ช่วงนี้มีภาพยนตร์ภาคต่อเข้ามาฉายในบ้านเรามากมายหลายเรื่อง และกลายเป็นแฟชั่นของหนังในยุคนี้ไปแล้ว ที่ว่าหนังเรื่องใดทำออกมาแล้วประสบความสำเร็จก็จะทำภาคต่อตามออกมา โดยมีการวางโครงเรื่องเผื่อเอาไว้เรียบร้อยแล้ว อาทิ เช่น Hang Over, American Pie , Fast & the Furious แต่บางเรื่องเขาทำภาคต่อเตรียมไว้เลย จากโครงเรื่องที่สร้างมาจากนวนิยาย หรือหนังสือที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว อาทิ Twilight, The Hunger Game เป็นต้น แต่หนังภาคต่อที่ดูจะประสบความสำเร็จได้นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นแนวแอ็คชั่น ฮีโร่ หรือไม่ก็ประเภทไซไฟ (แนววิทยาศาสตร์) ที่ดูจะถูกจริตกับคนดูเป็นที่สุด เพราะสามารถทำรายได้ถล่มทลายเกือบทั่วโลก อาทิ อย่าง Batman , Spider Man ,X-Men, The Iron Man หรืออย่างเรื่องล่าสุด Men in Black หนังแอ็คชั่นบางเรื่องไม่ใช่ภาคต่อ แต่ถูกทำให้เป็นซีรี่ย์หรือแฟรนไชส์ซะอย่างนั้น แต่ก็ประสบความสำเร็จมาก อาทิ เจมส์บอนด์ 007 , Mission Impossible , Die Hard บางเรื่องเป็นหนังยุค 80’s ที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ถูกนำมารีเมค หรือกลับมาสร้างใหม่ตามกันออกมาอีกมากมาย อาทิ Fright Night, Crash of the Titans, Total Recall ,Judge Dredd เป็นต้น
กระแสรีเมคงานเก่าทำให้ผู้เขียนนึกขึ้นมาได้ 1 เรื่อง ซึ่งเป็นหนังภาคต่อ ไซไฟ ที่เคยโด่งดังในยุค 80’s และก็อยากให้นำมารีเมคหรือสร้างกันใหม่ กลายเป็นหนังขึ้นหิ้งในตำนาน ซึ่งคลาสสิกอีกเรื่องนึง นั่นก็คือ Back to The Future (เด็ก ๆ สมัยนี้อาจไม่รู้จักเลย) เป็นหนังยุคแรกๆ ของไซไฟในบ้านเรา ที่เข้ามาฉายในโรงสมัยใหม่ สมัยนั้นเป็นโรงแบบที่เรียกว่ามัลติเพล็กซ์ หรือโรงหนังในห้าง จำได้ว่าผู้เขียนดูในโรงภายพนตร์เมเจอร์ ห้างมาบุญครอง สมัยนั้นถือว่าเป็นยุคบ้าดูหนังในโรง อาทิตย์ละ 2-3 เรื่องเป็นอย่างต่ำ และดูทุกอาทิตย์ พอหมดเรื่องนั้นดูต่ออีกเรื่อง กลายเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขมาก จำได้ว่าราคาตั๋วหนังอยู่ในราคาประมาณ 50-60 บาท ประมาณนั้น ยังไม่แพงเท่ายุคปัจจุบัน และความถี่ในการดูหนังในโรง น้อยจนต้องเรียกว่า ดูปีละไม่กี่เรื่องเท่านั้น นอกนั้นดูเป็น DVD หรือ ในเคเบิ้ลทีวีเกือบหมด
ตอนดูตอนนั้น ต้องถือว่าพล็อตเรื่องทันสมัย เพราะยังไม่เคยเห็นใครคิดพล็อตในลักษณะนี้มาก่อน และทำได้สนุกด้วย จนต้องสร้างตามมาอีกหลายภาค แต่หากมาดูตอนนี้แล้ว ก็ต้องถือว่าเชยเหมือนกัน และสเปเชี่ยลเอ็ฟเฟ็คท์โบราณเกินไป จึงอยากให้มีการรีเมคใหม่ และปรับปรุงบทหรือเทคนิคการถ่ายทำ เปลี่ยนนักแสดงที่เป็นคนยุคนี้เข้าไป ก็น่าจะกลับมาได้รับความนิยมได้อยู่
หนังปี 1985 เรื่องนี้เล่าเรื่องราวของ มาร์ตี้ แม็คฟราย เด็กหนุ่ม ซึ่งเป็นตัวแทนของคนยุค 80.’s ที่บังเอิญไปรู้จักกับนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่องอย่าง ดร.เอ็มเมทท์ บราวน์ แม้ว่าภายนอกจะดูเพี้ยนๆ ไปบ้าง แต่ดอกเตอร์คนนี้ก็สามารถที่จะผลิตคิดค้นเครื่องย้อนเวลา หรือที่เราเรียกว่า ไทม์แมชชีน ขึ้นมาได้ แต่ระหว่างที่กำลังทดลองอยู่ดีๆ ก็เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมาเมื่อ มาร์ตี้ ถูกส่งกลับไป ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เรื่องราววุ่นๆ ต่างๆ จึงตามมา เมื่อแม่ของเขากลับมาหลงรักมาร์ตี้แทนที่จะเป็นพ่อของเขา แถมยังมีตัวร้าย อย่าง บีฟ เทนแนน อีก มาร์ตี้จึงต้องทำทุกอย่างให้พ่อกับแม่ของเขาได้ลงเอยกัน ไม่งั้นในอนาคตตัวของเขาเองก็จะไม่มีตัวตนขึ้นมาได้ และเขายังต้องหาหนทางกลับไปในอนาคตอีกด้วย
ที่มาของหนังไซไฟเรื่องนี้ ไม่ได้มาจากหนังสือการ์ตูนแต่อย่างใด ไม่ได้รับอิทธิพลมาจากโดราเอมอน ที่นั่งเครื่องไทม์แมชชีนไปไหนมาไหนได้ หากแต่เป็นเพราะ บ็อบ เกลย์ มือเขียนบท ที่วันหนึ่ง เขาเกิดสงสัยขึ้นมาระหว่างที่นั่งดูหนังสือรุ่นของพ่อว่า “ถ้าหากเขาเป็นเพื่อนกับพ่อตอนวัยรุ่นจะเป็นอย่างไรนะ” โรเบิร์ต เซเมคิส ผู้กำกับของเรื่องก็นำความคิดนั้นของบ็อบมาขยายต่อเส้นเรื่อง แล้วนำพล็อตไปเสนอให้กับทาง วอลท์ ดิสนี่ย์ แต่ก็ถูกสตูดิโอชื่อดังปฏิเสธ เพราะเห็นว่าเนื้อเรื่องที่แม่กับลูกตกหลุมรักกันนั้นเสี่ยงมากเกินไป ซึ่งสุดท้ายแล้วพล็อตเรื่องนี้ก็มาตกอยู่ในมือของค่ายคู่แข่งอย่าง ยูนิเวอร์แซล และก็ถูกนำมาสร้างเป็นหนังจนประสบความสำเร็จ ทำรายได้ถล่มทลายมหาศาล เป็นหนังที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเรื่องนึงของยุค 80’s แถมยังมีภาคต่อตามออกมาอีก 2 ภาค ในปี 1989 และปี 1990 งานนี้ดิสนีย์เลยได้แต่นั่งเกาหัว เสียดายที่มัวแต่คิดถึงเรื่องประเด็นเล็กๆ น้อยๆ ในหนัง เดิมทีวิธีการเดินทางกลับสู่อดีตนั้นจะใช้การยิงเลเซอร์ไปที่กำแพงเพื่อเปิดทางการเดินทางข้ามเวลา แล้วก็เปลี่ยนมาใช้ “ตู้เย็น” แต่ เซเมคิส ผู้กำกับหนังกลัวว่า เด็กๆ จะพากันเลียนแบบและเข้าไปอยู่ในตู้เย็น จนได้รับอันตราย สุดท้ายทีมงานจึงตัดสินใจใช้รถยนต์เป็น ไทม์แมชชีน แทน โดยให้ชื่อว่า The DeLorean
หนังได้ให้ ไมเคิล เจ.ฟ็อกซ์ ดาราหนุ่มที่กำลังโด่งดังจากซีรี่ย์ทางทีวีในขณะนั้นอย่างเรื่อง Family Ties มารับบทนำกลายมาเป็นแคแรกเตอร์ที่ที่ส่งให้ ไมเคิล เจ.ฟ็อกซ์ กลายมาเป็นดาราใหญ่ของฮอลลีวู้ดไปในทันที และภาพของเด็กหนุ่มตัวเล็กๆ ที่ยืนดูนาฬิกาอยู่ใกล้กับรถยนต์ที่ย้อนเวลาได้ก็กลายเป็นภาพแรกที่เรานึกถึงนักแสดงหนุ่มที่กำลังป่วยเป็นโรคพาร์กินสันคนนี้ได้ ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน เคยพูดถึงหนังเรื่องนี้ในการกล่าว State of Union (การกล่าวสรุปประจำปี ของผู้นำสหรัฐอเมริกาต่อหน้ารัฐสภาคองเกรซ) ในปี 1986 ว่า “เหมือนอย่างที่ในหนัง Back to the future บอกเอาไว้ว่า ที่ไหนที่เราจะเดินทางไปนั้น แม้ไม่มีถนนเราก็จะไปให้จงได้” ในความเป็นจริงแล้ว คงไม่มีรถยนต์ที่จะสามารถพาเราย้อนเวลากลับไปหาความทรงจำดีๆ อันแสนหวานในวัยเด็ก และแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดในวันคืนเก่าๆ ได้จริงหรอก แต่ในสมองและหัวใจของคนเรานั้น สามารถเลือกที่จะจดจำสิ่งดีๆ ในอดีตได้ เลือกที่จะนำข้อผิดพลาดทั้งหลายในอดีตกลับมาทบทวน และพร้อมที่จะเริ่มต้นทำในสิ่งดีๆ ใหม่ๆ ได้ทุกวัน ทุกเวลา แต่ไม่ใช่การเลือกที่จะจมอยู่แต่ในอดีต แล้วไม่คิดจะทำสิ่งใหม่ๆ หรือเลือกที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องอยู่เสมอ เพราะชีวิตของคนทุกคน เราจะต้องอยู่กับปัจจุบันให้ได้เสมอ ไม่ว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มันจะขมขื่น หอมหวานเพียงใดก็ตาม เราต้องเลือกทำวันปัจจุบันให้ดีที่สุดครับ ไม่ว่าเลือกที่จะทำเพื่อใคร หรือแม้แต่จะทำเพื่อตัวของเราเอง มันก็แค่นั้น
ประวัติและผลงานของผู้กำกับ
Robert Lee Zemeckis (born May 14, 1951) is an American film director, producer and screenwriter. Zemeckis first came to public attention in the 1980s as the director of the comedic time-travel Back to the Future film series, as well as the Academy Award-winning live-action/animation epic Who Framed Roger Rabbit (1988), though in the 1990s he diversified into more dramatic fare, including 1994's Forrest Gump, for which he won an Academy Award for Best Director.
His films are characterized by an interest in state-of-the-art special effects, including the early use of match moving in Back to the Future Part II (1989),Back to the Future Part III (1990) ,Contact (1997) What Lies Beneath,Cast Away (2000) and the pioneering performance capture techniques seen in The Polar Express (2004), Beowulf (2007) and A Christmas Carol (2009). Though Zemeckis has often been pigeonholed as a director interested only in effects, his work has been defended by several critics, including David Thomson, who wrote that "No other contemporary director has used special effects to more dramatic and narrative purpose."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น