วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

เล่าเรื่องจีน (ในโอกาสฉลองวันชาติจีน ครบรอบ 70 ปี) ตอนที่ 2



เล่าเรื่องจีน (ในโอกาสฉลองวันชาติจีน ครบรอบ 70 ปี) ตอนที่ 2

สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือประเทศจีนที่เรารู้จักกัน 1 ใน 5 รัฐคอมมิวนิสต์สุดท้าย เช่นเดียวกับเวียดนาม เกาหลีเหนือ ลาว และคิวบา ดินแดนที่มีวัฒนธรรม ประวัติที่ยาวนานกว่าพันปี แต่ในทางสากลจีนเพิ่งก่อตั้งประเทศได้เพียง 70 ปีเท่านั้นเอง
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม คศ. 1949 หรือ พศ.2492 เหมาเจ๋อตง ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่เรียกว่า ‘จีนคอมมิวนิสต์‘ หรือ ‘จีนแดง‘ โดยปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ แต่เมื่อมองกลับไปตลอด 2 ข้างทางการก้าวขึ้นเป็นท่านประธาน หรือท่านผู้นำเหมา ไม่เคยราบเรียบ ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยขวากนาม คราบน้ำตา การต่อสู้ของผู้ที่มีอุดมการณ์แตกต่าง ไม่เว้นแม้แต่ ‘เพื่อนรัก’
ย้อนกลับไปยัง ‘การปฏิวัติซินไฮ่‘ ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิงในปี พ.ศ. 2454 ก่อนจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ 2455 โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง โดยสาเหตุของการโค่นล้มอำนาจมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ‘จักรพรรดิแมนจู‘ ซึ่งเป็นผู้นำประเทศไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ มีแต่การแย่งชิงอำนาจในราชวงศ์ ราษฎรส่วนมากยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู และเมื่อล้มล้างการปกครองเสร็จ จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบ ‘ประชาธิปไตย‘ ในที่สุด แต่ในขณะที่น้ำยังไม่หายขุ่น ฝุ่นยังไม่หายจาง จีนก็ตกอยู่ในยุดของสงครามกลางเมือง การสู้รบของพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของ ‘เหมาเจ๋อตุง’ กับพรรคก๊กมินตั๋ง ที่มี เจียงไคเช็ก เป็นผู้นำ และแล้วศึกระหว่าง ‘เพื่อน’ จึงได้ถือบังเกิดขึ้น ในปี พศ.2480-2492 (1937-1949)
เหมาเจ๋อตง กับ เจียงไคเช็กเป็นเพื่อนกัน แต่เจียงไคเช็กเป็นมือขวาสำคัญของ ซุน ยัตเซน และมีความใกล้ชิดกับ ซุน มากจึงมีความคิดคล้ายกันที่ประเทศจีน ต้องปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่เหมาต้องการให้จีนปกครองแบบคอมมิวนิสต์ จึงเหตุให้ทั้งคู่ไม่ถูกกัน และเป็นศัตรูกันจนถึงวันที่ลาลับของทั้งคู่ เหมาเจ๋อตง มีประชาชนสนับสนุนมากโดยเฉพาะ ชาวนา ชาวไร่ และคนจน และมีโซเวียต สนับสนุนอยู่ จึงจัดตั้งกองกำลังเพื่อปฏิวัติจีนให้เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งเจียงไคเช็ก มีกองทัพอยู่ในมือ สามารถเล่นงานเหมาเจ๋อตงได้ง่าย แต่เหมาเจ๋อตงก็สามารถนำประชาชน ชนะทหารของเจียงได้ ถึง 3 ครั้งใหญ่ๆ และนำทัพประชาชนเข้าคุมอำนาจรัฐบาล
เจียงไคเช็ก จำเป็นต้องลี้ภัยพร้อมกับคนเก่งๆในรัฐบาล ไปที่เกาะแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของ จีน ที่เรียกว่า ‘ไต้หวัน’ เจียงไคเช็ก จึงถือเป็นผู้ก่อตั้ง ไต้หวัน ทำให้ การปกครองระหว่างคอมมิวนิสต์ กับประชาธิปไตย แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ‘จีน’ กับ ‘ไต้หวัน’ จนถึงปัจจุบัน
11 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีน
1. การปฏิวัติทางวัฒนธรรมคือการปฏิวัติที่ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาครองประเทศ อันที่จริง พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาครองประเทศในปี 1949 (ยุคจอมพล ป. สมัยสอง) จากการชนะสงครามกลางเมืองที่พรคก๊กมินตั๋งก่อ การปฏิวัติทางวัฒนธรรมเกิดระหว่างปี 1966-1976 (ยุคถนอม) เป็นแคมเปญของพรรคคอมมิวนิสต์
2. การปฏิวัติทางวัฒนธรรมคือการปฏิวัติที่ทำให้ความคิดแบบหัวก้าวหน้าเฟื่องฟูในประเทศจีน อันที่จริง การปฏิวัติแห่งปีซินไฮ่ซึ่งเกิดปลายปี 1911 (ยุค ร. 6) ต่างหากที่ทำให้ความคิดแบบหัวก้าวหน้าเฟื่องฟูในจีน ซึ่งเกิดก่อนการปฏิวัติทางวัฒนธรรมถึง 55 ปี
3. การก้าวกระโดดครั้งใหญ่หมายถึงการที่เติ้งเสี่ยวผิงทำให้ประเทศจีนรุดหน้าขึ้น อันที่จริง การก้าวกระโดดครั้งใหญ่เป็นชื่อของแคมเปญที่ผิดพลาดของเหมาเจ๋อตุงระหว่างปี 1958-1960 (ยุคสฤษดิ์) ที่ทำให้ประเทศก้าวกระโดดกลับหลังครั้งใหญ่จนเกิดภาวะอดหยากทั่วประเทศอีกครั้ง
4. ถ้าซุนยัดเซ็นไม่ด่วนเสียซะก่อน เขาจะให้เหมาเจ๋อตุงเป็นผู้สืบทอด อันที่จริง เหมาเจ๋อตุงกับซุนยัดเซ็นไม่ได้สนิทกันเลย คนที่ซุนยัดเซ็นน่าจะตั้งเป็นผู้สืบทอดที่สุดคือวังจิงเว่ย
5. พรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ขับไล่ผู่หยีฮ่องเต้องค์สุดท้ายออกจากวัง อันที่จริง คนที่ทำอย่างนั้นคือเฝิงหยีว์เสียง ซึ่งเป็นขุนพลพันธมิตรของก๊กมินตั๋ง พรรคคอมมิวนิสต์ถึงแม้จะไม่นับถือผู่หยีเป็นฮ่องเต้แต่ปฏิบัติต่อผู่หยีดีในฐานะประชาชนธรรมดาและให้กลับไปอยู่ในวัง ฝ่ายเจียงไคเช็คต่างหากที่อยากจะจับผู่หยีไปยิงเป้า
6. จักรพรรดิองค์สุดท้ายคือหยวนซื่อข่าย อันที่จริง หลังจากที่หยวนตาย ผู่หยีก็กลับมาเป็นจักรพรรดิอีกครั้ง 10 กว่าวัน ถ้าไม่นับที่ถูกญี่ปุ่นเชิดให้เป็นจักรพรรดิแมนจูโกะหลังจากนั้น
7. ทิเบตเป็นประเทศอิสระอยู่แล้วก่อนที่เหมาเจ๋อตุงจะไปยึดมาเป็นของจีน อันที่จริง ทิเบตอยู่ในฐานะ protectorate ของจีน (เหมือนกับที่กวมเป็น protectorate ของสหรัฐฯ) มาตั้งแต่ก่อนที่สหรัฐฯจะแยกตัวจากอังกฤษเสียอีก พอราชวงศ์ชิงล่ม ทิเบตพยายามแยกตัว เจียงไคเช็คก็เข้าไปกระชับอำนาจ ต่อมาพอสงครามกลางเมืองจบ เหมาเจ๋อตุงก็เข้าไปกระชับอำนาจอีกที
8. เจียงไคเช็คเคยรวบอำนาจทั้งหมดในเมืองจีนได้ อันที่จริง ในสมัยเจียง ประเทศจีนยังอยู่ในสภาพถูกปกครองโดยขุนศึกต่างๆอยู่ไม่ต่างจากก่อนหน้านั้น สงครามการยกทัพขึ้นเหนือของเจียงเป็นการต่อสู้ระหว่างขุนศึกฝ่ายเจียง กับขุนศึกฝ่ายต้วนฉีรุ่ย พอเจียงขึ้นมา ขุนศึกฝ่ายเขาก็ยังมีอำนาจเบ็ดเสร็จในมณฑลของตนเองอยู่
9. เจียงไคเช็คเป็นฝ่ายประชาธิปไตย เหมาเจ๋อตุงเป็นฝ่ายเผด็จการ อันที่จริง ทั้งคู่เป็นเผด็จการ แต่เหมาเจ๋อตุงมีความเป็นประชาธิปไตยกว่าเจียงไคเช็ค
10. เติ้งเสี่ยวผิงคือผู้นำคอมมิวนิสต์คนแรกที่ริเริ่มการนำระบบตลาดมาใช้ อันที่จริง หลิวเส้าฉีต่างหากที่เป็นคนแรก แต่ทำไม่สำเร็จ โดนเก็บเสียก่อน
11. บรรพบุรุษคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่หนีมาในยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรม อันที่จริง ส่วนใหญ่หนีมาในยุคปลายราชวงศ์ชิงจนถึงยุคก่อนญี่ปุ่นบุกจีน คือเกือบหนึ่งร้อยปีเรื่อยมาจนอย่างน้อยก็ 30 ปีก่อนการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
เครดิตข้อมูลบทความจาก news.mthai.com,เพจ ประวัติศาสตร์จีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น