ท่องโลกด้วยตัวอักษร A (ตอนที่ 1)
มีใครไม่รู้จัก บรรษัทขนาดใหญ่ 4 แห่งนี้บ้าง
ได้แก่
Alphabet
Apple
Amazon
Alibaba
มูลค่าทรัพย์สิน หรือมูลค่าทางการตลาด ของ 4 บริษัทนี้รวมกัน
มากกว่า GDP ของประเทศยากจนรวมกันทั้งโลก เป็น 100 เท่า และกำลังครองโลก ด้วยมูลค่าสินทรัพย์และการตลาดมหาศาล
และยึดครองเทคโนโลยี ที่จะสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนในโลกให้อยู่ในกำมือของพวกเขาได้ตลอดเวลา
ผมเคยสงสัยว่า บรรษัทพวกนี้มันทำกิจการอะไรของมัน ถึงได้ร่ำรวยนัก แล้วเหตุใดคนเหล่านี้คิดเรื่องพวกนี้ได้
แล้วประชากรอีกซีกโลกนึง หรือในโลกที่ยังไม่พัฒนาคิดแบบคนพวกนี้ไม่ได้
ผู้เขียนขอเรียบเรียงตามหลักความสะดวก ขอเริ่มต้นที่ Alphabet ก่อน
Alphabet Inc. เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย ลาร์ลี่ เพจ
และเซอร์เกย์ บริน 2 ผู้ก่อตั้ง google สถานะของบริษัทคือโฮลดิ้งคอมปานี
และยังให้ Alphabet ทำหน้าที่เป็นบริษัทแม่ของ Google บริษัทแห่งนี้ทำกิจการด้านเทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ท
ซอฟท์แวร์ วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับด้านการดำรงชีพ,รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเอง,
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภาพ ฯลฯ ส่วนบริษัทแม่นั้นทำกิจการด้านให้บริการข้อมูลข่าวสาร และมีรายได้หลักมาจากโฆษณาต่างๆ บนออนไลน์เพจ ภาพด้านบนคือกิจการและโปรดักท์หลักๆ ทั้งหมดในเครือ Google, Google ก่อตั้งในปี 1998 ส่วน Alphabet บริษัทแม่ เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2015 นี่เอง
เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เราได้ยินข่าวที่มีการจัดอันดับมูลค่าสินทรัพย์หรือการตลาดของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปรากฏว่า Google สามารถล้มยักษ์ อันดับ 1 อย่าง Apple ลงได้ และเมื่อปีที่แล้ว 2017 Amazon ก็ประกาศว่าตนเองเป็นบริษัทที่มูลค่าการตลาดเป็นอันดับ 1 เหนือ Google เสียแล้ว ต่อไปเราอาจจะได้ยินข่าวว่า Alibaba กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของโลก แซงหน้า Big 3 ของอเมริกาก็เป็นได้ เพราะความแน่นอนในโลกไม่มี มันขึ้นอยู่กับความสามารถทางการแข่งขัน และใครจะสามารถช่วงชิงเม็ดเงิน หรือกำลังซื้อมหาศาลของผู้บริโภคบนโลกนี้ได้เท่านั้น การแข่งขันของบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมและไอทีของโลก ยังคงดำเนินไปอยู่อย่างนี้ เป็นพลวัต ที่วันข้างหน้าก็จะมีบริษัท start up ใหม่ๆ เกิดขึ้น แล้วสามารถล้มแชมป์เก่าได้เสมอ ตราบใดที่มนุษย์คือทรัพยากรที่มีค่า และพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อทำให้มันกลายเป็น ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ที่สามารถตอบสนองต่อโลกได้
เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เราได้ยินข่าวที่มีการจัดอันดับมูลค่าสินทรัพย์หรือการตลาดของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปรากฏว่า Google สามารถล้มยักษ์ อันดับ 1 อย่าง Apple ลงได้ และเมื่อปีที่แล้ว 2017 Amazon ก็ประกาศว่าตนเองเป็นบริษัทที่มูลค่าการตลาดเป็นอันดับ 1 เหนือ Google เสียแล้ว ต่อไปเราอาจจะได้ยินข่าวว่า Alibaba กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของโลก แซงหน้า Big 3 ของอเมริกาก็เป็นได้ เพราะความแน่นอนในโลกไม่มี มันขึ้นอยู่กับความสามารถทางการแข่งขัน และใครจะสามารถช่วงชิงเม็ดเงิน หรือกำลังซื้อมหาศาลของผู้บริโภคบนโลกนี้ได้เท่านั้น การแข่งขันของบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมและไอทีของโลก ยังคงดำเนินไปอยู่อย่างนี้ เป็นพลวัต ที่วันข้างหน้าก็จะมีบริษัท start up ใหม่ๆ เกิดขึ้น แล้วสามารถล้มแชมป์เก่าได้เสมอ ตราบใดที่มนุษย์คือทรัพยากรที่มีค่า และพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อทำให้มันกลายเป็น ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ที่สามารถตอบสนองต่อโลกได้
ตารางข้อมูลเกี่ยวกับรายได้,ทรัพย์สิน,ทุน และจำนวนพนักงาน
Revenue
|
|
US$26.14 billion (2017)
|
|
US$12.66 billion (2017)
|
|
US$197.29 billion (2017)
|
|
US$152.50 billion (2017)
|
|
Number of employees
|
80,110 (2017)
|
เครดิตข้อมูลจาก Wikipedia
บริษัทลูกถือกำเนิดก่อน นามว่า Google ถือกำเนิดขึ้นมาจากธุรกิจเสิร์ชเอ็นจิ้น แต่ปัจจุบันใหญ่โตจนกลายเป็นธุรกิจให้บริการข้อมูลข่าวสาร
และจัดการข้อมูลอันดับต้นๆ ของโลก และไปไกลกว่าแค่เสิร์ชเอ็นจิ้นแล้ว
และเพื่อทำให้การทำงานง่ายขึ้นกว่าเดิม Larry Page ประกาศตั้งบริษัทใหม่ Alphabet ขึ้นมาเป็นบริษัทแม่ของ Google อีกทีหนึ่ง
เพื่อรวมธุรกิจในเครือทั้งหมดไว้ด้วยกัน
The Next Web วิเคราะห์ว่าการขับเคลื่อนครั้งนี้ของ Google ก็เพื่อทำให้เข้าซื้อหรือลงทุนในบริษัทอื่นได้ง่ายขึ้น
เหมือนที่เคยเข้าซื้อกิจการหรือลงทุนในเว็บไซต์อื่น เช่น
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Google ก็ลงทุนในเว็บ Jet
ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายสินค้ารีเทล ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง Google
กับ Amazon ออกจะกระอักกระอ่วน
เพราะคงชัดเจนแล้วว่า Google น่าจะรุกในธุรกิจช็อปปิ้งออนไลน์
หรือที่เรียกว่า Google Shopping แต่เมื่อก่อตั้ง Alphabet
ขึ้นมาก็จะกลายเป็นว่าธุรกิจใหม่ทั้งหลาย รวมทั้ง Google เองก็จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งในเครือแล้วบริหารงานแยกกัน
ส่วนเรื่องผู้บริหาร
นับแต่นี้ต่อไป Larry Page และ Sergey Brin จะขยับขึ้นไปดูแล Alphabet ในตำแหน่งซีอีโอและประธานบริษัท
แล้วแต่งตั้งให้ Sundar Pichai เป็นซีอีโอคนใหม่ของ
Google รับผิดชอบโดยตรงกับธุรกิจเสริ์ช, โฆษณา, แผนที่, Google Play Store, เว็บไซต์ YouTube และ Android
Larry Page กล่าวถึง ซีอีโอคนใหม่ของ Google ว่า “ผมรู้สึกโชคดีที่มีคนที่มีความสามารถ และเขาก็เข้ามาช่วยดูแล Google
การที่ Google คล่องตัวมากขึ้น ก็ทำให้ผมมีเวลาที่จะไปทำอะไรที่จะขับเคลื่อนองค์กรต่อไป”
หน่วยงานภายใต้
Alphabet ก็เช่น X lab ทำงานรีเสิร์ชหรืองานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ
เช่น รถไร้คนขับ หรือ Google Wing โครงการทดลองส่งของด้วยโดรน
และอีกพาร์ทที่สำคัญมากๆ ต่อธุรกิจก็คือ การดูเรื่อง Ventures และ Capital ทั้งหลาย
เหตุผลที่
Larry Page และ Sergey Brin ชอบชื่อ Alphabet ก็เพราะว่าธุรกิจหลักของพวกเขาทำหน้าที่เก็บตัวหนังสือในภาษาต่างๆ
ซึ่งช่วยให้มนุษยชาติเกิดนวัตกรรม แล้วจับลำดับเพื่อถ่ายทอดออกมาเป็น Google search รวมทั้งยังมีความหมายถึง
alpha-bet ที่แปลว่า
ลงทุนอะไรแล้วประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย
Google
ยังคงเดินหน้าสร้างรายได้ให้ Alphabet อย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่หนึ่ง
ปี ค.ศ.2018
รายได้และผลกำไรรายไตรมาสของ Alphabet เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วโดยบริษัทแม่ผู้อยู่เบื้องหลัง Google ยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอนจินยอดนิยมรายนี้มีประวัติที่ดีในแง่ของการเติบโตที่แข็งแกร่งในแต่ละไตรมาสที่ผ่านมาและสำหรับไตรมาสที่หนึ่ง
ปี ค.ศ. 2018 ก็เป็นอีกครั้งที่ Google สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทแม่ได้อย่างสวยหรู
ผลประกอบการรายไตรมาสล่าสุด
สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2018 ยืนยันว่า Alphabet มีรายได้ 31.1 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 980 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่หนึ่งของปี
ค.ศ. 2017 นอกจากนี้รายหลังจากการดำเนินงานอยู่ที่ 7 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 220 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก
6.5 พันล้านเหรียญหรือราว ๆ 7.4% จากที่เคยทำได้เมื่อช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว
รายได้ส่วนใหญ่ของ Alphabet ยังคงมาจาก Google เป็นหลักโดยไตรมาสล่าสุดทำไว้เกือบ ๆ 31 พันล้านเหรียญ
ขณะที่รายได้ส่วนที่เหลือมาจากธุรกิจการลงทุนอื่น ๆ (Other Bets) ซึ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจหลากหลายประเภทเพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างรายได้ที่แข็งแกร่งในระยะยาว
ในไตรมาสล่าสุดกลุ่มธุรกิจนี้สามารถสร้างรายได้ให้บริษัท 150 ล้านเหรียญซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เคยทำไว้ 132 ล้านเหรียญ แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจส่วนนี้ยังมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนราว
ๆ 571 ล้านเหรียญในไตรมาสล่าสุดของปีนี้
โดยภาพรวมแล้ว Alphabet พึงพอใจกับการดำเนินงานของบริษัทโดยระบุไว้ในช่วงต้นของรายงานงบการเงินรายไตรมาสว่า
"การดำเนินงานของเราส่งผลให้มีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี"
ซึ่งเป็นผลสะท้อนที่ชัดเจนหลังจากมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นกว่า 11,000 ตำแหน่งในปีที่ผ่านมาทำให้ตอนนี้ทางบริษัทมีพนักงานรวมกว่า 85,000 คนทั่วโลก
บริษัทต่อมา Apple Inc.
Apple เริ่มแรกเป็นบริษัทเล็กๆ
ในซิลิคอนวัลเล่ย์ ของสหรัฐ ผลิตคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70’s ผู้ก่อตั้งคือสตีฟ จ็อบส์ ในปี 1976 ต่อมากิจการขยายใหญ่โตขึ้น
จนกลายเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหุ้นแนสแด็กซ์ ปัจจุบันแม้สตีฟ จ็อบส์ได้เสียชีวิตแล้ว
แต่ก็มี ทิม คุก รับตำแหน่ง CEO ของบริษัท
ซึ่งมีความสามารถไม่แพ้สตีฟ จ็อบส์ จากบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แม็คบุ๊ก
(โน๊ตบุ๊ก) หลากหลายรุ่น จนปัจจุบันแตกไลน์มาผลิตโทรศัพท์มือถือ (เป็นผู้คิดค้น smart
phone แบบไม่มีปุ่ม ใช้นิ้วสัมผัสแทน) หรือที่เรียกว่า i-phone
หลากหลายรุ่น พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ อีก อาทิ
i-pad, i-pod ,i-phone,Apple Watch, Apple TV ปัจจุบันมีร้าน
Apple Store,i-tune store,App Store กระจายอยู่ทั่วโลกกว่า 500
แห่ง ระบบปฏิบัติการ ios ที่แพร่หลายใช้กันทั่วโลกเป็นของตนเอง
เพื่อไว้อัพเกรดโปรแกรมผุ้ใช้ใหม่ๆ เสมอ รวมถึง Application ต่างๆ (รายละเอียดประวัติความเป็นมา,ไทม์ไลน์ของการออกผลิตภัณฑ์ในแต่ละยุคสมัย,ช่วงชีวิตของสตีฟ จ็อบส์ และอื่นๆ สามารถหาอ่านหรือค้นคว้าเพิ่มเติมได้ในวิถีพีเดีย หรือตามสื่อ,หนังสือต่างๆ มากมาย)
ตารางข้อมูลเกี่ยวกับรายได้,ทรัพย์สิน,ทุน
และจำนวนพนักงาน
Revenue
|
|
US$61.344 billion (2017)
|
|
US$48.351 billion (2017)
|
|
US$375.319 billion (2017)
|
|
US$134.047 billion (2017)
|
|
Number of employees
|
123,000 (2017)
|
เครดิตข้อมูลจาก Wikipedia
สตีฟ
จ๊อบส์ นำ Apple
ครองใจลูกค้า เหนือคู่แข่งด้วยแบรนด์ไลฟ์สไตล์
บทความนี้ 16, 2012
กลยุทธ์การของบริษัทด้านคอมพิวเตอร์
Apple โดดเด่นเหนือคู่แข่งเจาะกลุ่มลูกค้าตั้งแต่รากหญ้าด้วยเทคนิคทางการตลาดในยุคดิจิตอล
สร้างความภักดีในแบรนด์ที่สามารถสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ๆครองใจลูกค้าได้ Advertising
Ageจึงจัดให้เป็นนักการตลาดแห่งปี 2003 เพราะสร้างความนิยมจากการทำตลาดด้วยการเน้นให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก
ตัวอย่างความนิยมในสินค้าของแอปเปิลมีให้เห็นมากมาย
หนึ่งในนั้นคือ ที่นิวยอร์กทุกคืนวันอังคารจะมีนักฟังเพลงกว่า 200 คนไปรวมตัวกันที่ปาร์ตี้ดีเจไอพอด(iPod)
ส่วนอีกฟากหนึ่ง ชาวอังกฤษก็นิยมหาความสำราญยามค่ำคืนด้วย iPod
เช่นกัน
ส่วนที่อเมริกาใต้
นางจีน คาเพอโร วัย 65
ปีโชว์สไลด์ภาพเหตุการณ์จากทริปที่ไปล่องเรือสำราญโดยใช้เครื่องแลปทอป
G4 ชองแอปเปิล เธอยังกล่าวว่า “ฉันชอบเครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิลของฉัน”
ฮันนาห์
โคลแมน นักเรียนวัย 12
ปีทำพรีเซนเทชันในรูปแบบวิดีโอและรูปภาพโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิลที่ได้รับจากนายสตีฟ
จ๊อบส์โดยเขามอบเครื่องให้นักเรียนเกรด 7 และ 8 ทุกคนในเมือง พ่อของโคลแมนกล่าวถึงสิ่งที่นายสตีฟอธิบายว่า “มันไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของเครื่องมือที่ให้คนใช้ได้”
สร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ
ข้อดีของแอปเปิลคือ
แบรนด์สามารถสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่
ๆได้ในธุรกิจเทคโนโลยีที่มีผู้เล่นซึ่งครองตลาดเพียงไม่กี่ราย
แอปเปิลซึ่งยังเป็นรองสามารถขายสินค้าให้ผู้บริโภคในหลายกลุ่มอายุและในหลายประเทศ
นักธุรกิจและนักเรียนต่างใช้โน้ตบุ๊ก
Powerbooks
ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ก็ชื่นชอบความเร็วของเครื่อง
G5 และผู้ใช้ iPod ตั้งแต่วัยรุ่นถึงวัยกลางคนต่างยอมรับในสินค้าเช่นกัน
ยิ่งไปกว่านั้น แอปเปิลยังเจรจากับผู้บริหารในวงการเพลงโดยใช้ซอฟต์แวร์ iTunes
สร้างรูปแบบการทำเงินจากเพลงที่เปิดให้ดาวน์โหลดได้
ให้ความสำคัญกับลูกค้า
แอปเปิลพิสูจน์ความเป็นนักการตลาดชั้นเยี่ยมจากความเข้าใจเบื้องต้นในการที่จะล่อใจลูกค้าด้วยการออกแบบสินค้า
กลยุทธ์ขายปลีกที่โดดเด่นและความสามารถในการเจาะกลุ่มลูกค้าตั้งแต่รากหญ้าโดยใช้เทคนิคทางการตลาด
แบรนด์ได้รับความภักดีมากพอสมควรรวมทั้งยังครองใจลูกค้าแต่ไม่ใช่เพราะว่าโฆษณาแต่เป็นเพราะว่าบริษัทให้ความสำคัญกับลูกค้า
ไม่ว่าจะเริ่มทำอะไร บริษัทจะต้องคำนึงถึงลูกค้าก่อน
ถึงแม้ว่างานโฆษณาทั้งสิ่งพิมพ์และสปอตทีวีจะได้รับรางวัลยอดเยี่ยมแห่งปี 2003 เช่นกัน
และนี่คือสาเหตุที่ทำให้แอปเปิลได้เป็นนักการตลาดยอดเยี่ยมแห่งปี 2003 ของ Advertising Age
นายสตีฟ
จ๊อบส์ ซีอีโอหัวหอกทางการตลาดของแอปเปิล ไม่ได้ฟังสิ่งที่ลูกค้าต้องการในวันนี้
แต่เขานึกถึงสิ่งที่ลูกค้าจะต้องการในวันพรุ่งนี้ นายมาร์ค คแวม หุ้นส่วนของ Sequoia Capital และอดีตคนที่ทำงานกับ Apple Newton กล่าว
นายลี
โคล ประธานของTBWAในเครือออมนิคอมและผู้ร่วมงานที่ทำการตลาดให้แอปเปิล
มองว่าผลงานที่มาจากเป้าหมายสูงสุดของนายจ๊อบส์ทำให้เกิดสินค้าที่เปลี่ยนวิถีชีวิตคน
นายโคลกล่าวว่า นายจ๊อบส์สามารถผสมผสานจุดมุ่งหมายของเขาเข้ากับการตลาดได้อย่างลงตัว
นายโคลกล่าวว่า
สตีฟเข้าใจถึงสิ่งที่เขาต้องการให้แบรนด์เป็นเขาสามารถทำให้สินค้าถูกใจผู้บริโภค
ไม่เพียงแค่นั้นสตีฟยังเป็นผู้นำการประชุมด้านการตลาดที่สำนักงานใหญ่ของ Cupertino ที่มีการแสดงผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มากมาย ผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายเอเยนซี่ได้แก่
นายโคล นายเจมส์ วินเซนต์ผู้อำนวยการแอคเคาท์ของ TBWA/Chiat/Day ที่ดูงานของแอปเปิล และนายดันแคน มิลเนอร์ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์
นอกจากนั้นในการประชุมยังมีตัวแทนจากบริษัทพีอาร์และนักออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย เมื่อ 6
ปีที่แล้วที่สตีฟกลับมาทำงานที่แอปเปิล สปอต Crazy Ones ของแอปเปิลได้รับรางวัลเอมมี่ อะวอร์ด
การประชุมเข้มข้น
บางครั้งเมื่อการประชุมมีเวลาจำกัด
นายสตีฟมักจะดื่มน้ำผลไม้เป็นอาหารกลางวัน เพราะนอกเหนือจากนั้น
สิ่งที่เสิร์ฟบนโต๊ะที่ประชุมคือไอเดียของคนเอเยนซี่
นายโคลจากบริษัทเอเยนซี่กล่าวว่า
“เรานำสิ่งที่เราประดิษฐ์มานำเสนอในที่ประชุมและบางครั้งสตีฟก็ปฏิเสธ”
ตัวอย่างหนึ่งของการประชุมคือ
การถกเถียงเรื่องแคมเปญสิ่งกลางแจ้งและสปอตทีวีของ iPod ที่ใช้สีสดเป็นพื้นหลังแทนที่จะใช้โทนสีขาวซึ่งเป็นสีประจำของแอปเปิล
“เราเข้าใจว่า iPod เป็นหน้าต่างที่จะเผยแพร่สินค้าทั้งหมดของแอปเปิลออกสู่สายตาชาวโลก”
จนถึงตอนนี้
แอปเปิลขายเพลงผ่านร้าน iTune
Music Store ได้ 17 ล้านเพลง
ถึงแม้ว่ายอดขายของเพลงราคา 99 เซ็นต์จะลดลงทำให้ส่วนแบ่งบางส่วนตกไปอยู่กับคู่แข่งบ้างก็ตาม
แอปเปิลจึงพยายามเพิ่มยอดขายของ iPod ซึ่งทำกำไรดี
iPod
ครองส่วนแบ่งใหญ่ที่สุดในตลาดเครื่องเล่นเพลงดิจิตอล
ถึงแม้ว่าส่วนแบ่งดังกล่าวจะอยู่ในช่วง 20 – 30 เปอร์เซ็นต์
นายโคลมองในแง่ดีว่าแอปเปิลจะยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำไว้ได้
ถึงแม้ว่าจะถูกจู่โจมโดยคู่แข่งอย่างวอล-มาร์ท ไมโครซอฟท์และรายอื่น ๆ
แจ้งเกิดในธุรกิจเพลง Boon to music business
ไม่ว่าแอปเปิลจะครองตลาดธุรกิจความบันเทิงหรือไม่
สินค้า iTunes
ก็ยังเป็นสินค้าสำคัญของธุรกิจของบริษัท นายสตีฟ เบอร์แทน
ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายของ Interscope Geffen A&M
Records ในเครือยูนิเวอร์แซล มิวสิก กรุ๊ปกล่าวว่า “สตีฟ จ็อบส์ดำเนินธุรกิจเพลงในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว เว็บไซต์ iTunes
เองเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ดีถ้าคุณต้องการวางตำแหน่งศิลปินให้มีการรับรู้อย่างกว้างขวางในเว็บไซต์”
ขณะนี้แอปเปิลยังไม่ได้เก็บค่าลงโฆษณาแฝง
สำหรับแอปเปิล
การทำการตลาดเริ่มต้นด้วยการออกแบบสินค้าซึ่งนายจ๊อบส์เป็นผู้เพิ่มงบประมาณให้เรื่อย
ๆ นายริช ซิลเวอร์สไตน์ ประธานร่วมของเอเยนซี่กูดบาย
ซิลเวอร์สไตน์แอนด์พาร์ทเนอร์ส ซานฟรานซิสโกในเครือออมนิคอมกล่าวว่า
เมื่อเขาเดินทางโดยเครื่องบิน หน้าที่หนึ่งของเขาคือโชว์รูป iPod บนเสื้อเชิ้ตให้ผู้โดยสารที่นั่งข้าง
ๆ ดูแล้วออกความเห็น
ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่แอปเปิลต้องวางแผนเป็นอย่างดีคือการทำประชาสัมพันธ์โดยนายจ๊อบส์รักษาความสัมพันธ์กับบรรณาธิการของนิตยสารรายสัปดาห์หลายเล่ม
นายเจอร์รี่
สเวอร์ลิง หัวหน้าภาควิชาการประชาสัมพันธ์ของยูนิเวอร์ซิตี้ออฟเซาท์เทิร์นแคลิฟอเนียสคูลฟอร์คอมมิวนิเคชั่นกล่าวว่า
ถ้ามองจากมุมมองด้านประชาสัมพันธ์จะเห็นได้ว่าสตีฟ จ๊อบส์มีความสำคัญมาก” “ยากที่จะจินตนาการว่าถ้าไม่มีเขาเป็นตัวแทนของบริษัทต่อสาธารณชน
แอปเปิลจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร”
เครื่องมือด้านการประชาสัมพันธ์
นายจ๊อบส์ในฐานะเครื่องมือด้านการประชาสัมพันธ์ช่วยเผยแพร่เรื่องราวของ
iPod และ iTunes กว่า 6,000 เรื่องในสื่อต่าง
ๆ ทั่วโลก การใช้จ่ายด้านสื่อใน 8 เดือนแรกของปี 2003
จำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯสำหรับ iTunes
และ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯสำหรับ iPod
จากข้อมูลของ
ทีเอ็นเอส มีเดีย อินเทลลิเจนซ์/ซีเอ็มอาร์
โดยรวมแล้วแอปเปิลใช้จ่ายด้านสื่อไปเพียง 69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯใน 8
เดือนแรกของปี 2003
แอปเปิลยังริเริ่มความร่วมมือกับแบรนด์อื่น
ๆ ในการทำโปรโมชั่นและการตลาดร่วมกับโฟล์คสวาเกนอเมริกา เป๊ปซี่อเมริกาเหนือ
และแมคโดนัลด์คอร์ป ในความร่วมมือทางธุรกิจดังกล่าว แอปเปิลให้เอเยนซี่อาร์โนลด์
เวิลด์ไวด์ของโฟล์คสวาเกนจัดทำแคมเปญ Pods unite
นายโคลกล่าวถึงข้อตกลงกับแมคโดนัลด์ว่า
“ผมไม่ได้ต้องการโฆษณาของแมคโดนัลด์” ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของ
iPod คือทำให้สินค้ากลายเป็นสินค้าสำหรับทุกคน
เป้าหมายไม่ใช่การทำโฆษณาแอปเปิลที่พูดถึงแมคโดนัลด์
หนึ่งในความเคลื่อนไหวเพื่อความประหยัดงบประมาณอีกอย่างหนึ่งคือ
แอปเปิลวางแผนเพิ่มความนิยมในสินค้าโดยใช้การตลาดแบบบอกต่อ
แคมเปญการตลาดที่ใหญ่ที่สุดแคมเปญหนึ่งไม่ได้มาจากบริษัทเอง ในคลับแห่งหนึ่งในแมนฮัตตัน
ทุกคืนวันอังคาร ดีเจ 2
คนที่มีชื่อเหมือนกันว่า แอนดรูจัดปาร์ตี้ iPod ดีเจโดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 คน
แอปเปิลใช้จ่ายเพื่อสร้างกระแสการบอกต่อของแบรนด์เป็นจำนวน
293 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผ่านร้านค้า 73 ร้าน
บางร้านเช่น ร้านโซโหมีลูกค้าเข้าร้านกว่า 14 ล้านคนในปี 2003
“เหตุผลสำหรับร้านค้าคือยิ่งมีคนมาจับสินค้าแอปเปิลและทดลองสินค้ามากเท่าใด
ส่วนแบ่งตลาดก็ยิ่งเพิ่มขึ้น” นายโคลกล่าว
จุดอ่อน
ถึงแม้ผลงานของนายจ๊อบส์จะโดดเด่นมากเท่าใด
เขาก็มีจุดอ่อนซึ่งก็คือแนวทางการบริหารงาน นายโรเจอร์ เคย์รองประธานฝ่ายคำนวณลูกค้าของบริษัทวิจัยไอดีซีกล่าวว่า
“สตีฟไม่เคยนึกถึงว่าเขาต้องมีการบริหารที่เป็นมืออาชีพกว่านี้” อีกทั้งเขายังไม่มีผู้ช่วย
นายจ๊อบส์ในฐานะอดีตผู้บริหารของ
Chiat กล่าวว่า เขามีความเชื่อมันในความสามารถของตัวเองเป็นอย่างมาก
ทำให้ไม่ค่อยมีใครกล้าท้าทายเขา นายโคลกล่าวว่า “คุณควรจะฉลาดที่จะกล้าโต้ตอบเขา
หรือบางทีผมอาจทำเอง”
ในขณะที่แอปเปิลพยายามรักษาสถานะผู้นำไว้
นายโคลกล่าวว่า
นายจ๊อบส์ดูยังไม่พอใจกับสถานะเทียบเท่าเมอร์เซเดสในธุรกิจคอมพิวเตอร์
จากความสำเร็จในตลาดเพลงดิจิตอลทำให้บริษัทจะหันมาทำตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจังมากขึ้นเพื่อก้าวขึ้นเป็นดาวเด่นในสินค้าความบันเทิงและข้อมูลของอเมริกา
อย่างไรก็ดี
แอปเปิลเป็นธุรกิจที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานรวมถึงมีความผิดพลาดเกิดขึ้นหลายอย่างโดยเฉพาะการตัดสินใจใช้ระบบลิขสิทธิ์สินค้าพีซีซึ่งเปิดโอกาสให้ไมโครซอฟท์ผูกขาด
นายโคลกล่าวว่า “เราจะไม่ทำผิดพลาดอย่างเดิมอีก”
(เครดิตข้อมูลบทความจากเพจ tongtong22,wordpress.com)
แค่ 2 บริษัทชั้นนำของโลกด้านเทคโนโลยีนี้พอก่อน ก็พอจะทำให้เรามองเห็นแล้วว่า
เรากำลังอยู่ในโลกที่ดำเนินชีวิตด้วยการพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก
ใครยังอยู่ในโลกแบบแมนน่วล (manual) ไม่ถึงกับตาย หรือตกกระแสอะไรหรอก
เพียงแต่เราจะตามคนอื่นเขาไม่ทัน และจะคุยอะไรกับเขาไม่รู้เรื่อง
ส่วนประเทศยากจนหรือด้อยพัฒนา ที่ยังติดหล่มความยากจนและอับจนปัญญา
จะยิ่งถูกทิ้งห่างไป ทั้งในแง่โอกาส ความมั่งคั่ง
และจะตกเป็นเหยื่อของบรรษัทเหล่านี้ ที่จะเข้ามาเขมือบกินอย่างเอร็ดอร่อย
หรือถ้ามองแล้ว เขาไม่ได้ประโยชน์อะไรที่จะเข้ามา
เขาก็จะไม่ชายตามาแลเลยด้วยซ้ำ
เดี๋ยวตอนหน้าจะพูดถึง
Amazon กับ Alibaba
ต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น