สโนว์เดนเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญดังกล่าวแก่หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน ของอังกฤษเป็นที่แรก ในฤดูใบไม้ผลิปี 2556 ขณะรับจ้างเป็น "นักวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐาน" ของผู้รับจ้างเอ็นเอสเอ เดอะการ์เดียนตีพิมพ์ชุดการเปิดโปงในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ปีเดียวกัน และเปิดเผยโครงการต่าง ๆ เช่น การดักเมทาดาทา (metadata) โทรศัพท์ของสหรัฐและยุโรป และโครงการสอดส่องดูแลอินเทอร์เน็ต อย่าง ปริซึม ฯลฯ กล่าวกันว่าการเปิดเผยความจริงของสโนว์เดนจัดเป็นการฝ่าฝืนความมั่นคงของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติครั้งสำคัญที่สุดและร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ทันทีที่เรื่องนี้แดงออกมา เขาก็ถูกคุกคาม ไล่ล่า และต้องการจับกุมตัวจากรัฐบาลสหรัฐในทันที แต่สิ่งที่เป็นคุณูปการของเขาจากเหตุการณ์นี้ทำให้ผู้นำประเทศหลายคนในโลกนี้ตื่นตัว รู้ตัว และเริ่มเคลือบแคลงสงสัยในมิตรประเทศอย่างสหรัฐ เป็นอย่างมาก อาทิ ผู้นำประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส จีน บราซิล อินโดนีเซีย และอีกหลายๆ ประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกดักฟังโทรศัพท์ สอดแนมทุกรูปแบบ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่มีความสำคัญในแต่ละภูมิภาค ยกเว้นประเทศที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐ อย่าง อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สิงคโปร์ พวกนี้จะไม่โดนสอดแนม เพราะอยู่ในเครือข่ายขี้ข้าของสหรัฐ และมิหนำซ้ำยังเป็นมือเป็นไม้ทำงานให้กับสหรัฐด้วย อย่างเช่นในกรณีของออสเตรเลีย ที่โดนรัฐบาลอินโดนีเซีย ไม่พอใจ เรียกฑุตมาประท้วง และขับไล่ทูตออกนอกประเทศ และตัดความสัมพันธ์ทางการค้าโดยทันที เป็น 1 ในตัวอย่างของการตอบโต้ที่ถูกดักฟัง สอดแนม ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ในข่ายถูกสอดแนมเช่นกัน แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่มีทีท่าที่จะปร่ะท้วงต่อการกระทำเช่นนี้ เหตุเพราะว่าเป็นรัฐบาลที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่กับสหรัฐ และรัฐบาลสหรัฐนั้นหนุนรัฐบาลของทักษิณอย่างออกหน้าออกตา (นอมินีทักษิณ) จากกรณีเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองปี 2553, วิจารณ์รัฐธรรมนูญ ม.112 ,กรณี Chevron กับสัมปทานพลังงานที่อยู่ในอ่าวไทยเป็นจำนวนมาก ,บทบาทของนางคริสตี้ เคนนี่ย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย,การที่สหรัฐยอมให้ทักษิณเดินทางเข้าประเทศสหรัฐได้ ทั้งที่มีหมายจับในข้อหาผู้ก่อการร้าย,สื่อหลักๆ ของอเมริกาต่างรายงานข่าวและออกบทวิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันเกือบหมดในลักษณะที่เห็นใจรัฐบาลนางยิ่งลักษณ์ เช่น CNN,NewYork Times,WallStreet Journal (ยกเว้น Bloomberg) และมักจะใช้คำว่ามาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ แต่เลี่ยงที่จะพูดถึงการคอร์รัปชั่น,การโกงกิน,การแทรกแซงองค์กรอิสระ,การเป็นเผด็จการรัฐสภา,และการใช้กลุ่มคนเสื้อแดงไปคุกคามฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้าม เป็นต้น
สโนว์เดนสามารถหลบหนีออกจากฮาวายได้ก่อนที่จะถูกทางการสหรัฐจับกุม เขาบินไปยังฮ่องกงคนเดียว เมื่อ 20 พฤษภาคม 2556 สโนว์เดนมีแผนจะเดินทางต่อไปยังเอกวาดอร์ ที่พร้อมให้สิทธิ์ลี้ภัยแก่เขา ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐยื่นคำขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนแก่ฮ่องกง ต่อมาการข่าวพบว่าเขาได้เดินทางไปรัสเซียแล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2556 ข่าวนี้สร้างความไม่พอใจให้รัฐบาลสหรัฐมากที่ฮ่องกงเพิกเฉยต่อคำขอของสหรัฐ และปล่อยสโนว์เดนเดินทางไปยังรัสเซีย ในวันเดียวกันที่สโนว์เดนไปถึงรัสเซีย พบว่าก่อนเที่ยวบินของสโนว์เดนจะออกจากฮ่องกง สหรัฐได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของเขา ในระหว่างนี้ สโนว์เดนต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่รอเปลี่ยนเครื่อง ของสนามบินเชเรเมเตียโวในมอสโก ด้วยหนังสือเดินทางถูกระงับ และการเดินทางไปยังประเทศอื่นก็ยากลำบาก เนื่องจากสหรัฐกดดันหลายประเทศห้ามสโนว์เดนบินผ่านน่านฟ้า ขณะที่หลายประเทศที่ไม่ลงรอยกับสหรัฐกำลังพิจารณาในการให้สิทธิลี้ภัยทางการเมืองแก่สโนว์เดน และในวันที่ 1 กรกฎาคม เขามีถ้อยความว่า "ไม่ว่าผมจะถูกตัดสินหรือไม่อย่างไร เขา(รัฐบาลสหรัฐ)ได้เพิกถอนหนังสือเดินทางเพียงฉบับเดียวของผม ตอนนี้ผมเป็นคนไร้รัฐ โดยปราศจากคำสั่งศาลใดๆ พวกเขาได้พยายามที่จะหยุดยั้งผมจากการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานที่ถูกต้อง สิทธิที่เป็นของทุกคน สิทธิที่จะแสวงหาที่ลี้ภัย" รถของสถานทูตเอกวาดอร์ประจำมอสโก ถูกจัดเตรียมไว้รอรับสโนว์เดนหน้าสนามบิน เมื่อ23 มิถุนายน 2556 ต่อมาในปลายเดือนกรกฎาคม รัฐบาลรัสเซียได้ให้สิทธิการลี้ภัยทางการเมืองแก่สโนว์เดนเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยในระหว่างการลี้ภัยนี้ สโนว์เดนได้เปิดเผยข้อมูลออกมาเป็นระยะๆซึ่งแต่ละข้อมูลกระทบต่อความสัมพันธ์ของสหรัฐกับชาติอื่นๆ รวมไปถึงภาพลักษณ์ของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งทำให้เขากลายเป็นบุคคลที่ทางการสหรัฐต้องการตัวมากที่สุดในห้วงเวลานี้
ทีมประสิทธิภาพแห่งปี ในปีนี้ผู้เขียนรู้สึกว่าเป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่ง ที่เราได้เห็นบทบาทขององค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรแสวงหากำไร หรือไม่แสวงหากำไร แต่ต่างทำหน้าที่หรือบทบาทของตนได้อย่างเข้มข้นมีคุณภาพอย่างเต็มกำลัง ซึ่งมีรายชื่อของทีมประสิทธิภาพแห่งปี ดังต่อไปนี้
สโมสรกีฬาบ้านทองหยอด
ชมรมแบดมินตันบ้านทองหยอด เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2534 โดยครอบครัวของคุณกมลา ทองกร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกๆ และเพื่อนๆของลูก มาเล่นแบดมินตัน โดยที่ในขณะนั้นลูกๆของเธอยังยังไม่มีสังกัดจึงไม่สามารถลงแข่งขันได้ ด้วยความรักในกีฬาแบดมินตัน จึงได้ก่อตั้งเป็นชมรมขึ้นเองโดยใช้ชื่อว่าชมรมแบดมินตันบ้านทองหยอด และได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สาเหตุที่ใช้ชื่อนี้เนื่องจากเป็นธุรกิจของคุณกมลาเอง เพื่อนๆคุณกมลาจึงแนะนำให้ใช้ชื่อนี้ เพราะแสดงถึงคามเป็นคนไทยด้วย ในระยะแรกทางชมรมได้ใช้สนามที่สร้างขึ้นเองภายในบริเวณบ้านของคุณกมลา จำนวน 1 สนาม และมีนักกีฬาเพียง 4 คนเท่านั้น โดยมีอาจารย์พรโรจน์ บัณฑิตพิสุทธิ เป็นผู้ฝึกสอน จนกระทั่งนักกีฬาเริ่มมีผลงานสามารถเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ในปีถัดมาอาจารย์พรโรจน์ มีความจำเป็นต้องย้ายราชการครูไปสอนที่ จ.กระบี่ จึงได้แนะนำให้หาโค้ชมืออาชีพที่สามารถทำงานได้เต็มเวลา ทางชมรมฯจึงได้ติดต่อสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้น คุณสง่า เมฆนาวิน ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสมาคมฯ ได้ติดต่อสมาคมแบดมินตันแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อขอโค้ชชาวจีนมาฝึกสอนที่ประเทศไทย ขณะนั้น Mr.Hol Zea Chang หัวหน้าผู้ฝึกสอนของสมาคมแบดมินตันแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ส่งประวัติ Mr.Xie Zhi Hua มาให้พิจารณา แล้วจึงตกลงทำสัญญาว่าจ้าง Mr.Xie Zhi Hua มาเป็นโค้ชให้กับทางชมรมฯ ต่อมาเริ่มมีนักกีฬามาเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทางชมรมจึงย้ายไปเช่าสนามแบดมินตันเพชรเกษม 59 และเปิดสอนได้ประมาณ 3 เดือน ก็ทำการย้ายไปเปิดสอนที่สนามแบดมินตันหรรษา และใน พ.ศ.2540 ชมรมฯได้ทำการว่าจ้างโค้ชจีน เพิ่มอีกคือ Mr. Liu Ying Gang ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนจากสมาคมแบดมินตันแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และต่อมาก็ได้ว่าจ้าง Mrs.Liu Zheng Hui ผู้ฝึกสอนระดับเยาวชนชาวจีน มาสอนที่ชมรม และอบรมผู้ช่วยผู้ฝึกสอนชาวไทยของทางชมรมฯด้วย ชมรมฯได้เช่าสนามที่หมู่บ้านหรรษาอยู่ประมาณ 7 ปี ทางชมรมฯจึงได้ย้ายมาสอนที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และสอนได้อีกประมาณ 4 ปี จำนวนสนามเริ่มไม่พอกับจำนวนนักกีฬา คุณกมลาจึงมีความคิดที่จะสร้างสนามแบดมินตันและเปิดสอนเป็นโรงเรียนแบดมินตันโดยเฉพาะ เพื่อใช้สอนทักษะการเล่นแบดมินตันขั้นพื้นฐานสำหรับเยาวชน และประชาชนทั่วไป ในการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี และเน้นนักกีฬาแบดมินตันที่เล่นเพื่อความเป็นเลิศเข้าสู่ระดับชาติ และได้ขออนุญาตกระทรวงศึกษาธิการเปิดเป็นโรงเรียนโดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด” ในปี พ.ศ.2546 และเริ่มเปิดใช้เป็นครั้งแรก โดยการใช้ในการจัดการแข่งขันแบดมินตันดาวรุ่งโยเน็กซ์ 2003
2.ในสาขาสื่อสารมวลชน เรายกให้กับทีม สำนักข่าวอิศรา , สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 , สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV , สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมกรุงเทพธุรกิจทีวี , สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสุวรรณภูมิ , สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมบลูสกาย , สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที-นิวส์, สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม FMTV ,สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 13 สยามไท, สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องเนชั่นทีวี, สถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวี TNN ช่องข่าว 24 ชั่วโมง , นสพ.ไทยโพสต์ ,นสพ.โพสต์ทูเดย์ ,สถานีวิทยุด้านข่าวสารและรายงานสถานการณ์ประจำวัน FM 101 RR1, เว็บไซต์ข่าว manager.co.th ,แฟนเพจ สายตรงภาคสนาม ,เว็บไซต์ 15thmove.net
เพจสายตรงภาคสนาม ขอทำหน้าที่ผ่านโลกออนไลน์ เพื่อให้ความจริงกับสังคม เพราะพวกเรา "โกหกไม่ลง พูดตรงไปเลย" และขอเชิญชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ผู้สื่อข่าวภาคสนามที่อึดอัดกับ การเสนอข่าวของ ... เพราะจะเป็นครั้งเดียวและหนเดียวที่เราจะช่วยชาติช่วยประชาชนเพื่อ ทดแทนบุญคุณของแผ่นดิน (วันที่ ๗ .... ยังยืนยันถึงการต่อสู้ว่าวิธีการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ...
3.ในสาขาหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานสาธารณะบริการประชาชน เรายกให้กับศาลรัฐธรรมนูญ,สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน , ส.ว.ทีม 40 ส.ว.(เป็นชื่อกลุ่มแต่จริงๆ อาจมีมากกว่า 40 คน) ,สภาทนายความ, ,องค์กรต่อต้านการคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย) กลุ่มของนักธุรกิจโดยแกนนำคือ ดร.ประมนต์ สุธีวงศ์ ,เครือข่ายสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย , กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็น ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ,มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค, ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (ทปอ.) , มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, เครือข่ายนักเรียน,นักศึกษาอาชีวะทั่วประเทศ ,กองทัพธรรมและสันติอโศก ,เสถียรธรรมสถาน ,มูลนิธีเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก ,สภากาชาดไทย ,มูลนิธิชัยพัฒนา, มูลนิธิพระดาบส ,มูลนิธิราชประชานุเคราห์ ,มูลนิธิทูบีนัมเบอร์วัน
จากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน2556 จนถึงปัจจุบัน จากการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง จน สว.คว่ำร่างพรบ.ดังกล่าว โดยการชุมนุมทางการเมือง ได้ยกระดับการชุมนุมจากคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง เป็นการโค่นล้มระบอบทักษิณและจัดตั้งสภาประชาชน โดยที่การชุมนุมนั้นมีอยู่ 3กลุ่ม คือ เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) และเวทีราชดำเนิน ซึ่งการชุมนุมได้ยืดเยื้อและยกระดับมาอย่างต่อเนื่องโดยมีการยึดสถานที่ราชการ สื่อต่างๆ เพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเสนอคือ จัดตั้ง “สภาประชาชน” โดยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมามีการเปิดตัวคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (กปปส.) รายชื่อเครือข่ายและผู้ร่วมก่อตั้ง กลุ่ม กปปส. ได้แก่
เครือข่ายนักวิชาการ
1. นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2516 เลขาพรรคไท (พรรคการเมืองเลขที่ 50/2539 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยมีนายธนบดินทร์ แสงสถาพรเป็นหัวหน้าพรรค) เคยร่วมกับพอ.มนูญ รูปขจร และ พอ.สนั่น ขจรประศาสตร์ ทำรัฐประหารรัฐบาลที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ แต่ไม่สำเร็จจนกลายเป็นกบฎต้องหลบหนี และสามารถกลับเข้ามาเมื่อมีการอภัยโทษ
หลังการรัฐประหาร 2549 ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สมัยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) เคยอยุ่ในกรรมการรัฐวิสาหกิจ เป็นอดีตอธิการบดีที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ เคยได้รับการสนับสนุนให้เป็นประธานปฏิรูปการเมืองในช่วงที่ผ่านมา
2. นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย อดีตแกนนำนักศึกษา 1 ใน 13 กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 14 ตุลาคม 2516 เคยเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติชุดแรก เคยขึ้นเวทีปราศรัย กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณที่สวนลุม ปัจจุบันเป็นผอ. สถาบันพัฒนาคนและคุณภาพคน
3. รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน (นิด้า) เป็นนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม เป็นผู้ผลักดันให้เกิด หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สมัยอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ เริ่มต่อต้านทักษิณสมัยนาย สนธิ ลิ้มทองกุล จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร และเข้าร่วมกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯมาโดยตลอด และเคยอยู่ในกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์
4. ผศ.ดร.ทวี สุรฤทธิกุล (มสธ.) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (12 ต.ค. 2549 – 2 มี.ค. 2551)
5. นาย ถวรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี) สมัยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
6. ผศ.สุวิชา เบ้าอารีย์ (นิด้า)
7. ชัยวัฒน์ ถิรพรรณ นักวิชาการอิสระ
8. รศ.ดร.ชัยวัฒน์ บุญสม (มสธ)
เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ
1. นายนิติธร ล้ำเหลือ การศึกษา ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปริญญาโท ทางด้านกฎหมายพัฒนา จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งสำนักงานกฎหมาย KAT มีชื่อเสียงเสียงจากคดีฟ้องร้องต่อศาลปกครอง คดีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย คดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กรณีเสนอปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกขัดต่อรัฐธรรมนูญ และคดีการเมือง เช่น คดีนายยงยุทธ ติยะไพรัชทุจริตการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เป็นทนายความให้กลุ่ม NGO มาโดยตลอด รวมทั้งเป็นทนายความของกลุ่มพันธมิตร ทั้ง36 แกนนำที่ถูกหมายเรียกในคดีปิดสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ
2. นายสุริยะใส กตะศิลา อดีตเคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และต่อมาได้เข้าเป็นเลขาธิการของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ในช่วงที่นายพิภพ ธงไชย เป็นประธาน เคยเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรฯ และเลขาธิการของพรรคการเมืองใหม่ ปัจจุบันอยู่กลุ่มกรีน (การเมืองสีเขียว)
3. นายอุทัย ยอดมณี นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง พรรคสานแสงทอง มีความสัมพันธ์กับอดีตคนในพรรคประชาธิปัตย์ นายถาวร เสนเนียม
กลุ่มประชาคมนักธุรกิจสีลม
1. นายสาธิต เซกัล นายกสมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย
2. นายราเชน ตระกูลเวียง ประธานกลุ่มสหพันธ์คนไทยปกป้องสถาบัน
3. นายมหัศจักร โสดี คณะกรรมการอำนวยการบริหารภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของชาติ
กลุ่มเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย
1. นายพรศักดิ์ ลิ้มบุญญประเสริฐ
กองทัพธรรม
1. รต.แซมดิน เลิศบุศย์ อดีตเคยเป็นนายทหารเรือ ทำงานอยู่ที่กรมสรรพาวุธ กองทัพเรือ เคยเป็นเลขาพรรคเพื่อฟ้าดิน(2543) เป็นผู้ติดตามพลตรีจำลอง ศรีเมือง มาเกือบ 20 ปี และเข้าร่วมชุมนุมกับ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ องค์การพิทักษสยาม(อพส.)
2. นายมั่นแม่น กะการดี อดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อฟ้าดินเคย เข้าร่วมกับการชุมนุมพันธมิตร และองค์การพิทักษสยาม (ม็อบ เสธ. อ้าย)
กองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ
1. พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ อดีตแกนนำกลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ รักษาแผ่นดิน อดีตรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก จบโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 7(จปร.7) รุ่นเดียวกับ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี และ พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร ในอดีตเคยเป็นนายทหารที่อาสาไปรบในสมรภูมิต่างๆและได้สร้างวีรกรรมหลายจนบรรดาเหล่าทหารหลายคนให้การยอมรับ อีกทั้ง พล.อ.ปรีชา เคยเป็นที่ปรึกษาของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในฐานะหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ สมัย พล.อ.ชาติชาย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปี 2534 หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีชื่อรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแบบสรรหา เข้าร่วมกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551
2. พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ จบเตรียมทหารรุ่นที่ 1 (ตท.1) รุ่นเดียวกับ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย อดีตประธานองค์กรพิทักษ์สยาม (อพส.) และ “บิ๊กแอ๊ด” พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รองผบ.สส.) สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ ถูกเด้งมานั่งเก้าอี้ผบ.สส เคยเป็นประธานองค์การพิทักษ์สยาม(อพส.)และเสนาธิการร่วมของกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ
3. พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัมฒ์ อดีตทหารคนสนิท พล.ต.มนูญกฤต จบเตรียมทหารรุ่นที่ 4 นักเรียนนายร้อยจปร.รุ่นที่ 15 เคยไปรบในสมรภูมิลาวโดยรับตำแหน่งหัวหน้ากองทัพนิรนาม ซึ่งเป็นหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจในทางลับ เข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.)
4. พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ อดีตนักบินประจำกองกำลังสหประชาชาติ นักวิชาการวิทยากร ร.ร.เสนาธิการทหาร ร.ร.เสนาธิการทหารอากาศ ร.ร.นายเรืออากาศ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ศูนย์การรบทางอากาศ เข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม(อพส.)
5. นายสนธิ เตชานันท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด สงขลา ปี 2549 เคยเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
6. น.พ.ระวี มาศฉมาดล
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปประเทศ 77 จังหวัด
1. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อดีตเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อลงรับเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 โดยลงเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่ม 6 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ต่อมาหลังการยุบสภาในปี พ.ศ. 2554 จึงได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์และวางมือทางการเมือง เคยเป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และเป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (รุ่น 1 )
สมาพันธ์ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)
1. นายคมสัน ทองสิริ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือ สรส. เคยเป็นรองประธานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง เคย เข้าร่วมชุมนุมกับพันมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
2. นายสาวิทย์ แก้วหวาน อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และต่อมาได้เข้าร่วมกลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งได้เข้าร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ปี พ.ศ. 2549 กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีบทบาทเป็นโฆษกบนเวที และถูกแต่งตั้งให้เป็นแกนนำรุ่นที่ 2 ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551แต่ต่อมา ถอนตัวออกจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ เนื่องจากมีความเห็นต่างกันในเรื่องที่พรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรฯถึงเรื่องการที่จะส่งผู้สมัครของพรรคลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554
3. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี พ.ศ. 2535 โดยคู่เคียงข้าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2549 ได้เป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศถอนตัวจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ เนื่องจากทำตามข้อเสนอของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จากการลงมติกันก่อนหน้านั้นไม่นาน จากเรื่องการส่งพรรคการเมืองใหม่ลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 หรือไม่
4. นายมานพ เกื้อรัฐ เคยเข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มนักสู้ของประชาชน
1. นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม เจ้าของสำนักข่าว t-news ที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทยมาตลอด ในวงการเคยมีข้อสงสัยว่านายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม มีความสนิทกับ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง
2. นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีตผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยเป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมขับไล่ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในปี พ.ศ. 2549 และเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรในปี พ.ศ. 2551 นายไชยวัฒน์มีบทบาทเป็นผู้นำมวลชนปิดถนนที่จังหวัดนครราชสีมา
กลุ่มอดีต ส.ส.
1. นายถาวร เสนเนียม อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. นายชุมพล จุลใส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุมพร เขต 1พรรคคประชาธิปัตย์ เป็นคนสนิทของสุเทพ เทือกสุบรรณ
3. นายณัฐพล ทีปสุวรรณ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์
4. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานครพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
5. เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรฝั่งภรรยานายสุเทพ เทือกสุบรรณ และเคยทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
6. นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 4 พรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรชายของพลเอกวินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
อ้างอิงที่มา : เว็บไซต์ www.siamintelligence.com
4.ในสาขาหน่วยงานภาคเอกชนหรือหน่วยงานธุรกิจให้บริการประชาชน เรายกให้กับทีมผลิตละครเวทีของคณะเมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ เอ็กแซ็กท์และซีนาริโอ้ ,ทีมผลิตละครเวทีของคณะละครดรีมบ็อกซ์ ,ทีมจัด/ผลิตเทศกาลทางดนตรีมันใหญ่มากของป๋าเต็ด ยุทธนา บุญอ้อม ,ทีมจัด/ผลิตคอนเสิร์ตต่างประเทศของบริษัทบีอีซีเทโร ,คณะทำงานเตรียมงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ผู้จัดแสดงโขนชุด “ศึกกุมภกรรณ ตอนโมกขศักดิ์” , บ.จีทีเอช และนาดาว (บางกอก) ,บ.บรอดแคสท์ไทยเทเลวิชั่น ,บ.แอ็คอาร์ต ,บ.ดาราวีดีโอ, บ.เวิร์คพ้อยท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ,บ.ทรูมิวสิกและ บ.โต๊ะกลมโทรทัศน์ ,เอไทม์โชว์บิซ, ช่องจีเอ็มเอ็มมิวสิค
การแสดง โขนเฉลิมพระเกียรติ ของ 'มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ' ชุด ศึกกุมภกรรณ ตอน 'โมกขศักดิ์' ซึ่งได้ฝึกซ้อมกันอย่างหนักหลังคัดเลือกตัวแสดงรุ่นใหม่เสริมทัพตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 โดยจัดแถลงข่าว ณ ห้องเทเวศร์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่ผ่านมามูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ได้จัดการแสดงโขน รามเกียรติ์ ชุด 'พรหมมาศ' เมื่อปี 2552, ชุด 'นางลอย' ในปี 2553, ชุด 'ศึกมัยราพณ์' ปี 2554 และ 2555 ชุด 'จองถนน' ทุกครั้งที่จัดแสดงได้รับผลตอบรับจากผู้ชมดีเกินคาด พร้อมเรียกร้องให้เพิ่มรอบการแสดง ดังนั้นในปี 2556 มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ได้เลือกบทเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน 'โมกขศักดิ์' มาจัดแสดงขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยจะจัดแสดงยาวนานที่สุดเท่าที่เคยจัดมา เพื่อให้มีจำนวนรอบเพียงพอต่อความต้องการของผู้ชม ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดการแสดงโขนตอนโมกขศักดิ์ กล่าวในวันแถลงข่าว
"สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมประจำชาติโดยเฉพาะการแสดงโขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเครื่องแต่งกายโขน-ละคร รวมทั้งศิลปะการแต่งหน้าสำหรับการแสดงนาฏกรรมแบบประเพณี เมื่อ พ.ศ. 2550 เพื่อใช้สำหรับการแสดงพระราชทาน และเป็นการฟื้นฟูงานช่างฝีมือหลากหลายสาขา เช่น ช่างทำหัวโขน ช่างปักสะดึงกรึงไหม และช่างเงินช่างทอง การแต่งหน้าแบบโบราณ รวมทั้งส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ด้วยการเปิดโอกาสให้เข้าร่วมการคัดเลือกเป็นนักแสดงรุ่นใหม่ “เริ่มมีการคัดเลือกนักแสดงรุ่นใหม่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว มีผู้สมัครคัดเลือกเพียง 30 คน ในปีแรก ในปีนี้มีนักแสดงรุ่นใหม่ให้ความสนใจมาร่วมคัดเลือกกว่า 500 คน และคณะกรรมการคัดเลือกตัวพระ นาง ยักษ์ ลิง เหลือเพียงจำนวน 20 คน" ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี รองประธานคณะกรรมการอำนวยการและผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ กล่าว ม.ล.ปิยาภัสร์ กล่าวด้วยว่า "ครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักแสดงรุ่นใหม่ไม่ใช่แค่แสดงเฉพาะในรอบนิสิตนักศึกษาเท่านั้น แต่จะให้แสดงเป็นตัวเอกในรอบประชาชน รอบเสด็จพระราชดำเนินด้วย ซึ่งเป็นพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตั้งแต่แรกที่ทรงรับสั่งว่าอยากให้เด็กๆ เหล่านี้มีความภาคภูมิใจว่าการเรียนนาฏศิลป์นั้นเขาจะเป็นผู้สืบสานศิลปะวัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากคูร อาจารย์ ศิลปินแห่งชาติและผู้เชี่ยวชาญพิเศษอีกด้วย” อ.ประเมษฐ์ บุณยะชัย ผู้กำกับการแสดง เปิดเผยว่า “การแสดงโขนชุดนี้ค่อนข้างมีความสำคัญ ซึ่งตอนสมัยเป็นนักเรียนคงได้ศึกษามาบ้าง ปัจจุบันหายไปแล้ว เพราะไม่อยู่ในระบบการศึกษา ซึ่งในบทนี้สอดแทรกคุณธรรมหลายเรื่อง เช่น ธรรมะย่อมชนะอธรรม การเสียสละเพื่อส่วนรวม"
การเลือกตอน 'โมกขศักดิ์' มาจัดแสดงนี้นอกจากสอดแทรกเรื่องคุณธรรมแล้ว ยังประกอบไปด้วยฉากสำคัญหลายฉากที่ใช้เทคนิคการแสดงสมัยใหม่เข้าผสมผสาน เพื่อให้การแสดงตื่นเต้นเร้าใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากลับหอกโมกขศักดิ์ เป็นฉากสำคัญฉากหนึ่ง มีการสร้างโรงพิธีขึ้นใหม่ อ.ประเมษฐ์ กล่าว นอกจากนี้ยังมี ฉากวิมานพระพรหมาธิบดี ฉากหยุดรถพระอาทิตย์ ซึ่งจะมีพระอาทิตย์ทรงรถเหาะมากลางอากาศและใช้เทคนิคพิเศษทำให้เกิดแสงในตัวพระอาทิตย์ กุมภกรรณ เป็นพญายักษ์ (น้องทศกัณฐ์) ครองธรรม รักษาไว้ซึ่งสัจจะและความสุจริตยุติธรรม หลังจาก 'มัยราพณ์' สิ้นชีพลงแล้ว ทศกัณฐ์รำพึงถึงการศึกที่จะทำสงครามกับฝ่ายพระราม จึงเชิญกุมภกรรณขึ้นเฝ้าปรึกษาศึก แต่กุมภกรรณมีความสุจริตยุติธรรม ตรึกตรองถึงชนวนศึก เห็นว่าต้นเหตุมาจากทศกัณฐ์ไปลักพานางสีดา จึงทูลให้ทศกัณฐ์ส่งคืนนางกลับไป แต่ทศกัณฐ์กลับโกรธ ประกาศโทษและขับไล่ กุมภกรรณเห็นว่าเมื่อทัดทานมิเป็นผล จึงจำใจรับอาสาออกทำสงคราม โดยจะนำ หอกโมกขศักดิ์ อันมีฤทธิ์ร้ายกาจ ซึ่งฝากไว้กับพระพรมาธิบดีบนสรวงสวรรค์ แต่ด้วยเหตุที่ต้องเสียสัจสุจริต หอกโมกขศักดิ์กลับเป็นสนิมทั้งสี่คม พระพรหมตักเตือนแต่ก็บอกถึงวิธีแก้ไขด้วย 'พิธีลับหอก' กุมภกรรณสั่งตั้งโรงพิธีใหญ่ตามตำรา สั่งไพร่พลกวดขันดูแลมิให้สิ่งปฏิกูลใดๆ ผ่านเข้ามาเป็นอันขาด ทางฝ่ายพระราม พิเภกกราบทูลว่า หากพิธีลับหอกสำเร็จ จะมีฤทธิ์ร้ายกาจนัก ทูลว่าโดยอุปนิสัยของกุมภกรรณเป็นพญายักษ์ที่รักความสะอาด สิ่งที่จะทำลายพิธีได้คือให้ หนุมาน และ องคต แปลงกายเป็นหมาเน่าและอีกาที่จิกกินซากหมาเน่า ลอยผ่านเข้าไปใกล้บริเวณพิธี พญาวานรทั้งสองรับอาสาไปทำลายพิธีตามคำแนะนำของพญาภิเภก เมื่อกุมภกรรณเสียพิธี จึงยกทัพออกรบ พระรามให้พระลักษณ์คุมกองทัพออกรบ พระลักษณ์เป็นฝ่ายเสียที ถูกหอกโมกขศักดิ์ปักพระอุระจนสลบลง กองทัพของกุมภกรรณจึงกลับเข้ากรุงลงกาอบ่างฮึกเหิม เมื่อพระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์สลบลง หนุมานจะฉุดถอนอย่างไรก็ไม่สำเร็จ สุครีพจึงใช้ให้ให้นิลนนท์ไปทูลข่าวและอัญเชิญให้พระรามเสด็จมาสนามรบ พระรามเสียพระทัยและถามพิเภกถึงวิธีแก้ไข พิเภกทูลว่าสรรพยาที่จะแก้ฤทธิ์หอกนี้ได้ คือ ต้นสังกรณีตรีชวา และ น้ำปัญจมหานที แต่ที่สำคัญที่สุดคือถ้าแสงพระอาทิตย์สาดส่องเมื่อใดจะหมดโอกาสแก้ไขได้ หนุมานรับอาสาเหาะขึ้นไปบนฟากฟ้าเข้ายุดรถพระอาทิตย์ จนตนเองต้องพินาศเพราะอำนาจของแสงอาทิตย์ พระอาทิตย์เห็นเหตุการณ์ประหลาดครั้งนี้จึงชุบหนุมานขึ้นมาแล้วถามถึงสาเหตุ ในที่สุดพระอาทิตย์ก็ช่วยเหลือโดยชักรถหลบเข้าไปในกลีบเมฆ หนุมานไปเก็บสรรพยา และน้ำปัญจมหานทีจากกรุงอโยธยามาถวายพระราม พระรามให้พิเภกบดโอสถแก้หอกโมกขศักดิ์ได้สำเร็จ พระรามพระลักษณ์พร้อมกองทัพก็กลับคืนสู่พลับพลา
การแสดงโขน มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ตอน 'โมกขศักดิ์' กำหนดจัดแสดง ระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน ถึง วันที่ 5 ธันวาคม 2556 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผู้สนใจสามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ ทุกสาขา หรือ www.thaiticketmajor.com บัตรราคา 420/ 620/ 820/ 1,020 และ 1,520 บาท รอบนักเรียน-นักศึกษา บัตรราคา 120 บาท (หยุดการแสดงทุกวันจันทร์) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกwww.khonperformance.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น