ปีนี้จะเป็นปีที่เข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลอย่างเต็มตัวแล้ว
ดังนั้น สมรภูมิการขับเคี่ยวและแข่งขันกันของช่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านข่าว ละคร กีฬา
รายการคอนเท้นต์ต่างๆ ก็คงจะงัดกลยุทธ์กันออกมาฟาดฟันกันอย่างสนุกสนานเต็มที่
หากจะมีกั๊กกันไว้บ้าง ก็คงจะเป็นเจ้าใหญ่ๆ ที่เขาคงมีไม้เด็ดต่างๆ
ที่ซุ่มเงียบอยู่ รอวันงัดออกมาใช้เมื่อถึงคราวจำเป็น
หรือช่วงที่เรตติ้งเพลี่ยงพล้ำอยู่บ้าง สำหรับด้านเรตติ้งนั้น
ในช่วงแรกของสมรภูมิเดือดนี้ คิดว่าที่ 1 กับที่
2 คงจะลอยลำไปเลยโดยภาพรวม (หมายถึงช่อง 7กับช่อง 3) หาทางโค่นได้ยาก แต่ที่ 3 ลงมา
คงจะต้องขับเคี่ยวแย่งชิงกันหน้าดำคร่ำเครียดซักหน่อย
และมีสิทธิ์ที่จะพลิกไปพลิกมาได้เสมอ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมีรายการคอนเท้นต์ดีๆ
เพื่อดึงดูดความสนใจของคนดูได้ และคิดว่าอันดับ 3 ลงมา
จะไม่สามารถช่วงชิงฐานคนดูได้ทุกช่วงเวลา หรือได้ตลอดเวลา หากว่าช่องคู่แข่งอื่นๆ
มีรายการคอนเท้นต์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจกว่ามาเรียกความสนใจของคนดูได้ เป็นรายการ
เป็นเรื่องๆ ไป
แต่ช่องที่มีฐานแฟนคลับเป็นของตนเองจะได้เปรียบกว่า ไม่ว่าจะเป็น ช่อง 7,ช่อง 3,ช่อง one+Gmm ,ช่อง workpoint,
ช่อง 8, ช่อง mono 29, ช่อง
true4u+tnn24, ช่อง ไทยทีวี+loca, ช่อง
nation+now, ช่อง pptv, ช่องไทยรัฐทีวี,
ช่อง tpbs, ช่อง voice+springnews เป็นต้น
สมรภูมิการแข่งขันของทีวีในทุกยุคทุกสมัยก็คงหนีไม่พ้น
อันดับแรกก็คือรายการข่าว หรือรายการวิเคราะห์ข่าว รายการสนทนาเกี่ยวกับข่าวสาร
ประเด็นร้อนที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์
หรือให้ความสนใจของบุคคลโดยทั่วไปในขณะนั้น สิ่งที่ช่องต่างๆ มักแข่งขันกันก็คือ
ทีมผู้ประกาศข่าว สกู๊ปเจาะข่าวรวมถึงผู้สื่อข่าวภาคสนาม
อุปกรณ์ยุทโธปกรณ์ในการนำเสนอ เช่น จอทัชสกรีน led ในห้องส่งที่ใช้สำหรับรายงานข่าว
, โต๊ะเก้าอี้ ฉากหลังของผู้ประกาศข่าวในห้องส่ง, รถโมบายล์ถ่ายทอดสด
เฮลิคอปเตอร์สำหรับนำผู้สือ่ข่าวลงไปยังพื้นที่ทำข่าวที่ยากลำบาก
หรือเพื่อมุมกล้องที่สวยงาม ที่ยากต่อการได้ภาพในมุมกว้าง
เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีไปไกลถึงขั้นมีโดรนติดกล้องถ่ายภาพจากมุมสูง
(ซึ่งเราได้เห็นเจ้าเทคโนโลยีตัวนี้ชัดๆ ก็ในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. นั่นเอง)
นอกเหนือจากนี้ก็คือเนื้อหาจริงๆ ของข่าว เสน่ห์เฉพาะตัวหรือคาแร็กเตอร์
ลักษณะการอ่านข่าว การพูดคุยของผู้ประกาศข่าว นักเล่าข่าว ทัศนคติการวิเคราะห์ข่าว
รวมถึงภูมิความรู้ที่แท้จริงของผู้ประกาศข่าว ปัจจุบันนอกเหนือจากผู้ประกาศข่าวที่มีประสบการณ์สูงๆ
หรือมีชื่อเสียงในลำดับต้นๆ ของประเทศ ยังก่อให้เกิดผู้ประกาศหน้าใหม่ๆ
ที่มีท่วงท่าลีลาในการอ่านข่าวที่สร้างความสนใจเกิดขึ้นมากมาย
เนื่องจากช่องทีวีดิจิตอลที่เปิดใหม่ทั้งหลาย
ต่างยื้อแย่งซื้อตัวกันจากช่องทีวีคู่แข่งหรือจากเคเบิ้ลทีวีมา
บางที่ก็ใช้เลือดใหม่ปั้นลูกหม้อของตนเองขึ้นมา
แต่หลายทีก็ผสมผสานกันระหว่างผู้ประกาศข่าวที่มีชื่อเสียงและที่สร้างขึ้นมาใหม่
มาดูกันว่าช่องข่าวหลักๆ นั้นใช้ทีมผู้ประกาศข่าว อย่างไรกันบ้าง
ช่อง 3 อนาล็อค,3HD,3SD,3Family
(จุดเด่นคือซื้อตัวผู้ประกาศเด่นๆ จากต่างช่องๆ ให้ไหลมารวมกันอยู่ที่นี่
เรียกว่าครอบครัวข่าว) แต่ก่อนช่อง 3 เคยมีผู้ประกาศข่าวเด่นๆ
เป็นของตนเอง อาทิ จินดารัตน์,นลธวัช,ชาญชัย,พรหมพร,ปราย,พิมลวรรณ เป็นต้น
แต่คนเหล่านี้ไม่ทราบว่าทำไมช่อง 3 ไม่ผลักดันเท่าที่ควร
สุดท้ายก็ย้ายหนีช่อง 3 ไปเป็นตัวเด่นที่ช่องอื่นแทน
ส่วนที่ซื้อตัวมาก็คือคนที่คุ้นหน้า เคยเป็นตัวเด่นมาจากช่อง เนชั่นบ้าง
ไอทีวีบ้าง ช่อง 7 บ้าง ช่อง 9 บ้าง
กลายเป็นช่องที่ลูกหม้อที่ปั้นมาเองกับมือ ไม่ได้เกิด
เหมือนนักเรียนการแสดงของช่อง 3 หรือนักแสดงเก่าๆ
ลูกหม้อของช่อง 3 ปัจจุบันไปมีผลงานช่องอื่นหมดเลย
ไม่ว่าจะเป็น ดิลก ทองวัฒนา,รัญญา,ศิยานนท์,ธงชัย ประสงค์สันติ,กล้วย ก้อย ปรารถนา
ปาริฉัตร,รอน บรรจงสร้าง,สถาพร นาควิไลโรจน์ ,วีระชัย หัตถโกวิท ,กษมา นิสสัยพันธ์ ฯลฯ นอกเหนือจากทีมผู้ประกาศข่าวที่จัดว่าเป็นช่องที่รวมดาวผู้ประกาศข่าวไว้มากที่สุดแล้ว
ด้านอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ยุทโธปกรณ์นั้น ช่องนี้ถือว่าแข็งแรงที่สุด
โดยมีแม่ทัพผู้นำข่าวอย่าวสรยุทธ์ กับกิตติ ที่ยังสามารถสร้างเรตติ้ง ครองความเป็น
1 ด้านรายการข่าวอยู่
ช่อง 5 (น่าสงสารมาก
เป็นโรงเรียนผลิตผู้ประกาศข่าวชั้นดี ที่ให้ช่องอื่นๆ ซื้อตัวไป) เรียกว่าผู้ประกาศเก่งๆ
แม้จะไม่มีชื่อเสียงมากนัก แต่หน้าตาดี มีบุคลิกภาพที่ดี อ่านข่าวเก่ง คล่องแคล่ว
ล้วนเป็นเป้าถูกหมายตาจากช่องข่าวหลัก ๆ ซื้อตัวไปจนหมด
ไปอยู่รวมกันที่ช่องไทยรัฐทีวีมากหน่อย บางส่วนไปอยู่ pptv บ้าง
เนื่องจากช่อง 5 จะกลายเป็นทีวีสาธารณะ หมดเสน่ห์ในแง่ความสำคัญและเรตติ้งลง
ผู้ประกาศข่าวเจ๋งๆ รวมถึงผู้ผลิตรายการใหญ่ จึงต่างตบเท้าบินหนีไปเกือบหมด
ช่อง 7,7HD (ช่องนี้ก็จัดเป็นโรงเรียนผลิตผู้ประกาศข่าวชั้นดีเช่นกัน
และแม้ว่าจะถูกดูด ถูกดึงซื้อตัวเด็ดๆ ไปมากแล้วก็ตาม
แต่ที่ยังอยู่และจงรักภักดีต่อช่องก็จัดเป็นพวกหัวกระทิทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคุณภัทร,คุณพิศิทธิ์,คุณสมโภชน์,คุณอนุวัต,คุณนิลาวัณ,คุณศศินา,คุณศรีสุภางค์,คุณชมพูนุช,คุณเหมือนฝัน
ฯลฯ ยังไม่นับรวมผู้ประกาศข่าวกีฬา เรียกว่าช่อง 7
เขามีตัวและทีมผู้ประกาศข่าวที่ยังปึ้กที่สุดช่องหนึ่งของเมืองไทยเลยทีเดียว
แม้ว่าทีมผู้ประกาศข่าวของบริษัทลูกอย่างมีเดียออฟมีเดียส์
จะยกทีมลาออกไปยกชุดก็ตาม (นำทีมโดยคุณต๊ะ นารากรกับพวกย้ายไปอยู่ช่อง one) แต่ที่ยังเหลืออยู่ บางส่วนปลุกปั้นขึ้นมาเป็นสายเลือดใหม่ สามารถทดแทนทีมเก่าได้เป็นอย่างดี
ช่อง Mcot HD,Mcot Family
(ช่องนี้ แต่เดิมก็ไม่ค่อยมีผู้ประกาศเด่นๆ มากนัก ส่วนใหญ่เป็น new
gen ที่ปลุกปั้นมาจากโครงการสร้างผู้ประกาศข่าวหน้าใหม่ของช่อง
ช่องนี้จึงไม่ค่อยเดือดร้อนจากการถูกแย่งซื้อตัวจากช่องอื่นมากนัก) ข้อดีข้อเด่น
ก็คือความที่เป็นสำนักข่าวไทย ซึ่งชื่อของสำนักข่าวไทยทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือของสถานีอยู่แต่เดิมแล้ว
ซึ่งสิ่งนี้ต้องรักษาเอาไว้ ช่วงหลังมีการปรับรูปแบบข่าวให้สั้นกระชับฉับไวขึ้น มีอุปกรณ์ยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยช่องหนึ่งของเมืองไทย
แต่นอกเหนือจากนั้น ช่อง 9 ยังไม่สามารถสร้างเอกลักษณ์
คาแร็กเตอร์ของตนเองให้โดดเด่นได้ ข่าวช่อง 9 จึงได้รับความสนใจในระดับกลางๆ
มาตลอด
ช่อง TPBS HD (ช่องนี้แต่เดิมเคยมีผู้ประกาศเก่าๆ ที่โอนย้ายมาจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
มาบางส่วน และเป็นลูกหม้อสายเลือดใหม่ที่ปั้นขึ้นมาเอง
แต่โดยส่วนใหญ่มีทักษะพื้นฐานการผ่านข่าวดีมากช่องหนึ่ง จัดเป็นโรงเรียนผลิตผู้ประกาศข่าวอีกช่องหนึ่ง
จึงมีผู้ประกาศหลายรายถูกแก่งแย่งซื้อตัวไปเป็นระยะๆ คล้ายๆ ช่อง 5 ตัวท็อปๆ ถูกซื้อตัวไป หายจ้อยไปจากช่องเกือบหมด ไปโผล่ช่อง 3 มากสุด,ไทยรัฐทีวีบ้าง แต่บรรดาหัวกระทิ ก็ยังมีอยู่บ้าง
และขอให้กำลังใจทำหน้าทีต่อไป ไม่งั้นข่าวของช่องทีวีสาธารณะจะไม่มีคนดู
เสียดายภาษีประชาชน เสียดายคอนเท้นต์ดีๆ ที่ผลิตไปแต่ไม่มีคนดู
ช่องไทยรัฐ,เวิร์คพ้อยท์,ช่อง 8,ช่อง one,ช่อง pptv,ช่อง Bright,ช่อง new)tv โมเดลเหมือนกันหมด
เสริมทัพทีมข่าวด้วยการซื้อผู้ประกาศข่าวตัวเด่นๆ มาและสร้างทีมข่าวของตนเองที่เป็นเลือดใหม่เข้าไปผสม
เนื้อหารูปแบบดูคล้ายๆ กัน ต่างกันตรงที่วิธีการนำเสนอ ซึ่งไทยรัฐทีวีดูโดดเด่นสุด
ช่อง Nation,Now,Voice,Springnews,TNN24
พวกนี้จัดเป็นช่องข่าวโดยธรรมชาติ จึงมีการสร้างบุคลากรเป็นของตนเอง
เป็นโรงเรียนผลิตผู้ประกาศข่าวโดยธรรมชาติ ช่องเหล่านี้มีบุคลากรด้านข่าวที่มีประสิทธิภาพสูงและมีนักวิเคราะห์ข่าว
ผู้บรรยาย นักเล่าข่าว นักวิชาการประจำช่องเป็นของตนเอง
ความหลากหลายและการเจาะประเด็น การวิเคราะห์ข่าวจะรอบด้าน
และลงลึกกว่าช่องทีวีดิจิตอลอื่นๆ โดยทั่วไปอยู่แล้ว
ช่อง Mono 29,ไทยทีวีและ Gmm channel พยายามจะสร้างคาแร็กเตอร์ของการนำเสนอข่าวที่ไม่ติดยึดในแพ็ทเทิร์นเดิมๆ
เหมือนช่องหลักๆ โดยใช้ทีมผู้ประกาศข่าวที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
จัดว่าน่าสนใจทั้ง 3 ช่อง รูปแบบการนำเสนอจึงต่างออกไป
จัดเป็นทางเลือกที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใครดี อาทิ ช่อง Gmm channel เสริมทีมผู้ประกาศข่าวด้วยดารา celeb ชื่อดังที่เคยเป็นนักร้อง นักแสดง พิธีกร หรือวีเจ มานั่งอ่านข่าว เป็นช่องแรกๆ ที่สร้างจุดสนใจโดยใช้อิทธิพลของ celeb มาเรียกกระแส ความน่าสนใจ และดึงดูดคนดู ก็ต้องลองดูว่าจะเวิร์คหรือไม่ คาดว่าจะเปิดตัวเร็วๆ นี้
มาถึงด้านละครกันบ้าง เฉพาะโผรายชื่อละครที่จะออนแอร์ให้ชมกันในปีนี้
พอเปิดชื่อออกมาก็ฮือฮา น่าสนใจแล้ว มีทั้งละครรีเมกจากบทประพันธ์เก่ามีชื่อเสียง
ละครที่เป็นบทประพันธ์ใหม่ๆ ละครฟอร์มยักษ์ ละครย้อนยุค ละครแนวพล็อตสมัยใหม่
มาประชันขันแข่งกันมากมาย กลายเป็นทางเลือกที่เพิ่มมากขึ้นของประชาชนคนดู
ดังรายนามต่อไปนี้
หากเปรียบวงการละครเป็นเหมือนวงการฟุตบอลเมืองนอก
แล้วหล่ะก็ จะขอแยกออกเป็นสมรภูมิพรีเมียร์ลีคกับสมรภูมิลีกแชมป์เปี้ยนชิพ
แล้วบรรดาช่องต่างๆ เราถือเสมือน สโมสรทีมฟุตบอล ,บรรดาค่ายละครผู้จัด
เราถือเสมือนเป็นเทรนเนอร์หรือผู้จัดการทีม,โค้ช, ส่วนบรรดานักแสดง
หรือซุปตาร์ต่างๆ เราถือเสมือนนักเตะ ผู้เล่น ส่วนบรรดาละครเรื่องต่างๆ
เราถือเสมือนแม็ทช์การแข่งขันที่สำคัญต่างๆ เป็นต้น ถ้าใช้ตรรกะของผู้เขียนเอง
จะขอจัดแบ่งช่องและผู้จัดละครแยกเป็นกลุ่มพรีเมียร์ลีกกับกลุ่มลีกแชมป์เปี้ยนชิพดังนี้
กลุ่มพรีเมียร์ลีก ประกอบด้วย ช่อง 7,ช่อง 3,ช่อง one-gmm, ช่องmcot,
ช่องเวิร์คพ้อยท์,ช่อง 8 และช่อง True4uกลุ่มลีกแชมป์เปี้ยนชิพ ประกอบด้วย ช่อง THV-loca,ช่องโมโน29,ช่อง PPTV, ช่องไทยรัฐทีวี,ช่องTPBS,ช่อง 5
ช่อง 3 (คู่แข่งตลอดกาล,เจ้าแห่งละครดองค้างปี) ปีนี้ประเดิมด้วยบางระจัน,สายลับสามมิติ,แอบรักออนไลน์,ลมซ่อนรัก,กลกิโมโน,ข้าบดินทร์,ชาติเจ้าพระยา,ซีรี่ยชุดมาเฟียเลือดมังกร
(เสือสิงห์กระทิงแรดหงส์),หนึ่งในทรวง,สุดแค้นแสนรัก,นางสาวทองสร้อย,ตามรักคืนใจ,หัวใจปฐพี,เพื่อนรักเพื่อนริษยา,ใต้เงาจันทร์,เทพบุตรสุดเวหา,พ่อครัวหัวป่าก์,ผู้กองยอดรัก,สะใภ้จ้าว,นางร้ายที่รัก,ไฟล้างไฟ,กำไลมาศ,ขอเป็นเจ้าสาวสักครั้งให้ชื่นใจ,ชาติพยัคฆ์,ห้องหุ่น,พลับพลึงสีชมพู,วิมานเมขลา,แก้วตาหวานใจ,สองหัวใจนี้...เพื่อเธอ,ดอกไม้ใต้เมฆ,บ่วงอธิษฐาน,แรงตะวัน,พิรุณพร่ำรัก,วัยแสบสาแหรกขาด,สุดร้ายสุดรัก,แผนร้ายลงท้ายว่ารัก,เจ้าบ้านเจ้าเรือน
แรงเงา2,สะใภ้สายลับ,มือปราบสายเดี่ยว,นายยิ้มมะยมหวาน ,เพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ,
และบทประพันธ์ทีซื้อไว้รอสร้างอีกมาก ฯลฯ รวมถึงละครที่รออนุมัติอยู่
ช่อง 8 จะมีละครเรื่อง คุณหญิงนอกทำเนียบ,ฯลฯ ตามข่าวเท่าที่ทราบ
ช่อง 9 จะมีซิทคอมใหม่ชื่อเรื่อง
โอมมหาจรวย ,ซีรี่ย์ love sick season 2
ช่อง pptv จะมีละครเรื่องเพลิงดาว
ตามข่าวเท่าที่ทราบ
กล่าวโดยสรุป ปี 2558
วงการละครบ้านเราก็ยังคงเป็นปีแห่งละครรีเมก ละครพีเรียด และละครโรแมนติกคอมเมดี้จิ้นฟินจิกหมอนอีกปีหนึ่ง
ในขณะที่ละครในแนวทางใหม่ก็อาจมีให้เห็นบ้างประปราย
เริ่มมีการซื้อลิขสิทธิ์ซีรี่ย์จากต่างประเทศมาสร้างใหม่เป็นเวอร์ชั่นไทยก็เริ่มมีให้เห็นแล้ว
ต่อไปอาจกลายเป็นกระแสหลักในอีกปีสองปีข้างหน้าก็เป็นได้
ส่วนทางด้านรายการวาไรตี้ เรียลลิตี้ และเกมส์โชว์ที่เห็นเปิดตัวมาแล้วคือช่องเวิร์คพ้อยท์ ได้แก่ คดีสีชมพู รายการที่ตัดสินคดีความรักให้กับทุกคู่รักที่มีปัญหา, เท่ง โหน่ง วิทยาคม รายการบันเทิงเริงความรู้ กับเหล่าคณาจารย์สุดฮา , เชฟหม่ำ พ่อครัวหัวเหลี่ยม รายการที่ทุกเมนูเด็ดบนโลกนี้จะถูก cover ใหม่โดยพ่อครัวที่ฮาที่สุดในประเทศไทย, แฟนพันธุ์แท้ยอดนักชิม เกมโชว์น้ำลายสอ กับการค้นหาสุดยอดนักชิม, บิ๊กเบน วาไรตี้เลิศหรู โดย เบน ชลาทิศ , The Singer Thailand รายการประกวดหานักร้องเสียงคุณภาพ , Bao Young Blood การประกวดวงดนตรีสายเลือดใหม่ เพื่อสืบสานบทเพลงคาราบาว, ล้านซ่อนรูป เกมโชว์ที่ชวนให้คุณไขความลับที่ซ่อนอยู่ภายในรูป , สามสนิท กฤษณ์ ตั๊ก ป๋อง รายการที่จับเอา 3 เพื่อนซี้ กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ - ป๋อง กพล ทองพลับ และ ตั๊ก บริบูรณ์ จันทร์เรือง มาทำภารกิจตามล่าหาสาวหน้าใสไร้เครื่องสำอางมาเผยหน้าสด, สตูดิโอโกแกง รายการเพลง เอาใจคอเพลง, Honey Hero สู้เพื่อเธอ เกมโชว์วัดใจคู่รัก ที่เขาต้องใช้กำลัง ส่วนเธอต้องใช้สมอง ตามมาด้วยรายการที่สร้างความฮือฮามาแล้วทั่วโลก อย่าง Let me in ศัลยกรรมพลิกชีวิต ซึ่งกำลังมีขึ้นในเมืองไทย โดยใช้ชื่อว่า Let me in Thailand ในขณะที่ช่องอื่นๆ ยังคงซุ่มเงียบกับการปรับผังรายการใหม่รับปี 2558 กันอยู่ จึงยังไม่ได้เปิดตัวรายการใหม่ๆ และไม่ได้มาเป็นแพ็กเกจแบบช่องเวิร์คพ้อยท์ จึงคงต้องติดตามดูกันต่อไป ใช่ว่าช่องที่เปิดตัวก่อน แรงๆ จะเป็นผู้ชนะในสงครามเรตติ้งเสมอไป คงต้องพิสูจน์กันในช่วงเวลาจริงๆ และวัดผลเรตติ้งโดยบริษัทสำรวจเรตติ้งจริงๆ ว่าในช่วงเวลาใด ใครคือรายการยอดฮิตที่สุดที่คนเขาดูกัน
นอกเหนือจากรายการเกมส์โชว์ ,เรียลลิตี้โชว์เด่นๆ ช่องเวิร์คพ้อยท์แล้ว ช่องอื่นๆ อย่างช่อง 7 ก็มีรายการใหม่ เช่น The Choice เลือกได้ให้เดต (เรียลลิตี้โชว์แฟรนไชส์จากต่างประเทศ),รายการฮิตเดิมๆ เช่น เชฟกระทะเหล็ก และโหดมันฮา ซีซั่นใหม่ก็ยังคงน่าสนใจ, การกลับมาของเรียลลิตี้โชว์สุดฮิต The Star 11 ทางช่อง ONE ,KPN award ทางช่อง 3ส่วนทางด้านรายการวาไรตี้ เรียลลิตี้ และเกมส์โชว์ที่เห็นเปิดตัวมาแล้วคือช่องเวิร์คพ้อยท์ ได้แก่ คดีสีชมพู รายการที่ตัดสินคดีความรักให้กับทุกคู่รักที่มีปัญหา, เท่ง โหน่ง วิทยาคม รายการบันเทิงเริงความรู้ กับเหล่าคณาจารย์สุดฮา , เชฟหม่ำ พ่อครัวหัวเหลี่ยม รายการที่ทุกเมนูเด็ดบนโลกนี้จะถูก cover ใหม่โดยพ่อครัวที่ฮาที่สุดในประเทศไทย, แฟนพันธุ์แท้ยอดนักชิม เกมโชว์น้ำลายสอ กับการค้นหาสุดยอดนักชิม, บิ๊กเบน วาไรตี้เลิศหรู โดย เบน ชลาทิศ , The Singer Thailand รายการประกวดหานักร้องเสียงคุณภาพ , Bao Young Blood การประกวดวงดนตรีสายเลือดใหม่ เพื่อสืบสานบทเพลงคาราบาว, ล้านซ่อนรูป เกมโชว์ที่ชวนให้คุณไขความลับที่ซ่อนอยู่ภายในรูป , สามสนิท กฤษณ์ ตั๊ก ป๋อง รายการที่จับเอา 3 เพื่อนซี้ กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ - ป๋อง กพล ทองพลับ และ ตั๊ก บริบูรณ์ จันทร์เรือง มาทำภารกิจตามล่าหาสาวหน้าใสไร้เครื่องสำอางมาเผยหน้าสด, สตูดิโอโกแกง รายการเพลง เอาใจคอเพลง, Honey Hero สู้เพื่อเธอ เกมโชว์วัดใจคู่รัก ที่เขาต้องใช้กำลัง ส่วนเธอต้องใช้สมอง ตามมาด้วยรายการที่สร้างความฮือฮามาแล้วทั่วโลก อย่าง Let me in ศัลยกรรมพลิกชีวิต ซึ่งกำลังมีขึ้นในเมืองไทย โดยใช้ชื่อว่า Let me in Thailand ในขณะที่ช่องอื่นๆ ยังคงซุ่มเงียบกับการปรับผังรายการใหม่รับปี 2558 กันอยู่ จึงยังไม่ได้เปิดตัวรายการใหม่ๆ และไม่ได้มาเป็นแพ็กเกจแบบช่องเวิร์คพ้อยท์ จึงคงต้องติดตามดูกันต่อไป ใช่ว่าช่องที่เปิดตัวก่อน แรงๆ จะเป็นผู้ชนะในสงครามเรตติ้งเสมอไป คงต้องพิสูจน์กันในช่วงเวลาจริงๆ และวัดผลเรตติ้งโดยบริษัทสำรวจเรตติ้งจริงๆ ว่าในช่วงเวลาใด ใครคือรายการยอดฮิตที่สุดที่คนเขาดูกัน
ช่อง
PPTV เสิร์ฟซีรี่ย์เกาหลีเพียบ อาทิ Advertising
Genius Lee Taebaek อัจฉริยะสร้างฝัน, Bigman,Mandate of Heaven
โจซอน หมอหลวงบัลลังก์เลือด,King’s Daughter,I summon you
Gold บ้านป่วนก๊วนไฮโซ,All my Love ครอบครัวป่วนยกขบวนฮา,ซีรี่ย์ญี่ปุ่น
No Dropping Out ส่งป้ามาปราบเกรียน,ซีรี่ย์เกาหลี
Golden Rainbow ทอรักสีรุ้ง,Hope for Dating,Bride of
the Century คำสาปร้ายวิวาห์รัก,Medical Top Team ทีมหมอใจเพชร,Shark ล่ารักล่าแค้น,The
Tomorrow People คนพันธุ์อนาคต
ซีรี่ย์ฝรั่ง
Scandal เจาะเรื่องฉาวทำเนียบขาว
season 3,Revolution วันเปลี่ยนโลก season 2,Nikita สวยสังหาร season 2,Intelligence สายลับสมองกล
ช่อง
Mono 29 เสริฟซีรี่ย์อเมริกาสุดดัง อาทิ NCIS
Los Angeles season 4,Gossip Girl season 2,CSI : NY season 2,CSI : Crime Scene
Investigation season 2,Crossing Line season 1,The Vampire Daires season 2,CSI :
Miami season 7,Helix season 1,Unforgettable season 1,Prison Break season 4,Thirteen
เพชรฆาตรหัสระห่ำ,Terminator season 2,The Flash วีรบุรุษเหนือแสง,Hawaii Five-0 season 3,Alcatraz season 1 และซีรี่ย์จีน อาทิ Hero ศึกมหาบุรุษโค่นบัลลังก์,เพ็กฮ่วยเกี้ยม เทพบุตรงูทอง, มังกรหยก 1,เทพประยุทธ์พิชิตฟ้า
ช่อง Workpoint มีทั้งซีรี่ย์จีนและซีรี่ย์เกาหลีเพียบเช่นกัน อาทิ ซีรี่ย์เกาหลี อารัง ภูติสาวรักนิรันดร์,Who are You วิญญาณรักนักสืบ,City Hall วุ่นรักนักการเมือง,When A Man Loves ขอหัวใจเธอได้ไหม,ซุนชู ยอดบุรุษพิทักษ์แผ่นดิน, ซีรี่ย์จีน อาทิ มหัศจรรย์กระบี่เจ้าพิภพ,8 เทพอสูรมังกรฟ้า
บทความ วิพากษ์ทีวีดิจิตอล : The News Station Battle การต่อสู้กันของสถานีข่าว โดย กิตตินันท์ นาคทอง
ปรากฏการณ์รายการข่าวบนหน้าจอโทรทัศน์เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง
ไล่ตั้งแต่รายการข่าวช่อง 9 ที่เปลี่ยนโฉมจากข่าวในพระราชสำนักและประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล
มาเป็นข่าวจากพื้นที่จริง พัฒนามาถึงรายการวิเคราะห์ข่าว รายการคุยข่าว ที่มี
สรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นต้นแบบ มาถึงตอนนี้ก็เริ่มมีรายการที่เรียกว่า “นิวส์โชว์” เกิดขึ้น
พร้อมกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกอากาศโทรทัศน์ในบ้านเรามาสู่ทีวีดิจิทัล
ในช่วงการทดลองออกอากาศทีวีดิจิทัล ผู้เล่นที่มาจากทีวีดาวเทียมต่างก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการข่าว เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ กสทช. โดยเฉพาะช่องข่าว ที่ในช่วงสถานการณ์การเมืองร้อนแรงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรายงานสถานการณ์ แต่โดยรวมแล้วรูปแบบการนำเสนอก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก
เนชั่นทีวี ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากช่องเนชั่นแชนแนลเดิม ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2557 พบว่ารูปแบบรายการไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แม้จะมีการเพิ่มเวลารายการข่าวอย่างเก็บตกจากเนชั่นในช่วงเที่ยงและช่วงค่ำก็ตาม นอกจากนี้เมื่อนายกนก รัตน์วงศ์สกุล พิธีกรข่าวชื่อดังมีเรื่องอื้อฉาวจนต้องงดจัดรายการ บางรายการก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
ขณะเดียวกัน หลังการออกอากาศทีวีดิจิทัล ดูเหมือนเนชั่นทีวีจะเน้นกับการสร้างภาพลักษณ์องค์กร ตั้งแต่การเปิดตัวดาวน์ทาวน์สตูดิโอ ที่ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ และเตรียมที่จะย้ายสำนักงานไปอยู่ที่อาคารบางกอกโค้ต สถานีบีทีเอสสุรศักดิ์ ซึ่งมีไบเทคเป็นเจ้าของ และเพิ่งหมดสัญญาเช่ากับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผมเข้าใจดีกว่าช่วงนี้เนชั่นเกิดภาวะสมองไหลไปก่อนหน้านี้ เพราะมือมันสมองย้ายค่ายไปหลายสิบคน อีกทั้งยังคงรอคอยสำนักงานแห่งใหม่ที่สาทร จึงขยับขยายอะไรไม่ได้มาก แต่หากมัวแต่สร้างภาพลักษณ์ มากกว่าการสร้างความแปลกใหม่ในเชิงเนื้อหา ในระยะยาวคนดูจะรู้สึกเบื่อแล้วหันกลับไปดูช่องอื่นที่รู้สึกแปลกใหม่กว่า
หรือจะเป็นวอยซ์ ทีวี แม้ในช่วงข่าวภาคค่ำจะให้ ธีรัตถ์ รัตนเสวี และตวงพร อัศววิไล ขึ้นมาอยู่เบื้องหน้า แต่การรายงานข่าวยังคงตอบสนองต่อกระแสข่าวจากรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับนายทุนช่องคือ พานทองแท้ ชินวัตร และพินทองทา คุณากรวงศ์ บุตรของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
ส่วนการเปิดตัวสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2557 ซึ่งบริหารงานโดยทายาทรุ่นที่สามของผู้ก่อตั้ง “จิตสุภา-วัชร วัชรพล” หลังได้รับใบอนุญาตประมูลทีวีดิจิทัลจาก กสทช. ด้วยมูลค่า 3,360 ล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี เริ่มต้นด้วยการประชัน 5 รายการสุดท้ายที่จะเข้าไปอยู่ในผังรายการที่เรียกว่า “เดอะ ทีวี แบทเทิล” อย่างยิ่งใหญ่
แต่ถึงกระนั้น ผังรายการไทยรัฐทีวีในช่วงแรกๆ ก็ยังไม่แน่น เพราะในช่วงกลางวันยังคงรีรันรายการในช่วงซูเปอร์โปรแกรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการวาไรตี้ แต่ที่น่าตื่นเต้นก็คือ ไทยรัฐทีวีให้ความสำคัญกับรายการข่าวมากถึงร้อยละ 50 และกล้าที่จะเอามาชนกับละครในรูปแบบ “นิวส์โชว์” แตกต่างจากช่องอื่นที่มีรายการข่าวค่ำตั้งแต่เวลา 16.00 น. ด้วยซ้ำ
รายการข่าวของไทยรัฐทีวีมีอยู่ด้วยกัน 3-4 ช่วงต่อวัน ได้แก่ เช้าข่าวชัด เวลา 06.00-09.00 น., ชัดข่าวเที่ยง 12.00-13.00 น., ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีรายการ ชัดทันข่าว เสาร์-อาทิตย์ 09.00-11.00 น. และข่าวสั้น Express News ส่วนในช่วงค่ำของทุกวันจะมีรายการข่าว ไทยรัฐ นิวส์ โชว์ เวลา 19.45-21.45 น. และครบข่าวดึก 23.45-00.30 น.
ในส่วนของรายการ ไทยรัฐ นิวส์ โชว์ ได้ใช้สตูดิโอเสมือน (Virtual Studio) ขนาดใหญ่ เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนฉาก ใช้อิมเมอร์ซีฟกราฟฟิก (Immersive Graphic) แบบสามมิติที่สามารถมองเห็นได้ 360 องศา ประกอบการเล่าเรื่อง และในการพยากรณ์อากาศยังใช้ข้อมูลจาก The Weather Company ซึ่งละเอียดแม้แต่ค่าแสงยูวี
แต่ด้วยความที่ไทยรัฐทีวียังถือเป็นน้องใหม่ในวงการ จึงต้องอาศัยฐานผู้ชมจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่มียอดพิมพ์ 1 ล้านฉบับ ด้วยรายการส่งเสริมการขายที่เรียกว่า “เช้าอ่านสิบ เย็นหยิบแสน” ด้วยการให้ผู้ชมตัดโลโก้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐส่งชิงรางวัลทองคำหนัก 1 แสนบาท จำนวน 30 รางวัล ซึ่งจะจับรางวัลครั้งแรกในเดือนมิถุนายนนี้
การที่ยักษ์ใหญ่ในวงการหนังสือพิมพ์ลงสนามธุรกิจสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะทีวีดิจิทัล ทำให้หลายค่ายต่างหวั่นไหวพอสมควร นักข่าวภาคสนามต่างสำนักรายหนึ่งก็ชื่นชมว่าผลิตรายการข่าวได้ดี เสียอย่างเดียวคือมาช้ากว่าคนอื่น แต่ก็ดีแล้วที่ได้ออกอากาศ ไม่อย่างนั้นคนที่อยู่ข้างในจะถอดใจลาออกกัน เพราะที่ผ่านมาผลิตเองดูกันเอง เสียของเปล่าๆ
ที่เปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือก็คือช่องทีเอชวี(THV) ซึ่งแปลงร่างมาจากช่องทีวีพูลของเจ๊ติ๋ม พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ที่ได้เครือบางกอกโพสต์ซึ่งพลาดหวังจากการประมูลร่วมผลิตข่าวในชื่อ 365 โพสต์นิวส์ ออกอากาศสามช่วงเวลา ได้แก่ 365 Morning News เวลา 06.00-09.00 น., 365 Hot News 12.00-12.30 น. และ 365 Hard News 17.00-18.30 น.
นอกจากนี้ ยังได้ สุภาพ คลี่ขจาย มาจัดรายการเจาะประเด็นร้อน และเครือสยามสปอร์ตผลิตรายการสปอร์ตกูรู และสปอร์ตวาไรตี้ ส่วนทีวีพูลเองจะผลิตรายการข่าวบันเทิง ในสัดส่วนร้อยละ 30 ตั้งแต่รายการ อรุณสวัสดิ์จัดเต็ม, มอร์นิ่งเอนเตอร์เทน, ทีวีพูลไลฟ์, ทีวีพูลเซเล็บสปาย, คลิกมันส์ยันเช้าซึ่งเจ๊ติ๋มระบุว่า กสทช. ให้ข่าวบันเทิงจัดเป็นรายการข่าว
แต่ที่รู้สึกงุนงง คือ ช่องทีเอชวีได้รับใบอนุญาตประเภทช่องข่าว แต่กลับมีละคร ซิทคอม ซีรีส์ วาไรตี้เรียลลิตี้ คอมมาดี้เกมส์โชว์ โดยละครเรื่องสาวน้อยคาเฟ่, ฉันรักผัวเขา, วัยฟิน, สัญญาเมื่อสายันห์, อีพริ้งคนเริงเมือง 2014, 2499 นักเลงอันธพาล, นางโชว์, เลิฟเตอรองค์, โฟร์รูม, อลหม่านบ้านสร้างดาว ฯลฯ ซึ่งแต่ละเรื่องมันไม่ได้เข้ากับช่องข่าวเลย
สำหรับไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลมากถึง 3 ใบ คือ ช่องรายการเด็กและครอบครัว ช่องวาไรตี้ความคมชัดธรรมดา และวาไรตี้ความคมชัดสูง ปรากฏว่ากลับเลือกผลิตคอนเทนต์ที่แยกออกมาจากทีวีอนาล็อกปกติ ทำเอาคนที่อยากดูละครแบบความคมชัดสูงไม่พอใจเพราะคู่แข่งอย่างช่อง 7 ออกอากาศแบบคู่ขนานได้
ช่วงทดลองออกอากาศ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา รายการข่าวช่อง 3 เอสดีในช่วงเย็นตั้งแต่ 16.00-18.00 น. จะเป็นรายการ ท็อปนิวส์วารตี้ (TOP NEWS VARIETY) นำเสนอ10 ข่าวเด่นประจำวันแล้วให้ผู้ชมโหวตผ่าน SMS ออกอากาศพร้อมกับช่อง 3 เอชดีส่วนหลังข่าวในพระราชสำนัก เวลา 20.00 น. จะเป็นช่วง บีอีซี นิวส์ (BEC NEWS)
ต่อด้วยเวลา 21.45 น. จะเป็นรายการ ฮอตนิวส์ (HOT NEWS) กับ กิตติ สิงหาปัด ออกอากาศพร้อมกับช่อง 3 เอชดี ความยาว 15 นาที จากนั้นเป็นรายการวาไรตี้ ต่อด้วยเวลา 23.00 น. จะเป็นรายการ กรุณา ทอล์ค ทูมี (Talk to me) กับ กรุณา บัวคำศรี และเวลา 23.30 น. จะเป็นรายการบีอีซี นิวส์ ทูไนท์ (BEC NEWS TONIGHT)
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557เป็นต้นไป ช่อง 3 เอสดี จะเป็นสถานีข่าวเต็มรูปแบบในทุกช่วงเวลา โดยเพิ่มรายการข่าวตั้งแต่ 06.00-08.00 น. รายการ เป็นข่าวเช้านี้ กับภาษิต อภิญญาวาท และอริสรา กำธรเจริญ และข่าวเที่ยงเปิดประเด็น ตั้งแต่เวลา11.00-13.00 น. ควบคู่ไปกับรายการละคร ซีรีส์ วาไรตี้ต่างๆ
ส่วนช่อง 3 แฟมิลี่ ซึ่งเป็นช่องรายการเด็กและครอบครัว จะมีรายการ”แฟมิลี่ นิวส์ ทูเดย์” (Family News Today) ช่วงเวลา 17.00-18.00 น. โดยสายสวรรค์ ขยันยิ่ง, สุผจญ กลิ่นสุวรรณ, นิรมล เมธีสุวกุล และ คริสโตเฟอร์ ไรท์ ขณะที่รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง และรายการแจ๋ว ในช่องอนาล็อกเดิมจะนำมาออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้
นอกจากนี้ ทราบมาว่า สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรนักเล่าข่าวชื่อดังจะผลิตรายการข่าวในช่อง 3 เอชดี ช่วงเวลา 18.00-19.00 น. ใช้ชื่อรายการ “สรยุทธ ถึงคน ถึงข่าว” ในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 อีกด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นรูปแบบคล้ายกับรายการถึงลูกถึงคน ในช่วงที่ผลิตให้กับ อสมท. และคาดว่าจะเป็นรายการที่สร้างเรตติ้งที่งดงามในบรรดาช่องเอชดี
ขณะที่ช่อง พีพีทีวี (PPTV) ธุรกิจสี่อโทรทัศน์ของตระกูลปราสาททองโอสถ รายการข่าวส่วนใหญ่จะผลิตร่วม เช่น รายการยกทัพข่าวเช้า เวลา 06.00-08.00 น. ร่วมผลิตกับบริษัท ดรีมทีม เน็ตเวิร์ค หรือจะเป็นรายการเข้มข่าวค่ำ เวลา 19.00-20.00 น. ร่วมผลิตกับบริษัท นิวส์ คอนเน็ค ทั้งสองบริษัทเคยเป็นผู้ผลิตรายการข่าวให้กับ ททบ.5 มาก่อน
หลังจากที่มีการเปลี่ยนผ่านรูปแบบจากทีวีอนาล็อก และทีวีดาวเทียม มาสู่ทีวีดิจิทัล สิ่งที่ตามมากับบุคลากรข่าวก็คือภาวะสมองไหลของค่ายสื่อต่างๆ มีทั้งการย้ายค่าย และซื้อตัวบุคลากรข่าว โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บริหาร ผู้อำนวยการ บรรณาธิการ ผู้ประกาศข่าว พิธีกร ผู้สื่อข่าวทีมงานเบื้องหลัง สายงานเทคนิค ช่างภาพ ประสานงานรายการ ฯลฯ
โดยจะเลือกเอาคนที่ “เป็นงาน” มาร่วมงาน ด้วยเหตุผลที่ว่าดึงเข้ามาแล้วก็ทำงานได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลามานั่งฝึกเด็กใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ 6 เดือนถึง 1 ปีกว่าจะเข้าที่เข้าทาง อีกทั้งในช่วงที่ทีวีดิจิทัลออกอากาศ รายการข่าวมีการแข่งขันกันสูงเพื่อเพิ่มเรตติ้งจากฐานคนดูที่มีอยู่ประจำ ยิ่งหากเป็นช่องใหม่ก็หาทางแย่งชิงคนดูจากช่องเดิมให้ได้
ภาวะสมองไหลเกิดขึ้นอย่างหนักกับค่ายสื่ออย่างน้อยสอง-สามค่าย เริ่มจากเครือเนชั่น มีคนไหลออกไปยังค่ายยักษ์ใหญ่จำนวนมาก ตั้งแต่ ประณต วิเลปสุวรรณ ย้ายข้ามห้วยไปอยู่ไทยรัฐทีวี ส่วนผู้ประกาศข่าวสายเศรษฐกิจอย่าง เทพกิจ ฉัตรสุริยาวงศ์, นเรศ เหล่าพรรณราย และสายอาชญากรรมอย่าง พชรปพน พุ่มประพันธ์ ก็ย้ายออกไปอยู่ช่อง 3
ส่วน สมภพ รัตนวลี อดีตบรรณาธิการบริหารเนชั่นแชนแนล ลาออกพร้อมขนทีมงานนับสิบชีวิต ไปทำโปรดักชั่นเฮ้าส์ที่ชื่อ ดรีมทีม เน็ตเวิร์ค แบบเต็มตัว จากที่ก่อนหน้านี้ร่วมกับเนชั่นผลิตรายการให้กับช่อง 5 โดยเฉพาะ บรรจง ชีวมงคลกานต์ กับ วิจิตรา ดวงดี ที่ไปเป็นพิธีกรรายการ ยกทัพข่าวเช้า ทางช่อง พีพีทีวี ก็มีดรีมทีมเน็ตเวิร์คเป็นผู้ร่วมผลิต
ขณะที่ไทยพีบีเอส ผู้ประกาศข่าวแม่เหล็กของช่องอย่าง ประวีณมัย บ่ายคล้อยและ ชัยรัตน ถมยา พร้อมด้วย กมลวรรณ ตรีพงศ์, พิมพ์นารา อรุณโน และ เบญจมาลัญช์ ทิพย์ขันทอง ย้ายไปช่อง 3 ขณะที่ อรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์ อดีตบรรณาธิการรายการตอบโจทย์ ลาออกไปอยู่กับ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา อดีตพิธีกรรายการตอบโจทย์ที่ช่องอมรินทร์ทีวี
ขณะที่ ททบ.5 ผู้ประกาศแม่เหล็กลาออกไปอยู่ทีวีดิจิทัล อย่าง เขมสรณ์ หนูขาว ย้ายไปไทยรัฐทีวีด้วยค่าตัวหลักแสน พร้อมกับ สืบสกุล พันธ์ดี ขณะที่ มนัส ตั้งสุข และกรสุมา เจียมสระน้อย ย้ายไปอ่านข่าวเที่ยงที่พีพีทีวี ทำให้ขณะนี้ททบ.5 ต้องประกาศรับสมัครนายทหารสัญญาบัตรชาย-หญิง ชั้นยศตั้งแต่ร้อยตรีถึงร้อยเอกเป็นผู้ประกาศข่าวไปแล้ว
ด้าน อสมท. นอกจาก เขมทัตต์ พลเดช ที่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ได้ทาบทามให้เข้ามานั่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่แล้ว ยังมี สุระ เกนทะนะศิล อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท. และ หทัยดิส มุ่งถิ่น อดีตผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและวิจัยตลาด อสมท. ถือเป็นมันสมองให้กับช่อง 9 มาเป็นผู้บริหารให้กับพีพีทีวีเรียบร้อย
ขณะที่ พัชระ สารพิมพา อดีตผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นวิทยุ 100.5 ได้ลาออกจาก อสมท. มาอยู่ที่สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ซึ่งเจ้าตัวให้เหตุผลว่า ต้องการมาทำงานให้ ศุทธิชัย บุนนาค ปัจจุบันเกษียณอายุจาก อสมท. มาเป็นประธานบอร์ดสปริงนิวส์จากการชักชวนของ ฉาย บุนนาค เจ้าของโรงพิมพ์ตะวันออก ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สปริงนิวส์
ก่อนหน้านี้ยังมีอดีตลูกหม้อของ อสมท. เข้ามามีบทบาทในสปริงนิวส์มากขึ้น ไล่ตั้งแต่ สุรชา บุญเปี่ยม นักข่าวมือรางวัลของ อสมท. มาดำรงตำแหน่ง Executive News Producer หรือจะเป็น สุวิทย์ บุตรพริ้ง นักจัดรายการวิทยุคลื่น 100.5 อสมท. ดำรงตำแหน่ง Executive News Producer และเป็นพิธีกรรายการไขปมข่าว
ขณะที่สำนักข่าวอิศราเปิดเผยว่า นักข่าวช่อง 9 อสมท. อายุงานประมาณ 3 ปีประจำทำเนียบรัฐบาล วันนี้ได้รับการเสนอค่าตอบแทนจากช่อง 3 อัตราตอบแทน 40,000 บาทต่อเดือนซึ่งหากเป็นเรื่องจริงจะมากกว่าเงินเดือนนักข่าวเครือบางกอกโพสต์ที่ถือว่าสูงที่สุดในตลาดวิชาชีพสื่อสารมวลชน และบรรดาสำนักข่าวต่างๆ ซึ่งอยู่ที่ราว 2 หมื่นบาทต้นๆ
ส่วนเครือบางกอกโพสต์ที่ร่วมผลิตข่าวให้กับช่องทีเอชวี ก่อนหน้านี้ได้ดึงตัว วิลาสินี แวน ฮาเรนเข้ามาดำรงตำแหน่ง Creative program group head and News anchor พร้อมดึงผู้ประกาศข่าวชื่อดัง อาทิ อัครพล ทองธราดล ที่ลาออกจากไทยพีบีเอสแล้วเป็นฟรีแลนซ์ระยะหนึ่ง กับ ศศิวรรณ เลิศวิริยะประภา ที่ก่อนหน้านี้เคยเห็นที่เดลินิวส์ทีวี
นอกจากนี้ยังได้ดึงตัว ศุภชาติ ศุภเมธี จากโมเดิร์นไนน์ทีวี, รัฐวุฒิ มิตรมาก และ กาญจนา ทัพจีน จากเอเอสทีวี และผู้สื่อข่าวภาคสนามที่จำได้ก็มี วีระยุทธ วิริยะสัจจะจิตร จากไทยพีบีเอส, ดารินทร์ สมวงศ์ จาก ทีเอ็นเอ็น 24 รวมทั้งยังได้ดึงดีเจและดารา นางแบบมาดำเนินรายการ อาทิ ผลิตโชค อายนบุตร, พิจิตรา สิริเวชพันธ์, เกียรติยศ เกียรติสูงส่ง ฯลฯ
ขณะที่ไบร์ท ทีวี ของสมชาย รังษีธนานนท์ ผู้ผลิตรายการข่าวห้าหน้าหนึ่ง และบันเทิงห้าหน้าหนึ่ง นอกจากได้อดีตคนข่าวไอทีวีอย่าง วรวีร์ วูวนิช มาเป็นรองกรรมการผู้จัดการสายงานผลิตแล้ว ยังได้ รัชนีวรรณ ดวงแก้ว ซึ่งย้ายมาจากสปริงนิวส์ทำหน้าที่เบื้องหลัง และหลังจากที่วรวีร์มาทำไบร์ททีวีเต็มตัว เธอได้เลิกจัดรายการเอฟเอ็ม 101 ไปแล้ว
อดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการเนชั่นทีวี เคยกล่าวในเฟซบุ๊กส่วนตัวไว้ว่า หากค่ายไหนประกาศตัวว่าจะเป็นสถานีข่าวแต่ทำได้ด้วยเพราะมีเงินเยอะ ตั้งหน้าตั้งตาทาบทามคนหน้าจอของสถานีอื่น หรือพูดแบบไม่ค่อยสุภาพคือซื้อคน ไม่เคยคิดลงทุนสร้างคนเองจะยั่งยืนบนความน่าเชื่อถือของข่าวสารได้อย่างไร
สอดคล้องกับที่ให้สัมภาษณ์ในนิตยสารจีเอ็ม ระบุว่า ตอนนี้สังคมไทยถูกกระแสโฆษณาชวนเชื่อ ว่าช่อง 3 เป็นช่องข่าว ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ เขาวางโพสิชันนิ่งตัวเองไว้แบบนั้น แต่ความเป็นจริงไม่ใช่ ถ้าเป็นช่องข่าว ต้องให้ข่าวมีความสำคัญมากกว่าอย่างอื่น ไม่ใช่ว่าพอมีข่าวด่วนมาในช่วงละคร แต่คุณไม่เคยยกผังเลย แบบนี้จะถือเป็นช่องข่าวได้อย่างไร
ขณะที่บทวิเคราะห์จากสำนักข่าวอิศรา ระบุว่า ภาวะฝุ่นตลบในวงการทีวีดิจิตอลตอนนี้ เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งว่า สื่อหลายค่ายเน้นผู้ประกาศหน้าจอ มากกว่าแข่งขันกันผลิตเนื้อหาสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนและถ้าทีวีเมืองไทย วัดกันที่เปลือกและสายป่านอีกสักพักจะรู้กันว่าใครอยู่ ใครเก็บฉาก
โดยส่วนตัวผมกลับมองว่า ช่องข่าวที่เกิดขึ้นอยู่ดาษดื่นขนาดนี้ นอกจากจะเน้นผู้ประกาศข่าวแล้ว การผลิตเนื้อหาก็สำคัญไม่แพ้กัน แต่เท่าที่ดูกลับพบว่าแต่ละช่องมักจะถนัดแตะข่าวชาวบ้าน ข่าวที่เป็นกระแสสังคม หรือข่าวที่มีผลกระทบกับสังคม แต่มักจะแตะข่าวการเมืองน้อยมาก หรือแตะอย่างระมัดระวังในสถานการณ์ที่ขัดแย้งกันอยู่ในขณะนี้
ในปัจจุบันตลาดสถานีข่าวถูกแบ่งเป็นตลาดนีชมาร์เก็ตมากขึ้น สถานีที่มีความเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองต่างมีฐานผู้ชมเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เอเอสทีวีก็มีฐานผู้ชมที่มีแนวคิดสนับสนุนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดิม เอเชียอัปเดตมีกลุ่มคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย บลูสกายมีกลุ่ม กปปส. และพรรคประชาธิปัตย์
คนกลุ่มนี้หากจะดูข่าวจากช่องทีวีดิจิทัล ต่อให้นำเสนออย่างหลากหลายก็มักจะมองว่าไม่เข้าถึงอารมณ์เมื่อเทียบกับทีวีที่มวลชนแต่ละสีเสื้อติดตามอยู่ จะมีก็แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญที่มักจะหมุนวนไปแต่ละช่อง โดยเฉพาะสถานีข่าวหลักๆ อย่างเนชั่นทีวี สปริงนิวส์ หากสถานีข่าวอื่นๆ ไม่ตัดเข้าข่าวเพื่อตามประเด็นความน่าเชื่อก็จะลดลง
อีกด้านหนึ่ง หากสถานีข่าวแต่ละแห่งยังเล่นประเด็นซ้ำๆ ซากๆ อยู่แทบทุกสถานี สุดท้ายคนดูจะรู้สึกภาวะที่เรียกว่า ภาวะข้อมูลท่วมท้น หรือ Information Overload เพราะทุกวันนี้ไม่ได้เสพสื่อเฉพาะโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ยังมีอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียที่เข้ามามีบทบาทต่อองค์ความรู้ แต่ก็กลายเป็นความรู้ในทำนองรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
ขณะที่คนทำคอนเทนต์ ในเมื่อประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมไม่มีความแปลกใหม่ ยังคงพายเรือวนอยู่ในอ่าง สุดท้ายแล้ววันหนึ่งจะเกิดภาวะที่เราต้องตั้งคำถามว่า “วันนี้จะเอาอะไรไปออกอากาศ” เพราะแม้บางวันจะไม่มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ แต่ทีวีก็ยังออกอากาศแบบเผาเวลากันไป ต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์หรือเว็บไซต์ที่ยังมีความยืดหยุ่นในการนำเสนอได้
ในช่วง 6 เดือนแรกเราจะเห็นทีวีดิจิทัลแต่ละช่องเริ่มก่อร่างสร้างตัว โดยเฉพาะช่องข่าว ก่อนที่ในช่วงปลายปีนี้จะแข่งขันกันไปอย่างน้อยๆ 1-2 ปี ตอนนั้นก็คงเห็นผลแล้วว่าใครจะเป็นดาวเด่น ใครจะเป็นดาวดับ ถึงที่สุดก็กระทบกับสัมปทานที่ กสทช. มอบให้ 15 ปี หากโฆษณาไม่เข้าเป้า ไม่มีเงินจ่าย ก็ต้องเจ๊งกันไปข้าง
ในช่วงการทดลองออกอากาศทีวีดิจิทัล ผู้เล่นที่มาจากทีวีดาวเทียมต่างก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการข่าว เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ กสทช. โดยเฉพาะช่องข่าว ที่ในช่วงสถานการณ์การเมืองร้อนแรงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรายงานสถานการณ์ แต่โดยรวมแล้วรูปแบบการนำเสนอก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก
เนชั่นทีวี ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากช่องเนชั่นแชนแนลเดิม ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2557 พบว่ารูปแบบรายการไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แม้จะมีการเพิ่มเวลารายการข่าวอย่างเก็บตกจากเนชั่นในช่วงเที่ยงและช่วงค่ำก็ตาม นอกจากนี้เมื่อนายกนก รัตน์วงศ์สกุล พิธีกรข่าวชื่อดังมีเรื่องอื้อฉาวจนต้องงดจัดรายการ บางรายการก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
ขณะเดียวกัน หลังการออกอากาศทีวีดิจิทัล ดูเหมือนเนชั่นทีวีจะเน้นกับการสร้างภาพลักษณ์องค์กร ตั้งแต่การเปิดตัวดาวน์ทาวน์สตูดิโอ ที่ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ และเตรียมที่จะย้ายสำนักงานไปอยู่ที่อาคารบางกอกโค้ต สถานีบีทีเอสสุรศักดิ์ ซึ่งมีไบเทคเป็นเจ้าของ และเพิ่งหมดสัญญาเช่ากับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผมเข้าใจดีกว่าช่วงนี้เนชั่นเกิดภาวะสมองไหลไปก่อนหน้านี้ เพราะมือมันสมองย้ายค่ายไปหลายสิบคน อีกทั้งยังคงรอคอยสำนักงานแห่งใหม่ที่สาทร จึงขยับขยายอะไรไม่ได้มาก แต่หากมัวแต่สร้างภาพลักษณ์ มากกว่าการสร้างความแปลกใหม่ในเชิงเนื้อหา ในระยะยาวคนดูจะรู้สึกเบื่อแล้วหันกลับไปดูช่องอื่นที่รู้สึกแปลกใหม่กว่า
หรือจะเป็นวอยซ์ ทีวี แม้ในช่วงข่าวภาคค่ำจะให้ ธีรัตถ์ รัตนเสวี และตวงพร อัศววิไล ขึ้นมาอยู่เบื้องหน้า แต่การรายงานข่าวยังคงตอบสนองต่อกระแสข่าวจากรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับนายทุนช่องคือ พานทองแท้ ชินวัตร และพินทองทา คุณากรวงศ์ บุตรของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
ส่วนการเปิดตัวสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2557 ซึ่งบริหารงานโดยทายาทรุ่นที่สามของผู้ก่อตั้ง “จิตสุภา-วัชร วัชรพล” หลังได้รับใบอนุญาตประมูลทีวีดิจิทัลจาก กสทช. ด้วยมูลค่า 3,360 ล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี เริ่มต้นด้วยการประชัน 5 รายการสุดท้ายที่จะเข้าไปอยู่ในผังรายการที่เรียกว่า “เดอะ ทีวี แบทเทิล” อย่างยิ่งใหญ่
แต่ถึงกระนั้น ผังรายการไทยรัฐทีวีในช่วงแรกๆ ก็ยังไม่แน่น เพราะในช่วงกลางวันยังคงรีรันรายการในช่วงซูเปอร์โปรแกรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการวาไรตี้ แต่ที่น่าตื่นเต้นก็คือ ไทยรัฐทีวีให้ความสำคัญกับรายการข่าวมากถึงร้อยละ 50 และกล้าที่จะเอามาชนกับละครในรูปแบบ “นิวส์โชว์” แตกต่างจากช่องอื่นที่มีรายการข่าวค่ำตั้งแต่เวลา 16.00 น. ด้วยซ้ำ
รายการข่าวของไทยรัฐทีวีมีอยู่ด้วยกัน 3-4 ช่วงต่อวัน ได้แก่ เช้าข่าวชัด เวลา 06.00-09.00 น., ชัดข่าวเที่ยง 12.00-13.00 น., ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีรายการ ชัดทันข่าว เสาร์-อาทิตย์ 09.00-11.00 น. และข่าวสั้น Express News ส่วนในช่วงค่ำของทุกวันจะมีรายการข่าว ไทยรัฐ นิวส์ โชว์ เวลา 19.45-21.45 น. และครบข่าวดึก 23.45-00.30 น.
ในส่วนของรายการ ไทยรัฐ นิวส์ โชว์ ได้ใช้สตูดิโอเสมือน (Virtual Studio) ขนาดใหญ่ เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนฉาก ใช้อิมเมอร์ซีฟกราฟฟิก (Immersive Graphic) แบบสามมิติที่สามารถมองเห็นได้ 360 องศา ประกอบการเล่าเรื่อง และในการพยากรณ์อากาศยังใช้ข้อมูลจาก The Weather Company ซึ่งละเอียดแม้แต่ค่าแสงยูวี
แต่ด้วยความที่ไทยรัฐทีวียังถือเป็นน้องใหม่ในวงการ จึงต้องอาศัยฐานผู้ชมจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่มียอดพิมพ์ 1 ล้านฉบับ ด้วยรายการส่งเสริมการขายที่เรียกว่า “เช้าอ่านสิบ เย็นหยิบแสน” ด้วยการให้ผู้ชมตัดโลโก้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐส่งชิงรางวัลทองคำหนัก 1 แสนบาท จำนวน 30 รางวัล ซึ่งจะจับรางวัลครั้งแรกในเดือนมิถุนายนนี้
การที่ยักษ์ใหญ่ในวงการหนังสือพิมพ์ลงสนามธุรกิจสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะทีวีดิจิทัล ทำให้หลายค่ายต่างหวั่นไหวพอสมควร นักข่าวภาคสนามต่างสำนักรายหนึ่งก็ชื่นชมว่าผลิตรายการข่าวได้ดี เสียอย่างเดียวคือมาช้ากว่าคนอื่น แต่ก็ดีแล้วที่ได้ออกอากาศ ไม่อย่างนั้นคนที่อยู่ข้างในจะถอดใจลาออกกัน เพราะที่ผ่านมาผลิตเองดูกันเอง เสียของเปล่าๆ
ที่เปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือก็คือช่องทีเอชวี(THV) ซึ่งแปลงร่างมาจากช่องทีวีพูลของเจ๊ติ๋ม พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ที่ได้เครือบางกอกโพสต์ซึ่งพลาดหวังจากการประมูลร่วมผลิตข่าวในชื่อ 365 โพสต์นิวส์ ออกอากาศสามช่วงเวลา ได้แก่ 365 Morning News เวลา 06.00-09.00 น., 365 Hot News 12.00-12.30 น. และ 365 Hard News 17.00-18.30 น.
นอกจากนี้ ยังได้ สุภาพ คลี่ขจาย มาจัดรายการเจาะประเด็นร้อน และเครือสยามสปอร์ตผลิตรายการสปอร์ตกูรู และสปอร์ตวาไรตี้ ส่วนทีวีพูลเองจะผลิตรายการข่าวบันเทิง ในสัดส่วนร้อยละ 30 ตั้งแต่รายการ อรุณสวัสดิ์จัดเต็ม, มอร์นิ่งเอนเตอร์เทน, ทีวีพูลไลฟ์, ทีวีพูลเซเล็บสปาย, คลิกมันส์ยันเช้าซึ่งเจ๊ติ๋มระบุว่า กสทช. ให้ข่าวบันเทิงจัดเป็นรายการข่าว
แต่ที่รู้สึกงุนงง คือ ช่องทีเอชวีได้รับใบอนุญาตประเภทช่องข่าว แต่กลับมีละคร ซิทคอม ซีรีส์ วาไรตี้เรียลลิตี้ คอมมาดี้เกมส์โชว์ โดยละครเรื่องสาวน้อยคาเฟ่, ฉันรักผัวเขา, วัยฟิน, สัญญาเมื่อสายันห์, อีพริ้งคนเริงเมือง 2014, 2499 นักเลงอันธพาล, นางโชว์, เลิฟเตอรองค์, โฟร์รูม, อลหม่านบ้านสร้างดาว ฯลฯ ซึ่งแต่ละเรื่องมันไม่ได้เข้ากับช่องข่าวเลย
สำหรับไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลมากถึง 3 ใบ คือ ช่องรายการเด็กและครอบครัว ช่องวาไรตี้ความคมชัดธรรมดา และวาไรตี้ความคมชัดสูง ปรากฏว่ากลับเลือกผลิตคอนเทนต์ที่แยกออกมาจากทีวีอนาล็อกปกติ ทำเอาคนที่อยากดูละครแบบความคมชัดสูงไม่พอใจเพราะคู่แข่งอย่างช่อง 7 ออกอากาศแบบคู่ขนานได้
ช่วงทดลองออกอากาศ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา รายการข่าวช่อง 3 เอสดีในช่วงเย็นตั้งแต่ 16.00-18.00 น. จะเป็นรายการ ท็อปนิวส์วารตี้ (TOP NEWS VARIETY) นำเสนอ10 ข่าวเด่นประจำวันแล้วให้ผู้ชมโหวตผ่าน SMS ออกอากาศพร้อมกับช่อง 3 เอชดีส่วนหลังข่าวในพระราชสำนัก เวลา 20.00 น. จะเป็นช่วง บีอีซี นิวส์ (BEC NEWS)
ต่อด้วยเวลา 21.45 น. จะเป็นรายการ ฮอตนิวส์ (HOT NEWS) กับ กิตติ สิงหาปัด ออกอากาศพร้อมกับช่อง 3 เอชดี ความยาว 15 นาที จากนั้นเป็นรายการวาไรตี้ ต่อด้วยเวลา 23.00 น. จะเป็นรายการ กรุณา ทอล์ค ทูมี (Talk to me) กับ กรุณา บัวคำศรี และเวลา 23.30 น. จะเป็นรายการบีอีซี นิวส์ ทูไนท์ (BEC NEWS TONIGHT)
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557เป็นต้นไป ช่อง 3 เอสดี จะเป็นสถานีข่าวเต็มรูปแบบในทุกช่วงเวลา โดยเพิ่มรายการข่าวตั้งแต่ 06.00-08.00 น. รายการ เป็นข่าวเช้านี้ กับภาษิต อภิญญาวาท และอริสรา กำธรเจริญ และข่าวเที่ยงเปิดประเด็น ตั้งแต่เวลา11.00-13.00 น. ควบคู่ไปกับรายการละคร ซีรีส์ วาไรตี้ต่างๆ
ส่วนช่อง 3 แฟมิลี่ ซึ่งเป็นช่องรายการเด็กและครอบครัว จะมีรายการ”แฟมิลี่ นิวส์ ทูเดย์” (Family News Today) ช่วงเวลา 17.00-18.00 น. โดยสายสวรรค์ ขยันยิ่ง, สุผจญ กลิ่นสุวรรณ, นิรมล เมธีสุวกุล และ คริสโตเฟอร์ ไรท์ ขณะที่รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง และรายการแจ๋ว ในช่องอนาล็อกเดิมจะนำมาออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้
นอกจากนี้ ทราบมาว่า สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรนักเล่าข่าวชื่อดังจะผลิตรายการข่าวในช่อง 3 เอชดี ช่วงเวลา 18.00-19.00 น. ใช้ชื่อรายการ “สรยุทธ ถึงคน ถึงข่าว” ในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 อีกด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นรูปแบบคล้ายกับรายการถึงลูกถึงคน ในช่วงที่ผลิตให้กับ อสมท. และคาดว่าจะเป็นรายการที่สร้างเรตติ้งที่งดงามในบรรดาช่องเอชดี
ขณะที่ช่อง พีพีทีวี (PPTV) ธุรกิจสี่อโทรทัศน์ของตระกูลปราสาททองโอสถ รายการข่าวส่วนใหญ่จะผลิตร่วม เช่น รายการยกทัพข่าวเช้า เวลา 06.00-08.00 น. ร่วมผลิตกับบริษัท ดรีมทีม เน็ตเวิร์ค หรือจะเป็นรายการเข้มข่าวค่ำ เวลา 19.00-20.00 น. ร่วมผลิตกับบริษัท นิวส์ คอนเน็ค ทั้งสองบริษัทเคยเป็นผู้ผลิตรายการข่าวให้กับ ททบ.5 มาก่อน
หลังจากที่มีการเปลี่ยนผ่านรูปแบบจากทีวีอนาล็อก และทีวีดาวเทียม มาสู่ทีวีดิจิทัล สิ่งที่ตามมากับบุคลากรข่าวก็คือภาวะสมองไหลของค่ายสื่อต่างๆ มีทั้งการย้ายค่าย และซื้อตัวบุคลากรข่าว โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บริหาร ผู้อำนวยการ บรรณาธิการ ผู้ประกาศข่าว พิธีกร ผู้สื่อข่าวทีมงานเบื้องหลัง สายงานเทคนิค ช่างภาพ ประสานงานรายการ ฯลฯ
โดยจะเลือกเอาคนที่ “เป็นงาน” มาร่วมงาน ด้วยเหตุผลที่ว่าดึงเข้ามาแล้วก็ทำงานได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลามานั่งฝึกเด็กใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ 6 เดือนถึง 1 ปีกว่าจะเข้าที่เข้าทาง อีกทั้งในช่วงที่ทีวีดิจิทัลออกอากาศ รายการข่าวมีการแข่งขันกันสูงเพื่อเพิ่มเรตติ้งจากฐานคนดูที่มีอยู่ประจำ ยิ่งหากเป็นช่องใหม่ก็หาทางแย่งชิงคนดูจากช่องเดิมให้ได้
ภาวะสมองไหลเกิดขึ้นอย่างหนักกับค่ายสื่ออย่างน้อยสอง-สามค่าย เริ่มจากเครือเนชั่น มีคนไหลออกไปยังค่ายยักษ์ใหญ่จำนวนมาก ตั้งแต่ ประณต วิเลปสุวรรณ ย้ายข้ามห้วยไปอยู่ไทยรัฐทีวี ส่วนผู้ประกาศข่าวสายเศรษฐกิจอย่าง เทพกิจ ฉัตรสุริยาวงศ์, นเรศ เหล่าพรรณราย และสายอาชญากรรมอย่าง พชรปพน พุ่มประพันธ์ ก็ย้ายออกไปอยู่ช่อง 3
ส่วน สมภพ รัตนวลี อดีตบรรณาธิการบริหารเนชั่นแชนแนล ลาออกพร้อมขนทีมงานนับสิบชีวิต ไปทำโปรดักชั่นเฮ้าส์ที่ชื่อ ดรีมทีม เน็ตเวิร์ค แบบเต็มตัว จากที่ก่อนหน้านี้ร่วมกับเนชั่นผลิตรายการให้กับช่อง 5 โดยเฉพาะ บรรจง ชีวมงคลกานต์ กับ วิจิตรา ดวงดี ที่ไปเป็นพิธีกรรายการ ยกทัพข่าวเช้า ทางช่อง พีพีทีวี ก็มีดรีมทีมเน็ตเวิร์คเป็นผู้ร่วมผลิต
ขณะที่ไทยพีบีเอส ผู้ประกาศข่าวแม่เหล็กของช่องอย่าง ประวีณมัย บ่ายคล้อยและ ชัยรัตน ถมยา พร้อมด้วย กมลวรรณ ตรีพงศ์, พิมพ์นารา อรุณโน และ เบญจมาลัญช์ ทิพย์ขันทอง ย้ายไปช่อง 3 ขณะที่ อรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์ อดีตบรรณาธิการรายการตอบโจทย์ ลาออกไปอยู่กับ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา อดีตพิธีกรรายการตอบโจทย์ที่ช่องอมรินทร์ทีวี
ขณะที่ ททบ.5 ผู้ประกาศแม่เหล็กลาออกไปอยู่ทีวีดิจิทัล อย่าง เขมสรณ์ หนูขาว ย้ายไปไทยรัฐทีวีด้วยค่าตัวหลักแสน พร้อมกับ สืบสกุล พันธ์ดี ขณะที่ มนัส ตั้งสุข และกรสุมา เจียมสระน้อย ย้ายไปอ่านข่าวเที่ยงที่พีพีทีวี ทำให้ขณะนี้ททบ.5 ต้องประกาศรับสมัครนายทหารสัญญาบัตรชาย-หญิง ชั้นยศตั้งแต่ร้อยตรีถึงร้อยเอกเป็นผู้ประกาศข่าวไปแล้ว
ด้าน อสมท. นอกจาก เขมทัตต์ พลเดช ที่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ได้ทาบทามให้เข้ามานั่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่แล้ว ยังมี สุระ เกนทะนะศิล อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท. และ หทัยดิส มุ่งถิ่น อดีตผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและวิจัยตลาด อสมท. ถือเป็นมันสมองให้กับช่อง 9 มาเป็นผู้บริหารให้กับพีพีทีวีเรียบร้อย
ขณะที่ พัชระ สารพิมพา อดีตผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นวิทยุ 100.5 ได้ลาออกจาก อสมท. มาอยู่ที่สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ซึ่งเจ้าตัวให้เหตุผลว่า ต้องการมาทำงานให้ ศุทธิชัย บุนนาค ปัจจุบันเกษียณอายุจาก อสมท. มาเป็นประธานบอร์ดสปริงนิวส์จากการชักชวนของ ฉาย บุนนาค เจ้าของโรงพิมพ์ตะวันออก ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สปริงนิวส์
ก่อนหน้านี้ยังมีอดีตลูกหม้อของ อสมท. เข้ามามีบทบาทในสปริงนิวส์มากขึ้น ไล่ตั้งแต่ สุรชา บุญเปี่ยม นักข่าวมือรางวัลของ อสมท. มาดำรงตำแหน่ง Executive News Producer หรือจะเป็น สุวิทย์ บุตรพริ้ง นักจัดรายการวิทยุคลื่น 100.5 อสมท. ดำรงตำแหน่ง Executive News Producer และเป็นพิธีกรรายการไขปมข่าว
ขณะที่สำนักข่าวอิศราเปิดเผยว่า นักข่าวช่อง 9 อสมท. อายุงานประมาณ 3 ปีประจำทำเนียบรัฐบาล วันนี้ได้รับการเสนอค่าตอบแทนจากช่อง 3 อัตราตอบแทน 40,000 บาทต่อเดือนซึ่งหากเป็นเรื่องจริงจะมากกว่าเงินเดือนนักข่าวเครือบางกอกโพสต์ที่ถือว่าสูงที่สุดในตลาดวิชาชีพสื่อสารมวลชน และบรรดาสำนักข่าวต่างๆ ซึ่งอยู่ที่ราว 2 หมื่นบาทต้นๆ
ส่วนเครือบางกอกโพสต์ที่ร่วมผลิตข่าวให้กับช่องทีเอชวี ก่อนหน้านี้ได้ดึงตัว วิลาสินี แวน ฮาเรนเข้ามาดำรงตำแหน่ง Creative program group head and News anchor พร้อมดึงผู้ประกาศข่าวชื่อดัง อาทิ อัครพล ทองธราดล ที่ลาออกจากไทยพีบีเอสแล้วเป็นฟรีแลนซ์ระยะหนึ่ง กับ ศศิวรรณ เลิศวิริยะประภา ที่ก่อนหน้านี้เคยเห็นที่เดลินิวส์ทีวี
นอกจากนี้ยังได้ดึงตัว ศุภชาติ ศุภเมธี จากโมเดิร์นไนน์ทีวี, รัฐวุฒิ มิตรมาก และ กาญจนา ทัพจีน จากเอเอสทีวี และผู้สื่อข่าวภาคสนามที่จำได้ก็มี วีระยุทธ วิริยะสัจจะจิตร จากไทยพีบีเอส, ดารินทร์ สมวงศ์ จาก ทีเอ็นเอ็น 24 รวมทั้งยังได้ดึงดีเจและดารา นางแบบมาดำเนินรายการ อาทิ ผลิตโชค อายนบุตร, พิจิตรา สิริเวชพันธ์, เกียรติยศ เกียรติสูงส่ง ฯลฯ
ขณะที่ไบร์ท ทีวี ของสมชาย รังษีธนานนท์ ผู้ผลิตรายการข่าวห้าหน้าหนึ่ง และบันเทิงห้าหน้าหนึ่ง นอกจากได้อดีตคนข่าวไอทีวีอย่าง วรวีร์ วูวนิช มาเป็นรองกรรมการผู้จัดการสายงานผลิตแล้ว ยังได้ รัชนีวรรณ ดวงแก้ว ซึ่งย้ายมาจากสปริงนิวส์ทำหน้าที่เบื้องหลัง และหลังจากที่วรวีร์มาทำไบร์ททีวีเต็มตัว เธอได้เลิกจัดรายการเอฟเอ็ม 101 ไปแล้ว
อดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการเนชั่นทีวี เคยกล่าวในเฟซบุ๊กส่วนตัวไว้ว่า หากค่ายไหนประกาศตัวว่าจะเป็นสถานีข่าวแต่ทำได้ด้วยเพราะมีเงินเยอะ ตั้งหน้าตั้งตาทาบทามคนหน้าจอของสถานีอื่น หรือพูดแบบไม่ค่อยสุภาพคือซื้อคน ไม่เคยคิดลงทุนสร้างคนเองจะยั่งยืนบนความน่าเชื่อถือของข่าวสารได้อย่างไร
สอดคล้องกับที่ให้สัมภาษณ์ในนิตยสารจีเอ็ม ระบุว่า ตอนนี้สังคมไทยถูกกระแสโฆษณาชวนเชื่อ ว่าช่อง 3 เป็นช่องข่าว ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ เขาวางโพสิชันนิ่งตัวเองไว้แบบนั้น แต่ความเป็นจริงไม่ใช่ ถ้าเป็นช่องข่าว ต้องให้ข่าวมีความสำคัญมากกว่าอย่างอื่น ไม่ใช่ว่าพอมีข่าวด่วนมาในช่วงละคร แต่คุณไม่เคยยกผังเลย แบบนี้จะถือเป็นช่องข่าวได้อย่างไร
ขณะที่บทวิเคราะห์จากสำนักข่าวอิศรา ระบุว่า ภาวะฝุ่นตลบในวงการทีวีดิจิตอลตอนนี้ เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งว่า สื่อหลายค่ายเน้นผู้ประกาศหน้าจอ มากกว่าแข่งขันกันผลิตเนื้อหาสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนและถ้าทีวีเมืองไทย วัดกันที่เปลือกและสายป่านอีกสักพักจะรู้กันว่าใครอยู่ ใครเก็บฉาก
โดยส่วนตัวผมกลับมองว่า ช่องข่าวที่เกิดขึ้นอยู่ดาษดื่นขนาดนี้ นอกจากจะเน้นผู้ประกาศข่าวแล้ว การผลิตเนื้อหาก็สำคัญไม่แพ้กัน แต่เท่าที่ดูกลับพบว่าแต่ละช่องมักจะถนัดแตะข่าวชาวบ้าน ข่าวที่เป็นกระแสสังคม หรือข่าวที่มีผลกระทบกับสังคม แต่มักจะแตะข่าวการเมืองน้อยมาก หรือแตะอย่างระมัดระวังในสถานการณ์ที่ขัดแย้งกันอยู่ในขณะนี้
ในปัจจุบันตลาดสถานีข่าวถูกแบ่งเป็นตลาดนีชมาร์เก็ตมากขึ้น สถานีที่มีความเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองต่างมีฐานผู้ชมเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เอเอสทีวีก็มีฐานผู้ชมที่มีแนวคิดสนับสนุนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดิม เอเชียอัปเดตมีกลุ่มคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย บลูสกายมีกลุ่ม กปปส. และพรรคประชาธิปัตย์
คนกลุ่มนี้หากจะดูข่าวจากช่องทีวีดิจิทัล ต่อให้นำเสนออย่างหลากหลายก็มักจะมองว่าไม่เข้าถึงอารมณ์เมื่อเทียบกับทีวีที่มวลชนแต่ละสีเสื้อติดตามอยู่ จะมีก็แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญที่มักจะหมุนวนไปแต่ละช่อง โดยเฉพาะสถานีข่าวหลักๆ อย่างเนชั่นทีวี สปริงนิวส์ หากสถานีข่าวอื่นๆ ไม่ตัดเข้าข่าวเพื่อตามประเด็นความน่าเชื่อก็จะลดลง
อีกด้านหนึ่ง หากสถานีข่าวแต่ละแห่งยังเล่นประเด็นซ้ำๆ ซากๆ อยู่แทบทุกสถานี สุดท้ายคนดูจะรู้สึกภาวะที่เรียกว่า ภาวะข้อมูลท่วมท้น หรือ Information Overload เพราะทุกวันนี้ไม่ได้เสพสื่อเฉพาะโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ยังมีอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียที่เข้ามามีบทบาทต่อองค์ความรู้ แต่ก็กลายเป็นความรู้ในทำนองรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
ขณะที่คนทำคอนเทนต์ ในเมื่อประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมไม่มีความแปลกใหม่ ยังคงพายเรือวนอยู่ในอ่าง สุดท้ายแล้ววันหนึ่งจะเกิดภาวะที่เราต้องตั้งคำถามว่า “วันนี้จะเอาอะไรไปออกอากาศ” เพราะแม้บางวันจะไม่มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ แต่ทีวีก็ยังออกอากาศแบบเผาเวลากันไป ต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์หรือเว็บไซต์ที่ยังมีความยืดหยุ่นในการนำเสนอได้
ในช่วง 6 เดือนแรกเราจะเห็นทีวีดิจิทัลแต่ละช่องเริ่มก่อร่างสร้างตัว โดยเฉพาะช่องข่าว ก่อนที่ในช่วงปลายปีนี้จะแข่งขันกันไปอย่างน้อยๆ 1-2 ปี ตอนนั้นก็คงเห็นผลแล้วว่าใครจะเป็นดาวเด่น ใครจะเป็นดาวดับ ถึงที่สุดก็กระทบกับสัมปทานที่ กสทช. มอบให้ 15 ปี หากโฆษณาไม่เข้าเป้า ไม่มีเงินจ่าย ก็ต้องเจ๊งกันไปข้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น