ภาพยนตร์ไทยในยุค แนวทางตลาดภาพยนตร์วัยรุ่น และยุคตกต่ำ 1 (ระหว่าง พ.ศ. 2530-2539)
(ความเดิมจากตอนที่แล้ว) หนังวัยรุ่นยุคแรกๆ ของประเทศไทยนั้น ผู้เขียนนึกไปถึงผู้กำกับเพียง 2 ท่านนี้ก่อนเลย คือคุณศุภักษร และอาเปี๊ยก โปสเตอร์ หนังวัยรุ่นเรื่องแรกๆ ในความทรงจำของผู้เขียนคือ
หนังในฝั่งของอาศุภักษร ได้แก่ รักทะเล้น (2521) ,ปริญญาครึ่งใบ (2522), หมอซ้ง (2522) ,รักน่ารัก (2525) ,วันนี้ยังมีเธอ , วันวานยังหวานอยู่ (2526) ,สยามสแควร์ , หยุดหัวใจไว้ที่รัก (2527) ,18 กะรัต , ฝันที่เป็นจริง (2528)
หนังในฝั่งของอาเปี๊ยก โปสเตอร์ ได้แก่
วัยอลวน (2519) ,รักอุตลุต (2520)
, ชื่นชุลมุน (2521) , แก้ว (2523) , ไข่ลูกเขย,คุณปู่ซู่ซ่าส์ (2524) ,คุณย่าเซ็กซี่ (2525)
, วัยระเริง (2527) ,ดวงใจกระซิบรัก (2529)
, กลิ่นสีและกาวแป้ง (2531) ,
กลิ่นสีและกาวแป้ง ภาค 2 (2532) , ดีดสีและตีเป่า (2533)
,ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม (2534)
จากนั้นในช่วงปลายยุคทศวรรษ
80’s หรือประมาณต้น
พ.ศ. 2530 ได้ถือกำเนิดสตูดิโอผลิตภาพยนตร์ไทยรายใหม่
ซึ่งกลายมาเป็นผู้เล่นหลักของยุคนี้ นั่นก็คือสตูดิโอที่ชื่อว่า ไท
เอ็นเตอร์เทนเม้นต์
กับปรากฏการณ์ของภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เปิดตัวและทำรายได้ถล่มทลาย
จนกลายเป็นกระแสหนังวัยรุ่นที่นำแฟชั่น และเป็นผู้นำแห่งยุคเลยก็ว่าได้
ปรากฏการณ์ของภายพนตร์เหล่านั้นได้แก่ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย, ปลื้ม ,ฉลุย
จนไปปลุกกระแสของตลาดภาพยนตร์ไทยที่ทำให้เกิดตลาดผู้ชมกลุ่มใหญ่ขึ้นมา
ทำให้สตูดิโอยักษ์ใหญ่ในยุคนั้นอย่าง ไฟว์สตาร์ที่สร้างแต่หนังชีวิตดราม่า
หรือหนังรักเมโลดราม่าเป็นส่วนใหญ่ต้องกระโดดลงมาเล่นกับกระแสนี้ด้วย หนังในหมวดวัยรุ่นนี้ ผู้เล่นหลักในยุคนี้ประกอบด้วย 2 ค่ายหลักก็คือไฟว์สตาร์กับ ไทเอ็นเตอร์เทน มาดูรายชื่อหนังของ 2 ค่ายคู่แข่ง ว่าฝั่งไหนมีเรื่องอะไรกันบ้าง
ไฟว์สตาร์ ได้แก่ วัยระเริง , น้ำพุ (2527) , ผีเสื้อและดอกไม้ (2528) , คู่วุ่นวัยหวาน , พ่อจอมยวนแม่จอมยุ่ง (2529) , หัวใจเดียวกัน,ดวงใจกระซิบรัก,ปัญญาชนก้นครัว (2529) , กว่าจะรู้เดียงสา,หวานมันส์ฉันคือเธอ,เหยื่อ (2530) , คู่กรรม,กลิ่นสีและกาวแป้ง,หวานมันส์2,บุญชูผู้น่ารัก (2531) , ครูไหวใจร้าย,เทวดาตกสวรรค์,ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ,ดีดสีและตีเป่า (2532) ,สอว.ห้อง 2 รุ่น 44,ต้องปล้น (2533) , โฮ่ง,โก๊ะจ๋าป่านะโก๊ะ,ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม,ครั้งนี้โลกฉุดไม่อยู่ (2534) , อนึ่งคิดถึงพอสังเขป,สมศรี 422 อาร์,สะแด่วแห้ว,โจ๋ไม่โจ๋หัวใจให้โจ๋ (2535) , ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด,กระโปรงบานขาสั้น,สมศรี 422 อาร์ โปรแกรม B ปีนี้ 2 ขวบ (2536) , หอบรักมาห่มป่า,ม.6/2 ห้องครูวารี,บันทึกจากลูก(ผู้)ชาย,ตุ๊ต๊ะต๋อมแต๋ม สุภาพบุรุษตัว ต. (2537) , กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้,ประถมมัธยมเปรี้ยวอมหวาน,ขอเก็บหัวใจเธอไว้คนเดียว,ตัวเก็งเต็งหนึ่ง,สติแตกสุดขั้วโลก (2538) , กู๊ดบายซัมเมอร์เอ้อเหอเทอมเดียว,ดอกไม้ไนน์มากับขาหมู,ชื่ออุ้มมีบุญนำหน้า,เพื่อนกันเฉพาะวันหยุด,เด็กเสเพล,วอนทั้งโลกโขกหัวเธอ (2539) ,อุแว้สวรรค์มหัศจรรย์ข้ามโลก,แก๊งกระแทกก๊วนส์เก๋ากวนเมือง,ยุกยิกหัวใจหยิกกัน,ฝันบ้าคาราโอเกะ,18ฝนคนอันตราย,คนป่วยสายฟ้า (2540) cc-j แสบสายฟ้า,เสือโจรพันธุ์เสือ (2541) , ล่าระเบิดเมือง,เรื่องตลก 69 (2542) , อั้งยี่ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร,ฟ้าทะลายโจร,โกซิกซ์ : โกหก,กะล่อน,ปลิ้นปล้อน,ตอแหล (2543) , 14 ตุลาสงครามประชาชน,เชอรี่แอน,มนต์รักทรานซิสเตอร (2544) , โรงแรมผี,ขุนแผน,ชุมเสือแดนสิงห์ ตอนกระตุกติ่งเจ้าพ่อ (2545) , แมนเกินร้อยแอ้มเกินพิกัด,ว๊ายบึ้ม!เชียร์กระหึ่มโลก,เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล (2546) , 2508 ปิดกรมจับตาย,คนเล่นของ,หมานคร (2547) ,วัยอลวน4ตั้มโอ๋รีเทิร์น,ลองของ (2548) , ลาง-หลอก-หลอน,เปนชู้กับผี (2549) ,หอแต๋วแตก,ไชยา,ผีจ้างหนัง (2550)
ไทเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ได้แก่ ซึมน้อยหน่อย กะล่อนมากหน่อย (2528) ,ปลื้ม,โปรดทราบ...คิดถึงมาก (2529) , ดีแตก (2530) , ฉลุย,รักแรกอุ้ม (2531) ,พริกขี้หนูกับหมูแฮม (2532) , ฉลุยโครงการ 2,ปุกปุย (2533) , สยึ๋มกึ๋ย,กลิ้งไว้ก่อน พ่อสอนไว้ (2534) ,บุญตั้งไข่,โตแล้วต้องโต๋ (2535) , ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม (2536) , คู่แท้สองโลก,ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก (2537) , กึ๋ยส์ 2,รักแท้บทที่ 1 (2538) , แรงเป็นไฟละลายแค่เธอ (2539) , นางแบบ,2499 อันธพาลครองเมือง (2540) , 303 กลัว/กล้า/อาฆาต (2541) , นางนาก (2542) ,สตรีเหล็ก (2543) ,แม่เบี้ย,จันดารา (2544) , น.ช.นักโทษชาย,แอบคนข้างบ้าน (2545) , สตรีเหล็ก2,คู่แท้ปาฏิหาริย์,*แฟนฉัน (2546) ,หมอเจ็บ (2547) *หมายเหตุ ในกรณีของ ภ.แฟนฉัน เป็นการร่วมทุนสร้างของ 3 ค่ายใหญ่ คือ ไทเอ็นเตอร์เทน,หับโห้หิ้น และแกรมมี่ฟิล์ม ซึ่งประสบความสำเร็จด้านรายได้เป็นอย่างสูง จึงกลายเป็นที่มาที่ทำให้ภายหลังมาควบรวมกิจการกันกลายเป็นบริษัท GTH ค่ายหนังอันดับ 1 จนถึงทุกวันนี้
นอกเหนือจาก 2 ค่ายหลักที่เป็นผู้บุกเบิกแนวทางของหนังวัยรุ่น และฟาดฟันกันด้วยแนวหนังวัยรุ่นมานับตั้งแต่ช่วงปี 2527 เป็นต้นมา กว่า 10 ปี ช่วงปลายของยุคปี 2530 ก็มีผู้เล่นรายใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 3 ค่าย ได้แก่ สหมงคลฟิล์ม,อาร์เอส และแกรมมี่ มาช่วยสร้างสีสันและกระตุ้นให้วงการหนังไทยคึกคักตามมาอีกด้วย
สหมงคลฟิล์ม ได้แก่ แบบว่าโลกนี้มีน้ำเต้าหู้กับครูระเบียบ,เสียดาย (2537) , คนมหากาฬ (2538) , กลิ่นสีและทีแปรง,แบบว่าโลกนี้ภาค 2,เสียดาย 2 (2539) , ถนนนี้หัวใจข้าจอง,กล่อง (2540-2541) , ปอบหวีดสยอง (2544) , โก๋หลังวัง,7ประจัญบาน,อารมณ์อาถรรพ์อาฆาต,คนเห็นผี,999-9999 ต่อติดตาย (2545) ,องก์บาก,ความรักครั้งสุดท้าย,สยิว,ช้างเพื่อนแก้ว,Fake โกหกทั้งเพ,เฮี้ยน,ชื่อชอบชวนหาเรื่อง,มหาอุตม์,นายอโศกกับนางสาวเพลินจิต,ตะเคียน,โอเคเบตง (2546) ,บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม,โหมโรง,คนผีปีศาจ,คนเห็นผี2,102 ปิดกรุงเทพปล้น,เดอะเล็ตเตอร์จดหมายรัก,เอ็กซ์แมนแฟนพันธุ์เอ็กซ์,ตุ๊กแกผี,กั๊กกะกาวน์,ขุนกระบี่ผีระบาด (2547) , เอ๋อเหรอ,ซุ้มมือปืน,บุบผาราตรีเฟส2,คนเห็นผี10,นรก,ต้มยำกุ้ง,แหยมยโสธร,คนระลึกชาติ,7ประจัญบาน2,รับน้องสยองขวัญ,เฉิ่ม,วาไรตี้ผีฉลุย (2548) , ข้าวเหนียวหมูปิ้ง,ไฉไล,กระสือวาเลนไทน์,โหน่งเท่งนักเลงภูเขาทอง,โบอางูยักษ์,มอ.8,ก้านกล้วย,หนูหิ่นเดอะมูฟวี่,โคตรรักเอ็งเลย,มนุษย์เหล็กไหล,ศพ,13เกมสยอง,เขาชนไก่,คนไฟบิน (2549) , ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค1กับภาค2,อสุจ๊าก,บอดีการ์ดหน้าเหลี่ยม2,โกยเถอะเกย์,เท่งโหน่งคนมาหาเฮีย,สวยลากไส้,วีดีโอคลิป,คนหิ้วหัว,เพื่อน...กูรักมึงหว่ะ,โอปปาติก เกิดอมตะ,วิญญาณโลกคนตาย,รักแห่งสยาม (2550)
อาร์เอสฟิล์ม ได้แก่ รองต๊ะแล่บแปล๊บ (2535) ,โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (2538) ,เกิดอีกทีต้องมีเธอ ,เด็กระเบิด ยืดแล้วยึด ,เจนนี่ กลางวันครับกลางคืนค่ะ ,ล่องจุ๊น ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน ,18-80 เพื่อนซี้ไม่มีซั้ว ,ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน ,แตก 4 รักโลภโกรธเลว ,ปาฏิหาริย์ โอมสมหวัง ,โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน ,มือปืน/โลก/พระ/จัน ,เก้า พระคุ้มครอง ,ผีสามบาท
,ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน ,พันธุ์ร็อกหน้าย่น,สังหรณ์ ,sex phone คลื่นเหงาสาวข้างบ้าน ,จ.เจี๊ยวจ๊าว ,คลับซ่า ปิดตำราแสบ ,สวนสนุกผี
,ปล้นนะยะ ,ปักษาวายุ ,ชู้ ,ทวารยังหวานอยู่ ,ซาไกยูไนเต็ด ,จอมขมังเวทย์
,เดอะเมีย ,พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า ,อหิงสา จิ๊กโก๋มีกรรม ,เพราะรักครับผม
,ผีเสื้อสมุทร ,ไทยถีบ ,รักจัง ,ผีคนเป็น ,แสบสนิทศิษย์ส่ายหน้า ,ผีไม้จิ้มฟัน
,เมล์นรกหมวยยกล้อ ,รักนะ 24 ชั่วโมง ,บ้านผีสิง
,โปงลางสะดิ้งลำซิ่งส่ายหน้า (2550)
แกรมมี่ฟิล์ม ได้แก่ คู่กรรม (2538) , จักรยานสีแดง,อันดากับฟ้าใส (2540) , รักออกแบบไม่ได้ (2541) , กำแพง (2542) , ยุวชนทหารเปิดเทอมไปรบ (2543) , เปลี่ยนโครงสร้างมาเป็นแกรมมี่พิคเจอร์ ร่วมทำภาพยนตร์กับสตูดิโอหับโห้หิ้น ได้แก่ 15 ค่ำเดือน 11 (2545), กุมภาพันธ์,คืนไร้เงา,ผีเสื้อร้อนรัก,บิวตี้ฟูลบ็อกเซอร์,*แฟนฉัน (2546) , ไอ้ฟัก,พันธุ์ x เด็กสุดขั้ว,ธิดาช้าง,หัวใจทระนง,ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ (2547) เปลี่ยนโครงสร้างบริษัทอีกครั้งด้วยการรวมกับไทเอ็นเตอร์เทนและหับโห้หิ้น กลายเป็นบริษัทจีทีเอช มีผลงานได้แก่ สายล่อฟ้า,แจ๋ว (2547) , มหาลัยเหมืองแร่ (2548) ,วัยอลวน4ตั้มโอ๋รีเทิร์น,เพื่อนสนิท (2548) , เด็กหอ,แก๊งชะนีกับอีแอบ,โกยเถอะโยม,season change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย,หมากเตะรีเทิร์น,เก๋าเก๋า (2549) , Final Score 365วันตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์,แฝด,ตั๊ดสู้ฟุด,สายลับจับบ้านเล็ก,บอดี้ศพ#19 (2550)
แกรมมี่ฟิล์ม ได้แก่ คู่กรรม (2538) , จักรยานสีแดง,อันดากับฟ้าใส (2540) , รักออกแบบไม่ได้ (2541) , กำแพง (2542) , ยุวชนทหารเปิดเทอมไปรบ (2543) , เปลี่ยนโครงสร้างมาเป็นแกรมมี่พิคเจอร์ ร่วมทำภาพยนตร์กับสตูดิโอหับโห้หิ้น ได้แก่ 15 ค่ำเดือน 11 (2545), กุมภาพันธ์,คืนไร้เงา,ผีเสื้อร้อนรัก,บิวตี้ฟูลบ็อกเซอร์,*แฟนฉัน (2546) , ไอ้ฟัก,พันธุ์ x เด็กสุดขั้ว,ธิดาช้าง,หัวใจทระนง,ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ (2547) เปลี่ยนโครงสร้างบริษัทอีกครั้งด้วยการรวมกับไทเอ็นเตอร์เทนและหับโห้หิ้น กลายเป็นบริษัทจีทีเอช มีผลงานได้แก่ สายล่อฟ้า,แจ๋ว (2547) , มหาลัยเหมืองแร่ (2548) ,วัยอลวน4ตั้มโอ๋รีเทิร์น,เพื่อนสนิท (2548) , เด็กหอ,แก๊งชะนีกับอีแอบ,โกยเถอะโยม,season change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย,หมากเตะรีเทิร์น,เก๋าเก๋า (2549) , Final Score 365วันตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์,แฝด,ตั๊ดสู้ฟุด,สายลับจับบ้านเล็ก,บอดี้ศพ#19 (2550)
นอกจากหนังประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ (เป็นแนวพิเศษที่แยกออกมาจากหนังชีวิต นิยมสร้างกันในช่วงปี พ.ศ. 2532-2535 โดยมีตลาดวิดีโอเป็นเป้าหมายหลัก) ส่วนใหญ่เป็นหนังเกรดบี หรือ หนังลงทุนต่ำของผู้สร้างรายเล็ก ๆ หนังที่โดดเด่นในบรรดาหนังเกรดบี คือ หนังผีในชุดบ้านผีปอบ ซึ่งสร้างติดต่อกันมากว่า 10 ภาคในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2537 เหตุเพราะเป็นหนังลงทุนต่ำที่ทำกำไรดี โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด
ในช่วงปลายทศวรรษ คนทำหนังไทยได้ปรับปรุงคุณภาพของงานสร้าง จนกระทั่งหนังไทยชั้นดีมีรูปลักษณ์ไม่ห่างจากหนังระดับมาตรฐานของฮ่องกง หรือ ฮอลลีวูดแต่จำนวนการสร้างหนังก็ลดลง จากที่เคยออกฉายมากกว่า 100 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2533 ลดลงเหลือเพียงราว 30 เรื่องในปี พ.ศ. 2539 ทางด้านรายได้ จากเพดานรายได้ จากระดับ 20-30 ล้านบาท (ต่อเรื่อง) ในระหว่างปี 2531-2534 สู่ระดับ 50- 70 ล้านบาท ในระหว่างปี 2537-2540 แต่ยังห่างจากความสำเร็จของหนังฮอลลีวูดที่พุ่งผ่าน 100 ล้านบาทเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539
ยุคซบเซาหรือตกต่ำ 1 นั้นเกิดขึ้นเป็น 2 ช่วง คือช่วงปี พ.ศ.2528-2530 และในช่วงปี พ.ศ.2539-2540 นั่นแหละ ที่ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่หรือที่เรียกว่าวิกฤติพลังงานปี27-29 กับวิกฤติต้มยำกุ้งปี39-40 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจดาวน์ลง กำลังซื้อหดหาย เกิดการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจขนาดใหญ่ล้มลงเป็นลูกโซ่ ลามไปถึงธุรกิจภาพยนตร์ด้วย การปิดตัวของโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่งตามมาหรือโรงสแตนด์อโลน แต่ก็เกิดรูปแบบของโรงหนังมัลติเพล็กซ์ขึ้นมาแทน แต่ก็ตามมาด้วยการขึ้นค่าตั๋วชมภาพยนตร์แบบก้าวกระโดดขึ้นมา เกิดการเปลี่ยนแปลงรสนิยมในการดูภาพยนตร์ ผู้สร้างหันไปเน้นผลิตภาพยนตร์แนววัยรุ่นตลาดๆ ออกมากันอย่างมากมายจนกลายเป็นเฝือ อีกสาเหตุนึงก็น่าจะมาจากการการเติบโตของตลาดวิดีโอ วีซีดีและดีวีดีตามมา และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของหนังฮอลลีวูด ที่พัฒนาเอ็ฟเฟ็คท์ซีจีไปไกลโข และการมาของโรงหนังสมัยใหม่ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ โดยจุดเริ่มมาจากโรงหนังอีจีวี สาขาแรกคือบางแค ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 โรงหนังขนาดย่อยในห้างที่มีระบบเสียงและระบบการฉายทันสมัยเหล่านี้ นอกจากจะถูกสร้างให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ของคนเมืองแล้ว ยังมุ่งรองรับหนังฮอลลีวูดเป็นหลัก ทำให้หนังไทยถูกลดจำนวนเรื่องฉายลงไปเรื่อย ๆ
ยุคก้าวข้ามสหัสวรรษใหม่ก็คือยุคปัจจุบัน (ระหว่างปี พ.ศ.2540-ปัจจุบัน) เมื่อเริ่มต้นทศวรรษใหม่ในปีพ.ศ. 2540 ก็มีปรากฏการณ์ที่สร้างความตื่นตัวให้แก่วงการหนังไทยอีกครั้ง นั่นคือความสำเร็จชนิดทำลายสถิติหนังไทยทุกเรื่อง ด้วยรายได้มากกว่า 70 ล้านบาทจากหนังของไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง ที่ทำให้กระแสหนังไทยกลับมาฮิตอีกครั้ง และปลุกกระแสให้คนดูเริ่มกลับมานิยมดูหนังไทยมากขึ้น และปีต่อมาไทเอ็นเตอร์เทนตอกย้ำความสำเร็จอีกครั้งกับการนำตำนานรักเรื่องนางนาก มาตีความใหม่ นำเสนอในบริบทใหม่ให้น้ำหนักกับความสมจริง หนังสร้างรายได้ถล่มทลายและสร้างกระแสวิจารณ์ในแง่บวก ช่วยฉุดให้คนไทยกลับมาศรัทธาต่อหนังไทยอีกครั้งนึง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2548 ทางด้านการทำรายได้มีการสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล 20 อันดับแรกล้วนอยู่ในช่วง ปี 2540 – 2548 มีภาพยนตร์ไทย 9 เรื่องสามารถทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544) รายได้ภายในประเทศกว่า 700 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด นางนาก ที่ออกฉายต้นปี 2542 กวาดรายได้ไปถึง 150 ล้านบาท บางระจัน ของ ธนิตย์ จิตต์นุกูล กวาดรายได้ 150.4 ล้าน มือปืน/โลก/พระ/จัน ของผู้กำกับฯ ยุทธเลิศ สิปปภาค 120 ล้าน และ สตรีเหล็ก ของ ยงยุทธ ทองกองทุน 99 ล้าน ในปี 2544 ถือเป็นปีทองที่น่าจดจำของวงการภาพยนตร์ไทย
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยกำลังเข้าไปสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นเป็นเพราะกระแสโลกที่เป็นตัวกำหนดรสนิยมของการดูภาพยนตร์ของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับการเข้ามาของกลุ่มผู้กำกับฯ คลื่นลูกใหม่ ที่มีศิลปะในการจัดการทางด้านธุรกิจ การใช้สื่อโฆษณาทุกรูปแบบกระตุ้นผู้บริโภค
แนวภาพยนตร์ มีทั้งแนวอิงประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์สยองขวัญ ภาพยนตร์ที่สร้างให้เกิดกระแสสังคม ภาพยนตร์ที่สะท้อนอุดมคติของความเป็นไทย ภายหลังการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ผู้คนเริ่มหันกลับมาค้นหาคุณค่าของความเป็นไทยด้วยความรู้สึกชาตินิยมจึงถูกปลุกขึ้นมาในช่วงนี้
นอกจากนี้ ภาพยนตร์ไทยยังได้การยอมรับในต่างประเทศ ภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง หรือ The Protector ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิส ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้ตีตลาดต่างประเทศ อย่างภาพยนตร์เรื่อง Goal Club เกมล้มโต๊ะ, สุริโยไท, จัน ดารา, บางระจัน, ขวัญเรียม, นางนาก, สตรีเหล็ก, ฟ้าทะลายโจร, บางกอกแดนเจอรัส และ 14 ตุลา สงครามประชาชน และมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์อย่าง บางกอกแดนเจอรัส (2543) ไปเปิดตัวที่งานเทศกาลหนังที่โทรอนโต หรือ เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล ของเป็นเอก รัตนเรือง และในปี 2550 ภาพยนตร์ในรูปแบบชายรักชายเรื่อง เพื่อน...กูรักมึงว่ะ โดยผู้กำกับ พจน์ อานนท์ คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ประเทศเบลเยียมมาได้
ภาพยนตร์เรื่อง พี่มาก..พระโขนง ที่ออกฉายใน พ.ศ. 2556 ปัจจุบันเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศ โดยทางจีทีเอช ผู้ผลิต ประมาณว่าภาพยนตร์ทำรายได้ทั่วประเทศ 1,000 ล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น