วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โฉมหน้า Start Up ชั้นนำของเมืองไทย เขาทำกันอย่างไร


เผยผลสำรวจ หนึ่งในข้อมูลน่าสนใจจากรายงานผลสำรวจผู้ก่อตั้งกิจการโลกหรือ World Startup Report คือ 50 อันดับประเทศที่มีการสร้างกิจการด้านเทคโนโลยีในประเทศจนเติบโตและมีมูลค่ามากที่สุดในโลก ปรากฏว่ามีเพียง 13 ประเทศมาจากภูมิภาคเอเชีย แถมไทยยังติดอันดับกับเขาด้วย

สำนักข่าว Economist เผยแพร่ข้อมูลนี้ไว้ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนำสถิติจากรายงาน World Startup Report มาคำนวณและสร้างเป็นแผนภูมิแสดงมูลค่าบริษัทเทคโนโลยีที่สูงที่สุด 3 อันดับของแต่ละประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าผลที่ได้คือสหรัฐอเมริกาเป็นแชมป์ 1 ใน 50 ประเทศที่ถูกจัดอันดับในครั้งนี้

บริษัทเทคโนโลยีมูลค่าสูงที่สุดในสหรัฐฯคือ Google รองลงมาคือ Amazon และอันดับ 3 คือ Facebook มูลค่าของทั้ง 3 บริษัทนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอันดับ 1 ที่มูลค่าบริษัทไอที Top 3 ของประเทศรวมกันแล้วสูงที่สุดในโลก นำหน้าจีนที่ไล่ตามมาชนิดหายใจรดต้นคอ โดยบริษัทไอที Top 3 ของจีนคือ Alibaba, Tencent และ Baidu

หากมองในช่วง Top 10 ของตาราง จะพบว่ามี 3 ประเทศจากเอเชียเท่านั้นที่สามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ในชาร์จได้ ได้แก่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน โดยออสเตรเลียแดนจิงโจ้นั้นอยู่ที่อันดับ 13 ของตาราง

สำหรับภูมิภาคอาเซียน มีเพียงประเทศอย่างสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เท่านั้นที่ติดอันดับ 50 ประเทศซึ่งเป็นที่กำเนิดของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ระดับโลก งานนี้สิงคโปร์ทำอันดับได้เหนือกว่าใครในภูมิภาคด้วยการรั้งตำแหน่งอันดับที่ 27 ของตาราง โดยบริษัทไอทีอันดับ 1 คือ Garena รองลงมาคือ Reebonz และ Viki
สำหรับเวียดนามนั้นครองอันดับที่ 30 บริษัทไอทีอันดับ 1 คือ VNG ซึ่งถูกรายงานว่ามีมูลค่าตลาด 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเทียบเท่ากับบริษัท Garena ของสิงคโปร์ รองลงมาคือ Vat Gia และ VC Corp

ขณะที่ประเทศไทยครองอันดับ 36 ของตาราง บริษัทไอทีอันดับ 1 ของไทยคือ AsiaSoft มูลค่าตลาด 181 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ Agoda มูลค่าตลาด 76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอันดับ 3 คือ Ookbee มูลค่าตลาด 70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา : TechInAsia
เครดิต ข้อมูลจาก http://thumbsup.in.th/2014/07/top-most-valued-companies-in-asia-13-make-top-50-world/

เรามาแนะนำบริษัทที่ถือเป็น Start Up ชั้นนำของไทย ที่ติดอันดับโลกในรายงานชิ้นนี้กันครับ

1.Asiasoft Corporation ได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยเป็นที่แรกเมื่อปี 2001 ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับเกมออนไลน์ในประเทศไทย ต่อมาในปี 2003 Asiasoft ก็ได้เปิดให้บริการเกมออนไลน์เป็นครั้งแรก ซึ่งได้ทำการเปิดเกมถึง 2 เกมด้วยกันครับ ได้แก่ เกม Ragnarok Online จากค่าย Gravity และเกม Dragon Raja Online จากค่าย eSofnet ต่อมาในปี 2004 Asiasoft ก็ได้ประกาศเปิดให้บริการเกมออนไลน์เพิ่มอีก 2 เกมด้วยกัน ได้แก่ Gunbound จากค่าย Softnyx และ TS Online และในปลายปี 2005 ก็ยังเปิดให้บริการเพิ่มอีก 1 เกม คือเกม Maple Story จากค่าย Wizet นี่คือจุดเริ่มต้นแห่งตำนานค่ายเกมอันยิ่งใหญ่ Asiasoft ในประเทศไทย และที่ประเทศเวียดนามนั้นบริษัท Asiasoft ก็ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2001 เช่นกัน และเกมที่นำไปเปิดเป็นเกมแรกนั่นก็คือเกม Gunbound  และปีต่อมาก็ได้เปิดให้บริการเกม TS Online ของไต้หวัน และนี่เป็นประวัติของค่ายเกม Asiasoft ในประเทศเวียดนาม

Asiasoft Online Pte Ltd (สิงคโปร์และมาเลเซีย)
สำหรับบริษัท Asiasoft สาขาประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียนั้นได้ถูกก่อตั้งขึ้นพร้อมกันในปี 2004 ซึ่งได้เปิดให้บริการเกมออนไลน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Maple Story, Ragnarok Online, Audition และอื่นๆ รวมถึงการเป็นตัวแทนจำหน่ายเกม World of Warcraft ของค่าย Blizzard Entertainment อย่างเป็นทางการเพียงเจ้าเดียว


และนี่เป็นเครื่องการันตีความยิ่งใหญ่ของค่าย Asiasoft ครับ เหล่าบรรดาเกมออนไลน์ที่ Asiasoft Corporation ได้มาเปิดให้บริการในประเทศไทยมีกันอยู่กี่เกมแล้วบ้าง อาทิ

Ragnarok Online
Dragon Raja Online
JY Online
GunBound
TS Online
MapleStory
BnB (Bomb and Bubble)
Yulgang
Granado Espada
Audition Online
Cabal Online
FreeStyle Street Basketball
Dekaron
Sudden Attack
Furinkazan
Ragnarok Online II
Atlantica Online
Yulgang 2
AIKA Online


และนี่คือเกมที่ Asiasoft Corporation ในประเทศมีไว้ในครอบครอง ซึ่งก็มีหลายเกมปิดให้บริการไปแล้ว บางเกมก็ยังเปิดให้บริการอยู่ และบางเกมที่เตรียมตัวจะเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้ สุดท้ายเชื่อว่าเกมที่ทำให้ทุกคนรู้จักค่าย Asiasoft Corporation นี้เป็นอย่างดีก็คือเกมแห่งตำนาน Ragnarok Online ที่ทุกวันนี้ยังคงเปิดให้บริการอยู่ นี่คือประวัติความเป็นมาของค่าย Asiasoft Corporation  ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังคงให้บริการทางด้านเกมออนไลน์ให้กับเหล่าเกมเมอร์ทุกคนอยู่อย่างต่อเนื่อง

บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: ASIASOFT CORPORATION PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:AS) บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 เพื่อประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายเกมพีซี ต่อมาในปี 2546 บริษัทได้เริ่มธุรกิจการให้บริการเกมออนไลน์ในประเทศไทย โดยได้เปิดตัวเกม “Ragnarok Online” ซึ่งซื้อลิขสิทธิ์มาจาก กราวิตี้ คอร์ปอเรชั่น ประเทศเกาหลีใต้ แล้วนำมาดัดแปลงเป็นภาษาไทยเพื่อให้บริการแก่ผู้เล่นเกมในประเทศ จนประสบความสำเร็จอย่างสูง ด้วยจำนวน Peak Concurrent User สูงสุดมากกว่า 110,600 ราย ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในผู้ให้บริการเกมออนไลน์ชั้นนำในไทย

ปัจจุบันกลุ่มบริษัทซึ่งประกอบด้วยบริษัทต่างๆ รวม 13 แห่ง เป็นผู้ให้บริการด้านความบันเทิงออนไลน์ที่เกี่ยวกับเกมออนไลน์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ในไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ และอันดับ 8 ในเวียดนาม วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีเกมออนไลน์ที่เปิดให้บริการรวม 61 เกม ใน 6 ประเทศ คือ ไทย (35 เกม) สิงคโปร์ (8 เกม) มาเลเซีย (20 เกม)อินโดนีเชีย (3 เกม) ฟิลิปปินส์ (3 เกม) และ อินโดจีน (6 เกม) โดยการให้บริการเกมออนไลน์ถือเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้แก่กลุ่มบริษัทในสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 82 ของรายได้ทั้งหมด

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทยังได้ลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านไอทีได้แก่ www.thaiware.com ซึ่งเป็นเว็ปไซด์ที่เป็นศูนย์รวมด้านไอทีและยังเป็นแหล่งสำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ทั้งทีจำหน่ายและฟรี

เครดิตข้อมูลจาก  http://en.wikipedia.org/  และ เอเชียซอฟท์วิถีพีเดีย

2.บริษัทอโกด้า (www.agoda.com) เป็นหนึ่งบริษัทผู้ให้บริการเว็บไซต์จองห้องพักในโรงแรมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยมีโรงแรมในเครือข่ายกว่า 100,000 แห่งและมีเว็บไซต์ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 38 ภาษา อโกด้าก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2548 โดยสองผู้คร่ำหวอดในวงการธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ ในปี 2007 อโกด้าได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือไพรซ์ไลน์กรุ๊ป (Priceline Group) บริษัทผู้ให้บริการจองห้องพักทางออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ หุ้นของไพรซ์ไลน์กรุ๊ปมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ (Nasdaq: PCLN)และเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี S&P 500

อโกด้ามีพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวมากกว่า 1,300 คนจากประเทศต่างๆ มากกว่า 20 ประเทศ โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในสิงคโปร์ กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ โตเกียว ซิดนีย์ ฮ่องกง และบูดาเปสต์ รวมถึงเมืองสำคัญต่างๆ ทั่วเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา ผู้จัดการบริหารกลุ่มลูกค้าที่ทุ่มเทของเรารักษาความสัมพันธ์อันดีกับโรงแรมพันธมิตรของอโกด้าทั่วโลก พร้อมทั้งสร้างสรรค์โปรโมชั่นพิเศษและแผนการตลาดเพื่อช่วยให้อโกด้าสามารถมอบข้อเสนอที่ดีที่สุดทางอินเตอร์เน็ตให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ ยังมีนโยบายการันตีราคาดีที่สุดซึ่งช่วยคอยสนับสนุนความได้เปรียบที่กล่าวมาข้างต้น

 
เว็บไซต์ของอโกด้ามีความรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน และใช้เทคโนโลยีระดับโลกจนทำให้ได้รับรางวัลมาแล้ว เราให้บริการยืนยันการจองห้องพักทันทีสำหรับโรงแรมกว่าแสนแห่งทั่วโลก นอกเหนือจากประเภทสถานที่พักและห้องพักที่หลากหลายแล้ว อโกด้ายังมีรีวิวโรงแรมที่มาจากลูกค้าตัวจริง 100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบัน เรามีรีวิวซึ่งลูกค้าส่งมาให้เราหลังจากเข้าพักที่โรงแรมแล้วกว่าหลายล้านรีวิว สุดท้ายนี้ ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของเรายินดีให้ความช่วยเหลือลูกค้าตลอดทุกวัน 24 ชั่วโมง โดยให้บริการในภาษาต่างๆมากมายหลายภาษา ท่านจึงมั่นใจได้ถึงการสนับสนุนที่รวดเร็ว

อโกด้ามีความภาคภูมิใจในความเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือ เข้าถึงได้และมีเครือข่ายพันธมิตรมากมาย เรานำเสนอโรงแรมที่หลากหลายและมุ่งมั่นที่จะมอบราคาที่ดีที่สุดให้ลูกค้าอยู่เสมอ โดยมุ่งหวังที่จะช่วยให้ทุกคนเดินทางท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้นในราคาที่ไม่แพง พร้อมทั้งสนุกสนานกับการเดินทางได้มากยิ่งขึ้น

อโกด้า (Agoda) คือ บริษัทผู้ให้บริการสำรองห้องพักทางออนไลน์ สำหรับโรงแรมในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกเป็นหลัก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์และมีสำนักงานดำเนินการหลักอยู่ที่กรุงเทพ กัวลาลัมเปอร์ โตเกียว ซิดนีย์ ฮ่องกงและบูดาเปสต์ นอกจากนี้ยังมีสำนักงานย่อยในเมืองใหญ่ทั่วเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรปและอเมริกา

ก่อตั้งปี พ.ศ. 2541 โดยนายไมเคิล เคนนี่ ภายใต้ชื่อแพลนเน็ต ฮอลิเดย์ ดอตคอม (PlanetHoliday.com) โดยมีแนวคิดเริ่มแรกในการใช้เสิร์ชเอนจิน เพื่อเติมเต็มช่องว่างทางด้านข้อมูลโรงแรมและการท่องเที่ยว แพลนเน็ต ฮอลิเดย์นับเป็นหนึ่งในเว็บไซต์จองโรงแรมแห่งแรกๆ ในวงการสำรองห้องพักออนไลน์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่เดิม นายเคนนี่อาศัยอยู่ในลองไอส์แลนด์ นครนิวยอร์ก ก่อนจะย้ายมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2537 และก่อตั้งเว็บไซต์พร้อมสำนักงานเล็กๆ ขึ้นในเกาะภูเก็ต ซึ่งช่วงปี พ.ศ. 2543-2544 เป็นยุคที่ธุรกิจ ดอตคอม ตกต่ำ และเกิดเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ในสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2546 เกิดโรคซาร์สระบาด เหตุการณ์ทั้งหมดได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่เว็บไซต์ที่อยู่ในวงการธุรกิจสำรองห้องพักออนไลน์ทั้งหมด ก็สามารถเอาตัวรอดจากหายนะเหล่านี้มาได้

ปี พ.ศ. 2545 สำนักงานของบริษัทได้ย้ายจากภูเก็ตมาที่กรุงเทพ และในปี พ.ศ. 2548 บริษัทได้เพิ่ม พรีซิชั่น เรเซอร์เวชั่น ดอตคอม (PrecisionReservation.com) เข้ามา ในฐานะเว็บไซต์หุ้นส่วนเพื่อให้บริการจองโรงแรมผ่านเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตร และในปีเดียวกันนี้ แพลนเน็ต ฮอลิเดย์ และ พรีซิชั่น รีเซอร์เวชั่น ก็ได้รวมเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อ บริษัท อโกด้า จำกัด

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 Priceline.com (NASDAQ: PCLN) ได้ซื้อกิจการของบริษัทอโกด้า นับเป็นบริษัทนานาชาติแห่งที่สามที่ Priceline.com ตัดสินใจซื้อ ปัจจุบัน อโกด้ามีพนักงานกว่า 1,200 คน และให้บริการสำรองห้องพักออนไลน์จากโรงแรมกว่า 250,000 แห่งทั่วโลกผ่านเว็บไซต์ที่มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ กัน 38 ภาษาซึ่งรวมถึงภาษาจีนกลาง จีนกวางตุ้ง ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลี และไทย

เครดิตข้อมูลจาก อโกด้า วิถีพีเดีย

3.บริษัท Ookbee
คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ เจ้าของบริษัท Ookbee อุ๊คบี ผู้พลิกโฉมวิธีการอ่านหนังสือของคนไทย แอพลิเคชั่นสุดล้ำที่ทำให้เล่มหนังสือกระดาษ กลายเป็นหน้าหนังสือที่ สามารถดูได้จาก แทบเลท สมาร์ทโฟน ที่ซื้อง่าย อ่านง่าย ในราคาย่อมเยาว์ พกพาติดตัวไปได้ทุกที่ ภายใต้ชื่ออุ๊คบี ที่มีหนังสือให้เลือกมากกว่า 10,000 เล่ม และมีคนใช้ถึง 4 ล้านคน เขาใช้เวลาเพียง 3 ปี ในการสร้างแอพพลิเคชั่น ที่มียอดดาวน์โหลดหนังสือ เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ  เกี่ยวกับ บริษัท Ookbee - อุ๊คบี ชื่อนี้เป็นคำผวนของคำว่า อีบุ๊ค ดำเนินธุรกิจหนังสือดิจิตอลออนไลน์ โดยรับเอาหนังสือจากสำนักพิมพ์ หรือนักเขียนอิสระ มาทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล จากนั้นนำไปจำหน่ายบนเครื่องโทรศัพท์มือถือ, Smartphone, Tablet ในปัจจุบัน มีผู้รักการอ่านเข้าไปใช้งาน มากกว่า 4 ล้านคนทีเดียว

คุณณัฐวุฒิ พีงเจริญพงศ์ หรือคุณหมู CEO และผู้ก่อตั้ง Ookbee ซึ่งเป็น digital book platform ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีหน้าร้านอย่าง AIS Bookstore และ B2S Book Store มาบรรยายในงาน tech talk #2 ที่จัดขึ้นโดยหลักสูตรนโยบายและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม คุณหมูเริ่มต้นด้วยการเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการก่อตั้ง Ookbee ว่ามีที่มาจากการที่ได้ลองสัมผัสกับ iPad เวอร์ชั่นแรกเมื่อปี 2010 และคิดว่า ebook น่าจะเป็นธุกิจที่เหมาะกับอุปกรณ์ประเภทนี้ประกอบกับในช่วงนั้นตนเองก็มีบริษัทที่รับพัฒนา application อยู่แล้วจึงเริ่มลงมือ code เอง ในขณะเดียวกันก็เริ่มติดต่อกับสำนักพิมพ์ต่างๆในการที่จะนำหนังสือมาขายบน Ookbee คุณหมูได้เล่าว่าปัจจุบัน Ookbee ได้กลายมาเป็น #1 e-book store ในประเทศไทย มีส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 88% มีผู้ใช้กว่า 2.5 ล้านคน และมีจำนวนเพิมขึ้นกว่าวันละ 3 พันคน มีหนังสือถูกดาวน์โหลดผ่าน Ookbee แล้วกว่า 6 ล้านเล่ม และล่าสุดบริษัท Intouch (Shin Corp.) ได้เข้าร่วมลงทุนกับ Ookbee ด้วยเงินกว่า 60 ล้านบาท นอกจากนี้คุณหมูยังได้แชร์ไอเดียในเรื่องของการทำ App อย่าไรให้ประสบความสำเร็จ โดยหลักๆที่สำคัยคือการให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ (คุณหมูใช้คำว่า Local Local Local) โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นประเทศทีมีจำนวนคนดาวน์โหลด App เป็นจำนวนมากที่สุดใน Asean เป็นอันดับ 3 ใน Asia รองจากญี่ปุ่นและเกาหลี และอัตราการเติบโตของรายได้ผ่าน App Store เป็นอันดับ 3 เป็นรองแค่เพียงบราซิล และ ญี่ปุ่น สำหรับแนวทางของ Ookbee ใน Asean นั้น คุณหมูเล่าว่าในขณะนี้ก็ได้เข้าไปทำตลาดในประเทศเพื่อนบ้านแล้ว โดยเริ่มจากเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งในเวียดนามมีผู้ใช้กว่าหนึ่งแสนคนแล้วโดยใช้เวลาเพียง 9 เดือน และสุดท้ายคุณหมูก็ได้ให้ข้อคิดดีๆในการที่จะเป็น startup  ล่าสุดบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรืออินทัชได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าบริษัทได้เข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนมูลค่า 57.48 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.03 ของบริษัท อุ๊คบี จำกัด (Ookbee) ซึ่งผู้ให้บริการและพัฒนาช่องทางการนำเสนอสิ่งพิมพ์แบบดิจิตอลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
Ookbee ปัจจุบันให้บริการระบบเผยแพร่สื่อในรูปแบบดิจิตอลทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ตลอดจนหนังสือให้กับสำนักพิมพ์ใหญ่ในไทยหลายแห่ง ทั้งเครือจีเอ็ม, อมรินทร์ และแกรมมี่ โดยมีบนหลายแพลตฟอร์มทั้ง iOS, Android และ BlackBerry ครับ 

อ่านคำให้สัมภาษณ์ของคุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ (คุณหมู) เจ้าของบริษัท OOKBEE ได้ที่ http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/tn228B_p024-26.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น