วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เคหาสน์ดาว กลมกล่อม งดงาม และโรแมนติก


บทประพันธ์ : วาณิช จรุงกิจอนันต์ (เคยสร้างเป็นละครมาแล้วปี 2538)
บทโทรทัศน์ : ธนินทร อุชุภาพ
กำกับการแสดง : พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์
แนวละคร : โรแมนติก-คอเมดี้
ผลิต : เอ็กแซ็กท์ – ซีเนริโอ


รายชื่อนักแสดงเคหาสน์ดาว


ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต รับบทเป็น เขียว (สงคราม สัมพันธ์พงษ์)
จินตนัดดา ลัมะกานนท์ รับบทเป็น จ๋อม (ดาวส่อง)
วรเวช ดานุวงศ์ รับบทเป็น เข้ม
อรจิรา กุลดิลก รับบทเป็น เจน
อนุสรณ์ มณีเทศ รับบทเป็น คุณปู
คีรติ มหาพฤกษ์พงศ์ รับบทเป็น แสนเสน่ห์
อัครัฐ นิมิตชัย รับบทเป็น ทวนธน
พรรณวรท ด้วยเศียรเกล้า รับบทเป็น เหมียว
ณัฏฐพงศ์ ชาติพงศ์ รับบทเป็น บาง
ธันย์ชนก สายสวัสดิ์ รับบทเป็น จ๋าย
กิตติวงศ์ โพธิ์ปี รับบทเป็น แบงค์
ชวิน ลิขิตเจริญพงษ์ รับบทเป็น แก่
อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ รับบทเป็น แม่ของจ๋อม
ไบรอน บิชอพ รับบทเป็น พ่อของแสนเสน่ห์
พิมลวรรณ หุ่นทองคำ รับบทเป็น แม่ของแสนเสน่ห์
วงศกร รัศมิทัต รับบทเป็น  พ่อของเขียว

เพลงประกอบละครเด็กสร้างบ้าน (ร้องโดย วง Sunny Parade) ชอบเนื้อหา ดนตรี คำร้อง ที่ลงตัว เหมาะสมกับละครเป็นที่สุดแล้ว    และเพลงที่ตรงนี้ (ร้องโดยน้องนท พนายางกูร)  ฟังแล้วได้อารมณ์ทั้งโรแมนติก เศร้า คิดถึง และถวิลหาอย่างบอกไม่ถูก
 
 

          
เรื่องย่อละคร       

          เขียว (นิว-ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ท) สถาปนิกหนุ่มอารมณ์ดี เขียวเป็นพนักงานตรวจสอบอาคารของรัฐ เงินเดือนไม่มากมาย ชอบใช้ชีวิตเรียบง่าย เขียวคบกับแฟนที่ชื่อ แสนเสน่ห์ (ยิปซี-คีรติ มหาพฤกษ์พงศ์) ตั้งแต่ตอนเรียนที่ศิลปากร แสนเสน่ห์เป็นดาราดังระดับเอลิสต์ ลูกคุณหนูมหาเศรษฐี ใช้ชีวิตอย่างหรูหรามาตลอด ทำให้สังคมของทั้งคู่แตกต่างกันอย่างมาก เขียวได้มาเจอกับ จ๋อม (แป้งโกะ-จินตนัดดา ลัมะกานนท์) สาวออฟฟิศที่รักการใช้ชีวิตเรียบง่าย ทั้งคู่มีทัศนคติที่ตรงกัน แม้จะรู้จักกันไม่นานความสัมพันธ์กลับค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในทางที่ดีกว่า แต่ทว่าจ๋อมมีแฟนอยู่แล้วชื่อ ปูชนีย์ (โย่ง อาร์มแชร์) หนุ่มนักเรียนนอกเจ้าของโรงแรมสุดหรู ปูชนีย์ใช้ชีวิตเมืองนอกมาแต่เด็กจึงมีความเป็นตัวเองสูง เขาชอบให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่ต้องการ ไม่ว่าปัญหาอะไรปูสามารถแก้ได้ทุกอย่าง ซึ่งมีเรื่องเดียวที่ปูชนีย์แก้ปัญหาไม่ได้คือเรื่องของเขากับความรักครอบครัวของจ๋อม เรื่องราวความรักของคน 2 คู่ 4 คนนี้จึงเริ่มพัวพันกัน
   
       ยิ่งนานวันพ่อแม่ของแสนยิ่งกีดกันแสนกับเขียวเพราะคิดว่าถ้าคบกันจริงๆ ก็ไปไม่รอดเพราะรู้จักลูกตัวเองดี ตรงกันข้ามกับแสนที่จะพยายามเอาชนะพ่อแม่ให้ยอมรับเขียวให้ได้ แม้แสนจะพยายามทำทุกวิธีเพื่อยืนยันความรักของเธอแล้วก็ตาม แสนไม่สามารถใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบเขียวได้ ส่วนเขียวก็ไม่สามารถใช้ชีวิตหรูหราแบบแสนได้เช่นกัน
   
       ฝ่ายจ๋อมเริ่มมีปัญหาบ้านจะถูกไล่ที่เพื่อสร้างคอนโด จึงต้องมองหาที่อยู่ใหม่ ปูชนีย์อยากซื้อบ้านที่เป็นเรือนหอให้เขากับจ๋อมจะได้อยู่กัน 2 คน แต่จ๋อมอยากให้แม่กับน้องสาวที่พิการมาอยู่ในบ้านด้วยเพื่อจะได้ดูแลกัน ความขัดแย้งของจ๋อมกับปูเริ่มสูงขึ้น เมื่อเขียวเสนอตัวที่จะเขียนแบบบ้านให้จ๋อมและด้วยความที่ทั้งคู่เหมือนถูกสร้างมาเพื่อกันและกันความสัมพันธ์ของเขียวกับจ๋อมกลับดีวันดีคืน แต่การที่ต่างฝ่ายต่างมีคู่อยู่แล้วนั้นทำให้ความรักของทั้งคู่เหมือนจะเบ่งบานไม่ได้ เหมือนมาพบกันเมื่อสายไปเสียแล้ว ความรักของทั้ง 4 ดูเหมือนจะอึมครึม
   
       แต่ในที่สุดก็คลี่คลายได้ เพราะปูชนีย์กับแสนเสน่ห์ที่มารู้จักกันในตอนแรกนั้น ต่างคนต่างมาปรึกษาเรื่องปัญหาความรัก ช่วยกันหาวิธีกระชับความสัมพันธ์ของตนกับแฟน และร่วมกันหาทางให้แฟนของแต่ละฝ่ายออกห่างจากแฟนตัวเอง แต่เมื่อเจอกันบ่อยขึ้นพอสนิทกันมากขึ้น ด้วยความที่ทั้งคู่มีอะไรเหมือนกันทั้งฐานะ สังคม ค่านิยม ทัศนคติ ที่ตรงกัน ก็กลายเป็นว่าทั้งคู่กลับเริ่มรู้ใจตัวเอง จึงเปิดโอกาสให้เขียวและจ๋อมได้เปิดใจที่ทั้งคู่มีต่อกันมานานได้ กลายเป็นความสัมพันธ์วุ่นๆ ของ เขียว แสน จ๋อม และปู ที่ความรักสลับคู่เหมือนบ้านที่สร้างผิดแบบ รอวันที่ใครสักคนจะรู้หัวใจตัวเองแล้วแก้ไขให้รักครั้งนี้ถูกต้องเสียที
   
       นอกจากนั้นยังมีความรักสุดยียวนของ เข้ม (แดน-วรเวช ดานุวงศ์) สถาปนิกหนุ่มเพื่อนรุ่นพี่ศิลปากรของเขียว กับ เจน (แป้ง-อรจิรา แหลมวิไล) Single mom สาวสวยตกงาน ที่ถูกเขียนเพิ่มขึ้นมาเป็นตัวแทนของคู่รัก คู่กัด คู่ตรงข้าม ที่ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย อย่างเข้มเป็นชายหนุ่มสุขนิยมที่ประกาศตัวกับเพื่อนอย่างหนักแน่นว่าขอปฏิญาณตนว่าชาตินี้จะไม่แต่งงานเด็ดขาด! สมรสคือภาระ! ส่วนเจนก็เป็นสาวสมัยใหม่ ที่เรียนจบมาก็แต่งงานกับชายที่เธอรัก เมื่อมีลูกด้วยกัน กลับมีเหตุให้ต้องเลิกรากับสามีกันไป ทำให้เจนต้องกลายเป็นคุณแม่ใบเลี้ยงเดี่ยว สามีที่รับปากว่าจะส่งเสียลูกแม้ว่าแยกทางกันกลับผิดสัญญา เธอปฏิญาณตนว่าจะเลี้ยง ก้อนหิน (ด.ช.อันดา อินทฤทธิ์) ลูกคนเดียว ไม่ของ้อผู้ชายอีกต่อไป! ทั้ง 2 คนไม่มีอะไรเหมือนกันแม้แต่นิดเดียว ถ้าจะเหมือนกันก็คือทั้งคู่ ไม่ต้องการชีวิตคู่
   
       โชคชะตาฟ้าลิขิตให้เจนกับเข้มต้องมาอยู่ในบ้านติดกัน เมื่อเจนเลิกกับสามีต้องพาลูกมาเช่าบ้านเพื่อนสนิทที่อยู่ติดกับบ้านเข้ม เมื่อเริ่มแรกเจอกันความต่างทำให้ทั้งคู่ปะทะกัน อย่างดุเดือดสนุกสนาน แต่นานไปบ้านเจนมีเรื่องวุ่นวายให้เข้มต้องเข้าไปช่วยเหลือทั้งๆ ที่เจนไม่ต้องการอยู่บ่อยๆ ทำให้ทั้งคู่ได้รู้จักกันมากขึ้น และกลายเป็นความรักความเข้าใจ แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นตรงที่ว่าเข้มเคยประกาศหนักแน่นว่าจะไม่มีชีวิตคู่ เขาจึงยังไม่กล้าแสดงออกเรื่องความสัมพันธ์ของเขากับเจน ทำให้ความรักนี้ดูจะไม่ลงเอยง่ายๆ
   
       และสุดท้ายคือ เหมียว (แกรนด์-พรรณวรท ด้วยเศียรเกล้า) เพื่อนของจ๋อม กับ ทวนธน (อัค-อัครัฐ นิมิตรชัย) เพื่อนของเขียว เป็นเรื่องของคู่รักที่ตัดสินใจแต่งงานกันเร็ว จนมีปัญหากัน เนื่องจากศึกษากันไม่ดีพอ เริ่มจากปัญหาเล็กๆ เช่นการตกแต่งเรือนหอ ที่ต่างคนต่างมีรสนิยมที่ต่างกัน จนลามไปถึงปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้จ๋อมกับเขียวเพื่อนสนิทของทั้งคู่ ต้องมาร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาอยู่ทุกครั้งไป แต่สุดท้ายด้วยความรักของคนทั้งคู่ ทำให้เข้าใจได้ว่าบ้านไม่ใช่แค่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นบ้านที่พวกเขาจะอยู่ด้วยกัน ดังนั้นทั้งคู่จึงปรับตัวเข้าหากัน และช่วยกันสร้างเรือนหอที่ทั้งคู่พอใจและมีความสุขที่จะอยู่ร่วมกัน

ทีแรกไม่ได้ตั้งใจจะดูละครเรื่องนี้เลย เหตุเพราะว่าพอบอกว่าเป็นละครรีเมกจากของเก่า ซึ่งสมัยก่อนก็เคยดูและไม่ได้ประทับใจอะไรเท่าไหร่ พอเห็นดารานักแสดงที่แคสมาเล่นในเรื่องนี้ยิ่งชวนให้ไม่น่าสนใจ แต่ด้วยความที่ละครล็อตก่อนหน้านี้ของช่องวัน ทั้งฝันเฟื่องและเสือ ทำออกมาได้ดี น่าประทับใจ จึงตามดูเรื่องนี้ต่อ ปรากฏว่าผิดคาดเหมือนกัน ไม่รู้นานเท่าไรแล้ว ที่ไม่ได้ดูละครที่บทดีขนาดนี้ ไดอะล็อคที่โดนๆ หลายฉากหลายซีน การแสดงที่เหมาะเจาะลงตัว ทำให้เชื่อว่านักแสดงเป็นตัวละครตัวนั้นจริงๆ ที่สำคัญเคมีของนักแสดงนั้นเข้ากันหมดทั้ง 4 คู่ ไม่มีตัวละครตัวใดที่เล่นแล้ว เรารู้สึกขัดตาขัดใจ ความสามารถทางการแสดงของนักแสดงหลักนั้น ถือว่าสอบผ่านทุกคน ต้องขอชื่นชมการตีความและควบคุมการถ่ายทำของผู้กำกับ (พี่ปุ๊ก พันธุ์ธัม) ทำให้ละครเรื่องนี้มีความสมจริงในแง่เหตุผลพอสมควร ซึ่งหาได้น้อยในละครไทยบ้านเรา เพราะละครหลายเรื่องในบ้านเราไปให้น้ำหนักกับตัวพระเอกนางเอก แต่เรื่องนี้การแจกแจงบทชัดเจน ทั้ง 4 คู่มีความเท่าเทียมเสมอภาคกัน ตัวละครมีมิติจับต้องได้ หาได้จริงๆ ในสภาพแวดล้อมของสังคมไทย จุดเด่นนอกจากเรื่องบท คาแร็กเตอร์ของตัวละครที่ชัดเจน ไดอะล็อกที่โดนๆ ยังมีมุมกล้อง การถ่ายภาพ การลำดับภาพ ผู้กำกับค่อนข้างใส่ใจในรายละเอียดพอสมควร จึงทำให้การดูละครเรื่องนี้ นอกจากรู้สึกสบายตาสบายใจแล้ว ยังให้ความรู้สึกอบอุ่น โรแมนติก และเอาใจช่วยตัวละครไปในตัว มู้ดแอนด์โทนไม่แพ้ซีรี่ย์เกาหลี และสามารถเทียบชั้นได้สบายกับซีรี่ย์ของไต้หวัน เกาหลี บางเรื่องได้เลย เพลงประกอบละครไพเราะมากหลายๆ เพลง ทั้งเพลงนำทั้ง 2 เพลง (ไตเติ้ลตอนต้นกับตอนท้าย)  เพลงประกอบที่นำมาใช้ในเรื่อง ไม่รู้ว่านานแค่ไหนแล้วที่ไม่ได้ดูละครแนวฟีลกู๊ดดีๆ อย่างนี้ บอกเลยว่าชอบ และเป็น 1 ในละครที่ชอบของปีนี้แน่ๆ เรื่องนึงเลย ขอขอบคุณช่องวันมากๆ ที่มีทางเลือกให้ผู้ชมบ้าง ไม่ยัดเยียดละครแนวเมโลดราม่าแนวตบจูบ หรือวี๊ดว๊ายกระตู้ฮู้ให้คนดูมากจนเกินไป จนสติสตังค์บ้าไปแล้ว ไม่เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า “จะเอาอะไรมาก ละครก็เพียงสร้างความบันเทิงให้คนดู จะมาหาสาระอะไร ชีวิตก็เครียดมากพออยู่แล้ว”  ใช่ เห็นด้วยบางส่วน แต่ว่าสิ่งที่เอามาให้คนดูเสพนั้น ก็ขอให้มีสารวิตามิน โปรตีนอะไรบ้าง มิใช่มีแต่น้ำตาล แป้ง และเจือสีสังเคราะห์อาหาร ซึ่งไม่เกิดคุณค่าทางโภชนาการใดๆ ต่อร่างกาย หนำซ้ำยังทำร้ายร่างกายอีกด้วย

ตัวละครของทั้ง 4 คู่ เปรียบก็เหมือนตัวละครของผู้คนชนชั้นกลางในเมือง ที่ทำงานแก่งแย่ง ค้นหาคุณค่าของคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่ดีขึ้น มีความรักที่ดี มีคู่ครองที่ถูกใจ มีครอบครัวที่อบอุ่น ใครๆ ก็ต้องการ (ชนชั้นรากหญ้า ก็บอก “กูก็ต้องการเหมือนกัน” )  แต่พอบอกว่าต้องมาแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันในเมือง ชีวิตก็ต้องผจญความบัดซบในด้านต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา ตั้งแต่การจราจรติดขัด ปัญหาในที่ทำงานระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกันเพือนด้วยกัน ปัญหาการให้เวลาหรือแบ่งเวลาให้กับคู่ครองหรือคนรัก ปัญหาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนรัก ที่ไม่ลงตัว ไหนจะต้องทำงานให้ได้ดี ให้ก้าวหน้า ไหนจะต้องแบ่งเวลามาบริหารความรัก ความเข้าใจกับแฟนของตัวเอง บางคนมีความคิดเป็นผู้ใหญ่แต่ทำตัวแบบเด็กๆ (เช่น เข้มในเรื่อง) บางคนมีความคิดเป็นเด็กๆ แต่กำลังมีครอบครัวที่เป็นผู้ใหญ่ (คู่ของเหมียวและทวน) บางคนกำลังสับสนในสภาพความรักของตนเอง (อย่างเขียวกับจ๋อม) ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันนำมาซึ่งทัศนคติ ความเข้าใจ และรสนิยมที่แตกต่างกัน (อย่างคู่ของจ๋อมกับปู,และคู่ของแสนกับเขียว) บางคนมีอคติในแง่ความรัก หรือประสบการณ์ในอดีต พอเจอหน้ากันก็เลยตั้งแง่ใส่กัน (อย่างคู่ของเข้มกับเจน)  แต่เมื่อผ่านวันเวลา การใช้ชีวต เรียนรู้ประสบการณ์ถูกผิดหรือเรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่นได้ ทัศนคติและความคิดก็เปลี่ยนแปลงได้ และยอมเปิดรับผู้อื่นมากขึ้น (อย่างคู่ของเข้มกับเจน,ทวนกับเหมียว) บางคนพอได้คิดทบทวน ค้นหาความต้องการภายในใจของตนเองได้อย่างชัดเจนแล้ว ก็ทำให้กล้าที่จะเปิดเผยความในใจ และกล้าที่จะหลุดจากกรอบ จนเจอความรักแท้ในใจของกันและกัน (คู่ของเขียวกับจ๋อม,ปูกับแสน)  ละครเรื่องนี้ให้คุณค่าของการใช้ชีวิตคู่ ทัศนคติที่ดีในด้านความรัก และการมองโลกในแง่บวก การเข้าใจชีวิต ว่าทุกคนไม่ได้มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ทุกอย่างต้องแลกมาบ้าง กว่าจะได้มันมา จึงอย่าท้อกับคำพูด หรือการกระทำบางอย่าง ที่ทำให้เราไม่เข้าใจกัน

มีหลายฉาก หลายซีนเหมือนกันที่ชอบและประทับใจ

เข้มกับเจน ชอบที่สุด เพราะคู่นี้ชัดเจนในคาแร็กเตอร์ และความคิด อุดมคติ ทัศนคติ เป็นตัวอย่างของคู่ที่มีตำหนิ แต่หากคนเราจะรักกัน และใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน อุปสรรคหรืออะไรก็ไม่สำคัญเท่า ความเข้าใจกัน และความรักที่แบ่งปันกันได้ ต่างฝ่ายต่างไม่เป็นภาระให้แก่กัน  แรกๆ ทั้งคู่ดูไม่ชอบขี้หน้าไม่ถูกชะตากัน ผู้ชายปากร้าย ผู้หญิงตีกรอบอคติส่วนตัวอันเกิดจากการที่ตนเองมีแผลจากประสบการณ์ความรักที่ล้มเหลว เมื่อมาเจอกันจึงเหมือนไฟกับน้ำ ขิงกับข่า แต่จุดที่เชื่อมให้คนทั้งคู่เข้าหากัน และเปิดใจรับซึ่งกันและกันก็คือ ตัวน้องก้อนหิน (ลูกของเจน) ฉากที่เข้มไปเล่นเตะฟุตบอลกับก้อนหิน เจนแอบยืนดูด้วยความรู้สึกชื่นชอบที่เข้มเป็นเพื่อนเล่นกับลูก,เจนประทับใจเข้มจากการที่เข้มช่วยเหลือตนเองจากการจะถูกข่มขืนโดยคนร้าย,เจนขอร้องให้เข้มช่วยเอาที่ปักหน้าเค้กรูปหมีมาส่งในงานแต่งของทวนกับเหมียว ทั้งๆ ที่เข้มไม่อยากมางานแต่ง แต่ทนรบเร้าจากก้อนหินไม่ไหว,เจนประทับใจเข้มที่เข้ามาช่วยดับไฟในครัว แม้จะเกิดความเข้าใจผิดกันในช่วงแรก,เข้มอาสาจะไปส่งก้อนกินที่โรงเรียน จนนำมาซึ่งการออกเดทครั้งแรกไปเที่ยวสวนสนุก,ไปดูหนัง,ประทับใจที่เข้มออกตัวแรงปกป้องเจนจากแฟนเก่าที่ตามมาคอยฉกตัวน้องก้อนหิน และฉากซีนดราม่าที่เข้มรู้สึกเจนแปลกๆ ไป ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ยังสวีทกันดีๆ อยู่ จนมารู้สึกว่าเจนรู้สึกว่าขาดความมั่นใจในตัวเข้ม เหตุเพราะว่าเธอยังต้องรับผิดชอบหาเงินเลี้ยงก้อนหินแต่เพียงลำพัง แม้ว่าเข้มจะทำดีด้วย แต่คิดว่าเข้มคงไม่จริงจัง เข้มจึงยอมเปิดใจว่าตนเองรักเจนและน้องก้อนหินจริงๆ เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน พร้อมที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและชีวิต และซีนดราม่าเกิดขึ้นอีกครั้งตอนที่เจนได้งานจากเพื่อนที่เพิ่งกลับจากเมืองนอก แต่ไม่มีโอกาสบอกเข้มว่าต้องย้ายที่พักไปอยู่ที่บริษัทเพื่อน ทำให้เข้มรู้สึกน้อยใจ เสียใจ แต่เมื่อได้คิดทบทวนดูใหม่ ก็พร้อมยอมเปิดโอกาสให้เจนได้เป็นตัวของตัวเอง และตัดสินใจในหน้าที่การงานของตนเอง การแสดงของแป้งอรจิราถือว่าตามมาตรฐานของตัวเธอ แต่ที่ประทับใจก็คือแดน เล่นได้ไม่ห่วงหล่อ และสามารถ keep charactor ไว้ได้ดี ก่อนหน้านี้บทในสไตล์ทะเล้น กวนๆ นั้น แดนเล่นมาทั้งหนังและละครหลายเรื่อง แต่เรื่องนี้มีซีนดราม่าด้วย ที่ทำให้เห็นพัฒนาการที่ดีของแดนในด้านการแสดงที่พัฒนาไปอีกขั้น

เขียวกับจ๋อม ชอบรองลงมา จากการที่คนทั้ง 2 มาพบกันในวันที่ต่างฝ่ายต่างมีคนรักของกันแล้ว การได้รู้จักและมาสนิทสนมกันตอนแรก เป็นไปด้วยเรื่องงานและอาชีพที่จ๋อมต้องการสถาปนิกเพื่อออกแบบสร้างบ้านใหม่ แต่ด้วยความที่คนทั้งคู่อยู่ในกลุ่มเพื่อนก๊วนเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นความสนิทสนม พัฒนาจนกลายมาเป็นความรักโดยไม่รู้ตัว แต่ก็มีอุปสรรคที่ทำให้คนทั้งสองไม่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์ต่อจนกลายเป็นแฟนได้ เนื่องจากติดที่ทั้งคู่มีแฟนแล้วและเป็นการไขว้คู่กันด้วย (ในชีวิตจริงอาจจะหาได้ยากหรือเป็นไปได้ยากมาก) แต่คนดูรับได้ เพราะว่าจุดอ่อนด้อยในส่วนนี้ถูกกลบด้วย ความน่ารักของนักแสดง (น้องแป้งโกะกับนิวชัยพล เคมีเข้ากันลงตัวมาก) การแสดงและไดอะล็อก ซีนอารมณ์ ฉากที่เรียกน้ำตาก็คือฉากที่จ๋อมถามเขียวว่าอยากจะพูดอะไร หรือมีเรื่องจะบอกกับเธอมั๊ย แต่เขียวก็บ่ายเบี่ยง เลี่ยงประเด็นมาตลอด เพราะไม่อยากทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งจ๋อมกับปู และระหว่างเขากับแสนต้องมีปัญหา หรือไม่อยากถูกตราหน้าว่านอกใจแฟนของตนเอง จึงได้แต่ประคองความสัมพันธ์กันไปในแบบเพื่อน รักษาระยะห่างของคนทั้งสองเอาไว้แค่นี้ในฐานะเพื่อน แต่แล้ววันหนึ่งสมุดจดบันทึกของจ๋อมหลุดมาอยู่ในมือของเขียว เขียวได้อ่านความในใจของจ๋อมหลายอย่าง จึงได้รูว่าจ๋อมนั้นคิดกันตนเองอย่างไร และตัดสินใจที่จะเขียนตอบความรู้สึกกลับไปในสมุดจดบันทึกเล่มนั้น แล้วฝากทวน ให้ไปคืนจ๋อม คนดูต้องมานั่งลุ้นว่าเดี๋ยวแม่ เดี๋ยวปู จะมาอ่านเจอเข้า และทำให้ความลับพัง แต่เมื่อรอดปลอดภัยมาอยู่ในมือของจ๋อมอีกครั้ง (ภายหลังจากที่บ้านจ๋อมไฟไหม้ เขียวไปช่วยเก็บของ จึงเก็บสมุดเล่มนั้นเอาไว้ แล้ววันหนึ่ง เผลอหยิบขึ้นมาอ่าน โดยไม่คิดว่า จ๋อมจะเขียนระบายความในใจทุกอย่างเอาไว้ในสมุดเล่มนั้น ฉากนี้โดนใจ เจ็บจี๊ดยิ่งกว่าในเรื่องคิดถึงวิทยามาก) จ๋อมเมื่อได้อ่านลายมือของเขียวที่เขียนตอบมาในข้อความที่เธอเขียนระบายเอาไว้ เธอจึงทราบว่า เขียวก็คิดรู้สึกแบบเดียวกับที่จ๋อมคิดเหมือนกัน ไม่ใช่เธอคิดฝ่ายเดียว แต่เขียวไม่กล้าแสดงออกที่ผานมา น้ำตาจ๋อมร่วงทันที ซีนนี้เป็นอีกซีนที่แป้งโกะ แสดงได้อิน ได้ใจคนดูไปเต็มๆ) หลังจากนั้นทั้งคู่ได้มาเปิดใจกันอีกครั้ง ตอนที่จ๋อมกับเขียวมาเจอกันโดยบังเอิญที่ดินของบ้านเก่าจ๋อมที่ถูกไฟไหม้ไป

เหมียวกับทวน คู่นี้ชอบในความสัมพันธ์ที่ระหองระแหง พ่อแง่แม่งอน การเอาแต่ใจตัว เจ้ากี้เจ้าการและเป็นใหญ่ในบ้านของเหมียว ทำให้เธอบงการสามีให้ใส่เสื้อคู่ การเป็นคนรักสะอาด เจ้าระเบียบ และรสนิยมในแบบหวานแหวว คิกขุอาโนเนะ ติ่งซีรี่ย์เกาหลี และอะไรสารพัด ส่วนทวนก็แนวพ่อบ้านจอมเจ้าชู้ เฮฮาปาร์ตี้ กลับบ้านดึก เมียเผลอแล้วเจอกัน ทำให้หลายหนที่ทะเลาะกันจนบ้านแตก แทบจะบอกเลิกกันได้ทุกวัน เพราะความไม่ลงตัวของบุคลิก นิสัย ไลฟ์สไตล์ ยังสงสัยว่าคู่ครองแบบนี้ก่อนจะแต่งงานกันได้คิดไตร่ตรองถี่ถ้วนแล้วหรือยัง หรือว่านิสัยเพิ่งจะมาออกลายกันตอนภายหลังใช้ชีวิตคู่แล้ว ในชีวิตจริง หากต้องการประคองชีวิตคู่ให้อยู่รอดตลอดไป คงต้องมีฝ่ายใดฝายหนึ่งเป็นคนยอมเสียสละ หรือไม่ก็เลือกที่จะแยกทางหย่าร้างกันไปภายหลัง แต่ละครเรื่องนี้เลือกที่จะสอนใจคนดู ให้เรียนรู้ไปด้วยกันว่า ทั้งสองฝ่ายต้องยอมกันคนละครึ่งทาง จูนและปรับตัวเข้าหากันบ้าง ลดทิฏฐิมานะของตนเองลง ยอมเสียสละหลับตาข้างหนึ่งบ้าง ฉากที่เป็นจุดเปลี่ยนหรือไคลแม็กซ์ของคู่นี้ก็ตอนที่เหมียวจับได้ว่าทวนโยนเสื้อคู่ของตนเองทิ้งน้ำ จับได้ว่าทวนโกหก และมีทัศนคติต่อเธอในหลายๆ เรื่องในขั้วตรงข้าม มองว่าเป็นเรื่องติงต๊อง และทวนเมาเหล้าเผลอหลุดปากว่าถ้าไม่ชอบก็หย่าก็ได้ จึงเกิดการท้าหย่ากัน แล้วเหมียวก็ไปเล่าเรื่องชีวิตคู่ของตนเองให้เพื่อนๆ แก๊งตัวเองฟัง เพื่อนๆ ก็ลงความเห็นว่า สามีของเหมียวทำถูกแล้ว หาผู้ชายดีๆ แบบนี้ยากมาก ถ้าเป็นเธอก็จะยอม หรือยินดีหากเหมียวจะประเคนให้เพื่อนต่อ พอเหมียวฟังแล้วเกิดความรู้สึกว่าเหตุใดเพื่อนๆ กลับมองว่าเธอผิด เธอเยอะไป ในขณะที่ทวนก็โทรเข้าไปเล่าชีวิตคู่ของตนในรายการคลับฟรายเดย์ให้พี่ฉอดพี่อ้อยฟัง แล้วเหมียวก็เผอิญได้ฟังในรถอยู่พอดี จึงทำให้เหมียวกับทวนเริ่มเสียใจกับการกระทำของตนเอง ต่างฝ่ายต่างคิดถึงกัน ในห้วงเวลาที่ต่างฝ่ายต่างไม่ได้อยู่ด้วยกัน  

คู่ของปูกับแสนยังไม่มีโมเม้นท์ที่ประทับใจ แต่หากกล่าวโดยสรุปกับการดูละครเรื่องนี้ ก็ได้แง่คิดมากมาย และอบอุ่น โรแมนติก ฟีลกู๊ด ชอบที่สุดเรื่องนึงในรอบปีนี้         

ประวัติและผลงานของผู้กำกับ

พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ มีชื่อเสียงจากการกำกับภาพยนตร์เรื่อง ไอ้ฟัก ในปี พ.ศ. 2547 และเรื่อง มะหมา 4 ขาครับ ในปี พ.ศ. 2550

พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ เข้าสู่วงการจากการเป็นผู้ช่วยของ ยุทธนา มุกดาสนิท เป็นผู้ช่วยผู้กำกับเรื่องคู่กรรม (2538) และจักรยานสีแดง (2540) เริ่มเป็นผู้อำนวยการสร้างร่วม ภาพยนตร์เรื่องกุมภาพันธ์ ในปี พ.ศ. 2546 และสัตว์ประหลาด! ในปี พ.ศ. 2547  และได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์อย่างเต็มตัวในเรื่อง ไอ้ฟัก สร้างจากนวนิยาย คำพิพากษา ของชาติ กอบจิตติ

พันธุ์ธัมม์ มีงานแสดงรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง เฟรนด์ชิพ เธอกับฉัน รับบทเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ซ้อนในเรื่อง มีมุกตลกพูดถึงการกำกับภาพยนตร์ว่า กำกับนักแสดงที่เป็นคน (แสดงโดย วรุฒ วรธรรม) ยากกว่ากำกับหมา แล้วเดินจากไปพร้อมกับ "มะขาม" หมาไทยหลังอานตัวเอกจากเรื่อง มะหมา 4 ขาครับ

พิภพราชา ภาค 4 (ภาคผนวก 3)








 

 
 
 
 
 
 

 

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Chinatown โลกจำลองของสังคมสกปรก โสมม (เส้นบางๆ ระหว่างอาชญากร หรือผู้มีอิทธิพล)


ช่วงตรุษจีนอย่างนี้ จะหาหนังที่เกี่ยวกับคนจีนหรือวัฒนธรรม ประเพณีจีนมาพูดถึง ลองพิเคราะห์และเลือกดูก็ไม่เห็นมีเรื่องใดที่ถูกใจ ไปติดใจคำว่า “China Town” ขึ้นมา เลยนึกขึ้นได้ว่า มีหนังที่ชื่อเรื่องเดียวกันนี้ และเป็นหนังเก่าที่อยู่ในหมวดคลาสสิก และถูกการันตีจากนักวิจารณ์ทั่วโลกให้เป็นหนังแนวสืบสวน ฆาตกรรมที่เยี่ยมยอดที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่งตั้งแต่เคยมีการสร้างกันมา แหมเสียดายที่ตัวผู้เขียนยังไม่เคยดูเสียด้วย แต่ก็อยู่ในลิสต์ส่วนตัวที่ก่อนตายต้องไปหามาดูให้ได้ ซึ่งในลิสต์ส่วนตัวมีอยู่ประมาณ 100 กว่าเรื่องที่ยังไม่เคยดูและต้องไปตามหามาดูให้ได้
ถ้าคุณผู้อ่านชื่นชอบหนังในหมวดนี้คือ Crime,Suspense,Thriller,Mystery,Drama ก็ขอแนะนำเรื่องนี้ “China Town  ความยอดเยี่ยมของบท ชั้นเชิงการเล่าเรื่อง การเปิดประเด็น การคลี่คลายประเด็น ไคลแม็กซ์ และจุดหักมุม หนังในทำนองนี้ที่ผู้เขียนประทับใจได้แก่ The God Father, L.A Confidential ,Memento , The Usual Suspect, Seven, Primal Fear , Shawshank Redemtion และก็คงจะเป็นเรื่องนี้ที่จะไปตามเก็บต่อไป เนื่องจากยังไม่เคยดูด้วยตนเอง จึงขอหยิบเอาบทวิจารณ์หรือคำโปรยของผู้อื่นที่พูดถึงเรื่องนี้มาลงไว้แทนเพื่อเป็นการชักชวนหรือแนะนำภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับผู้อ่านได้รู้จักหรือหามาดูแทน

ตัวหนังเริ่มต้นเล่าเรื่องโดย อดีตตำรวจ ที่ผันตัวเอง กลายเป็นนักสืบ เอกชน (Jack Nicholson) ที่รับสืบคดี ประเภท ภรรยา ให้ สืบดูว่า มีเมียน้อยหรือไม่ Jack ตกลงรับคดีหนึ่ง ในการตามสืบ วิศวกร ประปา ว่ามีบ้านเล็กหรือไม่ จนได้ ความ และสามารถถ่ายรูป เป็นหลักฐาน ให้กับภรรยา ของวิศวกรได้ วันต่อมา ข่าว วิศวกร คนนี้ ขึ้นหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ เรื่องการมีเด็ก (เพราะวิศวกรท่านนี้ กำลังเป็นข่าวในการต่อต้านไม่ให้สร้างเขื่อน) หลังจาก Jack มาที่ office ยิ่งตกใจไปใหญ่ว่า สาวที่แจ้ง เรื่องให้ตามสืบเรื่องสามีตัวเองมีเมียน้อย เป็นตัวปลอม และกำลังโดน ภรรยาตัวจริง (Faye Dunaway) ฟ้องเรียกค่าเสียหาย Jack ตามสืบต่อ เพราะจู่ๆ ตัวเองกลายเป็นแพะ สืบไปสืบมา ตัววิศวกร กลายเป็น ศพ โดยเป็นการตายแบบ จมน้ำตาย คราวนี้เขาจำเป็นต้องร่วมมือกับ Faye เพื่อจะได้รู้ว่า ใครเป็นคนสังหารสามีตัวเอง แต่คราวนี้เรื่องที่ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องของสามีภรรยา กลับกลายเป็นเรื่องที่ใหญ่ระดับรัฐ จนJack ต้องเสียโฉม โดนนักเลงดี เอามีดตัดปลายจมูก ซึ่งเจ้านักเลงดี คนนั้นก็ไม่ใช่ใครอื่น คือ ผู้กำกับ Roman Polanski ซึ่งเกิดอาการมันในอารมณ์ เลยโดดมาเล่นด้วย (ฉากนี้กลายเป็นฉากที่จดจำในผู้ชมจำนวนมาก)

(อ้างอิงข้อมูล บทวิจารณ์จากบล็อกของคุณ abandonguy.bloggang.com)

หากนึกถึงภาพยนตร์ดวงกุดบนเวทีออสการ์สักเรื่อง หนึ่งในนั้นที่ต้องได้รับการกล่าวถึงก็คือ Chinatown มันเป็นหนังที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์สูงถึง 11 รางวัลแต่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศได้เพียงรางวัลเดียวคือ 'บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม' เพียงเพราะว่าปีนั้นมีคู่แข่งที่โคตรหินอย่าง The Godfather part II

Chinatown เล่าเรื่องจากมุมมองเดียวของ 'เจค' (Jack Nicholson) อดีตตำรวจที่ผันตัวมาเป็นนักสืบคดีชู้สาว เขาได้รับการว่าจ้างจาก 'เอเวอลีน' (Faye Dunaway) ให้สืบหาว่าสามีของเธอมีชู้หรือเปล่า แต่เมื่อเขาส่งมอบรูปถ่ายหลักฐานให้แก่เธอ รูปดังกล่าวกลับปรากฎบนหน้าหนังสือสือพิมพ์ทำลายชื่อเสียงของ 'ฮอลลิส' สามีของเธอ และมันกลับกลายเป็นว่าคนที่มาว่าจ้างเขาก็ไม่ใช่ 'เอเวอลีน' ตัวจริง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นในเวลาต่อมา 'ฮอลลิส' ก็ถูกฆาตกรรมอำพรางว่าเป็นอุบัติเหตุซึ่งอาจพัวพันไปถึงคดีคอรัปชั่นครั้งใหญ่ของกรุงลอสแองเจลิส!

(คำเตือนถ้าหากคุณผู้อ่านยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ อย่าเพิ่งไปรับรู้สปอยล์โดยเด็ดขาดนะครับจะเสียอรรถรสในการดูโดยไม่รู้ตัว)

สามเหตุผลที่คุณไม่ควรพลาดหนังเรื่องนี้โดยเด็ดขาด


1. บทหนังที่สมบูรณ์แบบทำให้มันเป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาล
-
Chinatown ไม่ได้เป็นแค่หนังฟิล์มนัวร์ชั้นเยี่ยม และมันก็มีดีเกินกว่าจะถูกจดจำแค่ในฐานะหนึ่งในหนังสืบสวนที่ดีที่สุดตลอดกาล แต่มันคู่ควรกับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว

การสร้างตัวละครในโลก
Chinatown คือความยอดเยี่ยมอย่างแรกของหนัง ทุกตัวละครล้วนมาในลักษณะสีเทา ไม่มีใครที่ทำให้รู้สึกว่าขาวสะอาด แม้กระทั่งตัวละครเอกของเรื่องที่เป็นนักสืบอย่าง 'เจค' ก็มาในลักษณะ 'antihero' ที่ครั้งหนึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องเลวร้ายใน Chinatown บุคลิกส่วนตัวที่เด่นชัดคือปากเสีย และยังสืบคดีด้วยเล่ห์เหลี่ยมสกปรกเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง, 'เอเวอลีน' ก็อยู่ในโหมดเดียวกับตัวละครสาวในหนังฟิล์มนัวร์ทั้งหลาย เธอไม่ใช่ผู้หญิงใสซื่อ เปิดหนังมาเธอก็ยอมรับแล้วว่าเธอมีอะไรกับคนอื่นนอกจากสามีตัวเอง ในขณะเดียวกันตัวละครของเธอก็มีความลับเยอะแยะมากมายที่ปกปิด 'เจค' มาตลอด, และนี่ยังไม่นับรวมตัวละครสมทบอื่น ๆ ที่ดูไม่ใช่คนดีขาวสะอาดสักเท่าไร

ยิ่งเมื่อหนังพาเราเข้าสู่โลกของการ
'สืบสวน' จากจุดเริ่มต้นของคดีชู้สาวที่ควรจะจบลงอย่างง่ายดายกลับกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งใหญ่โตที่ทำให้ 'เจค' โกรธแค้นเพราะนั่นหมายถึงว่าคนที่จ้องเล่นงาน 'ฮอลลิส' ที่กำลังต่อต้านการสร้างเขื่อน ย่อมประสงค์ทำลายชื่อเสียงของเขาด้วย ทำให้เขาต้องสืบหาความจริงว่าใครอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ แต่หลังการตายของ 'ฮอลลิส' ที่เขาเชื่อว่าเป็นการฆาตกรรม หนังก็พาเราเข้าสู่ประเด็นที่ใหญ่กว่าแค่เรื่องชู้สาวและทำลายชื่อเสียงเขาด้วยการพาคนดูไปร่วมสืบสวนคดีทุจริตครั้งใหญ่

ช่วงการสืบสวนเป็นอะไรที่สุดยอดมาก มันเล่าเรื่องคดีได้อย่างน่าเชื่อถือ การสืบคดีของ
'เจค' ก็มาในลักษณะที่สมจริงแบบนักสืบทั่วไปไม่ใช่พวกเก่งกาจเกินจริงหรือมีเรื่องบังเอิญเข้าช่วย การที่หนังเลือกใช้การเล่าเรื่องด้วยสายตาของ 'เจค' ก็เป็นอีกส่วนดีของหนังเพราะมันทำให้คนดูค่อย ๆ รับรู้เรื่องทุกอย่างไปพร้อมกับตัวละครหลัก สเกลอันใหญ่โตของหนังที่ฟังดูซับซ้อนซ่อนเงื่อนก็ถูกถ่ายทอดเรียบเรียงลำดับออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะหลาย ๆ ฉากที่อาจทำเอาคุณอึ้งได้เลย

2. เซอร์ไพรซ์ ไคลแม็กซ์ ไคลแม็กซ์ และไคลแมกซ์
- จะมีหนังสืบสวนสักกี่เรื่องที่สามารถสร้างบทภาพยนตร์ที่มหัศจรรย์เช่นนี้ได้ เอาแค่ฉากแรกที่
'เจค' ได้รับการว่าจ้างให้สืบคดีขู้สาวให้ 'เอเวอลีน' ก็สร้างเซอร์ไพรส์คนดูด้วยการเฉลยว่า..... ปล่อยเซอร์ไพรส์ที่คาดไม่ถึงออกมาเรื่อย ๆ โดยยิ่งสืบลึกลงไปเท่าไร หนังก็ยิ่งปล่อยไคลแมกซ์ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงตอนเฉลยเรื่องราวทั้งหมดที่ต้องเรียกว่าโคตรของโคตรไคลแมกซ์ตลอดกาลฉากหนึ่งเลยทีเดียว

3. ฉากสุดท้ายที่ไม่อาจลืมเลือน
- คงไม่เป็นการเปิดเผยเนื้อหาแต่อย่างใดถ้าจะใบ้ว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้จบแค่เมื่อตอนเฉลยปมทุกอย่างให้คนดูรับรู้ แต่
'โรมัน โปลันสกี้' ผู้กำกับซึ่งเป็นคนดัดแปลงตอนจบภาพยนตร์ได้พาเราไปสู่ฉากสุดท้ายที่ทรงพลังกว่าหนังเรื่องไหน ๆ เลยก็ว่าได้ มันเป็นฉากจบที่ 'อยู่บนโลกความเป็นจริง' มาก ๆ และความดีความชอบทั้งหมดของฉากจบมันก็เกิดจากการเล่าเรื่อง 'ไชน่าทาวน์' ได้อย่างน่าสนใจในความลึกลับเพราะตัวละครไม่เล่าอย่างละเอียด อย่างไรก็ตามในฉากจบมันก็ทำให้คนดูเข้าใจได้ทันทีว่าสิ่งที่ 'เจค' เล่าถึง 'ไชน่าทาวน์' แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ มาตลอดมันคืออะไร

พูดถึงด้านการแสดง ต้องชมเชย
'แจ็ค นิโคลสัน' นักแสดงชายดีกรีเข้าชิงออสการ์ 12 ครั้ง ซึ่งเป็นสถิตินอมินีสูงที่สุดของฝ่ายชาย เขาคนเดียวแบกหนังทั้งเรื่องได้สบาย ๆ เลยครับ ลุงแจ็คเข้าถึงบุคลิกของตัวละครทำให้คนดูเชื่อว่าเขาคือ 'เจค' นักสืบคดีชู้สาวที่เข้าไปพัวพันคดีคอรัปชั่นครั้งใหญ่

นอกจากความยอดเยี่ยมที่ได้อวยมาข้างต้นแล้ว หนังยังมีออสการ์มาช่วยการันตีความยอดเยี่ยมในทุกแง่มุมของหนังตั้งแต่รางวัลชนะเลิศ
'บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม' และการเข้าชิงรางวัลใหญ่ ๆ ทั้งหมดได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, การแสดงนำฝ่ายชาย-หญิงยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, กำกับภาพยอดเยี่ยม รวมถึงงานเทคนิคอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น ดนตรีประกอบที่ช่วยส่งเสริมในทุก ๆ ฉากที่ผู้กำกับจำเป็นต้องใช้ดนตรีช่วยสร้างอารมณ์  แม้ตัวละครในหนังจะบอกว่า "ลืมมันเสียเถอะ ที่นี่มันคือไชน่าทาวน์" แต่ผมคงไม่สามารถลืม 'Chinatown' ได้อย่างแน่นอน

(อ้างอิงข้อมูล บทวิจารณ์ของคุณ Nutonline,และ facebook fanpage inception.tgi)
 
 

ประวัติ และผลงานของผู้กำกับ โรมัน เรย์มอนด์ โปลันสกี
Roman Rajmund Polański) เป็นทั้งผู้กำกับ นักเขียนบท และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวโปแลนด์ ภาพยนตร์ที่เขากำกับได้รับความชื่นชมทั้งด้านศิลปะ และประสบความสำเร็จด้านรายได้  โปลันสกีเกิดที่ฝรั่งเศส ในครอบครัวชาวยิวที่อพยพมาจากโปแลนด์ ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายกลับไปอยู่ที่เมืองคราคุฟ ประเทศโปแลนด์ และต้องตกเป็นเชลยในค่ายกักกันชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และสูญเสียมารดาไปที่ค่ายกักกันเอาสชวิทซ์ หลังสงคราม โปลันสกีได้เข้าเรียนในโรงเรียนภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของโปแลนด์-ลูดซ์ และผลงานเรื่องที่สี่ เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง Dwaj ludzie z szafą (Two Men and a Wardrobe ปี 1958) ได้รับ 5 รางวัลจากการประกวดภาพยนตร์ระดับนานาชาติ

ผลงานสำคัญของโปลันสกี ได้แก่

Nóż w wodzie (Knife in the Water ปี 1962) ผลงานกำกับเรื่องยาวชิ้นแรก ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม,

Repulsion ในปี 1965 นำแสดงโดยแคเทอรีน เดอเนิฟ,

Rosemary's Baby ปี 1968 นำแสดงโดยมีอา ฟาร์โรว์,

Chinatown ในปี 1974 นำแสดงโดยแจ็ก นิโคลสันและเฟย์ ดันอะเวย์,

Le Locataire (The Tenant ปี 1976) ภาพยนตร์ฝรั่งเศสที่เขาแสดงนำคู่กับอิซาเบล อัดจานี,

Tess ปี 1979 นำแสดงโดยนาสตาสชา คินสกี,

Frantic ปี 1988 นำแสดงโดยแฮริสัน ฟอร์ด และล่าสุดเรื่อง

The Pianist ปี 2002 ที่เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม แต่ไม่ได้เดินทางไปรับรางวัล เนื่องจากถูกหมายจับจากทางการสหรัฐตั้งแต่ปี 1977 ในปี 1977 โปลันสกีถูกจับในคดีข่มขืนเด็กหญิงวัย 13 ปี หลังจากงานปาร์ตีที่บ้านของแจ็ก นิโคลสันในฮอลลีวูด และถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหามีเพศสัมพันธ์กับผู้เยาว์  เขาหลบหนีไปฝรั่งเศส และถูกหมายจับจากทางการสหรัฐ จึงหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับสหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่นั้น โรมัน โปลันสกีถูกตำรวจสวิตเซอร์แลนด์จับกุมตัวเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 ขณะกำลังเดินทางไปรับรางวัล Golden Icon Award ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซูริก  และถูกสหรัฐอเมริกาขอตัวกลับไปดำเนินคดีในประเทศ ทางการสวิสได้กักบริเวณโปลันสกีไว้ในบ้านพักตั้งแต่ถูกจับกุม จนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมสวิสจึงได้ออกแถลงการณ์ถึงการตัดสินใจไม่ส่งตัวโปลันสกี ตามคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกา และปล่อยตัวเขาเป็นอิสระ โปลันสกีผ่านการสมรสมาแล้วสามครั้ง ครั้งแรกกับ Barbara Kwiatkowska นักแสดงโปแลนด์ ที่เคยรับบทใน Gdy spadają anioły (When Angels Fall ภาพยนตร์สั้นปี 1959 ของเขา) ครั้งต่อมากับชารอน เทต นักแสดงและนางแบบอเมริกันจากเรื่อง The Fearless Vampire Killers (1967) ชารอน เทตถูกสังหารที่บ้านพักของเขาขณะกำลังตั้งครรภ์ได้ 8 เดือนโดย "ครอบครัวแมนสัน" โดยคำบงการของชาร์ล แมนสัน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1969 โปลันสกีสมรสครั้งที่สามกับเอมมานูเอล ซีเกอร์ นักแสดงฝรั่งเศสจาก Frantic ที่ต่อมารับบทในภาพยนตร์ของเขาอีกสองเรื่อง ใน Bitter Moon (1992) และ The Ninth Gate (1999)

ผลงานการกำกับทั้งหมดของโรมัน โปลันสกี้ แยกตามปี











 


Year





Film





Oscar
nominations





 Oscar wins

1955

Zaczarowany rower (also as Bicycle)

1957

Morderstwo (also as A Murderer)

Uśmiech zębiczny (also as A Toothful Smile)

Rozbijemy zabawę (also as Break Up the Dance)

1958

Dwaj ludzie z szafą (also as Two Men and a Wardrobe)

1959

Lampa (also as The Lamp)

Gdy spadają anioły (also as When Angels Fall)

1961

Le Gros et le maigre (also as The Fat and the Lean)

Ssaki (also as Mammals)

1962

Nóż w wodzie (also as Knife in the Water)

1

1964

Les plus belles escroqueries du monde (also as The Beautiful Swindlers)—segment: "La rivière de diamants"

1965


1966


1967


1968


2

1

1971


1972


1972

What? (also as Diary of Forbidden Dreams)

1974


11

1

1976

Le Locataire (also as The Tenant)*

1979


6

3

1986


1

1988


1992


1994


1999


2002


7

3

2005


2007

To Each His Own Cinema (segment Cinéma erotique)

2010


2011


2012

A Therapy (short film for Prada)

2013