วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตุ๊กตาไล่ฝน กะอิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา เกี่ยวอะไรกับน้ำท่วมที่เมืองไทย




ตู๊กตาไล่ฝน กะอิคคิวซัง (เณรน้อยเจ้าปัญญา) ไปเกี่ยวอะไรกับน้ำท่วมที่เมืองไทยตอนนี้ หน่ะเหรอ  จริงๆ จะว่าไม่เกี่ยวก็ได้ หรือเกี่ยวก็ได้ เพราะขณะที่กำลังนั่งดูการ์ตูนอิคคิวซังทางช่อง 3 อยู่ ก็มีข่าวน้ำท่วมหนักเลยที่หาดใหญ่ ภายหลังน้ำท่วมหนักที่โคราชและอยุธยา ผมว่าคนไทยถ้ามันไมมีปัญญาแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ก็ให้เอาตุ๊กตาไล่ฝนมาติดตามบ้านก็เก๋ไปอีกแบบ มันเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ภูมิปัญญาของคนญี่ปุ่นจริงๆ ก็คือสมองของคนนี่แหละ เวลาเขามีปัญหาในบ้านในเมืองของเขา เขาจะใช้สติ หรือสมองแก้ปัญหา ไม่ใช่ใช้อารมณ์แบบบ้านเรา เอะอ่ะ มีปัญหาอะไรก็ฟูมฟายไว้ก่อน เรียกร้องความเห็นใจไว้ก่อน (อันนี้ผมไม่ได้หมายถึงกรณีน้ำท่วมบ้านเรานะ เพราะอันนี้เป็นเหตุสุดวิสัย น่าเห็นใจเป็นที่สุด) อันนี้หมายถึงกรณีเรื่องทั่วไปที่เป็นปัญหาในบ้านเราเรื่องอื่นๆ  แต่หลักก็คือเมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา ต้องตั้งสติก่อน แล้วค่อยคิดพิจารณาลำดับความสำคัญ อะไรจะทำก่อน หรือต้องตัดสินใจทำก่อนเป็นอันดับแรก และรองลงไป การตั้งสติและใช้ปัญญาจึงจะแก้ปัญหาได้ แม้ว่าบางเรื่องบางอย่าง แม้ใช้สติและปัญญาแล้วก็แก้ปัญหาเองไม่ได้ ต้องใช้คนอื่นมาช่วย ก็จะได้รู้ว่าจะให้คนอื่นมาช่วยได้อย่างไร แล้วเราได้เตรียมตัวขั้นต้นไว้พร้อมแล้วหรือยัง ตัวอย่างของอิคคิวซัง คือเณรน้อยเจ้าปัญญาที่มีสติและใช้ปัญญาอยู่เสมอ สมองถ้าไม่ค่อยได้ใช้มันจะกลวง เหมือนมีดที่ไม่ค่อยได้ลับ ก็จะทื่อ ทำให้อิคคิวซังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่ง จนเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้เสมอ เป็นการ์ตูนที่แฝงปรัชญา ความรู้ มีเนื้อหาสาระทีดีมาก จัดได้ว่าเป็นการ์ตูนอมตะนิรันดร์กาลที่ผู้เขียนประทับใจมากอีกเรื่องนึง ตอนนี้ไม่อยากฟังเพลงน้ำเอยน้ำใจ หรือ น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง อะไรเทือกนั้นแล้ว เบื่อ อยากฟังเพลงตอนจบของการ์ตูนอิคคิวซังมากกว่า ลองดูเนื้อหาคำแปลของเพลงนั้นดูสิ แฝงแนวคิด ปรัชญา ความเชื่อ ความหวังของชีวิตคนได้ดีเพียงใด  ฟังทุกทีทราบซึ้งกินใจทุกที




4IKKYU-SAN เพลงตอนจบ

เพลงประกอบการ์ตูนอิคคิวซัง ตอนท้ายเรื่อง


Hahauesama ogenki desuka
Yoube sugi no kozue de akaru hikaru hoshi hitotsu mitsukemashita
Hoshi wa mitsumemasu hahauesama noyoni yasashiku
Watashi wa hoshi ni hanashimasu kujike masen yo otoko no ko desu
Sabishiku nattara hanashi ni kimasu ne itsuka tabun
Sorede wa mata otayorishimasu hahauesama ikkyu    

Hahauesama ogenki desuka
Kinou otera ni ko nekoga tonari no mura ni morawarete ikimashita
Ko neko wa nakimashita kaasan neko ni shigamitsuite
Watashi wa iimashita naku no wa oyoshi sabishikunai sa
Otoko daro kaasan ni aeru yo itsuka kitto
Sorede wa mata otayorishimasu hahauesama ikkyu    

                        คำแปลเนื้อเพลงประกอบการ์ตูนอิคคิวซัง ตอนท้ายเรื่อง
ท่านแม่ครับ สบายดีหรือเปล่า
เมื่อคืนผมเห็นดาวดวงหนึ่งส่องแสงสุกใสอยู่บนปลายยอดไม้ซีด้า
เมื่อจ้องมองดาวดวงนั้นผมรู้สึกถึงความอ่อนโยนของท่านแม่
ผมคุยกับดวงดาวนั้นว่าผมเป็นลูกผู้ชายจะไม่ท้อแท้
ถ้าเมื่อใดที่ผมเหงาผมจะมาคุยด้วยอีก
แค่นี้นะครับ แล้วจะเขียนจดหมายไปหาท่านแม่อีก อิ๊กคิว

ท่านแม่ครับ สบายดีหรือเปล่า
เมื่อวานนี้ที่วัดของเรามีคนจากหมู่บ้านข้างๆเอาลูกแมวตัวน้อยมาให้
เจ้าแมวน้อยร้องไห้เพราะว่ายังติดแม่ของมันอยู่
ผมบอกกับมันว่าอย่าร้องไห้ไปเจ้าจะไม่เหงาหรอก
เป็นลูกผู้ชายใช่ไหม แล้ววันหนึ่งเจ้าจะได้เจอแม่เอง
แค่นี้นะครับ แล้วจะเขียนจดหมายไปหาท่านแม่อีก อิ๊กคิว

 
เมื่อ 600 ปีที่ผ่านมาเป็นยุค Muromachi (ประมาณ พศ.1338-1573) ช่วงที่ญี่ปุ่น ยังยึดติดเรื่องศักดินา อิคคิว ซัง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเณรน้อยหลังจากโชกุน Yoshimitsu Ashikaga ต้องการจะรวมประเทศญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ 15 มีพระในนิกายเซนถือกำเนิดขึ้นที่ใคร ๆ รู้จักในนาม "Ikkyu San (อิคคิว ซัง)" ผู้ฉลาดหลักแหลม เขาเกิดในปี 1394 และตายในปี 1481 ด้วยวัย 87 ปี พ่อของเขาคือจักรพรรดิ์ Gokomatsu ซึ่งมีชายาสองฝ่ายคือ Nantyo (ชายาฝ่ายใต้) และ Hokutyo (ชายาฝ่ายเหนือ) แม่ของอิคคิวคือ Nantyo ภรรยาลับ ๆ ของจักรพรรดิ์ Gokomatsu พระองค์เกรงอำนาจของชายาฝ่ายเหนือ Hokutyo แม่ของอิคคิวจึงต้องออกจากราชวังตั้งแต่ Ikkyu ยังไม่เกิด พระจักดิ์พรรคส่งเจ้าชายและชายา ฝ่ายใต้ (แม่ของอิคคิว) มาจากพระราชวัง โชกุน Ahikaga จึงเปลี่ยนชื่อให้เจ้าชายน้อยว่า Ikkyo การ์ตูนเรื่องนี้พยายามจะนำเสนอ การใช้ชีวิตของ อิคคิว ในวัดและต้องคอยต่อสู้กับลูกสาวพ่อค้า Yayoi ที่คอยเอาเปรียบวัด รวมถึงเรื่องศาสนา มีทั้งมุขตลกสำหรับเด็ก ๆ และเรื่องรวมความซาบซึ่งต่าง ๆ ไว้ครบ
เมื่ออิคคิวเกิดและอายุได้ 6 ปี อิคคิวได้บวชเรียนในวัดนิกายเซ็นในเกียวโตชื่อวัด "Ankokuji (อังโคะคุจิ)" อิคคิวฝึกตนค่อนข้างจะเข้มงวด จากหลวงพ่อของวัดอังโคะคุจิถึง 10 ปี รอบ ๆ ตัวของอิคคิวมีแต่ขุนนางชั้นสูงในสมัยนั้น ต่างก็เสแสร้ง และหลอกลวง ไม่จริงใจกับอิคคิว พวกขุนนาง เมื่ออิคคิวอายุได้ 16 ปี เขาเริ่มทนไม่ได้กับความเสแสร้งไม่จริงใจของพวกขุนนาง อิคคิวได้ออกจากวัดอังโคะคุจิ หลังจากนั้นชีวิตของอิคคิวก็พบกับความทุกข์ยากแสนสาหัส อิคคิวได้เป็นนักเรียนของ Kenou Osyou ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงทางด้านศาสนาของนิกายเซนจนกระทั่งอิคคิวเสียชีวิตเมื่อมีอายุได้ 87 ปี ในปี 1481 ชีวิตของอิคคิวนั้นได้ทำให้ทุกคนเห็นว่าเขามีฐานะเป็นถึง เจ้าชาย ในจักรพรรดิ์ แต่ว่าอิคคิว ไม่เคยสนใจยศศักดิ์ ตำแหน่ง ความร่ำรวม เกียรติยศเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการเริ่มต้นของความสกปรก ความโลภ จิตใจของอิคคิวบริสุทธิ์และไม่สนใจกับเกียรติยศใด ๆ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น