จุดหมายปลายทาง ของแหล่งการค้า กระจายไปทั่วทุกมุมเมือง ปริมณฑล
ริมถนนสายหลักหรือสายรองในเมือง
หากเป็นเส้นทางผ่านของการคมนาคมสายหลัก
ที่นั่นจะเป็นจุดหมายปลายทางของแหล่งช็อปปิ้ง แหล่งการค้า
และศูนย์รวมของร้านค้ารูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์การค้ารูปแบบ Shopping
Mall,Shopping Complexl,Modern Trade,Night Plaza,Shopping Plaza,Street และล่าสุดรูปแบบที่นิยมกันก็คือ Community Mall ศูนย์รวมร้านค้าแบบใหม่
ที่จัดผังร้านค้าในรูปแบบเมือง สวนสาธารณะ
หรือนิเวศวิทยาที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในทำเลพื้นที่นั้นๆ ซึ่งในช่วง 3-4 ปีมานี้ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ทั่วทุกหัวระแหง ในย่านการค้าหลัก รอง
หรือในย่านการค้าที่สำคัญตามแหล่งท่องเที่ยว หัวเมืองหลักในภูมิภาคต่างๆ
Community
Mall ที่เปิดตัวไปแล้วในยุคแรกๆ จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ J avenue, Market Place,Siam Future Development Place ,Major
Cineplex Stand Alone (Major Avenue),La Villa ซ.อารีย์,Esplanade
รัชดาภิเษก,Emporium Stadium สุขุมวิท,UD
Town อุดรธานี,Palio เขาใหญ่,K Village
สุขุมวิท 26,CDC คริสตัลดีไซน์เซ็นเตอร์
เอกมัยรามอินทรา,The Circle ราชพฤกษ์,เสนา fest ธนบุรี,The Posri Market,The Retail,Mimosa พัทยา,Venice
di IRIS วัชรพล,Vue Lifestyle Mall พระราม2,ต้นซุง Avenue,The Sense ปิ่นเกล้า,The Paseo
Town รามคำแหง,Maze ทองหล่อ,The Jas วังหิน,ลาดปลาเค้า,The Phyll สุขุมวิท 54,The Walk ราชพฤกษ์,เกษตรนวมินทร์,นครสวรรค์, View Mall
Vientiane, Lao,Metro East Town สุขุมวิท 77,กัลปพฤกษ์,Porto Chino มหาชัย พระราม 2,Victoria
Garden เพชรเกษม 69,Vista Avenue เพชรเกษม 81,Pure
Place ราชพฤกษ์,The Nine พระราม9,The City
Viva ถ.นราธิวาส,Klang Villa โคราช,มหาชัย,นวมินทร์ซิตี้ อเวนิว,Urban Square ประชาชื่น,The
Coast สุขุมวิทบางนา,The Compound รามอินทรา109,Power
Center เอกมัย,Festival Walk เกษตรนวมินทร์,The
Avenue พัทยา,Mega บางนา,Rain Hill สุขุมวิท 47,Santorini Park ชะอำ,Green Place
ถ.จันทน์ 43,B-Boulevard บางนาตราด12,The
Fifth Canal รังสิตนครนายก 15,I’m Park สามย่าน,Market
Park อุดมสุข 103,The Crystal ทางด่วนเอกมัยรามอินทรา,Oasis,Park,Garden
ถ.สามัคคี,สุขุมวิท 101,เพชรเกษม 81,Park
Lane สุขุมวิท61-63,Banana Walk ภูเก็ต,@ Curve เชียงใหม่ ฯลฯ ยังมีอีกหลายที่ ลิสต์มาไม่หมด
และที่จะเปิดตามมาอีกมากมาย ตามกระแสความนิยมและอินเทรนด์ของ community
mall ที่เป็นแหล่งรวมค้าปลีกที่สามารถต่อกรกับห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ได้อย่างสมศักดิ์ศรี
และนับวันจะสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองเข้าไปทุกที และเป็นการกระจายความเจริญ
และกระจายรายได้ออกไปตามย่านหัวเมืองต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สยามสแควร์วัน : SIAM SQUARE ONE
Urban Shopping Street สีสัน....สู่อนาคต
เจ้าของโครงการ : ส่วนบริหารกิจการอาคารสยามสแควร์วัน
ที่ดิน :
8 .45 ไร่
งบประมาณก่อสร้าง :
1,800 ล้านบาท
พื้นที่รวมโครงการ : 74,000 ตร.ม.
พื้นที่ให้เช่า : 32,600 ตร.ม.
จำนวนชั้น : 7 ชั้น และ 2 ชั้นใต้ดิน
จุดเชื่อมต่อ : รถไฟฟ้า BTS บริเวณชั้น 3
: อาคาร ดิจิตอล เกตเวย์ ชั้น 2-4
พื้นที่จอดรถ : 270 คัน (ชั้นใต้ดิน)
ทำเลที่ตั้ง : จุดศูนย์กลางสยามสแควร์
(ดีที่สุดของที่สุด)
ด้านหน้าติด ถ.พระราม 1 และ ด้านหลังติดสยามสแควร์ ซอย 7
ภาพรวมโครงการ
กว่า 40 ปี
ที่สยามสแควร์เป็นศูนย์การค้าแนวราบขนาดใหญ่ใจกลางย่านการค้าของกรุงเทพมหานคร ริมถนนพระราม 1
เริ่มแรกจากกลุ่มอาคารพาณิชย์และโรงภาพยนตร์ที่ต่อมาได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
จนแผ่ขยายไปสู่ที่ดินบริเวณรอบข้าง
เกิดเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เป็นแหล่งรวมกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ
สถาบันกวดวิชา ร้านหนังสือ โรงเรียนสอนดนตรี ร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้าปลีก และอาคารสำนักงานที่ทันสมัยจำนวนมากมาย
บ่มเพาะเอกลักษณ์ของความเป็นสยามสแควร์ในจิตใจวัยรุ่นมาทุกยุคทุกสมัย ในส่วนของโครงการสยามสแควร์วัน
แต่เดิมนั้น เป็นพื้นที่บริเวณ Block E และ D2
ของศูนย์การค้าสยาม สแควร์ ประกอบไปด้วยอาคารพาณิชย์ 89 คูหา
อาคารพิเศษ 2 อาคารคือ โรงภาพยนตร์สยามและอาคารโพโมโดโร และศาลพระภูมิสยามสแควร์
(หลวงปู่ชัยมงคล) ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
ได้เกิดเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางการเมือง
ทำให้อาคารพาณิชย์ของมหาวิทยาลัย
รวมทั้งสินค้าและทรัพย์สินของผู้เช่าได้รับความเสียหาย
จึงทำให้ผู้เช่าจำนวนมากไม่มีสถานที่ประกอบการค้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เช่าในบริเวณ Block E ดังนั้น
มหาวิทยาลัย จึงได้เลื่อนแผนพัฒนาโครงการบนพื้นที่ดังกล่าวให้เร็วขึ้น
จากเดิมที่กำหนดการพัฒนาประมาณเดือนตุลาคม 2554
เป็นเดือนมกราคม 2554 เพื่อลดผลกระทบต่อผู้เช่า
ตลอดจนทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี สวยงาม และทันสมัย
ด้วยเอกลักษณ์ดั้งเดิมของความเป็น “ช้อปปิ้ง สตรีท”
ที่ให้อิสระแก่การเดินพักผ่อนเพื่อจับจ่าย การเป็นจุดนัดสังสรรค์
พบปะเพื่ออัพเดทแฟชั่นและกระแสวัฒนธรรมร่วมสมัย ท่ามกลางบรรยากาศของท้องฟ้ายามเช้า
แสงแดดยามบ่าย หรือแสงไฟยามค่ำคืน ยังคงเสน่ห์ครองใจทั้งวัยรุ่น หนุ่มสาววัยทำงาน และชาวต่างชาติ
มาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความต้องการในการจับจ่ายของ “ชาวสยามสแควร์”
มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
พื้นที่ของอาคารพาณิชย์ที่มีอยู่
จึงไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการนี้ได้
แนวคิดการออกแบบช้อปปิ้ง สตรีท
แนวตั้งอย่างสยามสแควร์วัน (Siam Square One) จึงเป็นศูนย์การค้าที่ตอบโจทย์นี้ได้อย่างลงตัว
Concept
BRAND
DNA :
FLD Concept (Fashion, Lifestyle and Digital)
โครงการสยามสแควร์วัน
มีเอกลักษณ์เฉพาะในการเป็นแหล่งรวม One Stop Shopping ของความหลากหลายในไลฟ์สไตล์
จากร้านค้ากลุ่ม Flagship Stores แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ
เครื่องหนัง
จากกลุ่มยังดีไซน์เนอร์ของคนไทย และอินเตอร์แบรนด์ กลุ่ม ไอที กับสินค้า ไฮเทค ที่จะไม่ทำให้คุณตกยุคไซเบอร์(Cyber)
มีบรรยากาศดีๆของร้านอาหารอินเทรนด์ทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างชาติไว้รองรับ
ไม่ว่ามื้อนั้นของคุณจะเป็นการสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อนสนิท การเจรจาปิดยอดขาย 120
ล้าน หรือเพียงแค่การแวะนั่งพักกับกาแฟถ้วยโปรดของคุณ นอกเหนือไปกว่านั้น สยามสแควร์วัน
ยังเตรียมความพร้อมสำหรับนักช้อปที่ใส่ใจในความ
“In Trend & In Shape” ด้วยสปา
และสถาบันเสริมความงามอีกมากมายบนพื้นที่นี้
Inhabitants
Mixture
ชั้น 7
: Sky Hall & Roof Garden
ชั้น 6
: Banking and Beauty
ชั้น 5 :
Fine Dining & Family Restaurant
ชั้น 4 :
Café, Restaurants, Ice Cream Parlor & Bakeries, and Juice Bars
ชั้น 3 :
International Fashion & Lifestyle Brands, Digital Technology Shops,
Event Area (Outdoor)
ชั้น 2 :
International Fashion & Lifestyle Brands
ชั้น 1 :
Fashion by Siam Square Origins
ชั้น LG :
Fashion by Siam Square Origins, Event Area (Outdoor),
Event Area (Indoor)
ชั้น B :
Parking Lot
กลุ่มผู้ใช้บริการ
เป็นกลุ่มลูกค้าที่จัดอยู่ในระดับ
B+ จนถึงระดับ A ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น นิสิต
นักศึกษา นักเรียน กลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ซึ่งในกลุ่มนี้มีกำลังซื้อค่อนข้างสูงพฤติกรรมการใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ต่อครั้ง ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะตั้งใจมาช้อปปิ้ง รับประทานอาหาร เรียนพิเศษ และ พบปะสังสรรค์
แนวคิดในการออกแบบ Innovative Structure
1. ด้านสถาปัตยกรรม ( Architecture) มีแนวความคิดในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมให้เป็น
ถนนช้อบปิ้งแบบเปิดแนวตั้ง
(Urban Vertical Shopping Streets) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
1.1 พื้นที่ปรับอากาศ ชั้น 1 และ LG รวม
2 ชั้น กว่า 20,300 ตร.ม.
เป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าย่อย
(Small Shops) มีบรรยากาศแบบอันเดอร์กราวน์แฟคทอรี่
เป็นศูนย์แฟชั่นและการออกแบบให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่
ที่เริ่มต้นสร้างสรรค์งานออกแบบก่อนที่จะเติบโตเป็นแบรนด์ดังระดับแนวหน้า
1.2 พื้นที่อาคารเหนือระดับพื้นดินรวม 6 ชั้น กว่า 54,000
ตร.ม. ถูกออกแบบให้เป็นทางลาดเพื่อโอกาสสำหรับกิจกรรมต่างๆ
ทางเดินเปิดโล่งที่พร้อมเชื้อเชิญผู้คนจากระดับถนนและภายในศูนย์การค้า
และจากจุดเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสยามสามารถเดินต่อเนื่องไปยังถนนคนเดินที่อยู่ชั้นถัดไปของอาคาร
บรรยากาศของทางเดินภายนอกอาคารมีทั้งรูปแบบสวนแนวตั้งและต้นไม้ใหญ่ กระจายต่อเนื่องไปตามจุดต่างๆ
ทุกชั้น
เพื่อสร้างความแตกต่างให้ลูกค้ามีและสร้างบรรยากาศเสมือนเป็น oasis กลางเมือง
2. ด้านภูมิทัศน์
( Landscape) แนวคิดในการออกแบบด้านภูมิทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
2.1
ลานสนามสีเขียว (Green Courtyard) บริเวณช่องเปิดส่วนกลางระหว่างอาคาร
หรือภูมิทัศน์ภายในอาคาร (Indoor/ Outdoor Landscape) ใช้แนวคิดที่ผสมผสานระหว่างสวนแนวตั้งและสวนกระถางโดยดัดแปลงใช้พันธุ์ไม้ของไทยเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและมีการวิเคราะห์ปริมาณแสงแดดธรรมชาติเพื่อประกอบการเลือกประเภทและบริเวณที่ปลูกไม้เลื้อยในร่มหรือไม้ยืนต้นอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ลาน คือ
- ลานฤดูหนาว (Winter Courtyard)
- ลานฤดูฝน
(Rainy Courtyard)
- ลานฤดูร้อน (Summer Courtyard)
โดยแต่ละลาน
มีการใช้สีของโครงสร้างและพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกันไป เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับ
แต่ละพื้นที่
2.2 บริเวณทางลาดเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสยาม
บริเวณทางลาดเชื่อม (Ramp Linkage)
เป็นการออกแบบการเชื่อมต่อสยามสแควร์กับสถานีรถไฟฟ้าสยามโดยตรง
ซึ่งถือเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของโครงการสู่มหานครกรุงเทพ โดยแนวความคิดเป็นการสร้างซอย 4 แห่งสยามกลับคืนมา
มีพื้นที่ลานกิจกรรมขนาดใหญ่ที่เป็นจุดเชื่อมต่อและต้อนรับผู้คนเข้าสู่โครงการ (Transitional Area/ Welcoming Plaza)
การสร้างบรรยากาศของทางลาดมีการออกแบบให้มีพื้นที่สีเขียวแนวตั้ง และ
องค์ประกอบทางภูมิสถาปัตยกรรม ซึ่งแตกต่างจากอาคารศูนย์การค้าแบบปิดโดยรอบ
2.3
สวนหลังคา ( Roof Garden ) ยึดแนวคิดเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Green Technology) ในการออกแบบสวนหลังคาบริเวณชั้น 7
เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้เป็นพื้นที่เกิดประโยชน์เชิงนิเวศวิทยาเมืองในรูปแบหลังคาสีเขียว
(Green Roof)
ซึ่งสามารถลดพื้นที่ผิวสัมผัสที่สร้างความร้อนอันเป็นต้นเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจกและปรากฏการณ์เกาะร้อนในเมือง
อีกทั้งยังเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
และวัสดุชิ้นส่วนอาคารเดิมในการพัฒนาสวนหลังคา ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา (Low
Maintenance) เพื่อที่จะสร้างอาคารสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม
(Green Building)
และนำไปสู่การพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผสมผสานการสร้างพื้นที่สีเขียวเข้ากับการพัฒนาอาคารสถาปัตยกรรมใจกลางเมือง
บทสรุป
ด้วยศักยภาพของพื้นที่โครงการที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดใจกลางเมือง และความสะดวกในการเดินทาง
มีจุดเชื่อมตรงกับสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส สถานีสยาม
เป็นศูนย์กลางของการขนส่งมวลชนหลายสาย
ที่จะนำทุกท่านเข้าสู่โครงการ
และด้วยความเป็นศูนย์การค้าที่ได้รับความรู้จักและมีชื่อเสียงมายาวนาน
ผสานด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นในความเป็น แหล่งช้อปปิ้ง สตรีท จึงมั่นใจได้ว่าศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน
จะเป็นศูนย์รวมสำคัญของนักลงทุน เหล่าศิลปินดีไซน์เนอร์ และบรรดานักช้อปจากทั่วทุกมุมโลกอีกแห่งหนึ่ง
ที่จะต้องมาสัมผัสและหลงใหลไปกับสีสันความหลากหลายของบรรยากาศที่คุ้นเคยได้จากสยามสแควร์วัน
Urban Shopping Street สีสัน...สู่อนาคต
แห่งนี้
เปิดตัวแล้วสุดยิ่งใหญ่อลังการ
Central Embassy เซ็นทรัล
เอ็มบาสซี ขนแบรนด์หรู ร้านดัง รวมไว้เพียบ กับห้างใหม่ 8 ชั้น
บนตึกสูง 37 ชั้น ย่านเพลินจิต
พร้อมสัมผัสโรงภาพยนตร์เริ่ดกว่าใครสไตล์ฮอลลีวูด
ในที่สุดก็ถึงเวลาที่ทุกคนรอคอย...สำหรับโครงการ
"Central Embassy เซ็นทรัล เอ็มบาสซี" ห้างหรูแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ
ที่ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557
ซึ่งเป็นไปอย่างยิ่งใหญ่อลังการสมการรอคอย สำหรับ เซ็นทรัล
เอ็มบาสซี อาณาจักรไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งหรูระดับอัลตร้าลักชัวรี่
อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ชาติ จิราธิวัฒน์ ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งตระกูลจิราธิวัฒน์
ซึ่งใช้เวลากว่า 7 ปี ในการเนรมิต Central Embassy
ให้กลายเป็นห้างหรูระดับมาสเตอร์พีซที่จะมาตอบสนองทุกความต้องการ
ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Infinite Possibilities : ทุกความเป็นไปได้เกิดขึ้นที่นี่ โดยบรรยากาศงานเปิดตัว
"Grand Opening of Central Embassy" เป็นไปอย่างคึกคัก
ได้พิธีกรฝีปากกล้าอย่าง วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา
มานั่งแท่นโชว์ไดเรคเตอร์เป็นครั้งแรกร่วมกับ เมฆ เกรียงไกร กาญจนะโภคิน
สร้างสรรค์โชว์พิเศษสุดอลังการให้บรรดาแขกระดับเอลิสต์ นำโดย หญิงแมงมุม
ม.ร.ว.ศรีคำรุ้ง ยุคล, พล.ต.พัชร รัตตกุล, ม.ร.ว.จันทรนิภา ยุคล, หญิงแม้น ม.ร.ว.แม้นนฤมาส
ยุคล, อรชุมา ดุรงค์เดช, กรกนก ยงสกุล,
ศิรประภา จีระพันธ์ ฯลฯ พร้อมบิ๊กเซอร์ไพรส์จากแร็พเปอร์ระดับโลก A$AP
Rocky สำหรับ Central
Embassy มีความพิเศษอย่างไร มีช้อปแบรนด์ไหน ร้านใหม่
อะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย...
Central Embassy ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดของถนนเพลินจิตและถนนวิทยุ บนพื้นที่โครงการ 144,000
ตารางเมตร ใช้เม็ดเงินลงทุนมูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท
แบ่งเป็นที่ดิน 6,000 ล้านบาท โครงสร้าง 7,000 ล้านบาท และการตกแต่งภายในอีกกว่า 5,000 ล้านบาท
Infinity Building ตัวตึกของโครงการเซ็นทรัล เอ็มบาสซี มีความสูงรวม 37 ชั้น และมีหน้ากว้างยาวกว่า 200 เมตร
โดยตัวอาคารนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนศูนย์การค้าจำนวน 8
ชั้น (Retail Podium) และส่วนทาวเวอร์
ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงแรมปาร์คไฮแอท (Tower) ทั้ง 2 ส่วนถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกันเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์อินฟินิตี้ (Infinity)
ความหมายคือ ไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนตัวตึกเป็น 3D Curve คือ โค้ง 3 มิติ ทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน
ทำให้ดูสวยงามลงตัวไม่ว่าจะมองมาจากมุมใด ใช้เกล็ดอะลูมิเนียมจำนวนกว่า
300,000 เกล็ด ติดรายล้อมรอบตัวตึก
โดยได้แรงบันดาลใจจากเกล็ดหลังคากระเบื้องเคลือบของพระอุโบสถในวัดไทย
เมื่อฉาบแสงอาทิตย์จะเกิดเป็นสีเหลื่อมระยิบระยับสวยงามวิจิตร
เสมือนเป็นพื้นผิวของผ้าไหมไทยที่เลื่องชื่อ
เปิดตัว 7
Facade Brands ได้แก่ Bottega Veneta, Chanel, Gucci,
Hermes, Miu Miu, Prada และ Ralph Lauren ในรูปแบบไอคอนนิค สโตร์ (Iconic Store) ที่นำเสนอรูปแบบร้าน
Duplex 2 ชั้น เต็มรูปแบบ
เปิดตัวอินเตอร์แบรนด์สุดหรูกว่า
200 แบรนด์ อาทิ A.P.C., BCBG Max Azria, Calvin
Klein Collection, CH Carolina Herrera, Christian Louboutin, Givenchy, Isabel
Marant, Jil Sander, Paul Smith, Versace ฯลฯ
ร้านอาหารนานาชาติชื่อดังจากทุกมุมโลก
เช่น Yuutaro, Hinata, Din Tai Fung, Great American Rib, Minibar Cafe
รวมถึง Eathai (อีทไทย) อาณาจักรแห่งสุดยอดอาหารไทยที่ดีที่สุดของทุกภาคมารวมอยู่ที่นี่ และ Talad
Eathai (ตลาดอีทไทย) ที่รวบรวมสินค้าระดับพรีเมี่ยมทั้งผลไม้
ขนม และของที่ระลึกที่เป็นที่นิยมสำหรับคนต่างชาติหรือผู้มาเยือนได้ซื้อกลับไป
โรงภาพยนตร์
Embassy Diplomat Screens เป็นโรงภาพยนตร์ระดับ Ultra-First
Class จำนวน 5 โรง แบบ Exclusive ด้วย 30-50 ที่นั่งต่อโรง
และดีไซน์โรงที่พิเศษหรูหราสไตล์ฮอลลีวูด มีจอภาพ Real D และระบบเสียงที่ดีที่สุด
รวมถึงเลานจ์และการบริการที่เทียบเท่าโรงแรม 6 ดาว
เป็นที่ตั้งของโรงแรมปาร์ค
ไฮแอท กรุงเทพ (Park Hyatt Bangkok) สุดยอดแห่งโรงแรมระดับ 6
ดาวซึ่งมีเพียง 36 สาขาทั่วโลก
โดยมีจำนวนห้องพัก 222 ห้อง สูง 30 ชั้น
ในรูปแบบห้องพักที่เป็นห้องสวีททั้งหมด
เปิดตัวโครงการ Icon Siam
สยามพิวรรธน์-แมกโนเลียฯ-ซีพี ลงทุนเพิ่ม
40% เดินเครื่อง “ไอคอนสยาม” อาณาจักรศูนย์การค้า-คอนโดหรู
7.5 แสนตร.ม. มูลค่าโครงการ 5 หมื่นล้าน เปิด “มาสเตอร์แพลน” ผนึกความร่วมมือรัฐ-เอกชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปั้นแลนด์มาร์คใหม่
ชู “7 สิ่งมหัศจรรย์” ดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก
ดีเดย์ปี 2560 เล็งกว้านที่ดินรอบข้างขยายโครงการเชื่อมรถไฟฟ้า
ชี้ศักยภาพริมน้ำเจ้าพระยาดึงดูดนักลงทุนแห่ผุด
30 โครงการมูลค่ากว่า 1.12 แสนล้าน
ความร่วมมือทางธุรกิจระหว่าง
3 ทุนไทยยักษ์ใหญ่ สยามพิวรรธน์ แมกโนเลีย ควอลิตี้
ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น และเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี.) ได้ฤกษ์เปิดองค์ประกอบและประกาศชื่อโครงการแลนด์มาร์คแห่งใหม่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา “ไอคอนสยาม” มูลค่า
5 หมื่นล้านบาท บนที่ดิน
50 ไร่ ย่านเจริญนคร นับเป็นอภิมหาโครงการเมืองแห่งการใช้ชีวิตสู่โลกอนาคต
กำหนดเปิดบริการปี 2560 ซึ่งจะเป็นการ “โชว์เคส” ประเทศไทยแข่งขันบนเวทีโลก
วานนี้
(1 ก.ค.) นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
นางสาว ทิพาภรณ์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้
ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ นายณรงค์ เจียรวนนท์
ผู้ช่วยอาวุโสประธานกรรมการ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ร่วมกันเปิดเผย
รายละเอียดโครงการไอคอนสยาม (ICONSIAM) ภายใต้แนวคิด The Icon of Eternal Prosperity หรือเมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์
พร้อมกันนี้
ได้ประกาศแผนแม่บทวิสัยทัศน์แห่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ICONSIAM River
Master Vision) ที่จะเป็นการผนึกกำลังของธุรกิจโรงแรม ค้าปลีก
ผู้ประกอบการเรือสัญจร และแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
เพื่อเนรมิตพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ ยาว 10 กิโลเมตร
ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกแห่งใหม่
นางชฎาทิพ
กล่าวว่า ไอคอนสยาม มีการขยายพื้นที่โครงการใหญ่ขึ้น
โดยการซื้อที่ดินที่อยู่ล้อมรอบโครงการเพิ่มเติม ทำให้ปัจจุบันมีขนาดพื้นที่ 50
ไร่ จากเดิม 40 ไร่
ส่งผลให้มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 40% เป็น 5 หมื่นล้านบาท จากเดิม 3.5 หมื่นล้านบาท
โดยกำหนดเปิดบริการภายในปี 2560 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองราชย์ครบ
70 ปี และมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา
แนวทางพัฒนาโครงการอยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ธุรกิจ
ที่ต้องการออกแบบเมืองที่สง่างามสมบูรณ์แบบ ผสมผสานที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า และพื้นที่ชุมชน
(Community space) รวม 7.5 แสนตร.ม. ไว้ด้วยกัน
“เป็นโครงการระดับโลก ซึ่งจะทำให้ประเทศไทย ก้าวไปอยู่ในทำเนียบประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสัญลักษณ์อันโดดเด่น
ขับเคลื่อนกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางที่น่ามาเยือนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
หรือ โกลเบิล เดสทิเนชั่น”
สำหรับการลงทุนโครงการไอคอนสยาม ใช้เงินกู้
50% โดยมีธนาคารกสิกรไทยและธนาคารธนชาติ เป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน
และยังมีแผนขยายที่ดินบริเวณรอบโครงการเพิ่มรองรับส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้า ทั้งเป็นการเสริมศักยภาพโครงการมากยิ่งขึ้น
ผนึก
"รัฐ-เอกชน" ปั้นแลนด์มาร์ค
ไอคอนสยาม ตั้งอยู่บนทำเลยุทธศาสตร์สำคัญของกรุงเทพฯ ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีด้านหน้าทอดยาวเลียบริมน้ำมากกว่า
400 เมตร เป็นจุดเด่นในการต่อยอดและสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ
บริเวณดังกล่าวมีทั้งลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ
ท่ามกลางโครงการที่พักอาศัยระดับบนกว่า 200 โครงการ
มีผู้พักอาศัยมากกว่า 3 ล้านคน มีโรงแรมเชนระดับโลกในรัศมี 10
กิโลเมตร ถึง 50 แห่ง รวมห้องพักกว่า 1
หมื่นห้อง ในอีก 3-5 ปีข้างหน้าจะมีโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่สร้างเสร็จเพิ่มเติมในพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย
“ระหว่างปี 2555-2563 มีโครงการค้าปลีก
อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมต่างๆ เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 30 แห่ง
รวมมูลค่ากว่า 1.12 หมื่นล้านบาท ทั้งหมดนี้สามารถเชื่อมเครือข่ายสร้างพลังในการทำตลาดแบบ
One
Destination”
เปิดสัญจรทางน้ำเพิ่มทางเลือก
ทั้งนี้
แผนแม่บท ‘ICONSIAM
River Master Vision’ จะร่วมมือกับผู้ประกอบการและหน่วยงานต่างๆ
กว่า 30 ราย ซึ่งมีทั้งผู้ค้าปลีก เจ้าของโรงแรม
ผู้ประกอบการเรือสัญจรในแม่น้ำ และสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในการผลักดันแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก
เพิ่มเสน่ห์ให้กรุงเทพฯ
ในฐานะเมืองจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่น่าจดจำ
สำหรับ
พันธมิตรที่ตกลงเข้าร่วมผนึกกำลังในแผนแม่บทดังกล่าวแล้ว ได้แก่ โรงแรมแมนดาริน
โอเรียนเต็ล กรุงเทพ โรงแรมรอยัล
ออคิด เชอราตัน, โรงแรมแชงกรีล่าเรือด่วนเจ้าพระยา เอเชียทีค
เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซต์ กรุงเทพโรงแรมมิลเลนเนียม
ฮิลตัน โรงแรมเพนนินซูล่า กรุงเทพ เป็นต้น
“โครงการความร่วมมือจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนวิถีการเดินทางในกรุงเทพฯ
อยากหันมาใช้การเดินทางทางน้ำมากขึ้น เป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือจากการใช้รถยนต์”
สอดรับนโยบายของ
สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานครมีแนวคิดที่จะสร้างทางเดินเลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไอคอนสยามจะสร้าง เดอะ
ริเวอร์ พาร์ค หรือ ลานคนเมือง พื้นที่กว่า 1 หมื่นตร.ม.
เป็นพื้นที่จัดแสดงงานประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ
ผุด
2
ศูนย์การค้า 2 คอนโดหรู
นางสาวทิพาภรณ์
กล่าวว่า ไอคอนสยาม เปรียบเสมือน
“เมืองใหม่” ประกอบด้วย 2 อาณาจักรศูนย์การค้า พื้นที่
5.25 แสน ตร.ม. อาคารที่พักอาศัยริมน้ำระดับซูเปอร์ลักชัวรี่
70 ชั้น 1 อาคาร และ 40 ชั้น 1 อาคาร นอกจากนี้ ยังมี “7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งไอคอนสยาม” ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย
เป็นแม่เหล็กหลัก
สำหรับ
2 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ ได้แก่ ระบำน้ำพุ หรือ การแสดงสายน้ำผสมผสานมัลติมีเดียแสงสีเสียง
และไฟ (Multi-Media Water-and-Fire Feature) ที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มากกว่า 400 เมตร
นอกจากนี้
จะมีพิพิธภัณฑ์ศูนย์รวมของมรดกทางประวัติศาสตร์และสุดยอดภูมิปัญญาไทย หรือ
แชมเปี้ยนไทย
ดึงแบรนด์ปั้น
“ไอคอนสตอรี่”
อาณาจักร 2 ศูนย์การค้า แยกเป็นอาคารลักชัวรี่
พื้นที่ 2.5 หมื่นตร.ม.ด้านหน้าอาคารยาวกว่า 300 เมตร ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการรวบรวมที่สุดของแบรนด์ดังระดับโลกที่จะมาสร้างปรากฏการณ์
Icons within Icon เป็นแห่งแรกในโลก โดยการเนรมิตคฤหาสน์ (Brand
Mansions) ถ่ายทอดเรื่องราวและเอกลักษณ์ของแบรนด์อันเป็นมรดกตกทอด รวมถึงการรวมภัตตาคารหรูระดับ
3 มิชลินสตาร์จากประเทศต่างๆ
ส่วนอาคารเมน
รีเทล พื้นที่ 5
แสนตร.ม. อยู่ติดถนนเจริญนคร จะเป็นแหล่งของการนำเสนอ
ประสบการณ์แปลกใหม่ ด้วยการสร้างพื้นที่ของร้านค้าในรูปแบบที่ไม่มีใครเหมือนในบรรยากาศอินดอร์และเอาท์ดอร์
รวม 500 ร้านค้า 100 ภัตตาคารจาก 30
ประเทศ
นอกจากนี้
จะมีศูนย์การประชุมระดับโลก (World Class Auditorium) 3,500 ที่นั่ง สามารถจัดการประชุมผู้นำระดับโลก
งานสำคัญของรัฐบาล งานแสดงสินค้านิทรรศการต่างที่จะหมุนเวียนมาจากประเทศต่างๆ และรองรับโชว์จากบรอดเวย์
เป็นต้น
ขณะที่
แมกโนเลียส์
วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนท์ ที่ไอคอนสยาม จะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของโครงการที่พักอาศัยในไทย
ทั้งเชิงคุณภาพและความหรูหราที่สามารถติดต่อสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับชุมชนโลก ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารระบบไฟเบอร์ออพติคให้ความเร็วสูงสุดแห่งแรกในไทย
หนุนกรุงเทพฯฮับการค้า-ท่องเที่ยว
นายณรงค์
กล่าวว่า ไอคอนสยามจะเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของกรุงเทพฯ
ในการดึงดูดคนจากทั่วโลกเข้ามาพำนัก ท่องเที่ยว จับจ่ายใช้สอย ในประเทศไทย
เสริมศักยภาพให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและธุรกิจของภูมิภาคอาเซียนและโลก
“ไอคอนสยามจะจุดประกายความรุ่งเรืองให้กับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้ง”
แม่น้ำเจ้าพระยา นับเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีคุณค่าและมีศักยภาพมากที่สุด
ซึ่งแผนแม่บท ICONSIAM River Master Visionจะช่วยจุดประกายความเรืองรองของแม่น้ำเจ้าพระยากลับมาสว่างไสวโดดเด่นอีกครั้ง
นางชฎาทิพ
กล่าวต่อว่า ในเบื้องต้นเตรียมงบกว่า 200 ล้านบาททำการตลาดสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์
“ไอคอนสยาม” ช่วง
6 เดือนสุดท้ายปีนี้ เป็นการตลาดระดับโลกที่จะมีการโรดโชว์ประเทศต่างๆ
พร้อมทำการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชน อาทิ
สำนักงานการท่องเที่ยวไทยในต่างประเทศ สถานทูต ฯลฯ
ทุ่มซื้อที่ดินมูลค่าเกือบ
4
พันล้าน
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์
ระบุว่า ราคาที่ดินในบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง
4 ปีที่ผ่านมา โดยราคาซื้อขายที่ดินเพิ่มจากประมาณ 110,000
บาทต่อตร.ว. ในปี 2551 มาเป็น 265,000 บาทต่อตร.ว.ในปี 2554 หรือปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 40%
แต่ในปัจจุบัน คาดว่า ราคาขายจะมากกว่า 300,000 บาทต่อตร.ว.
โดยที่ดินบริเวณที่ตั้งโครงการไอคอนสยาม 37 ไร่
2 งาน 48 ตร.ว. หรือ 15,048 ตร.ว. (ก่อนขยายพื้นที่เป็น 50 ไร่) พบว่า มีราคาขายอยู่ที่ 263,459 บาทต่อตร.ว. หรือเท่ากับเฉพาะค่าที่ดินโครงการนี้มีมูลค่า
3,964 ล้านบาท
ตลาดนัดรถไฟ ตลาดยามเย็นบรรยากาศชิวๆ
มีสินค้ามากมายหลายชนิด ทั้งเสื้อผ้า ของแต่งบ้าน ของมือสองสวยๆ ซึ่งตอนนี้ ตลาดรถไฟนั้นได้ย้ายที่ตั้งใหม่แล้วมาอยู่ที่
ศรีนครินทร์
บริเวณหลังห้างซีคอนสแควร์ แต่เดิมนั้น ตลาดนัดรถไฟ
อยู่ที่จตุจักร ด้วยความที่เป็นตลาดนัดบรรยากาศแบบย้อนยุค
มีสินค้าหลากหลาย เป็นแหล่งรวมเฟอร์นิเจอร์ ของสะสม ของตกแต่งบ้านสุดคลาสสิก
รถโบราณ อะไหล่รถคลาสสิก ทำให้ค่อยๆได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
จนกลายมาเป็นตลาดยอดนิยมแห่งหนึ่งของกรุงเทพ แต่ต่อมามีปัญหาเรื่องที่ดินกัน
ก็เลยต้องย้ายมาที่ใหม่คือ ศรีนครินทร์
โดยมีการปรับปรุงใหม่ แบ่งโซนเป็นสัดส่วนมากขึ้น
การเดินทางมายัง ตลาดนัดรถไฟ
ศรีนครินทร์ ถ้ามาจากทางพัฒนาการ – อ่อนนุช ก็วิ่งเข้าถนนศรีนครินทร์ เลยห้างซีคอนสแควร์มาอยู่ซ้ายมือ
สามารถนำรถเข้ามาจอดได้หรืออาจจอดที่ลานจอดรถด้านข้างของซีคอนสแควร์ซึ่งอยู่ติดกับตลาดนัดรถไฟ
แล้วเดินไปก็ได้ จะมีบันไดเล็กๆให้ปีนข้ามเข้าตลาดได้เลย เมื่อเข้ามาถึงด้านหน้า
เราก็จะพบกับ โซนพลาซ่า
ภายในก็ยังมีสินค้ามากมายหลากหลายจำหน่าย
ทั้งเสื้อผ้าวัยรุ่น ชาย-หญิง เสื้อผ้ามือสอง รองเท้า กระเป๋า ของตกแต่งบ้าน
เฟอร์นิเจอร์ เดินไปเรื่อยๆตามทางก็เจอของมากมาย ภายในตลาดมีทั้งโซนนอกร่มและในร่ม
ด้านในก็มีบูทร้านค้าหลายร้านเช่นเดียวกับบริเวณด้านนอก ร้านน้ำต่างๆ
ที่มีอยู่หลากหลายร้านได้ครับ ทั้งร้านกาแฟ ร้านชา ร้านน้ำปั่น น้ำหวาน มีให้เลือกทานกัน
ภายในบริเวณโซนในร่มจนทั่วแล้ว ก็เดินทะลุจนออกมาอีกด้านหนึ่ง เป็น โซนตลาดนัด โซนนี้ด้านในจะพบว่ากว้างมาก
และคนเยอะคึกคักมาก บรรยากาศจะคล้ายๆตลาดนัด แต่สินค้าจะมีความเป็นตลาดนัดรถไฟ บรรยากาศเก่าๆ
ถูกใจคนชอบของวินเทจ ของย้อนยุค ทั้งเสื้อผ้าวินเทจ รองเท้ามือสอง เฟอร์นิเจอร์เก่า
มือ 2 มีให้เลือกหลายร้าน ต่อราคาได้ตามถนัด
ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ซื้อและผู้ขายที่จะตกลงราคากัน แบบตาดีได้
ตาร้ายเสียในแบบฉบับของตลาดนัดรถไฟฟ้า ที่ยังคงความคลาสสิกในแบบเดิมๆ
เปิดตัวห้าง Central Plaza : ศาลายา
ศูนย์การค้า Theme Mall ที่มีสวนโบทานิคพร้อมพรรณไม้นานาพันธุ์ภายใต้แนวคิด
“Contemporary
Botanical” มูลค่ากว่า 3,700 ล้าน บนทำเลศักยภาพสูงแห่งอนาคตของกรุงเทพฯ และปริมณฑลฝั่งตะวันตก
กำหนดเปิดประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2557
ที่ตั้ง: บนถนนบรมราชชนนี ขนาด 10 เลน
บริเวณศาลายา ระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 5 และ 7 ทำเลศักยภาพสูงแห่งอนาคตของกรุงเทพฯ และปริมณฑลฝั่งตะวันตก
พื้นที่โครงการ :
|
ที่ดินรวมประมาณ 70 ไร่
|
พื้นที่โครงการ (GFA):
|
180,000 ตร.ม.
|
กำหนดเปิด :
|
ประมาณไตรมาสที่ 3 ปี 2557
|
มูลค่าโครงการ :
|
ประมาณ 3,700 ล้านบาท
|
โครงการจะตอบสนองต่อชุมชนธุรกิจและผู้อยู่อาศัย
:
|
• ศูนย์กลางที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นสูงในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ระดับกลางถึงสูง มีโครงการบ้านจัดสรรระดับกลางถึงสูง
กว่า 100 โครงการ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรองกว่า
700,000 ครัวเรือนในปัจจุบัน ครอบคลุมอาณาเขตของกรุงเทพฯ
ฝั่งตะวันตกและปริมณฑล โดยเฉพาะฝั่ง พุทธมณฑล นครชัยศรี สามพราน
จนถึงเมืองนครปฐม และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต
• เป็นศูนย์กลางการศึกษา แหล่งรวมคนรุ่นใหม่ ที่มีกำลังซื้อสูง มีสถาบันการศึกษา
ทั้งมหาวิทยาลัย และโรงเรียนชั้นนำ ที่มีนักศึกษารวมกว่า 250,000 คน
• โรงแรมชั้นนำรองรับนักท่องเที่ยว อาทิ สวนสามพรานโรสการ์เด้นริเวอร์ไซค์,
เดอะรอยัลเจมส์กอล์ฟ รีสอร์ท, สุวรรณกอล์ฟแอนด์คันทรีคลับ
• สถานที่ราชการสำคัญ
• การขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคตจากแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจใหม่
ฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันตก
|
กลุ่มเป้าหมายหลัก :
|
ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
บริเวณฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ และจังหวัดนครปฐม พื้นที่รัศมีการเดินทางในระยะ 30 นาที
|
รูปแบบสถาปัตยกรรม :
|
• โดดเด่นภายใต้แนวคิด
“Contemporary Botanical” นำบรรยากาศ Outdoor เข้าไปไว้ในศูนย์การค้า
• ประดับด้วยพรรณไม้นานาชนิด ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง
ทั่วทั้งศูนย์การค้า
• ยังนำเอกลักษณ์ของศาลายาและนครปฐมมาเป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบและตกแต่ง
ศูนย์การค้า ทำเป็นจุด Photo Landmark ให้คนมาถ่ายรูป ทั้ง
บ้านริมคลอง รวมถึงเส้นสายการออกแบบที่แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมอันงดงามของพระราชวัง
สนามจันทร์ และโบราณสถานที่มีชื่อเสียงของท้องถิ่น
|
ความครบครันทันสมัยตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์
:
|
• พันธมิตรหลักห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
เป็น Magnet หลักในการดึงดูดลูกค้า นอกจากนี้ ยังมี Anchor
สำคัญ อย่าง Tops MarketมPowerBuy,
SuperSports, B2S และ OfficeMate
• รวมร้านค้าแบรนด์ชั้นนำทั้งไทยและอินเตอร์กว่า 250 ร้านค้า : Fashion Brand ระดับโลก Dining
Destination แห่งใหม่ที่รวมร้านอาหารคอนเซ็ปต์ใหม่ที่ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์
• เพียบพร้อมด้วย เอนเตอร์เทนเมนต์ สวนสนุก โรงภาพยนตร์
ที่ทันสมัย
|