วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่คนไทยจะลุกขึ้นมา Clean Up ประเทศไทยกันเสียที

ผู้เขียนได้ติดตามข่าวสถานการณ์น้ำท่วมอยู่เป็นเวลาร่วม2 เดือนแล้ว ส่วนใหญ่ผ่านสื่อทีวี ทั้งฟรีทีวี และทีวีดาวเทียม ทางวิทยุ หนังสือพิมพ์และทางอินเตอร์เน็ตบ้างนิดหน่อย แรกๆ ก็เอาใจช่วยรัฐบาลคุณปู ยิ่งลักษณ์ให้บริหารประเทศในภาวะวิกฤตินี้ไปให้รอด จริงๆ ก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้เห็นภาพความเป็นมืออาชีพจากท่านนักหรอก แต่ขอว่าท่านเข้ามาแล้วทำงานอย่างโปร่งใส ไม่มีวาระซ่อนเร้นแอบช่วยพี่ชายแต่ถ่ายเดียว ทำงานได้เข้าเป้า ฉับไว ทันใจ และตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องประชาชนได้เท่านั้นก็เพียงพอที่จะยอมรับได้แล้ว แต่เมื่อเธอต้องมาเจอกับปัญหามหาอุทกภัยครั้งร้ายแรงในครั้งนี้เข้า ก็ทำให้ประชาชนทั้งประเทศได้เห็นศักยภาพในตัวเธอ และก็พลพรรคเพื่อไทย ตลอดจนองคาพยพของรัฐบาลเธอทั้งคณะ ว่าสามารถบริหาร และนำพาประเทศไปได้รอดหรือไม่ และคำตอบก็ปรากฏออกมาผ่านผลงานการทำงานในช่วง 2-3 เดือนที่ผานมานี้อย่างชัดแจ้ง หรือสามารถสดับตรับฟัง มองผ่านเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของทั้งชาวบ้าน สื่อมวลชน นักวิชาการ นักธุรกิจต่างๆ ต่อการแก้ปัญหาอุทกภัยครั้งร้ายแรงนี้ได้อย่างแจ่มแจ้งแดงแจ๋แล้ว ว่าเธอสอบผ่านหรือไม่ เครดิตความน่าเชื่อถือของรัฐบาลนี้แทบจะไม่หลงเหลืออยู่เลยในสายตาของสาธารณชนโดยทั่วไป

จริงๆ นาทีนี้ ผู้เขียนไม่อยากไปวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลคุณปูอีกเลย เพราะคิดว่าเธอคงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ เสียงกร่นด่า สรรเสริญเยินยอจากหลายๆ ทาง จนอ่วมอรทัยอยู่แล้ว และผู้เขียนคงไม่ต้องมาขยายความ เพื่อกระหน่ำซ้ำเติมอีกในผลงานซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งอยู่ในสื่อของโลก social media ต่างๆ มากมายแล้ว แต่การจะไม่แสดงความคิดเห็นหรือพูดถึงรัฐบาลชุดนี้แต่น้อย ย่อมผิดวิสัยของทั้งผู้เขียนเองและคอนเซ็ปต์ของบล็อกนี้ อีกทั้งผู้เขียนได้เคยวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ ไว้พอสมควร จึงเป็นการไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งหากจะไม่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลคุณปูเลย แม้ว่าจะผ่านการทำงานไปเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น (ซึ่งแม้ว่าอยากจะเอาใจช่วยเพียงใดก็ตาม) และนับจากข้อความของย่อหน้าถัดจากนี้ไป ผู้เขียนก็จะแสดงความคิดเห็นไปตามเนื้อผ้า ไม่มีอคติเป็นการส่วนตัวแต่อย่างใดกับคุณปู และรัฐบาลเพื่อไทย หวังว่าท่านจะรับฟังและนำไปปรับปรุงแก้ไขเป็นการด่วน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นการส่วนรวม ซึ่งสิ่งที่ผู้เขียนจะสะท้อนออกไปให้กับรัฐบาลนั้น ก็มาจากเสียงสะท้อนของคนรอบข้างของผู้เขียนเอง ซึ่งเอามาประกอบกันเข้ากับความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน และคงไม่ใช่สิ่งที่นึกสนุก อยากจะวิพากษ์วิจารณ์ใครหรือไม่ชอบใครก็เขียนคอมเม้นท์ออกไป เพราะคงไม่ใช่สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะทำนักหรอก จริงๆ แล้วงานถนัดของผู้เขียนนั้นคือเขียนถึงเรื่องสุขนิยม ความบันเทิงไร้สาระจะถนัดมากกว่า แต่ความเดือดร้อนอย่างมหาศาลในช่วง 2-3 เดือนนี้มันหนักมากจนไม่อาจมองข้ามไป หรือไม่กล่าวถึงได้ จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องพูดถึงรัฐบาล หรือคณะผู้บริหารประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผมคิดว่าประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิ์ที่จะตั้งคำถาม หรือตั้งประเด็นปัญหาสะท้อนไปยังรัฐบาลได้ สำหรับกรณีการแก้ไขปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่นี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะสื่อสารมวลชนเท่านั้น ที่มีหน้าที่ เพราะประชาชนทุกคนก็ย่อมมีสิทธิ์รับรู้ การกระทำ การปฏิบัติงานของรัฐบาล เพราะในที่สุดแล้ว ประชาชนคือผู้รับผลของการกระทำ หรือการปฏิบัติงานของรัฐบาลอย่างเต็มที่ยังไม่นับรวมว่าสถานภาพที่ประชาชนคือนายของรัฐบาล เป็นทั้งผู้จ่ายภาษี จ่ายเงินเดือนให้กับผู้บริหารประเทศมาทำงานเพื่อตอบสนองผลประโยชน์คืนกับมายังประชาชน ดังนั้นประชาชนจึงเป็นเจ้าชีวิตของรัฐบาลที่จะสั่งให้รัฐบาลจะต้องทำตามความต้องการของประชาชนได้ และหากรัฐบาลไม่สนองตอบต่อผลประโยชน์ของประชาชนแล้วหล่ะก็ คุณก็ย่อมอยู่ไม่ได้ หรือควรพิจารณาตัวเอง ลาออกไป เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจที่จะเลือกผู้บริหารประเทศที่จะมาทำงานสนองตอบผลประโยชน์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง นี่คือหลักการประชาธิปไตย หรือหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนเป็นใหญ่ สิ่งที่ผู้เขียนอยากตั้งเป็นประเด็น หรือคำถาม ในหลายๆ กรณี ได้แก่

-เกิดอะไรขึ้นกับการบริหารจัดการน้ำ ในรัฐบาลชุดนี้ มีความผิดพลาดอะไรที่ทำให้เกิดการปล่อยน้ำอย่างมหาศาลลงมาในช่วงเวลาที่ไม่ควรจะปล่อย และในช่วงเวลาที่ควรจะปล่อยน้ำระบายออกมากลับไม่ทำ ทำไมถึงได้กักเก็บน้ำเอาไว้ จนมากล้น จนเป็นที่มาที่ทำให้มีการบังคับให้ต้องปล่อยน้ำออกมาอย่างมหาศาลในช่วงเวลานี้ และใครเป็นผู้ออกคำสั่งหรือมีส่วนต้องรับผิดชอบในการดูแล (ซึ่งหลายฝ่ายต่างออกมาตั้งข้อสังเกต ว่าเป็นอธิบดีกรมชลประทาน กับผู้ว่าการไฟฟ้า ฯ ต้องมีส่วนรับผิดชอบ ต่างฝ่ายต่างโทษกันไปมา รวมถึงรัฐมนตรีที่ดูแลฯ ผู้ออกคำสั่ง ใครกันแน่ที่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบผลลัพธ์แห่งความเสียหายที่เกิดขึ้น)

-รัฐบาลทราบข้อมูลเรื่องระดับน้ำในเขื่อน และการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน ตลอดจนปริมาณน้ำฝนที่จะตกในปีนี้มากน้อยเพียงใด และรัฐบาลได้ดำเนินการเตรียมการป้องกันเหตุที่จะเกิดอุทกภัยใหญ่ไว้ในช่วงต้นก่อนบ้างหรือไม่ (มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าช่วงแรกที่รัฐบาลเข้ามาเพิ่งเริ่มทำงานก็ได้รับทราบข้อมูลเหล่านี้เบื้องต้นแล้ว แต่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา ยังคงง่วนอยู่กับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การชงเรื่องจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อนิรโทษกรรมความผิดให้แก่คุณทักษิณ รวมไปถึงการเตะบอลกระชับมิตรกับคณะรัฐมนตรีและผู้นำของประเทศกัมพูชา ในขณะที่ตอนนั้นเริ่มมีปัญหาน้ำท่วมในเขตภาคเหนือและอีสาน กลางตอนบนแล้ว)

-การตั้งศูนย์ ศปภ.(ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม) ซึ่งมีคนจำนวนมากไปแปลงชื่อเสียใหม่มากมาย ของผู้เขียนเองก็แปลงใหม่เป็น ศูนย์ไม่ประสาการทำงานและเป็นพิษภัยต่อชาติ เนื่องจากการสื่อสารให้ข้อมูลแก่ประชาชนนั้นผิดพลาดคลาดเคลื่อน จนกระทั่งประชาชนแทนที่จะได้รับความช่วยเหลือกลายเป็นตื่นตระหนก ตกใจกลัว การแต่งตั้งทีมงานโฆษกของศูนย์นี้ก็ใช้คนไม่เป็น ตั้งคนที่ไม่มีความรู้เรื่องน้ำ มาพูดจาให้ข้อมูลสับสนแก่ประชาชน แถมยังพูดจาไม่รู้เรื่อง เข้าใจยาก และส่วนใหญ่เป็นการมานั่งแถลงผลการทำงานของรัฐบาลมากกว่าที่จะมาอธิบายแนวทางการแก้ปัญหา สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำ และสิ่งที่รัฐบาลจะได้ทำต่อไปในอนาคต รวมถึงข้อมูลความเป็นจริงที่ถูกต้องให้กับประชาชนได้รับรู้ ก็กลายเป็นศูนย์ที่มานั่งแถลงข้อมูลผลการปฏิบัติงานรายวันของรัฐบาล ซึ่งไม่มีชาวบ้านที่ไหนจะฟังแล้วรู้เรื่อง หรืออยากจะรับฟัง จนสุดท้ายเมื่อมืการวิพากษ์วิจารณ์ถึงศปภ.ไปในทางลบจำนวนมาก จึงมีการเปลี่ยนตัวโฆษกเป็น รศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ ซึ่งก็ถือว่าดีขึ้น สามารถแก้ภาพลักษณ์ของศูนย์ฯได้ในระดับนึง แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์ในส่วนของข้อมูลที่ประชาชนอยากรับทราบอยู่ดี เพราะตัวอาจารย์เองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่จะมาอธิบายเรื่องน้ำได้ดีกว่านักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ที่คลุกคลีอยู่กับเรื่องนี้ได้ สุดท้ายแล้วก็เกิดกลุ่มคนที่รวมกันทำ clip VDO อธิบายความให้กับประชาชนชาวบ้านได้เข้าใจง่ายๆ ในรูปของแอนิเมชั่น คล้ายๆ สื่อการสอนแบบภาพเคลื่อนไหว ในนามของกลุ่มรู้สู้ Flood ซึ่งอันนี้ขอชื่นชม และมีคนเข้าไปดูผ่าน you tube เป็นจำนวนมาก (http://th-th.facebook.com/ROOSUFLOOD) ซึ่งถ้าจะดีกว่านี้ หากฟรีทีวีนำไปเผยแพร่ออกอากาศให้กับประชาชนในวงกว้างได้ดูกันมากๆ ต่อกรณีที่มีมาเฟียอยู่ด้วยใน ศปภ. ก็คือบรรดา ส.ส.หรือผู้ช่วยรัฐมนตรีหรือคณะทำงานที่อดีตเคยเป็นแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง เข้าไปทำหน้าที่เป็นด่านตรวจคนที่จะเข้าไปบริจาคสิ่งของ หรือจะเข้าไปหาข้อมูลหรือนำข่าวไปเผยแพร่ จะต้องทำตามเงื่อนไขของแกนนำเหล่านั้น ในลักษณะ ต้องใส่เสื้อเป็นพวกเขาคือเสื้อแดงบ้างหล่ะ เมื่อของบริจาคโดยประชาชนโดยบริสุทธิ์ใจ ไฉนมีการนำเอาสิ่งของบริจาคเหล่านั้นไปพะยี่ห้อเป็นชื่อ ส.ส. รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรี (หนีคดี) คนนั้น ได้เครดิตเป็นผู้ให้หรือบริจาคในนามไว้ด้วยทุกถุง ทุกห่อ ก่อนจะนำไปบริจาคถึงมือประชาชน แล้วอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร อีกทั้งมีการต้องเซ็นเซอร์ข้อมูลที่จะนำไปเผยแพร่ตามสื่อออนไลน์ต่างๆ เกี่ยวกับข่าวเรื่องน้ำท่วม ของ ศปภ. ว่าจะต้องไม่มีข่าวด้านลบให้แก้ไขก่อนนำไปลง อันนี้ถือว่าเป็นการแทรกแซงความเป็นอิสระของสื่อหรือไม่ จนทำให้กลุ่มเว็บไซต์ thaiflood โดยคุณปรเมศวร์ มินศิริ ต้องประกาศถอนตัวจากการเข้ามาช่วยเหลือการทำงานร่วมกับ ศปภ.ไปอีกราย ก่อนหน้านั้นมีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มจิตอาสาต่างๆ ที่หวังดีอยากเข้ามาทำงานช่วยเหลือประชาชนร่วมกับ ศปภ. แต่พอมาเจอสภาพการเล่นพรรคเล่นพวกของแกนนำใน ศปภ.เข้าจึงล่าถอย ถอนตัวกันไปหมด สภาพข้าวของบริจาคของประชาชนถูกทิ้งลอยน้ำ ในช่วงที่มีการย้ายศปภ. ในระหว่างที่สนามบินดอนเมืองถูกน้ำท่วม ซึ่งเป็นการประจารณ์ความล้มเหลวและไม่จริงใจของรัฐบาล การทำงานที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกภาคส่วนไม่มีการประสานขอความช่วยเหลือใดๆ แม้กับภาคประชาชน ทั้งๆ ที่ ภาวะวิกฤติเช่นนี้ ต้องการการร่วมมือจากทุกภาคส่วนและความสามัคคี ปรองดองที่รัฐบาลพูดนักพูดหนา ว่าอยากจะเห็น แต่กลับมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย สร้างความแตกแยกกันเสียเอง ดังกรณีการออกมาแฉกันเองของ ส.ส.ฉลอง เรี่ยวแรง ,การออกมาพูดจาให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกันของ นายปลอดประสพ สุรัสวดี (ปลอดประสบการณ์ ) กับทางหน.ศูนย์ ศปภ.(ท่าน พตอ.ประชา พรหมนอก) การให้ทีมงานโฆษกที่ไม่มีความรู้เรื่องน้ำมาอธิบายเรื่องปัญหาน้ำท่วม อาทิ นายวิม รุ่งวัฒนะจินดา ,พตอ.พงศฑัต พงษ์เจริญ จนตอนหลังจึงให้ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มาอธิบายให้กับประชาชนฟัง ในขณะที่มีการแถลงข่าวรายงานผลการทำงานที่ทับซ้อนคาบเกี่ยว แย่งซีนผลงานกันระหว่าง ศปภ. กับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยที่ประชาชนเองก็ไม่รู้จะฟังข้อมูลของฝ่ายใด จนตอนหลังข้อมูลของทาง กทม.มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ทำให้รัฐบาลนำเอาที่ปรึกษาบ้าน 111 อย่างคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาของศปภ. และเป็นที่มาของการทำงานที่ขัดแย้งกันของรัฐบาลกับกทม. โดย ส.ส.ในสังกัดของคุณหญิงสุดารัตน์ นำคนและมวลชนไปพังคันกั้นน้ำในย่านปากเกร็ดดอนเมือง ,นำคนไปพังกระสอบทรายบริเวณคลองประปา ทำให้น้ำสกปรกลงไปในคลองประปาทำให้น้ำประปามีปัญหาเรื่องความสะอาด สี กลิ่น ตามมา และกรณีนักการเมืองในปีกรัฐบาลนำกำลังคนหรือมวลชนไปทำลายเพื่อจะเปิดประตู ระบายน้ำคลองสามวา และบริเวณอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมาก ตราบใดที่รัฐบาลยังมีมุมมองที่ถ้าข้าไม่ได้ผลงานแล้ว เอ็งก็ต้องไม่ได้ด้วย คือต้องการดิสเครดิตการทำงานของผู้ว่าฯกทม.ซึ่งอยู่ต่างพรรคกัน และมีเป้าประสงค์คือสนามการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปีหน้า 2555 เป็นเดิมพัน

-การทำงานที่อยู่บนฐานของการอิงผลประโยชน์การเมืองส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นการส่วนรวม ดังกรณีที่ตั้งทีมงานอดีตรัฐมนตรีบ้าน 111 มาเป็นที่ปรึกษาแล้วก็ยังมีการใช้คนไม่ถูกกับงาน การตั้งทีมงานที่เคยเป็นแกนนำเสื้อแดง มาดูแลของบริจาคจากประชาชน จนเกิดความไม่ไว้วางใจของประชาชนจำนวนมาก หันไปบริจาคของผ่านหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น รวมถึงผ่านสื่อมวลชน อาทิ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 9 TPBS , ผ่านมูลนิธิต่างๆ แทน (มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงสาเหตุของการที่สุพรรณบุรีน้ำไม่ท่วมในตอนแรก เพราะมีคำสั่งให้สุพรรณบุรีรอเก็บเกี่ยวข้าวให้ได้ก่อนซึ่งเป็นที่นารับจ้างปลูกของต่างชาติ ซึ่งมีคำสั่งลับให้ระงับการปล่อยน้ำจากเขื่อนในช่วงเวลานั้น หรืออย่างกรณีของการที่น้ำที่ทะลักเข้ากรุงแล้วมีเส้นทางออกไปทางตะวันออก เพื่อผันไปออกทะเลโดยผ่านแม่น้ำบางปะกง แต่น้ำไหลลงตรงส่วนนี้ค่อนข้างช้ามาก แต่ทะลักไปลงด้านตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมากกว่า เป็นผลมาจากมีคำสั่งลับให้ผันน้ำไปลงฝั่งตะวันตกให้มากกว่า เพื่อป้องกันที่ดิน สิ่งปลูกสร้างของนักการเมืองซีกฝั่งรัฐบาลที่กว้านซื้อและลงทุนเอาไว้ในฝั่งตะวันออกจำนวนมาก กลัวว่าจะเสียหายหนัก เป็นต้น นี่คือตัวอย่างของการทำงานเพื่อตนเองหรือเพื่อชาติ

-การที่หน่วยงานอย่างกองทัพบก หรือพวกกลุ่มจิตอาสา อาสาสมัครของมูลนิธิกู้ภัยต่างๆ ศิลปินดารา ได้ระดมกันเข้ามาช่วยเหลือการทำงานของรัฐบาล ไม่ได้เกิดจากการถูกเชื้อเชิญจากรัฐบาลแต่ประการใด ทุกคนมาด้วยความสมัครใจ ด้วยจิตอาสาที่อยากจะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มใจ บริสุทธิ์ใจ ไม่ได้ต้องการทำเพื่อชื่อเสียง หรือ CSR ตัวเอง แต่เกิดจากน้ำใจที่แท้จริง โดยสัญชาติญาณของการอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ร่วมชาติ ซึ่งเป็นการทำงานที่เสียสละ และควรแก่การชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ รวมถึงบรรดาผู้รู้ในด้านต่างๆ ที่คอยมาให้ความรู้แก่ประชาชนได้ตาสว่างมากกว่าการให้ข้อมูลของรัฐบาล อาทิ อจ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ,อจ.ศศิน เฉลิมลาภ กลุ่มนิสิตเก่านิเทศจุฬา ในนาม กลุ่มรู้สู้ flood คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ที่ริเริ่มการทำ EM ball เพื่อใช้บำบัดน้ำเสีย น้ำเน่าในแหล่งพักอาศัย ชุมชนที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งคงไม่สามารถยกตัวอย่างได้ครบทุกคน แต่ผู้เขียนขอกราบขอบคุณแทนประชาชนชาวไทยที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วย เพราะสิ่งที่ท่านทำเป็นสิ่งที่ทำเพื่อสังคม ไม่มิสิ่งตอบแทนใดๆ และเป็นการทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง มากเสียยิ่งกว่านักการเมืองหรือรัฐบาลพึงจะกระทำเสียอีก

สรุปผลงานของ ศปภ.และหน่วยงานของรัฐบาลและข้าราชการประจำของประเทศไทยก็คือ 1. ไม่ได้ให้ข้อมูลความเป็นจริงแก่ประชาชน หรือให้ก็ให้ไม่ครบถ้วน ไม่ทันต่อสถานการณ์ที่ควรจะเป็น 2. ไม่มีการเตือนภัยล่วงหน้า มีแต่การบอกกล่าวเรื่องการอพยพ ภายหลังน้ำท่วมแล้ว 3. ไม่มีแผนรองรับในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็น แผนการอพยพผู้คนไปยังศูนย์พักพิงต่างๆ อย่างเพียงพอ หรือสะดวก บางครั้งต้องย้ายศูนย์พักพิงอีกเป็นครั้งที่ 2 , ไม่มีแผนการจัดการน้ำว่าน้ำที่ทะลักมาทางเหนือจะมีแผนสกัดกั้นหรือปล่อยน้ำให้ไหลไปลง ณ จุดใด หรือผันน้ำไปทางใดบ้าง เพิ่งจะมาสรุปกันภายหลังที่น้ำท่วมทะลักเข้ากรุงเทพฯ มาเป็นจำนวนมากแล้ว 4, ไม่มีการควบคุมกลไก หรือเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างจริงจัง อาทิ มีกลุ่มชาวบ้านมาพังคันกั้นน้ำ มาทำลายประตูกั้นน้ำ มาทำลายแนวกระสอบทราย ก็ยอมปล่อยให้ทำ โดยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่าง ตำรวจ ก็ไม่มาควบคุมดูแล ปล่อยให้เกิดการพังทำลาย ด่านสกัดน้ำในหลายจุด จนเกิดความเสียหายให้น้ำเข้ากรุงมามากขึ้น จนนายกรัฐมนตรีต้องมีคำสั่ง หรือออกเป็น พรก.ฉุกเฉิน จึงบังคับใช้กฎหมายได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดที่ไม่มีประเทศไหนทำกัน เพราะเจ้าหน้าทีของรัฐมีอำนาจที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองอยู่แล้ว

-การที่ รมต.พลังงาน และ รมต.พาณิชย์ออกมาประสานเสียงพร้อมกันว่าจะมีแผนฟื้นฟูประเทศภายหลังน้ำลด หรือพ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมปีนี้แล้ว จะมีการขอกู้เงินมาลงทุนในสาธารณูปโภค และระบบการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน และต้องใช้เงินงบประมาณเป็น 100,000 ล้านในการฟื้นฟูเยียวยา ภายหลังน้ำลด แต่ที่ไม่ลดก็คือนโยบายหาเสียงประชานิยมไว้เดิม จะไม่มีการยกเลิก หรือลดเงื่อนไขลง และจะเดินหน้าต่อในทุกนโยบาย ซึ่งก็ขัดแย้งกับความคิดเห็นของทุกภาคส่วน หรือกระแสคนส่วนใหญ่ที่อยากให้มีการลด หรือเลิกนโยบายประชานิยมบางอันออกไปเลย เพื่อจะได้มีงบประมาณส่วนที่เหลือจากการนี้มาใช้ในการฟื้นฟูเยียวยา โดยที่ไม่ต้องไปเดือดร้อนกู้เงินให้เป็นหนี้สาธารณะแก่ประเทศมากขึ้น แต่รัฐบาลโดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกลับพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า จะเดินหน้าต่อในนโยบายที่เคยหาเสียงเอาไว้ อีกทั้ง รมต.พลังงาน นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ได้ออกมาเปรยอภิมหาโปรเจคท์ว่า จะมีโครงการที่เรียกว่า New Thailand ที่จะต้องใช้เงินทุนมหาศาลเกือบ 8 แสนล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนหลายอย่าง เพื่อสร้างชาติขึ้นมาใหม่ ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้ ก็ในเมื่อรัฐบาลนี้สอบตกในเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแล้ว ยังมีหน้าหรือเครดิตอะไรอีกที่จะมาบริหารเงินอีก 8 แสนล้านบาทนี้ และเป็นเงินที่จะต้องกู้มาด้วย ซึ่งไม่รู้ว่าจะมาทำอีลุ่ยฉุยแฉกอย่างไรอีก ซึ่งก็ไม่พ้นกลิ่นตุๆ ของการคอรัปชั่น เงินงบประมาณจำนวนมหาศาลนี้อีก ซึ่งก็จะเป็นการซ้ำเติมทำร้ายประเทศให้หนักมากขึ้น และแทนที่จะเป็น New Thailand แต่อาจะเป็น New Greece เสียมากกว่า เห็นด้วยกับคุณโสภณ องค์การณ์ ที่พูดในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ว่า เราคนไทยไม่ได้ต้องการ New Thailand แต่อย่างใด เพราะเราไม่เชื่อในน้ำยาของพวกคุณหรอก เราต้องการ New Government มากกว่า และต้องเป็น Good Governant ด้วย การที่เด็กนักศึกษาเฟรชชี่คนหนึ่งสอบได้สอบติดเข้าเรียนได้ในมหาวิทยาลัยปิดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง แต่แล้วเมื่อผลการเรียน การสอบปรากฏว่าสอบตก ติด F ทุกวิชา เช่นนี้แล้ว สิ่งที่เขาควรจะได้รับก็คือ ถูกรีไทร์ออกจากมหาวิทยาลัย ใช่หรือไม่ ไม่ใช่การขอเรียนซ้ำชั้น เสมือนมหาวิทยาลัยเปิด ซึ่งเป็นการผิดกฎมหาวิทยาลัย และก็ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ เปรียบเสมือนรัฐบาลที่แม้จะผ่านการเลือกตั้งมาได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้ว แต่ทำงานไม่เข้าท่า สอบตกในทุกกรณี ทุกเรื่องเช่นนี้ ทางเดียวที่คุณควรพิจารณาตัวคุณเองก็คือ ขอลาออกไป หรือไม่ก็ฮาราคีรี ตัวเอง ไปผูกคอตายซะ ไม่ใช่มาขอที่จะบริหารเงินอีก 8 แสนล้านบาท การทำเช่นนี้ก็เหมือนการตบหัวและกระทืบซ้ำประชาชนตาดำๆ ที่ได้รับความทุกข์จากการบริหารงานของพวกคุณอย่างสุดจะสรรหาคำมาสบถได้แล้ว ผมคิดว่าคนอย่างคุณพิชัย นริพทะพันธุ์ ไม่น่าจะเหมาะมาเป็น รมต.พลังงาน แต่แกควรจะไปเป็นอาเจ๊ก อาแป๊ะขายเต้าหู้ยี้ทอด เสียมากกว่า เพราะสิ่งที่แกพูดโปรเจ็คท์อะไรออกมาแต่ละครั้ง มันสะท้อนความหายนะของประเทศเสียทุกครั้งไป ตั้งแต่ เรื่องกองทุนความมั่งคั่งแล้ว การไม่เก็บเงินกองทุนทดแทนน้ำมัน ซึ่งเข้าใจว่าแกเป็นนายหน้าตัวแทนของคุณทักษิณ สิ่งที่แกพูดก็สะท้อนความคิดออกมาจากคุณทักษิณนั่นแหละ แต่อย่าลืมว่านี่คือประเทศไทย ไม่ใช่ชินคอร์ป เงินก็เงินภาษีของประชาชนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่กองมรดกของตระกูลชินวัตร ถ้าเก่งจริงอยากบริหารเงินจริง ก็ลองเอาเงินกองมรดกทรัพย์สินของตระกูลชินวัตรไปบริหารดูก่อนสิ ว่ามันจะมั่งคั่งจริงอย่างที่พูดหรือเปล่าเผลอๆ คุณทักษิณเองยังไม่อยากไว้ใจให้บริหารเงินแกเลย ส่วนเงินที่จะเอามาทำ New Thailand ก็ลองเอาเงินของคุณทักษิณ ไปสร้าง Shin City ดูก่อน แล้วเกณฑ์พลเมืองพวกเสื้อแดงไปอยู่ด้วยกัน บริหารจัดเก็บภาษีไอ้พวกนี้ดูว่ามันจะไปรอดมั๊ยก่อนค่อยมาบริหารประเทศไทยนะ แล้วถ้าฝนตกขี้หมูไหล แล้วสนุกสนานกันไปแล้วไปรอด ค่อยเอาโมเดลนี้มาบอกคนไทยว่าอยากจะมาบริหารให้ นะค่อยมาพุดคุยกันทีหลังนะ เสี่ยพิชัย เพราะเห็นหน้าแกทีไรแล้วอยากจะอาเจียนทุกทีเลยอ่ะ




ถ้าเปรียบประเทศไทยนี้ เป็น CPU หรือ Hardware แล้วหล่ะก็ นักการเมืองหรือรัฐบาลแทบจะทุกยุคสมัยก็คือไวรัสต่างสายพันธุ์กันเลยทีเดียว บางตัวก็ร้ายมาก ทำลายซะเครื่องพังกู้คืนยาก หรือกู้กลับไม่ได้ ต้องยกเครื่องใหม่ ลงโปรแกรมใหม่ บางตัวก็สามารถฆ่าทำลายได้ โดยไม่เสียหายมากนัก ในส่วนของเหตุการณ์ต่างๆ เช่น สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ การชุมนุมเผาบ้านเผาเมือง การชุมนุมประท้วงปิดสนามบิน ก็เปรียบเสมือนซอฟท์แวร์ภายในเครื่องที่มันเป็นเรื่องปกติที่สามารถอยู่ในเครื่อง CPU ที่ชื่อประเทศไทยได้ เพียงแต่ต้องพยายามไม่ให้ไวรัสเข้าไปแทรกซ้อน หรือทำลายได้ หรือซอฟท์แวร์บางตัวอาจเป็นพาหะของไวรัสร้ายนั้นเสียเอง อาจเกิดจากการใช้ซอฟท์แวร์ผิดกฎหมาย หรือซอฟท์แวร์แปลกปลอมที่นำมาลงในเครื่องโดยไม่ได้ผ่านการสแกน หรือตรวจสอบก่อน ประเทศไทยเราควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้บ้าง ที่ผ่านมาเราไม่เคยมี หรือปล่อยไปตามยถากรรม เสร็จจากภารกิจกู้ภัยน้ำท่วมใหญ่หนนี้แล้ว เรายังต้องผจญอยู่กับรัฐบาลจั๊ดง่าวนี้อยู่อีกต่อไปหรือนี่ สิ่งที่เป็นทางออกของประเทศไทยก็คือ shutdown เครื่องเสียใหม่ เพื่อ clean up ประเทศขึ้นมาใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปท์ New Siam ไม่ใช่ New Thailand และก็จัดการลงโปรแกรมปฏิบัติการดีๆ เสียใหม่ เลือกโปรแกรมดีๆ ใส่เข้ามาในเครื่อง ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสร้ายเหล่านั้น เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันภัยให้กับประเทศ เพราะเราไมอยากเผชิญกับความหายนะของประเทศครั้งแล้วครั้งเล่าอีกแล้ว ลำพังการต่อสู้กับภัยธรรมชาติก็หนักเกินพอแล้ว ยังต้องมาสู้รบปรบมือกับคนในประเทศเองอีกย่อมทำให้บ่อนทอนพละกำลังที่จะไปสู้กับภัยธรรมชาติ ซึ่งก็ไม่มีทางสู้ชนะอยู่แล้ว ดังนั้นทางที่ดีก็คือการได้ผู้บริหารประเทศที่จะมาเป็นผู้คุมหางเสือประเทศให้กับประชาชน และมองไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกับประชาชนย่อมดีกว่า เรียกความเชื่อมั่น ศรัทธา พละกำลัง และความสามัคคีได้เป็นเท่าทวีคูณ ไม่มีทางที่ประเทศจะเสียหาย ถอยหลังเข้าคลองอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้อย่างแน่นอน สุดท้ายอยากจะนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้คำแนะนำแก่เหล่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในวโรกาสเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาจัดการน้ำ มาประชุม เมื่อปี 2538 เป็นคลิปที่ถูกนำมาเผยแพร่ในช่วงนี้ ฉายให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของพระองค์ ทรงมีวิสัยทัศน์ และยังเป็นพระราชดำรัสที่ทันสมัยใช้ได้กับเหตุการณ์ปัจจุบันเสียด้วย นำมาให้รับชมกันอีกครั้ง เพื่อจะทำให้คนไทยตาสว่างกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เสียที ในตอนท้ายของบทความนี้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น