ภัยหนาวคุกคามหลายประเทศในยุโรป
ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกิน 600 รายเเล้ว และยังมีอีกกว่า 4,000 ราย ขาดแคลนอาหาร
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น
รายงานว่า ภัยหนาวยังคงคุกคามประเทศในแถบยุโรปอย่างต่อเนื่อง
โดยรายงานยอดผู้เสียชีวิตล่าสุด เพิ่มขึ้นมากกว่า 600 รายแล้ว ที่ต้องเสียชีวิตไปเพราะคลื่นอากาศหนาวเย็นที่แผ่ปกคลุมไปทั่วทวีปยุโรปตะวันออก
ในช่วงอากาศเย็นเป็นประวัติการณ์ของฤดูหนาวปีนี้
ด้านเจ้าหน้าที่ของรัสเซีย
ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 205 ราย
เพราะอากาศหนาวเย็นต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของฤดูหนาวปีนี้ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ขณะที่ยูเครนมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 112 ราย โปแลนด์อีก 107 ราย ฮังการี 35 ราย
เซอร์เบีย 20 ราย และอีก 10 ราย ในโคโซโว ขณะที่โรมาเนีย มีประชาชนเกือบ 4,000 ราย กำลังขาดแคลนอาหารอย่างหนัก
รวมถึงยารักษาโรค
ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นนิวส์
ภัยหนาวยังคงคุกคามยุโรปการสัญจรทางน้ำในแม่น้ำดานูบ
ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญกลายเป็นอัมพาต ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงถึง 460 คน ขณะที่อัฟกานิสถานเป็นประเทศล่าสุดที่เผชิญภัยหนาวรุนแรงที่สุดในรอบ
15 ปี
สภาพอากาศที่หนาวจัดในยุโรป
ทำให้การสัญจรทางน้ำในแม่น้ำดานูบซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญกลายเป็นอัมพาตอย่างสิ้นเชิง
เนื่องจากมีน้ำแข็งปกคลุมไปทั่วท้องน้ำ ทั้งนี้หลายประเทศไม่ว่าจะเป็นเซอร์เบีย, โครเอเชีย, บัลแกเรีย,
โรมาเนีย, ฮังการี และออสเตรีย
ต้องประกาศห้ามการเดินเรือในแม่น้ำดานูบเพื่อความปลอดภัย โดยแม่น้ำดานูบมีความยาวทั้งสิ้น
2,860 กิโลเมตร ไหลผ่าน 10 ประเทศ นอกจากจะเป็นเส้นทางขนส่งที่สำคัญแล้ว
ยังเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า และทำประมงด้วย
ขณะที่บัลแกเรียอุณหภูมิทำสถิติครั้งใหม่
ลดต่ำติดลบถึง28.6 องศาเซลเซียสที่เมืองวิดิน
(Vidin) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ส่วนที่อิตาลีคาดว่าจะเผชิญกับอากาศหนาวเย็น
และหิมะตกหนักระลอกใหม่ในวันนี้ (10 ก.พ.) และวันพรุ่งนี้ (11
ก.พ.) หลังเพิ่งจะฟิ้นตัวจากหิมะตกหนักที่สุดในรอบหลายสิบปีในก่อนหน้านี้
มีรายงานว่าในตุรกี
หิมะปิดกั้นเส้นบนถนนมากกว่า 2,000
สาย และสภาพอากาศที่หนาวจัดได้แผ่ออกไปไกลถึงทวีปแอฟริกาเหนือ ขณะที่ยูเครนซึ่งเป็นประเทศทีได้รับผลกระทบผลจากภัยหนาวรุนแรงที่สุด
คาดว่าอุณหภูมิในบางพื้นที่จะลดต่ำติดลบถึง 30 องศาเซลเซียสในช่วงสุดสัปดาห์นี้
ส่วนที่ฝรั่งเศส
อากาศที่หนาวจัดในพื้นที่ทางภาคใต้ทำให้นกฟลามิงโก้สีชมพูหนาวตายไปถึง 55 ตัว หลังจากที่พวกมันต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นมานานถึง
10 วันจนร่างกายอ่อนแอ ส่วนนกที่ยังไม่ตายเจ้าหน้าที่ก็ต้องช่วยเหลือนำมาพักฟื้นก่อนส่งไปยังที่อยู่อาศัยแห่งใหม่
นับเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี
ที่พบนกฟลามิงโก้สีชมพูตายมากที่สุด
อัฟกานิสถานเป็นประเทศล่าสุดที่เผชิญกับภัยหนาวรุนแรง
โดยสภาพอากาศในกรุงคาบูลหนาวเย็นที่สุดในรอบ 15
ปี อุณหภูมิลดต่ำติดลบถึง 16 องศาเซลเซียสท่ามกลางหิมะตกหนักวัดปริมาณหิมะได้สูงสุดถึง
50 เซนติเมตร ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าดับ
และมีน้ำแข็งปกคลุมพื้นผิวถนน
ขณะที่ชาวญี่ปุ่นในจังหวัดนิงาตะ
แม้จะต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวจัด และหิมะตกหนัก แต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
เพราะมีประสบการณ์อยู่กับหิมะมานานโดยบ้านส่วนใหญ่มีการสร้างส่วนของหลังคาที่ออกแบบเป็นพิเศษ
มีการติดตั้งทั้งอุปกรณ์ทำความร้อนเพื่อละลายหิมะ และทำให้โครงสร้างแข็งแรงสามารถทานรับน้ำหนักหิมะที่หนาถึง
2 เมตรได้ นอกจากนี้ยังมีการทำหลังคาคลุมทางเดินหน้าอาคาร
และบ้านเรือนเพื่อป้องกันคนเดินเท้าจากหิมะ รวมทั้งมีการตั้งเสาเหล็กสูงกว่า 3
เมตรตามแนวถนนเพื่อไม่ให้รถเฉี่ยวกองหิมะ ส่วนป้ายรถประจำทางก็ทำเป็นหลากสีเพื่อให้ผู้โดยสารสังเกตได้ง่าย
ที่มา : สำนักข่าวไทยพีบีเอส
สภาพอากาศหนาวในจีนเลวร้ายกระทบต่อการเดินทางช่วงตรุษจีน
การเดินทางกลับภูมิลำเนาครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด
ของประเทศจีน กำลังจะเริ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์โดยกระทรวงคมนาคมของจีนเปิดเผยว่า
ระบบขนส่งมวลชนทั่วประเทศ กำลังเตรียมพร้อมรับมือกับประชาชนราว 3,100 ล้านคน ที่จะออกมาเดินทางในช่วงระหว่างวันที่ 26 ม.ค.
ถึง 6 มี.ค. เนื่องจากเทศกาลตรุษจีน ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญที่สุด
ซึ่งครอบครัวจะกลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม
ในช่วงนี้ สภาพอากาศในหลายพื้นที่ของจีนกลับไม่เป็นใจในการเดินทาง
หลังเกิดอากาศหนาวเย็น และควันพิษปกคลุม โดยเฉพาะในกรุงปักกิ่งของจีน ซึ่งนอกจากหมอกควันพิษ
จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอีกด้วย
โดยพนักงานขององค์กรด้านการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า สภาพอากาศอันเลวร้าย
ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงปักกิ่ง และส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว นอกจากนี้
ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิงหัวพบว่า สภาพอากาศที่เป็นมลพิษ
สร้างความเสียหายต่อประเทศคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 560,000
ล้านหยวน หรือประมาณ 2.6 ล้านบาท
(สองล้านหกแสนล้านบาท) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีนในปี
2555
ปิดฉากวิกฤติจับตัวประกันในแอลจีเรียยาวนาน
72 ชั่วโมง
ทหารบุกฆ่านักรบอิสลามิสต์ตายเกลี้ยง 11 ศพ ตัวประกันสังเวยเพิ่มอีกอย่างน้อย 23 ศพ ผู้นำชาติมหาอำนาจทั้ง
"สหรัฐ-ฝรั่งเศส-อังกฤษ" ออกหน้าปกป้องแอลจีเรียปฏิบัติชอบแล้ว
อัดผู้ก่อการร้ายคือบ่อเกิดโศกนาฏกรรม เหตุการณ์สมาชิกกลุ่มก่อการร้ายที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์ในแอฟริกา
จับคนงานชาวแอลจีเรียและชาวต่างชาติหลายร้อยคนเป็นตัวประกันภายในโรงแยกก๊าซกลางทะเลทรายซะฮาราในแอลจีเรียตั้งแต่กลางสัปดาห์ก่อน
ยุติลงแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ 19 ม.ค. ตามเวลาท้องถิ่น
โดยกองทัพแอลจีเรียตัดสินใจส่งทหารเข้าไปสังหารกลุ่มนักรบอิสลามิสต์ที่เหลือทั้งหมด
11 ราย
แต่ก็สังเวยชีวิตตัวประกันเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 23 ราย
คำแถลงของกระทรวงมหาดไทยแอลจีเรียเผยว่า
หน่วยปฏิบัติการพิเศษสามารถช่วยชีวิตตัวประกันชาวต่างชาติ 107 คนจาก 132 คนที่ทำงานในโรงงาน และคนงานชาวแอลจีเรีย 685 คน
แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวประกัน 23 รายที่เสียชีวิตว่ามีสัญชาติใดบ้าง
แต่บีบีซีรายงานว่าตัวประกันที่ถูกฆ่าหรือสูญหายมีชาวอังกฤษอย่างน้อย 5 คน, นอร์เวย์ 5 คน และญี่ปุ่น 10 คน ขณะเดียวกันยังมีรายงานผู้สูญหายอีกหลายคน
ในจำนวนนี้รวมถึงลูกจ้างบริษัทวิศวกรรม เจจีซี จากญี่ปุ่น
ที่รายงานว่ายังไม่พบคนงานญี่ปุ่น 10 คนและต่างชาติ 7 คน โดยหนึ่งในนี้อาจเป็นชาวมาเลเซีย 1 ใน 2 คนที่รัฐบาลมาเลเซียบอกว่าไม่ทราบชะตากรรม ส่วนฟิลิปปินส์
คนงานที่ตกเป็นเหยื่อนั้นรอดออกมาได้ 52 ราย ส่วนหนึ่งเดินทางกลับประเทศแล้ว
แต่ยังไม่ทราบว่ามีคนฟิลิปปินส์สูญหายหรือเสียชีวิตด้วยหรือไม่ โมหะเหม็ด ซาอิด รัฐมนตรีสารสนเทศ
กล่าวกับสำนักงานเอพีเอสในวันอาทิตย์ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตอาจมากกว่านี้
ต่อมาสถานีโทรทัศน์เอ็นนาฮาร์ของแอลจีเรียรายงานว่า ทหารพบศพตัวประกัน 25 ศพภายในโรงแยกก๊าซโรงหนึ่งในช่วงทหารเข้าเคลียร์พื้นที่ ส่วนพวกนักรบมุสลิมหัวรุนแรงที่ถูกสังหารหมดเกลี้ยง
32 คนนั้น
เชื่อว่ารายหนึ่งคือ อับดุล เราะห์มาน อัลไนจีรี
ผู้นำกลุ่มชาวไนจีเรียที่ใกล้ชิดกับมุกตาร์ เบลมุกตาร์
อดีตนักรบญิฮาดที่ใกล้ชิดกับอัลกออิดะห์
และเชื่อว่าเป็นผู้บงการจับตัวประกันครั้งนี้
โดยอ้างว่าทำเพื่อบีบให้ฝรั่งเศสยุติการแทรกแซงทางทหารขับไล่กลุ่มนักรบอิสลามิสต์ในสาธารณรัฐมาลี
แต่นักวิเคราะห์มองว่าเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้านานก่อนฝรั่งเศสส่งทหารเข้ามาลีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
รายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงงานยังไม่ชัดเจน
แต่มีรายงานว่าคนร้ายเริ่มฆ่าตัวประกันที่เหลือ 7 ราย ก่อนโดนทหารจู่โจมสังหารเกลี้ยง ภายหลังเหตุการณ์ยุติ
กระทรวงมหาดไทยเผยว่า เจออาวุธหลายชนิดในที่เกิดเหตุ ทั้งปืนกล 6 กระบอก, ไรเฟิล 21 กระบอก, ปืนสั้น 2 กระบอก, ปืนครกขนาด 60 มม. 2 กระบอกพร้อมกระสุน, เครื่องยิงจรวดขนาด 60 มม. 6 กระบอก, เครื่องยิงลูกระเบิด 2 กระบอกพร้อมจรวด 8 ลูก และระเบิดขว้าง 10 ลูก รัฐบาลประเทศตะวันตกบางประเทศแสดงความไม่พอใจที่แอลจีเรียไม่แจ้งแผนปฏิบัติล่วงหน้าก่อน
แต่แอลจีเรียซึ่งเคยทำสงครามกลางเมืองกับพวกนักรบอิสลามิสต์ที่คร่าชีวิตผู้คนกว่า 200,000 รายในยุคทศวรรษ 1990s ยืนกรานตั้งแต่แรกว่าจะไม่เจรจาต่อรองกับผู้ก่อการร้าย
และหลังเหตุการณ์ยุติลงผู้นำหลายชาติได้กล่าวสนับสนุนการตัดสินใจของแอลจีเรีย
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐต้องการคำชี้แจงจากแอลจีเรียเพื่อความเข้าใจที่กระจ่างแจ้งถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
แต่เห็นว่า โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นครั้งนี้ต้องโทษพวกผู้ก่อการร้ายที่ก่อเหตุ
"การโจมตีคราวนี้เป็นสิ่งเตือนใจอีกครั้งถึงภัยคุกคามจากอัลกออิดะห์และกลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรงกลุ่มอื่นๆ
ในแอฟริกาเหนือ" โอบามากล่าว
"เราจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหุ้นส่วนทั้งหมดของเราในการสู้รบกับพวกลัทธิก่อการร้ายในภูมิภาคนี้"
ด้านประธานาธิบดีฟรังซัวส์ โอลลองด์
ของฝรั่งเศสกล่าวปกป้องการแก้วิกฤติตัวประกันของแอลจีเรียครั้งนี้ว่า
"เหมาะสมที่สุดแล้ว" ส่วนนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ กล่าวว่า
"ไม่มีเหตุผลแก้ตัว" สำหรับพวกโจรจับตัวประกัน
อังกฤษมีความตั้งใจแน่วแน่ยิ่งขึ้นที่จะร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกเพื่อขุดรากถอนโคนและทำลายพวกผู้ก่อการร้ายและพวกที่ยุยงส่งเสริม รัฐมนตรีกลาโหม ฟิลิป แฮมมอนด์ ของอังกฤษ
กล่าวถึงการสูญเสียชีวิตตัวประกันว่า "น่าตกใจ และไม่อาจยอมรับได้
แต่ต้องเข้าใจเช่นกันว่าผู้ก่อการร้ายพวกนี้คือผู้ที่ต้องรับผิดชอบล้วนๆ"
กลุ่มสังเกตการณ์การก่อการร้าย อินเทลเซ็นเตอร์ชี้ว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นวิกฤติการจับตัวประกันครั้งใหญ่ที่ตั้งแต่วินาศกรรมที่นครมุมไบของอินเดียเมื่อปี 2551 และยังเป็นการก่อเหตุครั้งใหญ่ที่สุดโดยฝีมือของพวกนักรบอิสลามิสต์ ที่เคยทำให้ตัวประกันหลายร้อยคนสังเวยชีวิตในโรงละครแห่งชาติที่กรุงมอสโกปี 2545 และที่โรงเรียนในเมืองเบสลันของรัสเซียเมื่อปี 2547
ที่มา : สำนักข่าวไทยโพสต์กลุ่มสังเกตการณ์การก่อการร้าย อินเทลเซ็นเตอร์ชี้ว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นวิกฤติการจับตัวประกันครั้งใหญ่ที่ตั้งแต่วินาศกรรมที่นครมุมไบของอินเดียเมื่อปี 2551 และยังเป็นการก่อเหตุครั้งใหญ่ที่สุดโดยฝีมือของพวกนักรบอิสลามิสต์ ที่เคยทำให้ตัวประกันหลายร้อยคนสังเวยชีวิตในโรงละครแห่งชาติที่กรุงมอสโกปี 2545 และที่โรงเรียนในเมืองเบสลันของรัสเซียเมื่อปี 2547
หมายเหตุ ตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขจำนวนที่แน่ชัดในขณะนี้