รอยเตอร์ - ฟิเดล คาสโตร
อดีตประธานาธิบดีและผู้นำการปฏิวัติสังคมนิยมคิวบา
ถึงแก่อสัญกรรมแล้วเมื่อวันศุกร์ (25
พ.ย.) สิริอายุได้ 90 ปี
สถานีโทรทัศน์แห่งชาติคิวบารายงาน inRead invented by Teads คาสโตร
ซึ่งเป็นผู้เปลี่ยนคิวบาให้กลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์หน้าประตูบ้านของสหรัฐฯ
มีสุขภาพอ่อนแอลงเรื่อยมาหลังจากป่วยด้วยโรคลำไส้ที่เกือบจะคร่าชีวิตของเขาไปเมื่อปี
2006 และหลังจากนั้นอีกเพียง
2 ปี เขาก็ตัดสินใจก้าวลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี
และยกหน้าที่นี้ให้แก่ ราอูล คาสโตร ผู้เป็นน้อง ประธานาธิบดีราอูล คาสโตร
ได้ออกมาอ่านประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของพี่ชาย เมื่อช่วงค่ำวันศุกร์ (25) โดยไม่ระบุสาเหตุการเสียชีวิต “เมื่อเวลา 22.29
น.ที่ผ่านมา ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งการปฏิวัติสังคมนิยมคิวบา ฟิเดล
คาสโตร รูซ ได้ถึงแก่กรรมแล้ว” “ขอเราจงก้าวต่อไปสู่ชัยชนะ” ย้อนหลังไปเมื่อเกือบ 60 ปีที่แล้ว คาสโตร ในวัย 32 ปี
ได้นำกองกำลังกบฏขับไล่รัฐบาลของผู้นำเผด็จการ ฟุลเกนเซียว บาติสตา
และเปลี่ยนคิวบาให้เป็นรัฐสังคมนิยมในปี 1959 ตลอด 49
ปีที่ดำรงตำแหน่งผู้นำคิวบา และเห็นการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีสหรัฐฯ
มาแล้วถึง 10 คน แม้ คาสโตร
จะเป็นทั้งวีรบุรุษและเผด็จการในสายตาใครหลายคน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า
เขาคือบุรุษผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากสหรัฐฯ
และบรรดาชาติพันธมิตรทั้งหลาย แต่ คาสโตร กลับได้รับการยกย่องจากกลุ่มประเทศฝ่ายซ้ายทั่วโลกว่าเป็น
“วีรบุรุษ” โดยเฉพาะในประเทศแถบละตินอเมริกาและแอฟริกาที่ปกครองโดยระบอบสังคมนิยม คาสโตร เปลี่ยนแปลงคิวบาจาก “สนามเด็กเล่น” ของเศรษฐีอเมริกันให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านอิทธิพลสหรัฐฯ
เขาเคยสกัดกั้นการจู่โจมอ่าวหมู (Bay of Pigs) ของกองทัพอเมริกันซึ่งมีสำนักงานข่าวกรองกลาง
(ซีไอเอ) หนุนหลังเมื่อปี 1961 และเอาตัวรอดจากความพยายามลอบสังหารมาได้นับครั้งไม่ถ้วน การที่ คาสโตร
ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตได้นำมาสู่ "วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา" เมื่อปี 1962 ซึ่งเป็นการเผชิญหน้าทางทหารกับสหรัฐอเมริกานาน
13 วัน
และถือเป็นความตึงเครียดครั้งใหญ่ที่ทำให้โลกเฉียดใกล้กับการเกิด “สงครามปรมาณู” มากที่สุด ชาวคิวบายังคงจดจำภาพของคาสโตร
ที่สวมเสื้อลายพรางทหารและคาบซิการ์ติดปากมานานหลายสิบปี รวมถึงการออกมาด่าทออเมริกาผ่านสื่อโทรทัศน์ครั้งละหลายชั่วโมง
คาสโตร ปฏิเสธการครอบงำของลัทธิทุนนิยม
และเรียกศรัทธาจากชาวคิวบาด้วยนโยบายก่อสร้างโรงเรียนและโรงพยาบาลสำหรับคนยากจน
แต่ขณะเดียวกันเขาก็ได้สร้างศัตรูและนักวิจารณ์เอาไว้มากมาย
โดยเฉพาะในกลุ่มชาวคิวบาที่ลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในเมืองไมอามีของสหรัฐฯ
เนื่องจากทนการปกครองแบบกดขี่ไม่ได้ ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่เข้ามาปิดฉากยุคสมัยของ ฟิเดล คาสโตร
กลับไม่ใช่ทั้งสหรัฐฯ ผู้ลี้ภัยคิวบา หรือการล่มสลายของสหภาพโซเวียต หากแต่เป็น “โรคภัยไข้เจ็บ”
ที่ทำให้เขาต้องตัดสินใจถ่ายโอนอำนาจให้แก่ ราอูล แบบชั่วคราวในปี 2006
ก่อนจะเปิดทางให้น้องชายก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างสมบูรณ์ในปี
2008 แม้ว่า ราอูล คาสโตร
จะยังคงให้เกียรติและยกย่องพี่ชายเสมือนรัฐบุรุษ
แต่เขาได้ตัดสินใจนำระบบเศรษฐกิจแบบอิงตลาดเข้ามาใช้
และยังฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐฯ เมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2014 ซึ่งทำให้ความเป็นอริระหว่างเพื่อนบ้านทั้ง 2 ชาติสิ้นสุดลง
สุราเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกระงับการจำหน่ายลงชั่วคราว ธงชาติถูกลดลงมาอยู่ในตำแหน่งครึ่งเสา และการแสดงตลอดจนคอนเสิร์ตต่างๆ ถูกระงับไปก่อน หลังจากน้องชายแท้ๆ และทายาทผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเขานั่นคือ ประธานาธิบดีราอูล คาสโตร ออกมาแถลงต่อประชาชนทั่วประเทศในตอนดึกคืนวันศุกร์ (25) ว่า ฟิเดลได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้วเมื่อเวลา 22.29 น. โดยมิได้บอกถึงสาเหตุแห่งการเสียชีวิต ร่างของฟิเดล คาสโตร ได้รับการณาปนกิจไปแล้วในวันเสาร์ (26) ขณะที่อังคารและกระดูกของเขาจะถูกนำไปแห่ทั่วทั้งประเทศคิวบาเป็นเวลา 4 วัน จนกระทั่งถึงวันประกอบพิธีศพอย่างเป็นรัฐพิธีในวันอาทิตย์ที่ 4 ธ.ค. พวกเจ้าหน้าที่ทางการทูตฝ่ายตะวันตกระบุว่า บรรดาผู้มีเกียรติชาวต่างประเทศจะเดินทางมาที่เมืองหลวงฮาวานาในวันอังคาร (29) เพื่อเข้าร่วมพิธีไว้อาลัยซึ่งกำหนดจัดขึ้นในจัตุรัสการปฏิวัติ (Revolution Square) ค่ำวันนั้น สหพันธ์แห่งชาติของกีฬาเบสบอล ซึ่งเป็นความชื่นชอบโปรดปรานของคาสโตรถัดลงมาจากการเมือง แถลงว่าในช่วงเวลาไว้อาลัย 9 วันจะไม่มีการแข่งขันเบสบอลในระดับสูงสุดใดๆ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติของคิวบา สมาคมต่างๆ ของนักศึกษา และสหพันธ์สตรี ต่างพากันจัดการชุมนุมขนาดย่อมๆ เพื่อแสดงความไว้อาลัยฟิเดล คาสโตร และให้คำมั่นสัญญาว่าจะยึดมั่นสนับสนุนการปฏิวัติของคิวบา ขณะที่การชุมนุมขนาดยักษ์ใหญ่มโหฬาร มีการวางแผนจัดขึ้นที่จัตุรัสการปฏิวัติ (Revolution Square) ในเมืองหลวงฮาวานา และในเมืองซานติอาโก เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศที่อยู่ทางภาคตะวันออกของคิวบา เพื่อยกย่องสดุดีคาสโตร ผู้ซึ่งมีอายุ 90 ปีขณะถึงแก่อสัญกรรม และ 6 ทศวรรษภายหลังจากเขากับน้องชายพร้อมนักปฏิวัติหยิบมือหนึ่ง แอบเดินทางออกมาจากเม็กซิโก เพื่อทำสงครามจรยุทธ์โค่นล้ม ฟุลเกนซิโอ บาติสตา จอมเผด็จการของคิวบาซึ่งสหรัฐฯหนุนหลัง หนังสือพิมพ์ของประเทศเกาะแห่งนี้ที่มีประชากร 11 ล้านคน พากันตีพิมพ์ด้วยสีขาวดำเพื่อไว้อาลัยฟิเดล แทนที่สีแดงซึ่ง “แกรนมา” หนังสือพิมพ์รายวันอย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์คิวบาใช้อยู่เป็นประจำ หรือสีฟ้าของ “จูเวนตุด เรเบลเด” (เยาวชนกบฏ) หนังสือพิมพ์ขององค์การเยาวชนคอมมิวนิสต์ ตามท้องถนนในเมืองหลวงของคิวบา ไม่ได้มีทหารหรือตำรวจออกมาปรากฏตัวให้เห็นมากมายเป็นพิเศษใดๆ เพื่อเป็นหลักหมายแห่งการจากไปของผู้นำนักปฏิวัติคนสำคัญแห่งยุคสมัยผู้นี้ ขณะที่ ณ มหาวิทยาลัยฮาวานา สถาบันการศึกษาเก่าของคาสโตร นักศึกษาหลายร้อยคนชุมนุมกันและโบกธงชาติคิวบาขนาดยักษ์หลายผืน พร้อมกับตะโกนว่า “วิวา ฟิเดล , วิวา ราอูล” (ฟิเดล จงเจริญ, ราอูล จงเจริญ) “ฟิเดลยังไม่ตายเพราะประชาชนคือฟิเดล” ผู้นำนักศึกษาคนหนึ่งซึ่งนุ่งกางเกงยีนส์และสวมเสื้อยืดสีขาวร้องตะโกน “เราคือฟิเดล” เขาตะโกนต่อและได้รับการขานรับอย่างรวดเร็วจากผู้ชุมนุม “ฟิเดลทำให้คิวบาปรากฏอยู่บนแผนที่ และทำให้คิวบากลายเป็นตัวอย่างหนึ่งสำหรับประชาชนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจนและคนไร้สิทธิไร้เสียง” ราอูล อเลจานโดร ปัลเมรอส นักศึกษาอีกผู้หนึ่งกล่าว คาสโตรศึกษาวิชานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในช่วงปลายทศวรรษ 1940 ถึงต้นทศวรรษ 1950 เมื่อตอนที่สถาบันการศึกษาแห่งนี้คือแหล่งบ่มเพาะการเมืองแบบฝ่ายซ้าย เป็นการเตรียมตัวสำหรับเขาบนเส้นทางซึ่งนำไปสู่การทำสงครามปฏิวัติโค่นล้มบาติสตาลงในปี 1959 นอกเหนือจากพวกนักศึกษาที่ชุมนุมตะโกนคำปลุกใจแล้ว ชีวิตของฮาวานาส่วนใหญ่ก็ดำเนินไปตามปกติ เพียงแต่กว่าเงียบเชียบลงมาภายหลังข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของคาสโตร พ่อค้าแม่ขายตามถนนยังคงขายอาหารและสินค้าเครื่องหัตถกรรมจากแผงให้แก่ผู้เดินผ่านไปมา ขณะที่พวกรถเชฟโรเลตส์รุ่นทศวรรษ 1950 ที่เต็มไปด้วยรอยผุสึกกร่อนและได้รับการซ่อมแซมแบบขอไปทีเพื่อให้เครื่องเคราต่างๆ ยังคงยึดเอาไว้ด้วยกัน ก็แออัดไปด้วยผู้โดยสาร “ปกติแล้วภัตตาคารของเรามีแขกเต็ม แต่วันนี้มีแค่นักท่องเที่ยวที่มากัน อาจจะมีคนคิวบาสักสองสามคน ปกติแล้วมันจะตรงกันข้ามจากนี้ ดูเหมือนว่าชาวคิวบาจะกลับมารู้สึกสนุกกับการทำให้ตัวเองมีความสุขกันใหม่อีกในเร็วๆ นี้หลังจากฟิเดลจากไป” ราอูล ตามาโย พนักงานเฝ้าประตูของ ลา โรกา ภัตตาคารยอดนิยมแห่งหนึ่งใยย่านใจกลางกรุงฮาวานา กล่าว กระนั้นก็ตาม ในวันเสาร์ (26) ยังคงเป็นวันแห่งการหวนรำลึกตรึกตรอง “สำหรับผมแล้ว แม่ผมคืออันดับแรก, ลูกๆ ของผม, พ่อผม, จากนั้นก็คือฟิเดล” ราฟาเอล อูร์เบย์ วัย 60 ปีผู้ซึ่งมีบุตร 5 คนกล่าว ขณะดูแลร้านภาพถ่ายและสิ่งพิมพ์ของรัฐบาลแห่งหนึ่งในย่านใจกลางกรุงฮาวานา ย้อนเล่าความหลังสมัยที่เขายังเยาว์วัยและใช้ชีวิตอยู่บนเกาะห่างไกลและไม่มีน้ำดื่มแห่งหนึ่ง ห่างออกไปจากตัวเกาะใหญ่ของคิวบา “เรายากจนกันเหลือเกิน เราน่าสมเพชเหลือเกิน” เขากล่าว “แล้วฟิเดลกับการปฏิวัติก็เข้ามา เขาให้ความเป็นมนุษย์แก่ผม ผมเป็นหนี้เขาทุกสิ่งทุกอย่าง” ภายหลังคาสโตรทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ความขัดแย้งทางการทูตอย่างขมขื่นกับสหรัฐฯก็ติดตามมา และคิวบากลายเป็นพันธมิตรผู้หนักแน่นมั่นคงรายหนึ่งของสหภาพโซเวียตไปอย่างรวดเร็ว จนเกิดวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาขึ้นในปี 1962 แต่ถึงแม้ต้องผ่านเวลานานปีแห่งความขัดแย้งตึงเครียดทางด้านอุดมการณ์ รวมทั้งเผชิญความยากลำบากมากขึ้นทุกทีภายใต้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ คิวบาของคาสโตรก็ยังคงมีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องมาตรฐานการศึกษาที่อยู่ในระดับสูง และแพทย์ที่อยู่ในระดับโลก “สิ่งที่ฟิเดลทำในเรื่องการศึกษาและสาธารณสุขแบบฟรีๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนั้น ผงาดล้ำขึ้นมาในเวทีโลก มันโดดเด่นจริงๆ” เรเนา เปเรซ วัย 78 ปี นักบัญชีเกษียณอายุและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์กล่าว “มันเป็นมรดกสำคัญที่สุดของเขา” คาสโตรซึ่งไว้หนวดเครา และเป็นคนตัวสูงกว่า 6 ฟุต (1.8 เมตร) เป็นที่รู้จักคุ้นเคยมานานปีในภาพของป้อมปราการแห่งการต่อต้านสหรัฐอเมริกาในเชิงอุดมการณ์ ผู้ซึ่งชอบคาบซิการ์ และแต่งกายในชุดทหารลายพรางพร้อมหมวกแก๊ปสีเขียว ทว่าบุรุษผู้ซึ่งเป็นที่เรียกขานกันในคิวบามานานว่า “ผู้นำสูงสุด” (Maximo Lider) ผู้นี้ ได้ห่างหายไม่ค่อยปรากฏตัวต่อสาธารณชนภายหลังล้มป่วยลงด้วยโรคลำไส้ที่แทบคร่าเอาชีวิตของเขาไปในปี 2006 กระนั้น หลังจากส่งมอบอำนาจอย่างเป็นทางการให้ราอูลในปี 2008 แล้ว เขาก็ยังคงมีอิทธิพลบารมีอย่างสูงในประเทศเกาะแห่งนี้ และคอยเฝ้าเตือนอยู่เป็นประจำให้ประชาชนชาวคิวบาระมัดระวังความหายนะจากการยอมจำนนต่อจักรวรรดินิยมอเมริกัน
ความตายของคาสโตรในสายตาผู้นำโลก
ฟิเดล คาสโตร
มีทั้งคนที่ชื่นชมเทิดทูนและคนที่ประณามชิงชังตั้งแต่ขณะที่เขามีชีวิตอยู่
และอสัญกรรมของเขาก็ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่อยู่ในลักษณะแตกขั้วอย่างแรงจากทั่วโลก ประธานาธิบดีวลาดิมีร์
ปูติน ของรัสเซีย แถลงยกย่องเขาว่าเป็น “สัญลักษณ์แห่งยุคสมัย” ขณะที่ประธานาธิบดีสี
จิ้นผิง ของจีน ก็บอกว่า “สหายคาสโตรจะมีชีวิตอยู่ไปตลอดกาล”
ทว่าที่เมืองไมอามี, สหรัฐฯ อันเป็นที่ตั้งของชุมชนใหญ่ที่สุดของผู้ที่หลบหนีลี้ภัยจากการปกครองของคาสโตร
ฝูงชนที่อยู่ในอารมณ์ปีติยินดีพากันเฉลิมฉลองกันอย่างดังสนั่น มีความผิดแผกแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างปฏิกิริยาของประธานาธิบดีบารัค
โอบามา ผู้ที่กำลังจะพ้นตำแหน่ง และว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
โอบามาผู้ดำเนินการรอมชอมครั้งประวัติศาสตร์ด้วยการฟื้นคืนความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาในปี 2014 แถลงว่า สหรัฐฯยื่น “มือแห่งมิตรภาพ” ไปถึงประชาชนชาวคิวบา ถึงแม้เขากล่าวด้วยว่า “ประวัติศาสตร์จะบันทึกและตัดสินผลกระทบอันมากมายมหาศาลของบุคคลหนึ่งเดียวผู้นี้ที่มีต่อประชาชนและโลกรอบๆ ตัวเขา” ทว่าทรัมป์เรียกคาสโตรว่าเป็น “จอมเผด็จการผู้โหดเหี้ยมซึ่งได้กดขี่ประชาชนของเขาเองเป็นเวลาเกือบ 6 ทศวรรษ” และ “มรดกของฟิเดล คาสโตร คือ ทีมประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า, โจรปล้นทรัพย์, ความทุกข์ทรมานอย่างไม่สามารถจินตนาการได้, ความยากจน และการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐฯกับคิวบาซึ่งรื้อฟื้นกันขึ้นมาในเดือนธันวาคม 2014 ดูไม่มีความแน่นอนภายใต้ประธานาธิบดีทรัมป์ ในระหว่างการหาเสียง เขาเคยข่มขู่ที่จะตัดความสัมพันธ์นี้ ถ้าหากคิวบาไม่ยินยอมให้ประชาชนมีสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้นมากๆ
โอบามาผู้ดำเนินการรอมชอมครั้งประวัติศาสตร์ด้วยการฟื้นคืนความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาในปี 2014 แถลงว่า สหรัฐฯยื่น “มือแห่งมิตรภาพ” ไปถึงประชาชนชาวคิวบา ถึงแม้เขากล่าวด้วยว่า “ประวัติศาสตร์จะบันทึกและตัดสินผลกระทบอันมากมายมหาศาลของบุคคลหนึ่งเดียวผู้นี้ที่มีต่อประชาชนและโลกรอบๆ ตัวเขา” ทว่าทรัมป์เรียกคาสโตรว่าเป็น “จอมเผด็จการผู้โหดเหี้ยมซึ่งได้กดขี่ประชาชนของเขาเองเป็นเวลาเกือบ 6 ทศวรรษ” และ “มรดกของฟิเดล คาสโตร คือ ทีมประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า, โจรปล้นทรัพย์, ความทุกข์ทรมานอย่างไม่สามารถจินตนาการได้, ความยากจน และการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐฯกับคิวบาซึ่งรื้อฟื้นกันขึ้นมาในเดือนธันวาคม 2014 ดูไม่มีความแน่นอนภายใต้ประธานาธิบดีทรัมป์ ในระหว่างการหาเสียง เขาเคยข่มขู่ที่จะตัดความสัมพันธ์นี้ ถ้าหากคิวบาไม่ยินยอมให้ประชาชนมีสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้นมากๆ
เอพี/เอเจนซีส์ -
เป็นเรื่องเหลือเชื่อเมื่อลิงเลี้ยงตัวหนึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดสงครามระหว่างชนเผ่าในลิเบียนานถึง
4 วัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างต่ำ 20
คน และบาดเจ็บอีก 50 คนในวันอาทิตย์ (20
พ.ย.)
หลังในสัปดาห์ที่ผ่านมาพบลิงเลี้ยงตัวหนึ่งของกลุ่มชายหนุ่มจากชนเผ่ากัดดัดฟา (Gaddadfa)
หลุดเข้าไปในโรงเรียนสตรีแห่งหนึ่งในเมืองซาบา (Sabha) ทางใต้ของลิเบีย และได้ทำร้าย กัด และกระชากผ้าคลุมศีรษะของนักเรียนหญิงจากชนเผ่าแอวลัด
ซูเลมาน (Awlad Suleiman) จนหลุดออกจากศีรษะ เอพีรายงานเมื่อวานนี้ (20 พ.ย.) ว่า
ครอบครัวของเหยื่อนักเรียนหญิงจากชนเผ่าแอวลัด ซูเลมานที่ตกเป็นเหยื่อถูกลิงกัด
และทำผ้าคลุมศีรษะของเธอออกจากเธอในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ทำการแก้แค้น และสังหารชาย 3
คนพร้อมกับลิงต้นเหตุ
โดยนักเคลื่อนไหวด้านสังคมของลิเบีย บาเดอร์ อัล-ดาเฮลี (Bader
al-Daheli) ได้เปิดเผยในวันอาทิตย์ (20 พ.ย.)
ว่า ชนเผ่าแอวลัด ซูเลมาน (Awlad Suleiman) และชนเผ่ากัดดัดฟา
(Gaddadfa) ชนเผ่าหลักในลิเบียได้ก่อสงครามระหว่างชนเผ่าจากสาเหตุลิงหลุดเข้าไปภายในโรงเรียนมัธยมสตรีแห่งหนึ่งในเมืองซาบา
(Sabha) ที่อยู่ทางใต้ของลิเบีย โดยพบว่าชนเผ่าทั้งสองนั้นมีกองกำลังติดอาวุธเป็นของตัวเองในการปะทะ
หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษรายงานว่า ศึกระหว่างชนเผ่าที่เกิดขึ้นนานถึง
4 วัน ด้านอับเดล ราห์มาน อาเรช (Abdel-Rahman
Areish) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลซาบาได้เปิดเผยกับเอพีว่า
มีผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะ 20 คนและมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 50
คน สื่ออังกฤษรายงานเพิ่มเติมว่า
สื่อท้องถิ่นลิเบียชี้ว่า
ลิงเลี้ยงที่หลุดเข้าไปภายในโรงเรียนมัธยมสตรีเมืองซาบาแห่งนี้เป็นของชายหนุ่ม 3
คนที่มาจากชนเผ่ากัดดัดฟา โดยหนึ่งในชาวบ้านในเมืองซาบาได้เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า
“มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในวันที่สองและวันที่สาม
ซึ่งมีการใช้อาวุธหนักที่รวมไปถึงรถถัง และปืนครก” และกล่าวต่อว่า
“ยังคงมีการปะทะ
และชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีการปะทะไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้” เดอะการ์เดียนรายงานว่า
พบว่าชนเผ่ากัดดัดฟาและชนเผ่าแอวลัด
ซูเลมานนั้นเป็นกองกำลังติดอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
โดยการปะทะที่เกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าครั้งนี้อยู่ภายในใจกลางของเมืองซาบา
ซึ่งในเบื้องต้นทางผู้นำของชนเผ่าทั้งสองพยายามจะทำให้สถานการณ์ที่ตรึงเครียดยุติ
และทำสัญญาสงบศึกเพื่อที่จะสามารถนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้ โดยภายในวันอาทิตย์ (20 พ.ย.) ศูนย์การแพทย์ของเมืองได้รับร่างผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะจำนวน 16
ร่าง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 50 รายโฆษกศูนย์การแพทย์เมืองซาบาแถลง
“มีเด็กและผู้หญิงรวมอยู่ในกลุ่มผู้ได้รับบาดเจ็บ
และพบว่ามีชาวต่างชาติจากกลุ่มประเทศซับซาฮารารวมอยู่ในกลุ่มผู้เสียชีวิต
เดอะการ์เดียนรายงานว่า เมืองซาบาอยู่ห่างจากกรุงตริโปลีไปทางใต้ราว 660 กม.
เดอะการ์เดียนรายงานว่า เมืองซาบาอยู่ห่างจากกรุงตริโปลีไปทางใต้ราว 660 กม.
รอยเตอร์/เอเอฟพี - ประธานาธิบดีสี
จิ้นผิง ของจีน ให้คำมั่นสัญญาระหว่างการประชุมซัมมิตผู้นำเอเปก เมื่อวันเสาร์ (19
พ.ย.) ที่จะเปิดกว้างเศรษฐกิจของแดนมังกรต่อไป
พร้อมกับป่าวร้องยึดมั่นในเรื่องการค้าเสรี
ขณะที่แดนมังกรก้าวเข้าไปเติมเต็มช่องว่างซึ่งถูกทิ้งเอาไว้
สืบเนื่องจากว่าที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ระบุว่า
จะฉีกทิ้งข้อตกลงการค้าทั้งหลายหรือไม่ก็ขอเปิดเจรจาต่อรองกันใหม่ ทุกๆ สายตาต่างจับจ้องไปที่จีน ณ
การประชุมระดับผู้นำของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ปีนี้
ซึ่งจัดขึ้นในกรุงลิมา ประเทศเปรู ระหว่างวันที่ 19-20 พ.ย.นี้
หรือห่างเพียงสัปดาห์เศษ
ภายหลังชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกันแบบสุดเซอร์ไพรส์ของทรัมป์
ได้กลายเป็นการบดขยี้ความหวังทั้งหลายทั้งปวงที่ว่า
ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) ซึ่งถือเป็นดีลทางด้านการค้าเสนอโดยสหรัฐฯ
ซึ่งมีขนาดใหญ่โตที่สุดเท่าที่เคยมีมา กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเร็ววันนี้ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา
ของสหรัฐฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่ TPP ในฐานะที่เป็นหนทางอย่างหนึ่งในการต่อต้านการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน
ทว่า เวลานี้เขาได้หยุดความพยายามในการผลักดันให้รัฐสภาอเมริกันรับรองให้สัตยาบันข้อตกลงฉบับนี้ที่
12 ชาติในทวีปอเมริกา และเอเชีย-แปซิฟิก
ซึ่งไม่ได้มีจีนอยู่ด้วย ได้ร่วมลงนามกันไปแล้ว ทั้งนี้ ตามเนื้อหาของ TPP หากสหรัฐฯยังไม่ให้สัตยาบัน
ก็เป็นอันว่าข้อตกลงนี้จะไม่สามารถบังคับใช้ได้ ระหว่างการรณรงค์หาเสียง
ทรัมป์ได้โจมตีคัดค้านทั้ง TPP และข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
(นาฟตา) โดยบอกว่า ทำให้สหรัฐฯต้องสูญเสียตำแหน่งงานมากมายให้แก่ต่างชาติ
เขากล่าวว่าจะฉีกทิ้ง TPP รวมทั้งข่มขู่ที่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนและเม็กซิโกด้วย ภายหลังพบปะหารือกับโอบามา
ในการประชุมข้างเคียงซัมมิตเอเปกคราวนี้ สี แถลงว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่ง
กับวอชิงตันกำลังอยู่ใน “ช่วงขณะแห่งความไม่แน่นอนว่าจะคลี่คลายไปทางใด”
(hinge moment) พร้อมกับเรียกร้องให้ระยะผ่านเช่นนี้ดำเนินไปอย่างราบรื่น “ผมหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะทำงานด้วยกันโดยโฟกัสที่ความร่วมมือกัน,
บริหารจัดการกับความผิดแผกแตกต่างกันของพวกเรา
และทำให้มั่นใจว่าจะมีการเปลี่ยนผ่านอย่างราบรื่นในความสัมพันธ์นี้
และมันจะยังเติบโตต่อไปข้างหน้าอีก” สีกล่าว ในอีกด้านหนึ่ง
สีก็กำลังเสนอขายวิสัยทัศน์ทางเลือกอื่นๆ สำหรับการค้าระดับภูมิภาค
ด้วยการโปรโมตผลักดันข้อเสนอเรื่องการจัดทำ
ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic
Partnership หรือ RCEP) ที่ประกอบด้วย 10
ชาติอาเซียน, พวกชาติคู่เจรจาของอาเซียนอีก 6
ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้,
อินเดีย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ทว่า
ไม่มีสหรัฐฯ “จีนจะไม่เปิดประตูของตัวเองต่อโลกภายนอก
แต่ยังจะเปิดกว้างให้มากขึ้นด้วย” สี
กล่าวเช่นนี้ในคำปราศรัยสำคัญต่อที่ประชุมเอเปกคราวนี้ “เรากำลังจะ
... ทำให้เกิดความแน่ใจว่าดอกผลต่างๆ ของการพัฒนาจะมีการแบ่งปันกัน” คณะของจีนที่เข้าร่วมประชุมเอเปกคราวนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
และพวกผู้แทนในภูมิภาคต่างบอกว่า จีนจะเข้าฉวยคว้าฐานะผู้นำในเรื่องการค้า
ถ้าสหรัฐฯหันหน้ามุ่งไปสู่ลัทธิกีดกันการค้ากันจริงๆ คณะบริหารโอบามา
กล่าววิจารณ์มาหลายครั้งแล้วว่า ข้อตกลง RCEP นั้น
คับแคบและไม่ก้าวหน้าเท่าข้อตกลง TPP โดยที่ไม่ได้บรรจุเรื่องซึ่งสหรัฐฯมุ่งมั่นผลักดัน
เป็นต้นว่า การคุ้มครองแรงงาน, สิ่งแวดล้อม, การเคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาทางแข็งขัน บรรดาผู้นำของชาติที่ร่วมลงนาม TPP ได้จัดการประชุมขึ้นข้างเคียงซัมมิตเอเปกคราวนี้ด้วย
และโอบามา
ซึ่งกำหนดการเดินทางเที่ยวนี้ถือเป็นทริปเดินทางต่างแดนเที่ยวสุดท้ายในฐานะประธานาธิบดีของเขาแล้ว
ได้กล่าวเรียกร้องผู้นำคนอื่นๆ ให้ช่วยกันทำงานเพื่อผลักดันเดินหน้า TPP ต่อไป ทั้งนี้ ตามการแถลงของทำเนียบขาว ขณะที่
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น โคโตโระ โนงามิ
บอกกับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมนี้ ว่า
บรรดาผู้นำได้ย้ำยืนยันความสำคัญทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์ของข้อตกลง TPP
จีนเข้าเติมเต็มช่องว่างที่เกิดขึ้น?
จากการที่ชะตากรรมของ TPP
ไม่มีความแน่นอน ข้อตกลง RCEP ที่จีนหยิบยกขึ้นมาผลักดัน
จึงกำลังได้รับความสนใจจากหลายฝ่าย ว่า
บางทีอาจจะเป็นเส้นทางเดียวสำหรับการก้าวเดินเพื่อไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีสำหรับเอเชีย-แปซิฟิกทั้งหมด
(Free Trade Area of the Asia-Pacific หรือ FTAAP) ซึ่งเอเปกระบุว่ามุ่งมาดปรารถนาจะไปให้ถึง “มัน (RCEP) เป็นดีลด้านการค้าตามแบบฉบับประเพณีมากกว่า
เน้นเรื่องการลดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าและบริการต่างๆ
มันไม่ได้ไปไกลถึงขนาดที่ระบุเอาไว้ใน TPP” นายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม
เทิร์นบูลล์ ของออสเตรเลีย กล่าวกับผู้สื่อข่าว แต่ก็สรุปว่า อย่างไรเสีย “ยิ่งเราสามารถเข้าถึงตลาดสำหรับการส่งออกของเราได้มากขึ้นเท่าไร
มันก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น” ขณะที่นายกรัฐมนตรี จอห์น คีย์ ของนิวซีแลนด์ บอกว่า สหรัฐฯ
เป็นหุ้นส่วนสำคัญรายหนึ่งในภูมิภาคนี้
ทว่าจีนจะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างที่เกิดขึ้น
ถ้าหากคณะบริหารทรัมป์ถอยห่างออกไปจากการสนับสนุนการค้าเสรี คีย์กล่าวว่า
เหล่าชาติสมาชิก TPP อาจจะสามารถตกลงนำเอา “ความเปลี่ยนแปลงแบบปรับแต่งโฉมหน้า” เข้ามาในข้อตกลงนี้
เพื่อทำให้มันเป็นที่พอใจมากขึ้นของทรัมป์
“ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนชื่อข้อตกลงเป็น
ข้อตกลงทรัมป์เพื่อความเป็นหุ้นส่วนในแปซิฟิก (The Trump Pacific
Partnership) นั่นก็ใช้ได้นะ” คีย์กล่าวพร้อมกับหัวเราะ
ถึงแม้จีนเริ่มออกมาเกี้ยวพา แต่สมาชิกเอเปกบางรายยังคงมุ่งมั่นที่จะผลักดัน TPP
ต่อไป
และยังคงวาดหวังว่าสหรัฐฯจะยังคงแสดงความเป็นผู้นำในทางด้านการค้า “จุดยืนทางภูมิรัฐศาสตร์ของเราคืออยู่กับสหรัฐฯ
นี่เห็นชัดอยู่แล้ว” ประธานาธิบดี เอนรีเก เปญา เนียโต
แห่งเม็กซิโก กล่าว “นี่คือสถานที่ซึ่งสายตาของเราจับจ้องมองไป
และนี่คือสิ่งที่เรากำลังทำงานเพื่อให้บรรลุถึง” เปญา เนียโต
บอกว่า ข้อตกลงนาฟตาที่ทำกันไว้ระหว่างสหรัฐฯ, เม็กซิโก
และแคนาดา นั้น ควรที่จะ “ปรับปรุงให้ทันสมัยยิ่งขึ้น”
พร้อมกับชี้ว่า ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม
เป็นส่วนหนึ่งที่อาจนำมาหารือกันเพื่อการปรับปรุงดังกล่าว เม็กซิโกยังร่วมกับเหล่าชาติสมาชิก
TPP อย่างญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์
ประกาศตั้งจุดมุ่งหมายที่จะเดินหน้า TPP ต่อไป ไม่ว่าจะมีสหรัฐฯเข้าร่วมหรือไม่ก็ตามที
รัฐมนตรีเศรษฐกิจเม็กซิโก อิลเดฟอนโซ กวาจาร์โด กล่าวเมื่อวันศุกร์ (18) ชาติสมาชิกเอเปกหลายรายบอกด้วยว่า
ยังเร็วเกินไปที่จะระบุยืนยันว่าทรัมป์ฉีกทิ้ง TPP อย่างแน่นอนแล้ว “บารัค โอบามา ก็ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุน
TPP หรอกเมื่อตอนที่เขาได้รับเลือกตั้ง
แต่เขากำลังอำลาตำแหน่งไปในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนข้อตกลงนี้อย่างมากมายใหญ่หลวงที่สุด”
นายกรัฐมนตรีเทิร์นบูลของออสเตรเลีย กล่าว
เครดิตข้อมูลและภาพจาก MGR online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น