วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

โลก 360 องศา - (เมื่อพายุหิมะถล่ม - ภัยหนาวมาเยือนทั่วโลก อย่างรุนแรง)


เกิดอะไรขึ้นกับอุณหภูมิทั่วโลกในขณะนี้ ที่อากาศแปรปรวนจนถึงขั้นอากาศหนาวรุนแรงเช่นนี้

 

 
มันคือผลทางอ้อมจากภาวะเรือนกระจก Green House effect  หลายคนอาจจะคิดว่ามันจะทำให้โลกร้อนเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้ว มันทำให้โลกหนาวได้ด้วย เพราะภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมืสูงขึ้นโดยเฉพาะทวีปอาร์ตติกขั้วโลกใต้   ทำให้น้ำแข็งละลาย ทำให้ปริมาณน้ำจืดเยอะขึ้น (รวมถึงการละลายของน้ำแข็ง)  ซึ่งจะทำให้โลกมีพื้นผิวทะเลมากขึ้น  ความชื้นมากขึ้น  ฝนตกมากขึ้น  กระแสน้ำเปลี่ยน (และจะเกิดการไหลเวียนของกระแสน้ำเย็นจำนวนมาก) จนสุดท้ายแล้วอุณหภูมิโลกจะค่อยๆหนาวขึ้น เหตุการณ์ในลักษณะนี้มีลักษณะคล้ายที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 20,000 ปีก่อน คือช่วงยุคน้ำแข็ง  จึงอนุมานได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่โลกของเรากำลังจะกลับไปสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้งหรือไม่

อเมริกาอ่วมหนัก เจอพายุหิมะถล่มหนักสุดเป็นประวัติการณ์

วอชิงตัน/นิวยอร์ก/โซล (เอพี/รอยเตอร์/บีบีซี นิวส์) - ภาคตะวันออก ของสหรัฐยังคงเผชิญกับหิมะที่ตกหนักสุดเป็นประวัติการณ์ มีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คนตามรัฐต่างๆ ส่วนที่เกาหลีใต้เผชิญหิมะตกหนักมากที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ และลมกระโชกแรง ทำให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินหลายร้อยเที่ยว  พื้นที่แถบชายฝั่งภาคตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกของสหรัฐส่วนใหญ่กลายเป็นอัมพาต หลังจากพายุหิมะ ซึ่งมีความรุนแรง และมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า สโนว์ซิลล่า เข้าพัดถล่มตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และขณะนี้พายุได้เพิ่มกำลังแรงยิ่งขึ้น ทำให้กรุงวอชิงตัน ดีซี ต้องปิดการคมนาคมตลอดช่วงสุดสัปดาห์ ขณะที่ระบบการขนส่งมวลชนและรถไฟฟ้าใต้ดินปิดให้บริการเป็นส่วนใหญ่ ในเมืองฟิลาเดลเฟีย และในรัฐนิวเจอร์ซี ส่วนนครนิวยอร์กปิดให้บริการทั้งหมดในช่วงวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ และพายุหิมะอาจส่งผลกระทบต่อการเปิดทำการของตลาดหุ้นวอลล์สตรีตในวันจันทร์  สำนักอุตุนิยมแห่งชาติของสหรัฐ รายงานว่า ที่กรุงวอชิงตันดีซี หิมะตกสูงถึง 24 นิ้ว ขณะที่ในมหานครนิวยอร์ก ซึ่งมีประชากรอาศัย ราว 20 ล้านคน มีหิมะสูง 26.8 นิ้วในช่วงเที่ยงคืนวันเสาร์ จากสถิติครั้งก่อน 26.9 นิ้วเมื่อปี 2549 นับเป็นหิมะตกหนักที่สุดครั้งที่ 3 ในรอบ 177 ปี ในมหานครแห่งนี้ ขณะที่มีรายงาน ผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 19 คนในหลายรัฐ โดย 13 คน เสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้าย ในรัฐอาร์คันซอว์ นอร์ทแคโรไลนา เคนตักกี้ โอไฮโอ เทนเนสซี่ และเวอร์จิเนีย ส่วนอีก 1 คนเสียชีวิตในรัฐแมรีแลนด์ และ 3 คนเสียชีวิตในนครนิวยอร์ก ขณะกำลังโกยหิมะ ขณะที่อีก 2 คนเสียชีวิตจากอุณหภูมิร่างกายลดต่ำเฉียบพลันในรัฐเวอร์จิเนีย พายุหิมะครั้งนี้ทำให้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 21 รัฐ และส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยในภูมิภาคแถบนี้กว่า 85 ล้านคน โดยประชาชนกว่า 2 แสนคนไม่มีไฟฟ้าใช้ ขณะที่ต้องระงับ เที่ยวบินกว่า 4,400 เที่ยวที่สนามบินในนครนิวยอร์ก ฟิลาเดลเฟีย กรุงวอชิงตัน ดีซี และบัลติมอร์ นอกจากนี้ ยังเกิดน้ำท่วมหนักในเมืองชายฝั่งของรัฐ "นิวเจอร์ซี่" และ "เดอลาแวร์" เนื่องจากอิทธิลพของพายุหิมะ ที่มีกำลังมหาศาลลูกนี้ ได้ทำให้เกิดคลื่นสูงในทะเล โถมเข้าใส่ชายฝั่ง ขณะที่มีการประเมินกันว่า พายุหิมะถล่มสหรัฐครั้งนี้อาจสร้างความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ (36,000 ล้านบาท) ส่วนที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดคลื่นความเย็นพาดผ่าน เมื่อวานนี้ ทำให้อากาศในกรุงโซลหนาวจัดอย่างฉับพลัน วัดได้ ถึงลบ 16 องศาเซลเซียส และวันนี้วัดได้ถึง ลบ 18 องศาเซลเซียส ทำให้สำนักอุตุนิยมวิทยาของเกาหลีใต้ ต้องประกาศเตือนภัยสภาพอากาศหนาวในเมืองหลวง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี เที่ยวบินที่สนามบินบนเกาะเชจูสถานตากอากาศชื่อดังในเกาหลีใต้ต้องระงับบริการต่อเนื่องเป็นวันที่สองแล้วหลังหิมะตกหนักที่สุดในรอบ 30 ปี ด้านเจ้าหน้าที่ศูนย์พยากรณ์อากาศฮ่องกงออกประกาศเตือนสภาพอากาศเย็นจัดและคลื่นความเย็นแผ่ปกคลุมอย่างรุนแรง ประกอบกับลมมรสุมฤดูหนาว อากาศที่ฮ่องกงในเช้าวานนี้ อุณหภูมิลดต่ำลงมาถึง 3.3 องศาเซลซียส ในขณะที่อาคารส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องทำความอบอุ่น ส่วนอุณหภูมิแถบภูเขาดิ่งลงถึงติดลบ นับเป็นสภาพอากาศเย็นจัดที่สุดในรอบ 59 ปีนับตั้งแต่สถิติเดิมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2500 ที่อุณหภูมิลดลงเหลือ 2.4 องศาเซลเซียส  ถนนสายหลักในย่านไทม์สแควร์ของนครนิวยอร์กในสหรัฐแทบจะร้างราผู้คนและนักท่องเที่ยว หลังจากนครนิวยอ์กและหลายพื้นที่ทางชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐกลายเป็นอัมพาต เนื่องจากเผชิญพายุหิมะลูกใหญ่ที่ตกหนักสุดเป็นประวัติการณ์ มีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คนตามรัฐต่างๆ  ประชาชนชาวอเมริกันมากกว่า 50 ล้านคน ในหลายสิบรัฐ กำลังเผชิญกับพายุหิมะครั้งรุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 100 ปี โดยคาดว่าในกรุง"วอชิงตัน ดีซี" จะมีหิมะสูงมากกว่า 70 เซนติเมตร ซึ่งขณะนี้ บริการขนส่งมวลชนทั้งหมดในเมืองหลวงปิดให้บริการแล้วตลอดช่วงสุดสัปดาห์นี้ ขณะที่ทางการสหรัฐฯ ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินแล้วใน 6 รัฐ อาทิ เทนเนสซี, นอร์ท แคโรไลนา, เวอร์จิเนีย, แมริแลนด์, และเพนซิลเวเนีย ทั้งนี้  มีรายงานเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในหลายรัฐ ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 8 คน เที่ยวบินต้องถูกยกเลิกกว่า 6,000 เที่ยว ขณะที่ การแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ 2 รายการ ต้องประกาศเลื่อนออกไปเช่นกัน นอกจากนี้ ประชาชนยังเร่งกักตุนสินค้าตามซุปเปอร์ต่างๆจนขาดตลาด เนื่องจากทางการได้ประกาศเตือนให้ประชาชน หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้านเรือน โดยล่าสุด พายุหิมะกำลังเคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศเหนือของประเทศ

 
พายุหิมะถล่มยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ ช่วงปลายหน้าหนาว ส่งผลให้การเดินทางเป็นอัมพาต ไฟฟ้าดับประเทศแถบตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปเผชิญพายุหิมะตกหนักในช่วงปลายฤดูหนาว โดยฝรั่งเศสได้รับผลกระทบมากที่สุด พื้นที่เกือบ 1 ใน 3 ของประเทศอยู่ในภาวะเฝ้าระวัง รัฐบาลตั้งกลุ่มรับมือวิกฤติเพื่อรับมือเหตุขัดข้องต่างๆ  ประชาชนกว่า 2,000 คนติดค้างอยู่ในรถยนต์เพราะหิมะที่ตกหนักทำให้ถนนหลายสายในเมืองนอร์มังดีและบริตทานีเป็นอัมพาต บ้านเรือนอย่างน้อย 66,000 หลังไม่มีไฟฟ้าใช้ หลังจากหิมะตกหนา 20-60 เซนติเมตร ประชาชนจำนวนมากเข้าไปอาศัยตามที่พักฉุกเฉิน สนามบินชาร์ลส์เดอโกลและออร์ลีในกรุงปารีสต้องยกเลิกเที่ยวบิน 1 ใน 4 อุบัติเหตุด้านจราจรใกล้เมืองลิลทำให้ประชาชนบาดเจ็บ 14 คน ส่วนชายเร่ร่อนคนหนึ่งเสียชีวิต คาดว่าสาเหตุมาจากหนาวตาย บริษัทรถไฟแห่งชาติเตือนประชาชนย่านชานเมืองว่าไม่ควรเดินทางเข้าเมืองเพราะรถไฟต้องฝ่าหิมะ โดยในแต่ละวันชาวปารีสร่วม 3 ล้านคนใช้บริการรถไฟในการเดินทาง การรถไฟแนะนำด้วยว่าผู้วางแผนเดินทางไปภาคเหนือหรือตะวันตกควรเลื่อนการเดินทางออกไปก่อน โดยยวดยานไม่สามารถวิ่งผ่านถนนในทั้งสองภาคได้ ส่วนในอังกฤษ ประชาชนหลายร้อยคนต้องติดค้างอยู่ในรถเป็นเวลากว่า 10 ชั่วโมง ในช่วงที่หิมะและสายลมหนาวเหน็บพัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ตำรวจและหน่วยกู้ภัยต้องช่วยประชาชนออกจากรถท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ 3 องศาเซลเซียส กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าอุณหภูมิจะต่ำกว่าระดับเฉลี่ยไปจนถึงสัปดาห์หน้า  ด้านรถไฟยูโรสตาร์แนะนำผู้โดยสารให้งดเดินทาง พร้อมระบุว่าบริการรถไฟระหว่างลอนดอน-ปารีสเผชิญอุปสรรคจากสภาพอากาศที่เลวร้าย  หิมะที่ตกหนักในหลายส่วนของเยอรมนีเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางเช่นกัน มีการยกเลิกเที่ยวบิน 161 เที่ยวที่สนามบินแฟรงเฟิร์ต ซึ่งเป็นสนามบินที่คับคั่งอันดับ 3 ของยุโรป ขณะที่บริการขนส่งมวลชนในเมืองเบอร์ลินได้รับผลกระทบ ทำให้ต้องยกเลิกรถไฟไปหลายเที่ยว คาดว่าสภาพอากาศที่หนาวจัดจะดำเนินไปต่อเนื่อง กรมอุตุนิยมวิทยาทำนายว่าอุณหภูมิอาจติดลบถึง 10 องศาเซลเซียสและจะมีหิมะตกหนักขึ้น มีการยกเลิกรถโดยสารและรถไฟในกรุงบรัสเซลส์ และหลายเมืองของประเทศเบลเยียมเช่นกัน รวมถึงรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงปารีส-บรัสเซลส์


พายุหิมะถล่มเอเซียทำลายสถิติที่เคยมีมา
เอเอฟพี ลมหนาวที่มาพร้อมความเย็นสุดขั้ว หิมะและฝนลูกเห็บ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 รายในประเทศแถบเอเชีย เที่ยวบินนับร้อยเที่ยวต้องยกเลิก รวมทั้งยังเกิดความวุ่นวายนานัปการตลอดช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศแถบนี้คุ้นเคยกับอากาศปลอดโปร่งและแดดจัด แต่ต้องมาเผชิญกับอุณหภูมิลดต่ำเป็นประวัติการณ์แบบกะทันหัน ที่ญี่ปุ่นและไต้หวันมีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น เที่ยวบินนับร้อยเที่ยวทั่วภูมิภาคถูกยกเลิก นักท่องเที่ยวหลายหมื่นคนติดค้างอยู่ในเกาหลีใต้ สภาพอากาศหนาวยะเยือกในบริเวณกึ่งเขตร้อนอย่างฮ่องกงทำให้เกิดความโกลาหลอย่างหนักบนยอดเขาสูงที่สุดของเกาะ  แม้อากาศที่หนาวเหน็บอย่างฉับพลันเทียบไม่ได้กับสภาพอากาศทางภาคตะวันออกของอเมริกาที่กำลังเผชิญพายุหิมะ แต่อุณหภูมิลดต่ำขนาดนี้ก็ถือเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับผู้คนมากมายในเอเชีย  จุดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือที่ไทเป อุณหภูมิลดเหลือ 4 องศาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสภาพอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 44 ปี สื่อท้องถิ่นรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตถึง 90 คนจากอากาศที่หนาวเย็น อย่างไรก็ตาม การที่มีหิมะตกซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อย ทำให้คนแห่ไปรับอากาศหนาวที่อุทยานแห่งชาติหยางหมินซัน ที่กรุงเทพฯ ที่ไม่บ่อยครั้งนักที่จะเห็นอุณหภูมิลดต่ำกว่า 20-25 องศาเซลเซียส แต่ขณะนี้กลับปรากฏว่า อุณหภูมิลดเหลือ 16 องศาเซลเซียสโดยประมาณ เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (24) ส่งผลให้คนกรุงเทพฯ ที่ชินกับการสวมกางเกงขาสั้นและรองเท้าแตะ ต้องเปิดตู้เสื้อผ้ารื้อแจ็คเก็ตและจัมเปอร์ออกมาใส่กันทั่วเมือง  ที่ญี่ปุ่นมีผู้เสียชีวิต 5 คน และอีกกว่า 100 คนได้รับบาดเจ็บเมื่อวันอาทิตย์ จากหิมะที่ตกลงมาอย่างหนักและอุณหภูมิลดต่ำทำสถิติทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหิมะตกในบริเวณกึ่งเขตร้อนซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก อาทิ ที่เกาะอามามิซึ่งมีหิมะตกครั้งแรกนับจากปี 1901 ส่วนที่จีน สถานีตรวจสอบสภาพอากาศ 24 แห่งทั่วประเทศบันทึกอุณหภูมิลดต่ำทำสถิติได้ระหว่างวันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (22-24) ที่เออร์กูนา ในมองโกเลีย อุณหภูมิเมื่อวันเสาร์ (23) ทำสถิติต่ำสุดที่ -46.8 องศาเซลเซียส ขณะที่ในตัวเมืองกวางตุ้งพบฝนลูกเห็บเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี ทางด้านฮ่องกง โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษาปิดทำการในวันจันทร์ หลังจากอุณหภูมิลดต่ำสุดในรอบ 60 ปี งานวิ่งอัลตรามาราธอนระยะทาง 100 กม. เพื่อข้าม "ไตโหมวซาน" ยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะฮ่องกงต้องถูกยกเลิก หลังจากนักวิ่งลื่นล้มบนทางลาดชันที่กลายเป็นน้ำแข็ง ท่ามกลางลมเย็นยะเยือก นอกจากนั้น ยังมีนักวิ่งอีกนับร้อยที่ ไล่ล่าแม่คะนิ้งติดอยู่บนยอดเขาดังกล่าว ในจำนวนนี้หลายสิบคนมีสภาวะร่างกายมีอุณหภูมิต่ำเกินไป นักดับเพลิงโชคร้ายคนหนึ่งลื่นล้มบนถนนที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ขณะขึ้นไปช่วยผู้คนที่ติดค้างอยู่บนนั้น  ส่วนที่เกาหลีใต้ นักท่องเที่ยวเกือบ 90,000 คนติดอยู่บนเกาะเจจู ซึ่งเป็นสถานที่ตากอากาศยอดนิยมของแดนกิมจิ เมื่อวันจันทร์ (25) โดยมีหิมะตกหนักที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษทำให้ต้องปิดสนามบิน ที่เวียดนาม อุณหภูมิในฮานอยลดเหลือ 6 องศาเซลเซียสในช่วงกลางคืนของสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และสื่อของทางการรายงานว่า เป็นสภาพอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบสองทศวรรษ

เกิดเหตุหิมะตกหนักสุดในรอบ 30 ปีที่เกาหลีใต้ ส่งผลให้ต้องปิดสนามบินเป็นวันที่ 3 ทำให้ประชาชนเกือบ 9 หมื่นคนตกค้าง ประชาชนเกือบ 90,000 คนตกค้างอยู่ที่เกาะเชจูสถานตากอากาศในเกาหลีใต้ ภายหลังหิมะตกหนักมากที่สุดในรอบ 30 ปี ทำให้ต้องปิดสนามบินติดต่อกันเป็นวันที่สามแล้ว  เกาะเชจูซึ่งได้ชื่อว่าเป็นฮาวายแห่งเกาหลีใต้จากการที่มีชายหาดหลายแห่งและสภาพอากาศอบอุ่นโดยทั่วไป ต้องเผชิญกับอากาศหนาวจัดมาตลอดสัปดาห์ ทำให้อุณหภูมิดิ่งลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่เกาะเชจูมีหิมะตกหนักที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษนับตั้งแต่วันเสาร์ อุณหภูมิดิ่งลงมาติดลบ 6.1 องศาเซลเซียส กระทรวงขนส่งแถลงว่า ท่าอากาศยานระหว่างประเทศเชจูจะต้องปิดบริการต่อไปจนถึงเวลา 20.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือเวลา 18.00 น.วันนี้ในไทย เนื่องจากหิมะตกหนักและลมแรง รวมทั้งเลื่อนเที่ยวบินเกือบ 1,100 เที่ยวในช่วงสุดสัปดาห์และวันจันทร์นี้ นักเดินทางตกค้างราว 86,000 คนที่เกาะเชจู หลายพันคนต้องอาศัยนอนที่สนามบิน โดยวางกระดาษปูนอนและขดตัวในผ้าห่มเพราะพื้นเย็นมาก ก่อนหน้านี้สถานีอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนคลื่นลมหนาวปกคลุมเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี  ส่วนที่ประเทศลาว หิมะตกในซำเหนือที่เคยเป็นเรื่องเล่าขานกันมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ได้กลายเป็นเรื่องจริงขึ้นมาในตอนเช้าวันอาทิตย์ 24 ม.ค. ภาพเหตุการณ์ที่หิมะตกโปรยปราย ปุยสีขาวเกาะบนพื้น บนหลังคาบ้านเรือนราษฎร กำลังแพร่สะพัดในประชาคมออนไลน์ของชาวลาวในช่วงข้ามวันมานี้เช่นเดียวกับการเกิดเหมยขาบ หรือ น้ำค้างแข็งเกาะตามกิ่งไม้ใบไม้ และยอดหญ้าในพื้นที่ห่างไกลออกไป  ชาวลาวนับร้อยๆ คนพูดกันว่า นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้เห็นหิมะตกในดินแดนบ้านเกิด ผู้ใช่้นาม "ออนนะพา พนมีไซ" (Aonenapha Phonmeexay) ได้นำภาพกว่า 10 ภาพขึ้นเผยแพร่ในโลกออนไลน์ โดยระบุว่า ถ่ายจากแขวงหัวพันตอนเช้าวันที่ 24 ม.ค. แสดงให้เห็นปุยหิมะที่ปกคลุมบนพื้น และบนหลังคาบ้านเรือนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ไม่ได้ระบุที่ตั้ง ขณะที่อุณหภูมิในแขวงหัวพัน ลดลงจนถึง -3 องศาในยามเช้า ในเวลาต่อมา ชาวหัวพันอีกผู้หนึ่งได้นำภาพอีกจำนวนหนึ่ง ขึ้นเผยแพร่ในเฟซบุ๊ก ຄິດຮອດຊຳເໜືອ (คิดถึงซำเหนือ) แสดงให้เห็นละอองหิมะที่กำลังโปรยปราย บางส่วนยังติดค้างบนศรีษะและตามลำตัวของผู้ที่ไปเฝ้าดูชม ทั้งอธิบายว่า เหตุเกิดที่บ้านหนองค่าง ในดินแดนที่เคยเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวเมื่อก่อน  ควายนับสิบตัวนอนตายขึ้นอืดอยู่บนเนิน ราษฎรออนไลน์บอกว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ สิ้นชีวิตลงเพราะความหนาวเย็น เหตุเกิดที่บริเวณบ้านหนองค่างเช่นเดียวกัน ชาวเน็ตลาวหลายคนแลกเปลี่ยนความรู้กัน ระบุว่าเคยมีหิมะตกทั้งในในแขวงหัวพันและแขวงเชียงขวาง แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องเล่าขานมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย คนรุ่นใหม่ยังไม่เคยมีผู้ใดได้เห็น ในซำเหนือเองเมื่อ 2 ปีที่แล้วอากาศในฤดูนี้หนาวเย็นจัด อุณหหภูมิลดลงถึง 0 องศา จนกระทั่งน้ำที่ตักใส่ภาชนะไว้ กลายเป็นน้ำแข็ง แต่ก็ไม่มีหิมะตก ปรากฎการณ์ที่หาดูได้ยากในดินแดนลาวนี้ เกิดในวันเดียวกันกับที่มีหิมะตกโปรยปรายลง ในหลายท้องถิ่นทางตอนเหนือของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขต อ.ซาปา (Sa Pa) จ.หล่าวกาย (Lao Cai) เมืองท่องเที่ยวตากอากาศบนเขา ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร รวมทั้งในบางท้องถิ่นของ จ.เซินลา (Son La) กับ จ.เดียนเบียน (Dien Bien) ที่อยู่ในเส้นรุ้งเดียวกัน และ มีสภาพพื้นที่เป็นป่าเขา คล้ายคลึงกับแขวงหัวพันของลาว  กรมอุตุนิยมวิทยาในนครเวียงจันทน์ ได้ออกคำเตือนปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ให้ประชาชนทั่วประเทศเตรียมพร้อมรับมืออากาศที่จะเย็นลงตั้งแต่ 3-5 องศา ระหว่างวันที่ 23-25 ม.ค.นี้ ในขณะที่หลายท้องถิ่นจะเกิดมีฝนตก คลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง สร้างความยกลำบากในชีวิตประจำวัน ซ้ำเติมผู้คนที่กำลังตกอยู่ใต้อากาศหนาวจัด

นหวา/ซีซีทีวี - คลื่นอากาศหนาวเย็นยังคงแผ่ปกคลุมหลายพื้นที่ทั่วประเทศจีน บางแห่งอุณหภูมิติดลบนับสิบองศาเซลเซียส ทำให้ทางการสั่งคงสัญญาณเตือนภัยสูงสุดระดับสอง ส่วนโลกออนไลน์เป็นกังวลผลกระทบต่อการเดินทางช่วงเทศกาลตรุษจีน  ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (เอ็นเอ็มซี) รายงาน (24 ม.ค.) ว่าระดับอุณหภูมิในบางพื้นที่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และบริเวณระหว่างแม่น้ำฮวงโห-แม่น้ำไหวเหอ ได้ปรับลดลง 10-13 °C ในช่วงเช้าวันนี้ ขณะเดียวกันพื้นที่ทางตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำแยงซีเกียง อุณหภูมิก็อาจลดต่ำลงถึง -12 °C ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันจันทร์ (25 ม.ค.) โดยบางพื้นที่ของมณฑลเจ้อเจียง ฝูเจี้ยน และก่วงตง (กวางตุ้ง) อุณหภูมิอาจดิ่งลงเท่ากับหรือมากกว่าสถิติต่ำสุดที่เคยมีการบันทึกไว้  ทั้งนี้ ระบบการเตือนภัยสภาพอากาศของจีน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ สีแดงคือระดับรุนแรงสูงสุด ตามด้วยสีส้ม สีเหลือง และสีน้ำเงิน ซึ่งความรุนแรงลดลหลั่นลงมาตามลำดับ โดยเอ็นเอ็มซีประกาศคงสัญญาณเตือนสีส้มในวันนี้ หลังจากการประกาศครั้งแรกในเช้าวันนเสาร์ที่ผ่านมา  สภาพอากาศวานนี้ในกรุงปักกิ่งได้ลดฮวบทำสถิติต่ำสุดในรอบ 30 ปี ด้วยตัวเลขราว -13 °C โดยสถิติก่อนหน้านี้คือ -8.5 °C เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2553 ด้านนครเทียนจินและเมืองสือจยาจวง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากนครหลวง ก็ได้พบฤดูหนาวสุดขั้วเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ  มหานครฉงชิ่งทางจีนตะวันตกเฉียงใต้ เกิดหิมะตกเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี รวมถึงมหานครเซี่ยงไฮ้ทางชายฝั่งตะวันออกของจีน ก็มีหิมะตกเช่นกันหลังอุณหภูมิลดลงที่ -2 °C  ต่อมาในเช้าวันนี้ อุณหภูมิยังคงตกลงในพื้นที่ภาคเหนือ และภูมิภาคหวงไหว (Huanghuai) ซึ่งหมายถึงมณฑลเหอหนันทางตอนกลางและมณฑลอันฮุยทางตอนเหนือ โดยอากาศหนาวเย็นจัดด้วยตัวเลข -20 °C หรือที่นครหนันจิง (นานกิง) เมืองเอกของมณฑลเจียงซูทางจีนตะวันออก อุณหภูมิก็ลดลงอยู่ที่ -10 °C  นักอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า คลื่นอากาศหนาวเย็นจะเคลื่อนลงสู่ภาคใต้ของจีนในวันนี้ โดยเฉพาะมณฑลฝูเจี้ยน ก่วงตง และเขตปกครองตนเองก่วงซี ชนชาติจ้วง อาจผจญอากาศหนาวจัดในสถิติใหม่  นายจัง เถา หัวหน้านักวิจัยของเอ็นเอ็มซี เผยว่าแนวปะทะอากาศเย็น (cold front) ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากกระแสลมวน (vortex) ขนาดมหึมา ที่พัดจากไซบีเรียตะวันออกตรงมายังตะวันออกไกล และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางใต้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า แนวปะทะอากาศเย็นจะอ่อนกำลังลงตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. เป็นต้นไป และทำให้สภาพอากาศทั่วประเทศจีนกลับคืนสู่สถานะปกติอีกครั้ง  อย่างไรก็ดี ประชาชนเริ่มวิตกกังวลว่าสภาพอากาศเลวร้ายอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางในช่วงเทศกาลตรุษจีน ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยเฉพาะช่วง ชุนอวิ้น” (chunyun) ระยะเวลา 40 วัน ที่ชาวจีนหลายร้อยล้านคนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา จนกลายเป็นปรากฏการณ์มนุษย์อพยพขนาดใหญ่ที่สุดในโลก  กระทรวงคมนาคมของจีนระบุว่า ชุนอวิ้นประจำปี 2559 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในวันนี้ (24 ม.ค.) โดยประเมินยอดการเดินทางตลอดเทศกาลจนถึงวันที่ 3 มี.ค. ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดช่วงชุนอวิ้น ไว้ทั้งสิ้น 2,910 ล้านเที่ยว เพิ่มขึ้น 3.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบปีต่อปี

ย้อนไปดูข่าวเก่าเมื่อปี 2553 พูดถึงเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันไว้ดังนี้ เพื่อเทียบเคียงกับของปีนี้ ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ของปีนี้นั้นหนักหน่วง รุนแรงเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่ง 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกระส่ำ เจอพายุความร้อน "เอลนีโญ่" ถล่ม ไทยร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เตือนปี 54 เผาจริง เขื่อนและแหล่งน้ำทั่วประเทศแห้ง  ตั้งแต่ปี 2552 นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังกระแสน้ำทะเลแปซิฟิก เนื่องจากมีความแปรปรวนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 10 ปี ปกติลมจะพัดจากฝั่งทะเลตะวันออก หรือแถวประเทศเปรู ชิลี เอกวาดอร์ ไปยังฝั่งตะวันตกใกล้อินโดนีเซียและออสเตรเลีย แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำอุ่นธรรมดา แต่เป็นน้ำทะเลที่อุ่นมากจากฝั่งตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นฝั่งตะวันออก นั่นคือปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" ขั้นรุนแรง ?!!  เช้าตรู่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ชาวประมงชิลีตกตะลึงกับภาพที่เห็นตรงหน้า สิงโตทะเลเกือบ 200 ตัว นอนตายเกลื่อนชายหาด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เกิดจาก "เอลนีโญ่" ส่วนนักอนุรักษ์ธรรมชาติเชื่อว่า เป็นเพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ลูกสิงโตฝืนมีชีวิตในน้ำทะเลเน่าต่อไปไม่ไหว
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ อากาศหนาวเย็นจัดในหลายทวีป บางประเทศหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ที่กรุงปักกิ่ง หิมะสะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ผสมกับพายุหิมะที่พัดมาเป็นระลอก ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนเตือนว่า นี่คือวิกฤติอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี อีกไม่นานภาคใต้ของจีนอาจไม่ได้เจอแค่พายุหิมะ แต่เป็นพายุน้ำแข็ง ล่าสุดผู้นำประเทศเวเนซุเอลาประกาศว่า น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ แทบไม่เหลือแล้ว เชื่อว่า "เอลนีโญ่" ครั้งนี้ทำให้เวเนซุเอลาเผชิญกับภัยแล้งที่สุดในรอบ 100 ปี อาจจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน  ในประเทศไทย มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาเตือนว่า "เอลนีโญ่" จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วประเทศ อุณหภูมิหน้าร้อนปีนี้จะสูงทะลุเกิน 40 องศาเซลเซียส อย่างแน่นอน  ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ 1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส  สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนัก และ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554  "วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554 จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552 ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554 จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541 ไทยเจอ 'เอลนีโญ่' ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก เพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม"  กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 ว่า ฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ หลายพื้นที่จะประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก  อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2543 วัดได้ 35-36 องศาเซลเซียส แต่คำพยากรณ์ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2553 อากาศจะร้อนจนทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทั่วประเทศ โดยภาคเหนือและภาคอีสานจะสูงที่สุด 41-43 องศาเซลเซียส ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิเฉลี่ย 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯ จะดีกว่าเล็กน้อย คือ 37-39 องศาเซลเซียส  "สงกรานต์ อักษร" ผอ.สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากข้อมูลการวัดทุ่นในน้ำทะเลกลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลการวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจากดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ ยืนยันได้ว่า น้ำอุ่นขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบไปยังแต่ละประเทศทั่วโลกไม่เท่ากัน เช่น อินโดนีเซีย ตอนนี้เจออากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แต่ในไทยยังมีโอกาสที่ฝนจะตกมากกว่า เพราะสภาพอากาศของไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมมากกว่ากระแสน้ำทะเล  (ที่มา : นสพ.คมชัดลึก 11 กุมภาพันธ์ 2553)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น