกรรมสื่อ โดยมีเงินได้เพิ่มขึ้นร้อยละสามหลักต่อปี นอกจากนี้ยังทำให้วันคนโสดของจีนเป็นวันซื้อสินค้าออนไลน์และออฟไลน์ใหญ่สุดในโลก โดยมียอดขายของบริษัทกว่า 25,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2017

ตารางข้อมูลเกี่ยวกับรายได้,ทรัพย์สิน,ทุน และจำนวนพนักงาน
Revenue
Increase CN¥250.266 billion (US$39.898 billion, 2018)
Increase CN¥69.314 billion (US$11.050 billion, 2018)
Increase CN¥61.412 billion (US$9.791 billion, 2018)
Increase CN¥717.124 billion (US$114.326 billion, 2018)
Increase CN¥436.438 billion (US$69.578 billion, 2018)
Number of employees
66,421 (March 31, 2018)
         เครดิตข้อมูลจาก wikipedia






Alibaba ลงทุนเพิ่ม Easyhome ขยายแนวคิด New Retail สู่ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์

Alibaba Group ประกาศทุ่มเงิน 5,450 ล้านหยวนซื้อหุ้นในบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่ในกรุงปักกิ่งอย่าง “EasyHome” แล้ว โดยการลงทุนดังกล่าวอาจถือได้ว่าเป็นการตอกย้ำแนวทางของ Alibaba ที่ต้องการขยายธุรกิจสู่ New-Retail หรือค้าปลีกแนวใหม่ ที่มีโมเดลธุรกิจอย่างการผนวกร้านค้าแบบ Brick-and-Mortar เข้ากับประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์เพื่อสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อให้กับผู้บริโภค โดยในคราวนี้เป็นการขยายสู่ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์นั่นเอง
สำหรับ EasyHome ปัจจุบันมีสโตร์ทั้งหมด 223 แห่ง ใน 29 มณฑล และเป็นผู้นำในธุรกิจออกแบบตกแต่งบ้าน ธุรกิจซ่อมเครื่่องเรือน และการรับออกแบบเฟอร์นิเจอร์ตามสั่ง ด้วยจำนวนผู้เข้าใช้งานแพลตฟอร์ม e-Commerce ของ Alibaba ที่มากกว่า 580 ล้านคนต่อเดือน และระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ก้าวหน้า Alibaba จึงน่าจะเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีสำหรับ EasyHome ในการช่วยให้ข้อมูลอินไซต์ของผู้บริโภค รวมถึงพฤติกรรมการซื้อที่ถูกต้องได้
นอกจากนั้นยังเป็นไปได้ด้วยว่า การสร้างประสบการณ์ New-Retail ของ Alibaba ที่ผ่านมาจะทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ขึ้นกับร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ของ EasyHome เช่นกัน เนื่องจากในหลายอีเวนท์ที่ผ่านมาของ Alibaba ก็สามารถสร้างประสบการณ์ให้เป็นที่เลื่องลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Hema supermarket (ซูเปอร์มาร์เก็ตเหอหม่า) ที่สามารถสร้างอิมแพคไปทั่วโลก หรือการสร้างอีเวนท์ยักษ์ใหญ่อย่างวันคนโสด “11.11” ที่ทำให้การช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นเรื่องของความบันเทิง และกิจกรรมที่คนทุกคนในบ้านสามารถมีส่วนร่วมด้วยได้
โดยในปีที่ผ่านมา Alibaba ได้มีการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ มากมาย เช่น การเข้าถือหุ้นใน Sun Art Retail Group ไฮเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดในจีนถึง 36 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจค้าปลีก Intime Retail เมื่อปี 2014
(เครดิตข้อมูลข่าวจากเพจ thumbsup.in.th) 
ถ้ามองในแง่ปริมาณยอดขาย รายได้ และกำไร ในธุรกิจเกี่ยวกับช็อปปิ้งออนไลน์ ก็จะพบว่า Alibaba แซงชนะ Amazon ไปได้ตั้งนานแล้ว แต่ที่ Amazon ยังมีเหนือกว่าด้านมูลค่าการตลาดและสินทรัพย์ก็คือ ธุรกิจที่ Amazon แตกไลน์ออกไปในด้านเทคโนโลยีข้อมูล อาทิ Cloud Computing และในอนาคต Amazon คงไม่หยุดอยู่แค่นี้ กำลังลุกไปในธุรกิจพวก Robot ด้วย ซึ่งจะทำให้ Amazon ยังคงเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่เบอร์ 1 ของโลกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น