วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

นักเขียน Best Seller ผู้เป็นแรงบันดาลใจแห่งยุค 2


การค้นหานักเขียนผู้เป็นแรงบันดาลใจคงจะไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ คงจะมีอีกในโอกาสต่อไป โดยเฉพาะบรรดานักเขียนที่เป็นไอค่อนของคนยุคก่อน และมีงานเขียนขึ้นหิ้งทั้งหลาย แต่ในตอนนี้เราคงจะขอแนะนำนักเขียนอีก 5 ท่านที่เป็นนักเขียนในระดับ best seller ซึ่งยังมีงานเขียนอยู่ในยุคปัจจุบันมานำเสนอก่อน เหตุเพราะว่างานเขียนของท่านเหล่านี้ยังมีให้เห็นในแผงหนังสือปัจจุบัน เหมาะแก่การซื้อหามาอ่านสำหรับท่านที่เป็นนักอ่านมือใหม่ หรือกำลังจะเริ่มมองหางานเขียนจากนักเขียนดีๆ เก่งๆ และมีเนื้อหาน่าสนใจ และเราได้เลือกมา 5 ท่านนี้ ซึ่งแต่ละท่านมีความถนัดในงานเขียนคนละแบบกัน แต่ก็มีจุดเด่นและเป็นสุดยอดในแต่ละด้านมาแนะนำกัน หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้นำไปพิจารณาหาอ่านได้ไม่ยาก ส่วนงานเขียนของนักเขียนรุ่นเก่าจะได้กล่าวถึงและแนะนำในโอกาสต่อไป 



วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ (หรือชื่อเล่น โหน่ง อะเดย์) เกิดที่ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร จบการศึกษา จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง นิตยสารอะเดย์ (A Day) ร่วมกับ นิติพัฒน์ สุขสวย และ ภาสกร ประมูลวงศ์ ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอำนวยการ นิตยสารอะเดย์ นิตยสาร Hamburger นิตยสาร Knock Knock และบรรณาธิการที่ปรึกษาสำนักพิมพ์ อะบุ๊ค

ประวัติการทำงาน
  • กองบรรณาธิการ นิตยสาร Hi-Class (2533-2534)
  • กองบรรณาธิการ นิตยสาร Life & Decor (2534-2537)
  • บรรณาธิการบทความ นิตยสาร GM (2537-2538)
  • บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Trendy Man (2538-2541)
  • รองบรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Image (2541-2542)
  • บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร a day (2543-2545)
  • บรรณาธิการที่ปรึกษา นิตยสาร a day , HAMBURGER , KNOCKKNOCK! , a book (2545-ปัจจุบัน)
  • บรรณาธิการอำนวยการ a day BULLETIN (2551-ปัจจุบัน)
ผลงานเขียน
  • เรื่องเล็ก (2543)
  • The Story of The Modern Rebel (2546)
  • The Bear Wish Project (นามปากกา เดปป์ นนทเขตคาม) (2547)
  • หญิงสาวนักขายขนมปัง (2547)
  • มากกว่านั้น (2548)
  • Wake Up ! (ร่วมกับ วชิรา รุธิรกนก และ ทรงกลด บางยี่ขัน) (2550)
  • Question Mark (บทสัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) (2550)
  • TRY (2552)

สฤณี อาชวานันทกุล (ชื่อเล่น:ยุ้ย) ผู้ใช้นามปากกาว่า คนชายขอบเป็น นักวิชาการอิสระ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัย นักการเงิน และนักเขียนที่มีความสนใจรอบด้านทั้ง การเงิน(โดยเฉพาะระบบการเงินท้องถิ่น) ตลาดทุน เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วรรณกรรม กลอนและบทกวี เกมส์  คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ ศาสนา การศึกษา ภาพยนตร์ ดนตรี สื่อ และ การเดินทางท่องเที่ยว
คุณสฤณีจบการศึกษาปริญญาตรีทางด้านเศรษฐศาสตร์และปริญญาโททางด้านการบริหารธุรกิจจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมือสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่อยู่ในสายการเงินและการธนาคารเป็นหลัก ตำแหน่งงานประจำสุดท้ายที่ได้รับคือกรรมการบริหารบริษัทวาณิชธนกิจแห่งหนึ่งก่อนที่จะลาออกมาเป็นนักเขียนอิสระ
คุณสฤณีชอบการเขียนมาตั้งแต่เด็ก เคยเขียนบทความลงนิตยสารสตรีสารระดับเยาวชน เรียงความสั้น รวมถึงการเขียนกลอนแปดเพื่อลงในมติชนสุดสัปดาห์ ในช่วงเดือนสิงหาคมปี 2548 คุณสฤณีเริ่มก็เขียนบล็อกของตัวเองในเว็บไซด์ fringer.org   เนื่องด้วยคุณสฤณีมีฐานความรู้และประสบการณ์จากการที่อยู่ในแวดวงการเงินมาพอสมควร รวมถึงเป็นเรื่องที่เธอเองให้ความสนใจ เรืองที่เธอเขียนจึงมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเงินและเศรษฐศาสตร์อยู่มาก คุณสฤณีใช้นามปากกว่าว่า คนชายขอบ” (fringer) เซึ่งเธอให้เหตุผลว่า คนชายขอบหมายถึงคนที่อยู่ชายขอบและไม่ได้ถูกครอบครองหรือเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่หนึ่งที่ใด และคำนี้น่าจะเป็นคำที่อธิบายความเป็นตัวตนและความรู้สึกของเธอได้ดีที่สุด  การเขียนบล็อกใน fringer.org ของคุณสฤณีได้นำไปสู่การเป็นคอลัมนิสต์ประจำ ในช่วงปลายเดีอนกันยายนปี 2548 คุณสฤณีได้ถูกชักชวนโดยคุณปิ่น ปรเมศวร์ ให้มาเขียนคอลัมน์ลงใน โอเพ่นออนไลน์   นอกจากนี้คุณสฤณียังเป็นคอลัมนิสต์ประจำให้กับสื่ออีกหลายสำนัก
ปัจจุบันเธอเป็นบรรณาธิการเว็บไซต์ โอเพ่นโดยรับช่วงต่อจาก คุณ ปกป้อง จันวิทย์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552

การทำงาน

ปัจจุบัน: นักวิชาการอิสระ อาจารย์พิเศษ นักเขียนอิสระ
Executive Director: Hunters Advisory Ltd. มกราคม 2550 – กุมภาพันธ์ 2551
Assistant Vice President : SCB Securities มกราคม 2546 – กุมภาพันธ์ 2549
Associate: Deutsche Bank Group ตุลาคม 2543 – ตุลาคม 2545
Lending Officer: The Siam Commercial Bank สิงหาคม 2539 – สิงหาคม 2541

การศึกษา

University (postgraduate)   Finance: NYU Stern MBA
University                        Economics: Harvard University ’96
Secondary school              Phillips Exeter Academy ’92
ผลงานเขียนและแปลทั้งหมด 24 เล่ม มีดังนี้

ผลงานเขียนภายใต้สำนักพิมพ์ชายขอบ

ไทยแลนด์แดนสวรรค์
นิราศยุโรป

ผลงานเขียนภายใต้สำนักพิมพ์ openbooks

To think well is good, to think right is better
ตกน้ำไม่ไหล
ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์: The World is Flat
ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย
นอมินี
คน(ไม่)สำคัญ
วิชาสุดท้าย(ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน)
ทุนนิยมที่มีหัวใจ: ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา
วิชาสุดท้าย(ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน) เล่ม 2
U.S.CRISIS (ร่วมกับ กอบศักดิ์ ภูตระกูลและ ปกป้อง จันวิทย์)
วิชาห้าสิบเล่มเกวียน
ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์ 2: Hot, Round & Crowded
Macrotrends: ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกใหม่และการปรับตัวของไทย (ร่วมกับ เอื้อมพร พิชัยสนิธ และ ปกป้อง จันวิทย์)
เงินเดินดิน
เศรษฐกิจทางเลือก: ว่าด้วยเศรษฐกิจความสุข เศรษฐกิจอิสลาม และนโยบายประชานิยม

  ทุนนิยมสร้างสรรค์ Creative Capitalism


ผลงานเขียนภายใต้สำนักพิมพ์มติชน

1. นายธนาคารเพื่อคนจน (แปลจาก Banker to the Poor โดย Muhummad Yunus)


2. ความมั่งคั่งปฏิวัติ (แปลจาก The Revolutionary Wealth โดย Alvin Toffler และ Heidi Toffler)


3. เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต (แปลจาก The Logic of Life โดย Tim Harford)


4. พลังของคนหัวรั้น (แปลจาก The Power of Unreasonable People โดย John Elkington และ Pamela Hartigan)


5. เศรษฐกิจติดขัด (แปลจาก The Gridlock Economy โดย Michael Heller)


ผลงานเขียนภายใต้สำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัด


ภูฏาน A Sketch book
Fringer the Blogger

ผลงานด้านอื่นๆ

ผลงานด้านอื่นๆ ของคุณสฤณีเช่น ผลงานที่เกี่ยวกับเกมส์คอมพิวเตอร์ ที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล คือ เว็บไซต์ Home of the Underdogs ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมเกมเก่าที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก และไม่ถูกจำหน่ายแล้ว (abandonware) ไว้ให้ผู้ใช้สมัยใหม่ดาวน์โหลดไปเล่น เว็บไซต์นี้เปิดให้บริการในปี 2541และกลายเป็นเว็บไซต์ดาวน์โหลดเกมเก่าที่เป็นที่นิยมสูงสุดแห่งหนึ่ง ก่อนจะปิดตัวลงไปในปี 2552 โดยมีผู้อื่นมาสืบทอดเจตนาต่อไป (หนึ่งในตัวอย่างคำขอบคุณจากผลงาน) งานเขียนเกี่ยวกับเกมส์ในเว็บไซด์ของ fuse นอกจากนี้เธอยังหนึ่งในทีมที่บุกเบิกเรื่อง creative commonในประเทศไทย


คุณสฤณีเป็นคอลัมนิสต์ให้กับสื่อหลายสำนัก ได้แก่
   คอลัมน์ คนชายขอบเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์
คอลัมน์ คน (ไม่) สำคัญนิตยสารสารคดี
คอลัมน์ ทุนนิยมที่มีหัวใจมติชนสุดสัปดาห์
คอลัมน์ รู้ทันตลาดทุนหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ การเงินปฏิวัติล่องคลื่นโลกาภิวัตน์ ?? หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ “Serious Game” นิตยสารฟิ้ว
คอลัมน์ เศรษฐศาสตร์กู้โลกเว็บไซต์โลกสีเขียว
คอลัมน์ “make a difference” นิตยสาร Women & Home
เว็บไซต์ส่วนตัว


วิกรม กรมดิษฐ์ 

นักธุรกิจและนักเขียนชาวไทย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร (CEO) 

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งในประเทศไทย ปัจจุบันได้ผันตัวเองมาเป็นนักเขียนและใช้ชีวิตอย่างสงบที่ แพวิเวก เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ วิกรม กรมดิษฐ์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2496 เวลา 24.00 น. ที่ จังหวัดกาญจนบุรี บรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแคะหรือ ฮากก้า ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนท่าเรือเมื่อ 150 กว่าปีมาแล้ว นอกจากนี้เขายังมีเชื้อสายมอญจากยาย เขาเป็นบุตรชายคนโตของตระกูล มีน้องมารดาเดียวกันและต่างมารดา 23 คน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มีความสนใจการค้าตั้งแต่ยังเล็ก โดยรับช่วงต่อกิจการร้านถั่วคั่วจากป้า ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนเมื่อเรียนจบปริญญาตรีกลับมาเปิดบริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก เมื่อปี พ.ศ. 2518 ต่อมาหันมาบุกเบิกธุรกิจด้านนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งของประเทศไทยและ 2 แห่งในประเทศเวียดนาม ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนกว่า 5 แสนล้านบาท การจ้างงานกว่า 170,000 คน มีโรงงานกว่า 700 โรง

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ ตลอดจนสนใจงานด้านการเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตเป็นแบบอย่างที่เป็นประโยชน์ ต่ออนุชนรุ่นหลังๆต่อไป

ผลงานเขียน

ผมจะเป็นคนดี โดยมี ประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 100,000 เล่ม และเป็นหนังสือที่ขายดีมากที่สุดเล่มหนึ่ง โดยได้เล่าประวัติของตัวเอง

มองโลกแบบวิกรม โดยมี วิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง

มองซีอีโอโลก โดยมี วิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 100,000 เล่ม และเป็นหนังสือที่ขายดีมากที่สุดเล่มหนึ่ง โดยได้เล่าประวัติของซีอีโอชื่อดังของโลก

มองซีอีโอโลก ภาค 2 โดยมี วิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง เปิดตัวหนังสือวันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2551 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และจะมีการเสวนาในหัวข้อ เยาวชนไทย ก้าวไกลสู่ซีอีโอโลก
มองซีอีโอโลก ภาค 3

มองซีอีโอโลก ภาค 4

มองซีอีโอโลก ภาค 5

มองซีอีโอโลก ภาค 6


การศึกษา :

- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ไต้หวัน
- บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประสบการณ์ระหว่างเป็นนักศึกษา

1971 : ได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี จากรัฐบาลไต้หวัน
1973 : ได้รับรางวัลในฐานะนักเรียนนานาชาติยอดเยี่ยม ในการกล่าวสุนทรพจน์
1973 : ประธานและผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่านักเรียนไทยในไต้หวัน

ประสบการณ์ในอดีต

1975-1994 : กรรมการผู้จัดการบริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น (มหาชน)
1989-1994 : ประธานบริษัท กรมดิษฐ์ โฮลดิ้ง
1992-1997 : รองประธาน บี ไอ พี แอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)

ตำแหน่งทางสังคมปัจจุบัน

- รองประธานสภาธุรกิจไทย – จีน
- เหรัญญิก ของสมาคมไทย – ญี่ปุ่น
- รองประธานสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยไต้หวัน
- สมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- สมาชิกสมาคมการสื่อสารแห่งประเทศไทย
- สมาชิกสมาคมสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย

ตำแหน่งทางสังคมในอดีต

1990-1992 : เลขานุการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย
1992-1995 : รองประธานสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย
1992-1994 : กรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
1992-1993 : ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1993-1994 : ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
1994-1996 : ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ประธานสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย
1998-2002 : ประธานคณะกรรมการไทย – ไต้หวัน สภาอุตสาหกรรม

รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ 
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งใน คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาเศรษฐศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ภายหลังจากพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2551 ได้ทำงานอิสระ และกลับเข้ามารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553


ประวัติ

เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2490 ที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนราชินี มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนมัธยมสาธิตปทุมวัน (ปัจจุบันคือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน) เมื่อปี พ.ศ. 2505 มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2507 และจาก Leederville Technical School, Perth ประเทศออสเตรเลียเมื่อปี พ.ศ. 2508 เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปีเดียวกัน ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ทางด้านเศรษฐศาสตร์จาก The University of Western Australia ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2513 ปริญญาโทและปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2524 และยังได้รับปริญญาบัตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 37 เมื่อปี พ.ศ. 2537 ด้วย


การทำงาน

ตำแหน่งทางวิชาการเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน งานทางด้านเอกชน เคยเป็นผู้อำนวยการอาวุโสบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึง ปี พ.ศ. 2540 ทางด้านการเมือง เคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึงปี พ.ศ. 2544 รวมทั้งยังเคยเป็นที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการรองนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ถึงปีพ.ศ. 2529 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2550 อีกด้วย


งานเขียน

รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จากการเป็นนักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่วิพากษ์วิจารณ์และให้ความเห็นในประเด็นเศรษฐกิจที่กระทบต่อสังคมตามสื่อและโอกาสต่าง ๆ โดยมีผลงานเขียนประจำที่ น.ส.พ.มติชน โดยใช้นามปากกาว่า " วีรกร ตรีเศศ " และนิตยสาร เช่น เปรียว แพรว โลกสีเขียว เป็นต้น รวมทั้งยังมีผลงานเป็นหนังสือออกมากมาย เช่น “ DIFFERENT ” " BEST " " FIRST " ในปี พ.ศ. 2547 " โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี " 5 ภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2547" NICE " ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้น

ชาติ กอบจิตติ


ประวัติย่อ   ชาติ กอบจิตติ เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2497 ที่บ้านริมคลองหมาหอน ตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวนพี่น้องผู้หญิง 5 คน และผู้ชาย 4คน รวมเก้าคน ชื่อเดิมคือสุชาติ แต่เขาเห็นว่าคนใช้ชื่อนี้กันมาก จึงเปลี่ยนมาเป็น "ชาติ" พ่อของเขาเป็นพ่อค้าขายเกลือเม็ด ส่วนแม่ขายของเล็กๆน้อยๆ ต่อมาพ่อก็ไปค้าทราย และขายของชำ

เขาเริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดใหญ่ บ้านปอ แล้วย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเอกชัยในจังหวัดเดียวกัน เพราะไปอยู่กับยายชั่วคราว เมื่อพ่อไปค้าทรายที่ราชบุรี เขามาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 ที่โรงเรียนปทุมคงคาเมื่อ พ.ศ.2509 โดยอาศัยอยู่กับพระซึ่งเป็นเพื่อนของอาที่วัดตะพาน หรือวัดทัศนารุณ มักกะสัน พอเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปี่สามแล้วก็เรียนต่อเพาะช่าง ในสาขาภาพพิมพ์

เนื่องจากเป็นคนชอบวาดรูป ชอบเขียนหนังสือ ฝันใฝ่ที่จะเป็นนักประพันธ์ เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ เรื่อง "นักเรียนนักเลง" เขียนลงในหนังสืออนุสรณ์ปทุมคงคา 2512 ได้มีโอกาสเขียนบทละครแสดงที่เพาะช่างมากกว่าสิบเรื่องบางเรื่องได้แสดงเองด้วย ตอนที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 เคยสมัครไปทำงานเปิดบาร์อะโกโก้ ที่ถนนพัฒน์พงษ์ เพื่อหางานเรียน พ.ศ. 2515 ช่วงเรียนชั้นปีที่ 3 ศิริพงษ์ อยู่ชวนไปทำอาร์ตเวิร์คหนังสือ “เสนาสาร” ยุคดารา อยู่ระยะหนึ่งและได้เขียนวิจารณ์โทรทัศน์

เขาแต่งงานเมื่อ พ.ศ.2520 กับเพื่อนสาวที่เรียนจบเพาะช่างมาด้วยกัน ชื่อ รุจิรา เตชะศีลพิทักษ์ ซึ่งรับราชการอยู่กองโบราณคดี แผนกซ่อมจิตรกรรมฝาผนัง กรมศิลปากร แล้วลาออก ซึ่งต่อมาได้ช่วยกันทำกระเป๋าไปฝากขายตามห้าง ซึ่งมีรายได้ดี เคยได้รวมงานกับรุ่นน้องที่เพาะช่างทำสำนักพิมพ์ “สายธาร” พิมพ์หนังสือออกมาหลายเล่ม วันหนึ่งได้นำเรื่องสั้นชื่อว่า “ผู้แพ้” มาให้เรืองเดช อ่านซึ่งตอนนั้นเรืองเดชได้รวมงานกันอยู่ เรืองเดชได้อ่านแล้วเห็นว่าเรื่องนี้ดีเลยส่งไปให้สุชาติสวัสดิ์ศรีที่กำลังทำ “โลกหนังสือ” อยู่ในขณะนั้นพิจารณา ปรากฏว่าเรื่องสั้น ของชาติ กอบจิตติ ได้ลงพิมพ์ในโลกหนังสือฉบับเรื่องสั้นชุด “คลื่นหัวเดิ่ง” เมื่อพ.ศ.2522 และเป็นหนึ่งในสองเรื่องที่ได้รับรางวัล “ช่อการะเกด” ของสุชาติ สวัสดิ์ศรี ซึ่งถือกันว่าเป็นรางวัลที่ได้มาตรฐานมากที่สุดรางวัลหนึ่งและเรื่องเดี่ยวกันนี้ ยังได้รางวัลชมเชยจากการคัดเลือกเรื่องสั้นดีเด่นประจำปี 2522 ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

ระหว่างพ.ศ. 2532 – 2535 ได้เดินทางไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ได้มีผลงานออกมาจากการเขียนเรื่องสั้นบันทึกชีวิตที่นั้นบางเรื่อง จนพ.ศ. 2536 ก็จัดพิมพ์นวนิยายเรื่อง “เวลา” โดยสำนักพิมพ์ “หอน” ของตัวเอง ปรากฏว่าได้รับรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2537 นับเป็นนักเขียนคนแรกที่ได้รับรางวัลซีไรต์ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 และเรื่องเดียวกันนี้ได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติและกระทรวงศึกษาธิการประจำปี 2537

ปัจจุบัน เขาทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน จึงใช้ชีวิตอยู่เงียบๆที่ไร่ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาเขาทำงานด้านการเขียนเพียงอย่างเดียว นอกจากเรื่องสั้นและนวนิยายแล้ว ในระยะหลังยังเขียนบทความและบทภาพยนตร์เพิ่มขึ้น

ผลงานเขียน

- เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ เรื่อง "นักเรียนนักเลง" เขียนลงในหนังสืออนุสรณ์ปทุมคงคา2512

ผลงานรวมเล่ม

- ทางชนะ : 2522 เรื่องสั้นกึ่งนิยาย

- จนตรอก : 2523 นวนิยายขนาดสั้น

- คำพิพากษา : 2524 (รางวัลซีไรต์) นวนิยาย

- เรื่องธรรมดา : 2526 เรื่องสั้นขนาดยาว

- มีดประจำตัว : 2527 รวมเรื่องสั้นชุดที่ 1

- หมาเน่าลอยน้ำ พ.ศ. 2530 นวนิยายขนาดสั้น

- พันธุ์หมาบ้า : 2531 นวนิยายขนาดยาว

- นครไม่เป็นไร : 2532 รวมเรื่องสั้นชุดที่ 2

- เวลา : 2536 (รางวัลซีไรต์) นวนิยาย

- บันทึก : บันทึกเรื่องราวไร้สาระของชีวิต : 2539 ความเรียง-บันทึก

- รายงานถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตี : 2539 เรื่องสั้นขนาดยาว

- เปลญวนใต้ต้นนุ่น : 2546 รวมบทความของ ชาติ จากนิตยสารสีสัน 2542-2546

- ลมหลง : 2543 บทภาพยนตร์

- บริการรับนวดหน้า : 2548 รวมเรื่องสั้นชุดที่ 3

งานที่ได้รับรางวัล

- เรื่องสั้นเรื่อง ผู้แพ้ ได้รับรางวัล ช่อการะเกด และรางวัลชมเชยจากการคัดเลือกเรื่องสั้นดีเด่นประจำปี 2522จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

- คำพิพากษา : 2524 (รางวัลซีไรต์) นวนิยาย พิมพ์เผยแพร่มากกว่า20 ครั้ง

- นวนิยายเรื่อง เวลา พ.ศ. 2536 ได้รับรางวัลซีไรท์ เป็นครั้งที่ 2 ปี 2537 และได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2537

ปัจจุบัน ชาติ กอบจิตติ กับภรรยาซึ่งไม่มีบุตรด้วยกัน ไปใช้ชีวิตเงียบๆ อยู่ในไร่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และทำงานประพันธ์เป็นอาชีพเพียงอย่างเดียวนอกจากเรื่องสั้นและนวนิยายแล้ว ในระยะหลังยังเขียนบทความและบทภาพยนตร์เพิ่มขึ้นด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น