วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

10 signature lifestyle ของคนเมือง

หากจะมองไปรอบ ๆ ตัวเรา ทุกวันนี้ สังคมเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย รถราพลุกพล่านเต็มท้องถนน หลายๆ คนเลือกที่จะมีโลกส่วนตัว ด้วยการฝังตัวเองอยู่ในโลกออนไลน์ วันๆ เอาแต่ แชร์ภาพ พูดคุย หรือเอาแต่เล่นเกมส์ นั่งดูคลิป พูดคุยอย่างสนุกสนานกับเพื่อนๆ มากมายใน face,line,tweet,ig,whatapp,etc. โดยที่บางคนก็ไม่เคยรู้จัก เห็นหน้ากันมาก่อนเลย แต่ก็ยังสามารถพูดคุย ตอบโต้กันได้ราวกับคนรู้จักข้างบ้าน แต่กลับคนสนิท สมาชิกภายในบ้าน กลับไม่ค่อยที่จะสนใจพูดจา หรือปฏิสัมพันธ์อะไรด้วย นี่นับว่าเป็นด้านมืดของการเสพติดเจ้า gadget IT แบบลงลึก หรือที่เรียกว่า โรคโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่มีกลุ่มคนอีกประเภทนึงที่กำลังเป็นคนกลุ่มใหญ่ของโลก และกำลังจะเป็นกระแสหลักก็ได้ในอนาคต ก็คือกลุ่มคนที่มี lifestyle ตามแบบฉบับ 10 ข้อนี้
 
1.ใช้จักรยานเดินทางแทนรถยนต์ส่วนตัวหรือรถประจำทาง หรืออย่างแย่สุดก็คือใช้ mass transit, การเดินแทนการใช้ลิฟต์

2.ใช้ข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ด้วยมือ (handmade) ใช้วัสดุที่ไม่ทำลายโลกหรือรียูซ ดีไซน์ด้วยตนเอง แต่จัดเต็มในเรื่องเครื่องแต่งกาย เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวเราให้มากที่สุด

3.มีทัศนะคติเชิงบวก เข้าใจโลก เข้าใจสังคม อาจมีขบถบ้างในบางเรื่อง แต่มีเหตุมีผล รู้จักวางแผนการเงิน,ใช้จ่ายเงินอย่างคุ้มค่า แม้กระทั่งการวางแผนการเดินทาง การบริหารเวลาให้คุ้มค่า รู้จักการใช้ชีวิต อาจจะดูโลดโผนบ้างเป็นบางคน 

4.อยู่คอนโด/อพาร์ทเม้นต์แทนอยู่บ้านหลังใหญ่หรือทาวน์เฮ้าส์

5.กินอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (ออแกนิกส์,มังสวิรัติ,ชีวจิต) แทนอาหารตามสั่ง/ฟาสต์ฟู้ดโดยทั่วไป

6.ดูภาพยนตร์ผ่านเน็ต (มือถือ,แล็ปท็อป,แท็บเล็ต) หรือดูบนจอโปรเจ็คเตอร์ในบ้าน,ในรถแทน ดูในโรงภาพยนตร์

7.ฟัง,ซื้อ,สะสม แผ่นเสียงไวนิล,เพลงเป็นไฟล์ในแฟลชไดร์ฟ,ยูทูป แทนแผ่นซีดี,mp3,คาสเซ็ทเทป

8.ทำงานที่บ้านหรือสถานที่ co-working space  แทนออฟฟิซบิลดิ้งหรือโรงงาน,บริษัท

9.ทำกิจกรรมสันทนาในสวนสาธารณะ,ลานกีฬา,ถนนคนเดิน,hangout place,community mall แทนเดินเล่นในห้างสรรพสินค้า,ศูนย์การค้าหรือผับบาร์ โรงแรม  

10.ใช้ gadget หรือไอที แอ็คเซสซอรี่ในการไปทำงาน เดินทาง หรือทำกิจกรรมทุกอย่าง เพื่อเชื่อมต่อตนเองกับโลกออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา แม้ยามหลับนอน หรือใช้เป็นเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

จากคุณลักษณะและพฤติกรรมของคนเมืองทั้ง 10 ข้อนี้ เราพอจะสรุปได้สั้นๆ คนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้เป็น  "Hipster"  

 
hipster เป็นคำที่มีกำเนิดในปี 1941 ซึ่งเข้าใจกันว่า hip นั้นแผลงมาจาก hep ที่เป็นแสลงของคนดำ และพบว่ามีการเขียนเป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ Saturday Evening Post ที่ตีพิมพ์ในปี 1908

คำว่า hip/hep แปลว่ารู้เท่าทัน, ทันสมัยในขณะที่บางคนก็ว่าคำนี้มีใช้กันมาตั้งแต่ปี 1902 แล้ว และคำว่า unhip ก็มีความหมายในทางตรงกันข้าม คือไม่ตระหนักถึงความเป็นไปรอบตัว หรือไม่ทันสมัย เมื่อรวมกับคำว่า -ster ก็แปลได้ว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้เท่าทัน และดูทันสมัย

hipster หรือ hepster ได้รับการนิยามว่าเป็นวัฒนธรรมย่อยในยุคแจ๊ส ซึ่ง Eric Hobsbawm (ที่ใช้นามปากกาว่า Francis Newton) ได้เขียนไว้ใน The Jazz Scene (1959) ว่ากลุ่มวัยรุ่นชนชั้นกลางผิวขาวเหล่านี้ได้สร้างภาษาของตนเองขึ้นมาเพื่อพูดคุยสื่อสารและกันคนนอกกลุ่มออกไปด้วยศัพท์แสงปริศนาต่างๆ ในขณะที่ถ้าอธิบายกันแบบ Jack Kerouac พวกฮิปสเตอร์คือคนในประเภทเดียวกันกับเขาที่ท่องตระเวนไปทั่วอเมริกาด้วยการโบกรถ เพื่อค้นหาตัวตนและจิตวิญญาณภายใน หรือเป็น American existentialist ในกรอบอธิบายของ Norman Mailer จนสามารถกล่าวได้ว่า ฮิปสเตอร์ ยังไม่เป็นคำด่าว่า เสียดสี หรือเหน็บแนมจนย่างเข้าสู่ช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษที่ 20-21 ที่ฮิปสเตอร์กลายเป็นคำที่ใช้โจมตีเปลือกนอกที่ฉาบฉวยตื้นเขิน


(อ้างอิงที่มา page facebook ของ being and time)




 
ประโยชน์ของการปั่นจักรยานเป็นประจำ
1.       ช่วยให้นอนหลับลึกกว่าเดิม
2.       ช่วยให้หน้าตาดูอ่อนวัยกว่าเดิม
3.       ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
4.       เพิ่มประสิทธิภาพสมอง
5.       สุขภาพโดยรวมแข็งแรงขึ้น
6.       อายุยืนยาว
7.       พิทักษ์โลก
8.       เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
9.       ลูกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง
10.   ทำงานได้ดีขึ้น
11.   ลดความอ้วน
12.   มีเพื่อนมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น
13.   ลดอาการเหนื่อยล้าและความเครียด

(อ้างอิงที่มา จากบล็อก duckingtiger)
 

แผ่นเสียงไวนิลกำลังกลับมาฮิตติดตลาดทั้งตลาดในอมริกาและอังกฤษอีกครั้งหลังจากถูกกลืนหายไปเพราะโลกแห่งเสียงเพลงเข้าสู่ยุคดิจิตอล ผู้เกี่ยวข้องในแวดวงธุรกิจขายเพลงบอกว่าความนิยมในแผ่นเสียงไวนิลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนมีบริษัทในอเมริกาเริ่มทาหางผลิตออกมาขายแล้วส่งออกไปทั่วโลก สำหรับคุณผู้ฟังหลายๆคน การเล่นแผ่นเสียงไวนิลพาความทรงจำของคุณย้อนยุคไปสมัยยังเป็นวัยรุ่นยุคซิกตี้ เซเว่นตี้ ตอนนั้นเพลงแนวร็อคแอนโรวกำลังดังเป็นพลุ สมัยโน้น แฟนเพลงผู้คลั่งไคล้ราชาเพลงร้อคเอววิส เพรสลี่ หรือวงสี่เต่าทองของอังกฤษที่โด่งดังคับฟ้าต้องมีเครื่องเล่นจานเสียงที่เรียกกันว่า turntable เอาไว้เปิดฟัง แผ่นเสียงไวนิลกับเครื่องเล่นจานเสียงกลายเป็นอดีตไปนานหลายปีแล้วตั้งแต่เทคโนโลยีด้านนี้เข้าสู่โลกดิจิตอล ปัจจุบันเรามีแผ่นซีดีและเครื่องเล่นออดิโอแบบเอ็มพีทรีเข้ามาแทนที่ แผ่นเสียงไวนิลกลายเป็นของหายาก บริษัทก็เลิกผลิตทั้งแผ่นและเครื่องเล่นไปนานแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ แผ่นเสียงไวนิลเริ่มกลับมาเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นชาวอเมริกันที่ชอบของเก่าเก็บอย่างเเจ็ค โลเว่นสไตน์ หนุมน้อยวัยสิบสี่ปีคนนี้ เขาเป็นลูกค้าร้าน Crooked Beat Records ที่กรุงวอชิงตันดีซีเพราะชอบแผ่นเสียงไวนิลเป็นชีวิตและชอบซื้อแผ่นเสียงไวนิลมากกว่าแผ่นเสียงซีดี ไม่เฉพาะหนุ่มน้อยคนนี้ที่หลงไหลในแผ่นเสียงไวนิล ซาร่า กริฟฟิธ อายุสิบเก้าปีก็คลั่งไคล้แผ่นเสียงเก่าจนจะกลายเป็นนักสะสมไปแล้ว เธอบอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเดี๋ยวนี้เธอเริ่มซื้อแผ่นเสียงไวนิลที่เป็นเพลงแนวพังค์มากขึ้นเพราะชอบ สำหรับนักสะสมแผ่นเสียงรุ่นใหม่อย่างคุณโจนาทัน โอลดมิกซัน อายุสามสิบต้นๆ แผ่นเสียงไวนิลไม่ใช่แค่เท่ห์เท่านั้นแต่น่าสะสม เขาบอกว่าปกติเขาไม่ค่อยคลั่งไคล้อะไรแต่ยอมรับว่าพอเจอแผ่นเสียงไวนิลแล้ววางไม่ค่อยลงเพราะมันมีเสน่ห์แรงดึงดูดใจเหลือหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างลักษณะของตัวแผ่นเสียงหรือรูปภาพบนซองแผ่นเสียงก็สวยแล้วคุณภาพของเพลงก็ไม่ด้อยไปกว่ากันเลย ในอเมริกาขณะนี้ธุรกิจขายแผ่นเสียงไวนิลกำลังมาแรงแม้ว่ายอดขายในอเมริกายังต่ำเมื่อเทียบกับยอดขายของซีดีเพลงหรือเอ็มพีทรี ปีที่แล้วมีคนซื้อแผ่นเสียงไวนิลถึงสามล้านแผ่นในอเมริกา โตขึ้นสี่สิบเปอร์เซ็นเมื่อเทียบกับยอดขายช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนโน้น คุณบิล ดัลลี่ เจ้าของร้านCrooked Beat Records ที่กรุงวอชิงตันดีซี บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเมื่อห้าปีที่แล้วร้านเริ่มนำแผ่นเสียงไวนิลเพลงใหม่ๆออกมาวางขายพร้อมกับแถมแผ่นการ์ดดาวโหลด เอ็มพีทรีให้ลูกค้าด้วย ตั้งแต่นั้นมายอดขายเพลงแผ่นเสียงไวนิลก็ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนขณะนี้ยอดขายอยู่ที่เก้าสิบเก้าเปอร์เซ็นของยอดขายทั้งหมดของร้าน นอกจากนี้ยอดขายเพลงแผ่นเสียงไวนิลทางออนไลน์ของร้านก็เพิ่มขึ้นด้วย คุณบิล ดัลลี่ บอกว่า เขาส่งแผ่นเสียงไวนิลให้ลูกค้าทั่วโลกเกือบทุกวัน เขาคิดว่าน่าจะมีลูกค้าไปทั่วโลกแล้วเพราะไม่ใช่ทุกมุมโลกจะมีร้านขายแผ่นเสียงตอนนี้เราไปที่รัฐเวอร์จิเนีย ใกล้ๆกับกรุงวอชิงตันดีซี บริษัทFurnace MFG เป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้ผลิตแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี ตอนนี้เปลี่ยนสายการผลิตมาเป็นแผ่นเสียงไวนิลเป็นหลัก คุณอีริก เอสเตอร์ ผู้นำบริษัทบอกว่าการเร่งผลิตแผ่นเสียงไวนิลให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าเป็นงานที่ท้าทายมากคุณอีริก เอสเตอร์ บอกว่าไม่มีใครผลิตเครื่องอัดแผ่นเสียงไวนิลมาเกือบหลายสิบปีแล้ว พวกเขาต้องไปเสาะหาว่ายังมีเครื่องมือการผลิตอะไรหลงเหลืออยู่ที่ไหนบ้าง ซึ่งหายากเต็มทน เขาจึงหันไปจ้างโรงงานผลิตในเยอรมันกับฮอลแลนด์ทำการอัดเสียงลงแผ่นไวนิลให้ แล้วส่งกลับมาเเพ็คที่บริษัทFurnace ในรัฐเวอร์จีเนียก่อนส่งไปขายให้ลูกค้าต่อไป ตอนนี้บริษัทผลิตแผ่นเสียงเพลงไวนิลได้มากกว่าสองล้านแผ่นต่อปี คุณอีริก เอสเตอร์ บอกว่าแผ่นเสียงที่ได้รับการอัดเสียงอย่างมีคุณภาพตั้งแต่ต้นจนจบจะมีคุณภาพเสียงดีมีมากกว่าเสียงที่อัดแบบดิจอตอล เพราะว่าเสียงบนแผ่นไวนิลไม่ถูกย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงเหมือนกับเทคนิคที่ให้ในการอัดเสียงลงแผ่นซีดีหรือการอัดเสียงรูปแบบดิจิตอล ผู้ผลิตเพลงแผ่นเสียงไวนิลชาวอเมริกันคนนี้บอกว่าเขารับประกันว่าคนจะหันกลับมาฟังเพลงจากแผ่นเสียงไวนิลกันมากขึ้นเพราะเวลาฟังเพลงจากแผ่นเสียงไวนิลแล้วไม่อยากกลับไปฟังซีดีเลย  (บทความจากเว็บ voa)   บริษัท ออฟฟิเชียล ชาร์ตส์ คอมปะนี (โอซีซี) ผู้รับผิดชอบในการจัดอันดับเพลงและแผ่นเสียงในประเทศอังกฤษ เปิดเผยเมื่อ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ว่า ยอดจำหน่ายแผ่นเสียงไวนิลกลับมาเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง หลังจากที่เคยซบเซาไปก่อนหน้านี้ และปีนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1996 หรือ 18 ปี ที่ยอดแผ่นไวนิลกลับมาขายได้เกินล้านแผ่น โดยคาดว่ายอดขายเมื่อสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 1.2 ล้านแผ่น  ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมายอดขายแผ่นไวนิลเพิ่มสูงขึ้นถึง 5 เท่าตัว โดยครั้งสุดท้ายที่เคยทำยอดขายได้เกินล้านคือเมื่อปี 1996 ที่มียอดขาย 1,083,206 แผ่น   โอซีซีให้ภาพรวมของยอดขายแผ่นไวนิลว่ายังจำกัดอยู่ในแวดวงเพลงร็อกเสียเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงวงในตำนานอย่าง เลด เซพพลิน, โอเอซิส หรือ เดอะ สโตน โรสเซส เป็นต้น  สำหรับอัลบั้มไวนิลที่ขายดีที่สุดในปีนี้ เป็นอัลบั้ม "เอเอ็ม" ของวง "อาร์คติค มังกี้ส์" แม้ว่า อัลบั้มที่ติดอันดับ 1 ของชาร์ตในเวลานี้คือ "น็อทธิง แฮส เชนจ์" ของ "เดวิด โบวี" ก็ตาม นอกจากนั้น "ดิ เอนด์เลส ริเวอร์ อัลบั้มใหม่ในรูปแบบไวนิลของ "พิงค์ ฟลอยด์" วงร็อกในตำนานที่เพิ่งทำอัลบั้มนี้ออกมาเป็นอัลบั้มแรกในรอบ 20 ปี ก็ทำสถิติเป็นแผ่นไวนิลที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของปีนี้ เพราะเพิ่งวางจำหน่ายไปเมื่อ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพียงสัปดาห์เดียวก็ทำยอดขายได้สูงถึง 6,000 ก๊อบปี้ ซึ่งเป็นยอดขายต่อหนึ่งสัปดาห์สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา และกลายเป็นอัลบั้มไวนิลที่ขายเร็วที่สุดของศตวรรษนี้เลยทีเดียว (บทความจากมติชนออนไลน์)

ข้อควรรู้ การทำแผ่นต้นฉบับหรือ mastering ของแผ่นเสียงไวนิล

โดยทั่วไปแล้ว ในการอัดเสียงดนตรี เพลง จากห้องที่เตรียมการไว้เป็นห้องอัด (Studio) ก็ดี หรือ ในห้อง concert hall ก็ดี มักจะอัดเก็บบันทึกไว้ในรูปแบบของเทป ซึ่งเป็นเทปรีล แล้วจึงใช้เป็นต้นแหล่งเสียงไปทำเป็นแผ่นต้นแบบ หรือ master สำหรับผลิตแผ่นเสียงต่อไป

กระบวน การทำแผ่นต้นแบบหรือมาสเตอร์ จะเริ่มต้นด้วยแผ่นอลูมิเนียมเคลือบด้วยแลคเกอร์(โดยมากแลกเกอร์นี้มีส่วน ประกอบของอาซีเตต) เรียกแผ่นอลูมีเนี่ยมที่เคลือบด้วยแลคเกอร์นี้ว่า Lathe นำ Lathe ไป เข้าเครื่องเขียนแผ่น ลักษณะของเครื่องเขียนแผ่นก็เหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียง เพียงแต่ไม่มีโทนอาร์มและหัวเข็ม  แต่ใช้ชุดเขียนที่ประกอบด้วยหัวเพชร(รูปร่างของหัวเพชร \/ ) หัวเพชรจะเขียนลงบนแลคเกอร์บนแผ่น Lathe

เมื่อเสียงสัญญาญจาก master tape ผ่านเข้ามาโดยผ่านทางชุดควบคุม(ปรับสัญญาณตามมาตรฐาน RIAA) สัญญาญแหล่งเสียงจากทางด้านซ้ายและขวาของลำโพงจะถูกเขียนลงบนแลคเกอร์บนแผ่น Lathe โดยเขียนสัญญาญเสียงลงตามแนวตั้งของร่องเสียงด้านข้างและกลางร่อง(ร่องของแผ่นเสียงทำมุมกัน 45 องศา ตามรูปร่างของเข็มเพชร \/ นั่นเอง) ลงบนแผ่น Lathe  

เมื่อเสร็จสิ้นการเขียนเรียบร้อยแล้ว จะต้องผ่านการตรวจสอบความเรียบร้อยทางกายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์ก่อน แล้วนำแผ่นนี้ไปเคลือบด้วยสารเงิน(Silver) ด้วยวิธี Electroplating (ใช้ขั้วกระแสไฟฟ้า เป็นตัวนำพา เหมือนการชุบโครเมี่ยม) เมื่อเคลือบสารเงินได้หนาพอ จะถูกแกะออกมาจาก Lathe ส่วนที่เคลือบด้วยสารเงิน ที่แกะออกมาจาก Lathe นี้  คือ ต้นแบบเรียกว่า Metal master (หรือFather) ก็จะเป็นแผ่นโลหะซึ่งมีรูปแบบของร่องกลับข้างกัน(negative image)กับตัวต้นแบบแล็คเกอร์ของ Lathe 

และจาก metal master หรือ father สามารถที่จะสร้างต้นแบบขึ้นมาอีกทีหนึ่ง เรียกว่า “mothers”ด้วยวิธีการ Electroplating เช่นเดิม ต้นแบบ mothers ทั้งหลายนี้จะได้ออกมาเหมือนกับแผ่นLathe (positive image) นั่นเอง

ดังนั้นจาก 1 Metal master หรือ father สามารถที่จะสร้าง mothers ได้หลายแผ่นตามต้องการ โดยมากจะได้ประมาณ 10 แผ่น

และจาก mothers ก็ใช้วิธีการ Electroplating เช่นเดิมทำซ้ำอีก ได้แผ่น negative image ขึ้นมาเรียกว่า Stamper จาก 1 mother สามารถสร้าง stamperได้อีกประมาณ 10 แผ่น

คราวนี้แหละจะใช้แผ่น Stamper เป็นแม่พิมพ์สุดท้าย (mold) ใน การพิมพ์ลงไปที่แผ่นไวนิลภายใต้การควบคุมของแรงอัดและความร้อนที่กำหนดไว้ ได้ออกมาเป็นแผ่นเสียงสำหรับฟังกัน โดยทั่วไปจะพิมพ์ได้ 1000 แผ่นต่อ 1 stamper

โดยสรุป 1 Metal master จึงผลิตแผ่นเสียงออกมาได้ถึง 1 แสนแผ่นทีเดียว หากความต้องการในท้องตลาดไม่เพียงพอก็จะต้องทำ re-master ขึ้นมาใหม่อีก เป็นเช่นนี้

อ่านมาถึงตรงนี้ คงพอเข้าใจได้แล้วว่าทำไมแผ่นเสียง album เดียวกันในแต่ละรุ่น ราคาจึงแตกต่างกันได้มาก แผ่นที่ทำมาจากต้นแบบ mother แรกมีราคาแพงที่สุด บางค่ายใช้ Metal masterหรือ Father ทำเป็น stamper ออกมาพิมพ์แผ่นเลย แผ่นประเภทนี้จะมีจำนวนน้อยและแพงมาก ๆ 

(อ้างอิงที่มา จากบล็อก thaigramophone.com)

 
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการมองหา Co-Working Space เพื่อทำงาน


ตั้งแต่มีกระแส startup ในบ้านเรา ดูเหมือน Co-working space หรือสถานที่ทำงานของชาว startup ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น แต่บางคนก็อาจจะยังสงสัยว่า ทำไมต้องไป Co-working space ทำที่บ้านหรือเช่าสำนักงานเอาคุ้มกว่าไหม ถ้าคุณยังมีคำถามในใจอย่างนี้อยู่ ลองอ่านบทความนี้เราจะเข้าใจกันมากขึ้น


หลังจากที่มีเทรนด์ co-working เติบโตขึ้นตามหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก อย่างใน San Francisco และ New York ตอนนี้เมืองใหญ่ๆ จะมี co-working space อย่างน้อยเมืองละ 1 แห่ง และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อ้างอิงจาก 2nd Annual Global Coworking Survey ระบุว่า 36% ของ co-working space วางแผนที่จะเปิดสาขาใหม่ในปีนี้ และ 85% ของเจ้าของ co-working space เหล่านี้คาดว่าจะมีจำนวนสมาชิกเพิ่ม

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการที่มี c มาตั้งอยู่ใกล้ๆ บริษัทคุณ หรือคุณคิดว่ามันดู cool ดีเจ๋งดีเลยย้ายเข้าไปทำงานในนั้น เรามี 5 เหตุผลที่คุณควรรู้ก่อนจะย้ายเข้าไปทำงานใน co-working space

1. คุณต้องการทำงานกับคนประเภทไหน? การทำงานใน co-working space นั้นมีรสชาติครับ บางคนได้เพื่อนร่วมงานอย่างคนที่เป็นนักเขียน หรือนักออกแบบกราฟฟิก co-working space บางที่จะมีจุดเด่นบางอย่างด้วย เช่นเน้นว่าผู้ประกอบการบางคนสามารถเอาลูกมาเลี้ยงได้ เพราะมีมุม child care ให้ บางที่ก็เน้นว่าเป็น co-working space สำหรับผู้หญิงก็มี ดังนั้นก่อนจะไปทำงานที่ไหนก็เลือกดูก่อนว่าแต่ละแห่งมีคนทำงานประเภทไหนอยู่ในนั้น สำหรับเมืองไทย ผมยังไม่ค่อยเห็นที่ไหนโดดเด่นแตกต่างกันมากนัก เพราะวงการก็เล็กมากเกินกว่าจะสร้างความแตกต่างอะไรในเวลานี้

2. คุณต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกแค่ไหน? Co-working space บางที่จะมีพวกเครื่องชงกาแฟ ตู้เย็น อุปกรณ์สำนักงาน อย่างเช่น พรินเตอร์ แฟกซ์ ที่นั่งรับแขกทั่วไป และห้องประชุม ดังนั้นก่อนที่จะไปทำงานที่ไหน คุณต้องถามทีมงานเขาให้ครบว่ามีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ให้คุณหรือเปล่า รวมทั้งถามด้วยว่าเปิดกี่โมงถึงกี่โมง ถ้าจะใช้ห้องประชุมจะต้องจองล่วงหน้านานกี่ชั่วโมง จากประสบการณ์ของผมที่พอมีกับการใช้งาน co-working space ผมคิดว่าสิ่งสำคัญคือคุณควรจะหา co-working ที่ค่อนข้างยืดหยุ่นกับคุณได้พอสมควร เช่น จะใช้น้องประชุมเลยมา 5-10 นาทีไม่ว่ากันถ้ายังไม่มีใครมาต่อ

3. แพคเกจราคาเหมาะสมไหม มีอะไรให้เราบ้าง? Co-working space ส่วนใหญ่จะมีแพคเกจราคาให้เราเลือกว่าจะเข้ามานับเป็นกี่ชั่วโมง จะมาแบบพาร์ทไทม์ หรือฟูลไทม์ ถ้าคุณมีพนักงานในบริษัทด้วย ให้ถามพวก group plan ด้วยว่ามีแพคเกจสำหรับหลายๆ คนหรือเปล่า รองรับจำนวนคนของคุณหรือเปล่า ถ้าเป็นไปได้ลองขอทดสอบด้วยการเข้ามาทำงานชั่วคราวดูก่อนที่จะย้ายของเข้าไปทำงานใน co-working space นั้นๆ

4. บรรยากาศดีไหม ได้ฟีลไหม? อันนี้มันเป็นเรื่องความรู้สึกจริงๆ คือเดินเข้าไปคนในนั้นเป็นมิตรไหม รู้สึกว่าน่านั่งน่าทำงานไหม โดยทั่วไป co-working space จะไม่ค่อยมีบรรยากาศอะไรเป็นทางการอยู่แล้ว เพราะถูกสร้างมาให้คนแบ่งปันความคิดความรู้สึกกันและกัน แต่คุณก็ต้องแน่ใจด้วยว่าเสียงไม่ดังเกินไปขณะที่คุณทำงาน

5. มีอะไรพิเศษๆ ไหม? Co-working space หลายๆ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ startup accelerators, business incubator, มหาวิทยาลัย ปนๆ กันอยู่ในนั้น บางทีก็มีจัด event อะไรที่น่าสนใจสำหรับสมาชิก เช่น จัดสัมมนา ฝึกอบรม ปาร์ตี้ดูหนังร่วมกัน ก็ถามทีมงานมาให้ครบ เพราะสำหรับ startup บางที่อาจจะต้องการอะไรพวกนี้ แต่ startup บางที่อาจจะไม่ต้องการก็ได้

แล้วสรุปกลุ่ม startup แบบไหนที่ควรจะเข้าไปทำงานใน co-working space?

โดยทั่วไป co-working space จะดีสำหรับผู้ก่อตั้งบริษัทที่มีคนเดียว ที่อยากจะได้ไอเดียจากคนอื่นๆ ที่ทำงานอยู่ใน co-working space ซึ่งดีกว่านั่งบ้าอยู่คนเดียวที่บ้าน หรือตามร้าน Starbucks และยังเป็นสถานที่ที่จะได้เจอพาร์ทเนอร์, ที่ปรึกษา, หรือแม้กระทั่งลูกค้าที่นั่น แต่ถ้าบริษัทคุณเริ่มใหญ่ขึ้น มันก็จะไม่เหมาะที่จะเข้าไปทำงานใน co-working space แล้วล่ะครับ เพราะว่า

คุณต้องการความเป็นส่วนตัวที่จะพูดคุยเรื่องที่ละเอียดอ่อน หรือความลับทางการค้าที่แชร์คนอื่นๆ ไม่ได้ ด้วยความที่ co-working space ถูกสร้างด้วยแนวคิดว่าเปิดให้คนมาร่วมทำงานกัน มันก็จะมีคนทำงานบริษัทอื่นๆ อยู่เยอะ ลองนึกภาพว่าคุณนั่งติดๆ กันกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนสิ  co-working space บางที่อาจจะมีพื้นที่สำหรับทีมงานที่ต้องการความเป็นส่วนตัว แต่คุณก็ต้องคิดให้ดีว่ามันเหมาะกับคุณจริงๆ เพราะท้ายสุดแขกไปใครมาใน co-working space ก็จะต้องเดินผ่านโต๊ะคุณอยู่ดี

คุณกังวลกับการแข่งขัน มันเป็นเรื่องดีที่จะได้เรียนรู้จากคนอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่คิดจะช่วยเหลือคุณ ถ้าคุณกลัวว่าจะมีคนมาขโมยไอเดียเจิดๆ หรือแม้กระทั่งมาชวนคนของคุณออกจากทีมไป co-working space อาจจะไม่เหมาะสำหรับคุณ

(บทความจาก page facebook thumpsup.in.th)
 


 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น