วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Chinatown โลกจำลองของสังคมสกปรก โสมม (เส้นบางๆ ระหว่างอาชญากร หรือผู้มีอิทธิพล)


ช่วงตรุษจีนอย่างนี้ จะหาหนังที่เกี่ยวกับคนจีนหรือวัฒนธรรม ประเพณีจีนมาพูดถึง ลองพิเคราะห์และเลือกดูก็ไม่เห็นมีเรื่องใดที่ถูกใจ ไปติดใจคำว่า “China Town” ขึ้นมา เลยนึกขึ้นได้ว่า มีหนังที่ชื่อเรื่องเดียวกันนี้ และเป็นหนังเก่าที่อยู่ในหมวดคลาสสิก และถูกการันตีจากนักวิจารณ์ทั่วโลกให้เป็นหนังแนวสืบสวน ฆาตกรรมที่เยี่ยมยอดที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่งตั้งแต่เคยมีการสร้างกันมา แหมเสียดายที่ตัวผู้เขียนยังไม่เคยดูเสียด้วย แต่ก็อยู่ในลิสต์ส่วนตัวที่ก่อนตายต้องไปหามาดูให้ได้ ซึ่งในลิสต์ส่วนตัวมีอยู่ประมาณ 100 กว่าเรื่องที่ยังไม่เคยดูและต้องไปตามหามาดูให้ได้
ถ้าคุณผู้อ่านชื่นชอบหนังในหมวดนี้คือ Crime,Suspense,Thriller,Mystery,Drama ก็ขอแนะนำเรื่องนี้ “China Town  ความยอดเยี่ยมของบท ชั้นเชิงการเล่าเรื่อง การเปิดประเด็น การคลี่คลายประเด็น ไคลแม็กซ์ และจุดหักมุม หนังในทำนองนี้ที่ผู้เขียนประทับใจได้แก่ The God Father, L.A Confidential ,Memento , The Usual Suspect, Seven, Primal Fear , Shawshank Redemtion และก็คงจะเป็นเรื่องนี้ที่จะไปตามเก็บต่อไป เนื่องจากยังไม่เคยดูด้วยตนเอง จึงขอหยิบเอาบทวิจารณ์หรือคำโปรยของผู้อื่นที่พูดถึงเรื่องนี้มาลงไว้แทนเพื่อเป็นการชักชวนหรือแนะนำภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับผู้อ่านได้รู้จักหรือหามาดูแทน

ตัวหนังเริ่มต้นเล่าเรื่องโดย อดีตตำรวจ ที่ผันตัวเอง กลายเป็นนักสืบ เอกชน (Jack Nicholson) ที่รับสืบคดี ประเภท ภรรยา ให้ สืบดูว่า มีเมียน้อยหรือไม่ Jack ตกลงรับคดีหนึ่ง ในการตามสืบ วิศวกร ประปา ว่ามีบ้านเล็กหรือไม่ จนได้ ความ และสามารถถ่ายรูป เป็นหลักฐาน ให้กับภรรยา ของวิศวกรได้ วันต่อมา ข่าว วิศวกร คนนี้ ขึ้นหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ เรื่องการมีเด็ก (เพราะวิศวกรท่านนี้ กำลังเป็นข่าวในการต่อต้านไม่ให้สร้างเขื่อน) หลังจาก Jack มาที่ office ยิ่งตกใจไปใหญ่ว่า สาวที่แจ้ง เรื่องให้ตามสืบเรื่องสามีตัวเองมีเมียน้อย เป็นตัวปลอม และกำลังโดน ภรรยาตัวจริง (Faye Dunaway) ฟ้องเรียกค่าเสียหาย Jack ตามสืบต่อ เพราะจู่ๆ ตัวเองกลายเป็นแพะ สืบไปสืบมา ตัววิศวกร กลายเป็น ศพ โดยเป็นการตายแบบ จมน้ำตาย คราวนี้เขาจำเป็นต้องร่วมมือกับ Faye เพื่อจะได้รู้ว่า ใครเป็นคนสังหารสามีตัวเอง แต่คราวนี้เรื่องที่ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องของสามีภรรยา กลับกลายเป็นเรื่องที่ใหญ่ระดับรัฐ จนJack ต้องเสียโฉม โดนนักเลงดี เอามีดตัดปลายจมูก ซึ่งเจ้านักเลงดี คนนั้นก็ไม่ใช่ใครอื่น คือ ผู้กำกับ Roman Polanski ซึ่งเกิดอาการมันในอารมณ์ เลยโดดมาเล่นด้วย (ฉากนี้กลายเป็นฉากที่จดจำในผู้ชมจำนวนมาก)

(อ้างอิงข้อมูล บทวิจารณ์จากบล็อกของคุณ abandonguy.bloggang.com)

หากนึกถึงภาพยนตร์ดวงกุดบนเวทีออสการ์สักเรื่อง หนึ่งในนั้นที่ต้องได้รับการกล่าวถึงก็คือ Chinatown มันเป็นหนังที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์สูงถึง 11 รางวัลแต่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศได้เพียงรางวัลเดียวคือ 'บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม' เพียงเพราะว่าปีนั้นมีคู่แข่งที่โคตรหินอย่าง The Godfather part II

Chinatown เล่าเรื่องจากมุมมองเดียวของ 'เจค' (Jack Nicholson) อดีตตำรวจที่ผันตัวมาเป็นนักสืบคดีชู้สาว เขาได้รับการว่าจ้างจาก 'เอเวอลีน' (Faye Dunaway) ให้สืบหาว่าสามีของเธอมีชู้หรือเปล่า แต่เมื่อเขาส่งมอบรูปถ่ายหลักฐานให้แก่เธอ รูปดังกล่าวกลับปรากฎบนหน้าหนังสือสือพิมพ์ทำลายชื่อเสียงของ 'ฮอลลิส' สามีของเธอ และมันกลับกลายเป็นว่าคนที่มาว่าจ้างเขาก็ไม่ใช่ 'เอเวอลีน' ตัวจริง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นในเวลาต่อมา 'ฮอลลิส' ก็ถูกฆาตกรรมอำพรางว่าเป็นอุบัติเหตุซึ่งอาจพัวพันไปถึงคดีคอรัปชั่นครั้งใหญ่ของกรุงลอสแองเจลิส!

(คำเตือนถ้าหากคุณผู้อ่านยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ อย่าเพิ่งไปรับรู้สปอยล์โดยเด็ดขาดนะครับจะเสียอรรถรสในการดูโดยไม่รู้ตัว)

สามเหตุผลที่คุณไม่ควรพลาดหนังเรื่องนี้โดยเด็ดขาด


1. บทหนังที่สมบูรณ์แบบทำให้มันเป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาล
-
Chinatown ไม่ได้เป็นแค่หนังฟิล์มนัวร์ชั้นเยี่ยม และมันก็มีดีเกินกว่าจะถูกจดจำแค่ในฐานะหนึ่งในหนังสืบสวนที่ดีที่สุดตลอดกาล แต่มันคู่ควรกับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว

การสร้างตัวละครในโลก
Chinatown คือความยอดเยี่ยมอย่างแรกของหนัง ทุกตัวละครล้วนมาในลักษณะสีเทา ไม่มีใครที่ทำให้รู้สึกว่าขาวสะอาด แม้กระทั่งตัวละครเอกของเรื่องที่เป็นนักสืบอย่าง 'เจค' ก็มาในลักษณะ 'antihero' ที่ครั้งหนึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องเลวร้ายใน Chinatown บุคลิกส่วนตัวที่เด่นชัดคือปากเสีย และยังสืบคดีด้วยเล่ห์เหลี่ยมสกปรกเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง, 'เอเวอลีน' ก็อยู่ในโหมดเดียวกับตัวละครสาวในหนังฟิล์มนัวร์ทั้งหลาย เธอไม่ใช่ผู้หญิงใสซื่อ เปิดหนังมาเธอก็ยอมรับแล้วว่าเธอมีอะไรกับคนอื่นนอกจากสามีตัวเอง ในขณะเดียวกันตัวละครของเธอก็มีความลับเยอะแยะมากมายที่ปกปิด 'เจค' มาตลอด, และนี่ยังไม่นับรวมตัวละครสมทบอื่น ๆ ที่ดูไม่ใช่คนดีขาวสะอาดสักเท่าไร

ยิ่งเมื่อหนังพาเราเข้าสู่โลกของการ
'สืบสวน' จากจุดเริ่มต้นของคดีชู้สาวที่ควรจะจบลงอย่างง่ายดายกลับกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งใหญ่โตที่ทำให้ 'เจค' โกรธแค้นเพราะนั่นหมายถึงว่าคนที่จ้องเล่นงาน 'ฮอลลิส' ที่กำลังต่อต้านการสร้างเขื่อน ย่อมประสงค์ทำลายชื่อเสียงของเขาด้วย ทำให้เขาต้องสืบหาความจริงว่าใครอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ แต่หลังการตายของ 'ฮอลลิส' ที่เขาเชื่อว่าเป็นการฆาตกรรม หนังก็พาเราเข้าสู่ประเด็นที่ใหญ่กว่าแค่เรื่องชู้สาวและทำลายชื่อเสียงเขาด้วยการพาคนดูไปร่วมสืบสวนคดีทุจริตครั้งใหญ่

ช่วงการสืบสวนเป็นอะไรที่สุดยอดมาก มันเล่าเรื่องคดีได้อย่างน่าเชื่อถือ การสืบคดีของ
'เจค' ก็มาในลักษณะที่สมจริงแบบนักสืบทั่วไปไม่ใช่พวกเก่งกาจเกินจริงหรือมีเรื่องบังเอิญเข้าช่วย การที่หนังเลือกใช้การเล่าเรื่องด้วยสายตาของ 'เจค' ก็เป็นอีกส่วนดีของหนังเพราะมันทำให้คนดูค่อย ๆ รับรู้เรื่องทุกอย่างไปพร้อมกับตัวละครหลัก สเกลอันใหญ่โตของหนังที่ฟังดูซับซ้อนซ่อนเงื่อนก็ถูกถ่ายทอดเรียบเรียงลำดับออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะหลาย ๆ ฉากที่อาจทำเอาคุณอึ้งได้เลย

2. เซอร์ไพรซ์ ไคลแม็กซ์ ไคลแม็กซ์ และไคลแมกซ์
- จะมีหนังสืบสวนสักกี่เรื่องที่สามารถสร้างบทภาพยนตร์ที่มหัศจรรย์เช่นนี้ได้ เอาแค่ฉากแรกที่
'เจค' ได้รับการว่าจ้างให้สืบคดีขู้สาวให้ 'เอเวอลีน' ก็สร้างเซอร์ไพรส์คนดูด้วยการเฉลยว่า..... ปล่อยเซอร์ไพรส์ที่คาดไม่ถึงออกมาเรื่อย ๆ โดยยิ่งสืบลึกลงไปเท่าไร หนังก็ยิ่งปล่อยไคลแมกซ์ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงตอนเฉลยเรื่องราวทั้งหมดที่ต้องเรียกว่าโคตรของโคตรไคลแมกซ์ตลอดกาลฉากหนึ่งเลยทีเดียว

3. ฉากสุดท้ายที่ไม่อาจลืมเลือน
- คงไม่เป็นการเปิดเผยเนื้อหาแต่อย่างใดถ้าจะใบ้ว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้จบแค่เมื่อตอนเฉลยปมทุกอย่างให้คนดูรับรู้ แต่
'โรมัน โปลันสกี้' ผู้กำกับซึ่งเป็นคนดัดแปลงตอนจบภาพยนตร์ได้พาเราไปสู่ฉากสุดท้ายที่ทรงพลังกว่าหนังเรื่องไหน ๆ เลยก็ว่าได้ มันเป็นฉากจบที่ 'อยู่บนโลกความเป็นจริง' มาก ๆ และความดีความชอบทั้งหมดของฉากจบมันก็เกิดจากการเล่าเรื่อง 'ไชน่าทาวน์' ได้อย่างน่าสนใจในความลึกลับเพราะตัวละครไม่เล่าอย่างละเอียด อย่างไรก็ตามในฉากจบมันก็ทำให้คนดูเข้าใจได้ทันทีว่าสิ่งที่ 'เจค' เล่าถึง 'ไชน่าทาวน์' แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ มาตลอดมันคืออะไร

พูดถึงด้านการแสดง ต้องชมเชย
'แจ็ค นิโคลสัน' นักแสดงชายดีกรีเข้าชิงออสการ์ 12 ครั้ง ซึ่งเป็นสถิตินอมินีสูงที่สุดของฝ่ายชาย เขาคนเดียวแบกหนังทั้งเรื่องได้สบาย ๆ เลยครับ ลุงแจ็คเข้าถึงบุคลิกของตัวละครทำให้คนดูเชื่อว่าเขาคือ 'เจค' นักสืบคดีชู้สาวที่เข้าไปพัวพันคดีคอรัปชั่นครั้งใหญ่

นอกจากความยอดเยี่ยมที่ได้อวยมาข้างต้นแล้ว หนังยังมีออสการ์มาช่วยการันตีความยอดเยี่ยมในทุกแง่มุมของหนังตั้งแต่รางวัลชนะเลิศ
'บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม' และการเข้าชิงรางวัลใหญ่ ๆ ทั้งหมดได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, การแสดงนำฝ่ายชาย-หญิงยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, กำกับภาพยอดเยี่ยม รวมถึงงานเทคนิคอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น ดนตรีประกอบที่ช่วยส่งเสริมในทุก ๆ ฉากที่ผู้กำกับจำเป็นต้องใช้ดนตรีช่วยสร้างอารมณ์  แม้ตัวละครในหนังจะบอกว่า "ลืมมันเสียเถอะ ที่นี่มันคือไชน่าทาวน์" แต่ผมคงไม่สามารถลืม 'Chinatown' ได้อย่างแน่นอน

(อ้างอิงข้อมูล บทวิจารณ์ของคุณ Nutonline,และ facebook fanpage inception.tgi)
 
 

ประวัติ และผลงานของผู้กำกับ โรมัน เรย์มอนด์ โปลันสกี
Roman Rajmund Polański) เป็นทั้งผู้กำกับ นักเขียนบท และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวโปแลนด์ ภาพยนตร์ที่เขากำกับได้รับความชื่นชมทั้งด้านศิลปะ และประสบความสำเร็จด้านรายได้  โปลันสกีเกิดที่ฝรั่งเศส ในครอบครัวชาวยิวที่อพยพมาจากโปแลนด์ ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายกลับไปอยู่ที่เมืองคราคุฟ ประเทศโปแลนด์ และต้องตกเป็นเชลยในค่ายกักกันชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และสูญเสียมารดาไปที่ค่ายกักกันเอาสชวิทซ์ หลังสงคราม โปลันสกีได้เข้าเรียนในโรงเรียนภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของโปแลนด์-ลูดซ์ และผลงานเรื่องที่สี่ เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง Dwaj ludzie z szafą (Two Men and a Wardrobe ปี 1958) ได้รับ 5 รางวัลจากการประกวดภาพยนตร์ระดับนานาชาติ

ผลงานสำคัญของโปลันสกี ได้แก่

Nóż w wodzie (Knife in the Water ปี 1962) ผลงานกำกับเรื่องยาวชิ้นแรก ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม,

Repulsion ในปี 1965 นำแสดงโดยแคเทอรีน เดอเนิฟ,

Rosemary's Baby ปี 1968 นำแสดงโดยมีอา ฟาร์โรว์,

Chinatown ในปี 1974 นำแสดงโดยแจ็ก นิโคลสันและเฟย์ ดันอะเวย์,

Le Locataire (The Tenant ปี 1976) ภาพยนตร์ฝรั่งเศสที่เขาแสดงนำคู่กับอิซาเบล อัดจานี,

Tess ปี 1979 นำแสดงโดยนาสตาสชา คินสกี,

Frantic ปี 1988 นำแสดงโดยแฮริสัน ฟอร์ด และล่าสุดเรื่อง

The Pianist ปี 2002 ที่เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม แต่ไม่ได้เดินทางไปรับรางวัล เนื่องจากถูกหมายจับจากทางการสหรัฐตั้งแต่ปี 1977 ในปี 1977 โปลันสกีถูกจับในคดีข่มขืนเด็กหญิงวัย 13 ปี หลังจากงานปาร์ตีที่บ้านของแจ็ก นิโคลสันในฮอลลีวูด และถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหามีเพศสัมพันธ์กับผู้เยาว์  เขาหลบหนีไปฝรั่งเศส และถูกหมายจับจากทางการสหรัฐ จึงหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับสหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่นั้น โรมัน โปลันสกีถูกตำรวจสวิตเซอร์แลนด์จับกุมตัวเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 ขณะกำลังเดินทางไปรับรางวัล Golden Icon Award ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซูริก  และถูกสหรัฐอเมริกาขอตัวกลับไปดำเนินคดีในประเทศ ทางการสวิสได้กักบริเวณโปลันสกีไว้ในบ้านพักตั้งแต่ถูกจับกุม จนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมสวิสจึงได้ออกแถลงการณ์ถึงการตัดสินใจไม่ส่งตัวโปลันสกี ตามคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกา และปล่อยตัวเขาเป็นอิสระ โปลันสกีผ่านการสมรสมาแล้วสามครั้ง ครั้งแรกกับ Barbara Kwiatkowska นักแสดงโปแลนด์ ที่เคยรับบทใน Gdy spadają anioły (When Angels Fall ภาพยนตร์สั้นปี 1959 ของเขา) ครั้งต่อมากับชารอน เทต นักแสดงและนางแบบอเมริกันจากเรื่อง The Fearless Vampire Killers (1967) ชารอน เทตถูกสังหารที่บ้านพักของเขาขณะกำลังตั้งครรภ์ได้ 8 เดือนโดย "ครอบครัวแมนสัน" โดยคำบงการของชาร์ล แมนสัน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1969 โปลันสกีสมรสครั้งที่สามกับเอมมานูเอล ซีเกอร์ นักแสดงฝรั่งเศสจาก Frantic ที่ต่อมารับบทในภาพยนตร์ของเขาอีกสองเรื่อง ใน Bitter Moon (1992) และ The Ninth Gate (1999)

ผลงานการกำกับทั้งหมดของโรมัน โปลันสกี้ แยกตามปี











 


Year





Film





Oscar
nominations





 Oscar wins

1955

Zaczarowany rower (also as Bicycle)

1957

Morderstwo (also as A Murderer)

Uśmiech zębiczny (also as A Toothful Smile)

Rozbijemy zabawę (also as Break Up the Dance)

1958

Dwaj ludzie z szafą (also as Two Men and a Wardrobe)

1959

Lampa (also as The Lamp)

Gdy spadają anioły (also as When Angels Fall)

1961

Le Gros et le maigre (also as The Fat and the Lean)

Ssaki (also as Mammals)

1962

Nóż w wodzie (also as Knife in the Water)

1

1964

Les plus belles escroqueries du monde (also as The Beautiful Swindlers)—segment: "La rivière de diamants"

1965


1966


1967


1968


2

1

1971


1972


1972

What? (also as Diary of Forbidden Dreams)

1974


11

1

1976

Le Locataire (also as The Tenant)*

1979


6

3

1986


1

1988


1992


1994


1999


2002


7

3

2005


2007

To Each His Own Cinema (segment Cinéma erotique)

2010


2011


2012

A Therapy (short film for Prada)

2013


 
 
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น