วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า แอนิเมชั่น ตอนที่ 2 การ์ตูนของ Ghibli Studio


ช่วงปลายทศวรรษที่ 60 มาจนถึง70 นั้น  มีผู้ชาย2 คนที่เคยทำงานในแวดวงทีวีคือ ทากาฮาชิ และฮายาโอะ มิยาซากิ รู้จักกัน  ทั้ง 2 คนมีแนวความคิดที่สอดคล้องกันว่า อยากทำรายการทีวีและการ์ตูนที่สร้างสรรค์มากกว่าผลิตงานที่ตอบโจทย์ทางการตลาด และ หลังจากผ่านการล้มลุกคลุกคลาน (ราวกับพิธีกรรมของคนที่จะประสบความสำเร็จ) อยู่พักใหญ่ ในที่สุดทั้ง 2 คนก็สามารถแยกตัวออกมา และสร้างหนังการ์ตูนของตัวเองจนได้รับความนิยมมากมาย
ถึงเวลานั้น มิยาซากิ ซึ่งมีอิทธิพลมากกว่าคู่หู เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่บริษัทเล็ก ๆ ของเขาควรจะมีที่ทำการอย่างเป็นทางการ ว่าแล้วจึงหาทุนและรวมเงินกันสร้างสตูดิโอที่มีชื่อว่า “จิบลิ”  (คำว่า จิบลิ มีความหมายถึงสายลมที่พัดผ่านทะเลทรายซาฮารา ซึ่งติดตามเครื่องบินรบขนาดเล็กของอิตาลี มิยาซากิชอบดูหนังและชอบเครื่องบินร่อนมาก เขาจึงใช้คำนี้มาเป็นนามของที่ทำการสตูดิโอแห่งนี้)  หลังจากก่อตั้งบริษัทในปี 1985 จิบลิยังต้องกระเสือกกระสน เพราะไม่มีโรงหนังที่ไหนให้ฉาย หนังการ์ตูนหนุกๆ อย่าง My Neightbor Totoro  นั่นทำให้จิบลิ จะต้องเสนองานอย่าง Grave of Fireflies ควบคู่สองเรื่องรวด (ผลก็คือขาดทุนทั้งคู่)  นั่นคือเรื่องราวคร่าวๆ ส่วนหนึ่ง ก่อนที่วันนี้ จิบลิ จะมีหนังมหัศจรรย์อย่าง Spirited Away ที่ไปคว้ารางวัลออสการ์ ทั้งยังมีหนังการ์ตูนแอนิเมชั่นอีกนับ 10 เรื่อง ที่โดดเด่นและทำให้ดิสนีย์หนาวๆ ร้อนๆ ถึงขนาดต้องขอเข้ามาเทคโอเวอร์ และในที่สุด ก็ได้แค่เป็นผู้จัดจำหน่ายหนังของ จิบลิ ทั่วโลกยกเว้นในญี่ปุ่นเอง 

 
 
ถ้าดิสนีย์มี วอลท์ ดิสนีย์เป็นต้นทาง แน่นอนว่า มิยาซากิ ก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของ จิบลิ ที่ไม่มีใครเทียบเคียงได้  ทากาฮาชิ ให้สัมภาษณ์ชื่นชมเพื่อนรักอยู่หลายครั้ง ในแผ่น DVD ชุด *Ghibli Museum เขาได้สรรเสริญไว้ว่า ถ้าไม่มี มิยาซากิ  เขาไม่มีทางทำอะไรแบบนี้ได้ โดยเฉพาะสตูดิโอ หรือพิพิธภัณฑ์ที่อลังการงานสร้าง และแสนมหัศจรรย์แห่งนี้  DVD แผ่นดังกล่าว ได้พาเราเข้าไปในโลกจินตนาการของจิบลิ  และมิยาซากิ และแม้จะมีความยาวเพียงแค่ 60 กว่านาที แต่มันก็มากพอที่จะทำให้เราเห็นที่มาและไอเดีย  ตลอดจนสิ่งต่างๆที่อยู่ในจิบลิ ไม่ว่าจะเป็น ห้องทำงานของ มิยาซากิ ที่เขาหาไอเดียต่างๆ ,โรงถ่ายหนังขนาดเล็ก ,หุ่นยนต์และตัวรูปปั้นของคาแรกเตอร์ต่างๆ ที่อยู่ในหนังการ์ตูนของค่ายนี้ ,ทางเดินที่ถูกจำลองให้เหมือนทางเดินในหนัง โดยมีเอฟเฟ็คท์บางอย่างด้านการมองเข้ามาช่วย  สิ่งที่ดีมากก็คือ โรงถ่ายหรือสตูดิโอแห่งนี้นั้น อยู่ห่างออกไปจากใจกลางเมืองประมาณ 15 ไมล์ นั่นทำให้พื้นที่ของจิบลิ ยังคงอยู่กลางพงไพรและต้นไม้  บรรยากาศในการไปเที่ยวจิบลิ  จึงไม่ต่างอะไรจากการไปเที่ยวธรรมชาติของท้องทุ่ง เห็นได้จากซีนเปิดตัวตอนต้นเรื่อง มุมกล้องแบบ bird eye view  ทำให้เราเห็นหลังคาสูงของหมู่บ้านจิบลิ  ที่ตั้งใจทำให้มีสีเดียวกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน  นอกจากในจิบลิ จะมีอะไรต่อมิอะไรมากมายแล้ว คนสัมภาษณ์ซึ่งเป็นชายหนุ่ม ยังไปสัมภาษณ์คู่หูของ มิยาซากิ ซึ่งเขาเองก็พาพ่อหนุ่มคนนี้ไปเยี่ยมห้องลับใต้บันได  ใช่แล้ว เขาเรียกมันว่า “ห้องลับใต้บันได”  ซึ่งเมื่อกล้องตาม ทากาฮาชิ เข้าไป  เขาก็สารภาพแบบเด็กๆ ว่า ไม่ว่ากี่ครั้งที่เขามาเยี่ยมหมู่บ้านจิบลิแห่งนี้  เขาอดไม่ได้ที่จะต้องเข้าไปนั่งเล่นในห้องลับ ใต้บันได ที่ว่านี้   “ผมรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นเด็กตัวเล็กๆ เสมอเมื่อมาอยู่ที่นี่ และก็ชอบที่จะเข้าไปแอบอยู่ในห้องลับ ใต้บันได “ คุณคงเหมือนผมที่เวลาเรายังเด็ก แม้จะมีบ้านที่กว้างใหญ่หรืออยู่ที่ในสถานที่ใหญ่โต แต่เด็กชอบเสมอที่จะสร้างพื้นที่เล็กๆ ส่วนตัวขึ้นมา เป็นพื้นที่ ที่รู้สึกปลอดภัยที่จะอยู่ในนั้น” เขาบอก
หมายเหตุ *Ghibli Museum เป็นหนังสารคดียาวขนาดสั้น ที่เล่าเรื่องถึงที่มาที่ไปของจิบลิ และแรงบันดาลใจในการทำงานของมิยาซากิ ผู้ก่อตั้งจิบลิ
 
ฮายาโอะ มิยาซากิ (Hayao Miyazaki) เป็นใคร ทำไมนิตยสาร Time เลือกเขาเป็นฮีโร่คนเก่งของเอเชียในรอบ 60 ปี ที่ผ่านมา  ในยุคที่แอนิเมชั่นแนวเวทมนตร์แปลงร่าง ถูกแทนที่ด้วยการรุดหน้าของเทคโนโลยีชั้นสูงนั้น มี แอนิเมชั่นไดเร็คเตอร์ คนหนึ่ง กลับเลือกสร้างสรรค์ความอัศจรรย์จากภาพวาดการ์ตูนในแบบเก่าของตนเอง  ฮายาโอะ มิยาซากิ คือเขาคนนั้น และเป็นผู้สร้างจินตนาการอันเพริศแพร้วด้วยจิตวิญญาณเต็มเปี่ยม  จากปีแรกในการทำงาน ผ่านไปแล้วมากกว่า 20 ปี  มิยาซากิ ได้ขนานนามว่าเป็นผู้รังสรรค์ภาพยนตร์การ์ตูนด้วยภาพประกอบที่หวานหอมกับมโนภาพที่งดงาม เกือบจะมากกว่าสิ่งใดๆ ทั้งสิ้นบนจอเงิน ด้วยการสร้างจิตวิญญาณให้กับปราสาท และด้วยความสามารถในการเดิน ทำให้เครื่องจักร เครื่องยนต์ลอยได้ มีรถโดยสารแมว หรือ เนโกะบัทสึ บ้านแมวที่กลายสภาพมาเป็นรถบัส (พื้นฐานความเชื่อของคนญี่ปุ่น เมื่อแมวโตมากแล้ว มันจะมีพลังวิเศษ สามารถเพิ่มพูนรูปร่าง มีชื่อเรียกว่า bake neko) และตัวแร็คคูนผสมนกเค้าแมวก็ได้มาซึ่ง Totoros ของหนูน้อยทั้งหลาย ศิลปินมิยาซากิ  เป็นผู้น่าเกรงขาม ที่ทำงานทุกอย่างจากการเขียนสคริปท์ มุ่งสู่การทำสตอรี่บอร์ดไปถึงการตรวจสอบ แก้ไข กรอบสุดท้ายจากหลายต่อหลายเฟรมนั้น โดยปราศจากเครื่องมือช่วยใดๆ  เขาทำมันด้วยฝีมือชั้นยอดของเขาทั้งสิ้น นักวิจารณ์บางคนบอกว่า มิยาซากิ คือ Walt Disney บวก Steven Speilberg และคูณด้วย Orson Welles ผสมผสานไปกับการกระทบกระทั่งของสายน้ำจากแลนด์สเคปหรูหราของ Claude Monet และ Roald Dahl กับความเปี่ยมล้นด้วยความเข้าถึงในเล่ห์เหลี่ยม กับภาวะซับซ้อน ยุ่งเหยิงของหนูน้อยวัยเยาว์  อย่างไรก็ตาม มิยาซากิ มิได้เป็นเจ้าพ่อผู้ค้นพบแอนิเมชั่น ในแวดวงญี่ปุ่น หากแต่เป็น โอซามุ เทสึกะ (Osamu Tezuka)   เขาคือวอลท์ ดิสนีย์ ของคนญี่ปุ่น ผู้สร้างคาแรกเตอร์อย่าง Astro Boy  เป็น เทสึกะ ต่างหาก ที่เป็นผู้บุกเบิกการ์ตูนตาหวาน ซึ่งเป็นสไตล์ยอดนิยมของอิลัสเตรชั่นแบบญี่ปุ่น  ฮีโร่หัวแหลมผู้ต่อกรกับหุ่นยนต์ยักษ์ทั้งปวง แต่ก็นั่นแหละ มากไปกว่านั้น  มิยาซากิ อยู่เบื้องหลังและขับเคลื่อนทุกอย่างมากกว่าไดเร็คเตอร์คนใดๆ ชื่อของเขากับสตูดิโอ จิบลิ (Ghibuli) เป็นที่ขับขานว่า มันรวมเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้วกับแอนิเมชั่นของญี่ปุ่น หากพูดถึงแอนิเมชั่น ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่อ้างอิงถึง มิยาซากิ กับสตูดิโอของเขา  “เขาคือนักเล่านิทานชั้นยอด ผู้ซึ่งค้นพบทางในการเล่าเรื่องของเขาได้ในแบบที่เขาต้องการและเป็นตัวเอง และสิ่งนี้เองที่เป็นตัวกำหนดให้เขาได้ชื่อว่าเป็น writer – director ระดับเล็กๆ ของโลก” โจนาธาน คลีเมนตด์ ผู้ร่วมประพันธ์ในสารานุกรม แอนิเมชั่นกล่าว  “บางเรื่องอาจจะเล็ก แต่มันก็สามารถประสบความสำเร็จได้ในระดับบล็อก บัสเตอร์” 

 
หนังเรื่องหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จนี้ก็คือ Princess Mononoke ภาพยนตร์การ์ตูนที่ครองตำแหน่งสูงสุดในอดีตอันยาวนานของญี่ปุ่น จนกระทั่ง Titanic เข้ามาแซงหหน้าไปในปี 1997 อย่างไรก็ตาม มิยาซากิ  เรียกตำแหน่งกลับคืนมาในปี 2001 กับรางวัลออสการ์ ใน  Spirited Away ซึ่งเล่าเรื่องราวของสาวน้อยผจญภัย ที่ต้องช่วยพ่อและแม่ให้รอดพ้นจากคำสาปที่ทำให้พวกเขากลายเป็นหมู เช่นเดียวกันกับหนังเรื่องอื่นๆ ที่มิยาซากิ มักใช้ความไตร่ตรองใคร่ครวญ ให้ความสำคัญกับความไว้เนื้อเชื่อใจ การปราศจากความเห็นแก่ตัว และความท้าทายของการเจริญเติบโตที่เป็นสัจธรรม แก่นสารเนื้อความของเรื่องนี้ คือสิ่งสำคัญที่ช่วยไขปัญหาต่างๆ  โทชิโอะ โปรดิวเซอร์ของสตูดิโอจิบลิ  กล่าวว่า “หนังของเขาคือผลจากการครุ่นคิดคำนึงอย่างจริงจังว่าหนังแบบไหนหล่ะที่ควรสร้างให้เด็กดู”   นิตยสาร Time เคยสดุดีให้เขาเป็นฮีโร่ ของเอเชียในรอบ 60 ปี ได้ให้ความเห็นว่า สิ่งที่ทำให้หนังของมิยาซากิ เป็นที่น่าจับตามองก็คือ ในยุคที่รูปแบบ คอมพิวเตอร์ แอนิเมชั่น รุดหน้า จากความชื่นชอบ พิกซาร์ กับดิสนีย์ นั้น มีภาพยนตร์อย่าง Cars,Toy Story, Finding Nemo ที่ใช้เทคโนโลยีคุณภาพสูจากคอมพิวเตอร์ที่ให้ภาพเสมือนจริง เป็นเพราะเขาเลือกที่จะดำเนินต่อไปด้วยฝีมือ ตามวิถีแบบอย่างของ “เซน”  (zen)  สภาพไร้ความเคลื่อนไหว และให้ความสำคัญกับความงามของหยดน้ำที่หยดลงไปกระทบ กระทั่งกับหินที่พร่างพรายด้วยการจับตัวกันของตะไคร่น้ำ หรือการฉวัดเฉวียนของรถไฟข้ามทะเลมหาสมุทรในยามรุ่งอรุณ หมัดที่เข้าใจถูกปล่อยเป็นอิสระ หามิได้กับการแสดงที่ใส่ดนตรีประกอบ  หรือเวทย์มนตร์พลังลึกลับ ที่ได้มาจากเทคโนโลยีชั้นสูง หากแต่เป็นไปอย่างเรียบง่ายกว่า จินตภาพงดงามจนน่าทึ่งพิศมัยในทุกคราวที่ได้สัมผัสซ้ำยังตราตรึงมิรู้ลืม
Top 10 Stodio Ghibli Films of All Time

1. Princess Mononoke (1997) (1) (1)

2. Nausicas of the Valley of the Wind (1984) (8) (10)

3. Grave of the Fireflies (1988) (3) (8)

4. Ponyo (2008) (10) ( )

5. Spirited Away (2001) (6) (5)

6. My Neighbor Totoro (1988) (2) (2)

7. Ghost in the Shell 2 : Innocence ( ) ( )

8. Porco Rosso (1992) ( ) (6)

9. Howl’s Moving Castle (2004) (5) (9)

10. Lupin 3 : Castle of Cagliostro (1979) (4)

Castle in the Sky (1986) (7) ( )

The Secret World of Arrietty (2010) (9) ( )

Ocean Waves (1993) ( ) (7)

Whisper of the Heart (1995) ( ) (4)

Kiki’s Delivery Service (1989) ( ) (3)

หมายเหตุ อันดับที่จัดด้านหน้าเป็นของเว็บเจแปน อันดับด้านท้ายเป็นของ imdb และ flixist ตามลำดับ

ข้อมูลอ้างอิง : www.japancinema.net, www.imdb.com, www.flixist.com

 
 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น