วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คลีนิคการเงิน



คลีนิคการเงิน
ผ่านพ้นจากช่วงวิกฤติการเมือง 19 พ.ค. วิกฤติการเงินโลกแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤติเทพเจ้ากรีก และลามไปทั่วยุโรป คนไทยแหยงๆกับการทำธุรกิจ ภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวยังคงต้องรอต่อไป ชาวต่างชาติไม่กล้ามาลงทุน ไม่กล้ามาเที่ยว คนไทยควรที่จะต้องหวังพึ่งตนเอง อย่ารอฟ้ารอฝน รอรัฐบาล หากไม่มีใครมาลงทุน คนไทยก็ควรลงทุนกันเอง จับจ่ายซื้อของช่วยเหลือกันเอง เพื่อให้เศรษฐกิจมันเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับคำว่าการลงทุนนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการลงทุนแบบขนาดใหญ๋ หรือหมายถึงการลงทุนทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการลงทุนให้กับตนเอง ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า การเก็บออมนั่นแหละ หากคนไทยทุกคนมีวินัยในการเก็บออม เราจะไม่มีปัญหาหนี้สิน npl ประเทศก็จะมั่นคง เหมือนกับคนญี่ปุ่น คนจีน ที่เขามีวินัยในการเก็บออม แล้วมันจะเป็นที่มาของฐานการลงทุนที่ใหญ่ขึ้นมาเอง โลกาภิวัฒน์ทำให้เราต้องเดินตามก้นคนอเมริกัน และยุโรป แล้วดูตอนนี้สิ คนอเมริกันและยุโรปเป็นยังไง จนกันทั่วหน้า ประเทศมีหนี้สินสาธารณะมากมายเหลือคณานับ จนต้องเข้าสู่โปรแกรมไอเอ็มเอฟ หรือใช้มาตรการรัดเข็มขัดขนานใหญ่ ผิดกับพี่เบิ้มจีน และอินเดียที่เงินเก็บเหลือเฟือ ผมคิดว่าการลงทุนง่ายๆ สไตล์การลงทุนเพื่อตนเอง คือลงทุนตามสถานภาพของแต่ละบุคคล ใครมีน้อยก็ลงทุนน้อยได้ ไม่เห็นต้องไปมองภาพการลงทุนแบบพวกวานิชธนกิจ ธนบดี หรือพวกคนรวย ซึ่งมีคนกลุ่มนี้อยู่เป็นเปอร์เซ็นต์ไม่มากนักของประเทศ ผมคิดว่าเราต้องมองจากฐานคนจน คนรากหญ้า ที่เราต้องเริ่มรู้จักเริ่มเรียนรู้การลงทุนแบบการออมเงินส่วนบุคคล เริ่มได้ตั้งแต่วันนี้ ไม่ต้องรอว่าให้มีเงินมากแล้วจึงลงทุน รอให้รวยก่อนค่อยลงทุน หรือรอว่าให้มีครอบครัวก่อนจึงลงทุน ทั้งหมดนั้นสายไปเสียแล้ว คุณต้องเริ่มลงทุนเมื่อคุณเริ่มมีเงินเหลือนั่นแหละ ไม่ต้องรอจนกว่าพร้อม แล้วเมื่อไหร่หล่ะ ชาติหน้าก็ไม่ได้เริ่มเสียที มีหมื่นออมพัน มีพันออมร้อย มีร้อยออมสิบ มีสิบออมบาท ง่ายสุดก็หยอดกระปุก พอเริ่มเรียนมหาวิทยาลัย ก็ใช้ระบบฝากเงินในธนาคาร พอเริ่มทำงานก็ออมผ่านกองทุนรวมหรือฝากพันธบัตร ถ้ามีฐานะขึ้นมาหน่อยก็ซื้อหุ้นกู้บริษัทเอกชนหรือพันธบัตรรัฐบาล หากมีความรู้และบริหารความเสี่ยงเป็นก็ลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ฯ หากเป็นบุคคลมีฐานะดีมีอันจะกินขึ้นมาในระดับมีเงินเย็นมากๆ ก็อาจลงทุนในตราสารทางการเงินสมัยใหม่ เช่น ตราสารหนี้ ตราสารการเงินในตลาดล่วงหน้า เช่น พวกออพชั่น ฟิวเจอร์ หรือแม้กระทั่งตลาดซื้อขายทอง ฯลฯ ยุคสมัยนี้ความรู้หาได้ไม่ยากจากแหล่งต่างๆ ปัญหาก็คือคุณเริ่มที่จะศึกษามันอย่างจริงจังหรือยัง ผมคิดว่าความจำเป็นที่คนไทยต้องเรียนรู้และมีภูมิคุ้มกันเรื่องเงินๆ ทองๆ ควรมีมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะเราอยู่ในโลกทุนนิยม และเป็นทุนนิยมในยุคโลกาภิวัฒน์ ทุกอย่างม้นหมุนเร็วอย่างเป็นพลวัต เพียงแค่ชั่วข้ามคืน โลกเขาไปถึงไหนแล้ว คนไทยยังไม่รับรู้อะไรเลย ยังมัวเล่นหวย เล่นพนันบอล และเล่นแชร์กันอยู่เลย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงที่จะหมดตัวได้ทุกขณะ คราวหน้าจะมาพูดถึงแผนการลงทุนขั้นต้นอย่างง่ายๆ กันต่อ

แนวความคิดการวางแผนการเงินเพื่อยามเกษียน โดย คุณธีระ ภู่ตระกูล
บทความนี้แม้จะผ่านมาเป็นปี แต่ยังน่าสนใจ จึงขอนำมาลงในบล็อกนี้ให้อ่านกัน
วันนี้คุณมีเงินเพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณของตัวเองหรือยัง เพราะการเกษียณอย่างมีความสุข ต้องเริ่มต้นด้วยการวางแผนที่ดี

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : มีการศึกษาพบว่าชายไทยจะมีอายุหลังเกษียณไปอีก 25 ปี ในขณะที่หญิงจะอยู่ที่ 29 ปี


มีตัวเลขที่น่าสนใจถ้าคุณมีเงินเดือนๆ ละ 10,000 บาท และหลังเกษียณตั้งใจจะใช้เงินในอัตรา 50% ของเงินเดือน ถ้าคุณเป็นผู้ชายต้องมีเงิน 3 ล้านบาท เป็นหญิงต้องมี 3.5 ล้านบาท

แต่ถ้าคุณมีเงินเดือนๆ ละ 50,000 บาท แล้วตั้งใจจะใช้เพียง 50% ของเงินเดือนในช่วงเกษียณ คุณจะต้องมีเงินวันที่เกษียณ 15 ล้านบาทสำหรับผู้ชาย และ 17.4 ล้านบาท สำหรับผู้หญิง

ชีวิตหลังเกษียณไม่เร็วก็ช้าจะต้องเดินทางมาถึงทุกคน แต่การเกษียณอายุเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางของชีวิต ไม่ใช่จุดจบของการเดินทาง ในระหว่างเส้นทางนี้จึงมีความท้าทายรอคอยคุณอยู่มากมาย วันนี้เราจะมาฟังคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนเพื่อชีวิตหลังเกษียณกันดู

@ สังคมผู้สูงอายุ

“ธีระ ภู่ตระกูล” ประธานกรรมการ บลจ.ฟินันซ่า บอกว่า ประชากรไทย 64.2 ล้านคน มีอายุน้อยกว่า 14 ปี ประมาณ 23% มีอายุมากกว่า 60 ปี ประมาณ 10% โดยมีคนที่อยู่ในวัยทำงาน 15-60 ปี ประมาณ 67% ซึ่งในจำนวนนี้ว่างงาน 13%

โดยคนที่อยู่ในวัยทำงาน 54% มีเพียง 28% เท่านั้น ที่อยู่ในภายใต้ระบบบำเหน็จบำนาญ อีก 72% ของแรงงานที่เหลือไม่มีระบบบำเหน็จบำนาญรองรับ ซึ่งในจำนวน 23% ที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญคงต้องมาสำรวจดูความพอเพียงของเงินที่เตรียมไว้ใช้หลังเกษียณว่ามีพอเพียงหรือไม่ ในขณะที่อีก 72% ที่ไม่ได้อยู่ในระบบก็ต้องหันมาดูแลตัวเองเพื่อชีวิตหลังเกษียณที่จะเดินทางมาถึง ดังนั้นเรื่องการวางแผนหลังเกษียณทุกคนควรจะต้องหันมาดูแลตัวเองเป็นสำคัญ

“มีการคาดหมายว่าปริมาณประชากรของไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 64.2 ล้านคนในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 74.5 ล้านคนในปี 2593 โดยคนที่มีอายุเกิน 60 ปี จะเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี 2548 เป็น 28% ในปี 2593 โดยมีสัดส่วนของคนที่อยู่ในวัยทำงานลดลงจาก 67% ในปี 2548 เหลือ 54% ในปี 2593 หรือมีสัดส่วนของคนที่อยู่ในวัยทำงานต่อคนวัยเกษียณลดลงจาก 7 ต่อ 1 ในปี 2548 เหลือเพียง 2 ต่อ 1 ในปี 2593 เท่านั้น นี่คือเหตุผลที่เราควรจะต้องวางแผนเกษียณให้ตัวเองตั้งแต่วันนี้เพื่อจะไม่เป็นภาระของลูกหลานในอนาคตข้างหน้า”

จากการศึกแหล่งรายได้ในวัยเกษียณของครัวเรือนในสหรัฐที่มีรายได้เดือนละ 120,000 บาท พบว่าเป็นรายได้จากการทำงานหลังเกษียณ 36% ประกันสังคม 19% กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 20% การลงทุนส่วนตัว 23% และแหล่งรายได้อื่นๆ อีก 2%

โดยผู้ที่เกษียณอายุส่วนใหญ่ในสหรัฐต้องรับผิดชอบ 80% ของรายได้ตัวเองในวัยเกษียณ

นอกจากนี้ผู้วางแผนเกษียณอายุจะต้องคำนึงถึงส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายกับรายได้ (Income Gap) ที่จะเกิดขึ้นหลังเกษียณอีกด้วย เพราะเป็นช่วงที่รายได้จะปรับตัวลดลงในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากก่อนเกษียณเท่าไรนัก

“เพราะค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเป็นอุปนิสัยที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก ถ้าเคยใช้เดือนละ 100 บาท ก่อนเกษียณ หลังเกษียณจะให้ไปใช้เดือนละ 60 บาท เป็นไปได้ยาก ทั้งนี้พบว่า 80% ของค่าใช้จ่ายของวัยเกษียณจะมาในช่วง 2 ปีสุดท้ายของชีวิต ดังนั้นการเกษียณอย่างมีความสุขเริ่มต้นด้วยการวางแผนที่ดีเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ดูว่าปัจจุบันคุณมีเงินออมเท่าไรแล้ว ในยามเกษียณคุณต้องการใช้เงินเท่าไร คุณมีเวลาลงทุนกี่ปี และคุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยเท่าไร”

@ ความเสี่ยง 4 อย่าง

ธีระ ยังบอกอีกว่า มีการศึกษาพบว่าชีวิตหลังเกษียณถ้ามีรายได้ไว้ใช้จ่ายต่ำกว่า 70% ของรายได้เดือนสุดท้าย จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ แต่ตรงนี้คงต้องขึ้นกับรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคนด้วย แต่ถ้าดูแหล่งลงทุนเพื่อชีวิตหลังเกษียณที่คนไทยมีอยู่ในปัจจุบันไม่น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เราใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างเป็นสุขได้

ไม่ว่าจะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก็ยังไม่เพียงพอ ผู้ลงทุนจะต้องไปลงทุนอย่างอื่นด้วย เพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับพอร์ตการลงทุนของตัวเองโดยผ่านการทำงานของดอกเบี้ยทบต้น ถ้าเราสามารถหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปีได้

โอกาสที่เราจะบรรลุเป้าหมายเพื่อชีวิตหลังเกษียณก็จะง่ายขึ้น แต่ประเด็นคือเราจะไปหาผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปีได้จากที่ไหน พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ก็ให้ผลตอบแทน 4% เท่านั้น

“สิ่งที่นักลงทุนควรคิดคือทำอย่างไรให้เงินออมและเงินลงทุนของเราเติบโตมากกว่าเงินเฟ้อ 1) หางานใหม่ หรือ 2) หาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี เพราะการออมเพื่อการเกษียณเงินฝากและพันธบัตรรัฐบาลไม่ใช่คำตอบของการลงทุน”

นอกจากเรื่องของผลตอบแทนแล้ว ยังมีปัจจัยอีก 4 เรื่องที่จะทำให้การออมเพื่อเกษียณอายุของคุณไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจเอาไว้ได้ ได้แก่

1) ความเสี่ยงที่มีเงินออมไม่เพียงพอ

เป็นความเสี่ยงที่ใหญ่หลวงที่สุดของทุกคนคือ เงินออมหรือเงินลงทุนโตไม่ทันกับเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อในชีวิตประจำวันสูงกว่าเงินเฟ้อที่ทางการประกาศค่อนข้างมาก ตัวอย่างในปี 2550 นมแพงขึ้น 84% น้ำมันหุงต้มแพงขึ้น 66% ธัญพืชแพงขึ้น 45% ปศุสัตว์ แพงขึ้น 16% นี่คือราคาของสิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ

แต่ลองหันกลับมามองดูผลตอบแทนจากการลงทุนระหว่างปี 2542-2551 พบว่าเงินฝากประจำ 1 ปี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.85% พันธบัตรอายุ 10 ปี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.51% ในขณะที่การลงทุนในหุ้น 10 ปี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.93% อย่างไรก็ตามการลงทุนในหุ้นยังเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีเงินฝากและพันธบัตรในระยะยาว

“นี่จึงเป็นความเสี่ยงแรกที่จะทำให้เงินออมเพื่อการเกษียณไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพราะผลตอบแทนของการลงทุนโตไม่ทันกับเงินเฟ้อ ส่งผลให้คุณมีเงินออมไม่เพียงพอที่จะใช้เมื่อเกษียณ ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของคนที่อยู่ในวัยสร้างตัวและวัยเกษียณ”

2) ความเสี่ยงจากการลงทุน

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากการไปลงทุนที่จะเกิดขึ้นตามมา ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนี S&P500 ติดลบ 36.7% ,Nikkei ติดลบ 38.5% ,FTSE Euro100 ติดลบ 51.2% ,MSCI EM ติดลบ 59.3% ,MSCI World ติดลบ 43.9% ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยติดลบไปแล้วในเทอมของดอลลาร์สหรัฐ 56.7% ติดลบมากกว่าประเทศสหรัฐที่เป็นต้นตอของวิกฤติการเงินโลกในครั้งนี้อีก

หันมาดูกลุ่มประเทศ BRIC ในช่วง 10 เดือนแรก ตลาดหุ้นบราซิล ติดลบ 54.4% ,ตลาดหุ้นรัสเซีย ติดลบ 71.9% ,ตลาดหุ้นอินเดีย ติดลบ 64.6% และตลาดหุ้นจีนติดลบ 76.3% นี่คือความเสี่ยงจากการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ที่มีความผันผวนสูงเวลาขึ้นๆ แรง เวลาลงก็ลงแรงเช่นเดียวกัน

“ถ้านักลงทุนเข้าใจว่าการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ “จากสถิติการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วง 33 ปีที่ผ่านมา มี 17 ปีที่มีกำไร มี 16 ปีที่ขาดทุนถ้าคุณซื้อต้นปีขายปลายปี หากซื้อปีต่อปี โอกาสขาดทุน 50-50 แต่ถ้าลงทุนได้ระยะยาว 5-20 ปี ไม่มีขาดทุนมีแต่กำไร โดยผลตอบแทนย้อนหลังในช่วง 20 ปี อยู่ที่ 201% หรือเฉลี่ยปีละ 10% ดังนั้นการลงทุนในหุ้นควรจะมีระยะเวลาในการลงทุนที่ยาวหน่อย”

นอกจากนี้ยังควรมองหาโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ ในสหรัฐหรือยุโรปเองยังมีศักยภาพอีกมาก มีบริษัทดีๆ อยู่อีก แทนที่เราจะลงทุนกระจุกตัวอยู่แต่ในประเทศไทยก็กระจายการลงทุนไปในตลาดอื่นบ้าง ในสินทรัพย์ประเภทอื่นบ้าง เป็นการช่วยลดความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุนของตัวเอง

หากคุณมีโอกาสที่จะไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐจากสถิติของดัชนี S&P500 ตั้งแต่ปี 1937-2007 พบว่ามีถึง 53 ปีที่มีกำไร มีเพียง 18 ปีเท่านั้นที่ขาดทุน โอกาสในการที่คุณจะได้กำไรมีมากกว่าตลาดหุ้นไทยเยอะ โดยผลตอบแทนในระยะยาวของดัชนี S&P500 ที่ผ่านมาหลายวิกฤติก็ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10% ดังนั้นการลงทุนในหุ้นในระยะยาวยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีมากๆ

“ความเสี่ยงของการลงทุนนี้เป็นความเสี่ยงที่มีอยู่ในคนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยสร้างตัว ช่วงวัยเกษียณ หรือช่วงวัยชราไปแล้วก็ตาม”

3) ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ

ธีระ บอกว่า ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อจะทำให้เงิน 50,000 บาท ของคุณในวันนี้ เหลือ 30,477 บาท ในอีก 25 ปี ข้างหน้า ที่อัตราเงินเฟ้อ 2% ต่อปี โดยจะเหลือ 23,880 บาท ในอีก 25 ปีข้างหน้า ที่อัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปี และจะเหลือ 18,756 บาท ในอีก 25 ปีข้างหน้า ที่อัตราเงินเฟ้อ 4% ต่อปี ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อเป็นความเสี่ยงที่อยู่ในช่วงวัยเกษียณและวัยชราดังนั้นผู้ลงทุนควรจะมองหาการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ด้วย

“นอกจากหุ้นแล้วการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ก็เป็นการลงทุนที่สามารถจะต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ดี โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ RICI ติดลบ 29% แม้จะปรับตัวลงเช่นเดียวกับหุ้นแต่การปรับตัวลงน้อยกว่าหุ้น เพราะโดยปกติแล้วสินค้าโภคภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับหุ้นและตราสารหนี้น้อย”

จากการศึกษาผลตอบแทนของดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ RICI และดัชนีตลาดหุ้นไทยตั้งแต่เดือนก.ย.1998-ก.ค.2008 พบว่า ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ RICI ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 15.4% ต่อปี และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 18.4% ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 9.8% และมี SD 30% ซึ่งจะเห็นว่าการลงทุนในดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในขณะที่ความเสี่ยงต่ำกว่า โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) กับตลาดหุ้นไทยเพียง 0.09 เท่านั้น ซึ่งเหมาะที่จะใช้กระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุนอย่างมาก

4) ความเสี่ยงจากการมีอายุยืน

จัดเป็นความเสี่ยงของคนทุกวัยตั้งแต่วัยสร้างตัว วัยเกษียณ และวัยชราคือการมีอายุยืนยาวจนอาจจะทำให้เงินที่เก็บสะสมมานั้นหมดไปก่อนที่ตัวเองจะเสียชีวิต เพราะแนวโน้มอายุของคนเราจะยาวนานขึ้น โดยคาดว่าเพศชายจะมีอายุเฉลี่ยหลังเกษียณไปอีก 25 ปี ในขณะที่เพศหญิงจะมีอายุหลังเกษียณอีกประมาณ 29 ปี

@ พอร์ตการลงทุนหลังเกษียณ

ธีระ บอกว่า เพื่อตอบโจทย์การลงทุนเพื่อชีวิตหลังเกษียณนักลงทุนจะต้องจัดสรรเงินลงทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อย่างเหมาะสมเพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับพอร์ตการลงทุนของตัวเอง

ตัวอย่างพอร์ตการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนประมาณ 7.3% ต่อปี จะมีสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตร 15% หุ้น 50% อสังหาริมทรัพย์ 10% และการลงทุนทางเลือกอีก 25% ซึ่งการลงทุนทางเลือกนี้ เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ กองทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedge Fund) หรือการลงทุนในนิติบุคคล (Private Equity) เป็นต้น โดยกลยุทธ์การลงทุนหลังวัยเกษียณที่อยากจะแนะนำ

“ด้วยการจัดพอร์ตที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7.3% ต่อปี จะช่วยให้คุณมีเงินใช้ไปตลอดชีวิตได้เลย”

หากแบ่งสินทรัพย์การลงทุนออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1) ตราสารหนี้ 2) ตลาดหุ้นไทย 3) กองทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) และ 4) การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment : AI) แล้วนำสินทรัพย์

ทั้ง 4 ประเภทมาจัดพอร์ตการลงทุน จะได้พอร์ตการลงทุนต่างๆ ดังนี้

พอร์ตสำหรับคนอายุต่ำกว่า 45 ปี แบ่งเงินลงทุนในการลงทุนทางเลือก 35% ลงทุนในตลาดหุ้นไทย 25% และลงทุนในหุ้นโลกผ่านกองทุน FIF 40% จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 15% ต่อปี

โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) อยู่ที่ 9% ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณด้วยการทำงานแบบทบต้นของผลตอบแทนไปเรื่อยๆ เชื่อว่ายังไงก็จะมีเงินเพียงพอที่จะไว้ใช้หลังเกษียณอย่างแน่นอน

พอร์ตวัยเกษียณ อายุ 45-55 ปี ให้แบ่งเงินลงทุนในตราสารหนี้ 30% ลงทุนในตลาดหุ้นไทย 20% หุ้นต่างประเทศผ่าน FIF 30% และการลงทุนทางเลือกอีก 20% ซึ่งการจัดพอร์ตแบบนี้คาดว่าผลตอบแทนคาดหวังที่จะได้รับจะอยู่ประมาณ 12% ต่อปี ในขณะที่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) อยู่ที่ 7%

พอร์ตวัยชรา อายุมากกว่า 55 ปี แนะนำให้แบ่งเงินลงทุนในตราสารหนี้ 60% การลงทุนทางเลือก 10% หุ้นต่างประเทศผ่านกองทุน FIF 15% และหุ้นไทยอีก 15% ด้วยการจัดพอร์ตแบบนี้คาดว่าผลตอบแทนคาดหวังจะอยู่ที่ประมาณ 8% ต่อปี ในขณะที่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) อยู่ที่ 4%

วางแผนเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อชีวิตบั้นปลายที่เปี่ยมสุข

คำถามคือช่วงนี้ตลาดหุ้นบ้านเราขึ้นไปแตะ 900 จุดเรียบร้อยแล้ว เราควรจะลงทุนอะไรดี ลงทุนหุ้นตอนนี้ดีมั๊ย“ปัจจัยที่เหมาะสมในการลงทุนตอนนี้”
1. ต้องมีความปลอดภัย พูดง่ายๆคือทั้งสถานที่ทำงาน และ ความเสี่ยงในการลงทุนต้องน้อยที่สุด หรือไม่มีแลย ถ้าทำที่บ้านได้ก็ยิ่งดีใหญ่

2. ใช้เงินลงทุนต่ำ สถาณการณ์แบบนี้ เงินทองหายาก จะให้ลงทุนอะไรที่ใช้เงินลงทุนมากมาย ก็คงไม่เหมาะ หรือ จะต้องกู้หนี้ ยืมสินมาลงทุนก็ไม่ถูกเรื่อง

3. ธุรกิจที่จะลงทุนต้อง สามารถศึกษา และ เรียนรู้ได้ในเวลาอันสั้น มีผู้เชี้ยวชาญในธุรกิจนั้นๆ คอยให้คำปรึกษา สอนทุกเรื่องที่ท่านควรรู้ แบบ step by step สอนท่านนับ 1 จนท่านสำเร็จ ได้จริง

4. ผลตอบแทนที่ได้คุ้มกับเวลาและเงินลงทุนที่ลงไป และ มีความมั่นคงในระยะยาว ถ้าสามารถทำได้กับคนทั่วโลก ยิ่งดีใหญ่ จริงมั้ยครับ

5. ถ้าท่านจะลงทุนขายสินค้า หรือ ผลิตภัณอะไรอย่างหนึ่ง สินค้านั้นจะต้องมีความน่าสนใจ เป็นที่ต้องการของตลาดทุกเพศ ทุกวัย หากท่านลงทุนทำ สินค้าที่ไม่มีใครเหมือน มีแต่ท่านคนเดียวที่ทำได้แล้วก็ยิ่งสุดยอด ถือว่าเหมาะต่อการลงทุน

ถ้ามี 5 ข้อนี้แล้วถือว่า ธุรกิจที่ท่านกำลังสนใจจะลงทุนด้วยนั้นดีมากครับ เอาเป็นว่า เรามาลอง วิเคราะห์ดูแต่ละ ธุรกิจ ในตอนนี้ดีกว่าครับว่ามีความน่าสนใจอะไรมากน้อยแค่ไหนข้อดีข้อเสียนั้นเป็นอย่างไรบ้าง มาเริ่มด้วยธุรกิจในฝันของวัยรุ่นหลายๆคน ^ ^

1. ร้านเบเกอรี่ ร้านกาแฟ ร้านไอศครีม ฯลฯ ธุรกิจเหล่านี้ใช้เงินลงทุนไม่มากมายนัก แต่การจะทำให้สำเร็จนั้นต้องพึ้งหลายต่อหลายปัจจัย ร่วมเข้ามาไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้ง บุคลากร ธุรกิจประเภทนี้ถือว่ามีความเสี่ยงปลานกลางครับ คือถ้าหากท่านสามารถ หาทำเลที่ตั้ง บุคลากร ได้อย่างเหมาะสมกับตัวธุรกิจนั้นๆ แล้วก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้าหากสถานที่และบุคลากร ไม่ดีไม่เหมาะธุรกิจของท่านก็มีโอกาสล้มเหลวได้ ถึง 90% เลยทีเดียว ความมั่นคงในการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต อยู่ที่ระดับต่ำ เพราะคู่แข่งที่มีมาก ใครก็สามารถโดดลงมาทำธุรกิจประเภทนี้ได้

2. ธุรกิจประเภทเฟรนไชส์แบบลงทุนต่ำ เช่น ร้านบะหมี่ ร้านน้ำปั่น เป็นต้น ภาพความสำเร็จมีให้เห็นบ้าง มีผู้เชี้ยวชาญคอยแนะนำให้คำปรึกษา ไม่ต้องมาเรียนรู้เองหมดตั่งแต่หนึ่ง แต่ความมั่นคงในการสร้างรายได้ในธุรกิจก็ยังถือว่าไม่มั่นคงเท่าที่ควร เหมือนกับ ร้านเบเกอรี่ ร้านกาแฟ ร้านไอศครีม ที่กล่าวมาข้างต้น คือมีหลายต่อหลายปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้

3. ธุรกิจประเภทเฟรนไชส์แบบลงทุนสูง เช่น 7-11 เป็นต้น ธุรกิจดังกล่าวนั้น ถือว่าน่าสนใจ ความมั่นคงสูง มีผู้เชี่ยวชาญ คอยแนะนำให้คำปรึกษา สามารถรู้กำหนดระยะเวลาคืนทุนได้ชัดเจน สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆได้แทบจะทั้งหมด เช่น คุณภาพสินค้า ต่างๆ เป็นต้น ความมั่นคงในระยะยาวมีสูง ข้อเสีย คือใช้เงินลงทุนสูง หลักล้าน ไม่ว่าจะเป็นค่า แบรน ค่าอาคารสถานที่ ซึ่งคนระดับ นักเรียน นักศึกษา คนทำงานประจำ มนุษย์เงินเดือน ยากที่จะทำธุรกิจประเภทนี้ได้

4. การลงทุนเกรงกำไร เช่นการเล่นหุ้น ผู้ลงทุนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างมากในการลงทุนประเภทนี้ และเงินลงทุนแต่ละครั้งนั้น จำเป็นต้องสูงมากหากต้องการผลตอบแทนที่มหาศาล ซึ่งก็มีความเป็นไปได้หากผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจมากพอ แต่นี่เองเป็นข้อเสียข้อใหญ่ให้ผู้คนหลงเข้าไปลงทุนโดยไม่ได้มีการศึกษาให้ดีก่อน และทำให้หมดเนื้อหมดตัวไปเป็นจำนวนมาก

5. ธุรกิจเครือข่าย หรือ mlm เป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่สูง มีภาพความสำเร็จให้เห็นชัดเจน สามารถศึกษาเรีบยนรู้วิธีการประสบความสำเร็จได้ในเวลาอันสั้นมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา อบรม แบบ step by step ความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ ความมั่นคงในการสร้างรายได้ในระยะยาวมีมาก เพิ่มแบบทวีคูณ บางบริษัทสามารถทำงานจากที่บ้านได้ สินค้าบางบริษัทไม่สามารถเลียนแบบได้ มีเพียงหนึ่งเดียว สามารถทำงานกับคนทั้งโลกได้ซึ่งถือเป็นจุดเด่น แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวท่านเองว่าจะเลือกลงทุนกับ บริษัทไหน

คำถาม
ลงทุนอะไรดีตอนนี้ ตอบ เปิดร้านเกม แถว โรงเรียน
ลงทุนอะไรดีตอนนี้ ตอบ เปิดร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าปากซอย
ลงทุนอะไรดีตอนนี้ ตอบ ซื้อหุ้น หวังผลกำไร
ลงทุนอะไรดีตอนนี้ ตอบ ซื้อ เฟรนไชส์ 7-11
ลงทุนอะไรดีตอนนี้ ตอบ เปิดร้านกาแฟ

แล้วคุณจะ ลงทุนอะไรดีตอนนี้ ?? ^ ^~

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น