วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปัดฝุ่นตู้เพลงในดวงใจ


เรื่องเล่า ความทรงจำวัยเด็ก ดนตรีในดวงใจ มันเริ่มมาจากตอนอายุกี่ขวบก็ไม่ทราบ สำหรับความชอบในเรื่องดนตรีของผม จำได้ว่าตอนอายุ 7-8 ขวบ เพิ่งรู้ความก็ได้ยินเพลง เซียวบ๊ะจั่งคู่กับเถียนมี่มี่ ซึ่งเป็นเพลงจีนของเติ้งลี่จวิน ดังแว่วมาจากข้างบ้าน เวลามีเทศกาลไหว้ขนมบ๊ะจั่ง แต่จำได้ว่าเพลงไทยเพลงแรกที่ติดหู และร้องคลอตามได้เป็นเพลงแรกในชีวิตเป็นเพลงไทยลูกทุ่งคือเพลงสาวอีสานรอรัก ของอรอุมาสิงห์ศิริ  “น้องเป็นสาวขอนแก่น ยังบ่เคยมีแฟน บ้านอยู่แดนอีสาน น้องเป็นสาววัยอ่อน ได้แต่นอนตะแคง ยามเมื่อแรมฝันหวาน จะมีชายใด ไผแดต้องการ......” พอเมื่ออายุย่างเข้า 10 ขวบ ก็เริ่มรู้จักฟังเพลงเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น และด้วยความที่มีพี่ชาย 2 คนที่สนิทกัน พี่ชายคนโตนิยมฟังเพลงลูกกรุงและลูกทุ่ง ส่วนพี่คนรอง นิยมฟังเพลงสากล และเพลงสตริง ส่วนคุณพ่อและพี่สาวผม ชอบฟังเพลงงิ้วและเพลงจีนสากล ทำให้ผมได้รับอิทธิพลซึมซับการฟังเพลงหลากหลายแนวมาตั้งแต่เด็กโดยไม่รู้ตัว และโดยที่ความที่ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นคนชอบดนตรี คลั่งดนตรีขนาดไหนของตนเอง ในวัยเด็กหากมีงานเลี้ยงปีใหม่ หรืองานวัดที่ใด หากมีการแสดงดนตรี ตัวเองก็จะขอให้พี่ชาย พี่สาว พาไปดู ไปแอบดูข้างเวทีก็ยังดี ครั้งหนึ่งมีการแสดงเปิดวิกลูกทุ่งของศรชัย เมฆวิเชียร และสายัณห์ สัญญา ในงานวัดแถวบ้านก็ตื๊อพี่ๆ ที่บ้านให้พาไปดู และนั่นกระมังเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมรู้ว่าผมเป็นคนชอบดนตรี สมัยเรียนประถม และมัธยม ก็ถนัดไปนั่งร้องรำทำเพลง หัดเล่นกีต้าร์กับเพื่อนในห้อง มากกว่าไปวิ่งเล่นเตะฟุตบอลเสียอีก แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถเล่นดนตรีเป็นเสียที ในช่วงเรียนมัธยมปลาย หรือช่วง ปวช.(สายพาณิชย์) ผมเคยตามเพื่อนไปเช่าห้องอัด ซ้อมดนตรีกันอยู่เป็นประจำแถวบางลำพูบ้าง แถวพาต้าปิ่นเกล้าบ้าง คือชอบที่จะตามไปดูเพื่อนซ้อมดนตรีกัน แต่ตัวเองเล่นไม่เป็นกับเขา เท่าไหร่ อาศัยเป็นนักร้องนำให้เพื่อน เวลาเพื่อนขาดเสียมากกว่า บางทีไปช่วยเป็นคอรัส หรือ ช่วยซื้อน้ำ ซื้อข้าวให้เพื่อนก็เอา เพราะชอบในบรรยากาศการซ้อมดนตรี ขอให้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมก็ยังดี และนั่นเป็นที่มาที่ทำให้ผมเริ่มแต่งเพลงเล่นๆ กับเพื่อนในวงดนตรีนี้ เคยคิดจะทำเป็นอัลบั้มและออกเล่นเป็นวงสมัครเล่นตามงาน แต่แล้ววงก็มาแตกเสียก่อน เพราะต่างคนต่างเรียนจบ แยกย้ายกันไปเรียนคนละที่ และภายหลังเพื่อนในวงแตกคอกันเอง และเลิกคบกันไปเสียอีก จากนั้นผมก็เริ่มแต่งเพลงเล่นๆ ทำเดโม่เพลงเอง โดยใช้คีย์บอร์ดยามาฮ่าเพียงตัวเดียวเล่น เคยคิดจะส่งไปให้ค่ายเทป แต่คิดไปคิดมาเขาคงทนฟังไม่จบ และโยนลงถังขยะเป็นแน่ ความฝันก็จบลงตรงนี้ สมัยนั้นยังไม่มีเวทีประกวด af , the star ฯลฯ หากมีเราคงได้เจอกันแน่บรรดาคอมเมนเตเตอร์ปากกรรไกรทั้งหลาย ความทรงจำในวัยรุ่น เพลงที่เริ่มฟังจริงๆ จังๆ เป็นเพลงสากลยุค 70’s และ 80’s ส่วนเพลงไทยจะเป็นแนวสตริงคอมโบ้ และเพลงลูกกรุง ส่วนเพลงลูกทุ่งจะคุ้นเคยอยู่แล้วมาตั้งแต่วัยเด็ก ได้ยินกรอกหูอยู่ทุกวัน ทั้งเพลงของครูสุรพล สมบัติเจริญ ชาย เมืองสิงห์ สมยศ ทัศนพันธุ์ เพลิน พรหมแดน สายัณห์ สัญญา ศรชัย เมฆวิเชียร ฯลฯ ส่วนลูกกรุงก็ฟังของธานินทร์ อินทรเทพ สุเทพ วงศ์กำแหง ดาวใจ ไพจิตร รุ่งฤดี แพร่งพร่องใส ชรินทร์ นันทนาคร วินัย พันธุรักษ์ เศรษฐา ศิระฉายะ ฯลฯ เพลงสากลเพลงแรกๆ ที่รู้จักได้ยิน คุ้นหู จะเป็นพวก go ของทีน่าชาร์ลkungfu fighting, One way ticket ,more than I can say, ring my bell , rasputin ,woman in love , you can do magic etc. ซึ่งเพลงเหล่านี้อยู่ในยุค 70’s พอเข้าสู่ยุค 80’s จะเป็นเพลงdance disco ครองเมือง ก็จะมีเพลงอย่าง tarzan boy ,agadoo, one night in bkk , hand up, bilie jean ,papa don’t peach , nothing gonna stop us now , walk like a man , give it up it’s a sin ,lambada , congo, ice ice baby , no coke etc


เปิดตู้เพลงไทยยุคแรก ให้ชื่อว่ายุคเพลงลูกกรุง ละกัน ก็จะเป็นเพลงสมัยรุ่นคุณปู่คุณย่าเราก็คือเพลงสมัยสุนทราภรณ์ ครูเอื้อ ครูสง่า เพลงยุคนี้ก็จะเน้นคำร้องที่สละสลวย ภาษาเพลงไพเราะ และอักขระ เล่นคำ สำบัดสำนวน ที่วิจิตรละเมียดละไม ยุคนี้นอกจากวงสุนทราภรณ์แล้ว ฟากศิลปินลูกกรุงเดี่ยวๆ ในยุคแรกต้องเรียกว่าเป็นระดับตัวพ่อตัวแม่กันทั้งวงการ กินกันไม่ลงทีเดียว ได้แก่ ฝ่ายชาย สุเทพ วงศ์กำแหง ธานินทร์ อินทรเทพ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ชรินทร์ นันทนาคร วินัย พันธุรักษ์ ฝ่ายหญิง รุ่งฤดี แพร่งผ่องใส สวลี ผกาพันธ์ ดาวใจ ไพจิตร ทิพยวรรณ ปิ่นภิบาล เรื่อยมาจนถึง นัดดา วิยะกาญจน์ ศรีไศล สุชาติวุฒิ ศิลปินในยุคปลายๆ ของยุคเพลงลูกกรุง ก็เช่น สุชาติ ชวางกูร ยอดมนู ภมรมนตรี พี่แจ้ (ช่วงหลังหันมาร้องลูกกรุง) ศรัณย่า ,นันทิดา ,เกษรา สุดประเสริฐ อุเทน พรหมมินทร์ อรวี สัจจานนท์ นิตยา บุญสูงเนิน อ้วน วารุณี สุนทรีสวัสด์ ฯลฯ

ยุคเพลงลูกทุ่งเฟื่องฟู ราชาเพลงลูกทุ่ง ราชินีเพลงลูกทุ่งเกิดในยุคนี้

ถ้าจะเล่าประวัติวงการเพลงลูกทุ่งว่ามีที่มาที่ไป เริ่มมาจากอะไรก่อนนั้นคงจะยาว แต่เอาเป็นว่าพอผ่านมาถึงช่วงที่ผู้เขียนเกิดและพอจะจำความได้ เพลงลูกทุ่งเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูพอดี และมีศิลปินในระดับตำนานเกิดในยุคนี้พอดีจำนวนมากมาย และถูกเรียกขานเป็นราชา ราชินีเพลงลูกทุ่งด้วย ได้แก่ ช่วงครูไพบูลย์ บุตรขัน ครูพยงค์ มุกดา ครูสุรพล สมบัติเจริญ สมยศ ทัศนพันธ์ คำรณ สัมบูญณานนท์ ทูล ทองใจ ผ่องศรี วรนุช ฯลฯ เรื่อยมาจนถึงยุคไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลิน พรหมแดน พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ศรคีรี ศรีประจวบ พนม นพพร ชาตรี ศรีชล ฯลฯ และเรื่อยมาจนถึงยุคที่ผู้เขียนเริ่มฟังเพลง ก็เป็นยุคของสายัณห์ สัญญา ไพรวัลย์ ลูกเพชร ศรเพชร ศรสุพรรณ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง สัญญา พรนารายณ์ บานเย็น รากแก่น แล้วถึงจะมาเป็นยุคยอดรัก สลักใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ศรชัย เมฆวิเชียร หงส์ทอง ดาวอุดร อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์ สุนารี ราชสีมา ศิรินทรา นิยากร ฯลฯ เพลงลูกทุ่งในยุคนี้ใครมีเพลงดังเพลงเดียวก็หากินได้แล้ว เดินสายเปิดวิกแสดงแบบแพ็คเป็นกลุ่มๆ ก็ดังได้ แต่ถ้าใครมีเพลงฮิตมากหน่อยก็เดินสายโชว์เดี่ยว รวยมานักต่อนักแล้ว ในยุคนั้น นักร้องลูกทุ่งมีรายได้มากกว่านักร้องลูกกรุงและสตริงมากมายนัก ซึ่งเป็นรากฐานที่มั่นคงมาจนถึงยุคนี้ ที่ค่ายเพลงลูกทุ่งก็ยังเป็นตัวทำเงินให้กับค่ายเพลงใหญ่ ไม่เชื่อลองถามอากู๋กับเฮียฮ้อดูก็ได้ วงการเพลงลูกทุ่งผ่านยุครุ่งเรืองมาจนถึงยุคตกต่ำสุดขีดในช่วงที่วงการเพลงไทยสากลสมัยใหม่ได้รับความนิยมขึ้นมาหรือในช่วงที่แกรมมี่ถือกำเนิดนั่นเอง ซึ่งกินเวลาเกือบ 10 ปี ภายหลังจากนั้นวงการเพลงลูกทุ่งก็ค้นพบเพชรน้ำเอกเม็ดใหม่ๆ ให้กับวงการนั่นคือ ยิ่งยง ยอดบัวงาม (ผู้มาสร้างตำนานฟื้นวงการลูกทุ่งให้กับมามีชีวิตอีกครั้ง กับผลงาน สมศรี 1992) จากนั้นก็มีนักร้องดาวรุ่งดวงใหม่ๆ เกิดขึ้นตามมาอีก เช่น พรศักดิ์ ส่องแสง (เต้ยสาวจันท์) มนต์สิทธ์ คำสร้อย (จดหมายผิดซอง) ก๊อต จักรพันธุ์ อาบครบุรี (รักคุณเสียยิ่งกว่าใคร) เด็กปั้นของแกรมมี่ ซึ่งเดิมร้องในแนวไทยสากล , รุ่ง สุริยา (ติงนัง) และยุคหลังๆ ก็จะเป็นพวก จินตรา พูนลาภ , ไมค์ ภิรมย์พร ,ไชยา มิตรชัย (กระทงหลงทาง) หนู มิเตอร์ , กุ้ง สุทธิราช , ศิริพร อำไพพงษ์ , ต่าย อรทัย , ตั๊กแตน ชลดา , ไผ่ พงศธร ฯลฯ

ยุคสตริงคอมโบ้ หรือยุคนิธิทัศน์ครองเมือง

นับจากวงโอเรียนทัลฟังค์ วงดิอิมพอสซิเบิ้ล ซึ่งเป็นวงแรกๆ ที่ทำเพลงไทยสมัยใหม่ หรือเรียกว่าเพลงไทยสากล วงในยุคนี้ ก็อย่างเช่น pm5 (เพลงฮิต เก้าล้านหยดน้ำตา) วงแกรนด์เอ็กซ์(เพลงฮิต เพียงสบตา,เชื่อฉัน) วงรอยัลสไปร์ท (เพลงฮิต เจงกิสข่าน,สวยในซอย) เศรษฐา ศิระฉายา (เพลงฮิต ตักที่น่านอนตาย,ผมไม่วุ่น,วัวหาย) ชัยรัตน์ เทียบเทียม (เพลงฮิต สุขาอยู่หนใด) จำรัส เศวตาศัย (เพลงฮิตนกเจ้าโผบิน,น้ำเซาะทราย) ฯลฯ สมัยนั้นยังไม่มีการรวมกันเป็นค่ายเพลง เป็นการประชันขันแข่งในด้านฝีมือของแต่ละวงโดยแท้ ใครดังขึ้นมาจากการเล่นสดตามสถานบันเทิง หรือโรงแรมก็จะได้ออกเทปกับนายห้างเพลง ซึ่งห้างเพลงที่มีอิทธิพลมากในเวลานั้นก็มี onpa, rota, azona ,amigo ,emi และ RS sound เป็นค่ายเพลงน้องใหม่ และก็คงเป็นอิทธิพลของวิทยา ศุภพรโอภาส ซึ่งเป็นดีเจ รุ่นลายคราม ที่มีอิทธิพลบนแผงหน้าปัดวิทยุและสนิทสนมกับนายห้างออนป้าก็คือคุณวิเชียร อัศว์ศิวะกุล จึงรวบรวมศิลปินวงดังในยุคนั้นเข้ามาเป็นกลุ่มเป็นก้อน แล้วตั้งเป็น production house ขึ้นมาว่า นิธิทัศน์โปรโมชั่น ซึ่งในยุคนั้นยังไม่มีรูปแบบเป็นค่ายเพลงเหมือนยุคปัจจุบัน ทุกวงดนตรี ทุกศิลปิน ไม่มีการเซ็นสัญญาเข้าสังกัด เพียงแต่มารวมตัวกันเพื่อโปรโมตผลงานผ่านนิธิทัศน์เท่านั้น เพราะรูปแบบการผลิตยังเป็นตัวใครตัวมันกันอยู่ ไม่มีทีมงานแต่งเพลงให้ ไม่มีทีมโปรดิวเซอร์ ทุกวงต้องผลิตงานของตนเองได้ ไม่มีห้องอัดเสียงเป็นของตนเอง (ห้องอัดที่โด่งดังมากในยุคนั้นได้แก่ศรีสยามซึ่งเป็นห้องอัดของปราจีน ทรงเผ่า) ในยุคนั้นต้องถือว่าคุณวิทยา ศุภพรโอภาส เป็น brand ambassador ประจำค่ายนิธิทัศน์เลยก็ว่าได้ เพราะมีรายการเป็นของตัวเองชื่อรายการเสาร์สนุก มีการดึงวงดนตรีดังๆ ในยุคนั้นมารวมตัวกันอยู่ อาทิ แกรนด์เอ็กซ์ รอยัลสไปร์ท แมคอินทอช ดิอินโนเซ็นท์ สุเทพแอนด์เดอะแซ็คท์ ฟอร์เอฟเว่อร์ ฟีดแบ็คส์ พี่เพิ่ล เดอะฮอทเปปเปอร์ ซิงเกอร์ , ดอกไม้ป่า วงโอเวชั่น วงร็อคเคสตร้า วงไอเฟล วงพาวเว่อร์แบนด์ ไฮดร้า ถ้าเป็นศิลปินเดี่ยวก็มีติ๊ก ชีโร่, ดนุพล แก้วกาญจน์, นิค นิรนาม, กุ้ง กิตติคุณ, อลิส คริสตัล เสกสรร ทองวัฒนา เป็นต้น ยังมีอีกกลุ่มศิลปินนึงเป็นคู่แข่งตามกันมา และรวมอยู่ในค่ายนิธิทัศน์แต่ทำเทปจัดจำหน่ายโดยค่าย emi ได้แก่ วงชาตรี สุชาติ ชวางกูร วงพิงค์แพนเตอร์ ฟรีเบิร์ด ค่ายดนตรีน้องใหม่อย่าง RS sound ก็พยายามเข็นศิลปินวงดนตรีสตริงคอมโบ้รุ่นเล็กหรือวัยรุ่นกว่าออกมาชน เช่น วงคีรีบูน ฟรุ้ตตี้ เรนโบว์ บรั่นดี อินทนิล ซิกส์เซ้นท์ นับว่าก็สร้างความสั่นสะเทือนวงการได้ไม่ใช่น้อย แต่ก็ยังไม่อาจเทียบได้กับความยิ่งใหญ่ของนิธิทัศน์ได้ โดยเฉพาะวงแกรนด์เอ็กซ์ กลายเป็นวงดนตรีอันดับ 1 ของเมืองไทย ผลงานทุกชุดประสบความสำเร็จมากมาย (นับจากอัลบั้มลูกทุ่งดิสโก้ และแกรนด์เอ็กซ์โอ) เพลงฮิตส่วนใหญ่จะเป็นผลงานการร้องของพี่แจ้นักร้องนำ อาทิ บัวน้อยคอยรัก หัวใจมีปีก เพื่อน เพียงสบตา เชื่อฉัน คนธรรพ์รำพึง จนถึงจุดอิ่มตัวจนต้องมีการแยกตัวมาเป็นศิลปินเดี่ยวของนักร้องนำก็คือพี่แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ จากนั้นไม่นาน พี่แจ้ ก็กลายมาเป็นศิลปินชายอันดับ 1 ของเมืองไทย ด้วยผลงานเดี่ยวชุดแรก ฝันสีทอง มีเพลงฮิตมากมาย อาทิ ฝันลำเอียง แสนรัก ฯลฯ อิทธิพลความยิ่งใหญ่ของวง GX ยังผลให้มีการแตกหน่อออกไปเป็นอีก 2 วง ในภายหลัง คือวงเพื่อน (รวบรวมเอาอดีตสมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์มาบางส่วน นักร้องนำคือกุ้ง ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา ฟาโรห์ ตอยยีบี) อีกวงเป็นวงรุ่นน้องคือแกรนด์เอ็กซ์ขวดโหล ส่วนวงแบ็คอัพให้พี่แจ้ก็คือวงพลอย ก็ไปมีผลงานของตนเองด้วย นักร้องนำก็คือวสุ แสงสิงห์แก้ว หรือจิ๊บ ร.ด.นั่นเอง และวงในเครือจักรภพของแกรนด์เอ็กซ์ ทั้ง วงเพื่อน พลอย ขวดโหล ล้วนดังหมด มีผลงานเป็นที่นิยม จัดว่าเป็นตำนานครอบครัวดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งยังไม่มีใครลบสถิตินี้ได้จนบัดนี้ เพลงดังของวงเพื่อน ก็ได้แก่ เพลงงานวัด ป้ากะปู่ ว้าเหว่ ทั้งรักทั้งเกลียด ฯลฯ เพลงดังของวงพลอย ได้แก่ สูตรรักนักเรียน, ไม่ได้เจตนา, ก็แค่ข่าวร้าย เพลงดังของ GX ขวดโหล ก็คือ สายใย ขอภาพไว้คั่นตำรา ร้องโดย โอ๋ ไอศูรย์ วาทยานนท์ ฯลฯ  เพลงดังในยุคนี้ หลายเพลงดัดแปลงจากทำนองเพลงสากล และเพลงจีน อาทิ เพลง และแล้ว ของแจ้ , เพลงของวงฮอต เปปเปอร์และดอกไม้ป่าทั้งวงดัดแปลงมาจากเพลงจีนชื่อดัง ,เพลงเก้าล้านหยดน้ำตา ของดอน สอนระเบียบ เพลงวัวหาย ของเศรษฐา เพลงเจงกิสข่าน และเพลงน่าอาย ของวงรอยัลสไปร์ท เพลงความหวังหลังรอยยิ้ม ของวงฟอร์เอฟเวอร์ ฯลฯ

เมื่อความยิ่งใหญ่มาถึงจุดอิ่มตัว และแล้วงานเลี้ยงย่อมต้องมีวันเลิกรา เฉกเช่นค่ายนิธิทัศน์ ช่วงท้ายเริ่มหันไปเอาดีกับงานเพลงลูกทุ่ง เพลงไทยอมตะในอดีตซึ่งเป็นงาน cover ใหม่ เข็นศิลปินอย่างนิค นิรนาม อ๊อด โอภาส ทศพร และอิ๋ว เพ็ญโพยม (ซึ่งฉกตัวมาจากอาร์เอส) ซึ่งนับเป็นศิลปินคนแรกๆ ของไทยที่มีการย้ายค่ายสังกัด ซึ่งก็นับว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ยอดขายเทปของทั้งนิค นิรนาม และอ๊อด สูงมาก จนอาร์เอสต้องมองหาศิลปินลูกทุ่งเข้าสังกัด และมีค่ายเพลงลูกทุ่งเป็นของตนเอง ในนามอาร์สยามนับแต่นั้นมา ศิลปินยุคท้ายๆ ของค่ายนิธิทัศน์ ก็เช่น วงปานามา มีเพลงฮิต เช่น โถ่เอ๊ย ,ไม่ใช่แปรงสีฟัน สาเหตุของการล่มสลายของค่ายนิธิทัศน์ เป็นเพราะไม่ได้ทำงานในรูปแบบธุรกิจค่ายเพลงแบบเต็มตัว คือไม่มีส่วนงานผลิต และโปรดิวเซอร์ประจำค่าย แม้ว่าจะมีมือแต่งเพลงให้กับค่ายประจำอย่างกรวิก ครูชาลี และมนตรี ผลพันธินแต่ไม่มีฝ่ายการตลาดที่ทำการตลาดแบบมืออาชีพ ณ เวลานั้นสื่อวิทยุและรายการโทรทัศน์ได้ถูกคู่แข่งประมูลแข่งแย่งชิงเวลาไป ทั้งแกรมมี่และอาร์เอสเริ่มมีรายการเพลงและวิทยุเป็นของตนเอง งานเพลงของนิธิทัศน์ไม่สามารถตอบโจทย์รสนิยมคนฟังรุ่นใหม่ได้อีก แนวเพลงเดิมๆ รูปแบบเดิมๆ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ นักร้องไม่สามารถขายหน้าตาได้ เป็นอันสิ้นสุดยุค 80’s อย่างสมบูรณ์ และศักราชใหม่ของเพลงยุค 90’s และการมาของพี่เต๋อ และค่ายเพลงแกรมมี่ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป ในบริบทหน้า

เพลงดังของ 10 ศิลปินดังในยุคนี้ ได้แก่

วงแกรนด์เอ็กซ์ เพลงบัวน้อยคอยรัก บัวน้อยลอยชูช่อ รออรุณ เหมือนรอไออุ่น จากดวงสุริยา เช่นเรียมหลงคอยกานดา ไม่พบดวงหน้า ร้าวอุราอาวรณ์ หลงรูปหลงจูบเพียงหมอน ไม่มีชู้นอน ร้าวรอนดวงใจ วอน...

วงรอยัลสไปร์ท เพลง เจงกิสข่าน เจง เจงกิสข่าน รุกไปที่ไหน ใครอย่าขวาง รีบเปิดทางรับขุนพลเจง เจง เจงกิสข่าน พื้นดินสะท้านไปทั่วทิศ.

วงแม็คอินทอช เพลง กลับมาเถิดวันวาน กลับมาเถิดวันวาน...วันวานผ่านพ้นไป กลับมาเถิดวันวาน วันวานนานแสนไกล วันวานที่แสนไกล

วงดิอินโนเซ้นท์ เพลง มนต์ไทรโยค วาว วาว เสียงรถไฟ วิ่งไป ฤทัยครื้นเครง เรามันคนกันเอง ไม่ต้องเกรงใจใคร พวกเราเพลินชมไพร นั่งรถไฟถึงในไทรโยค รวมทุกข์ใดในโลก แล่นไปโยกไป มนต์ไทรโยค........

วงฟรีเบิร์ด เพลง คอย คอยแต่เธอ หลงละเมอจึงตรมเศร้าหมอง หวังเคียงครอง รักเดียวตลอดไป

วงพิ้งค์แพนเธ่อร์ เพลง รักฉันนั้นเพื่อเธอ ถึงจะแสนไกล ไกลถึงใต้หล้า สุดขอบฟ้าแสนไกล ไกลเพียงดวงดาว ฉันหรืออาทร แม้จะร้อนดังตะวัน

วงฮอทเป็ปเปอร์ ซิงเกอร์ เพลงพิษรัก อยากจะถอนพิษที่คลั่งฝังใจ พิษรักที่คุณฝากไว้ มันแสนร้ายกาจ ฝังในอกหมกเพลิงราวภูเขาไฟ

วงชาตรี เพลงแฟนฉัน จิตใจตรงกัน ผูกพันรักใหม่ สุขใจเหลือเกินรักเพลินสดใส มอบรักให้เธอ ใจฉันเหม่อลอย หากเธอยังคอย ฉันพลอยอิ่มใจ

นิค นิรนาม เพลงคันไถแปร ทุ่งนาแดนนี้ ไม่มีความหมาย เห็นเพียงกลิ่นโคลนสาปควาย เห็นซากคันไถแล้วเศร้า ....

ติ๊ก ชีโร่ เพลงออกมาเต้น อีกหน่อยก็ฟุบ ไม่นานก็โลกแตก กี่คนจะทนไหว ทำงานไม่พัก เลยเวียนหัวบ่อย ทำยังไงๆ จะหาย ออกมาเต้น เอ้า ออกมาเต้น เด็ดขาดลีลาไปเลย ออกมาเต้น ออกมาเต้น เต้นหน่อยค่อยคิดกัน

ดนุพล แก้วกาญจน์ เพลงแสนรัก จงใคร่ครวญหัวใจ ใครเล่าใครไหนกัน แสนรักมั่น ห่วงใยเธอมากกว่าฉัน สายตาเธอบ่งบอก เห็นใจกันอย่าหลอก

เสกสรร ทองวัฒนา เพลงหลงทาง จิตใจสับสน คิดถึงแต่เงิน เมียเป็นแขกรับเชิญของสังคม ระเริงหลงลืมกิจการที่บ้าน จุดความอ้างว้าง ลูกนอนเปรมยา ....ผู้ใหญ่มัวหลงเพลิน เด็กจึงเดินหลงทาง

ค่ายเพลง RS จาก sound เป็น promotion, 1992 และปัจจุบันเป็น RS มหาชน ก่อตั้งปี 2525

ในยุคแรกของ RS sound ศิลปินทุกเบอร์อยู่ในรูปของวงดนตรี แทบทั้งสิ้น เริ่มมีการแตกตัวเป็นศิลปินเดี่ยวในยุคที่เปลี่ยนเป็น RS promotion แล้วศิลปินในยุคแรก ๆ ก็เช่น วงคีรีบูน ฟรุ้ตตี้ เรนโบว์ อินทนิล ปุยฝ้าย บรั่นดี เพ็ญโพยม เพลงดังในยุคนั้น ก็ได้แก่ ปลูกรัก ของคีรีบูน ,ดั่งนกเจ็บ ของบรั่นดี, คนข้างเคียง ของฟรุ้ตตี้ ฯลฯ ในยุคนี้มีอัลบั้มเพลงที่โด่งดังมากชื่อชุด รวมดาวซึ่งเป็นอัลบั้มเพลงประวัติศาสตร์ เพราะสามารถขายได้เป็นล้านตลับ อัลบั้มแรกของไทย ร้องโดยนักร้องนำวัยรุ่นของค่ายนี้ เพลงดังก็ได้แก่ อ้อยใจ นกเขาคูรักซึ่งเป็นการนำเพลงเก่าของสุนทราภรณ์มาทำทำนองใหม่และขับร้องโดยศิลปินรุ่นใหม่ชื่อดังในยุคนั้น ภายหลังหมดยุคสตริงคอมโบ้ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นยุคศิลปินเดี่ยว เปลี่ยนชื่อค่ายเป็น RS promotion มีศิลปินในยุคนี้ คือ กี้ อริสมันต์ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง อิทธิ พลางกูร เสือ ธนพล อินทฤทธิ์ วงไฮร็อค พิศุทธ์ เต๋า สมชาย นุ้ก สุทธิดา ปุ๊กกี้ โชคชัย บอยสเก๊าท์ แซ้งค์ปฏิวัติ ต่อต๋อง วงทู เพลงดังๆ ในยุคนี้ ก็ได้แก่ ทัดทานของอริสมันต์, เก็บตะวันของอิทธิ พลางกูร, ใจร้าว ของไฮร็อค ,เท้าไฟ ของทัช ณ ตะกั่วทุ่ง, 18 ฝน ของเสือ ธนพล ,ถอนสายบัว ของนุ๊ก ,cha la la ของปุ๊กกี้ เล่นแบบเจ็บๆ ของไฮแจ็ค ซึ่งผู้ที่กุมบังเหียนผลงานของศิลปินในยุคนี้ของ RS เป็นธนิต เชิญพิพัฒน์ธนสกุล และมงคลพัฒน์ ทองเรือง มือโปรดิวเซอร์ชั้นครูอีกคนของวงการ จัดเป็นยุคทองของ RS ก็ว่าได้กลิ่นไอของดนตรีและเนื้อร้อง เป็นร็อคที่มีสีสันจัดจ้าน จะสังเกตจากงานของอิทธิ พลางกูร ไฮร็อค พิศุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร เสือธนพล เอ๊าท์ไซเดอร์ หรือแม้แต่กระทั่งงานของอนันต์ บุนนาค ก็โดดเด่นในยุคนั้น ในอดีตที่ RS ศิลปินเริ่มมีคาแรกเตอร์โดดเด่น และเน้นเป็นศิลปินป็อป กับ ร็อคมากขึ้น ตามศิลปินค่ายคู่แข่ง (แกรมมี่) ก่อนหน้านี้ RS เคยผลักดันศิลปิน ชื่อปาร์ค แอนด์แจกัน เพื่อไปปะทะกับศิลปินค่ายคู่แข่งซึ่งมีพี่เบิร์ด เป็นธงนำ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากแนวเพลงสู้ไม่ได้ และออกอัลบั้มได้ชุดเดียวก็ดับไป และมีการผลักดันศิลปินชาวดอย ไปชนกับนกแลของค่ายคู่แข่ง แต่ก็แป๊กเช่นกัน และเมื่อเฮียฮ้อขึ้นมากุมบังเหียน RS แทน เฮียจั๊ว ซึ่งขึ้นไปเป็นประธานบริษัทฯ แทน จนเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของศิลปินใหม่มาเป็นยุคที่มี อริสมันต์ อิทธิ เสือ ทัช เต๋า ซึ่งทำให้ RS ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย กลายเป็นค่ายเพลงหมายเลข 2 ในวงการในยุคนั้นได้สำเร็จ RS ในยุคนี้ถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองสุดขีด หลายอัลบั้มก็ขายได้ล้านตลับเฉกเช่นเดียวกับคู่แข่งหมายเลข 1 นับจากการประสบความสำเร็จในชุด*รวมดาว ซึ่งเป็นสถิติไปแล้ว ในสมัยที่ยังเป็นคู่ท้าชนกับค่ายนิธิทัศน์ ซึ่งออกอัลบั้ม 18 กะรัต มาท้าชิง ความดัง
_____________________________________________

*รวมดาว เป็นอัลบั้มรวมศิลปิน แนวเพลงเป็นเพลงคู่อมตะคลาสสิค ของสุนทราภรณ์ ร้องโดยศิลปินวัยรุ่นยุคนั้นของ RS เช่น อ๊อดคีรีบูน ชมพูฟรุ้ตตี้ โอ๋บุ๋มปุยฝ้าย อิ๋วเพ็ญโพยม อ๊อดบรั่นดี ต่อมาเมื่อประสบความสำเร็จถล่มทลาย ได้มีการออกอัลบั้มชื่อ พบดาว และนพเก้า ตามมาอีกในคอนเซ็ปท์เดียวกัน

ของชุดรวมดาวทำให้ศิลปินในชุดนั้นเกือบทั้งหมดได้เกิดในวงการดนตรี และเป็นที่มาของตำนานรักระหว่างชมพู ฟรุ้ตตี้ กับน้องบุ๋ม วงปุยฝ้าย และชมพูก็ได้รับความไว้วางใจจากเฮียฮ้อ ให้ก้าวขึ้นมาเป็น co producer และตำแหน่งล่าสุด คือ executive producer ของค่าย ก่อนที่ปัจจุบันจะย้ายไปอยู่โซนี่มิวสิค ในยุคนั้น RS มีทีม producer และทีมเขียนเพลงชั้นยอดอยู่หลายคน จึงทำให้ผลงานเพลงได้รับความนิยม ติดหูมากมาย 1 ในนั้น มีเสือ ธนพล อินทฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบันย้ายไปอยู่แกรมมี่แล้ว ศิลปินในยุคนี้ดังเกือบหมดทุกคน ซึ่งจะลองไล่เรียงต่อไป ดังนี้ ได้แก่ สรพงษ์ (หัวใจไม่เสริมใยเหล็ก) ฉัตรชัย (ลูกผู้ชาย) ไจแอนด์ ,แซ้งค์, ลิฟท์ออย , ต่อต๋อง,บอยสเก๊าต์, แร็ปเตอร์ ,เจอาร์วอย ,โมเม ราฟฟี่แนนซี่, ดังพันกร,โดม ปกรณ์ ลัม ,เจมส์ เรืองศักด์ ,แหม่ม พัชริดา ,หินเหล็กไฟ , ปาน ธนพร แต่ที่น่าสังเกตก็คือในยุคนี้ ศิลปินในรูปแบบที่เป็นวงของ rs ไม่ประสบความสำเร็จเลย จะดังเป็นลักษณะ กรุ๊ปดูโอ้ หรือบอยแบนด์ เท่านั้น และความสำเร็จในยุคปลายของ RS promotion ก่อนจะรีเอนจิเนียริ่งแบรนด์ครั้งใหญ่ โดยศิลปินคนสุดท้ายของยุคนี้ ก็คือ อนัน อันวา ซึ่งดังมากจากเพลงตะลึง  RS จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯตามรอยแกรมมี่บ้าง เข้าสู่ยุคใหม่ซึ่งเป็นยุคปัจจุบันของ RS ก็คือจะเน้นเป็นกลุ่มศิลปิน บอยแบนด์ และเกิร์ลแก๊งค์ ในยุคนี้จะถือว่า RS ประสบความสำเร็จที่สุดก็ไม่อาจจะแน่ใจได้หรือถอยหลังเข้าคลองก็ไม่อาจจะฟันธง เป็นยุคที่มีการโฟกัสไปที่เซ็กเม้นท์ที่ RS เหนียวแน่นที่สุด ก็คือกลุ่มวัยรุ่น ไม่เป็น mass เหมือนยุคก่อนหน้านี้อีกแล้ว ในยุคนี้ศิลปินเบอร์ใหญ่ๆ ของค่ายก็เลยตบเท้าย้ายหนีกันไปหมด เริ่มจาก เสือ ธนพล อู๋ ธนากร หินเหล็กไฟ โดม เจมส์ แดนวรเวช และล่าสุดดัง พันกร ศิลปินในยุคนี้ จะถูกขัดเกลาและปั้นโดย *ชมพู ฟรุ้ตตี้ ผู้อยู่เบื้องหลังงานเพลงในยุคปัจจุบันของค่าย RS ทั้งหมด ได้แก่ ฟิมล์ ดีทูบี (ปัจจุบันเหลือบีมคนเดียว) โฟร์ มด เกิร์ลลี่ เบอร์รี่ เซเว่นเดย์ ขนมจีน เนโกะจัมพ์ เฟย์ฟางแก้ว หวาย ไนซ์ทูมีทยู ซีควินซ์ เคโอติค พายุ วงไอน้ำ วงแบล็ควานิลลา วงเล้าโลม ฯลฯ นอกจากนั้น RS ยังหันไปเน้นธุรกิจสปอร์ตเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ โดยขอลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดบอลยูโร และการถ่ายทอดสดกีฬาสำคัญมากมาย ภายหลังยอดขาย

___________________________________________________
*ชมพู ฟรุ้ตตี้ ปัจจุบันย้ายไปเป็นผู้บริหารของโซนี่ มิวสิคแล้ว ส่วนดัง พันกร ไปเป็นผู้บริหารค่ายเพลงน้องใหม่ renovo music ส่วน RS มีการแยกค่ายเพลงออกเป็น Kamigaze ดูแลศิลปินวัยรุ่น บอยแบนด์และเกิร์ลกรุ๊ปใหม่ๆ ทั้งหมด ส่วนอาร์สยามดูแลโดยศุภชัย นิลวรรณ ปั้นศิลปินลูกทุ่งมากมาย อาทิ กระต่าย,กระแต อาร์สยาม,บ่าววี รวมถึง วงโปงลางสะออนด้วย ธุรกิจเทปเพลงตกต่ำในช่วงหลัง และหันไปเน้นเปิดเว็บไซต์เพื่อให้บริการดาวน์โหลดเพลง ซึ่งเป็นธุรกิจหลักในการหารายได้ใหม่มาทดแทนการขายซีดีและเทปเดิม

การกำเนิดของเพลงป็อปสมัยใหม่ และยุคเพลงไทยสากลครองตลาด ก่อนการถือกำเนิดของค่ายเพลงแกรมมี่ ได้มีค่ายเพลงป็อปอยู่ก่อนแล้วที่ต้องกล่าวถึงไว้ดังนี้

รถไฟดนตรี เป็นค่ายเพลงเก่าแก่ของไทยอีกค่ายหนึ่งและมีศิลปินที่โด่งดังรู้จักกันมากมาย อาทิ สาวสาวสาว ,ชรัส เฟื่องอารมณ์, ภูสมิง หน่อสวรรค์ ,พรรณทิพา เศวตาสัยและอาจถือว่าค่ายเพลงนี้เป็นค่ายเพลงเพื่อชีวิตที่เก่าแก่ทีสุดก็ว่าได้ ภายหลังเปลี่ยนเป็นค่ายเพลงเพื่อชีวิต ซึ่งมีศิลปินอย่าง คนด่านเกวียน ซูซู พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ฯลฯ

ครีเอเทีย เป็นค่ายเพลงที่ทำงานเพลงคุณภาพ มีศิลปินคุณภาพ ซึ่งเป็นป็อปไอด้อลมากมาย อาทิ เฉลียง อัลบั้มแรก (อื่นๆ อีกมากมาย) ,ปั่น, บ่น ,แมน วทัญญู, อุ้ย รวิวรรณ จินดา ฯลฯ น่าเสียดายว่าค่ายเพลงนี้ปิดตัวไปในช่วงเวลาไม่นาน ศิลปินต่างแยกย้ายไปอยู่ค่ายอื่น บ้างก็เลิกร้องเพลงไปเลย

ไนท์สปอต , WEA record จัดว่าเป็นค่ายเพลงอินดี้ค่ายเพลงแรกของเมืองไทย ศิลปินหลายคนเป็นต้นกำเนิดของแนวเพลงสมัยใหม่ในบ้านเรา ที่เรียกว่าป็อปโมเดิร์น ชิลเอ๊าท์ ศิลปินในค่ายนี้ ได้แก่ ปานศักดิ์, อัสนีวสันต์ ,เบิร์ดกะฮาร์ท ,ธเนศ วรากูรนุเคราะห์ มัม ลาโคนิคส์ เป็นต้น

Nite Spot โปรดักชั่นส์ ถือกำเนิดในปี 2518 โดย อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ แรกเริ่มของไนท์สปอตมีพนักงานแค่เพียงสี่คน คืออิทธิวัฒน์ ดูแลเรื่องการผลิตรายการ  ขวัญชัย รับหน้าที่ทางด้านการตลาด วาสนา วีระชาติพลี ซึ่งเพิ่งจบสถาปัตย์จุฬาฯมาช่วยจัดรายการ และเลขานุการบริษัทอีกหนึ่งคน สถานีวิทยุที่เป็นหลักของไนท์สปอตในช่วงต่อมาคือNite Spot Show ทางคลื่น 94 MHz ที่เปิดเพลงฝั่งอเมริกาเป็นหลัก และ Radio Active ทางคลื่น 99 MHz ที่เปิดเพลงฝั่งอังกฤษเป็นหลัก หลังจากตั้งมาได้ประมาณ 1 ปี ไนท์สปอตก็เริ่มจับงานคอนเสิร์ตจากต่างประเทศเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำด้วยความบังเอิญ เพราะครั้งนั้นไนท์สปอตรับจัดคอนเสิร์ตวง THE STYLISTIC ต่อจากชาวมาเลเซีย ที่จะมาจัดในไทยและติดต่อโฆษณาผ่านไนท์สปอต พอดีชาวมาเลเซียคนนั้นเกิดมีปัญหาจัดคอนเสิร์ตร็อคที่มาเลเซียแล้ว เกิดจลาจล เจ้าตัวก็เลยหลบลี้หายหน้าไป ไนท์สปอตก็เลยรับช่วงจัดต่อไป คอนเสิร์ตครั้งนั้นจัดที่โรงแรมดุสิตธานีก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เพียงไม่กี่วัน แต่งานนั้นก็ประสบความสำเร็จด้วยดี ตั้งแต่นั้นมาไนท์สปอตก็ปักหลักจัดคอนเสิร์ทอีกหลายครั้ง ทำให้ถือได้ว่าไนท์สปอต คือผู้บุกเบิกการจัดคอนเสิร์ตในเมืองไทย ไนท์สปอตเริ่มขยายธุรกิจออกไปมากขึ้น โดยรับเป็นดีลเลอร์ขายเทปเพลงของศิลปินต่างประเทศในสังกัด WEA RECORD ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของบริษัทวอร์เนอร์บราเธอร์ ไนท์สปอตก็ก้าวเข้าสู่วงการเพลงไทย ในปี 2527 โดยเริ่มจาก มล.รุจยาภา อาภากร ทราบว่าดี.เจ.ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ทำเพลงเก็บไว้หลายเพลง จึงขอนำเดโมเทปไปเปิดในรายการ ซึ่งก็ได้การตอบสนองที่ดีจึงจากผู้ฟัง ดังนั้นคนที่ไนท์สปอตเลือกให้เป็น ศิลปินเบอร์แรก จึงไม่ใช่คนอื่นคนไกล ดีเจ ธเนศ นั่นเอง ไนท์สปอตส่งเค้าบินไปบันทึกเสียงที่ประเทศอังกฤษ พร้อมกับ อัสนี โชติกุล ที่ได้รับมอบหมายให้บินไปคุมงานผลิต ปีเดียวกันนั้น มีนักเรียนหนุ่มจากประเทศอเมริกา เดินถือเทปตัวอย่างซึ่งเป็นอัดเพลงมาจากต่างประเทศเข้ามาเสนอ คือ คุณปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล ซึ่งผ่านการทำงานด้านกราฟฟิกดีไซน์ ไนทสปอตจึงตกลงรับเป็นผู้จัดจำหน่ายเทปชุด ไปทะเล ให้ปานศักดิ์ ทำให้อัลบั้มชุดนี้เป็นการเปิดตัวของค่ายเพลง ไนท์สปอต ผลงานชุดนี้เป็นงานชุดแรกของศิลปินไทยที่ไปบันทึกเสียงในต่างประเทศ รวมไปถึงการออกแบบปกด้วยกราฟฟิกดีไซน์ และการถ่ายทำ MV ที่ล้ำสมัย จนมันถูกนำไปฉายในโรงภาพยนตร์ นอกจากนี้ยังถือว่า ไปทะเล เป็นอัลบั้มเพลงแนวเรกเก้ยุคแรกของเมืองไทย แม้ไม่ประสบผลสำเร็จในด้านยอดขาย แต่ก็ได้ใจคนกรุงอย่างแรง ต่อมา ดอน สอนระเบียบ แมวเก้าชีวิต ก็มาออกอัลบั้มพิเศษ ในชุดเสมิฟ เพื่อนกันและดอน ลูกโดด อาจจะถือว่าเป็นอัลบั้ม 1.1 ก็ได้ แต่ศิลปินเบอร์สองตัวจริงของค่ายนี้ก็คือ คุณนุภาพ สวันตรัจน์ในชุด แป๊ะเจี๊ยะ เพลงแนวร็อก ที่ถูกผลิตโดยใช้นักดนตรี และการบันทึกเสียงที่ประเทศอังกฤษ อัลบั้มนี้ออกในปีเดียวกัน แม้จะมีดนตรีที่ล้ำสมัย แต่ด้วยนักร้องที่สูงวัย อัลบั้มนี้จึงไม่ประสบผลสำเร็จ ปี 2528 หลังจากการทำงานงานมากว่า 9 เดือน ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ก็บินกลับมาจากการอัดเสียงในประเทศอังกฤษ และออกอัลบั้มชุด แดนศิวิไลซ์ ทำให้ค่ายเพลง Nite Spot โด่งดังขึ้นมา ทำรายได้และยอดขายในระดับหนึ่ง และทำให้คนทั่วไปรู้จักค่ายเพลงนี้ แม้จนถึงปัจจุบัน มันก็ยังเป็นสุดยอดอัลบั้มเพลงในดวงใจของใครหลายคนด้วยการเติบโตทางด้านดนตรีไทย จึงมีการจัดรายการเพลงไทย โดยดีเจเพลงไทยคนแรก ของค่ายก็คือ วินิจ เลิศรัตนชัย ด้วยสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อำนวยการอสมท. ไนท์สปอตเริ่มเข้าไปจับธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ให้กับช่อง 9 ทำให้เกิดไนท์สปอต เอนเตอร์เทนเม้นท์ ผลิตรายการโทรทัศน์และไนท์สปอต สตูดิโอ โรงถ่ายทำวิดิโอและรายการโทรทัศน์ รายการโทรทัศน์ที่ทำชื่อเสียงให้กับไนท์สปอตเป็นอย่างมากคือ เพชฌฆาตความเครียด ของกลุ่มซูโม่สำอาง ซึ่งทำให้เกิดธุรกิจแตกแขนงออกมาอีกคือ ไนท์สปอตแกลเลอรี่ซึ่งความตั้งใจแรกเพียงเพื่อจะทำเสื้อ T-SHIRT โปรโมทรายการเท่านั้น แต่เสื้อกลับขายดีมาก ๆ ก็เลยไปร่วมกับบริษัทไอซีซีผลิตเสื้อยืดออกขายแต่ด้วยการออกอากาศทุกวัน และความไม่พร้อมของนักแสดงที่ส่วนใหญ่ยังทำงานประจำทำให้เกิดอาการตันไอเดีย หลังจากออกอากาศไปได้เพียงปีเดียว ไนท์สปอตจึงนำเวลามาออกอากาศเป็นรายการละคร โดยประเดิมละครเรื่องแรกชื่อ เทวดาตกสวรรค์ ซึ่งก็สร้างความแปลกใหม่ให้วงการทีวีในระดับหนึ่งทีเดียว พระเอกในเรื่องนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน คือ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์คู่กับ พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง ซึ่งเพิ่งเข้าสู่วงการจากผู้เล่นเกมส์โชว์มาตามนัด ในปี 2528 ศิลปินคนที่ 4 ก็คือ วัลลภ มณีคุ้ม (มัม) ที่เป็นนักร้องของวง ลาโคนิคส์ที่เล่นประจำตามห้องอาหารและโรงแรม โดยวิโรจน์ ควันธรรม ซึ่งเป็นดีเจของไนท์สปอตได้ผลักดัน และประสานงานให้ มัม ลาโคนิคส์ ออกเทปกับสังกัดไนท์สปอตเป็นผลสำเร็จ ในชุด ขอเพียง..เข้าใจ หลังจากนั้นก็มีนักกีตาร์ฝีมือดีชาวเยอรมัน ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ มาเป็นศิลปินเบอร์ 5 ออกเทปในชุด กัมก๊า กัมก๊า ซึ่งปัจจุบันหากหามาฟังได้ก็คงดีเพราะจัดว่าเป็นเพลงระดับ Audiophile ศิลปินคนที่ 6 นักร้องสาวหน้าใหม่ มาลีวัลย์ เจมิน่า โดยนำมาจับคู่กับนักร้องที่ดังมาก่อนหน้าแล้ว อย่าง ชรัส เฟื่องอารมณ์ ในชุด มาลีวัลย์และชรัส ที่มีเพลงดังอย่าง เพราะมีเธอ การที่ไนท์สปอต ใช้นักดนตรีและมีการอัดเสียงที่มืองนอกมาแทบทุกชุดทำให้วันหนึ่งนักเรียนนอก 2 คน ที่อยู่ที่อเมริกา ได้ตัดสินใจกลับมาเพื่อนำเสนอเดโมเทป 3 เพลง ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง พวกเค้าถูกส่งกลับไป เพื่ออัดเพลงให้ครบอัลบั้ม และออกจำหน่ายในชุด ห่างไกล สองคนนั้นก็คือ กุลพงษ์ บุนนาค และ สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล หรือเบิร์ดกับฮาร์ทนั่นเอง หลังจากไนท์สปอตผิดหวังด้านยอดขายมาหลายชุด ชุดนี้ก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ปี 2529 จึงมีการรีบออกเทปชุดที่สอง ชื่อ ด้วยใจรักจริง แม้จะไม่เปรี้ยงปร้างเท่าชุดแรก แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับค่ายเพลงเล็กๆ น้องใหม่ ที่เพิ่งก่อตั้งมาเพียงสองปี ตามมาด้วย มัม ลาโคนิคส์ ในชุด ชุดเหนื่อยหรือยัง ศิลปินคนที่ 7 คือนักต่อสู้จากแดนอีสาน ที่เข้ากรุงเทพมาเป็นตัวประกอบทางทีวีสีช่องสาม เค้าคือ ธงชัย ประสงค์สันติ ในชุดที่เงียบสนิท อ๋อเหรอ ศิลปินคนสุดท้ายก็คือ คนที่บินไปอังกฤษเพื่อช่วยควบคุมการผลิตให้ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ในชุด แดนศิวิไลซ์ คือ อัสนี โชติกุลในชุดที่เป็นตำนานอีกบทหนึ่ง เพราะอาจเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดของพี่ป้อมที่บินไปอัดเสียงที่ประเทศอังกฤษเช่นกัน ในอัลบั้ม บ้าหอบฟาง อัสนีและวสันต์จึงเป็นศิลปินคนสุดท้าย และอัลบั้มสุดท้ายของค่าย
ไนท์สปอต   ในด้านละคร หลังจาก เทวดาตกสวรรค์ ก็มีการทำละครต่อมาอีกหลายเรื่อง เช่น ผู้พิทักษ์ความสะอาด สาธรดอนเจดีย์ บุญเติมร้านเดิมเจ้าเก่า รวมไปถึงการการจัดละครเวที่เรื่อง ถึงเป็นผี พี่ก็หวง การที่บริษัทแตกไลน์ มาทำงานด้านที่ไม่ใช่ด้านเพลงและรายการวิทยุทำให้ อิทธิวัฒน์ มองว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่ไนท์สปอตควรทำ เพราะไม่ใช่ความเชี่ยวชาญ และชำนาญของตน  ปี 2529 อิทธิวัฒน์ แยกตัวออกมาสร้างอาณาจักรของตัวเอง ในนามมีเดียพลัส ด้วยคอนเซ็ปต์เน้นความเป็นสถานีเพลง และนำกิจกรรมการตลาดมาใช้กับรายการวิทยุ ปัจจุบันเค้าเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์รายการเพลง MTV และ VH1 ในประเทศไทย ปี 2531 ไนท์สปอตที่บริหารงานโดยขวัญชัย ได้ตั้งบริษัท ไนท์สปอต ฮอลิเดย์ รับบริการจัดนำเที่ยว ซึ่งเป็นเงาสุดท้ายของบริษัท  ที่ยังคงหลงเหลือและทอดยาวอยู่มาจนถึงในปัจจุบัน ปี 2532 ไนท์สปอต สูญเสียรายการวิทยุในกรุงเทพไป การสร้างสรรค์และพลังในการทำงานแบบที่ไนท์สปอต เคยบุกเบิกและสร้างมันขึ้นมา เริ่มสูญหายไปจากสังคมไทย กลายเป็นเพียงสายลมที่หายไปจากหน้าปัดวิทยุและจอโทรทัศน์  ไนท์สปอต ในยุคนั้นคือฟันเฟืองที่สำคัญในวงการมีเดียของไทย พวกเค้าได้สร้างสรรค์ผลงานที่ยังคงอยู่ในหัวใจคนไทยจำนวนมาก สรรค์สร้างศิลปินหลายคนที่ยังโลดเล่นอยู่ในวงการบันเทิงของไทย และหลายสิ่งหลายอย่างที่เราคุ้นเคยในหน้าปัดวิทยุทุกวันนี้ มีจุดกำเนิดมาจากบริษัทเล็กๆ บริษัทหนึ่งที่ชื่อว่า Nite Spot

การก่อกำเนิดของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ GMM grammy

การมาของพี่เต๋อ เรวัติ พุทธินันท์ ได้สร้างปรากฎการณ์หลายอย่างไว้ในวงการเพลงไทย อาทิ เป็นผู้สร้างแนวทางเพลงป็อปสมัยใหม่ให้กับวงการเพลงไทยที่เรียกว่า แกรมมี่ซาวด์ เป็นผู้ปลุกปั้นซุปเปอร์สตาร์ประดับวงการเพลงมากที่สุด เป็นผู้ก่อตั้งค่ายเพลงแกรมมี่ และวางระบบ กลไกค่ายเพลงเป็นรูปเป็นร่าง เป็นธุรกิจ มีทีมงานมืออาชีพ จ่ายผลประโยชน์เป็นแบบสากล จนมีคนกล่าวว่า พี่เต๋อเป็นอัจฉริยะนักดนตรีคนแรกของวงการเพลงไทย (ไม่นับพวกครูเพลงสมัยก่อนหรือพระเจนดุริยางค์ เพราะไม่ได้อยู่ในระบบค่ายเพลง) ในยุคแรกแกรมมี่ยังไม่ได้เป็นค่ายเทป เป็นเพียงสตูดิโอ โปรดักชั่นเฮ้าส์เล็กๆ เท่านั้น และผลิตงานให้ออนป้าจัดจำหน่าย ช่วงแรกยังไม่มี บริษัท เอ็มจีเอ ในเครือ ศิลปินเบอร์แรก ๆ ได้แก่ ตัวพี่เต๋อเอง (เพลงดอกไม้พลาสติก) พญ.พรทิวา (เพลงเทพธิดาดอย) เบิร์ดธงไชย (เพลงฟากฟ้าทะเลฝัน) สุรสีห์ อิทธิกุล (เพลงปราสาททราย)
เพชร โอสถานนท์ (เพลงเพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ) แหวน ฐิติมา (เพลงเรามีเรา) นันทิดา (เพลงขอมือเธอหน่อย)
วงบาราคูดัส (เพลงไก่กับไข่) วงไมโคร (เพลงอยากจะบอกใครซํกคน) วงนกแล (เพลงหนุ่มดอยเต่า) อัสนีวสันต์ (เพลงก็เคยสัญญา) ทูล หิรัญทรัพย์ (เพลงผู้ชายเฉิ่มๆ) xyz (เพลงสบายดีหรือเปล่า) ในยุคเริ่มแรกของแกรมมี่ เพลงส่วนใหญ่จะเป็นเพลงป็อป ใสๆ และมีกลิ่นไอของดนตรีร็อคมากหน่อย เพราะตัวพี่เต๋อเอง และที่มงานเป็นผู้เจนจัดในดนตรีร็อค ปรากฎการณ์แรกที่สร้างความสั่นสะเทือนวงการเพลงไทยในยุคนั้นก็คือคอนเสิร์ตปึ้ก ของพี่เต๋อ ที่รวบรวมเอาขุนพลเพลง นักดนตรีมือฉมังระดับเทพของวงการในยุคนั้นไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , สมชัย ขำเลิศกุล , วิชัย อึ้งอัมพร , จาตุรนต์ เอมซ์บุตร , อัสนี โชติกุล ,พนเทพ สุวรรณบุณย์ , อุกฤษฎ์ พลางกูร , สมชาย กฤษณะเศรณี ,อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ อภิไชย เย็นพูนสุข ,ชาตรี คงสุวรรณ และศิริศักดิ์ นันทเสน (หรือพี่ติ๊กชีโร่ นั่นเอง) กริช ทอมมัส , ไพฑุรย์ ไวทยากร , โสฬส ปุณกะบุตร ซึ่งภายหลังบุคคลดังกล่าวก็มาอยู่ร่วมชายคาแกรมมี่ เป็นโปรดิวเซอร์ผู้อยู่เบื้องหลังงานเพลงดีๆ ดังๆ ของแกรมมี่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีทีมเขียนเพลงตัวฉกาจอยู่เต็มค่าย นับได้กว่า 10 ชีวิต ในยุคแรกได้แก่ พี่ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค , พี่นิ่มสีฟ้า , อรรณพ จันสุตะ ,จักราวุธ แสวงผล , วรัชยา พรหมสถิต , สุรักษ์ สุขเสวี , ประชา พงษ์สุพัฒน์ เสาวลักษณ์ ลีลาบุตร (แอม ภายหลังทำงานเบื้องหลังด้วย)พวกนี้จะแต่งเพลงให้กับศิลปินเบอร์ใหญ่ๆ ที่เรียกว่าทีมเอ และยังมีทีมบี ทีมของพี่พนเทพ สุวรรณบุณย์ ก็อาทิ เทพนม สุวรรณบุณย์ , ธนา ชัยวรภัทร์ , ชนะ เสวิกุล , ปานสรวง-ปวงสรร ชุมสาย ณ อยุธยา ค่ายครีเอเทียเก่า ยกทีมมาอยู่ ซึ่งจะทำเพลงให้กับพวก ปั่น ชรัส มาลีวัลย์ ผุสชา วิยะดา กบทรงสิทธิ์ พวกนี้ก็มีอยู่ 2-3 คน และทีมซีที่จะทำให้ศิลปินเบอร์ไม่ใหญ่ พวกศิลปินเบอร์ใหม่ๆ ทีมนี้ก็ได้แก่ พวกครูเป็ด มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร มณฑวรรณ ศรีวิเชียร , ปิติ ลิ้มเจริญ , เชษฐา ยารสเอก , นันทนา บุญหลง หนึ่ง ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ และกมลศักดิ์ สุนทานนท์ (คนที่แต่งเพลงให้พี่เบิร์ด เพลงเล่าสู่กันฟัง) ธนพล อินทฤทธิ์ , ฟองเบียร์ ปฏิเวช  มีศิลปินเพียงไม่กี่คนในค่ายแกรมมี่ ที่พี่เต๋อเคยเป็นโปรดิวเซอร์ให้ในยุคแรกๆ ก็มีพี่ตู่ นันทิดา พี่เบิร์ด 4 ชุดแรก ตั้ม สมประสงค์ ฐิติมา สุตสุนทร นกแล(อัลบั้มแรกหนุ่มดอยเต่า) วสันต์ โชติกุล (งานเดี่ยวกีต้าร์โต๊ะ) คริสติน่าชุดแรก งานเพลงในยุคต่อมาของแกรมมี่ เป็นร็อคล้วนๆ ไล่มาตั้งแต่พี่เต๋อเอง วงบาราคูดัส , สุรสีห์ อัสนีวสันต์ , ธเนศ ,วงกัมปะนี วงไมโคร ,แหวน , นรินทร ณ บางช้าง , ใหม่ แอมเสาวลักษณ์ (ชุดแรก) บิลลี่ , นูโว ,อินคา จนครั้งนึงเคยมีการจัดคอนเสิร์ตมือขวาสามัคคี จนเป็นสัญลักษณ์ร็อคมือขวา หลังจากนั้นไม่นาน พี่เต๋อสร้างกระแสใหม่ให้กับวงการดนตรีไทยด้วยการเปิดตลาดเพลงแดนซ์ขึ้นมาใหม่ด้วยศิลปินอย่าง นูโว ,ใหม่ , เจ , คริสติน่า , แอนนันนทนา บุญหลง ,ยูเอชที ,มอส ทาทายัง ,นัท มีเรีย แกรมมี่ฉลองความสำเร็จในรอบ 10 ปี ของตนเองกับ*งานอัลบั้มพิเศษ คือซน โดยรวมเอาศิลปินร็อคชื่อดังของค่ายมาร้องเพลงที่นำมาร้องและทำดนตรีใหม่ (cover) งานนี้นับว่าประสบความสำเร็จ จนค่าย RS ต้องออกอัลบั้มอันปลั๊ก โดยรวมศิลปินฝั่ง RS มาท้าชน เช่นเดียวกัน หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีงาน ครบรอบ 15 ปี โดยมีงานอัลบั้มพิเศษอีกชื่อว่า 6-2-12 โดยเป็นการรวมศิลปินแดนซ์ ป็อปไอด้อล ของค่าย โดยมีการทำดนตรีและเพลงใหม่

_____________________________________________________
*อัลบั้มรวมศิลปินยุคปัจจุบันซึ่งทำขึ้นฉลองแกรมมี่ครบ 25 ปี เป็นงานอัลบั้ม play ซึ่งนำศิลปินวงดังๆ ของแกรมมี่ มาร้อง cover เพลงดังๆ ในอดีต โดยทำดนตรีใหม่ เช่น บอดี้สแลม ร้องเพลง เสียดายของพี่เบิร์ด วงสวีทมูลเลต ร้องเพลงฝากเลี้ยงของเจ แคลช ร้องเพลง เสียใจได้ยินมั๊ย ของใหม่ เป็นต้น

อัลบั้มซนเป็นอัลบั้มพิเศษฉลองครบรอบ 10ปี แกรมมี่ เป็นการรวบรวมศิลปินแนวร็อคชั้นนำของค่ายแกรมมี่นำเพลงดังมา cover ใหม่ ร้องโดยรวมศิลปินหลายท่าน มีเพลงแต่งใหม่เพลงเดียวชื่อ สรุปว่าบ้า ร้องโดยกลุ่มศิลปินที่ชื่อ กัมปะนี (ล้วนเป็นนักดนตรีมือเก๋า,โปรดิวเซอร์) อัลบั้มชุดนี้ก็นับว่าประสบความสำเร็จ ค่าย RS ตอนนั้นท้าชนด้วยอัลบั้ม อันปลั๊ก ร้องโดยศิลปินชั้นนำของอาร์เอสเช่นกัน หลังจากนั้นมีอัลบั้ม 6-2-12 ฉลองครบรอบ 15ปี แกรมมี่เป็นอัลบั้มที่โด่งดังมากร้องโดย 6 สุดยอดศิลปินแกรมมี่ จนค่ายคู่แข่งอย่าง RS ต้องออกอัลบั้มซุปเปอร์ทีน , Next มาชน ส่วนอัลบั้มพิเศษฉลองครบรอบ 20 ปี ชื่ออัลบั้มเซเว่น เป็นอัลบั้มที่มีเพลงใหม่ทั้งหมด ร้องโดยศิลปินหญิงชั้นนำของค่าย 7 คน ได้แก่ ใหม่ มาช่า แอม อุ๊ นิโคล นัท และ ตอง ส่วน RS ก็ออกอัลบั้ม Mission 4 Project ออกมาชน โดยมี เจมส์ โดม จอนนี่ และวอย ศิลปินชายวัยรุ่นที่ดีที่สุดของค่าย ออกมาแก้ต่างแกรมมี่ ซึ่งก็ค่อนข้างประสบความสำเร็จอีกอัลบั้มนึงของอาร์เอส

ยุคท้ายๆ ที่พี่เต๋อยังกุมบังเหียนค่ายแกรมมี่อยู่ ยังได้ปั้นศิลปินใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มิคกี้ วายน็อตเซเว่น วงฟลาย มาช่า วงไทม์ วงสวอน วงอินคา มอส ภายหลังจากนั้นไม่นาน พี่เต๋อก็มาเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งร้าย จากนั้นแกรมมี่ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้วยนโยบายโตแล้วแตก แตกแล้วโต โดยมีการแตกค่ายเพลงออกเป็นค่ายเล็กๆ ย่อยๆ โดยนำโปรดิวเซอร์แกนนำที่เคยทำงานกับพี่เต๋อ แยกกันไปกุมบังเหียนแต่ละค่าย โดยมีคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้บริหารมืออาชีพที่อากู๋ไปจีบมา ให้มากุมบังเหียนองค์กรใหญ่โดยรวมแทน และอากู๋ขยับขึ้นไปเป็นประธานแบบเดียวกับเฮียจั๊วของ RS ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

มอร์มิวสิค มีพี่ป้อม อัสนี ดูแลกุมบังเหียน มีศิลปินใหม่ในค่ายคือ โลโซ ,แบล็ค เฮด , อิงค์ อชิตะ อ่ำ อมรินทร์ ,วง Y not 7 ,จีรศักด์ ปานพุ่ม , ทราย

แกรมมี่แกรนด์ และ*ยีราฟ เรคคอร์ด มีพี่ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค กุมบังเหียน มีศิลปินอย่าง นิโคล , ใหม่ , แท็กซี่ , มิ้นท์ อรรถวดี ,ญารินดา ,พันซ์ วรกาญจน์

แกรมมี่โกลด์ มีพี่กริช ทอมมัส กุมบังเหียน มีศิลปิน อย่าง ก๊อต ,ไมค์ ภิรมย์พร , ศิริพร อำไพพงษ์ , ต่ายอรทัย พีสะเดิด

กรีนบีนส์ มีพี่บุษบา ดาวเรือง กุมบังเหียน มีศิลปิน พี่เบิร์ด ,มอส, ทาทายัง , คูณ3 ซุปเปอร์แก็งค์ ,ทีน 8 เกรด A

อาร์พีจี มี่พี่โอม ชาตรี คงสุวรรณ กุมบังเหียน มีศิลปิน คริสติน่า ,ปีเตอร์คอร์ป ,วงดับเบิ้ลยู , มิสเตอร์ทีม , ปาล์มมี่

เมกเกอร์เฮด มีหัสคุณ จันทร์กลม กุมบังเหียน มีศิลปิน ธนพล อินทฤทธิ์ ,นาวินต้าร์ ,ไบรโอนี่ ,บางแก้ว ,แมทธิว ดีน ,บีน้ำทิพย์

ยีราฟ และสนามหลวง เป็นค่ายเพลงน้องใหม่ของแกรมมี่ในยุคหลัง ยีราฟคุมโดยพี่ดี้ ส่วนสนามหลวงคุมบังเหียนโดย ดีเจ.เต๊ด ยุทธนา บุญอ้อม ลูกหม้อเก่าเอไทม์ 

อัพจี มีแสนคม สมคิด กุมบังเหียน มีศิลปิน แคลช , กะลา ,เป๊ก ผลิตโชค ,ลีโอ พุฒและวงรูม 99 

จีนี่ เรคคอร์ด มีพี่วิเชียร ฤกษ์ไพศาล กุมบังเหียน มีศิลปินสุเมธแอนด์เดอะปั๋ง , พลพล ,บูโดกัน ,เอบีนอร์มอล

เอ็กซ์แซ็กท์ มีพี่บอย ถกลเกียรติ วีรวรรณ กุมบังเหียน มีศิลปิน ปิงปอง ศิรศักดิ์ ,อั๋น ภูวนารถ พุนผลิน ในยุคแรก และศิลปินเดอะสตาร์ในยุคหลัง

คิวเอ็กซ์ มีพี่ธนา ลวสุต กุมบังเหียน ซึ่งค่ายนี้ต้องปิดตัวไปก่อนตามพี่ธนา ลวสุต ที่ลาออกไปอยู่อาร์เอส (ธนา เป็น 1 ในสมาชิกวงไฮดร้า เป็นโปรดิวเซอร์ให้ทาทายัง)

เวิร์คแก๊งค์ มี กฤช กฤษณาวารินทร์ คุมบังเหียนอยู่ ยุคหลังๆ มีค่ายเพลงเกิดใหม่อีกเพียบ และมีทีมงานใหม่ที่ย้ายมาจากค่ายอื่นมาร่วมงานอีกมากมาย  ส่วนทีมงานหรือนักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ที่เคยเป็นลูกหม้อเก่าก็มีย้ายออกไปก็เยอะเช่นกัน ตามวัฏจักรของวงจรชีวิตการทำงานหรือธุรกิจโดยทั่วไป

เป็นยุคที่มีการแตกกระสานซ่านเซ็นของศิลปินแกรมมี่ ไปตามคาแรกเตอร์ของแนวเพลงของค่าย และก็ปรากฏว่าไม่เวิร์ค บริษัทขาดทุนถึงขั้นเจ๊งศิลปินไม่ประสบความสำเร็จ ช่วงนั้นกระแสอินดี้มาแรง แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟดังมาก ซึ่งงานเพลงของแกรมมี่ไม่ตอบโจทย์กับยุคสมัย ซึ่งทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ และมีการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี mp3 ซึ่งทำให้ยอดขาย cdเพลงตกฮวบฮาบ มีเพียงค่ายมอร์มิวสิค แกรมมี่โกลด์ จีนี่เรคคอร์ด และเอ็กซ์แซ็กท์เท่านั้นที่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ นอกนั้นต้องกลับไปรวมกันเป็นแกรมมี่เหมือนเดิม ภายหลังคุณไพบูลย์ (อากู๋) ได้มีการรีแบรนด์ดิ้งองค์กรใหม่โดยใช้ชื่อ จีเอ็มเอ็มแกรมมี่แทน คุณอภิรักษ์ ลาออกไปอยู่ทรู แล้วพี่เล็กบุษบา ขึ้นมาเป็น CEO แทนคุณอภิรักษ์ ซึ่งมีการปรับองค์กรขนานใหญ่ ลดขนาดองค์กร ลดต้นทุน ตั้งบริษัทดูแลผลประโยชน์ศิลปิน ซื้อบริษัทอินเด็กซ์ ออแกไนซ์ ดูแลการจัดอีเว้นท์ รวมทุนกับไทเอ็นเตอร์เทนและฮับโห้หิ้น ตั้งบริษัทหนังชื่อ gth ตั้งบริษัทจีเอ็มเอ็มมีเดียดูแลสื่อวิทยุ ทีวี โดยมีพี่ฉอด สายทิพย์ กุมบังเหียน ภายหลังจากยุคนี้ มีการเกิดขึ้นของศิลปินวัยรุ่นใหม่ๆ อีกมากมาย ในโครงการจีจูเนียร์ ได้ กอล์ฟไมค์ กับชิน ชินวุฒิมาเป็นศิลปิน โครงการสตาร์เซิร์ส ได้ไอซ์ ศรัญญู และป็อป แคลอรี่บลาบลา มา โครงการเดอะสตาร์ ได้ศิลปินเดอะสตาร์ จำนวนมากมา อาทิ บี้ ซึ่งกลายมาเป็นศิลปินอันดับต้นๆ ในยุคปัจจุบัน โครงการไมค์ ไอด้อล ได้ พลอย ,เต้น และอะตอม ไมค์ ไอด้อล มาเป็นนักร้อง  แกรมมี่นับเป็นค่ายเพลงตัวยืน แทนที่นิธิทัศน์ในยุคก่อน และผลิตศิลปินและงานเพลงจนสามารถครองตลาดเพลงเมืองไทยกว่า 65% จนมาถึงช่วงปี 2540 ที่ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก วงการเพลงไทยซบเซาเป็นอย่างมาก อีกทั้งมีการปรับเปลี่ยนรสนิยมการฟังเพลง แนวเพลงขนานใหญ่ กระแสเพลงอินดี้ หรือ โพรเกรสสีพร็อค ได้รับความนิยมทั้งในอังกฤษ อเมริกา พร้อมๆ กับเทคโนโลยี mp 3 และลามมาถึงไทยด้วย แกรมมี่ก็อยู่ในช่วงปรับทัพองค์กรขนานใหญ่ เป็นช่วงยุคที่แกรมมี่แตกเป็นค่ายเพลงย่อยๆ อีกทั้งเป็นช่วงเวลาที่แกรมมี่เป็นขาลงอย่างมาก จนทำให้เกิดค่ายเพลงอินดี้ขึ้นมามากมาย และดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากป็อป และร็อค เดิมๆ ไปหาสิ่งใหม่ๆ ที่เรียกว่าอัลเทอร์เนทีฟ อยู่พักใหญ่ การเกิดขึ้นของดนตรีทางเลือกใหม่ๆ เช่น อัลเทอร์เนทีฟ อาร์แอนด์บี ฮิปฮ็อป ป็อบแจ๊ส โซล ซึ่งจะกล่าวถึงในบริบทต่อไปเบื้องหน้า ใช่ว่าแกรมมี่จะตามกระแสนี้ไม่ทัน เพียงแต่ไม่มีศิลปินที่เป็นธงนำในแนวใหม่ๆ เหล่านี้เลย จึงทำให้เกิดศิลปินแนวทางเลือกจากค่ายเล็กๆ หนึ่งในนั้นก็คือโอ้มายก๊อด มูเซอร์ ร่องเสียงลำไย สโตน อินเทอร์นัล และการมาของบอย โกสิยพงษ์กับค่ายเบเกอรี่มิวสิค ซึ่งกลายมาเป็นแจ็คผู้ฆ่ายักษ์ในเวลาต่อมา ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป และแล้วแกรมมี่ก็จำเป็นต้องไปหยิบของเก่ามาปัดฝุ่นใหม่ นั่นคือเอาเบิร์ดที่ fade ไปแล้วภายหลังจากชุด dream มาปั้นให้ดังใหม่ จากอัลบั้มซ่อมได้ และมาดังเป็นพลุแตกอีกรอบจากอัลบั้มรับแขก มีเพลงอย่างแฟนจ๋า และดัง ต่อๆกันมาอีกหลายอัลบั้ม ภายหลังโมเดลนี้สำเร็จ ก็มีการนำศิลปินอื่นๆ ที่ fade ไปแล้ว กลับมาทำอัลบั้มใหม่ บางคนก็ประสบความสำเร็จ อย่างเช่น อัสนี วสันต์ เสก โลโซ บางคนก็ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น เจ คริสติน่า มอส ใหม่ และเร็วๆ นี้อาจนำก๊อต จักรพันธุ์ อาบครบุรี กลับมาปลุกปั้นผลงานใหม่ให้ดังแบบพี่เบิร์ด แต่โมเดลที่แกรมมี่ต้องทำต่อไปก็คือหาเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ สดๆ มาปั้นให้เป็นเพชรเม็ดงาม แบบที่ทำกับบี้ เดอะสตาร์ กอล์ฟ ไมค์ จนสำเร็จมาแล้ว สุภาษิตเก่าๆ ที่เคยว่าไว้ การขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งนั้นยากแล้ว แต่การรักษาความเป็นเบอร์หนึ่งยิ่งยากกว่า เห็นจะเป็นจริง เพราะค่ายเพลงนี้ยังต้องผ่านการพิสูจน์อีกยาวนานในอนาคต และเผชิญผู้ท้าชิงรายใหม่ในอนาคตอีกต่อไป

เพลงดังของ 10 ศิลปินดังในค่ายนี้

พี่เต๋อ เรวัติ พุทธินันท์ เพลงเจ้าสาวที่กลัวฝน หากเธอคิดพบรักที่ชุ่มฉ่ำ อย่ามัวทำตัวเองมืดมน อย่ากลัวฝน เพราะฝนนั้นเย็นฉ่ำ อย่ามัวทำตัวเองมืดมน

เบิร์ด ธงไชย แม็คอินไตย์ เพลงขอบใจจริงๆ อยากขอบใจซักครั้งหนึ่ง ถึงคนที่เคยซึ้งใจ สุดท้ายก็จากกันไป และเหลือทิ้งไว้เพียงแค่ความทรงจำ อยากขอบใจที่สอนให้ ฝันและใฝ่จงชื่นฉ่ำ และสอนให้เจ็บให้ช้ำ ให้จำบทเรียนที่แพงเหลือหลาย

ไมโคร เพลงอยากจะบอกใครซักคน หนใดที่ใจเหงา ทุกคราวที่เราท้อ ขอเพียงแต่มีแค่ใครคนหนึ่ง ถึงวันที่สับสนทุกข์ทนอยู่ในใจ อยากจะบอกใครซัก

เพชร โอสถานุเคราะห์ เพลง เพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษ ที่จะเสกประสาทงามให้เธอ ไม่มีฤทธิ์เดช ไม่มีราชรถเลิศเลอ แต่ฉันมีใจพิเศษ จะพาเธอผ่านคืนนี้ไป ฉันเป็นเพียงผู้ชายคนนี้ที่มีใจมั่นรักเธอ

ใหม่ เจริญปุระ เพลงแพ้ใจ เก็บใจไว้ในลิ้นชัก ไม่อยากเจอแล้วรักแท้ เบื่อกับความปรวนแปร มันไม่แคร์และไม่หวัง มันเหมือนคนชินชา ไม่มองไม่ฟัง และแล้วก็มีเธอเดินเข้ามา เข้ามาค้นในลิ้นชัก ที่ปิดตายเพราะรักร้าว

อินคา เพลงยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ จากคนคนที่เคยมีใจกันอยู่ เปลี่ยนไปเป็นไม่มีเยื่อใยต่อกัน......คนที่รักร้างไกลนั้นเจ็บไม่นาน คนไม่รักใกล้กันช้ำใจยิ่งกว่า

ไมค์ ภิรมยพร เพลงยาใจคนจน เป็นแฟนคนจนต้องทนหน่อยน้อง พี่นี้ไม่มีเงินทอง มารองรับความลำบาก

โลโซ เพลงซมซาน อยากเดินเข้าไปบอกว่ารักเธอ เวลาที่เธอส่งยิ้มมา เหมือนดั่งโลกนี้สดใสขึ้นทันตา ในช่วงเวลาที่ต้องการใคร เข้าใจซักคน

อัสนี วสันต์ เพลงก็เคยสัญญา ก็เคยสัญญา เป็นมั่นเป็นหมาย ก็เคยสัญญา ช่างพูดง่ายดาย บอกอย่างงั้น บอกอย่างงี้ ไม่มีท่าทีอื่นใด

บี้ เดอะสตาร์ เพลง จังหวะหัวใจ มาเล่นในใจ ฉันเต้นแบบนี้ ฉันว่าเธอก็มีอาการใช่มั๊ย ใจมันเต้น มันเต้นเป็นจังหวะรัก แล้วเธอหล่ะเต้นจังหวะยังไง

ภาพยนตร์มักดังคู่กับเพลงและศิลปิน

ในอดีต เมื่อนึกถึงภาพยนตร์ไทยมักนึกถึงเพลงประกอบภาพยนตร์ที่โด่งดังคู่กันมา นับย้อนไปตั้งแต่สมัยดิอิมพอสสิเบิ้ล ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ให้กับภาพยนตร์ไทยเรื่องโทน ชัยรัตน์ เทียบเทียมทำเพลงประกอบภาพยนตร์ให้กับเรื่องวัยอลวน รักอุตลุต เพลงโด่งดังมาก เช่น ชู้วับชู้วัย สุขาอยู่หนใด และรักหนอรัก มาถึงยุควันวานยังหวานอยู่ซึ่งชื่อภาพยนตร์กับชื่อเพลงเป็นชื่อเดียวกัน ซึ่งเป็นผลงานของวงดนตรีแม็คอินทอช เรื่อยมาจนถึงยุคกลางที่มีภาพยนตร์ไทยของค่ายไทเอ็นเตอร์เทนเม็นท์ เช่น เรื่องซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อยมีเพลงตัดใจไม่ลง ร้องโดยเพ็ญพิสุทธิ์ (ภายหลังแต่งงานกับดีเจชื่อดังวินิจ เลิศรัตนชัย) จนทำให้ดาราในเรื่องต่างโด่งดัง รวมถึง เอ็ม สุรศักดิ์ วงศ์ไทย ภาพยนตร์เรื่องวัยระเริง ปี 2527 ก็ทำให้เกิดศิลปินใหม่ถึง 3 ศิลปินดังขี้นมาไล่เลี่ยกัน คือ สุรสีห์ และแหวนกับเพลงยุโรป และเพลงวัยระเริงร้องโดยอำพล ลำพูน วงไมโคร จากนั้นเรื่องที่ถือว่าดังมากในยุคต่อมาคือเรื่องปลื้ม ทำให้บิลลี่และเอ็ม สุรศักดิ์ได้เป็นศิลปินเดี่ยวชนกันในยุคนั้น บิลลี่และเอ็มร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องปลื้มชื่อก็ม้นเป็นอย่างนั้น ทำให้บิลลี่ได้ออกอัลบั้มบิลลี่บิลลี่ กับแกรมมี่ และเอ็มได้ออกอัลบั้มกับคีตา เช่นเดียวกับมอสและเต๋า ตอนนั้นเล่นภาพยนตร์เรื่องกลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ โด่งดังทั้งคู่ แม้จะไม่ได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ร่วมกัน แต่ภายหลังต่อมามอสได้ออกอัลบั้มกับแกรมมี่ชื่อชุดพิลึกกึกกือ และเต๋าได้ออกอัลบั้มสมชายจรดปลายเท้ากับค่ายอาร์เอส และเต๋ายังได้มารัองเพลงประกอบในภาพยนตร์เรื่อง โลกทั้งใบให้นายคนเดียวอีก 1 เพลง ดาราในเรื่องก็ได้มาเป็นศิลปินสังกัดอาร์เอสในเวลาต่อมาทั้งนุ๊ก สุทธิดา และปราโมทย์ แสงศรด้วย ส่วนมอสได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ทำให้ดาราในเรื่องทั้งหมดกลายมาเป็นศิลปินโด่งดังในยุคนี้อีกมากมายนั่นคือเรื่อง รักออกแบบไม่ได้ โดยมอสร้องคู่กับทาทายังชื่อเพลงแค่เพียงเพื่อนเท่านั้น ดารานำในเรื่อง ซึ่งมีชาคริตและเรย์แม็คโดนัลด์ และอ้น ศรีพรรณเล่นด้วย นอกจากนี้เพลงประกอบภาพยนตร์ในยุคหลังหรือยุคปัจจุบัน มักแยกกันไปตามค่ายเพลงที่คู่กับค่ายหนัง เช่น แกรมมี่ทำเพลงประกอบให้ค่าย GTH (ตัวอย่างเพลงไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ ประกอบ ภ.สายลับจับบ้านเล็ก,เพลงอย่างน้อย ประกอบ ภ.ปิดเทอมใหญ่ฯ) ค่ายอาร์เอสก็ทำเพลงประกอบให้กับหนังค่ายอาวองของตัวเอง (ตัวอย่างเพลงพิษรัก ประกอบ ภ.แฟนเก่า เพลงชะแว่บ แช่แว่บ ประกอบ ภ.พยัคฆร้ายส่ายหน้า) และค่ายหนังสหมงคลฟิมล์อาจใช้บริการของค่ายเบเกอรี่หรือค่ายเพลงอื่น เพลงประกอบภาพยนตร์ในยุคหลังที่จัดว่าดังมาก ก็จากภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยาม เพลงกันและกัน ที่ร้องโดยคิววงฟลัว ค่ายเบเกอรี่


ค่ายคีตา ต้นฉบับเพลงโจ๊ะ โป๊งชึ่ง สามช่า ตัวพ่อ  ก่อตั้งปี 2529

ค่ายนี้ถือกำเนิดจากคุณสมพงษ์ วรรณภิญโญ (วิศิษฐ์วานิชย์) และคุณประภาส ชลศรานนท์ ในชื่อค่ายเทปคีตาเทปและแผ่นเสียง ปัจจุบันแยกกันไปอยู่ทีวีธันเดอร์ และเวิร์คพ้อยท์ แล้ว เพลงในยุคแรกจะเป็นเพลงป็อปแนวใสๆ แบบฉบับเดียวกับแกรมมี่ ศิลปินในยุคแรกก็ได้แก่ หนุ่มเสก , อังศนา ช้างเศวต, แอนนา โรจน์รุ่งฤกษ์ ,วงเฌอ วงเยื่อไม้ วงเฉลียง แต่ภายหลังไม่ดังเปรี้ยงปร้างเท่าที่ควร จึงมีการปรับกระบวนทัพใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็นคีตาเรคคอร์ด มีการดึงเอาดารามาเป็นศิลปิน จนเกิดเป็นตำนานค่ายที่เอาแต่ดารามาเป็นศิลปิน อาทิ สามโทน, ภัสสร บุณยเกียรติ, อ้อม สุนิสา, แสงระวี ,ภุชงค์, แซม, สันติสุข ,จารุณี ,พงษ์พัฒน์,นีโน่ , เอ็ม สุรศักดิ์ วงศ์ไทย,โก้ นฤเบศร์,ยุ้ย ปัทมวรรณ ,มะลิลา บราซิลเลี่ยน ในยุคนี้ศิลปินทุกเบอร์จะมีเพลงโจ๊ะประจำตัวคนละหนึ่งเพลง ไว้แดนซ์แข่งกับค่ายคู่แข่งคือแกรมมี่ โดยไม่สนใจคุณภาพเสียงของนักร้องว่าจะเป็นเช่นไร เน้นดนตรีโป๊งชึ่ง สามช่า ว่าไปเรื่อย ดีแต่ว่าค่ายนี้มีนักแต่งเพลงที่ฝีมือฉกาจฉกรรจ์อยู่ทำให้เพลงติดหูโดนใจคนฟัง เป็นที่นิยมในยุคนั้น เพลงดังในยุคนั้นก็ได้แก่ สามโทน (เพลงเจ้าภาพจงเจริญ) ฮันนี่ ภัสสร (เพลงเสือ) อ้อม สุนิสา (เพลงถอยดีกว่า) มะลิลาบราซิลเลี่ยน (เพลงไม่อ้วนเอาเท่าไร) เอ็ม สุรศักดิ์ (เพลงอยากไปก็ไป,ละลาย) พงษ์พัฒน์ (เพลงฟั่นเฟือน) แสงระวี (เพลงแมงมุมและแม่มด) ชุติมา (เพลงหัวงู) ยุ้ย ปัทมวรรณ (รู้แล้วจะหนาว) โก้ นฤเบศร์ (เพลงวอนซะแล้ว) จารุณี (เพลงแจงแวง) นีโน่ (เพลงคนขี้เหงา) คนแต่งเพลงดีๆ ของค่ายนี้คือคุณฉัตรชัย ดุริยประณีต สมาชิกคนหนึ่งของวงเฉลียง ปิติ ลิ้มเจริญ ระวี กังสนารักษ์ เจี๊ยบ วรรธนา อีกคนก็พี่จิก ประภาส ชลศรานนท์นั่นเอง ส่วนทีมทำดนตรีจะเป็นภูษิต ไล้ทอง ทนงศักด์ อาภรณ์ศิริ (หน.วงเพื่อน)โดม ทิวทอง สุรชัย บุญแต่ง จิรพรรณ อังศวานนท์ (หน.วงบัตเตอร์ฟลาย ซึ่งทำให้กับอัลบั้มของวงออโต้บาห์น) ศิลปินยุคหลังที่เปลี่ยนชื่อเป็นคีตาเอ็นเตอร์เทนเม้นท์แล้ว ได้แก่ ชุติมา นัยนา ที-สเกิร์ต ทิคแทคโท แอนเดรีย ดร.คิดส์ ฝันดี-ฝันเด่น บิลลี่ โอแกน โก้ธีรศักด์ ค่ายคีตาดังเป็นพลุแตกก็ช่วงปี 2531-2537 เท่านั้น ภายหลังจากช่วงฟองสบู่แตกปี 2540 ค่ายคีตาก็แตกตามไปด้วย โดยศิลปินเบอร์สุดท้ายที่ไม่ได้ออกผลงานก็คือต่อนันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล ศิลปินที่ยังไม่ได้เกิดก็ดับเสียก่อน

พันธมิตรเพลงไทย การผนึกกำลังกันของค่ายเพลงเบอร์รองเพื่อต่อกรกับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่แกรมมี่

วอร์เนอร์มิวสิค ช่วงแรกค่ายวอร์เนอร์มิวสิค (ประเทศไทย) ทำแต่การจัดจำหน่ายอัลบั้มเพลงสากล ภายหลังมีการผลิตงานศิลปินไทยด้วย ศิลปินเบอร์แรกๆ ก็เช่น คาราบาว แหวน สุกัญญา มิเกล บิลลี่ วิยะดา (ย้ายมาจากแกรมมี่) คณาคำ (บี๋)

มูเซอร์ เป็นการแตกหน่อบางส่วนมาจากคีตาเดิม โดยมีประภาส ชลศรานนท์ กุมบังเหียนใหญ่ และมีโปรดิวเซอร์หลายคนมาจากคีตา จะเห็นได้จากงานเพลงมีกลิ่นของคีตาอยู่มาก ศิลปินในสังกัดก็เช่น กษาปณ์ มาม่าบูล ทีโบน แบดบอย สมเกียรติ(ซีมิกซ์)
เอสพีศุภมิตร/เทโร เป็นค่ายเพลงที่ถือได้ว่าสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นผู้ผลักดันอยู่เบื้องหลัง ศิลปินเบอร์แรกๆ จะเป็นดาราช่อง 3 เช่น กิตติพันธุ์ พุ่มสุโข ตรีรัก รักการดี สถาพร นาควิไล นกจริยา แอนโฟเน่ วงชาย วงยูเรเนี่ยม (พี่ปู แบล็คเฮด เคยเป็นนักร้องนำวงนี้) พาเมล่า เบาว์เด้น ทาทายัง และนายสะอาด

นิธิทัศน์ ในยุคนั้น นิธิทัศน์กลายเป็นค่ายเล็กไปแล้ว ทำแต่อัลบั้มเพลงเก่ามาปัดฝุ่นใหม่ และเพลงลูกทุ่ง เช่น นิค นิรนาม, อ๊อด โอภาส ,เพ็ญโพยม (ย้ายมาจาก RS)

โปรเอส “สร้างสรรค์ผลงานดีมีคุณภาพอีกแล้วครับท่าน” ค่ายนี้จะมีงานเพลงที่เป็นอมตะคลาสสิค แนวลูกกรุงผสมลูกทุ่ง เช่นของ หยาด นภาลัย นิตยา บุญสูงเนิน

วงการเพลงเพื่อชีวิต เลือดเนื้อและวิญญาณ

หากพูดถึงวงดนตรีที่เป็นตำนานของเพลงเพื่อชีวิตในบ้านเรา ก็คงต้องนึกถึงวงคาราวานเป็นวงแรก นับแต่ช่วงเหตุการณ์ 16 ตุลา 2514 และ 6 ตุลา 2516 ประชาชน คนทั่วไป แม้กระทั่งนักดนตรีก็ได้ซึมซับบทเรียน และอยู่ร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลา อุดมการณ์การต่อสู้ รวมถึงจิตวิญญาณในการเขียนเพลงล้วนหล่อหลอมมาจากการต่อสู้ทางการเมือง และเสรีภาพของประชาชน การเรียกร้องประชาธิปไตย ทำให้เนื้อหาของเพลงในแนวนี้จะมีเนื้อหาสาระ กินใจ ใส่จิตวิญญาณ มีการสื่อสารกับผู้ฟังได้อย่างลึกซึ้ง สร้างกำลังใจ หรือปลุกเร้าอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ศิลปินในยุคแรกๆ ก็เช่น กัมมาจล มาลีฮวนน่า คาราวาน วงสันติภาพ วงคาราบาว วงอินโดจีน วงโฮป วงแฮมเมอร์ จรัล มโนเพ็ชร คนด่านเกวียน จนมาถึงน้าหมู พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ มงคล อุทก ฤทธิพร อินสว่าง พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ซูซู กะท้อน หรือแม้แต่ ภูสมิง ผมก็ถือว่าน่าจะจัดรวมอยู่ในหมวดศิลปินเพื่อชีวิตได้เพราะเนื้อหาของเพลงมันไม่ใช่แบบบอกรักจ๊ะจ๋าเหมือนแนวเพลงป็อป ร็อคทั่วไป วงการเพลงเพื่อชีวิตรุ่งเรืองสุดขีดนับตั้งแต่ช่วงปี 2525 มาจนถึงช่วงก่อนปี 2540 ซึ่งภายหลังแนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟเข้ามาอย่างเต็มตัว วงการเพลงเพื่อชีวิตก็เงียบสนิทและแม้ว่าในปัจจุบันยังเหลือวงเพื่อชีวิตมาจนถึงปัจจุบันอย่างวงคาราบาว แต่อุดมการณ์ ท่วงทำนอง จิตวิญญาณของเพลงเพื่อชีวิตก็เปลี่ยนไป เป็นเพื่อชีวิตศิลปินซะมากกว่า งานเพลงดีๆ มีคุณค่าอาจได้เห็นในยุคหลังน้อยลงมาก นับแต่ปูพงษิ์สิทธิ์ คัมภีร์เสือตัวสุดท้ายของวงการเพลงเพื่อชีวิตแล้วก็แทบไม่มีศิลปินเพื่อชีวิตเกิดใหม่คนใด โด่งดังและมีผลงานคุณภาพให้กับผู้ฟังอีกเลย เหลือแต่เพียงเพื่อชีวิตกลายพันธุ์อย่างคาราบาวเท่านั้นที่ยังคงอมตะอยู่ในใจสาวกหัวควายมาจนถึงปัจจุบัน

โบกมือลา เสียงเพลงครวญมาต้องลาแล้วเพื่อน กี่ปีจะลับเลือน ฝากเพลงคอยย้ำเตือน หวนให้ จากกันไกล แม้เพียงร่างกายแต่ใจชิดใกล้............. ขุนเขาไม่อาจขวาง สายธารเทียบทันได้ ความหวังยังพริ้มพราย เก่าตายมีใหม่เสริม ชีวิตที่ผ่านพบ มีลบย่อมมีเพิ่ม ขอเพียงให้เหมือนเดิม กำลังใจ....  อย่าอาวรณ์ รักเราไม่คลอน คลางแคลงแหนงหน่าย ให้รักเราละลาย กระจายในผองชน ผู้ทุกข์ทนตลอดกาล      บทเพลงกำลังใจ/ หงา คาราวาน

ความรักเอยงดงามอย่างนี้ จนชั่วชีวี โหยหาความรักไม่เคยพอ อยากให้เธอเคียงข้างอย่างนี้ อยู่ใกล้กันตลอดเวลา พักกายพักใจ หลับตาฝันดี....  บทเพลงตลอดเวลา/ปู พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์

ฝันนั้นล่องลอย ดุจหิ่งห้อยแสงริบหรี่ ฝันนั้นยังมี สิ่งสดใสในคืนเดือนดับ รอตะวันรุ่งราง จะลาลับไม่รบกวน ฝันนั้นรัญจวน ก็จะหวนแสงหิ่งห้อย ร้อยเรืองรองในคืนข้างแรม    บทเพลงวันเวลา/หมู พงษ์เทพ

ฉันไม่เคยคิดสิ่งใด ที่ยาวไกลเกินสุดขอบฟ้า เราพบกันใต้ดวงตะวันรอน ยามจะนอน ฉันจะกล่อมนิทรา    บทเพลงคนเก็บฝืน/เล็ก คาราบาว

ก่อนจากกัน ขอสัญญา ฝากประทับตรึงตา จนกว่าจะพบกันใหม่ โบกมืออำลาสัญญาด้วยหัวใจ เพราะความรักติดตรึงห่วงใย ด้วยใจผูกพันมั่นคง..........โอ้เพื่อนเอ๋ย เคยร่วมสนุกกันมา แต่เวลาต้องพาให้เราจากกัน ไม่นานหรอกหนาเราคงได้มาพบกัน ไม่มีสิ่งใดขวางกั้น..........บทเพลงคำสัญญา/อินโดจีน

จันทร์เจ้าขา อาหารไม่พอ ครูกับหมอ บ้านฉันไม่มี จันทร์เจ้าขา ช่วยฉันสักที แก้วแหวนมณี ฉันไม่ต้องการ.......บทเพลงจันทร์เจ้าขา/โฮป

วงการเพลงไทยพลิกโฉม เปิดตลาดเพลงอินดี้ แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟ ถ้าในยุคนี้ ผู้เขียนจะนึกถึงศิลปินอย่างพี่ป้าง นครินทร์ เป็นตัวนำจ่าฝูงมาเลย ตามมาด้วยการฟาดฟันกันระหว่างโมเดิร์นด็อกกับสไมล์ บัฟฟาโล่ ที่สู้กันแบบหายใจรดต้นคอ ไม่มีใครยอมแพ้ใคร ทั้งความดัง เพลง และฝีมือ ศิลปินในยุคนี้ก็เช่น เดอะมัส ออดี้ วายน็อตเซเว่น อิง อ่ำ เนอสเซอรี่ซาวด์ วงพองพอง การเกิดขึ้นของค่ายเพลงอย่าง โอ้มายก๊อด ที่มีศิลปินอย่าง โจ๊กเกอร์ พี่ปุ๊ อัญชลี การเกิดขึ้นของค่ายเพลงโซนี่มิวสิค ศิลปิน ซาร่า โน้ตตูน ค่ายสโตน ที่มีฟอร์ด และอู๋ ธนากร ค่ายมิวสิคบั๊ก มีศิลปินอย่างวงลาบานูน บิ๊กแอสและวงละอ่อน (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวงบอดี้สแลม) ค่ายเพลงเฮ้าส์ออฟฟัน มีวง XL step (วงอาร์แอนด์บีวงแรกของไทย) เอกลักษณ์ของวงดนตรีในยุคนี้ สังเกตง่ายๆ ก็คือเวลานักร้องนำร้อง จะมีการกระโดด ๆ สปริงตัวขึ้น ร้องเพลงแบบโหนๆ ตัวโน๊ต ทำเสียงแหบพร่าแต่ห้าว ยุคนั้นทุกวงจะร้องเพลงในสไตล์แบบเดียวกันนี้หมด คือกระโดด ๆ แล้วร้องเพลง ไม่เว้นแม้แต่วงโลโซที่เป็นร็อคก็ยัง ร้องแบบกระโดด ๆ ตามสไตล์อัลเทอร์เนทีฟ กระแสอัลเทอร์ฯ มาคู่ไปกับอาร์แอนด์บีและฮิปฮ็อป ซึ่งศิลปินอาร์แอนด์บีในเมืองไทยไม่มีใครโดดเด่นได้เท่ากับต้นฉบับของอเมริกา อย่างวง ออลโฟร์วัน All 4 one ,Boyz 2 men บอยส์ทูเม็น วง XL step เป็นวงไทยวงแรกๆ ที่เริ่มนำวิธีการร้องแบบอาร์แอนด์บีส่วนนักร้องเดี่ยวที่ร้องในสไตล์อาร์แอนด์บีคนแรกๆ ก็เป็นนรีกระจ่าง คันธมาศ ซึ่งนำวิธีการร้องแบบอาร์แอนด์บี เสียงแบบยานคาง ยืดคำร้องและทำนองมานำเสนอแต่ก็ยังถือว่าเป็นความพยายามที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ นักร้องแนวอาร์แอนด์บีในยุคหลังที่จัดได้ว่ามีวิธีการร้องที่ดีก็เช่น เป๊ก ผลิตโชคในเพลงไม่มีใครรู้ แชมป์ ศุภวัฒน์ ในเพลงนอนน้อย ส่วนแนวเพลงฮิปฮ็อป มีหลายวงทำได้ดี อย่างเช่น โจอี้บอย ทีเคโอ ซึ่งเป็นวงฮิปฮ็อปวงแรกๆ ของไทย และก็มีขันที (ภายหลังกลายมาเป็นวงไทเทเนี่ยม)

ค่ายเบเกอรี่มิวสิค ถือกำเนิดปี 2538

การเกิดขึ้นของค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิคซึ่งเป็นการรวมตัวกันของบอย โกสิยพงษ์ สุกี้ สุโกศล แคมป์ สมเกียรติ์ อริยะชัย (ซีมิกซ์) และสาลินี ปันยารชุน (ออกจากสไมล์เรดิโอ มาตั้งเบเกอรี่ และภายหลังออกไปตั้งเฮ้าส์ออฟฟันแทน) งานเพลงชุดแรกของเบเกอรี่จะมีกลิ่นไอของอาร์แอนด์บีก่อน ซึ่งก็คืออัลบั้มแรกของบอยด์นั่นเอง ริทึ่มแอนด์บอยด์ มีเพลงดังอย่างรักคุณเข้าแล้ว “เก็บเพลงรักนี้ ไว้ให้เธอ เมื่อวันใดที่เจอะเจอ ฉันก็พร้อมจะยินยอมมอบความรัก” จากนั้นอัลบั้มต่อมาของบอยด์ก็ตอกย้ำความแรงกับเพลงอย่าง ฤดูที่แตกต่าง, จะเก็บเธออยู่ในใจเสมอ ,ห่างไกล , ใคร , ฯลฯ ศิลปินเบอร์แรกๆ ของค่าย ได้แก่ บอย โกสิยพงษ์ บอยตรัย โมเดิร์นด็อก ธีร์ ไชยเดช ทรีฟอร์ที นภ พรชำนิกับวงพีโอพี สมเกียรติ อริยะชัย(ซีมิกซ์) อรอรีย์ โจอี้บอย วงพอซ คริสติน ล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จหมด โดยเฉพาะกับวงโมเดิร์นด็อกกลายมาเป็นวงอัลเทอร์เนทีฟหมายเลข 1 ของไทย ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของเบเกอรี่ ภายหลังการเติบโตของเบเกอรี่มีการแตกค่ายย่อยๆ ออกไปเป็นค่ายโดโจ โดยมีสมเกียรติ์ กุมบังเหียน ศิลปินจะเป็นวัยรุ่นใสๆ เช่น ไทรอัมพ์คิงด้อม โปรเจ็คเอช วงนีซ ยุคท้ายๆ ของเบเกอรี่ ศิลปินมีคุณภาพมากแต่ไม่ติดตลาดแล้ว เนื่องจากกระแสเพลงหันกลับมานิยมเพลงป็อปในสไตล์ที่แกรมมี่ถนัด ศิลปินยุคหลังๆ ของเบเกอรี่จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อย่างเช่น วงพรู วงบีไฟว์ (มีน้องโต๋ อยู่ในวงด้วย) เบน ชลาทิศ คิว วงฟลัว วงเครสเชนโด้ และการล่มสลายของเบเกอรี่ก็มาถึง เมื่อมีการไปควบรวมกิจการกัน 2 ค่ายคือบีเอ็มจีและเทโร จากนั้นก็ไปรวมกับค่ายโซนี่อีกที เมื่อบริษัทโซนี่มิวสิคหันมาบุกเพลงไทยและติดต่อขอซื้อกิจการค่ายเพลงบีเอ็มจีเทโร ทำให้เบเกอรี่กลายเป็นบริษัทลูกย่อยๆ ของโซนี่อีกที จากนั้นสุกี้ก็ลาออกไปทำเรียลลิตี้ทีวีเกี่ยวกับสารคดี ส่วนบอยด์แยกตัวออกมาทำค่ายเพลงเลิฟอีส ในปัจจุบัน ซึ่งมีศิลปินเป็นของตัวเองอย่าง แสตมป์ ตู่ ภพธร แชมป์ ศุภวัฒน์ เป็นต้น

เพลงดังๆ ของค่ายนี้ ก็ได้แก่

บอย โกสิยพงษ์ เพลง ใคร ใครที่เกิดมาเพื่อผูกพัน ใครที่เกิดมาคู่กับฉัน ใครคือคนนั้น ช่วยมาบอกฉันที ให้ใจ ที่หวั่นไหวให้พึ่งพิงซักที ....

โมเดิร์นด็อก เพลง ก่อน ก่อนท้องฟ้าจะสดใส ก่อนความอบอุ่นของไอแดด ก่อนดอกไม้จะผลิบาน ก่อนความฝันอันแสนหวาน ในใจไม่เคยมีผู้ใด จนความรักเธอเข้ามา

พอซ เพลง ข้อความ ให้ฉันได้รับรู้ ให้ฉันได้มั่นใจ ไม่มีสิ่งไหนที่จะลึกซึ้งถึงคุณค่า ผ่านมา....

นภ พรชำนิ เพลงฤดูที่แตกต่าง อดทนเวลาที่ฝนพรำ ฟ้าก็คงจะทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง อดทนเวลาที่ฝนจาง ฟ้าก็คงสว่างและทำให้เราได้เข้าใจว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ

วงทรีฟอร์ที เพลงลมหนาว ลมหนาวมาเมื่อไร ใจฉันคงอ่อนไหว ...........

คริสติน เพลงดาว ค่ำคืนนี้ มีดาวอยู่ล้านดวง ฉันขอได้มั๊ยซักดวงเหอะ ช่วยฟังฉันที เพราะว่าคืนนี้ ฉันมีเรื่องร้อนใจ อยากอธิษฐานและขอดวงดาวให้

ไทรอั้มคิงด้อม เพลงผ้าเช็ดหน้า ช่วยเก็บผ้าเช็ดหน้าของฉันหน่อยได้มั๊ย เพราะฉันทำมันตก ตกลงที่ตรงกลางหัวใจ

กมลา สุโกศลแคมป์ เพลง live & learn เมื่อชีวิต เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน...........เพราะชีวิตคือชีวิต มีเข้ามาก็มีเลิกไป มีสุขทุกข์ หัวเราะหรือร้องไห้ อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ทำตามสิ่งที่มีไม่ใช่สิ่งฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

โจอี้ บอย เพลงลอยทะเล เฮ อยากเอาเธอนั้นไปลอยทะเล อยากดัดนิสัยคนใจโลเล.......

รัดเกล้า อมระดิษฐ์/ธนชัย อุชชิน เพลง ลมหายใจ จะให้ทำเช่นไร ในเมื่อใจไม่เคยลืมภาพเธอ หลับตาครั้งใดคงเหม่อ ภาพเธอในใจ...เธอคงไม่รู้ จะทำอย่างไรก็ไม่รู้ ว่ามีฉันนั้นคอยห่วงใย........

ยุคสมัยแห่งความทรงจำ และความเปลี่ยนแปลงได้จากเราไปแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในใจเราเสมอ และตลอดไป หากคุณยังมีหัวใจแห่งเสียงเพลงอยู่อย่างเต็มเปี่ยม

รายการวิทยุชื่อดังในอดีต และดีเจในความทรงจำ เมื่อพูดถึงรายการวิทยุและดีเจชื่อดังในอดีต ผู้เขียนจะนึกถึงคนแรกก็คือคุณวาสนา วีระชาติพลี ดีเจอาวุโส ผู้มีความรู้เรื่องเพลงสากลในยุค 80-90 อย่างหาตัวจับยาก จากรายการ radio active สมัยนั้นผู้เขียนจะนิยมชมชอบเธอเป็นดีเจหมายเลข 1 ในใจคู่กับคุณมธุรส โอสถานนท์และคุณเดือนเพ็ญ สีหรัตน์จากรายการเดียวกัน คลื่นเดียวกัน คือ 99.5 ส่วนฝ่ายชายก็จะเป็นคุณวิโรจน์ ควันธรรมคู่กับคุณนิมิตร ลักษมีพงษ์ ยุคนั้นไม่มีดีเจคลื่นใดจะดังและเก่งกว่าค่ายไนต์สปอตอีกแล้ว ยุคต่อมาก็จะเป็นพวกวินิจ หัถยา สาลินี มณฑานี ของค่ายสไมล์เรดิโอ อีกรายการนึงที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นมากในยุคนั้นก็คือรายการจิ๊กโก๋ยามบ่าย จัดโดยดีเจ นฤชา เพ่งผล แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงไทย หรือสตริงในยุคนั้น ส่วนอีกรายการนึงที่ผู้เขียนชื่นชอบเป็นพิเศษคือรายการเพลงไทยคุณขอมา จัดโดยดีเจศิริชัย เลิศวิริยะชัย รูปแบบรายการก็เป็นเอกลัษณ์ดีมาก มีการอ่านจดหมายของแฟนเพลงที่เขียนมาทุกฉบับ และขอเพลง ทำเสียงนุ่มๆ จากนั้นก็ค่อยเปิดเพลงตามที่ขอมาทุกเพลง ส่วนพี่มาโนช พุฒตาล ชอบที่จัดทำรายการเที่ยงวันอาทิตย์และบันเทิงคดีในยุคนั้นที่ช่อง 5 ตอนเที่ยง เป็นรายการที่ให้ความรู้วงการเพลงสากลได้ดีมาก ภายหลังพี่แกก็มาทำเป็นนิตยสารบันเทิงคดี อยู่พักใหญ่ ซึ่งผู้เขียนต้องซื้ออ่านเป็นประจำ จนสุดท้ายนิตยสารนี้ก็ได้ปิดตัวไปตามพิษเศรษฐกิจ ด้านพี่ทิวา สาระจูฑะ ก็เป็นกูรูด้านวงการเพลงอีกคนที่หันมาทำนิตยสารสีสัน และผู้ก่อตั้งรางวัลสีสันอวอร์ดที่แจกรางวัลให้กับคนคุณภาพในวงการเพลงไทย ยุคปัจจุบันเป็นยุคของเพลงไทยสากลที่ครองตลาดหน้าปัดวิทยุ แยกไปตามค่ายเพลง ค่ายแกรมมี่ก็จะมีคลื่นของเอไทม์ นำโดยคุณพี่ฉอด และค่ายอาร์เอสก็จะมีคลื่นของสกายไฮเน็ตเวิร์ค นอกนั้นเป็นคลื่นของสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 มีเวอร์จิ้นซอฟท์ ช่อง 7 มีเอฟเอ็มวัน ช่อง 9 มีซี๊ดเอ็ฟเอ็ม ต่างแก่งแย่งชิงเรตติ้งทางวิทยุกัน แต่ปัจจุบันผู้เขียนมีคลื่นประจำคลื่นใหม่ฟังแล้วชื่อคลื่น yes radio ที่เปิดเพลงไทยและสากลสมัยเก่า อยู่ 107.5 ไม่ฟังไม่ได้เลย จะหงุดหงิดเป็นอย่างยิ่ง

คอนเสิร์ตดัง และสถานที่จัดคอนเสิร์ตดังในอดีต

ยุคแรกๆ นั้นไนต์สปอตจะเป็นบริษัทนำเข้าคอนเสิร์ตดีๆ ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และก็มีเทโร จัดบ้างประปราย ภายหลังไนต์สปอตล่มสลายหายไป ก็กลายเป็นค่ายมีเดียพลัสในนามสไมล์เรดิโอ กับเทโร ที่แย่งกันจัดคอนเสิร์ตนำเข้าในเมืองไทย ปัจจุบันบริษัทจัดคอนเสิร์ตที่ใหญ่และมาแรงมากก็คือ อาดามัส ที่นำเข้าศิลปินจากเกาหลีเป็นหลัก เช่น เรน ดงบังชินกิ ซุปเปอร์จูเนียร์ บิ๊กแบง ส่วนคอนเสิร์ตศิลปินไทยนับตั้งแต่ยุคแกรนด์เอ็กซ์ ชอบจัดคอนเสิร์ตที่อินดอร์สเตเดี้ยมหัวหมาก หรือตามโรงแรมชื่อดังเช่น ดุสิตธานี เซ็นทรัลพลาซ่า ยุคต่อมาที่ฮิตในบ้านเราก็คือ mbk hall มาบุญครองไง ที่ฮิตอยู่พักนึง ก่อนจะมีที่ใหม่ๆ อย่างศูนย์สิริกิตต์ ศูนย์วัฒนธรรมฯ และการถือกำเนิดของอิมแพ็ค เมืองทองธานี ถ้าเป็นยุคนี้คอนเสิร์ตใหญ่ๆ ต้องจัดที่อิมแพ็คเป็นหลัก และในปัจจุบันก็จะมีที่ใหม่ๆ อย่างสนามรัชมังคลา กรีฑาสถาน พาราก้อนฮอลล์ ที่สยามพาราก้อน และก็เอ็มเธียเตอร์ที่สำนักงานใหญ่คิงพาวเว่อร์ ซอยรางน้ำ คอนเสิร์ตที่จัดว่ายิ่งใหญ่มีคนดูมากๆ ในบ้านเราก็เป็นคอนเสิร์ตไมเคิลแจ็คสัน สมัยเคยมาเล่นที่กรุงเทพฯ ,คอนเสิร์ตวงอีเกิ้ล วงสกอร์เปี้ยน คอนเสิร์ตเรน และคอนเสิร์ตดงบังชินกิ คอนเสิร์ตพี่เบิร์ด คอนเสิร์ตอัสนีและวสันต์ และล่าสุดบิ๊กเมาเธ่น ที่ไปจัดกันถึงโบนันซ่า เขาใหญ่

สถานบันเทิงในความทรงจำ

คลับเต้นรำมักคู่กับเสียงเพลง สุรานารี เสียงเพลง เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ยิ่งนัก ผู้เขียนเองเคยมีประสบการณ์นักเที่ยวราตรีอยู่พักนึง สมัยยังวัยรุ่น สถานบันเทิงที่เป็นตำนานและอยู่ในใจนักเที่ยวไม่มีวันลืมในยุคของผู้เขียนก็ได้แก่ เดอะฟลามิงโก้ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เดอะพาเลซ (ถนนวิภาวดี) พาราไดซ์ มิวสิคฮอลล์ (อรุณอัมรินทร์) นาซ่าสเปซี่โดรม (คลองตัน) บราวน์ชูก้าร์ และ แอ๊ดเมกเกอร์ ถนนหลังสวน ,เชียร์ผับใต้ถุนนาซ่า สตูดิโอ 333 ,ไรโน่ผับ ซอยทองหล่อ ,บรอดเวย์และแคทวอล์ค ข้างสวนอาหารนาทองรัชดา , มาร์ปาร์ตี้เฮ้าส์ ซอยพัฒน์พงษ์ ,โคล่าคอนเสิร์ตฮอลล์ เยื้องปากซอยทองหล่อ ฯลฯ เหล่านี้คืออดีตสถานที่เที่ยวของผู้เขียนที่พิสมัยการเที่ยว เต้นรำ กินเหล้าในยามราตรี มีความสุข ความสนุกสนานอย่างไม่รู้ลืม เพลงที่เปิดในสถานที่เหล่านี้ย่อมเป็นเพลงเต้นรำ โป๊งชึ่ง แดนซ์กระจาย คงไม่มาเปิดเพลงสุนทราภรณ์ หรือเพลงแจ๊ส พาลให้หลับกันทั้งผับแน่นอน แต่ละที่ก็มีความโดดเด่นไม่เหมือนกัน สถาปัตยกรรมการตกแต่งต่างกัน ผู้คนแม้จะคล้ายๆ กันแต่สไตล์การเปิดเพลงก็ต่างกัน และบรรยากาศก็ต่างกัน ผู้เขียนยังจำได้ว่าเคยไปแดนซ์บนตู้ลำโพงใหญ่ของเดอะพาเลซ จนลำโพงไม้ปริแตกนิดหน่อย จึงกระโดดลงจากตู้ลำโพงยักษ์นั้น เพราะเกรงว่าจะต้องจ่ายค่าชดใช้ความเสียหาย แต่ด้วยเสียงเพลงที่ดังอึกทึกครึกโครมของบรรยากาศ ทำให้ไม่มีใครได้ยินเสียงไม้ลำโพงแตก จึงชวนเพื่อนๆ กลับออกจากสถานที่แห่งนั้น ก่อนจะถึงเวลาปิด รีบเช็คบิลออกอย่างรวดเร็ว ทำเป็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพลงที่เต้นจนตู้ลำโพงแตกเพลงนั้นคือเพลงเสียมั๊ย ของพี่หนุ่ย อำพล ลำพูน นั่นแหละ และก็เพลงอื่นๆด้วย

เพลงประกอบละครดังคู่กับละครและศิลปินที่ร้อง

ถ้าจะนับเพลงประกอบละครน่าจะมีมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่มีการทำละครนั่นแหละ นับแต่ยุคสมัยหนังจีนกำลังภายในมาครองตลาดในบ้านเรา เพลงประกอบหรือเพลงนำหนังจีนเหล่านั้นก็ดังด้วย เช่น เพลงนำในเรื่องกระบี่ไรเทียมทาน เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ เทพบุตรชาวดิน จอมโจรจอมใจ ฯลฯ จนมาถึงยุคละครไทยเรื่องแรกๆ ที่มีเพลงประกอบละครที่ดังมากก็จะเป็นละครช่อง 7 ดาวพระศุกร์ กระสือ ปอบผีฟ้า 4 ยอดกุมาร สิงหไกรภพ ปลาบู่ทอง อรุณสวัสด์ ตะวันชิงพลบ ลอดลายมังกร คู่กรรม วันนี้ที่รอคอย ฯลฯ ฟากช่อง 3 ก็เริ่มตั้งแต่น้ำตาลไหม้ สายโลหิต แต่ปางก่อน ทหารเสือเจ้าตาก พริกขี้หนูกับหมูแฮม และก็ที่ฮิตล่าสุดก็เป็นเรื่องสวรรค์เบี่ยง กับใจร้าว (เพลงประกอบร้องโดยอ๊อฟ ปองศักดิ์และบอย พีชเมกเกอร์ คือเพลงจุดอ่อนของฉันอยู่ที่หัวใจและใจฉันเป็นของเธอ) อิทธิพลของเพลงนำและเพลงประกอบละครนั้นเป็นตัวสร้างเรตติ้งและความน่าสนใจและสร้างอารมณ์ร่วมให้คนดูละครด้วย จะสังเกตจากละครของค่ายเอ็กซ์แซ็กท์ที่ฉายทางช่อง 5 จะมีเพลงประกอบหรือเพลงนำที่ไพเราะทุกเรื่อง นับจากวังน้ำวน จุดนัดฝัน ตะกายดาว 3หนุ่ม3มุม เพื่อเธอ ทอฝันกะมาวิน มาจนถึงเรื่องล่าสุดพรุ่งนี้ก็รักเธอ

นักแต่งเพลงสุดยอดในดวงใจผู้เขียนและเพลงดังที่เป็นผลงานสุดฮิต

กรวิก หรือสันติ เศวตวิมล เพลงที่แต่ง ก็เช่น งานวัด,ป้ากะปู่
ชาลี อินทรวิจิตร เพลงที่แต่ง ก็เช่น ว้าเหว่,ทะเลไม่เคยหลับ
สุรพล โทณะวนิก เพลงที่แต่ง ก็เช่น ใครหนอ,จูบฟ้าลาดิน,หนาวเนื้อ,พิษรัก
ดี้นิติพงษ์ ห่อนาค ฯลฯ เช่น ก็เคยสัญญา,ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ,แพ้ใจ,กองไว้,รักแท้ยังไง
อรรณพ จันสุตะ เพลงที่แต่ง เช่น คู่กัด,เอาไปเลย,ฝากเลี้ยง
นิ่มสีฟ้า กันยารัตน์ เช่น ใจฉันเป็นของเธอ,จุดอ่อนของฉันอยู่ที่หัวใจ,เสียดาย
สุรักษ์ สุขเสวี เช่น เธอผู้ไม่แพ้,วิมานดิน,หากันจนเจอ,หมากเกมส์นี้,นิยามรัก
ครูเป็ด มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร เช่น อยากให้เธออยู่ตรงนี้,รักแล้วรักเลย,คำตอบ
บอย โกสิยพงษ์ เช่น ฤดูที่แตกต่าง,รักคุณเข้าแล้ว,ใคร,ห่างไกล,live&learn
ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ เช่น ขอบใจนะ,ไม่ต้องรู้ว่าเราคบกันแบบไหน,สิ่งสำคัญ
กมลศักดิ์ สุนทานนท์ เช่น เล่าสู่กันฟัง,เก็บเธออยู่ในหัวใจ
ประภาส ชลศรานนท์ เช่น อื่นๆ อีกมากมาย,เที่ยวละไม,เจ้าภาพจงเจริญ
ฉัตรชัย ดุริยประณีต เช่น ละลาย,ตัวสำรอง,ทรมาน,ฟั่นเฟือน,ยอม
ครูสลา เช่น ยาใจคนจน,ปริญญาใจ,ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้,คนบ้านเดียวกัน
จิตนาถ วัชรเสถียร เช่น ทุกเพลงในอัลบั้มแรก(หนึ่งเดียวคนนี้)ของอัญชลี จงคดีกิจ
เสาวลักษณ์ ลีละบุตร เช่น แค่เสียใจไม่พ่อ,เสียมั๊ย,ความทรงจำ,ครึ่งหนึ่งของชีวิต

ศิลปินในดวงใจผู้เขียน

ไม่ขอเรียงอันดับละกันเพราะปวดหัว และไม่สามารถจำแนกแนวเพลง ภาษาได้ แต่เป็นศิลปินในดวงใจจริงๆ สามารถร้องเพลงคลอตามได้อย่างไม่เคอะเขิน และอินไปกับเสียงเพลงของศิลปินเหล่านี้ได้ เขาหรือเธอคือใครกันบ้าง ดังนี้ ครับ

วิทนี่ย์ ฮุสตัน ,เดอะบีทเทิ่ล ,ทีโมธี สมิทช์ และวงอีเกิ้ล ,วงคาร์เพนเตอร์ , วงสกอร์เปี้ยน ,ฟิล คอลลิ่นและวงเจเนซิส ,มาดอนน่า ,ไมเคิล แจ็คสันและแจ็คสันไฟว์ ,มารายณ์ แครี่ ,พอล เอ็นก้า ,บีจี , แอร์ซัพพลาย ,เติ้งลี่จวิน ,ฟรานซิส ยิบส์ ,จอร์จ ไมเคิลและวงแวม , บอนนี่เอ็ม , จอร์จ เบนสัน ,ไมเคิลเลิร์นทูร็อค , ออล 4 วัน ,ร็อบบี้ วิลเลี่ยมและวงเทคแดท , วงสแปนนาดู บัลเล่ต์ , วงเชอร์เบ็ต , อีริค แคล็ปตั้น ,ไซม่อนแอนด์การ์ฟังเกิ้ล ,นิค คาเมน , ริชาร์ด มาร์ค , บอยส์ ทูเม็น , จอห์นนี่เฮทแจ๊ส , เพ็ทช็อบบอย ,แฟรงค์ ซีนาตร้า ,แน็ต & นาตาลีโคล , โทนี่ แบร็กตั้น , ไมเคิล โบลตัน , ร็อด สจ๊วต ,คูล แอนด์เดอะแก๊งค์, ไบรอัน อดัมส์ ,สไปซ์ เกิร์ล , เอลตัน จอห์น , เคนนี่ จี ,บาร์บาร่า สไตน์แซนด์ ,ลีโอเนล ริชชี่ , เชคเก้น สตีเว่น , คริสติน่า อากีเลร่า , ชาเนีย ทเวน ,ซีลีน ดีออน ฯลฯ (ยังมีอีก นึกไม่ออก)

ดุนพล แก้วกาญจน์และวงแกรนด์เอ็กซ์ ,อัญชลี จงคดีกิจ , วงชาตรี ,แอม เสาวลักษณ์ ลีลาบุตรและวงสาวสาวสาว ,นกแล ,เต๋อ เรวัติ พุทธินันท์ ,เดอะฮอทเป๊ปเปอร์ ,อัสนีวสันต์ ,ธงไชย แม็คอินไตย์ ,เศรษฐา ศิรฉายาและวงดิอิมพอสซิเบิ้ล ,นันทิดา แก้วบัวสาย ,ปั่น ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว ,คริสติน่า อากีล่าร์ ,อำพล ลำพูนและวงไมโคร ,ชรัส เฟื่องอารมณ์ ,วงอินคา ,วงเฉลียง, ชาตรี คงสุวรรณและวงดิอินโนเซ็นท์ ,อ๊อด รณชัย และวงคีรีบูน, มาลีวัลย์ เจมิน่า ,ใหม่ เจริญปุระ ,วงนูโว ,ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ,หรั่ง ร็อคเคสตร้า ,โป่ง หินเหล็กไฟหรือเดอะซัน ,วงคาไลโดสโคป ,วงเพื่อน ,ดิโอเวชั่น ,หนุ่มเสก ,เบิร์ทกะฮาร์ท , แหวน ฐิติมา สุตสุนทร ,บิลลี่ โอแกน ,พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ,วิยะดา โกมารกุล ณ อยุธยา ,อ๊อดโอภาส ทศพร ,ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสด์ ,จรัล มโนเพ็ชร ,ภูสมิง หน่อสวรรค์ ,เสกสรร สุขพิมายและวงโลโซ ,จีรศักดิ์ ปานพุ่ม ,ธเนศ วรากูรนุเคราะห์ ,ชัยรัตน์ เทียบเทียม ,บอย โกสิยพงษ์ ,จันทนีย์ อูนากูล และวงพิ้งค์แพนเธ่อร์ ,สุชาติ ชวางกูร ,ติ๊ก ชีโร่ (ศิรศักด์ นันทเสน) วงฟรีเบิร์ด , เพชร โอสถานุเคราะห์ , รวิวรรณ จินดา ,สุรสีห์ อิทธิกุล ,แอนนา โรจน์รุ่งฤกษ์ ,ปิงปอง(ศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์) , พลพล พลกองเส็ง ,สุเมธแอนด์เดอะปั๋ง , ธนชัย อุชชินและวงโมเดิร์นด็อก , โบสุนิตา ลีติกุล , ทาทายัง ,บอย พีชเมกเกอร์ , ปาล์มมี่ , วงโปเตโต้ , ตูนและบอดี้สแลม ,ดา เอ็นโดรฟิน ,แบ็งค์และวงแคลช ,ป็อป แคลอรี่ บลา บลา ,เป๊ก ผลิตโชค ,อ๊อฟ ปองศักด์ ,โฮป ,พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ,สุรชัย จันทิมาธรและวงคาราวาน ,พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ,สายัณห์ สัญญา ,ยอดรัก สลักใจ ,ไพรวัลย์ ลูกเพชร, สุรพล สมบัติเจริญ , ชรินทร์ นันทนาคร , ทูล ทองใจ , สมยศ ทัศนพันธ์ , สุเทพ วงศ์กำแหง , ธานินทร์ อินทรเทพ ,วินัย พันธุรักษ์ ,ศรชัย เมฆวิเชียร ,พุ่มพวง ดวงจันทร์, จักรพันธุ์ อาบครบุรี ,ดาวใจ ไพจิตร ,ครูเอื้อ สุนทรสนาน ฯลฯ (ยังมีอีก นึกไม่ออก)

เพลงในความทรงจำในแต่ละยุคสมัย

ยุคสุนทราภรณ์ เพลงที่ถือได้ว่าใช้คำได้สละสลวยและมีท่วงทำนองที่ไพเราะ จนผู้เขียนจัดให้เป็นสุดยอดในยุคนี้ มี 3 เพลงด้วยกัน ได้แก่ ปลูกรัก อุษาสวาท และ พรานล่อเนื้อ ร้องโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูสง่า อารัมภีร์

ยุคลูกทุ่งเฟื่องฟู มีเพลงที่ผู้เขียนเห็นว่าไพเราะและท่วงทำนองดีมีมากมายยากจะค้นหาที่เป็นสุดยอดได้ แต่ถ้าเอาตามความชอบและประทับใจของผู้เขียนจริงๆ มีอยู่ 3 ศิลปินนี้ เท่านั้น ก็คือ เผลอใจรัก ของยอดรัก สลักใจ ,ร้องไห้กับเดือนและมนต์รักลูกทุ่ง ของไพรวัลย์ ลูกเพชร และโปรดเถิดดวงใจ ,รอยรักในอารมณ์ ของทูล ทองใจ

ยุคลูกกรุงเฟื่องฟู มีเพลงที่ไพเราะและท่วงทำนองดีอยู่มากมายเข่นกัน ถ้าเอาตามความชอบของผู้เขียนเป็นการส่วนตัว ก็ขอยกให้ 3 เพลงเอกนี้เท่านั้น ได้แก่ หยาดเพชร ของชรินทร์ นันทนาคร ,สายชล ของจันทนีย์ อูนากูล ,รักข้ามขอบฟ้า ของศรีไศล สุชาติวุฒิ

สตริงยุคต้น มีเพลงที่เป็นสุดยอดอยู่ 3 เพลง ได้แก่ บัวน้อยคอยรัก ของวง แกรนด์เอ็กซ์ , สัญญารัก (ไปหาดใหญ่) ของวงชาตรี , เป็นไปไม่ได้และจูบฟ้าลาดิน ของวงดิอิมพอซซิเบิ้ล

สตริงยุคกลาง มีเพลงที่เป็นสุดยอดอยู่ 3 เพลง ได้แก่ ป่าลั่น ของสุเทพแอนด์เดอะแซ็กท์ ,จูบและยากยิ่งนัก ของวงชาตรี ว้าเหว่และใจคนคอย ของวงเพื่อน

สตริงยุคปลาย มีเพลงที่เป็นสุดยอดอยู่อีก 3 เพลง ได้แก่ เพียงกระซิบ ของวงดิอินโนเซนส์ คอยและจบเกมส์ ของวงฟรีเบิร์ด ที่สุดของหัวใจและแสนรัก ของแจ้ ดนุพล

ยุคเพลงเพื่อชีวิต มีเพลงที่เป็นสุดยอด ซึ่งคัดไว้เพียง 3 เพลง ดังนี้ กำลังใจ ของวงคาราวาน วันเวลา ของน้าหมู พงษ์เทพ ตลอดเวลา ของปู พงษ์สิทธิ์

แกรมมี่ยุคต้น มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลง ดังนี้ ยิ่งสูงยิ่งหนาว ของพี่เต๋อ เรวัติ ,ประสาททราย ของสุรสีห์ อิทธิกุล และเรามีเรา ของแหวน ฐิติมา สุตสุนทร

แกรมมี่ยุคกลาง มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลง ดังนี้ ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ ของอินคา ,เธอผู้ไม่แพ้และขอบใจจริงๆ ของ พี่เบิร์ด ธงไชย และ เก็บเธออยู่ในหัวใจ ของศิรศักดิ์ (ปิงปอง) อิทธิพลพาณิชย์

แกรมมี่ยุคปัจจุบัน มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลง ดังนี้ ยาพิษ ของบอดี้สแลม , หากันจนเจอ ของพี่กบ ทรงสิทธิ์ และพี่กบ เสาวนิตย์ , แทงข้างหลังทะลุถึงหัวใจและตะวันยังมีให้เห็น ของ อ็อฟ ปองศักดิ์

คีตายุคต้น มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลง ดังนี้ เพียงแต่วันนั้น ของแอนนา โรจน์รุ่งฤกษ์ , ทรมานและฟั่นเฟือนของพงษ์พัฒน์  และ หัวใจเพรียกหา,รักฉันวันละนิด ของจุ๋ม นรีกระจ่าง

คีตายุคกลาง มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลงดังนี้ อย่ายอมแพ้ ของอ้อม ,ยอม ของออโต้บาห์น และ รอรัก ของเบิร์ด กะฮาร์ท (ย้ายมาจากไนท์สปอต)

อาร์เอสยุคต้น มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลงดังนี้ รอวันฉันรักเธอ ของคีรีบูน , รอเธอ ของอ๊อด วงบรั่นดี ,สวรรค์เป็นใจ ของวงอินทนิล

อาร์เอสยุคกลาง มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลงดังนี้ ยอม ของหินเหล็กไฟ , ไม่อาจเปลี่ยนใจ ของเจมส์ เรืองศักดิ์ และ เก็บตะวัน ของ อิทธิ พลางกูร

เบเกอรี่ยุคต้น มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลงดังนี้ ฤดูที่แตกต่าง ของบอย โกสิยพงษ์, ก่อน ของโมเดิร์นด็อก ,ลมหนาว ของ ทรีฟอร์ที

เบเกอรี่ยุคกลาง มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลงดังนี้ live & learn ของกมลา/บอย , หัวใจผูกกัน ของบอย อนุวัฒน์, ข้อความ ของโจ้ วงพอซ

เบเกอรี่ยุคปัจจุบัน (หรือ เลิฟอีส) มีเพลงดีที่ขอคัดไว้เพียง 3 เพลงดังนี้ ความคิด ของแสตมป์ ,ช่วงเวลาที่ดีที่สุด ของป๊อด/บอย  และ  นอนน้อย ของแชมป์ ศุภวัฒน์

ศิลปินที่เคยมียอดขายอัลบั้มเกินล้านตลับ

ถ้าไม่นับที่เป็นวงอย่างแกรนด์เอ็กซ์ (อัลบั้มแกรนด์เอ็กซ์โอ) วงชาตรี(อัลบั้มรักครั้งแรก) วงคาราบาว (อัลบั้มเมดอินไทย์แลนด์) หรือศิลปินกลุ่มของอาร์เอส (อัลบั้มรวมดาว) ไม่นับศิลปินลูกทุ่งที่เกินล้านตลับนี่มีมากมาย เช่น ก็อต จักรพันธุ์ ไมค์ ภิรมย์พร ไชยา มิตรชัย ศิริพร อำไพพงษ์ ต่าย อรทัย ตั๊กแตน ชลดา เฉพาะที่เป็นศิลปินเดี่ยวก็ได้แก่ เบิร์ด ธงไชย อัลบั้มที่มียอดขายทะลุ 1 ล้านตลับเป็นอัลบั้มแรก คือ บูมเมอแรง และหลังจากนั้นก็มีอีกมากมาย อัลบั้มรับแขก ทำได้เกิน 5 ล้านชุด/แผ่น (สมัยนี้ไม่ค่อยมีเทปคาสเซ็ทแล้ว) (รายละเอียดของเบิร์ดดูในประวัติศิลปินในดวงใจ) คริสติน่า ทำได้ถึง 3 อัลลั้ม ได้แก่อัลบั้มแรก นินจา อัลบั้มต่อมา รหัสร้อน หรือเรดบีท และก็อัลบั้มโกลเด้นอาย คนต่อมาคือ อมิตา ทาทายัง สาวน้อยมหัศจรรย์ ทำได้ถึง 2 อัลบั้มสมัยยังอยู่กับแกรมมี่ ก็คืออัลบั้มแรกชื่อเดียวกับชื่อตัว และอัลบั้มที่ 2 คืออะเมซิ่งทาทา คนต่อมาก็ยังเป็นผู้หญิงอยู่ ก็คือ โบ สุนิตา ลีติกุล กับอัลบั้มแรกชื่อ โบ ที่มีเพลงฮิตอย่างฉันรู้ และอัลบั้มต่อมา ฉันจะอยู่เป็นคนของเธอ ก็ยังทำได้อีก ทางฝั่งอาร์เอส มีศิลปินที่เคยทำได้ล้านตลับก็อย่าง ปานธนพร อัลบั้มหวานผ่าซาก คนต่อมาก็คือบอยแบนด์อันดับ 1 อย่างดีทูบี ที่เคยดังเปรี้ยงปร้างมาแล้ว และอีกวงก็คือวงไอน้ำ ทางฝั่งเบเกอรี่ก็มีศิลปินที่ทำได้ เกินล้านก็อย่างโจอี้บอย ในอัลบั้มฟัน ฟัน ฟัน ศิลปินทางฝั่งแกรมมี่นั้นจริงๆ มีที่ทำได้ล้านตลับมีอีกหลายคน อย่างเช่น อัสนีวสันต์ ใหม่ เจริญปุระ นิโคล ไมโคร เสก โลโซ หากจะนับเอาผลงานหลายๆ อัลบั้มมารวมกันก็เกินล้านไปหลายๆล้าน แน่ๆ หากเป็นศิลปินในยุคปัจจุบันจะต้องนับกันที่จำนวนดาวน์โหลด ซึ่งแว่วมาว่าอันดับ 1 ในยุคปัจจุบันคือ บี้ สุกฤษณ์ หรือ บี้เดอะสตาร์ นั่นเอง ส่วนถ้าเป็นวงก็มีบอดี้สแลม

เคล็ดไม่ลับกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงการเพลงไทย

-ใครคือศิลปินไทยที่ go inter คนแรก ตอบ ก็คือ มณีนุช เสมรสุต อัลบั้ม manee ชื่อเดียวกับชื่อตัวออกทัวร์คอนเสิร์ตที่แคนาดาและยุโรป
-ในวงการเพลงไทย หรือผู้อยู่เบื้องหลัง ใครคือผู้ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ ตอบ ก็คือ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี ซึ่งเป็นผู้ที่เคยไปได้รับรางวัล การประกวดวาทยากรระดับโลก ที่คาร์เนกี้ฮอลล์ ประเทศสหรัฐ
-วงดนตรีของไทยวงแรกที่เคยไปทัวร์คอนเสิร์ตต่างประเทศมาก่อน ตอบ ก็คือ ดิอิมพอซสิเบิ้ล เคยไปทัวร์สหรัฐอเมริกา มาก่อนเป็นเวลาปีกว่า
-นักร้องที่ไม่เคยขายหน้าตา และไม่เคยปรากฏตัวใน MV ของตัวเองมาก่อนเลย ตอบ ก็คือ คุณหยาด นภาลัย (ท่านเพิ่งจะเสียชีวิตไป ในขณะที่กำลังเขียนงานชิ้นนี้อยู่ ขอไว้อาลัยกับการจากไปของท่านไว้ ณ ที่นี้)
-วงดนตรีของไทยที่มีเพลงฮิตมากกว่า 100 เพลงขึ้นไป มีซักกี่วง วงอะไรกันบ้าง ตอบ น่าจะไม่เกิน 5 วง ได้แก่ วงสุนทราภรณ์ วงชาตรี วงแกรนด์เอ็กซ์ วงคาราบาว วงรอยัลสไปร์ท จำได้เท่านี้
-ศิลปินของไทยที่ไม่เคยเดินสายโชว์ตัวตามรายการเกมส์โชว์ เดินสายร้องเพลงตามผับ สถานบันเทิง หรือรับจ้างทั่วไปเลยก็คือ ตอบ เบิร์ด ธงไชย

ปิดตู้เพลงเมืองไทย ยุคสมัยของวงการเพลงไทยและเพลงสากลที่รุ่งเรืองที่สุด

ในสายตาของผู้เขียนก็คือยุค 80s-90s ซึ่งวงการเพลงไทยอยู่ในช่วงท้ายๆของค่ายนิธิทัศน์ ช่วงบูมสุดขีดของค่ายไนท์สปอต และช่วงบุกเบิกของค่ายแกรมมี่ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของวงการเพลงไทย ที่มีความแปลกใหม่ของแนวดนตรีและศิลปินคุณภาพมากมาย ส่วนวงการเพลงสากลเป็นยุคบูมของเพลงดิสโก้ ป็อปแดนซ์ ซึ่งราชา ราชินีเพลงป็อปล้วนเกิดในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นไมเคิล แจ็คสัน หรือมาดอนน่า บอยแบนด์และเกิร์ลกรุ๊ปก็เกิดในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นดูแรนดูแรน นิวคิดส์ออนเดอะบล็อค เทคแดท บานานาราม่า โมเดิร์นแดนซ์ดีๆ ก็เกิดในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นริค แอชลีย์ เพ็ทช็อปบอย สแปนนาดู บัลเล่ย์ วงแวม เดวิด โบวี่ ฯลฯ บทบาทดีเจในปัจจุบันก็แตกต่างจากยุคก่อนอย่างเห็นได้ชัด ดีเจยุคก่อนเปิดเพลง ให้ข้อมูลคนฟัง ไม่เคยเอาหน้ามาให้ผู้ฟังได้เห็นโดยไม่จำเป็นกล่าวคือขายเสียง และลีลาการจัดจริงๆ ส่วนดีเจในยุคปัจจุบันต้องขายหน้าตาด้วย เพราะบทบาทดีเจในยุคนี้จะต้องทำหน้าที่ทางด้านการตลาดด้วย คือมีงานโชว์ตัว ออกงานอีเว้นท์ แสดงคอนเสิร์ต เป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้า เราจึงได้เห็นว่าเดี๋ยวนี้เราใช้ตาฟังเพลงกันมากขึ้น ไม่ใช่ใช้หูฟังเพลงเหมือนแต่ก่อน ดีเจยุคนี้จึงอาจกลายไปเป็นศิลปินบอยแบนด์ได้อย่างสบายๆ ทางด้านศิลปินนักร้องในสมัยนี้ หากคุณต้องการจะขายเสียงร้องจริงๆ คุณจะต้องสร้าง character ของเสียง และสไตล์การร้องที่แตกต่างจึงจะโดดเด่น หากร้องในสไตล์หรือวิธีของคนอื่น แทบจะสร้างเอกลักษณ์หรือความโดดเด่นมิได้เลย เพราะศิลปินใหม่เกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด แต่หากคุณจะขายหน้าตาหรือบุคลิกท่าทาง ก็จำเป็นจะต้องมีศิลปะในการนำเสนอที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์เช่นกัน ทางด้านแนวเพลงและในส่วนของภาคของดนตรีนั้นตามกันทันหมดแล้ว เพราะปัจจุบันหาศิลปินที่ผลิตงานเองและเล่นดนตรีสดได้เจ๋งจริงหายากมาก แทบนับได้เลย ส่วนใหญ่จึงต้องขายสไตล์การร้อง และวิธีการร้องซึ่งนับวันก็จะเหมือนๆ กันหรือ copy กันมาเป็นแบบเดียวกันหมด ขึ้นอยู่กับว่าสไตล์ไหนดัง และผู้บริโภคชื่นชอบก็จะลอกเลียนกันมาคล้ายกันหมด บางครั้งต้องอาศัยการจับเอาศิลปินดังคนนึง มาร้องประกบกับศิลปินที่กำลังจะดังอีกคนเพื่อเรียกเรตติ้ง ที่เรียกว่า (featuring) ฟีจเจอริ่งกัน เช่น มารายณ์ แครี่ ฟีจเจอริ่งกับ วงเวสต์ไลฟ์ โดย (cover) คัฟเว่อร์เพลงเก่าของฟิล คอลลิ่น ที่ชื่อเพลงว่า against all odds หรืออย่างศิลปินไทยก็รุจน์เดอะสตาร์ ฟีจเจอริ่งกับ วีทรีโอ้ในเพลงเธอหลอกฉัน ฉันหลอกเธอ featuring จะต่างกับ duet หรือ battle ก็ตรงที่น้ำหนักของการนำในเพลง featuring จะมีศิลปินอีกคนเป็นตัวประกอบเท่านั้น ส่วน duet กับ battle นั้นน้ำหนักของ 2 ศิลปินจะเท่ากัน เช่น บาว-ปานน่าจะเรียกว่า duet มากกว่า featuring เหล่านี้คือลูกเล่นของศิลปินในยุคนี้ ซึ่งไม่มีอะไรให้ขายมากนัก เพราะในภาคของดนตรีไม่โดดเด่นพอ จึงต้องเน้นขายที่ตัวศิลปินแทน

คุณโชค บูลกุล (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย) เคยกล่าวไว้ว่า ดนตรีในยุคปัจจุบันคงจะหาสิ่งใหม่ๆ ความแปลกใหม่ ไม่เจออีกแล้ว สิ่งที่จะสร้างความแตกต่างในยุคนี้คงเป็นเรืองของจังหวะหรือ beat มากกว่าเรื่องของแนวเพลงหรือทำนองดนตรี ซึ่งจะซ้ำวนและเปรียบเหมือนแฟชั่นที่จะหมุนวนกลับมาฮิตของเดิมอีกเป็นวัฏจักรของมัน เพราะแนวดนตรีไม่มีสิ่งใหม่อีกแล้ว เพราะรากฐานถูกสร้างไว้อย่างแข็งแรงแล้วในยุค 60s-90s ฟังดูแล้วน่าเศร้าเป็นอย่างยิ่งที่วงการเพลงทั้งของโลกและไทยคงจะไม่มีความคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ออกมาอีก จึงไม่แปลกใจว่าทำไมกระแสเพลงฮิตย้อนยุค(retro) ถึงได้กลับมาอีกในยุคนี้ และตามมาด้วยคอนเสิร์ตของศิลปินเก่าที่เคยได้รับความนิยม ใช่ว่าเขาจะไม่มีอาชีพอื่นทำ แต่คงเป็นเพราะกระแสเสียงเรียกร้องของแฟนเพลงที่ต้องการฟังเพลงเก่า/ดูศิลปินเก่าที่เคยรุ่งเรืองมากกว่า

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ได้ความรู้เรื่องดนตรีในบ้านเราเยอะเลยครับ

แสดงความคิดเห็น