เอเจนซีส์
– ชาวอเมริกันนับล้านในสิบกว่ามลรัฐ ออกมาลงคะแนนในศึกใหญ่ “ซูเปอร์ ทิวส์เดย์” วันอังคาร (1 มี.ค.) ที่โพลหลายสำนักฟันธงว่า ฮิลลารี คลินตัน และโดนัลด์ ทรัมป์
เก็บคะแนนลอยลำค่อนข้างแน่นอน ขณะเดียวกัน
ทางฟากรีพับลิกันเริ่มมีสัญญาณแตกหักชัดเจนขึ้น ระหว่างฝั่งที่บอกว่า
จะสนับสนุนผู้ที่พรรคเสนอชื่อลงเลือกตั้งประธานาธิบดี กับอีกพวกที่บอกว่า
เป็นตายอย่างไรก็เชียร์ทรัมป์ไม่ลง ก่อนเปิดคูหาในวันอังคาร
(1) ผู้สมัครทั้งของรีพับลิกันและของเดโมแครตทุ่มความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อขอคะแนนจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียง
ในช่วงสำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของศึกเลือกตั้งขั้นต้นประจำปีนี้ ซึ่งทั้ง 2 พรรคต่างจัดการเลือกตั้งขั้นต้นวันเดียวกันรวมแล้วฝ่ายละ 11 มลรัฐ โดย 10 รัฐมีการโหวตของทั้ง 2 พรรค ขณะที่อีก 1 รัฐนั้นแต่ละพรรคจัดในรัฐที่ต่างกัน สถานการณ์ของคลินตันผ่อนคลายลงอย่างชัดเจน
หลังจากเธอคว่ำเบอร์นี แซนเดอร์ส
วุฒิสมาชิกสหรัฐฯจากรัฐเวอร์มอนต์ที่ประกาศตัวเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย
ได้อย่างเด็ดขาดในการเลือกตั้งขั้นต้นที่รัฐเซาท์แคโรไลนาเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (27
ก.พ.) ทำให้เธอกวาดชัยชนะรัฐที่ 3 จากการเลือกตั้งที่ผ่านมาแล้ว
4 มลรัฐ สำหรับศึกใหญ่ “ซูเปอร์ ทิวส์เดย์” นั้น เซียนการเมืองชี้ว่า หากอดีตสุภาพสตรีหมายเลข 1 ผู้นี้ ได้คะแนนเสียงจากคนผิวสีพอๆ กับที่ทำได้ในเซาท์แคโรไลนาคือ 86%
ในสนามเลือกตั้งที่เป็นรัฐทางใต้อย่าง แอละแบมา จอร์เจีย
และเวอร์จิเนีย
คลินตันจะคืนสู่ฐานะเต็งหนึ่งนำโด่งของเดโมแครตที่ผูกขาดมาตั้งแต่ช่วงต้นการหาเสียง
ก่อนจะมาสะดุดกระแสแซนเดอร์สฟีเวอร์ช่วงสั้นๆ เมื่อเร็วๆ นี้ ในส่วนรีพับลิกันนั้น
ผลสำรวจระบุว่า ทรัมป์มีคะแนนนำอย่างน้อย 8 ใน 11 รัฐที่รีพับลิกันเปิดเลือกตั้งขั้นต้นวันอังคาร นอกจากนั้น
โพลของซีเอ็นเอ็น/โออาร์ซียังชี้ว่า
เศรษฐีพันล้านผู้นี้ได้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นในการสำรวจความคิดเห็นทั่วประเทศคือ 49%
ขณะที่อันดับ 2 มาร์โค รูบิโอ
วุฒิสมาชิกสหรัฐฯจากฟลอริดา ได้แค่ 16% อันดับ 3 เป็นของเท็ด ครูซ วุฒิสมาชิกสหรัฐฯจากเทกซัส 15%, เบน
คาร์สัน อดีตศัลยแพทย์ระบบประสาท 10% และจอห์น เคสิก
ผู้ว่าการรัฐโอไฮโอ 6% ศึกซูเปอร์ ทิวส์เดย์
เดิมพันของผู้สมัครเดโมแครต คือตัวแทนผู้ลงคะแนน 865 คน หรือ
36% ของคะแนนที่ต้องทำให้ได้
เพื่อคว้าตำแหน่งตัวแทนพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
เดือนพฤศจิกายนปีนี้ ขณะที่ผู้สมัครรีพับลิกันมีตัวแทนผู้ลงคะแนนให้แย่งชิงเกือบ 600 คน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ต้องการ 1,237 คนเพื่อคว้าตั๋วลงศึกชิงทำเนียบขาว อย่างไรก็ดี สถานการณ์ในรีพับลิกันดูเหมือนร้อนระอุพอๆ
กับสถานการณ์การหาเสียง เนื่องจากปรากฏรอยร้าวใหม่ชัดเจนระหว่างฝ่ายที่ตัดสินใจว่า
ถ้าทรัมป์ได้เป็นตัวแทนพรรคก็จะให้การสนับสนุน กับอีกกลุ่มที่ยืนกรานว่า
หัวเด็ดตีนขาดก็เลือกพิธีกรเรียลลิตี้โชว์ปากพล่อยคนนี้ไม่ลง
และความขัดแย้งนี้อาจส่งผลยาวไกลกว่าการเลือกตั้งขั้นต้น
แต่ท้าทายความสามัคคีของพรรคแม้แต่หลังจากการเลือกตั้งจบลง และไม่ว่าใครจะชนะก็ตาม ทั้งนี้ เบน แซซซี
วุฒิสมาชิกสหรัฐฯจากรัฐเนแบรสกา ที่กำลังเป็นดาวเด่นในกลุ่มอนุรักษนิยม
คือวุฒิสมาชิกคนแรกที่ประกาศว่า จะสนับสนุนพรรคทางเลือกที่ 3 หากทรัมป์ได้เป็นตัวแทนพรรค วันอาทิตย์ที่ผ่านมา (28 กพ.) แซซซียังโพสต์เฟซบุ๊กปลุกเร้าสมาชิกพรรคช่วยกันคิดว่า
ถ้าได้ทรัมป์เป็นผู้นำ อุดมการณ์และจุดยืนดั้งเดิมของรีพับลิกัน อาทิ การหยุดยั้งโอบามาแคร์
และบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 จะคงอยู่หรือไม่ สำหรับผู้นำรีพับลิกันคนอื่นๆ
แม้ไม่ได้ต่อต้านเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ชัดเจนขนาดนี้
แต่ก็ส่งสัญญาณในลักษณะคล้ายกับแซซซี
โดยเฉพาะกรณีที่ทรัมป์ไม่ปฏิเสธการสนับสนุนจากเดวิด ดุ๊ก อดีตผู้นำกลุ่มเหยียดผิว
คู คลักซ์ แคลน (เคเคเค) ทันที มิตต์ รอมนีย์ อดีตผู้สมัครของรีพับลิกันปี 2012 วิจารณ์ว่า
ทรัมป์ “ขาดคุณสมบัติ” และนิกกี้
เฮลีย์ ผู้ว่าการรัฐเซาท์แคโรไลนาที่ช่วยรูบิโอหาเสียงในแอตแลนตา ประกาศว่า จะไม่ยอมรามือจากการต่อสู้กับผู้ที่ไม่ปฏิเสธการสนับสนุนจากเคเคเค ด้านทรัมป์กล่าวแก้เรื่องนี้ว่า
ในตอนที่ถูกทีวีซีเอ็นเอ็นสัมภาษณ์นั้น หูฟังไม่ค่อยดี ทำให้เขาไม่เข้าใจ
พร้อมกับบอกว่าผู้สัมภาษณ์หยิบเรื่องดุ๊กมาถามทำไม ในเมื่อเขาประกาศไม่รับการสนับสนุนจากอดีตผู้นำเคเคเคไปแล้ว อย่างไรก็ตาม
นักเขียนคนดังที่สนับสนุนรีพับลิกันและนักเขียนสายอนุรักษนิยมหลายคนพากันก่อกระแสต่อต้านทรัมป์ในสื่อสังคม
ด้วยการติดแฮชแท็ก "NeverTrump" บนทวิตเตอร์ ขณะเดียวกัน
สำนักข่าวเอพีได้สอบถามวุฒิสมาชิกและผู้ว่าการรัฐของรีพับลิกันทั่วประเทศว่า
จะสนับสนุนทรัมป์หรือไม่ หากนักธุรกิจคนดังได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนพรรค
ผลปรากฏว่ามผู้ที่ให้คำตอบที่บอกว่า จะไม่สนับสนุนทรัมป์นั้น
ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งเพียงนิดเดียว หนึ่งในผู้สนับสนุนหน้าใหม่ของทรัมป์คือ คริส
คริสตี้ ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์, เจฟฟ์ เซสชันส์
วุฒิสมาชิกแอละแบมา หนึ่งในผู้ต่อต้านการแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมืองคนสำคัญในรัฐสภา เจ้าหน้าที่รีพับลิกันอีกหลายคนบอกว่า
จะสนับสนุนหากทรัมป์ได้รับการเสนอชื่อ แม้บางคนยอมรับว่า สนับสนุนอย่างลังเลก็ตาม โรเบิร์ต เบนต์ลีย์
ผู้ว่าการรัฐแอละแบมา เปิดใจเมื่อวันจันทร์ (29 ก.พ.) ว่า
แม้ไม่คิดว่าทรัมป์เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่ความที่เป็นสมาชิกพรรค ดังนั้น
จึงต้องสนับสนุนผู้ที่พรรคเสนอชื่อ
ขณะเดียวกัน ผู้นำรีพับลิกันอีกหลายคนกังวลว่า
หากทรัมป์ได้เป็นตัวแทนพรรคจะส่งกระทบยาวไกลถึงการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกและผู้ว่าการรัฐด้วย สมาชิกรีพับลิกันบางคน อาทิ
แมตต์ แมคโควิก
นักยุทธศาสตร์ของรีพับลิกันที่ไม่ได้ทำงานให้ผู้สมัครคนใดในศึกเลือกตั้ง 2016
บอกว่า ผู้สมัครชิงตำแหน่งวุฒิสมาชิกบางคนอาจต้องละทิ้งความเป็นเอกภาพของพรรคเพื่อปกป้องอนาคตทางการเมืองของตัวเอง
เอเอฟพี - กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังขยายขอบเขตสงครามอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) อย่างจริงจัง ในขณะที่สงครามกวาดล้างนักรบญิฮัดหัวรุนแรงกลุ่มนี้ยืดเยื้อมานานถึง 18 เดือน เจ้าหน้าที่อาวุโสของเพนตากอนแถลงวานนี้ (29 ก.พ.) แอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และ พล.ร.อ.โจเซฟ ดันฟอร์ด ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า สหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะ “ยกระดับ” ปฏิบัติการปราบปรามไอเอส และสงครามไซเบอร์ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ คาร์เตอร์ระบุว่า กลุ่มพันธมิตรสหรัฐฯ ต้องการป่วนสายบัญชาการของไอเอส “เพื่อทำให้พวกเขาสูญเสียความเชื่อมั่นในเครือข่ายพวกเดียวกันเอง” บอสใหญ่เพนตากอนไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดทางเทคนิค บอกแต่เพียงว่ากลยุทธ์ของสหรัฐฯ “ส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ของไอเอสโอเวอร์โหลดจนทำงานไม่ได้ ซึ่งเป็นการขัดขวางไม่ให้แกนนำไอเอสสามารถบัญชาการนักรบ ตลอดจนควบคุมพลเมืองและเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกนัก” การทำให้เซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักเกินไป (overload) นั้นเป็นวิธีโจมตีทางไซเบอร์ทั่วๆ ไปที่เรียกกันว่า Denial of Service แต่คาร์เตอร์ระบุว่าสหรัฐฯ ยังใช้เทคนิคอื่นๆ ร่วมด้วย “วิธีที่เราใช้เป็นของใหม่ บางอย่างก็น่าตกตะลึง และอาจจะนำไปปรับใช้กับความท้าทายอื่นๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ทั่วโลก” เขากล่าว คาร์เตอร์ และ ดันฟอร์ด ได้ไปเยือนกองบัญชาการไซเบอร์ (US Cyber Command) ที่ฟอร์ตมีด รัฐแมริแลนด์ เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกคนให้ “ทำงานอย่างเต็มกำลัง” เพื่อกวาดล้างเครือข่ายไอเอส เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่สหรัฐฯ ได้ส่งเครื่องบินเข้าไปทิ้งระเบิดโจมตีฐานที่มั่นไอเอสทั้งในอิรักและซีเรีย ตลอดจนช่วยฝึกฝนและติดอาวุธให้แก่กองกำลังท้องถิ่น ล่าสุดวอชิงตันเริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อการทำสงครามไซเบอร์มากขึ้น แม้ไอเอสจะยังยึดครองดินแดนบางส่วนของอิรักและซีเรียไว้ได้อย่างเหนียวแน่น แต่พวกเขาก็ประสบความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญๆ บ่อยขึ้น โดยเฉพาะการสูญเสียรามาดี (Ramadi) เมืองเอกของจังหวัดอันบาร์ คืนให้แก่กองทัพอิรัก เมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว “ด้วยยุทธศาสตร์และความมุ่งมั่นของเราที่จะยกระดับการต่อสู้ เวลานี้เราจึงเป็นฝ่ายได้เปรียบ ไม่ใช่พวกไอเอส” คาร์เตอร์กล่าว ด้าน ดันฟอร์ด ซึ่งเป็นประธานเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐฯ ระบุว่า เป้าหมายถัดไปของวอชิงตันในอิรักคือการยึดคืนเมืองโมซุล (Mosul) ซึ่งเวลานี้ก็มีความคืบหน้าไปมาก แม้ทางฝ่ายอิรักเองจะยังไม่มั่นใจว่าภารกิจดังกล่าวจะสำเร็จได้ภายในปีนี้หรือไม่ “คนมักจะสับสนว่าเมืองโมซุลจะถูกทวงคืนเมื่อไหร่ และเราจะเริ่มลงมือตอนไหน... ผมขอเรียนให้ทราบว่า ปฏิบัติการเหล่านั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว ทั้งในด้านสงครามไซเบอร์อย่างที่ท่านรัฐมนตรีได้กล่าวไป ตลอดจนการตัดช่องทางสื่อสาร และโจมตีเป้าหมายบางจุดทั้งภายในและรอบๆ เมืองโมซุล” ดันฟอร์ดกล่าว สำหรับสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ชัยชนะสำคัญอยู่ที่การยึดคืนเมืองรอกเกาะห์ (Raqa) ในซีเรีย ซึ่งไอเอสใช้เป็นเมืองหลวงของ “รัฐอิสลาม” ที่พวกเขาประกาศก่อตั้งขึ้น
เอเอฟพี
- โดนัลด์ ทรัมป์
อาจเป็นตัวเต็งสำหรับเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันลงชิงเก้าอี้ทำเนียบขาว
แต่ในเวทีมหาเศรษฐีโลกแล้ว อันดับของเขาหล่นวูบลงไปอย่างน่าใจหาย
จากการเปิดเผยของนิตยสารฟอร์บส์เมื่อวันอังคาร(1มี.ค.) ขณะที่ บิล เกตส์
ยังคงครองความเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในปี 2016 ส่วน
"ทักษิณ" อันดับลดลงและทรัพย์สินหดหายไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์(ราว3,500ล้านบาท) ขณะที่เจ้าพ่อเบียร์ช้างผงาดนั่งแท่นผู้มั่งคั่งที่สุดของไทย นายทรัมป์
ที่ใช้ความมั่งคั่งของตนเองเป็นจุดขายหลักในการลุ้นเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันลงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
อยู่ในอันดับที่ 324 จากการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดของโลกประจำปี
2016 ของนิตยสารฟอร์บส์ ที่เผยแพร่ในวันอังคาร(1มี.ค.) จากอันดับดังกล่าว
นั่นหมายความว่ามีมหาเศรษฐีมากกว่า 200 คนที่แซงหน้าเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์รายนี้นับตั้งแต่ปี
2015 ที่คราวนั้นเขาอยู่ในอันดับที่ 121 โดยในปี 2016 ทรัมป์ มีทรัพย์สิน 4,500 ล้านดอลลาร์ เท่ากับปีก่อน แต่น้อยกว่าที่เขามักอ้างว่ามีทรัพย์สินสุทธิ 10,000
ล้านดอลลาร์ กว่าเท่าตัว
บิล เกตส์ ยังคงครองความเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
ด้วยทรัพย์สินสุทธิราว 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯโดยประมาณ
น้อยกว่าปีที่แล้ว 4,200 ล้านดอลลาร์ ส่วนอันดับ 2 เป็นของอามันซิโอ ออร์เตกา นักธุรกิจชาวสเปนวัย 67 ปี
ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายบริษัทค้าปลีกเสื้อผ้า ซารา มีทรัพย์สิน 67,000 ล้านดอลาร์ มาร์ค
ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊ก เป็นบุคคลที่มีผลงานดีที่สุดในรอบปี
ด้วยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 11,200 ล้านดอลลาร์
โดยฟอร์บส์จัดอันดับให้ชายวัย 31 ปีผู้นี้อยู่อันดับ 6
ด้วยทรัพย์สินสุทธิ 44,600 ดอลลาร์ เป็นรอง
เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งอะเมซอนดอทคอม ที่มีทรัพย์สิน 45,200 ล้านดอลลาร์อยู่
1 อันดับ ขณะที่ทั้งคู่ก้าวขึ้นมาติดท็อปเทนเป็นปีแรก อย่างไรก็ตามมันเป็นปีที่ไม่ดีเด่นักสำหรับเหล่ามหาเศรษฐีทั้งหลาย
โดยจากข้อมุลของฟอร์บส์พบว่ามีมหาเศรษฐีระดับ 1,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป
เหลือแค่ 1,810 คน ลดลงจากปีก่อน 16 คน
และมีทรัพย์สินสุทธิรวมกันลดลง 570,000 ล้านดอลลาร์ เหลือ 6.48ล้านล้านดอลลาร์ นอกจากนี้แล้วยังเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี
2010 ที่ทรัพย์สินของมหาเศรษฐีเฉลี่ยต่อคนแล้วลดลง อยู่ที่ 3,600
ล้านดอลลาร์ น้อยกว่าปีที่ผ่านมา 300 ล้านดอลลาร์
โดยฟอร์บส์ระบุว่าปัจจัยสำคัญคือความผันผวนในตลาดหุ้น
ราคาน้ำมันที่ตกต่ำและดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น มีอยู่แค่ 2 คนที่สามารถรักษาอันดับเดิมเอาไว้ได้ โดยเกสต์ ครองหมายเลข 1 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน และนายวอร์เรน บัฟเฟต์
ซึ่งอยู่ในอันดับ 3 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 60,800 ล้านดอลลาร์ ขณะที่นายการ์ลอส สลิม เจ้าพ่อโทรคมนาคมเม็กซิโก
หล่นไปอยู่อันดับ 4 ด้วยทรัพย์สินที่ลดลงจาก 77,100 ล้านดอลลาร์ เหลือ 50,000 ล้านดอลลาร์ ฟอร์บส์ระบุว่ามีอยู่ 221
คนที่หลุดจากรายอันดับมหาเศรษฐีในปีนี้ แต่ก็มีหน้าใหม่เข้ามาแทน 198
คน โดยอเล็กซานดรา อันเดรเซน ชาวเดนมาร์กวัย 19 ปี เป็นมหาเศรษฐีอายุน้อยที่สุด ส่วน แคธารีนา พี่สาวของเธอวัย 20 ปี ตามมาเป็นอันดับ 2 มีผู้หญิง 190 คนที่ติดอันดับมหาเศรษฐีจากการประกาศของฟอร์บส์ในปีนี้
โดย มาดามลิเลียน เบตตองกูร์ต เจ้าของธุรกิจ “ลอรีอัล”
ครองหมายเลข 1 ในส่วนของสตรี แต่รั้งอันดับ 11
ของมหาเศรษฐีทั้งหมด ด้วยทรัพย์สิน 36,100 ล้านดอลลาร์
สหรัฐฯยังคงเป็นชาติที่มีมหาเศรษฐีมากที่สุด 540 คน
ตามมาด้วยจีนแผ่นดินใหญ่ 251 คนและเยอรมนี 120 คน ส่วน รัสเซีย ติดอันดับมา 77 คน ฮ่องกง 69
คนและบราซิล 23 คน ในส่วนของประเทศไทยนั้น
จากข้อมูลของฟอร์บส์พบว่าในปีนี้ มีเศรษฐีติดอันดับรวยสุดในโลกของฟอร์บส์ในปีนี้ถึง
16 คน โดยนายเจริญ สิริวัฒนภักดี วัย 71 ปีแห่ง เบียร์ช้าง ผวาดขึ้นมาครองอันดับ 1 ด้วยทรัพย์สิน
10,700 ล้านดอลาร์ อยู่อันดับ 94 ของโลก
แซงนายธนินท์ เจียรวนนท์ จากซีพี ที่หล่นมาอยู่อันดับ 2 ของไทยและอันดับ
171 โลก ด้วยทรัพย์สิน 6,800 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรีผู้หลบหนี วัย 66 ปี หล่นจากอันดับ 7
มารั้งอันดับ 10 ของไทย อยู่อันดับ 1,121
ของโลก ด้วยทรัพย์สิน 1,600 ล้านดอลลาร์
ลดลงจากเดิมราว 100 ล้านดอลลาร์(3,500ล้านบาท) อันดับมหาเศรษฐีในไทยที่ฟอร์บส์ระบุว่ามีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไปประจำปี 2016
1.เจริญ สิริวัฒนภักดี (เบียร์ช้าง) มีทรัพย์สิน 10,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 94 ของโลก
2. ธนินท์ เจียรวนนท์ (ซีพี/ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 6,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 171 ของโลก
3.วาณิช ไชยวรรณ (ไทยประกันชีวิต) มีทรัพย์สิน 3,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 421 ของโลก
4.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (บางกอกแอร์เวย์ส) มีทรัพย์สิน 2,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 612 ของโลก
5. วิชัย ศรีวัฒนประภา (คิง เพาเวอร์) มีทรัพย์สิน 2,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 612 ของโลก
6. กฤตย์ รัตนรักษ์ (ช่อง 7) มีทรัพย์สิน 2,600 ล้านดอลลาร์ อันดับ 666 ของโลก
7.จรัญ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 2,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 854 ของโลก
8.สุเมธ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 2,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 854 ของโลก
9.มนตรี เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 2,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 854 ของโลก
10.ทักษิณ ชินวัตร (นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,600 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,121 ของโลก
11.วิชัย ทองแตง(นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,500 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,198 ของโลก
12.วิลเลียม ไฮเน็ค(โรงแรม) มีทรัพย์สิน 1,400 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,275 ของโลก
13.คีรี กาญจนพาสน์ (บีทีเอส) มีทรัพย์สิน 1,300 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,367 ของโลก
14.ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (พฤกษาเรียลเอสเตท) มีทรัพย์สิน 1,300 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,367 ของโลก
15.สุรินทร์ อุปพัทธกุล (โทรคมนาคม/ลอตเตอรี/ประกัน) มีทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,577 ของโลก
16.สุดธิดา รัตนรักษ์ (สื่อสารมวลชน/อสังหาริมทรัพย์) มีทรัพย์สิน 1,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,694 ของโลก
อันดับมหาเศรษฐีในไทยที่ฟอร์บส์ระบุว่ามีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไปประจำปี 2015
1. ธนินท์ เจียรวนนท์ (ซีพี) มีทรัพย์สิน 13,600 ล้านดอลลาร์ ติดอันดับ 81 ของโลก
2. เจริญ สิริวัฒนภักดี (เบียร์ช้าง) 13,200 ล้านดอลลาร์ อันดับ 87 ของโลก
3. กฤตย์ รัตนรักษ์ (ช่อง 7) 3,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 452 ของโลก
4. วาณิช ไชยวรรณ (ไทยประกันชีวิต) 3,700 ล้านดอลาร์ อันดับ 462 ของโลก
5. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (บางกอกแอร์เวย์ส) 2,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 663 ของโลก
6. วิชัย ศรีวัฒนประภา (คิง เพาเวอร์) 2,600 ล้านดอลลาร์ อันดับ 714 ของโลก
7. ทักษิณ ชินวิตร และครอบครัว 1,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,118 ของโลก
8.ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (พฤกษาเรียลเอสเตท) 1,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,118 ของโลก
9. คีรี กาญจนพาสน์ (บีทีเอส) 1,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,173 ของโลก
10. สุดธิดา รัตนรักษ์ 1,700 ล้านดอลลาร์ (สื่อสารมวลชน, อสังหาริมทรัพย์) อันดับ 1,173 ของโลก
11. วิชัย ทองแตง 1,600 ล้านดอลลาร์ (นักลงทุน) อันดับ 1,190 ของโลก
1.เจริญ สิริวัฒนภักดี (เบียร์ช้าง) มีทรัพย์สิน 10,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 94 ของโลก
2. ธนินท์ เจียรวนนท์ (ซีพี/ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 6,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 171 ของโลก
3.วาณิช ไชยวรรณ (ไทยประกันชีวิต) มีทรัพย์สิน 3,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 421 ของโลก
4.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (บางกอกแอร์เวย์ส) มีทรัพย์สิน 2,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 612 ของโลก
5. วิชัย ศรีวัฒนประภา (คิง เพาเวอร์) มีทรัพย์สิน 2,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 612 ของโลก
6. กฤตย์ รัตนรักษ์ (ช่อง 7) มีทรัพย์สิน 2,600 ล้านดอลลาร์ อันดับ 666 ของโลก
7.จรัญ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 2,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 854 ของโลก
8.สุเมธ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 2,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 854 ของโลก
9.มนตรี เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 2,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 854 ของโลก
10.ทักษิณ ชินวัตร (นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,600 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,121 ของโลก
11.วิชัย ทองแตง(นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,500 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,198 ของโลก
12.วิลเลียม ไฮเน็ค(โรงแรม) มีทรัพย์สิน 1,400 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,275 ของโลก
13.คีรี กาญจนพาสน์ (บีทีเอส) มีทรัพย์สิน 1,300 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,367 ของโลก
14.ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (พฤกษาเรียลเอสเตท) มีทรัพย์สิน 1,300 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,367 ของโลก
15.สุรินทร์ อุปพัทธกุล (โทรคมนาคม/ลอตเตอรี/ประกัน) มีทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,577 ของโลก
16.สุดธิดา รัตนรักษ์ (สื่อสารมวลชน/อสังหาริมทรัพย์) มีทรัพย์สิน 1,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,694 ของโลก
อันดับมหาเศรษฐีในไทยที่ฟอร์บส์ระบุว่ามีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไปประจำปี 2015
1. ธนินท์ เจียรวนนท์ (ซีพี) มีทรัพย์สิน 13,600 ล้านดอลลาร์ ติดอันดับ 81 ของโลก
2. เจริญ สิริวัฒนภักดี (เบียร์ช้าง) 13,200 ล้านดอลลาร์ อันดับ 87 ของโลก
3. กฤตย์ รัตนรักษ์ (ช่อง 7) 3,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 452 ของโลก
4. วาณิช ไชยวรรณ (ไทยประกันชีวิต) 3,700 ล้านดอลาร์ อันดับ 462 ของโลก
5. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (บางกอกแอร์เวย์ส) 2,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 663 ของโลก
6. วิชัย ศรีวัฒนประภา (คิง เพาเวอร์) 2,600 ล้านดอลลาร์ อันดับ 714 ของโลก
7. ทักษิณ ชินวิตร และครอบครัว 1,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,118 ของโลก
8.ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (พฤกษาเรียลเอสเตท) 1,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,118 ของโลก
9. คีรี กาญจนพาสน์ (บีทีเอส) 1,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,173 ของโลก
10. สุดธิดา รัตนรักษ์ 1,700 ล้านดอลลาร์ (สื่อสารมวลชน, อสังหาริมทรัพย์) อันดับ 1,173 ของโลก
11. วิชัย ทองแตง 1,600 ล้านดอลลาร์ (นักลงทุน) อันดับ 1,190 ของโลก
เอเอฟพี / เอเจนซีส์ / MGR
online – สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอส แอนด์ พี)
บริษัทเครดิตเรตติ้งชื่อดังเผยในวันอังคาร (1) ระบุ
การกู้ยืมเงินของรัฐบาลในกลุ่มประเทศอาหรับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเท่าตัวในปี 2015
และอัตราการก่อหนี้เช่นนี้มีแนวโน้มจะพุ่งสูงต่อเนื่องในปี 2016
นี้ เอส แอนด์ พีระบุ อัตราการก่อหนี้ของ 11 ชาติอาหรับซึ่งรวมถึงบรรดารัฐอาหรับผู้มั่งคั่งแถบอ่าวเปอร์เซีย
ได้เพิ่มขึ้นแตะระดับ 143,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว
เมื่อเทียบกับระดับ 70,600 ล้านดอลลาร์ในปี 2014
รายงานล่าสุดของบริษัทจัดอันดับชื่อดังระบุว่า ในปี 2015 ที่ผ่านมา รัฐบาลของกลุ่มชาติอาหรับผู้มั่งคั่งแถบอ่าวเปอร์เซียที่ประกอบด้วยบาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ สูงถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการกู้ยืมของซาอุดีอาระเบียเพียงประเทศเดียวสูงถึง 26,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอดการกู้ยืมของรัฐบาลอิรักซึ่ งถูกสำรวจเป็นครั้งแรกก็พุ่งสูงแตะระดับ 30,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ผลสำรวจพบว่า อียิปต์ครองตำแหน่งประเทศในโลกอาหรับ ที่มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศสูงที่สุดในปี 2015 ด้วยวงเงินกู้ยืมสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ เอส แอนด์ พี ระบุว่า สาเหตุหลักที่ทำให้บรรดารัฐอาหรับที่มั่งคั่งไปด้วยทรัพยากรน้ำมันเหล่านี้ ต้องหันมากู้หนี้ยืมสินแบบขนานใหญ่ในปี 2015 เนื่องจากการดิ่งลงอย่างต่อเนื่องของราคาสินค้าพลังงานในตลาดโลก ที่ถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของดินแดนเหล่านี้ ที่ต่างประสบภาวะขาดดุลงบประมาณกันอย่างพร้อมเพรียงจากภาวะดังกล่าว ทั้งนี้ เอส แอนด์ พี ประเมินว่า ยอดการกู้ยืมเงินของชาติอาหรับในปี 2016 นี้ จะยังคงพุ่งสูงต่อเนื่องจากปีที่แล้วโดยมีความเป็นไปได้ที่ยอดการกู้ยืมเงินของรัฐอาหรับในปีนี้ อาจเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 667,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกโรงเตือนโดยระบุซาอุดีอาระเบียที่ถือเป็น “พี่ใหญ่ของโลกอาหรับ”อาจประสบภาวะ “ล้มละลายทางเศรษฐกิจ” ภายในปี ค.ศ. 2020 หรือใน 5 ปีข้างหน้า หากรัฐบาลของราชอาณาจักรกลางทะเลทรายแห่งนี้ยังคงไม่ “รักษาวินัยการคลัง” รายงานล่าสุดของไอเอ็มเอฟเกี่ยวกับภาพรวม และแนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย จะต้องหันมารักษาวินัยทางการคลังอย่างจริงจัง และยุติการใช้จ่ายงบประมาณ ในระดับที่สูงกว่ารายได้ของประเทศ ก่อนที่จะประสบภาวะ “ถังแตก” ในปี 2020 ข้อมูลของไอเอ็มเอฟ ระบุว่า ในปี 2015 ยอดการขาดดุลงบประมาณของซาอุดีอาระเบีย พุ่งสูงถึง 21.6 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในปี 2016 ก็คาดว่ายอดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลริยาดห์จะอยู่ที่ราว 19.4 เปอร์เซ็นต์ มาซูด อาเหม็ด ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียกลางของไอเอ็มเอฟ ระบุว่า นอกเหนือจากซาอุดีอาระเบียจะต้องยุติการใช้จ่ายเงินงบประมาณ มากกว่ารายได้ของประเทศ โดยเฉพาะในภาวะที่ราคาน้ำมันที่เป็นสินค้าออกสำคัญของซาอุฯ อยู่ในภาวะดิ่งเหวแล้ว ซาอุฯก็ต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญในการสร้างงาน ให้กับประชาชนมากกว่า 10 ล้านตำแหน่งภายใน 5 ปีข้างหน้าด้วยเช่นกัน ผลพวงจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำในตลาดโลกตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ซาอุดีอาระเบียที่ต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมัน ในสัดส่วนที่สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด ต้องเผชิญกับภาวะขาดดุลงบประมาณเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2009 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ยอดสินทรัพย์สุทธิในต่างประเทศของซาอุฯได้หดหายไปแล้วกว่า 82,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 2.91 ล้านล้านบาท ) ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ก่อนหน้านี้ ทางการโอมานออกมาเปิดเผยเช่นกันว่า ประสบภาวะขาดดุลงบประมาณไปแล้วกว่า 6,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 247,185 ล้านบาท) เฉพาะช่วง 8 เดือนแรกของปี 2015 จากผลพวงของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ตกต่ำ กระทบช่องทางหารายได้หลักเข้าประเทศ รายงานข่าวซึ่งอ้างการเปิดเผยรายงานของกระทรวงการคลังโอมานระบุว่า ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณของรัฐสุลต่านแห่งนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2015 ได้พุ่งสูงแตะระดับ 6,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 247,185 ล้านบาท) สวนทางกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อปี 2014 ที่งบประมาณของประเทศประสบภาวะ “เกินดุล” กว่า 534 ล้านดอลลาร์ (ราว 18,945 ล้านบาท) รายงานของกระทรวงการคลังโอมาน ระบุว่า การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง คือ ปัจจัยสำคัญ ที่นำไปสู่ภาวะการขาดดุลงบประมาณแผ่นดินครั้งมโหฬารนี้ ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้ว ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ว่า ภาวะดิ่งเหวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ซาอุดีอาระเบีย คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน และบาห์เรน คิดเป็นวงเงินรวมกันไม่น้อยกว่า 215,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 7.62 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 14 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีรวม ของทั้ง 6 ประเทศในปี 2015 นี้ เมื่อไม่นานมานี้ ชีคห์ ซาบาห์ อัล-อาเหม็ด อัล-ซาบาห์ เจ้าผู้ครองรัฐของคูเวต ทรงออกโรงเตือนถึงภาวะราคาน้ำมันที่ยังคงดิ่งลงอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก ว่า เปรียบเสมือน “เงามืด” ที่กำลังย่างกรายเข้าปกคลุมเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่ม “โอเปก” พร้อมแนะว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันแต่เพียงอย่างเดียว ในการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศ ชีคห์ ซาบาห์ ในวัย 85 พรรษา ซึ่งทรงก้าวขึ้นครองอำนาจในฐานะ “เจ้าผู้ครองรัฐพระองค์ที่ 5” ของคูเวตตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคมปี 2006 ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่คูเวตและประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปก หรือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ของโลกจะต้อง “เลิกพึ่งพา” รายได้จากการขายน้ำมันแต่เพียงอย่างเดียวในการพัฒนาประเทศ และควรเร่งหาทางสร้างแหล่งรายได้ที่หลากหลายสำหรับใช้หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในอนาคต “การดิ่งลงของราคาน้ำมันนั้น ไม่ต่างจากเงามืดที่กำลังย่างกรายเข้ามาปกคลุมเศรษฐกิจและอนาคตของเรา ถึงเวลาแล้วที่สมาชิกโอเปกทั้งหลาย ต้องหาหนทางอื่นในการพัฒนาเศรษฐกิจแทนการพึ่งพารายได้จากน้ำมัน เราต้องเร่งหาทางปกป้องเศรษฐกิจ และสร้างหลักประกันให้กับลูกหลานของเราในอนาคต ในวันที่เราไม่มีน้ำมันเหลืออยู่แล้ว” ชีคห์ ซาบาห์ ตรัส ท่าทีขององค์เอมีร์แห่งคูเวต มีขึ้นหลังจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี และส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก ระหว่างสมาชิกกลุ่มโอเปกในเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตเพื่อให้มีน้ำมันออก สู่ตลาดโลกลดน้อยลง และผลักราคาน้ำมันให้ปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดของรัฐบาลคูเวตที่มีการเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า ในขณะนี้รายได้จากการส่งออกน้ำมันมีสัดส่วนคิดเป็น “เกือบครึ่งหนึ่งของจีดีพี”ของคูเวตและถือเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของประเทศ
รายงานล่าสุดของบริษัทจัดอันดับชื่อดังระบุว่า ในปี 2015 ที่ผ่านมา รัฐบาลของกลุ่มชาติอาหรับผู้มั่งคั่งแถบอ่าวเปอร์เซียที่ประกอบด้วยบาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ สูงถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการกู้ยืมของซาอุดีอาระเบียเพียงประเทศเดียวสูงถึง 26,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอดการกู้ยืมของรัฐบาลอิรักซึ่ งถูกสำรวจเป็นครั้งแรกก็พุ่งสูงแตะระดับ 30,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ผลสำรวจพบว่า อียิปต์ครองตำแหน่งประเทศในโลกอาหรับ ที่มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศสูงที่สุดในปี 2015 ด้วยวงเงินกู้ยืมสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ เอส แอนด์ พี ระบุว่า สาเหตุหลักที่ทำให้บรรดารัฐอาหรับที่มั่งคั่งไปด้วยทรัพยากรน้ำมันเหล่านี้ ต้องหันมากู้หนี้ยืมสินแบบขนานใหญ่ในปี 2015 เนื่องจากการดิ่งลงอย่างต่อเนื่องของราคาสินค้าพลังงานในตลาดโลก ที่ถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของดินแดนเหล่านี้ ที่ต่างประสบภาวะขาดดุลงบประมาณกันอย่างพร้อมเพรียงจากภาวะดังกล่าว ทั้งนี้ เอส แอนด์ พี ประเมินว่า ยอดการกู้ยืมเงินของชาติอาหรับในปี 2016 นี้ จะยังคงพุ่งสูงต่อเนื่องจากปีที่แล้วโดยมีความเป็นไปได้ที่ยอดการกู้ยืมเงินของรัฐอาหรับในปีนี้ อาจเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 667,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกโรงเตือนโดยระบุซาอุดีอาระเบียที่ถือเป็น “พี่ใหญ่ของโลกอาหรับ”อาจประสบภาวะ “ล้มละลายทางเศรษฐกิจ” ภายในปี ค.ศ. 2020 หรือใน 5 ปีข้างหน้า หากรัฐบาลของราชอาณาจักรกลางทะเลทรายแห่งนี้ยังคงไม่ “รักษาวินัยการคลัง” รายงานล่าสุดของไอเอ็มเอฟเกี่ยวกับภาพรวม และแนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย จะต้องหันมารักษาวินัยทางการคลังอย่างจริงจัง และยุติการใช้จ่ายงบประมาณ ในระดับที่สูงกว่ารายได้ของประเทศ ก่อนที่จะประสบภาวะ “ถังแตก” ในปี 2020 ข้อมูลของไอเอ็มเอฟ ระบุว่า ในปี 2015 ยอดการขาดดุลงบประมาณของซาอุดีอาระเบีย พุ่งสูงถึง 21.6 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในปี 2016 ก็คาดว่ายอดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลริยาดห์จะอยู่ที่ราว 19.4 เปอร์เซ็นต์ มาซูด อาเหม็ด ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียกลางของไอเอ็มเอฟ ระบุว่า นอกเหนือจากซาอุดีอาระเบียจะต้องยุติการใช้จ่ายเงินงบประมาณ มากกว่ารายได้ของประเทศ โดยเฉพาะในภาวะที่ราคาน้ำมันที่เป็นสินค้าออกสำคัญของซาอุฯ อยู่ในภาวะดิ่งเหวแล้ว ซาอุฯก็ต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญในการสร้างงาน ให้กับประชาชนมากกว่า 10 ล้านตำแหน่งภายใน 5 ปีข้างหน้าด้วยเช่นกัน ผลพวงจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำในตลาดโลกตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ซาอุดีอาระเบียที่ต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมัน ในสัดส่วนที่สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด ต้องเผชิญกับภาวะขาดดุลงบประมาณเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2009 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ยอดสินทรัพย์สุทธิในต่างประเทศของซาอุฯได้หดหายไปแล้วกว่า 82,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 2.91 ล้านล้านบาท ) ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ก่อนหน้านี้ ทางการโอมานออกมาเปิดเผยเช่นกันว่า ประสบภาวะขาดดุลงบประมาณไปแล้วกว่า 6,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 247,185 ล้านบาท) เฉพาะช่วง 8 เดือนแรกของปี 2015 จากผลพวงของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ตกต่ำ กระทบช่องทางหารายได้หลักเข้าประเทศ รายงานข่าวซึ่งอ้างการเปิดเผยรายงานของกระทรวงการคลังโอมานระบุว่า ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณของรัฐสุลต่านแห่งนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2015 ได้พุ่งสูงแตะระดับ 6,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 247,185 ล้านบาท) สวนทางกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อปี 2014 ที่งบประมาณของประเทศประสบภาวะ “เกินดุล” กว่า 534 ล้านดอลลาร์ (ราว 18,945 ล้านบาท) รายงานของกระทรวงการคลังโอมาน ระบุว่า การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง คือ ปัจจัยสำคัญ ที่นำไปสู่ภาวะการขาดดุลงบประมาณแผ่นดินครั้งมโหฬารนี้ ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้ว ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ว่า ภาวะดิ่งเหวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ซาอุดีอาระเบีย คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน และบาห์เรน คิดเป็นวงเงินรวมกันไม่น้อยกว่า 215,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 7.62 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 14 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีรวม ของทั้ง 6 ประเทศในปี 2015 นี้ เมื่อไม่นานมานี้ ชีคห์ ซาบาห์ อัล-อาเหม็ด อัล-ซาบาห์ เจ้าผู้ครองรัฐของคูเวต ทรงออกโรงเตือนถึงภาวะราคาน้ำมันที่ยังคงดิ่งลงอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก ว่า เปรียบเสมือน “เงามืด” ที่กำลังย่างกรายเข้าปกคลุมเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่ม “โอเปก” พร้อมแนะว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันแต่เพียงอย่างเดียว ในการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศ ชีคห์ ซาบาห์ ในวัย 85 พรรษา ซึ่งทรงก้าวขึ้นครองอำนาจในฐานะ “เจ้าผู้ครองรัฐพระองค์ที่ 5” ของคูเวตตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคมปี 2006 ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่คูเวตและประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปก หรือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ของโลกจะต้อง “เลิกพึ่งพา” รายได้จากการขายน้ำมันแต่เพียงอย่างเดียวในการพัฒนาประเทศ และควรเร่งหาทางสร้างแหล่งรายได้ที่หลากหลายสำหรับใช้หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในอนาคต “การดิ่งลงของราคาน้ำมันนั้น ไม่ต่างจากเงามืดที่กำลังย่างกรายเข้ามาปกคลุมเศรษฐกิจและอนาคตของเรา ถึงเวลาแล้วที่สมาชิกโอเปกทั้งหลาย ต้องหาหนทางอื่นในการพัฒนาเศรษฐกิจแทนการพึ่งพารายได้จากน้ำมัน เราต้องเร่งหาทางปกป้องเศรษฐกิจ และสร้างหลักประกันให้กับลูกหลานของเราในอนาคต ในวันที่เราไม่มีน้ำมันเหลืออยู่แล้ว” ชีคห์ ซาบาห์ ตรัส ท่าทีขององค์เอมีร์แห่งคูเวต มีขึ้นหลังจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี และส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก ระหว่างสมาชิกกลุ่มโอเปกในเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตเพื่อให้มีน้ำมันออก สู่ตลาดโลกลดน้อยลง และผลักราคาน้ำมันให้ปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดของรัฐบาลคูเวตที่มีการเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า ในขณะนี้รายได้จากการส่งออกน้ำมันมีสัดส่วนคิดเป็น “เกือบครึ่งหนึ่งของจีดีพี”ของคูเวตและถือเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของประเทศ
เอเอฟพี
- เสียงปืนและระเบิดในสงครามกลางเมืองที่คร่าชีวิตชาวซีเรียไปกว่า 270,000 คน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
กลับสงบเงียบลงในวันนี้ (27 ก.พ.)
หลังข้อตกลงหยุดยิงครั้งประวัติศาสตร์ที่สหรัฐฯ และรัสเซีย
ให้การสนับสนุนเริ่มมีผลบังคับ เมื่อเวลาเที่ยงคืนที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีในซีเรีย รายงานว่า
เมื่อย่างเข้าสู่เวลาเที่ยงคืน เสียงปืนก็เริ่มเงียบหายไปในหลายพื้นที่รอบ ๆ
กรุงดามัสกัส และที่เมืองอะเลปโป ทางตอนเหนือของประเทศ
โดยตลอดทั้งวันก่อนหน้านั้นเครื่องบินขับไล่รัสเซียได้กระหน่ำบอมบ์ใส่ฐานที่มั่นของกบฏทั่วซีเรียเป็นการ
“ทิ้งทวน” ศูนย์สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรียซึ่งมีฐานที่กรุงลอนดอน
ระบุว่า บรรยากาศในจังหวัดลาตาเกียทางตอนเหนือ
รวมถึงจังหวัดฮอมส์และฮามาในภาคกลางของซีเรีย ก็กลับคืนสู่ความสงบเช่นกัน “ผมอาจจะนอนดึกหน่อยคืนนี้ และหวังว่า
เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้าคงไม่ต้องเพลียเพราะเสียงเครื่องบินทิ้งระเบิดอีก” โมฮัมเหม็ด โนฮาด ชาวบ้านในเขต อัล-กาลัสเซห์ ทางตอนใต้ของเมืองอะเลปโป
ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของกบฏซีเรีย ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี
ข้อตกลงหยุดยิงที่มีผลบังคับใช้วันนี้ (27) ถือเป็นการหยุดพักความรุนแรงอย่างจริงจังครั้งแรกในรอบ
5 ปี นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองซีเรียปะทุขึ้นในเดือน มี.ค.
ปี 2011 สตัฟฟาน
เดอ มิสตูรา ผู้แทนพิเศษยูเอ็นว่าด้วยปัญหาซีเรีย ยืนยันว่า
การเจรจาสันติภาพจะเริ่มขึ้นใหม่ในวันที่ 7 มี.ค.
หากคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายเคารพข้อตกลงหยุดยิง
และเปิดทางให้ยูเอ็นส่งความช่วยเหลือเข้าไปถึงมือประชาชนได้มากขึ้น ความพยายามที่จะยุติการต่อสู้ในซีเรียล้มเหลวมาโดยตลอด ขณะที่สหรัฐฯ
และรัสเซียซึ่งหนุนหลังคู่ขัดแย้งคนละขั้วก็ยอมรับว่า การจะทำให้ข้อตกลงหยุดยิงมีผลบังคับอย่างแท้จริงไม่ใช่เรื่องง่าย
“ผมยอมรับว่า ดีใจที่สงครามยุติลงได้ ถึงจะแค่ไม่กี่นาทีก็เถอะ...
ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปได้เรื่อย ๆ บางทีพวกเราอาจจะได้กลับบ้าน” อับเดลราห์มาน อิสซา ทหารวัย 24 ปีจากกองทัพซีเรีย
ให้สัมภาษณ์ที่เขตโจบาร์ ทางตะวันออกของกรุงดามัสกัส นักวิเคราะห์หลายคนก็ตั้งคำถามเช่นกันว่า
ข้อตกลงหยุดยิงจะใช้ได้จริงหรือไม่ในสมรภูมิซีเรียที่มีความซับซ้อน
เนื่องจากยังอนุญาตให้มีการใช้อาวุธกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (ไอเอส) และ
อัล-นุสรา ฟรอนท์ ซึ่งเป็นเครือข่ายอัลกออิดะห์ต่อไปได้ ศูนย์สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรีย
เผยว่า
หลังข้อตกลงหยุดยิงเริ่มมีผลบังคับยังคงมีการปะทะเกิดขึ้นระหว่างกองทัพซีเรียกับไอเอสและอัล-นุสรา
รวมถึงระหว่างนักรบญิฮาดกับกองกำลังเคิร์ด
ก่อนเข้าสู่เวลาหยุดยิงไม่ถึงชั่วโมง
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติเป็นเอกฉันท์สนับสนุนร่างมติหยุดยิงที่สหรัฐฯ
และรัสเซียร่วมกันเสนอขึ้น ซาแมนธา เพาเวอร์ เอกอัครราชทูตผู้แทนสหรัฐฯ ประจำยูเอ็น ยอมรับว่า
ยังคงมี “ความลังเลสงสัย” ว่า
ข้อตกลงหยุดยิงจะไปรอดหรือไม่ แต่อย่างน้อยก็เป็น “โอกาสดีที่สุดที่จะลดความรุนแรงในซีเรีย”
ขณะที่โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีตุรกีได้แสดงความกังวล “เนื่องจากรัสเซียยังคงส่งเครื่องบินออกทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่อง
ควบคู่ไปกับการโจมตีภาคพื้นดินโดยกองทัพประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด” รัสเซียเริ่มเข้าแทรกแซงสงครามในซีเรียตั้งแต่เดือน
ก.ย. ปีที่แล้ว โดยอ้างว่าต้องการกวาดล้าง “กลุ่มก่อการร้าย”
แต่นักวิจารณ์และชาติตะวันตก เชื่อว่า
มอสโกจงใจถล่มพวกกบฏสายกลางที่เป็นศัตรูกับอัสซาดมากกว่า ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน
แห่งรัสเซีย ยืนกรานว่ามอสโกจะยังคงโจมตีทางอากาศใส่ “กลุ่มก่อการร้าย”
ต่อไปเรื่อย ๆ “เราเข้าใจและตระหนักดีว่ามันเป็นเรื่องซับซ้อน
และอาจจะดูขัดแย้งกับกระบวนการปรองดอง แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่น”
ประธานาธิบดี บารัค โอบามา
ได้ฝากเตือนไปยังรัสเซียและซีเรียเมื่อวันพฤหัสบดี (25) ว่า
“ทั่วโลกจะเฝ้าจับตา” ว่าทั้ง 2
ชาติจะเคารพข้อตกลงหยุดยิงหรือไม่ ขณะที่ มาร์ก โทเนอร์
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า
วอชิงตันได้รับคำยืนยันจากมอสโกว่าจะไม่มีการทิ้งบอมบ์ใส่ “กบฏสายกลาง”
ในซีเรีย หลังจากข้อตกลงหยุดยิงเริ่มมีผลบังคับ ด้านอิหร่านซึ่งให้การหนุนหลัง
อัสซาด เช่นเดียวกับรัสเซีย ก็แสดงความมั่นใจว่าดามัสกัสจะปฏิบัติตามข้อตกลง
(เครดิตอ้างอิง คัดลอกจากข่าวแปล คอลัมน์ข่าวต่างประเทศ MGR online)
(เครดิตอ้างอิง คัดลอกจากข่าวแปล คอลัมน์ข่าวต่างประเทศ MGR online)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น