การเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ไม่รวมการควบรวมกิจการ (Merger) คัดเลือกเฉพาะการเข้าซื้อกิจการ (Acquisition) แต่ไม่รวมการซื้อกิจการระหว่างบริษัทเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เริ่มต้นจาก
1.อวาโกซื้อบรอดคอม (2558) มูลค่า 37,000 ล้านเหรียญฯ แม้ชื่อชั้นของอวาโก (Avago) และบรอดคอม (Broadcom) จะไม่คุ้นหูคุ้นตาเท่าไร แต่สำนักข่าวบลูมเบิร์กก็ได้จัดอันดับดีลนี้ว่าเป็นอภิมหาดีลแห่งวงการเทคโนโลยี เหนือกว่าเมื่อครั้งเดลล์ ซื้อกิจการอีเอ็มซี ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 67,000 ล้านเหรียญฯด้วยซ้ำ นั่นเป็นเพราะศักยภาพของบรอดคอม ซึ่งขายชิพเซ็ตมือถือที่เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์กไวไฟ โดยเฉพาะในเครื่องไอโฟนเกือบทั้งหมด ขณะที่อวาโกขายชิพเซ็ตสำหรับสมาร์ทโฟนที่รับจ้างผลิต (OEMs) รถยนต์ และกลุ่มก่อสร้าง การซื้อกิจการครั้งนี้ จึงถือเป็นการขยายอาณาจักรครั้งใหญ่ ความเสี่ยงเดียวที่มีอยู่ก็คือ ยอดขายที่เริ่มแผ่วลงของไอโฟน
2.เฟซบุ๊กซื้อวอทสแอพ (2557) มูลค่า 19,000 ล้านเหรียญฯ มีบริการส่งข้อความ Messaging อยู่แล้ว ผู้คนจึงพากันสงสัยว่าเพราะอะไร เฟซบุ๊กจึงยอมทุ่มเงินซื้อวอทสแอ็ป (WhatsApp) เข้าสังกัดอีก เหตุเนื่องมาจากฐานลูกค้าจำนวนหลายพันล้านคนของวอทสแอพ ซึ่งแม้จะเป็นบริการฟรี แต่การได้ฐานลูกค้าขนาดนี้มา เป็นประโยชน์ต่อการขายโฆษณาเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่อยู่ในเฟซบุ๊กแน่ๆ
3.กูเกิลซื้อโมโตโรล่า (2555) มูลค่า 12,500 ล้านเหรียญฯ ตอนตัดสินใจซื้อ กูเกิลบอกว่าสนใจสิทธิบัตรที่โมโตโรล่าถืออยู่ 17,000 ชิ้น นอกจากการเป็นเจ้าของระระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์บนสมาร์ทโฟน ที่ทำให้กูเกิลต้องดิ้นรนมีแบรนด์มือถือเป็นของตัวเองเพื่อต่อยอดธุรกิจ อย่างไรก็ตาม 2 ปีจากนั้นไม่ขาดไม่เกิน กูเกิลก็บรรลุดวงตาเห็นธรรม ว่าทำแบรนด์มือถือมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จึงขายโมโตโรล่าต่อให้เลอโนโว ในราคาแค่ 3,000 ล้านเหรียญฯ และตัดสินใจเก็บสิทธิบัตรไว้บางส่วนเท่านั้น
4.ไมโครซอฟท์ซื้อโนเกีย (2557) มูลค่า 7,800 ล้านเหรียญฯ ไม่ต่างอะไรกับกูเกิล ไมโครซอฟท์ต้องการหาลานจอดสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนสมาร์ทโฟน และนั่นเป็นเหตุผลหลักในการเข้าซื้อกิจการโนเกีย แต่ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยในระยะเวลาอันสั้น เพียงแค่ปีเดียวโดดๆ โนเกียใต้ปีกไมโครซอฟท์ก็แพแตก วินโดวส์โฟนไม่เป็นที่โปรดปรานของผู้บริโภค ตอนนี้จึงมีความพยายามในการปลุกผีแบรนด์ขึ้นมาใหม่ ภายใต้บังเหียนฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) แห่งประเทศจีน
5. ออราเคิลซื้อซัน (2552) มูลค่า 7,400 ล้านเหรียญฯ การเข้าซื้อกิจการซัน (Sun) ซึ่งเป็นเจ้าของจาวาสคริปต์ (JavaScript) ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต ทำให้ออราเคิลกลายเป็นเจ้าของสิทธิบัตรจาวาทั้งหมด และนำไปสู่การฟ้องร้องกูเกิลในมูลค่าหลายพันล้านเหรียญฯ ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์จาวา หลังพบว่ามีข้อมูลจาวารั่วไหล และถูกก๊อบปี้แปะอยู่บนแพลทฟอร์มกูเกิลจำนวนหนึ่ง โดยขณะนี้ออราเคิลในฐานะคนฟ้อง กำลังยื่นขออุทธรณ์ หลังศาลชั้นต้นมีคำตัดสินเป็นประโยชน์ต่อกูเกิ้ล (เครดิตข้อมูล จากหน้าเพจ ไทยรัฐออนไลน์)
2.เฟซบุ๊กซื้อวอทสแอพ (2557) มูลค่า 19,000 ล้านเหรียญฯ มีบริการส่งข้อความ Messaging อยู่แล้ว ผู้คนจึงพากันสงสัยว่าเพราะอะไร เฟซบุ๊กจึงยอมทุ่มเงินซื้อวอทสแอ็ป (WhatsApp) เข้าสังกัดอีก เหตุเนื่องมาจากฐานลูกค้าจำนวนหลายพันล้านคนของวอทสแอพ ซึ่งแม้จะเป็นบริการฟรี แต่การได้ฐานลูกค้าขนาดนี้มา เป็นประโยชน์ต่อการขายโฆษณาเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่อยู่ในเฟซบุ๊กแน่ๆ
3.กูเกิลซื้อโมโตโรล่า (2555) มูลค่า 12,500 ล้านเหรียญฯ ตอนตัดสินใจซื้อ กูเกิลบอกว่าสนใจสิทธิบัตรที่โมโตโรล่าถืออยู่ 17,000 ชิ้น นอกจากการเป็นเจ้าของระระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์บนสมาร์ทโฟน ที่ทำให้กูเกิลต้องดิ้นรนมีแบรนด์มือถือเป็นของตัวเองเพื่อต่อยอดธุรกิจ อย่างไรก็ตาม 2 ปีจากนั้นไม่ขาดไม่เกิน กูเกิลก็บรรลุดวงตาเห็นธรรม ว่าทำแบรนด์มือถือมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จึงขายโมโตโรล่าต่อให้เลอโนโว ในราคาแค่ 3,000 ล้านเหรียญฯ และตัดสินใจเก็บสิทธิบัตรไว้บางส่วนเท่านั้น
4.ไมโครซอฟท์ซื้อโนเกีย (2557) มูลค่า 7,800 ล้านเหรียญฯ ไม่ต่างอะไรกับกูเกิล ไมโครซอฟท์ต้องการหาลานจอดสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนสมาร์ทโฟน และนั่นเป็นเหตุผลหลักในการเข้าซื้อกิจการโนเกีย แต่ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยในระยะเวลาอันสั้น เพียงแค่ปีเดียวโดดๆ โนเกียใต้ปีกไมโครซอฟท์ก็แพแตก วินโดวส์โฟนไม่เป็นที่โปรดปรานของผู้บริโภค ตอนนี้จึงมีความพยายามในการปลุกผีแบรนด์ขึ้นมาใหม่ ภายใต้บังเหียนฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) แห่งประเทศจีน
5. ออราเคิลซื้อซัน (2552) มูลค่า 7,400 ล้านเหรียญฯ การเข้าซื้อกิจการซัน (Sun) ซึ่งเป็นเจ้าของจาวาสคริปต์ (JavaScript) ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต ทำให้ออราเคิลกลายเป็นเจ้าของสิทธิบัตรจาวาทั้งหมด และนำไปสู่การฟ้องร้องกูเกิลในมูลค่าหลายพันล้านเหรียญฯ ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์จาวา หลังพบว่ามีข้อมูลจาวารั่วไหล และถูกก๊อบปี้แปะอยู่บนแพลทฟอร์มกูเกิลจำนวนหนึ่ง โดยขณะนี้ออราเคิลในฐานะคนฟ้อง กำลังยื่นขออุทธรณ์ หลังศาลชั้นต้นมีคำตัดสินเป็นประโยชน์ต่อกูเกิ้ล (เครดิตข้อมูล จากหน้าเพจ ไทยรัฐออนไลน์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น