วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

เล่าเรื่องจีน (ในโอกาสฉลองวันชาติจีน ครบรอบ 70 ปี) ตอนที่ 3

เล่าเรื่องจีน (ในโอกาสฉลองวันชาติจีน ครบรอบ 70 ปี) ตอนที่ 3

ประวัติของเจียงเคเช็ก จอมพลแห่งจีนแผ่นดินใหญ่
จอมพลเจียง ไคเช็ก เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1887 เจียง ไคเช็ก จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยของประเทศญี่ปุ่น หลายคนคงเคยสงสัยกันว่าทำไมไต้หวันต้องแยกออกไปจากจีน ซึ่งในข้อสงสัยนี้จอมพลเจียง ไคเช็ก ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ซึ่งเราจะได้เรียนรู้กันในประวัติของจอมพลเจียง ไคเช็ก ดังต่อไปนี้
จอมพลเจียง ไคเช็ก เป็นหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง หลังจากที่ดร.ซุน ยัตเซ็นได้เสียชีวิตลงไป ในยุคนั้นเป็นยุคที่จีนถูกบุกรุกจากญี่ปุ่นอย่างรุนแรง ประเทศอยู่ในช่วงที่อ่อนแอ แถมยังมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่พยายามจะก่อการปฏิบัติระบอบประชาธิปไตยของจอมพลเจียง ไคเช็กด้วย ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์นั้นนำด้วยหัวหน้าพรรคคือ เหมา เจ๋อตุง ซึ่งเป็นเพื่อนกับเจียง ไคเช็ก แต่ด้วยความเห็นที่ต่างกัน เหมา เจ๋อตุง จึงออกไปก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และด้วยความที่ประเทศอยู่ในช่วงที่อ่อนแอมาก จนกระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์สามารถที่จะปฏิวัติพรรคก๊กมินตั๋งได้สำเร็จ กองทัพของจอมพลเจียง ไคเช็ก พ่ายแพ้ท่านจึงถอยหนีมาตั้งหลักอยู่ที่เขตพื้นที่อิสระทางตอนเหนือ นั่นก็คือ เกาะไต้หวันนั่นเอง โดยคนที่มาพร้อมกับจอมพลเจียง ไคเช็ก ก็จะเป็นคนจีนที่เห็นด้วยกับระบอบประชาธิปไตยและต้องการใช้ชีวิตแบบประชาธิปไตย
จอมพลเจียง ไคเช็ก จึงเริ่มต้นการปูรากฐานทางเศรษฐกิจที่ไต้หวันแบบประชาธิปไตย เขาทำทุกอย่างให้ไต้หวันหลายเป็นประเทศประชาธิปไตย ทำใส่สิ่งที่เขาไม่สามารถทำได้ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ จนกระทั่งเขาสามารถที่จะทำได้สำเร็จ ไต้หวันเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย ประเทศมีความเจริญ มีสีสัน มีความสุข นับว่าเป็นความภาคภูมิใจหลังจากที่เขาพ่ายแพ้จากพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาครั้งก่อน การที่ประเทศประสบความสำเร็จเช่นนี้ถือว่าเป็นความน่ายินดี และถือว่าเรื่องน่าอัศจรรย์ใจที่สุดชาติหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่สามารถผ่านพ้นอุปสรรค เรื่องราวเลวร้ายมามากมาย จนกระทั่งสามารถที่จะเอาตัวรอดมาได้จนปัจจุบันนี้
สำหรับนโยบายการบริหารประเทศนโยบายหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของไต้หวันมากก็คือ นโยบายที่จอมพลเจียง ไคเช็ก ให้ชาวนาที่ร่ำรวย ยอมที่จะขายที่นาในราคาถูกๆ ให้กับชาวนาที่ยากจน นโยบายดังกล่าวทำให้เกิดชนชั้นขึ้น ในขณะที่ชาวนาที่รวยแล้วก็จะเอาเงินที่ได้จากการขายนาไปประกอบอุตสาหกรรม ส่วนชาวนาที่ยาหกจนซึ่งมีจำนวนมากกว่าก็เริ่มมีที่นาสำหรับทำการเกษตร โดยผลผลิตทางการเกษตรนั่นเองก็ที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ไต้หวัน จนกระทั่งประเทศไต้หวันได้ขึ้นมาอยู่อันดับ 26 ของชาติที่มีเศรษฐกิจดีที่สุดในโลก แต่ในขณะเดียวกันจอมพลเจียง ไคเช็ก ก็ยังคงไม่ปล่อยให้ประชาชนนั้นมีสิทธิเสรีภาพแบบประชาธิปไตยพอสมควรเพื่อยังอยู่ในช่วงที่ประเทศกำลังพัฒนาท่านจอมพลเจียง ไคเช็ก จึงใช้การปกครองแบบเสร็จการเบ็ดเสร็จไปก่อน แต่ระบอบดังกล่าวที่จอมพลเจียง ไคเช็ก เป็นผู้นำก็ถือว่าเป็นผลดีต่อประเทศที่ช่วยให้ไต้หวันสามารถที่จะตั้งอยู่และอยู่ได้อย่างมีความสุข
ประวัติของเหมาเจ๋อตุง ประธานาธิบดีคนแรกและผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เหมา เจ๋อตง หรือ เหมา เจ๋อตุง บุตรชายในตระกูลชาวนาเจ้าของที่ดิน จบการศึกษาจากวิทยาลัยฝึกหัดครู ก่อนจะเข้าร่วมพรรค คอมมิวนิสต์จีน หลังจากถูกปราบปรามโดยนายพลเจียง ไคเชก เหมาฯ ได้ขึ้นมาเป็นประธานของคณะโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศจีน ภายใต้การปกครองของเหมา เจ๋อตุง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนได้ชนะสงครามกลางเมืองจีน และปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เหมา เจ๋อตุงได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
เหมาได้นำประเทศเข้าเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต ก่อนจะแยกตัวมาภายหลัง เขายังเป็นผู้นำให้เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมเหมาได้รับการยกย่องให้รวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง หลังจากตกอยู่ใต้อิทธิพลของต่างชาติตั้งแต่สงครามฝิ่น ในประเทศเขาถูกเรียกว่า ประธานเหมา (Chairman Mao) แต่เขาปกครองประเทศจีน และก็มีป้ายปรากฏคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นครั้งสุดท้ายที่เหมาจะขอความคิดเห็นกับประชาชนจีน ไม่ช้าหลังจากนั้นเขาก็กำจัดคนที่ออกมาพูดอย่างอำมหิต คนหลายแสนคนถูกระบุว่าเป็น
พลเรือนฝ่ายขวาและถูกไล่ออกจากงานคน หลายหมื่นคนถูกส่งเข้าคุก แต่เหมาไม่สนใจอีกต่อไป เขาแวดล้อมด้วยลูกขุนพลอยพยัก และมีอิสระที่จะดำเนินตามความคิด ซึ่งมีน้อยคนนักที่จะคาดเดาปลายทางได้
ปลายยุค พ.ศ. 2503 มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนถูกฆ่าหรือถูกจำคุกโดยขบวนการเรดการ์ด ขบวนการร้ายกาจถูกปลดหลังจากหลายปีแห่งความวุ่นวายในจีน ตอนนี้เหมาหาวิธีการที่จะเปิดประเทศจีนสู่ประชาคมโลก เป็นการริเริ่มที่สำคัญครั้งสุดท้ายของเขาด้วย ลักษณะนิสัยที่ไม่เกรงกลัวสิ่งใด เขาหันเข้าหาศัตรูคือ สหรัฐอเมริกา โดยปี พ.ศ. 2515 เขาได้เชิญประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันแห่งอเมริกามาที่ปักกิ่ง เพื่อเข้าร่วมการประชุม เป็นการสนทนาครั้งแรกของทั้งสองประเทศในช่วงเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ แต่สุขภาพเหมาก็แย่ลง 18 กันยายน พ.ศ. 2519 เขาเสียชีวิตด้วยอายุ 83 ปี แต่เบื้องหลังความนิ่งเงียบของเขาทำให้เรารู้ว่าเขาอยู่เบื้องหลังการประหาร ประชากรร่วมชาติกว่า 10 ล้านคน
(เครดิตข้อมูลโดย นส.นัยต์ปพร ทูคำมี / นส.อภิชญา ไตรทาน / นส.ณัฐชาพร อุณหเลขกะ / นส.นวพรรษ จันทร์กระจ่าง)
เครดิตข้อมูลบทความจากเพจ chinazctv.com,blog oknation นายยั้งคิด

เล่าเรื่องจีน (ในโอกาสฉลองวันชาติจีน ครบรอบ 70 ปี) ตอนที่ 2



เล่าเรื่องจีน (ในโอกาสฉลองวันชาติจีน ครบรอบ 70 ปี) ตอนที่ 2

สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือประเทศจีนที่เรารู้จักกัน 1 ใน 5 รัฐคอมมิวนิสต์สุดท้าย เช่นเดียวกับเวียดนาม เกาหลีเหนือ ลาว และคิวบา ดินแดนที่มีวัฒนธรรม ประวัติที่ยาวนานกว่าพันปี แต่ในทางสากลจีนเพิ่งก่อตั้งประเทศได้เพียง 70 ปีเท่านั้นเอง
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม คศ. 1949 หรือ พศ.2492 เหมาเจ๋อตง ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่เรียกว่า ‘จีนคอมมิวนิสต์‘ หรือ ‘จีนแดง‘ โดยปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ แต่เมื่อมองกลับไปตลอด 2 ข้างทางการก้าวขึ้นเป็นท่านประธาน หรือท่านผู้นำเหมา ไม่เคยราบเรียบ ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยขวากนาม คราบน้ำตา การต่อสู้ของผู้ที่มีอุดมการณ์แตกต่าง ไม่เว้นแม้แต่ ‘เพื่อนรัก’
ย้อนกลับไปยัง ‘การปฏิวัติซินไฮ่‘ ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิงในปี พ.ศ. 2454 ก่อนจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ 2455 โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง โดยสาเหตุของการโค่นล้มอำนาจมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ‘จักรพรรดิแมนจู‘ ซึ่งเป็นผู้นำประเทศไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ มีแต่การแย่งชิงอำนาจในราชวงศ์ ราษฎรส่วนมากยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู และเมื่อล้มล้างการปกครองเสร็จ จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบ ‘ประชาธิปไตย‘ ในที่สุด แต่ในขณะที่น้ำยังไม่หายขุ่น ฝุ่นยังไม่หายจาง จีนก็ตกอยู่ในยุดของสงครามกลางเมือง การสู้รบของพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของ ‘เหมาเจ๋อตุง’ กับพรรคก๊กมินตั๋ง ที่มี เจียงไคเช็ก เป็นผู้นำ และแล้วศึกระหว่าง ‘เพื่อน’ จึงได้ถือบังเกิดขึ้น ในปี พศ.2480-2492 (1937-1949)
เหมาเจ๋อตง กับ เจียงไคเช็กเป็นเพื่อนกัน แต่เจียงไคเช็กเป็นมือขวาสำคัญของ ซุน ยัตเซน และมีความใกล้ชิดกับ ซุน มากจึงมีความคิดคล้ายกันที่ประเทศจีน ต้องปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่เหมาต้องการให้จีนปกครองแบบคอมมิวนิสต์ จึงเหตุให้ทั้งคู่ไม่ถูกกัน และเป็นศัตรูกันจนถึงวันที่ลาลับของทั้งคู่ เหมาเจ๋อตง มีประชาชนสนับสนุนมากโดยเฉพาะ ชาวนา ชาวไร่ และคนจน และมีโซเวียต สนับสนุนอยู่ จึงจัดตั้งกองกำลังเพื่อปฏิวัติจีนให้เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งเจียงไคเช็ก มีกองทัพอยู่ในมือ สามารถเล่นงานเหมาเจ๋อตงได้ง่าย แต่เหมาเจ๋อตงก็สามารถนำประชาชน ชนะทหารของเจียงได้ ถึง 3 ครั้งใหญ่ๆ และนำทัพประชาชนเข้าคุมอำนาจรัฐบาล
เจียงไคเช็ก จำเป็นต้องลี้ภัยพร้อมกับคนเก่งๆในรัฐบาล ไปที่เกาะแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของ จีน ที่เรียกว่า ‘ไต้หวัน’ เจียงไคเช็ก จึงถือเป็นผู้ก่อตั้ง ไต้หวัน ทำให้ การปกครองระหว่างคอมมิวนิสต์ กับประชาธิปไตย แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ‘จีน’ กับ ‘ไต้หวัน’ จนถึงปัจจุบัน
11 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีน
1. การปฏิวัติทางวัฒนธรรมคือการปฏิวัติที่ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาครองประเทศ อันที่จริง พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาครองประเทศในปี 1949 (ยุคจอมพล ป. สมัยสอง) จากการชนะสงครามกลางเมืองที่พรคก๊กมินตั๋งก่อ การปฏิวัติทางวัฒนธรรมเกิดระหว่างปี 1966-1976 (ยุคถนอม) เป็นแคมเปญของพรรคคอมมิวนิสต์
2. การปฏิวัติทางวัฒนธรรมคือการปฏิวัติที่ทำให้ความคิดแบบหัวก้าวหน้าเฟื่องฟูในประเทศจีน อันที่จริง การปฏิวัติแห่งปีซินไฮ่ซึ่งเกิดปลายปี 1911 (ยุค ร. 6) ต่างหากที่ทำให้ความคิดแบบหัวก้าวหน้าเฟื่องฟูในจีน ซึ่งเกิดก่อนการปฏิวัติทางวัฒนธรรมถึง 55 ปี
3. การก้าวกระโดดครั้งใหญ่หมายถึงการที่เติ้งเสี่ยวผิงทำให้ประเทศจีนรุดหน้าขึ้น อันที่จริง การก้าวกระโดดครั้งใหญ่เป็นชื่อของแคมเปญที่ผิดพลาดของเหมาเจ๋อตุงระหว่างปี 1958-1960 (ยุคสฤษดิ์) ที่ทำให้ประเทศก้าวกระโดดกลับหลังครั้งใหญ่จนเกิดภาวะอดหยากทั่วประเทศอีกครั้ง
4. ถ้าซุนยัดเซ็นไม่ด่วนเสียซะก่อน เขาจะให้เหมาเจ๋อตุงเป็นผู้สืบทอด อันที่จริง เหมาเจ๋อตุงกับซุนยัดเซ็นไม่ได้สนิทกันเลย คนที่ซุนยัดเซ็นน่าจะตั้งเป็นผู้สืบทอดที่สุดคือวังจิงเว่ย
5. พรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ขับไล่ผู่หยีฮ่องเต้องค์สุดท้ายออกจากวัง อันที่จริง คนที่ทำอย่างนั้นคือเฝิงหยีว์เสียง ซึ่งเป็นขุนพลพันธมิตรของก๊กมินตั๋ง พรรคคอมมิวนิสต์ถึงแม้จะไม่นับถือผู่หยีเป็นฮ่องเต้แต่ปฏิบัติต่อผู่หยีดีในฐานะประชาชนธรรมดาและให้กลับไปอยู่ในวัง ฝ่ายเจียงไคเช็คต่างหากที่อยากจะจับผู่หยีไปยิงเป้า
6. จักรพรรดิองค์สุดท้ายคือหยวนซื่อข่าย อันที่จริง หลังจากที่หยวนตาย ผู่หยีก็กลับมาเป็นจักรพรรดิอีกครั้ง 10 กว่าวัน ถ้าไม่นับที่ถูกญี่ปุ่นเชิดให้เป็นจักรพรรดิแมนจูโกะหลังจากนั้น
7. ทิเบตเป็นประเทศอิสระอยู่แล้วก่อนที่เหมาเจ๋อตุงจะไปยึดมาเป็นของจีน อันที่จริง ทิเบตอยู่ในฐานะ protectorate ของจีน (เหมือนกับที่กวมเป็น protectorate ของสหรัฐฯ) มาตั้งแต่ก่อนที่สหรัฐฯจะแยกตัวจากอังกฤษเสียอีก พอราชวงศ์ชิงล่ม ทิเบตพยายามแยกตัว เจียงไคเช็คก็เข้าไปกระชับอำนาจ ต่อมาพอสงครามกลางเมืองจบ เหมาเจ๋อตุงก็เข้าไปกระชับอำนาจอีกที
8. เจียงไคเช็คเคยรวบอำนาจทั้งหมดในเมืองจีนได้ อันที่จริง ในสมัยเจียง ประเทศจีนยังอยู่ในสภาพถูกปกครองโดยขุนศึกต่างๆอยู่ไม่ต่างจากก่อนหน้านั้น สงครามการยกทัพขึ้นเหนือของเจียงเป็นการต่อสู้ระหว่างขุนศึกฝ่ายเจียง กับขุนศึกฝ่ายต้วนฉีรุ่ย พอเจียงขึ้นมา ขุนศึกฝ่ายเขาก็ยังมีอำนาจเบ็ดเสร็จในมณฑลของตนเองอยู่
9. เจียงไคเช็คเป็นฝ่ายประชาธิปไตย เหมาเจ๋อตุงเป็นฝ่ายเผด็จการ อันที่จริง ทั้งคู่เป็นเผด็จการ แต่เหมาเจ๋อตุงมีความเป็นประชาธิปไตยกว่าเจียงไคเช็ค
10. เติ้งเสี่ยวผิงคือผู้นำคอมมิวนิสต์คนแรกที่ริเริ่มการนำระบบตลาดมาใช้ อันที่จริง หลิวเส้าฉีต่างหากที่เป็นคนแรก แต่ทำไม่สำเร็จ โดนเก็บเสียก่อน
11. บรรพบุรุษคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่หนีมาในยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรม อันที่จริง ส่วนใหญ่หนีมาในยุคปลายราชวงศ์ชิงจนถึงยุคก่อนญี่ปุ่นบุกจีน คือเกือบหนึ่งร้อยปีเรื่อยมาจนอย่างน้อยก็ 30 ปีก่อนการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
เครดิตข้อมูลบทความจาก news.mthai.com,เพจ ประวัติศาสตร์จีน

เล่าเรื่องจีน (ในโอกาสฉลองวันชาติจีน ครบรอบ 70 ปี) ตอนที่ 1

เล่าเรื่องจีน (ในโอกาสฉลองวันชาติจีน ครบรอบ 70 ปี) ตอนที่ 1

เหตุการณ์ก่อกำเนิดประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ถ้าจะเล่าย้อนไทม์ไลน์ไปก็คงต้องตั้งต้นที่ช่วง "การปฏิวัติสาธารณรัฐ" แต่ว่าเหตุการณ์ก่อนหน้านั้น ได้แก่ ขบวนการอี้เหอกวน (ศึกพันธมิตร 8 ชาติ) , รัฐประหารอู้ซีว์ (戊戌政变) ,ขบวนการเลียนแบบตะวันตก (洋务运动) ,วาระสุดท้าย ซูสีไทเฮา - นานาชาติรุมทึ้ง ตั้งแต่สงครามฝิ่น เรื่อยมาจนถึงหลังแปดชาติพันธมิตรเข้ารุกรานจีน ได้ทำให้สถานภาพของประเทศจีนในขณะนั้นมีสภาพกึ่งเมืองขึ้น รัฐบาลจีนก้าวเข้าสู่สภาพฟอนเฟะและไร้สมรรถภาพ จนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนต่างทุกข์ร้อนไปทั่วทุกหัวระแหง ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ซุนจงซัน (孙中山) หรือซุนยัตเซ็น (孙逸仙) ก็ได้ลุกขึ้นมาแล้วเลือกเส้นทางที่จะผลักดันการปฏิวัติ เพื่อล้มล้างอำนาจของราชวงศ์ชิง
ซุนจงซัน ถือกำเนิดในมณฑลกวางตุ้ง และได้เดินทางติดตามมารดาไปยังฮาวาย ทำให้ได้เห็นความยอดเยี่ยมของเรือกลไฟ และความยิ่งใหญ่ของมหาสมุทร การเดินทางครั้งนั้นทำให้ซุนได้รับการศึกษาสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์อังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภายหลังได้เดินทางไปยังฮ่องกง และได้เข้าศึกษาจนจบวิชาการแพทย์ จากนั้นก็ได้เปิดรักษาคนในมาเก๊า และกวางตุ้ง
ในระยะแรกซุนเองก็ไม่ได้กล่าวถึงการปฏิวัติ กระทั่งในปีค.ศ. 1894 ได้ทดลองส่งหนังสือให้กับหลี่หงจาง ซึ่งในนั้นได้มีการเสนอรูปแบบการปฏิรูปในหลายประการ ทว่าหนังสือดังกล่าวถูกหลี่หงจางปฏิเสธ ด้วยความผิดหวัง ทำให้ซุนได้ไปจัดตั้งสมาคมซิงจงที่ฮ่องกง ผลักดัน “การขับไล่อนารยชน ฟื้นฟูประเทศจีน สร้างรัฐบาลแห่งมหาชนขึ้น”
ในปีค.ศ. 1905 ซึ่งตรงกับรัชกาลของฮ่องเต้กวงซี่ว์ปีที่ 30 มีการจัดประชุมขึ้นที่โตเกียว และในที่ประชุมนั้นซุนได้เสนอให้มีการจัดตั้งสมาพันธ์เพื่อการปฏิวัติขึ้น โพยหลังจากการปรึกษาหารือ ในที่สุดสมาพันธ์ถงเหมิงก็ได้ถือกำเนิดขึ้น
>นอกจากนั้นซุนยังได้เสนอหลัก 3 ประการแห่งประชาชน หรือที่เราเรียกกันว่า ลัทธิไตรราษฎร์ (三民主义)ซึ่ง มีหลักการสำคัญได้แก่ ประชาชาติ หรือ การล้มล้างอำนาจการปกครองของราชวงศ์แมนจู ให้ทุกชนชาติในจีนมีสิทธิอันเท่าเทียมกัน หลักประชาสิทธิ คือให้ประชาชนมีสิทธิ มีอำนาจตรงในการปกครองตนเอง และหลักประชาชีพ คือให้มีความเสมอภาคในกรรมสิทธิ์ที่ดินและทางสังคม
การถือกำเนิดสมาพันธ์ถงเหมิง ที่ได้จับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้กับราชสำนัก ถือเป็นการสั่นคลอนฐานะผู้ปกครองอย่างราชสำนักชิงเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งเดือนเม.ย.ปีค.ศ. 1911ที่มีการลุกฮือขึ้นที่เนินดอกไม้เหลือง (黄花岗)ในกวางเจา มีบุคคลสำคัญและสมาชิกพันธ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก มีการเก็บรวบรวมศพ 72 ศพไปฝังรวมไว้ โดยในประวัติศาสตร์ได้เรียกขานเป็น 72 วีรบุรุษ ณ เนินดอกไม้เหลือง อย่างไรก็ตามแม้ว่าการลุกฮือครั้งนี้จะประสบความล้มเหลว แต่เลือดเนื้อและชีวิตของวีรชนเหล่านี้ก็ได้ปลุกกระแสให้มีการล้มล้างราชวงศ์ชิงที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
<ฮ่องเต้องค์สุดท้าย - อวสานราชวงศ์ชิง
ระหว่างนั้น ในปีค.ศ.1908 ตรงกับรัชกาลฮ่องเต้กวงซี่ว์ปีที่ 34 ฮ่องเต้กวงซี่ว์ได้เปิดประชาวรอย่างหนัก จนในเดือนต.ค.ราชสำนักชิงต้องมีราชโองการแต่งตั้งให้ไจ้เฟิง เป็นผู้สำเร็จราชการ กระทั่งถึงวันที่ 21 เดือนต.ค. ในที่สุดฮ่องเต้กวงซี่ว์ก็เสด็จสวรรคต
พระนางซูสีไทเฮาได้มีราชโองการแต่งตั้งบุตรของไจ้เฟิงนามอ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ผู่อี๋ (溥仪) หรือปูยีที่มีพระชนม์พรรษาเพียง 3 ปีขึ้นครองราชย์ มีชื่อรัชการว่าเซวียนถ่ง (宣统) แต่เนื่องจากที่พระองค์เป็นฮ่องเต้คนสุดท้ายในยุคราชวงศ์ของจีน ดังนั้นจึงมักถูกขนานนามว่าฮ่องเต้องค์สุดท้าย หรือจักรพรรดิองค์สุดท้าย ในขณะที่ซูสีไทเฮาเอง ก็ได้สวรรคตในเวลาเพียงไม่กี่วันหลังมีราชโองการแต่งตั้งผู่อี๋
ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของจีน
ในช่วงเวลาที่ผู่อี๋ได้ครองราชย์ไม่ถึง 3 ปี หลังยุทธการเนินดอกไม้เหลืองแล้ว กลุ่มผู้นำสมาพันธ์ถงเหมิงได้ตัดสินใจย้ายศูนย์กลางการปฏิวัติไปยังเขตลุ่มน้ำแยงซีเกียง ในวันที่ 10 ต.ค. ได้เกิดสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงขึ้นที่อู่ชัง ทำให้กองทัพปฏิวัติที่นั่นจำเป็นต้องลุกขึ้นก่อการก่อนเวลาที่กำหนด บุกเข้ายึดเมืองอู่ชัง จากนั้นในวันถัดมากลุ่มปฏิวัติในฮั่นหยาง และฮั่นโข่วที่ได้ข่าวก็ได้ลุกขึ้นยึดเมืองทั้งสอง จนกระทั่งกลุ่มปฏิวัติสามารถควบคุมเมืองทั้งสามในอู่ฮั่นได้จนหมดสิ้น
การลุกฮือที่ประสบความสำเร็จในอู่ชัง ได้ปลุกกระแสการล้มล้างราชวงศ์ชิงให้ยิ่งขว้างขวางออกไป และส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ของราชสำนักต้าชิงเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งในลำดับต่อมา ได้มีการจัดทั้งรัฐบาลทหารหูเป่ย และปรกาศเอกราชขึ้น หลังจากนั้นหูหนัน ส่านซี ซันซี หยุนหนัน เจียงซี กุ้ยโจว เจียงซู กว่างซี อันฮุย ฝูเจี้ยน กว่างตง ซื่อชวนก็ได้ทยอยกันประกาศเองราช ล้มล้างราชวงศ์ชิง ซึ่งประวัติศาสตร์ได้เรียกการปฏิวัตินี้ว่าการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) ตามปีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
เมื่อถึงเดือนม.ค. ปีค.ศ. 1912 สมาคมถงเหมิงได้ประชุมหารือกันที่นานกิง และจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น และตั้งชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐจีน (中华民国) จากนั้นในเดือนถัดมาก็ได้บีบให้ฮ่องเต้ของราชวงศ์ชิงลงจากตำแหน่ง นับว่าเป็นการเปิดศักราชหน้าใหม่ของแผ่นดินมังกร และถือเป็นจุดจบของราชวงศ์ชิงที่มีอายุกว่า 200 ปี และเป็นการปิดฉากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกว่า 2,000 ปีของจีนลง
ส่วนผู่อี๋ หรือปูยี หลังจากที่สละราชสมบัติแล้ว ในปีค.ศ. 1917 ภายใต้ความพยายามของจางซวิน (张勋) ที่ผลักดันทำการปฏิวัติและประกาศฟื้นคืนราชวงศ์ชิงขึ้นมาใหม่ โดยยกให้ผู่อี๋กลับมาเป็นฮ่องเต้อีกครั้ง ทว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ถูกการรวมตัวต่อต้านจากทุกฝ่าย ท่ามกลางสถานการณ์และแรงกดดัน ทำให้อีก 12 วันให้หลังก็จำต้องประกาศยอมแพ้ และทำให้ผู่อี๋ต้องหลุดจากราชบัลลังก์อีกครั้ง
เมื่อมาถึงปีค.ศ. 1924 กองทัพของเฝิงอี้ว์เสียง (冯玉祥) ได้ปิดล้อมพระราชวังต้องห้าม พร้อมหันปากกระบอกปืนใหญ่เข้ามาในวัง แล้วบังคับให้ผู่อี๋ลงนามยกเลิกการเรียกเป็นฮ่องเต้ และกำหนดเวลาให้ออกไปภายในเวลา 2 วัน จากนั้นจึงได้อาศัยความสัมพันธ์ที่มีกับชาวญี่ปุ่น ช่วยให้ปลอมตัวเป็นพ่อค้า แล้วหลบไปพักอยู่ที่จางหยวน กับจิ้งหยวน
ปีค.ศ. 1931 หลังจากที่ญี่ปุ่นได้บุกยึดพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้ตั้งประเทศแมนจูกั๋ว (满洲国) ขึ้น จากนั้นก็ได้ลอบนำตัวผู่อี๋ไปยังแมนจู โดยผู่อี๋ยอมให้ความร่วมมือ และรับการแต่งตั้งให้เป็นฮ่องเต้ อย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 1934
กระทั่งญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศแมนจูกั๋วก็ถูกล้มล้างไป และในปีค.ศ. 1945 ขณะที่ทาหารญี่ปุ่นได้นำตัวผู่อี๋มายังสนามบินเสิ่นหยางเพื่อเดินทางกลับญี่ปุ่น ก็ถูกทหารของรัสเซียจับตัวไป แต่ก็ได้รับการดูแลจากทางรัสเซียเป็นอย่างดี จนถึงกับเคยเขียนหนังสือแสดงความจำนงต้องการอยู่ในรัสเซียตลอดชีวิตอยู่หลายครั้ง
ปีค.ศ. 1950 ผู่อี๋และนักโทษจากสงครามแมนจูกั๋วถูกส่งตัวกลับมาให้กลับรัฐบาลจีน และถูกกุมขังอยู่ร่วมกับนักโทษอื่นๆในสถานควบคุมที่ฮาร์บิน ใช้ชีวิตในฐานะนักโทษรหัสหมายเลข 981 เป็นเวลาเกือบ 10 ปี กระทั่งได้รับการนิรโทษกรรมในวันที่ 4 ธ.ค. 1959 กลายเป็นหนึ่งในประชาชนธรรมดาคนหนึ่งของจีน จนกระทั่งเสียชีวิตที่ปักกิ่งในปีค.ศ. 1967 ในขณะที่มีอายุรวม 61 ปี จึงถือเป็นอันจบสิ้นของฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งแผ่นดินมังกร
เครดิตข้อมูลบทความจากคอลัมน์ธารประวัติศาสตร์ ตอน ราชวงศ์ชิงตอนจบ ,MGR online 31 ก.ค. 2551