จากภาพยนตร์แนวไซไฟแอ็คชั่นจิตสังหารจิตวิเคราะห์ในแบบตะวันตก สู่จิตตานุปัสสนา จิตวิเคราะห์ชั้นสูงในแบบพุทธ
ก่อนอื่นผมขอพูดถึงบทความนี้โดยแยกออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ใน part แรก จะพูดถึงภ.เรื่อง INCEPTION หรือจิตสังหารพิฆาตโลก ในเชิงการวิเคราะห์แบบตะวันตก หรือในแบบที่ผู้กำก้บคริสโตเฟอร์ โนแลนทำหรือสื่อออกมา และในส่วน part หลังจะพูดถึงการอธิบายทางจิตในแบบพุทธว่าเขาอธิบายกันอย่างไร ผู้อ่านสามารถนำไปเปรียบเทียบกันเอง ไม่มีการชี้นำ แต่น่าจะได้ประโยชน์ทั้ง 2 แง่มุมมองที่อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ ซึ่งในส่วนแรกนั้นผู้เขียนพบเห็นบทความการวิเคราะห์วิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง inception ไว้ในเว็บบอร์ดหรือตามบล็อกมากมาย แต่มีอยู่อันนึงเขียนได้อย่างน่าสนใจ จึงขออนุญาตินำมาลงไว้ในบทความนี้ทั้งหมด (ต้องขออนุญาติท่านเจ้าของบทความดังกล่าว เนื่องจากเขามีการสงวนลิขสิทธิ์ไว้ด้วย) เป็นบทความของคุณนวกานต์ ในเว็บบล็อก NAVAGAN BLOG ไปอ่านกันก่อนแล้วค่อยมาว่ากันต่อว่าผู้เขียนคิดเห็นอย่างไรต่อทั้งบทความและตัวภาพยนตร์นั้น เชิญทรรศนาได้เลย
หลังจากประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในด้านของรายได้ และคำวิจารณ์ในแง่ดีมากๆทั้งจากผู้ชมและนักวิจารณ์จาก The Dark Knight จนเป็นที่เชื่อมั่นในฝีมือทั้งจาก Studio และผู้ชมในวงกว้างแล้ว
Christopher Nolan จึงมีโอกาสสร้าง “Project ในฝัน” ให้เป็นจริงเสียที และ Project ที่ว่านั้นก็คือ Inception
Inception เล่าเรื่องราวของ Dom Cobb (Leonardo DiCaprio) และพรรคพวก เหล่าจารชนผู้เชี่ยวชาญในการเข้าไปจารกรรม “ความลับ” ในขณะที่เป้าหมายกำลังฝัน
มาในคราวนี้ Cobb และพรรคพวก กลับต้องทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามนั่นก็คือ การฝังข้อมูล เพื่อ “จุดประกายความคิด (Inception)” ลงในจิตใต้สำนึกของเป้าหมาย เพื่อปลูกฝังให้เป้าหมายมีความคิดในแบบที่ต้องการ ซึ่งถือเป็นงานที่ยากมากๆ
ที่สำคัญงานนี้ยังเป็นการเดิมพันอิสรภาพของ Cobb อีกด้วย
จริงอย่างที่ Cobb บอกกับ Ariadne (หรือ Nolan บอกกับ ผู้ชม) ว่า Idea นั้น มีศักยภาพที่ร้ายกาจมากมายมหาศาล
เพราะถึงแม้ Inception จะเป็นหนังที่ดูสดใหม่มากแค่ไหนก็ตาม แต่ผู้ชมคงสัมผัสได้ว่า Idea เริ่มต้นที่สร้างสรรค์ของหนังนั้น ตัว Nolan เองก็อาจโดน Inception (ทั้งที่ยังตื่น) จากหนังหลายๆเรื่องมาเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น
Waking Life (ฝันซ้อนฝัน, การถูกจองจำในความฝัน)
Eternal Sunshine of the Spotless Mind (การเข้าไปโลดแล่นในจิตใจ)
Open Your Eyes (ความเรือนลางระหว่าง ความจริง กับ ความฝัน)
The Cell (การแชร์ความฝัน)
และที่ขาดไม่ได้ก็คือ The Matrix ที่ Nolan ออกปากเองว่า นี่คือแรงบันดาลใจหลักของงานนี้
นอกจากนี้ในส่วนของเนื้อเรื่องที่ว่าด้วยการจารกรรมและการปฏิบัติการณ์นั้น เราจะพบเห็นความละม้ายคล้ายคลึงกับหนังสายลับอังกฤษอย่าง James Bond ไม่ว่าจะเป็น
- การที่หนังใช้ Location ในหลายประเทศทั่วโลก
- การที่หนังมีสองสาวสวย มารับบทเด่น โดยที่คนหนึ่งดี คนหนึ่งร้าย ไม่ต่างจากสาวๆในหนัง Bond ทั้งหลาย
- ฉาก Action ใน Location หิมะตอนท้ายเรื่อง ที่สัมผัสได้ถึงอารมณ์หนัง Bond
ไม่แปลกใจเลยที่ Nolan เคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาโตมากับ หนังสายลับ 007
และหากพิจารณา “เงื่อนไข” ของโลกแห่งความฝัน โดยเฉพาะในข้อที่ว่า “เวลาในความฝัน จะเดินเร็วกว่าปกติ” เราจะพบว่า เงื่อนไขนี้มันมีความคล้ายคลึงกับลักษณะอันโดดเด่นอย่างหนึ่งของหนัง นั่นก็คือ
เวลาในหนังส่วนใหญ่นั้น กินเวลามากกว่าเวลาที่ฉายจริง
(น่าจะเกิน 99 % จากหนังทั้งหมดที่เคยสร้างกันมาในโลก ที่เป็นแบบนี้)
ตัวอย่างง่ายๆก็คือ Forrest Gump เล่าเรื่องราวที่ยาวนานกว่า 20 ปี ได้ในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงครึ่ง
จึงอาจเปรียบได้ว่า หนัง ก็คือ ความฝัน หรือพูดให้สวยหรูได้ว่า
"ความฝัน" คือ "ภาพยนตร์"
และถ้ามองในแง่ของ “ที่มาที่ไป” ของหนังเรื่องนี้ ประโยคข้างบนก็ยังคงใช้ได้ เนื่องจาก Inception คือ ภาพยนตร์ในฝัน ที่ Nolan อยากทำมานานแล้ว นั่นเอง
ซึ่งเหมือนเป็นการ “แชร์ความฝัน” กับผู้ชม ด้วยการเชื้อเชิญผู้ชมให้เข้ามาโลดแล่นในความฝันของเขาอีกด้วย
ด้วยธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันระหว่าง ความฝัน กับ หนัง
ตัวละครใน Inception อาจเปรียบได้กับ เหล่าบุคลากรหลากหลายหน้าที่ในกระบวนการสร้างหนังได้เช่นกัน
Cobb, The Extractor (ผู้สกัด, ผู้คัดแยก) = ผู้กำกับ หรือ ผู้ตัดต่อ ที่ต้องเลือกเรื่องราว ควบคุมองค์ประกอบทั้งหมด เพื่อนำเสนอ
Arthur, The Point Man (คนชี้จุด, กำหนดเป้า) = ผู้เขียนบท ที่ต้องค้นคว้าหาวัตถุดิบ กำหนดเรื่องราว หรือแก่นสำคัญ
Ariadne, The Architect (สถาปนิก) = คนออกแบบงานสร้าง ควบคุมองค์ประกอบ สภาพแวดล้อม หรือสถานที่ถ่ายทำ ซึ่งอาจหมายถึง ผู้กำกับภาพ ได้อีกด้วย
Eames, The Forger (นักปลอมแปลง) = เหล่านักแสดง ที่ต้องสวมบทบาทต่างๆในหนัง
Yusuf, The Chemist (นักเคมี) = ช่างเทคนิค หรือเทคนิคพิเศษทั้งหลายในหนัง ที่คอยอำนวยความสะดวกให้การทำงานราบรื่น หรือเติมเต็มความสมบูรณ์ของหนัง
Saito, The Tourist (ผู้เที่ยวชม) = ผู้อำนวยการสร้าง ที่จัดสรร บริหารเงินทุนสำหรับงานสร้าง และแน่นอนว่านี่ต้องถือเป็น ผู้เที่ยวชม หรือตรวจเยี่ยมกองถ่ายหนัง และมีอิทธิพลต่อการสร้างมากๆ
แน่นอนว่า Nolan อาจไม่ได้คิดลึกซึ้งอะไรมากนัก และอาจไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ
แต่ก็เห็นได้ชัดว่า โลก “ความฝัน” ใน Inception ก็คือ โลก “ภาพยนตร์” ที่เขาประสบพบเจออยู่เป็นประจำนั่นเอง
ก็อย่างที่บอก Nolan ถูกหนังและชีวิตการทำหนัง Inception เข้าให้แล้ว
อาจมีคำถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว Fischer, Jr., The Mark กับ Mal, The Shade คืออะไร?
สำหรับสองตัวละครนี้อาจมีความหมายเป็นนามธรรมสักนิด
Fischer, Jr., The Mark (เป้าหมาย) = เป้าหมายของตัวหนัง หรืออาจหมายถึง สาระสำคัญที่ผู้สร้างต้องการนำเสนอ หรืออาจเป็น “ตัวจุดประกายความคิด” ให้ผู้ชม ก็ได้
Mal, The Shade (เงา) = ปัญหาลึกๆของตัวผู้กำกับ (หรือผู้กำหนดทิศทางของหนัง) ที่เจ้าตัวไม่กล้าบอกทีมงาน ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อตัวหนังได้ หรืออาจหมายถึง อิทธิพลมืดที่คอยควบคุมการสร้างหนัง ก็เป็นได้
หรือไม่ก็แปลว่า “เมียผู้กำกับ” กันตรงๆนั่นแหล่ะ
เอาหล่ะ กลับมาสู่การวิจารณ์กันบ้าง
Inception เป็นความบันเทิงที่เข้าถึงไม่ยากนัก แต่ก็ไม่ง่ายเกินไปจนดูถูกสมองของผู้ชม ซึ่งนอกเหนือจากความประทับใจในตัวหนังแล้ว ก็ไม่ได้มีประเด็นหนักสมองให้เก็บไปคิดมากนัก
นอกเสียจากว่าใครจะสนใจในรายละเอียดต่างๆของเนื้อเรื่อง, รายละเอียดของกฎเกณฑ์ต่างๆ ในความฝัน หรือกลวิธีในการ Inception ก็คงมีอะไรให้ติดหัวออกไปคิดกันเล่นๆ เนื่องจากหนังเดินเรื่องเร็วพอสมควร
Nolan ยังคงถนัดกับการเล่าเรื่องราว "ตัวละครที่มีความรู้สึกผิดบาปในใจ" ไม่ต่างจากผลงานอื่นๆของเขา เพียงแต่ใน Inception หนังลดระดับความหดหู่ และความตึงเครียดของตัวละครลงไปเยอะทีเดียวเมื่อเทียบกับงานก่อนหน้านี้ทั้งหลาย
หนังไม่ได้ลงลึกในแง่ของการสำรวจจิตใจของมนุษย์ หรือในแง่ของปรัชญาเรื่องจิตใจ หรือความฝัน มากนัก
แต่ก็เป็นผลดีต่อตัวหนังมากกว่าผลเสีย เมื่อพิจารณาว่าเป้าหมายของหนังคือการเป็น หนังขายความบันเทิงประจำ Summer มากกว่าจะวางตัวเป็น หนังดราม่าขายการแสดง หรือ หนัง Sci-fi ขายปรัชญาล้ำลึก
ฉาก Action และ “ฉากโชว์ของ” หลายๆฉากนั้นทำออกมาได้ดีมีระดับ แม้จะไม่ได้สดใหม่ แต่ก็สร้างความตื่นตาตื่นใจได้ดีเยี่ยม
ที่โดดเด่นมากๆ คงหนีไม่พ้น “ฉากเมืองพับได้” กับฉาก “ไร้แรงโน้มถ่วง” ที่ต้องกลายเป็น “ภาพจำ” ของหนังแน่นอน
แต่ฉาก Action ใน Location หิมะขาวโพลนในช่วงท้ายนั้น ดูซ้ำซาก และขาดความสร้างสรรค์ไปหน่อย อีกทั้งตัวละครฝ่ายตัวเอกนั้นก็เก่งกาจมากเกินพอดีจนแทบจะไม่บาดเจ็บเลยซักนัด แม้กลุ่มผู้ร้ายจะยกโขยงมาเป็นกองทัพ (อารมณ์เดียวกับหนัง Bond นั่นแหล่ะ) ซึ่งทำให้อารมณ์ลุ้นเอาใจช่วยตัวละครนั้นมีน้อยเกินไป
แต่หนังก็ชดเชยด้วยการสร้างความลุ้นระทึกให้ผู้ชมโดยอาศัยเนื้อเรื่องที่เน้นไปที่ “การทำงานแข่งกับเวลาที่เหลือน้อยลงทุกที” ซึ่งต้องถือว่าเป็นการชดเชยที่ได้ผลมากๆ
แม้ Inception จะขนทีมนักแสดงมาเยอะมาก แต่หนังก็แชร์ความเด่นให้กับตัวละครทั้งหลายได้อย่างเหมาะสม
DiCaprio ยอดเยี่ยมในบท Cobb หัวหน้าทีม ที่ถือเป็นบทนำของหนัง ซึ่ง DiCaprio สามารถพาหนังไปตลอดรอดฝั่งได้สบายๆ อย่างไรก็ตามบทนี้ไม่ได้เรียกร้องการแสดงที่ลึกซึ้งหรือซับซ้อนมากนัก นี่จึงไม่ใช่ผลงานที่ชื่อของ DiCaprio จะถูกจดจำในฐานะหัวใจหลักของหนัง
Ellen Page เยี่ยมในบท Ariadne ที่เปรียบเสมือนตัวแทนของผู้ชมที่เริ่มเข้าสู่โลกความฝันไปพร้อมๆกัน แต่ก็ทำหน้าที่เป็น Guide นำเที่ยว (ตัวละครที่สร้างเหตุให้มีการอธิบายเรื่องราวต่างๆ) ไปในตัวอีกด้วย
สำหรับนักแสดงคนอื่น ต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองได้ดีและมีเสน่ห์ โดยเฉพาะ Joseph Gordon-Levitt ในบท Arthur และ Tom Hardy ในบท Eames
แต่ที่น่าเสียดายก็คือ ความสามารถของ Cillian Murphy ในบท Fischer, Jr. ที่หนังไม่เปิดโอกาสให้แสดงอะไรมากนัก
Inception ยังไม่ใช่งานที่ลุ่มลึกในระดับเดียวกับงานเก่าๆของ Nolan แต่ก็ถือเป็นงานขายความบันเทิงที่ซับซ้อน และสร้างสรรค์ จนยากที่จะเลียนแบบได้
หนังไม่มีประเด็นหนักๆอย่าง The Dark Knight แต่ก็มีความซับซ้อนและเต็มไปด้วยรายละเอียด แบบเดียวกับ The Prestige
ซึ่งทำให้หนังดูสนุก เข้าถึงไม่ยากนัก แถมยังสร้างความประทับใจ และเป็นความบันเทิงได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
แน่นอนว่าตอนจบของหนังที่เป็น "ปลายเปิด" ให้ผู้ชมไปคิดต่อเอาเองนั้น จะสร้างกระแสความสงสัย ที่อาจส่งผลไปถึงการดูซ้ำ ย่อมเป็นผลดีต่อรายได้ของหนังอีกด้วย
ผู้เขียนบล็อก navagan blog สรุปว่า
Inception คืองานที่ Nolan ต้องการ Incept ผู้ชม
ในช่วงต้นเรื่อง หนังบอกเอาไว้ว่า “ส่วนใหญ่แล้วความคิดแง่บวก ย่อมเติบโตได้ดีกว่าความคิดแง่ลบ”
ซึ่งนี่อาจตอบข้อสงสัยในตอนจบของหนังที่คลุมเครือได้ว่า สรุปแล้วมันจบแบบ “แง่บวก” หรือ “แง่ลบ” กันแน่
เพียงแต่ผู้ชมคงต้องพิจารณาเอาเองว่า “แง่บวก” หรือ “แง่ลบ” ของตัวเอง (หรือของ Cobb) คืออะไร อย่างที่หนังหลายๆเรื่องเคย Incept ตัวเขามาแล้วนั่นเอง
INCEPTION จิตสังหารพิฆาตโลก
แค่การตั้งชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ไม่รู้สึกถึงความประทับใจหรือน่าสนใจแล้ว ยังไม่พิจารณาถึงรายละเอียดในตัวหนังที่ยังมีอะไรติดอยู่ในใจผู้เขียนอยู่ในหลายประเด็นด้วยกัน แรกๆ ไม่คิดอยากจะดูเท่าไหร่ เพราะเบื่อหนังที่มีลีโอนาโด้ ดิคลาปริโอ เล่นเต็มที เป็นเพราะว่า การนั่งชมภาพยนตร์ของคริสโตเฟอร์ โนแลน ทุกเรื่องคุณจะมานั่งชมแบบเพลินๆ ชิลด์ๆ โดยไม่คิดอะไรไม่ได้ ท่านจะไม่มีทางรู้เรื่องรู้ราวอะไรเกียวกับหนังของเขาได้เลย เพราะเอกลักษณ์หรือสไตล์ของหนังเขาแต่ละเรื่องจะมีวิธีเล่าเรื่องที่ไม่เรียงลำดับ 123 ไปตามเหตุการณ์ที่เกิดก่อนหลัง แต่อาจเล่าจาก 3-4-5-1-2 หรือเล่าจาก 2-5-3-1-4 ก็เป็นไปได้ อีกทั้งตัวละครเอกมักมีปมขัดแย้งอยู่ในใจ หรือเป็นโรคจิตอ่อนๆหรือจิตหนัก อยู่ในแทบทุกเรื่อง ทีนี้เรามาลองดูรายชื่อหนังของเขาดูสิว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ที่ท่านผู้อ่านได้เคยผ่านตา งานของเขามาบ้างแล้วกี่เรื่องอะไรบ้าง และเป็นอย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้หรือไม่ ได้แก่่
ภาพยนตร์ขนาดยาว
ฟอลโลว์อิง (Following, 1998) • ภาพหลอนซ่อนรอยมรณะ (Memento, 2000) • อินซอมเนีย เกมเขย่าขั้วอำมหิต (Insomnia, 2002) • แบทแมน บีกินส์ (Batman Begins, 2005) • เดอะ เพรสทิจ ศึกมายากลหยุดโลก (The Prestige, 2006) • แบทแมน อัศวินรัตติกาล (The Dark Knight, 2008) • จิตพิฆาตโลก (Inception, 2010)
ภาพยนตร์ขนาดสั้น แทรันเทลลา (Tarantella, 1989) • ลาร์เซนี (Larceny, 1996) • ดูเดิลบัก (Doodlebug, 1997)
แรกเริ่มเดิมทีไม่ได้รู้มาก่อนว่าหนังเรื่อง INCEPTION เป็นผลงานอีกเรื่องนึงของเขา เพราะไม่ได้ตามงานของเขาเป็นพิเศษ แต่มาได้ยินกิตติศัพท์ถึงความเยี่ยมยอดของภาพยนตร์เรื่องนี้จากตารางบ็อกออฟฟิซหนังทำเงินฤดุกาล summer ปีนี้ 2010 บทวิจารณ์ที่พูดถึงความเยี่ยมยอดของบทภาพยนตร์ และโปรดักชั่นดีไซน์ของหนังที่ทำให้ตื่นเต้นอยากดู แต่แล้วก็เป็นเหมือนทุกเรื่องที่ได้ชมภาพยนตร์ของอีตาคนนี้ คือต้องซื้อเป็น DVD เก็บ เพราะดูรอบเดียวไม่รู้เรื่อง ต้องดูซ้ำหลายรอบเพื่อทำความเข้าใจกับประเด็นของหนังที่ต้องการสื่อ หรือนำเสนอแก่ผู้ชม อีกทั้งเรื่องนี้มีประเด็นพิเศษกว่าเรื่องอื่นๆ ของเขาและของคนอื่นก็คือ หนังพูดถึงประเด็นเรื่องของจิตใจคน ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อนอยู่แล้ว อีกทั้งยังพูดในรายละเอียดลึกลงไปถึงว่าจิตวิเคราะห์ จิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นศาสตร์ด้านจิตวิทยา ที่ผู้เขียนเคยเรียนมา ซึ่งบอกได้เลยว่ายาก และไม่อาจทำความเข้่าใจได้โดยง่ายหากท่านไม่เคยรู้ถึงทฤษฎีนี้มาก่อน ก่อนอื่นผู้เขียนขอนำทฤษฎีจิตวิทยาของซิกมันด์ ฟรอยด์ มาทำความเข้าใจกันก่อน ที่จะไปพูดถึงประเด็นของตัวหนังว่าสื่อสารอะไรให้คนดู และผู้เขียนมีทรรศนะอย่างไรต่อภาพยนตร์เรื่องนี้กัน
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychodynamic Theories) ของฟรอยด์
ทฤษฎี Psychosexual developmental stage ของฟรอยด์
ซิกมุนต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นนักจิตวิทยาชาวยิว เป็นผู้ที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual โดยเชื่อว่าเพศหรือกามารมณ์ (sex) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของมนุษย์ แนวคิดดังกล่าวเกิดจากการสนใจศึกษาและสังเกตผู้ป่วยโ รคประสาทด้วยการให้ผู้ป่วยนอนบนเก้าอี้นอนในอิริยาบท ที่สบายที่สุด จากนั้นให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องราวของตนเองไปเรื่อย ๆ ผู้รักษาจะนั่งอยู่ด้านศีรษะของผู้ป่วย คอยกระตุ้นให้ ผู้ป่วยได้พูดเล่าต่อไปเรื่อย ๆ เท่าที่จำได้ และคอยบันทึกสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าอย่างละเอียด โดยไม่มีการขัดจังหวะ แสดงความคิดเห็น หรือตำหนิผู้ป่วย ซึ่งพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้รักษาได้ข้อมูลที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้ป่วย และจากการรักษาด้วยวิธีนี้เองจึงทำให้ฟรอยด์เป็นคนแร กที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ
1. สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต (eros = life instinct)
2. สัญชาตญาณเพื่อความตาย (thanatos = death instinct)
ฟรอยด์อธิบายว่าสัญชาตญาณทั้ง 2 ลักษณะมีความต้องการทางเพศเป็นแรงผลักดัน ซึ่งบุคคลไม่กล้าแสดงออกมาโดยตรง จึงเก็บกดไว้ในระดับจิตไร้สำนึก (unconscious mind) และได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์มีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิดเรียกว่า “Libido” ซึ่งทำให้บุคคลอยากมีชีวิต อยากสร้างสรรค์และอยากมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศหรือกามารมณ์ (sex) เป็นเป้าหมายคือความสุขและความพอใจ โดยมีอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก เช่น บริเวณปาก ทวารหนัก อวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า อีโรจีเนียส โซน (erogenous zone) ซึ่งความพึงพอใจในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะเป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ฟรอยด์จึงแบ่งขั้นตอนพัฒนาการบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเ ป็น 5 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นปาก (oral stage) มีอายุอยู่ในช่วงแรกเกิดถึง 18 เดือนหรือวัยทารก ความพึงพอใจ
ของวัยนี้จะอยู่ที่บริเวณช่องปาก ทารกพึงพอใจกับการใช้ปากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุข เช่นการดูด กลืน กัด เคี้ยว แทะ กิน เป็นต้น ส่วนใหญ่ทารกจะใช้ปากในการดูดนมแม่ นมขวด ดูดนิ้วมือหรือสิ่งของ ทารกจะพึงพอใจเมื่อความต้องการดังกล่าวได้รับการตอบส นองที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เขาโตขึ้นอย่างยอมรับตนเอง สามารถรักตนเองและผู้อื่นได้ ในทางตรงข้าม หากความต้องการของทารกไม่ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม เช่น เมื่อหิวร้องไห้จนเหนื่อยแต่ไม่ได้นมเลย ได้รับนมไม่เพียงพอ ไม่มีคนสนใจ หรือถูกบังคับให้หย่านมเร็วเกินไป ก็จะส่งผลให้เกิดความคับข้องใจ (frustration) เกิดภาวะ “การติดตรึงอยู่กับที่” (fixation) ได้ และก่อให้เกิดปัญหาทางด้านบุคลิกภาพเรียกว่า “Oral Personality” คือจะเป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะหาความพึงพอใจทางป ากอย่างไม่จำกัด มีลักษณะพูดมาก ชอบดูดนิ้ว ดินสอ หรือปากกาเสมอโดยเฉพาะเวลาที่มีความเครียด นอกจากนี้ยังชอบนินทาว่าร้าย ถากถาง เหน็บแนม เสียดสีผู้อื่น ก้าวร้าว พูดมาก กินจุบกินจิบ ติดเหล้า บุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ อย่างไรก็ตามคนที่มี Oral Personality อาจเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดีมากเกินไปจนไม่สามารถยอมรับความจริงของชีวิต หรืออาจแสดงตนว่าเป็นคนเก่ง ไม่กลัวใคร และใช้ปากเป็นเครื่องมือ
2. ขั้นทวารหนัก (anal stage) มีอายุอยู่ในช่วง 18 เดือน ถึง 3 ปี วัยนี้จะได้รับความพึงพอ
ใจจากการขับถ่าย การที่พ่อแม่เข้มงวดในการฝึกหัดให้เด็กใช้กระโถนและก ารควบคุมให้ขับถ่ายเป็นเวลาตามความต้องการของพ่อแม่ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของเด็ก จะทำให้เกิดความขัดแย้ง จนเป็น fixation ทำให้เกิดบุคลิกภาพที่เรียกว่า “Anal Personality” คือเป็นคนเจ้าระเบียบ เข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น ตระหนี่ หึงหวงคู่สมรสมากเกินไป และมีอารมณ์เครียดตลอดเวลาเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ หรืออาจมีบุคลิกภาพตรงข้าม คือ อาจเป็นคนใจกว้าง สุรุ่ยสุร่าย ไม่เป็นระเบียบ รกรุงรัง
3. ขั้นอวัยวะเพศ (phallic or oedipal stage) อายุอยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ปี ความพึงพอใจของ
เด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กจะสนใจอวัยวะเพศของตน และแสดงออกด้วยการจับต้องลูบคลำอวัยวะเพศ สนใจความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย เด็กผู้ชายจะมีปมเอ็ดดิปุส (oedipus complex) ซึ่งเกิดจากการที่เด็กผู้ชายวัยนี้จะติดแม่ ต้องการเป็นเจ้าของแม่เพียงผู้เดียว ขณะเดียวกันก็ทราบว่าแม่และพ่อรักกัน จึงพยายามเก็บกดความรู้สึกที่อยากเป็นเจ้าของแม่แต่เ พียงผู้เดียว และพยายามทำตัวเลียนแบบพ่อ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “Resolusion of Oedipal Complex” ส่วนเด็กผู้หญิงจะมีปมอีเล็คตรา (electra complex) ซึ่งเกิดจากเด็กผู้หญิงมีความรักพ่อแต่รู้ว่าไม่สามา รถแย่งพ่อจากแม่ได้จึงเลียนแบบแม่ คือ ถือแม่เป็นแบบฉบับพฤติกรรมของผู้หญิง ในขั้นนี้การยอมรับปรากฏการณ์ทางเพศของพ่อแม่ต่อเด็ก วัยนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากพ่อแม่ไม่เข้าใจ เข้มงวดเกินไปจะทำให้เด็กรู้สึกผิด โตขึ้นจะมีปัญหาในเรื่องการรักเพศตรงข้าม ไม่ยืดหยุ่น ขัดแย้งในตนเองอย่างรุนแรง ตำหนิตนเอง ตีค่าตนเองต่ำ ไม่กล้าคิดสิ่งใหม่ ๆ และไม่กล้าถาม
4. ขั้นแฝงหรือขั้นพัก (latency stage) มีอายุอยู่ในช่วง 6 ถึง 12 ปี ฟรอยด์กล่าวว่าเด็กวัยนี้
จะมุ่งความสนใจไปที่พัฒนาการด้านสังคมและด้านสติปัญญ า เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้การมีเหตุผล รู้ผิดชอบชั่วดี สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรียนรู้ที่จะมีค่านิยม ทัศนคติ ต้องการเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวและเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต่อไป เด็กจะเก็บกดความต้องการทางเพศ จะเล่นหรือจับกลุ่มกับเพศเดียวกัน เริ่มมีเพื่อนสนิทกับเพศเดียวกัน สนใจบทบาททางเพศของตน
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (genital stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กเริ่ม
สนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น มีความต้องการทางเพศ ความเห็นแก่ตัวลดลง ต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่ เป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่ ต้องการความสนใจ การยอมรับจากสังคม และมีการเตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่
โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลมี 3 ประการ คือ
1. ตนเบื้องต้น (id) คือ ตนที่อยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มุ่งแสวงหา
ความพึงพอใจ (pleasure seeking principles) และเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล ความถูกต้อง และความเหมาะสม ประกอบด้วยความต้องการทางเพศและความก้าวร้าว เป็นโครงสร้างเบื้องต้นของจิตใจ และเป็นพลังผลักดันให้ ego ทำในสิ่งต่าง ๆ ตามที่ id ต้องการ
2. ตนปัจจุบัน (ego) คือพลังแห่งการใช้หลักของเหตุและผลตามความเป็นจริง (reality
principle) เป็นส่วนของความคิด และสติปัญญา ตนปัจจุบันจะอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ
3. ตนในคุณธรรม (superego) คือส่วนที่ควบคุมการแสดงออกของบุคคลในด้านของ
คุณธรรม ความดี ความชั่ว ความถูกผิด มโนธรรม จริยธรรมที่สร้างโดยจิตใต้สำนึกของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในสังคมและวัฒนธรร มนั้น ๆ ตนในคุณธรรมจะทำงานอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ
การทำงานของตนทั้ง 3 ประการจะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุล
ซิกมุนต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นนักจิตวิทยาชาวยิว เป็นผู้ที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual โดยเชื่อว่าเพศหรือกามารมณ์ (sex) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของมนุษย์ แนวคิดดังกล่าวเกิดจากการสนใจศึกษาและสังเกตผู้ป่วยโ รคประสาทด้วยการให้ผู้ป่วยนอนบนเก้าอี้นอนในอิริยาบท ที่สบายที่สุด จากนั้นให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องราวของตนเองไปเรื่อย ๆ ผู้รักษาจะนั่งอยู่ด้านศีรษะของผู้ป่วย คอยกระตุ้นให้ ผู้ป่วยได้พูดเล่าต่อไปเรื่อย ๆ เท่าที่จำได้ และคอยบันทึกสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าอย่างละเอียด โดยไม่มีการขัดจังหวะ แสดงความคิดเห็น หรือตำหนิผู้ป่วย ซึ่งพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้รักษาได้ข้อมูลที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้ป่วย และจากการรักษาด้วยวิธีนี้เองจึงทำให้ฟรอยด์เป็นคนแร กที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ
1. สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต (eros = life instinct)
2. สัญชาตญาณเพื่อความตาย (thanatos = death instinct)
ฟรอยด์อธิบายว่าสัญชาตญาณทั้ง 2 ลักษณะมีความต้องการทางเพศเป็นแรงผลักดัน ซึ่งบุคคลไม่กล้าแสดงออกมาโดยตรง จึงเก็บกดไว้ในระดับจิตไร้สำนึก (unconscious mind) และได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์มีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิดเรียกว่า “Libido” ซึ่งทำให้บุคคลอยากมีชีวิต อยากสร้างสรรค์และอยากมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศหรือกามารมณ์ (sex) เป็นเป้าหมายคือความสุขและความพอใจ โดยมีอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก เช่น บริเวณปาก ทวารหนัก อวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า อีโรจีเนียส โซน (erogenous zone) ซึ่งความพึงพอใจในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะเป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ฟรอยด์จึงแบ่งขั้นตอนพัฒนาการบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเ ป็น 5 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นปาก (oral stage) มีอายุอยู่ในช่วงแรกเกิดถึง 18 เดือนหรือวัยทารก ความพึงพอใจ
ของวัยนี้จะอยู่ที่บริเวณช่องปาก ทารกพึงพอใจกับการใช้ปากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุข เช่นการดูด กลืน กัด เคี้ยว แทะ กิน เป็นต้น ส่วนใหญ่ทารกจะใช้ปากในการดูดนมแม่ นมขวด ดูดนิ้วมือหรือสิ่งของ ทารกจะพึงพอใจเมื่อความต้องการดังกล่าวได้รับการตอบส นองที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เขาโตขึ้นอย่างยอมรับตนเอง สามารถรักตนเองและผู้อื่นได้ ในทางตรงข้าม หากความต้องการของทารกไม่ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม เช่น เมื่อหิวร้องไห้จนเหนื่อยแต่ไม่ได้นมเลย ได้รับนมไม่เพียงพอ ไม่มีคนสนใจ หรือถูกบังคับให้หย่านมเร็วเกินไป ก็จะส่งผลให้เกิดความคับข้องใจ (frustration) เกิดภาวะ “การติดตรึงอยู่กับที่” (fixation) ได้ และก่อให้เกิดปัญหาทางด้านบุคลิกภาพเรียกว่า “Oral Personality” คือจะเป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะหาความพึงพอใจทางป ากอย่างไม่จำกัด มีลักษณะพูดมาก ชอบดูดนิ้ว ดินสอ หรือปากกาเสมอโดยเฉพาะเวลาที่มีความเครียด นอกจากนี้ยังชอบนินทาว่าร้าย ถากถาง เหน็บแนม เสียดสีผู้อื่น ก้าวร้าว พูดมาก กินจุบกินจิบ ติดเหล้า บุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ อย่างไรก็ตามคนที่มี Oral Personality อาจเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดีมากเกินไปจนไม่สามารถยอมรับความจริงของชีวิต หรืออาจแสดงตนว่าเป็นคนเก่ง ไม่กลัวใคร และใช้ปากเป็นเครื่องมือ
2. ขั้นทวารหนัก (anal stage) มีอายุอยู่ในช่วง 18 เดือน ถึง 3 ปี วัยนี้จะได้รับความพึงพอ
ใจจากการขับถ่าย การที่พ่อแม่เข้มงวดในการฝึกหัดให้เด็กใช้กระโถนและก ารควบคุมให้ขับถ่ายเป็นเวลาตามความต้องการของพ่อแม่ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของเด็ก จะทำให้เกิดความขัดแย้ง จนเป็น fixation ทำให้เกิดบุคลิกภาพที่เรียกว่า “Anal Personality” คือเป็นคนเจ้าระเบียบ เข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น ตระหนี่ หึงหวงคู่สมรสมากเกินไป และมีอารมณ์เครียดตลอดเวลาเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ หรืออาจมีบุคลิกภาพตรงข้าม คือ อาจเป็นคนใจกว้าง สุรุ่ยสุร่าย ไม่เป็นระเบียบ รกรุงรัง
3. ขั้นอวัยวะเพศ (phallic or oedipal stage) อายุอยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ปี ความพึงพอใจของ
เด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กจะสนใจอวัยวะเพศของตน และแสดงออกด้วยการจับต้องลูบคลำอวัยวะเพศ สนใจความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย เด็กผู้ชายจะมีปมเอ็ดดิปุส (oedipus complex) ซึ่งเกิดจากการที่เด็กผู้ชายวัยนี้จะติดแม่ ต้องการเป็นเจ้าของแม่เพียงผู้เดียว ขณะเดียวกันก็ทราบว่าแม่และพ่อรักกัน จึงพยายามเก็บกดความรู้สึกที่อยากเป็นเจ้าของแม่แต่เ พียงผู้เดียว และพยายามทำตัวเลียนแบบพ่อ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “Resolusion of Oedipal Complex” ส่วนเด็กผู้หญิงจะมีปมอีเล็คตรา (electra complex) ซึ่งเกิดจากเด็กผู้หญิงมีความรักพ่อแต่รู้ว่าไม่สามา รถแย่งพ่อจากแม่ได้จึงเลียนแบบแม่ คือ ถือแม่เป็นแบบฉบับพฤติกรรมของผู้หญิง ในขั้นนี้การยอมรับปรากฏการณ์ทางเพศของพ่อแม่ต่อเด็ก วัยนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากพ่อแม่ไม่เข้าใจ เข้มงวดเกินไปจะทำให้เด็กรู้สึกผิด โตขึ้นจะมีปัญหาในเรื่องการรักเพศตรงข้าม ไม่ยืดหยุ่น ขัดแย้งในตนเองอย่างรุนแรง ตำหนิตนเอง ตีค่าตนเองต่ำ ไม่กล้าคิดสิ่งใหม่ ๆ และไม่กล้าถาม
4. ขั้นแฝงหรือขั้นพัก (latency stage) มีอายุอยู่ในช่วง 6 ถึง 12 ปี ฟรอยด์กล่าวว่าเด็กวัยนี้
จะมุ่งความสนใจไปที่พัฒนาการด้านสังคมและด้านสติปัญญ า เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้การมีเหตุผล รู้ผิดชอบชั่วดี สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรียนรู้ที่จะมีค่านิยม ทัศนคติ ต้องการเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวและเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต่อไป เด็กจะเก็บกดความต้องการทางเพศ จะเล่นหรือจับกลุ่มกับเพศเดียวกัน เริ่มมีเพื่อนสนิทกับเพศเดียวกัน สนใจบทบาททางเพศของตน
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (genital stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กเริ่ม
สนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น มีความต้องการทางเพศ ความเห็นแก่ตัวลดลง ต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่ เป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่ ต้องการความสนใจ การยอมรับจากสังคม และมีการเตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่
โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลมี 3 ประการ คือ
1. ตนเบื้องต้น (id) คือ ตนที่อยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มุ่งแสวงหา
ความพึงพอใจ (pleasure seeking principles) และเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล ความถูกต้อง และความเหมาะสม ประกอบด้วยความต้องการทางเพศและความก้าวร้าว เป็นโครงสร้างเบื้องต้นของจิตใจ และเป็นพลังผลักดันให้ ego ทำในสิ่งต่าง ๆ ตามที่ id ต้องการ
2. ตนปัจจุบัน (ego) คือพลังแห่งการใช้หลักของเหตุและผลตามความเป็นจริง (reality
principle) เป็นส่วนของความคิด และสติปัญญา ตนปัจจุบันจะอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ
3. ตนในคุณธรรม (superego) คือส่วนที่ควบคุมการแสดงออกของบุคคลในด้านของ
คุณธรรม ความดี ความชั่ว ความถูกผิด มโนธรรม จริยธรรมที่สร้างโดยจิตใต้สำนึกของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในสังคมและวัฒนธรร มนั้น ๆ ตนในคุณธรรมจะทำงานอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ
การทำงานของตนทั้ง 3 ประการจะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุล
ประเด็นที่หนังนำเสนอแก่ท่านผู้ชมนั้นแปลกแหวกแนวไม่เคยมีมาก่อน ดังนี้
1.เราสามารถเข้าไปจารกรรม (ขโมย) ความลับในสมองของศัตรู หรือคู่ขัดแย้งหรือคู่แข่งทางธุรกิจ ได้หรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจะเป็นประโยชน์แก่ใครบางคน ซึ่งเป็นผู้จ้างวาน และตัวพระเอกในเรื่องมีอาชีพรับจ้างจารกรรมข้อมูลในสมองของคน
2.เราสามารถเข้าไปเปลี่ยนความคิดของคน (ในที่นี้ภาพยนตร์กล่าวถึงคนที่เป้าหมายที่ผู้จ้างวานต้องการ) โดยเข้าไปเปลี่ยนที่ระดับจิตใต้สำนึกของคน อันอาจจะมีผลไปถึงการเปลี่ยนความคิดของคนได้ ข้อนี้ท้าทายต่อทฤษฎีจิตวิทยาที่เราท่านเคยได้ร่ำเรียนมาแน่นอน และยังไม่มีผลงานวิจัยใดๆ ในโลกพิสูจน์ว่าทำได้ และถ้าทำได้จริง ผลของมันจะมากมายเกินกว่าเป้าประสงค์ของผู้จ้างวานเสียอีก
3.หนังได้นำเสนอวิธีการที่จะเข้าไปเปลี่ยนความคิดในระดับจิตใต้สำนึกของคน โดยวิธีการหลายแบบ แต่ในเรื่องเน้นไปที่วิธีการเข้าไปเปลี่ยนในช่วงความฝันของคน โดยมีเครื่องมือที่สามารถเข้าไปบังคับให้คนเราหลับ โดยช่วงที่คนเราหลับจิตใต้สำนึกยังทำงานอยู่ และใช้เครื่องมือดังกล่าวเข้าไปเปลี่ยนแปลง หรือควบคุมความฝันของเราให้เป็นจินตนาการในแบบที่เราต้องการได้ อีกทั้งในระดับของการหลับของคนเรานั้น มีการหลับในระดับที่แตกต่างกันได้ หลายระดับ บางคนหลับลึก บางคนกึ่งหลับกึ่งตื่น หรือบางคนหลับได้ไม่สนิท ปลุกได้ง่าย บางคนหลับลึกเหมือนตาย ต้องใช้วิธีการปลุกที่หนักหน่วงจึงจะตื่นได้ เช่น ในหนังช่วงที่พระเอกหลับลึก กำลังเข้าไปจารกรรมข้อมูลความลับในสมองของศัตรู ก็ปรากฎเหตุุการณ์ที่กำลังจะเอาชีวิตพระเอก จนผู้ช่วยของพระเอกที่กึ่งหลับกึ่งตื่น และรู้เหตุการณ์ต้องปลุกพระเอกด้วยการผลักพระเอกลงไปในสระน้ำให้พระเอกเปียกทั้งตัว จึงตื่นแล้วเอาตัวรอดจากเหตุุการณ์จริงได้
4. ประเด็นฝันซ้อนฝัน ก็เป็นอีกประเด็นที่หนังพยายามนำเสนอ ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งเป็นอีกวิธีการที่เข้าไปเปลี่ยนความคิดในระดับจิตใต้สำนึกของคน ในอีกขั้นที่ถือว่าเป็นขั้นสูงที่สุด ผมว่าถ้าคนเราสามารถทำได้อย่างในประเด็นในหนังนำเสนอได้จริง คนเราต้องเสียสติและเป็นบ้าเสียยิ่งกว่าดูดกัญชา เสพยาเสพติดเสียอีก เพราะจะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือ่โลกจริง อะไรคือโลกจำลองที่จิตใต้สำนึกเราจินตนาการขึ้นมาเอง
และเพราะโปรดักชั่นดีไซน์ของหนังเรื่องนี้โดดเด่นมาก รวมถึงประเด็นที่นำเสนอออกมา จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบกับหนังเรื่อง The Metrix ที่เป็นหนังไซไฟในตำนานที่ปฏิวัติวงการภาพยนตร์ไปอีกขั้นนึงทั้งโปรดักชั่นดีไซน์และประเด็นนำเสนอได้อย่างแหลมคมที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่กับเรื่อง INCEPTION น่าจะเป็นการต่อยอด หรือลงลึกในประเด็นที่ The Metrix ไม่ได้กล่าวถึง หรือประเด็นที่ลงลึกมากขึ้นไปอีกในระดับadvance ถึงได้บอกตั้งแต่ต้นแล้วว่าการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ท่านผู้ชมจะต้องใช้ความสามารถมาก ในการวิเคราะห์และคิดตามประเด็นของตัวหนัง และทำความเข้าใจมากขึ้นกว่าหนังทั่วไป หรือที่เรียกแบบชาวบ้านว่า ดูแล้วเหนื่อย คนละรูปแบบกับการดูหนังของคุณ
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับคำว่า “จิตใต้สำนึก” กันก่อน จิตใต้สำนึก หมายถึง
จิตใต้สำนึก คือ แหล่งข้อมูล แหล่งความทรงจำ และเป็นสิ่งที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท การตอบสนองของอารมณ์ เราอาจเปรียบเทียบสมองของเราเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ จิตสำนึกคือความทรงจำบนหน้าจอ(RAM) และจิตใต้สำนึกคือระบบความจำในเครื่อง(HARD DRIVE) และคนส่วนมามักไม่รู้จักวิธีที่จะดึงเอาข้อมูลในฮาร์ด ไดรฟ์มาใช้ประโยชน์ ทุกวันนี้เราทำงานและดำรงชีวิตอยู่ด้วยการใช้ข้อมูลเพียงจากระบบความจำบนหน้าจอ หรือจากจิตสำนึกเท่านั้นเอง เราจึงอธิบายปรากฏการณ์หลายอย่างไม่ได้ที่เกิดขึ้นกับความคิด ความทรงจำ อารมณ์ และการตอบสนองทางจิตของตัวเราเอง จิตใต้สำนึก ณ ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของใจจากพจนานุกรรม โดย ชุลีพร สุวรรณ ถ้าว่าตามหลักของจิตวิเคราะห์ จิตใต้สำนึกเป็นสิ่งที่สั่งสมอยู่ภายในจิตใจของเราโดยป็นสิ่งทีเราไม่รู้ตัว ว่ากันว่าจิตใต้สำนึกนั้นมีปริมาณมากกว่าจิตสึกนึกมาทีเดียวเปรียบเสมือนก้อนภูเขาน้ำแข็งที่มีส่วนที่โผล่เหนือน้ำซึ่งหมายถึงจิตสำนึกเพียงแค่หนึ่งในสิบส่วนเท่านั้น จิตใต้สำนึกอาจเป็นความคิดประสบการณ์หรือสัญชาตญาณที่เรากดเก็บไว้ภายในใจโดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกฏเกณฑ์ทางสังคม หรือเป็นกลไกลป้องกันทางจิตใจของตนเอง อย่างไรก็ตามการที่มันเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นก็แสดงว่าเราไม่เข้าใจ ยิ่งส่วนที่เราไม่เข้าใจมากเท่าไหร่มันก็แสดงว่าเรามองไม่เห็นกระทั่งตัวตนของตนเอง ทำให้เราไม่สามารถที่จะดึงความสามารถที่ซ่อนเร้นมาใช้ หรือเห็นข้อบกพร่องที่มีอยู่เพื่อพัฒนาตนเองได้ และแม้แต่บางครั้งเราก็ยึดติดอยู่กับสิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึกโดยไม่รู้ตัว สิ่งที่จะช่วยเราได้ถ้าเชื่อตามกลวิธีของฝรั่งก็คงต้องไปพบนักจิตวิเคราะห์ แต่สำหรับความคิดของผมการฝึกสติการเจริญสมาธิ คอยหมั่นสำรวจใจตนเองโดยปราศจากอคติอยู่อย่างสม่ำเสมอ การยอมรับความเป็นจริงทั้งหมดที่เข้ามาอย่างอ่อนน้อม ก็น่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราจะเข้าใจตนเองอย่างชัดเจนได้
"จิตใต้สำนึกนั้นควบคุมกระบวนการสำคัญของร่างกาย และล่วงรู้คำตอบแห่งปัญหาทั้งหลาย อะไรก็ตามที่คุณประทับลงบนจิตใต้สำนึก จะปรากฏออกมาในฐานะประสบการณ์ สภาวะและเหตุการณ์ต่างๆ กฏแห่งพฤติกรรมและปฏิกิริยาสนองตอบนั้นเป็นสากล ความคิดของคุณคือพฤติกรรม ส่วนปฏิกิริยาสนองตอบคือ การตอบรับโดยอัตโนมัติของจิตใต้สำนึกที่มีต่อความคิด ฉะนั้นจงระวังความคิดให้ดี" คำกล่าวของ ศาสตราจารย์ โจเซฟ เมอร์ฟี่ ผู้เขียนหนังสือ พลังจิตใต้สำนึก The Power of your Subconscious Mind
การที่หนังเรื่อง INCEPTION นำเสนอประเด็นต่างๆ ที่เล่ามาแล้วทั้งหมดต้องถือว่าเยี่ยมยอดที่สุดแล้วในความเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดซึ่งเป็นชาวตะวันตกคนนึง แต่มันจะเจ๋็งกว่าหลายเท่าหากตัวผู้กำกับเข้าใจเรื่องจิตวิเคราะห์แบบพุทธ หรือชาวตะวันออก ที่มีมุมมองด้านจิตที่ลึกซึ้งกว่า และเรื่องจิตในแบบพุทธ เป็นเรื่องนามธรรมที่อธิบายให้เข้าใจยาก ต้องปฏิบัติจริงจึงจะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ และถ้าหากคุณคริสโตเฟอร์ โนแลน สามารถนำเอาประเด็น หรือจิตวิเคราะห์ในแบบพุทธศาสนา ไปเล่าเรื่อง อธิบาย หรือสร้างเป็นภาพยนตร์ในมุมมองแบบพุทธ ก็คงจะเจ๋งกว่าหลายเท่า และอาจกลายเป็นภาพยนตร์ที่สร้างให้ชาวโลกได้เข้าใจถ่องแท้ถึงจิตมนุษย์ในระดับฐานรากจริงๆ ผู้เขียนขอยกข้อความบางตอนในหนังสือชื่อ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เขียนโดย ทพ. สม สุจีรา มาเสริมความหนักแน่นของบทความนี้ ดังนี้ “จิต” เป็นปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงกับ “ร่างกาย” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สมอง” ซึ่งเปรียบเสมือนฮาร์ดแวร์ และจิตเป็นซอฟท์แวร์ เมื่อใดที่ฮาร์ดแวร์หรือสมองบกพร่อง ด้วยอุบัติเหตุหรือโรคทางร่างกาย แม้ว่าจิตของผู้นั้น จะสมบูรณ์เพียงใด การแสดงออกของบุคคลนั้นก็มิอาจกลับมาเป็นได้ดังเดิม สมองของมนุษย์เป็นประดิษฐกรรมของธรรมชาติ ที่ซับซ้อนมหัศจรรย์ที่สุดในจักรวาล ดังนั้น ความผิดปกติที่เกิดกับสมองจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อ “จิต” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จิตมีความไวสูงมาก และเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ในหนึ่งวินาที จิตจะเกิดดับนับล้านๆ ครั้ง และเมื่อจิตดวงใหม่เกิดขึ้น เมื่อมีการแปรเปลี่ยนขององค์ประกอบภายในจิตร่วมกับความไวในการเกิดดับ ทำให้ภายในช่วงแค่นาที เราสามารถมีอารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้นได้มากมาย และแม้ในบางครั้งจะไม่มีรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเกิดขึ้นจริง ๆ จิตก็ยังสามารถสร้างความรู้สึกขึ้นมาได้โดยกระบวนการย้อนกลับ ยกตัวอย่าง เช่น ในความฝัน จิตสามารถสร้างภาพ รับอารมณ์ความรู้สึกออกมาเป็นเรื่องเป็นราว เหมือนกับความจริง แม้ไม่ได้มีผัสสะที่แท้จริงเกิดขึ้นเลยก็เกิดเวทนาได้ นี่คือตัวอย่างของข้อความบางตอนของหัวข้อความมหัศจรรย์ของจิต ในหนังสือไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เล่ม 1 อีกประเด็นนึงที่่น่าสนใจในหนังสือเล่มดังกล่าว มีข้อความที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ พูดถึงสตีเฟ่น ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ของโลกอีกคนนึง ดังนี้ นอกจากอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์แล้ว สตีเฟ่น ฮอว์คิง ก็ยืนยันว่า อดีตและอนาคตไม่มีจริง แต่ที่เขาสงสัยอยู่อย่างมากก็คือ ทำไมสมองมนุษย์จึงจำแต่เรื่องในอดีตได้ แต่จำอนาคตไม่ได้ เมื่อเกิดปัญญาผ่านญาณ เข้าใจการเกิดดับ เข้าใจอดีต-อนาคต จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องกฎแห่งกรรม ชาติภพ ฯลฯ อย่างแจ่มแจ้ง จนไม่มีความสงสัยใดๆ เหลืออยู่ คำถามที่เคยถามกัน อย่างเช่น ตายแล้วไปไหน กรรมมีจริงหรือ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ฯลฯ จะได้รับคำตอบอย่างถ่องแท้ แต่ความเข้าใจในระดับภาวนาปัญญาญาณ จะอธิบายเล่าให้ผู้อื่นเข้าใจไปด้วยไม่ได้ ถ้าอยากจะรู้ต้องปฏิบัติให้ถึงจุดนั้นด้วยตัวเอง เพราะแม้แต่การเข้าถึงทางกายภาพ อย่างเช่น เราไปอะแลสกา มา เราจะกลับมาเล่าให้คนที่ไม่เคยไปรู้สึกและเข้าใจเหมือนกับเรา เป็นไปไม่ได้เลย นี่ขนาดโลกเดียวกันแท้ๆ แล้วนับประสาอะไรกับการพยายามจะไปอธิบายความเข้าใจที่เกิดจากปัญญาญาณ ซึ่งอยู่เหนือโลก 3 มิติ ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ จักรวาลใน 4 มิติ มีอะไรที่เหนือกว่าความสามารถในการเข้าใจของมนุษย์ทั่วไปมากมายนัก แม้แต่ไอน์สไตน์ซึ่งเป็นผู้เปิดประตูมิติที่ 4 (เรื่องเวลา) ให้ชาวโลกรู้จักผ่านทฤษฎีสัมพัทธภาพ เขายังหาทางอธิบายทฤษฎีของเขาให้คนทั่วไปเข้าใจไม่ได้ แม้ว่าเขาจะยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีนี้ิ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเขาเคยรำพึงรำพันออกมาว่า “ถ้าทฤษฎีสัมพัทธภาพจะมีข้อบกพร่อง ข้อบกพร่องเพียงเรื่องเดียวที่มันจะมีก็คือ มันทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและตามไม่ทัน” นี่เป็นบางส่วนของข้อความในหัวข้อ การเกิด-ดับ ในหนังสือชื่อเดียวกัน ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เล่ม 1
ความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงของจิต จิตนี้เดิมแท้ประภัสสร ไม่มีมลทิน เป็นขันธ์ 5 ที่บริสุทธิ์ แต่ก็ไม่่่มีสติรู้ ไม่มีปัญญารักษา ดังนั้น พอชีวิตนี้เจริญเติบโต สังขารล่วงตามกาลผ่านวัยไป ความพอใจ ความไม่พอใจ ความคิด ความหวัง ความรัก ความชัง ได้ย่างกรายเข้ามาในจิตบ่อยครั้งขึ้น กระทบผัสสะแล้วก่อให้เกิดเวทนา ถูกใจก็เป็นสุขใจ ไม่ถูกใจก็เป็นทุกข์ หรือบางครั้งก็เฉยๆ ไม่สนใจด้วยซ้ำ ธรรมชาติเหล่านี้คือผัสสะ รู้สึกได้ด้วยใจหรือมีวิญญาณในอายตนะนั้น ๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยให้เกิด แล้วพอสิ้นเหตุปัจจัยมันก็ดับ บางครั้งการกระทบผัสสะจบไปแล้ว แต่ความพอใจ ความไม่พอใจ ความกังวลสงสัย ไม่แน่ใจก็ยังค้างคาติดอยู่ในใจ มันอยู่ในรูปลักษณ์เมล็ดพันธุ์แห่งทุกข์ พร้อที่จะงอกใหม่ ถ้าเหตุปัจจัยเหมาะสมแล้วก็เริ่มโตขึ้น เป็นรัก เป็นปรารถนา เป็นตัณหา เป็นกาม เป็นความผูกพัน เป็นการสร้างเหตุปัจจัย เป็นบ่วงตัวใหม่ ผูกพันจิตเราให้แน่นหนายิ่งขึ้น จนถึงขั้นที่เรียกว่า “อุปาทาน” หมักหมมตกตะกอนอยู่ในจิตเรียกว่า “อนุสัย” เป็นอัตตลักษณ์(อัตตา) ส่วนตัวไปเลย ดังนั้น ความเข้าใจที่ถูกต้องหรือสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้นก็คือ จิต จิตนี้เดิมไม่มีอะไรหรือไม่ได้มีอะไรอยู่ในจิต เป็นจิตว่าง ไม่มีความนึกคิดปรุงแต่ง ไม่มีความสำคัญมั่นหมายที่เป็นอัตตาตัวตนแต่อย่างใด จิตตะคอยทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รู้อารมณ์เท่านั้น แม้ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดภายหลังการกระทบผัสสะขณะจิตหนึ่งๆ หากไม่มีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เข้าปรุงอารมณ์ให้เกิดรสชาติ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นก็ยังจะเป็นขันธ์ 5ที่บริสุทธิ์อยู่นั่นเอง คือรู้เห็นเข้าใจในทุกสิ่งที่ผัสสะว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป รับรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามความเป็นจริงปรากฏแจ่มแจ้งในจิตอยู่อย่างนั้น เห็นตามความเป็นจริงในจิตล้วนๆ ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง (ข้อความทั้งหมดมาจากหนังสือชื่อ การรู้ธรรมแบบรู้แจ้ง เขียนโดย ส.มหาปัญโญภิกขุ หลวงตาวัดป่าโสมพนัส สกลนคร)
ดังนั้น หากคนเราจะทำให้ตัวเองพ้นทุกข์ และมีความสุขได้นั้น ก็เพียงแต่ทำให้จิตของตนเองเป็นจิตว่าง เหมือนตอนที่ยังไม่เกิด (สนธิ) ออกมาจากครรภ์มารดา เท่านั้นเอง เป็นจิตที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง วิธีการก็คือการเจริญสติ ทำวิปัสสนากรรมฐาน หรือที่วงการศาสนาพุทธ เรียกว่า ทำสติปัฎฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) ซึ่ง จิตตานุปัสสนา ก็เป็น 1 ใน 4 หนทางที่จะทำสติปัฏฐาน 4 จิตตานุปัสสนา คือการกำหนดสติพิจารณาจิต มีสติพิจารณาความเป็นไปของจิตว่า ขณะนี้จิตของเรามีราคะ โทสะ โมหะ หรือมีความฟุ้งซ่าน มีความนึกคิดต่างๆ กำหนดรู้อย่างนี้ มีสติตั้งมั่นไม่เอนเอียงไปตามอารณ์ของจิต ย่อมจะรู้เท่าทันว่าจิตก็เป็นเพียงสักวาจิตเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่การเกิดดับของจิตจะไวกว่าเวทนา ต้องใช้กำลังสมาธิที่สูงกว่า (ข้อความบางส่วนของหนังสือชื่อ ไอน์สไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็น เล่ม 1)
คนเราศึกษาเรื่องจิตไปทำไม หากมิใช่เพื่อต้องการหลุดพ้น หรือยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น คงไม่มีใครคิดที่จะศึกษาจิตเพื่อที่จะคิดไปทำลายล้างหรือนำไปใช้ทำร้ายผู้อื่นหรอก ถ้าทำเช่นนั้นก็มิใช่เป็นการยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น
คนเราศึกษาเรื่องจิตไปทำไม หากมิใช่เพื่อต้องการหลุดพ้น หรือยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น คงไม่มีใครคิดที่จะศึกษาจิตเพื่อที่จะคิดไปทำลายล้างหรือนำไปใช้ทำร้ายผู้อื่นหรอก ถ้าทำเช่นนั้นก็มิใช่เป็นการยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น
ผู้เขียนขอแนะนำว่า ถ้าท่านผู้อ่านสนใจจะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของจิตอย่างลึกซึ้ง ถึงฐานรากของพุทธศาสนาแล้วหล่ะก็ ควรศึกษาเพิ่มเติมได้จากหลายแหล่ง ทั้งหนังสือที่ผู้เขียนนำมาอ้างอิง และหนังสือที่ว่าด้วยการดับทุกข์ เรื่องกรรม เรื่องการเจริญสติ เรื่องวิปัสสนา ต่างๆ มากมายในร้านหนังสือชั้นนำ ปัจจุบันกระแสเรื่องพุทธศาสนา กำลังเป็นที่สนใจทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก คนดังในระดับโลกหันมานับถือพุทธศาสนามากมาย และหนังสือเกี่ยวกับธรรมะ เป็นหนังสือในหมวดขายดี หรือ best seller มากมาย ไม่เชื่อลองแวะเฉียดเข้าไปในร้านหนังสือดู ท่านจะรู้ทุกคำถาม คำตอบอย่างละเอียด หนังเรื่อง INCEPTION นั้นจุดกระแสให้คนหันมาสนใจทั้งเรื่องจิตวิทยา และพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก น่ายินดีและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น