วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อ่านเรื่อง "งักฮุย" แล้วย้อนดูประเทศของเราบ้าง ตอนที่ 3



สุมไฟแค้น! วาระสุดท้ายของ ‘ฉินฮุ่ย’ ขุนนางกังฉินที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์จีน (ตอนจบ)



จากผลงานการ “ทรยศ” ของฉินฮุ่ยนั้นได้ทำให้ฮ่องเต้ซ่งเกาจงและพระมารดาซาบซึ้งพระทัยเป็นอย่างมากที่ทำให้สงครามจบสิ้นและแม่ลูกได้พบหน้ากัน จึงได้มอบตำแหน่งต่างๆ ให้เพื่อสดุดีไม่ว่าจะเป็นมหาราชครู หรือตำแหน่งเชิดชูอย่าง “ผู้มีคุณต่อแผ่นดิน” และรับสั่งให้สร้างศาลเจ้าประจำตระกูลให้ และยังเลยเถิดไปถึงการให้จิตรกรหลวงวาดภาพไปประดับที่ศาลเจ้าเพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้
ฉินฮุ่ยเมื่อได้รับทั้งตำแหน่งเชิดชูและอำนาจมาแถมยังมีแบ็คเป็นทั้งฮ่องเต้และพระมารดา จึงได้จัดการเขี่ยคนที่เห็นว่าไม่ใช่พวกเดียวกันออกจากราชสำนักออกให้หมด และตั้งญาติพี่น้องรวมไปถึงคนที่ไว้ใจให้มานั่งตำแหน่งที่สำคัญโดยไม่สนว่าจะทำงานเป็นหรือไม่ ส่วนภรรยาของฉินฮุ่ยก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันว่ากันว่ากร่างและเบ่งพอๆ กับผู้เป็นสามี
แน่นอนว่าการกระทำของฉินฮุ่ยในสายตาของประชาชนทั่วไปนั้นมองคนละแบบกับฮ่องเต้ พวกชาวบ้านนั้นเคียดแค้นฉินฮุ่ยมากขึ้นตั้งแต่ครั้งที่เป่าหูฮ่องเต้ให้เรียกตัวงักฮุยกลับมาจนเป็นเหตุให้แม่ทัพคู่แผ่นดินต้องตายอย่างอนาถภายในคุกจนเป็นเหตุให้เสียแผ่นดิน แต่อำนาจที่มากล้นของฉินฮุ่ยทำให้ไม่มีใครกล้าออกมาโวยวาย


SHUTTER STOCK

ฉินฮุ่ยเสวยสุขบนความทุกข์ของคนอื่นอยู่นาน จนกระทั่งในปี ค.ศ.1155 ขณะที่ฉินฮุ่ยกำลังสั่งให้ลูกน้องทรมานศัตรูเพื่อเค้นหาตัวขบวนการต่อต้านเขา ในระหว่างที่กำลังทรมานเพื่อเค้นข้อมูลนั้นจู่ๆ ฉินฮุ่ยก็ล้มลงชักจนหมดสติและเป็นอัมพาตเคลื่อนไหวไม่ได้ ก่อนที่จะหมดลมหายใจไปเฉยๆ ในวันถัดมา การตายของฉินฮุ่ยนั้นสร้างความเสียใจให้กับฮ่องเต้ซ่งเกาจงเป็นอย่างมากจนถึงขนาดแต่งตั้งให้ฉินฮุ่ยเป็น “ท่านอ๋องแห่งเซิน” เพื่อเป็นการเชิดชูให้กับคุณงามความดีของฉินฮุ่ย (ในสายตาฮ่องเต้)
แต่ในเมืองนั้นเหมือนเป็นโลกคู่ขนาน ชาวเมืองที่ได้รับรู้ข่าวการตายของฉินฮุ่ยต่างโห่ร้องด้วยความดีใจที่กังฉินขายชาติได้ตายจากไป จนถึงขนาดมีคนปั้นแป้งเป็นแท่ง 2 แท่งประกบกันเพื่อเป็นตัวแทนของ 2 ผัวเมียลงไปทอดน้ำมันแล้วนำมากัดกินเพื่อให้หายแค้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกินที่มีชื่อว่า “ปาท่องโก๋”


SHUTTER STOCK

การตายของฉินฮุ่ยนั้นแม้ว่าจะได้รับการเชิดชูในช่วงแรกๆ ที่ตายไป แต่เมื่อสิ้นรัชสมัยของฮ่องเต้ซ่งเกาจง ตระกูลฉินก็หมดวาสนาเมื่อฮ่องเต้ซ่งเซี่ยวจงได้ปลดลูกหลานตระกูลจินออกจากราชสำนักทั้งหมดพร้อมกับปลดบรรดาศักดิ์ของฉินข้วย แต่ทว่าในภายหลังอาณาจักรจินได้ยกทัพมาอีกครั้งเพื่อกดดันให้ราชสำนักคืนเกียรติให้กับฉินฮุ่ย ซึ่งในสายตาของกองทัพจินนั้นเห็นว่าฉินฮุ่ยนั้นเป็นเหมือนกับเพื่อนสนิทที่ช่วยให้ดินแดนเป็นรูปร่าง โดยแตกต่างกับเพื่อนร่วมชาติที่มองว่าฉินฮุ่ยนั้นคือขุนนางกังฉินที่ขายแผ่นดินเพื่อความสุขของตนเอง


WIKIPEDIA CC @HELENNAWINDYLEE

ต่อมา 300 ปีให้หลังมีการสร้างรูปปั้นของฉินฮุ่ยและภรรยาไว้ที่หน้าศาลของงักฮุยเพื่อให้คนที่เข้าไปไหว้ได้ออกมาถ่มน้ำลายใส่รูปปั้น โดยในประวัติศาสตร์จีนนั้นไม่มีกังฉินคนใดที่จะถูกชาวจีนเกลียดชังได้เท่านี้มาก่อน
เครดิตข้อมูลและภาพจาก เพจ SpokeDark.TV

อ่านเรื่อง "งักฮุย" แล้วย้อนดูประเทศของเราบ้าง ตอนที่ 2




ขุนนางโฉด! วีรกรรมสุดแสบของ ‘ฉินฮุ่ย’ กังฉินที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์จีน (ตอนที่ 2)


ย้อนกลับมาที่ราชวงศ์ซ่ง คังอ๋องพระโอรสองค์ที่ 9 ของฮ่องเต้ซ่งฮุยจงได้หนีรอดจากการถูกวาดต้อน
ของกองทัพจินไปได้และได้ตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้พระองค์ใหม่และยังได้ตั้งราชวงศ์ใหม่เป็นราชวงศ์หนาน
ซ่ง มีการย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองหลินอัน (ปัจจุบันคือหางโจว) ซึ่งข่าวนี้ก็ได้ยินไปถึงฮ่องเต้ซ่งชินจง
และฮองเฮาที่ถูกจับไปเป็นเชลยในอาณาจักรจิน ฮ่องเต้ซ่งชินจงจึงเสนอกับกษัตริย์จินว่าจะกลับไป
เจรจาเพื่อให้ฮ่องเต้ซ่งเกาจงมาสวามิภักดิ์กับอาณาจักรจิน แต่กษัตริย์จินนั้นไม่ยินยอมเพราะเหมือน
ปล่อยเสือเข้าป่า
กษัตริย์จินจึงมาปรึกษากับ “ต้าหลาน” รองแม่ทัพว่าจะทำอย่างไรดี ในที่สุดก็เรียกฉินฮุ่ยเข้ามาพูดคุยพร้อมกับบอกว่าจะปล่อยฉินฮุ่ยและภรรยากลับไปแต่จะแสร้งเป็นว่าฉินฮุ่ยหนีออกไปได้ พร้อมกับกำชับว่า “เจ้ารู้นะว่าต้องทำอย่างไรเมื่อกลับไปถึง” แน่นอนว่าคนสอพลอแบบฉินฮุ่ยนั้นเข้าใจได้ไม่ยาก
หลังจากถูกจับไปเป็นเชลยโดนเด็กโขกสับไม่ต่างจากเป็นของเล่นกว่า 4 ปี การกลับมาครั้งนี้ฉินฮุ่ยจึงตั้งความหวังไว้ว่าจะต้องตักตวงเอาอำนาจทุกอย่างมาให้มากที่สุด ทันทีที่เท้าเหยียบเข้าราชอาณาจักร ฉินฮุ่ยก็เบ่งใส่ทหารก่อนเลยว่าตนคืออดีตราชเลขาธิการที่ถูกจับตัวไปและสั่งให้หาอาหารดีๆ มารับรองก่อนจะนั่งเกี้ยวไปเข้าเฝ้าฮ่องเต้พระองค์ใหม่เพื่อรายงานความเป็นอยู่ของฮ่องเต้ทั้งสองพระองค์และพระมารดาของฮอ่งเต้ซ่งเกาจงที่ถูกกวาดต้อนไป
ซึ่งฮ่องเต้ซ่งเกาจงนั้นเป็นห่วงพระมารดาเป็นอย่างมาก



SHUTTERSTOCK

ฉินฮุ่ยได้ยินดังนั้นก็จับจุดได้จึงเห็นทางในการประเคนอาณาจักรให้กับพวกจิน เลยทูลฮ่องเต้ไปว่าหนทางที่จะนำพระมารดาของฮ่องเต้กลับมาก็คือการยอมเจรจาสงบศึกและสวามิภักดิ์กับพวกจินซะ เมื่อได้ฟังดังนั้นฮ่องเต้ซ่งเกาจงก็มีทีท่าเห็นด้วยกับฉินฮุ่ย แต่เหล่าขุนนางก็คัดค้านว่าฮ่องเต้ไม่ควรนำเรื่องส่วนพระองค์มาปะปนกับอนาคตของอาณาจักร ข้อเสนอนี้ของฉินฮุ่ยจึงถูกพักไป และเพื่อเป็นการรับขวัญฉินฮุ่ย ฮ่องเต้จึงตั้งให้เป็นขุนนางอีกครั้งหนึ่ง
ฉินฮุ่ยพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้เข้าใกล้ฮ่องเต้ ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะเข้าทางเพราะฮ่องเต้มักมีรับสั่งให้ฉินฮุ่ยเข้าเฝ้าเพื่อถามไถ่เรื่องราวของพระมารดาอยู่เสมอ ซึ่งฉินฮุ่ยก็อาศัยจังหวะนี้ในการแนะนำการบริหารบ้านเมืองพร้อมกับเลียขาฮ่องเต้ จนในที่สุดฉินฮุ่ยก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครมหาเสนาบดีพร้อมกับได้สิทธิ์ในการดูแลเรื่องการทหาร ซึ่งเมื่อมารับตำแหน่งฉินฮุ่ยก็ปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันแต่ทว่าแท้จริงนั้นฉินฮุ่ยฝีมือไม่เก่งเท่าฝีปาก ไม่นานนักก็ถูกปลดไปเป็นอาจารย์ในโรงเรียนมหาดเล็ก
ต่อมาในปี ค.ศ.1133 กองทัพจินได้แต่งกองทัพเข้ามารุกรานอีกครั้ง ซึ่งการสู้รบในแต่ละครั้งนั้นก็ทำให้ฮ่องเต้ซ่งเกาจงรู้ว่ากองทัพของตนนั้นอ่อนปวกเปียกไม่สามารถต้านทานกองทัพจินได้เลยและกองทัพจินก็แสดงเจตนาว่าไม่อยากรบให้แตกหัก และได้ส่งทูตเข้ามาเจรจาสงบศึกพร้อมกับข้อเสนอเป็นดินแดนบางส่วน ซึ่งหน้าที่ในการเจรจานั้นแน่นอนว่าต้องเป็นฉินฮุ่ยอย่างแน่นอน
การเจรจาในครั้งนี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี กองทัพจินนั้นได้ตามข้อเสนอเพื่อแลกกับการหยุดโจมตี ฮ่องเต้ซ่งเกาจงได้ยอมยกดินแดนบางส่วนให้ไป ในช่วงนี้นั้นฉินฮุ่ยกลับมารับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีอีกครั้ง และยังลอบส่งจดหมายลับไปให้อาณาจักรจินถึงแผนการครอบครองราชวงศ์ซ่งใต้ซึ่งจะใช้พระมารดาของฮ่องเต้ซ่งเกาจงเป็นข้อแลกเปลี่ยน
การก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในครั้งนี้ของฉินฮุ่ยนั้น เขาตั้งใจว่าจะจัดการเสี้ยนหนามของตนเองให้หมดโดยมีกองทัพจินเป็นแบ็คให้
ซึ่งในการดำรงตำแหน่งของฉินฮุ่ยนั้นหากฮ่องเต้มีทีท่าว่าจะปลดฉินฮุ่ยออกจากคำแนะนำของขุนนางและแม่ทัพคนอื่นๆ ฉินฮุ่ยก็จะส่งม้าเร็วไปยังกองทัพจินที่ตั้งคุมเชิงอยู่นอกอาณาจักรให้กลับมาฮึ่มๆ ใส่ พร้อมกับย้อนศรกลับไปเป่าหูให้ฮ่องเต้ปลดขุนนางที่มาฟ้องออกไปด้วยการยกข้ออ้างที่ว่า ฉินฮุ่ยเป็นคนเดียวที่จะทำให้ฮ่องเต้ได้พบหน้ามารดาอีกครั้งหนึ่ง



SHUTTERSTOCK




นั่นก็รวมไปถึง “งักฮุย” แม่ทัพที่เก่งกาจที่สุดในกองทัพของหนานซ่งในตอนนั้น ที่ถูกพิษลิ้นอาบยาพิษของฉินฮุ่ยตวัดจนถูกปลดออก ซึ่งการปลดงักฮุยออกนั้นฮ่องเต้ซ่งเกาจงถึงขนาดต้องใช้ป้ายอาญาสิทธิ์ถึง 12 อันในการเรียกตัวงักฮุยที่กำลังติดพันศึกอยู่แนวหน้ากลับมาเพื่อรับคำสั่งขัง เมื่อถูกขังพร้อมกับขุนศึกฝีมือดีที่ทำการรบด้วยกัน ฉินฮุ่ยก็ส่งมือสังหารไปลอบสังหารงักฮุยและบุตรชายผู้เป็นขุนศึกคู่ใจถึงในคุก คราวนี้ก็เท่ากับว่าทั้งอาณาจักรนั้นตกอยู่ในมือของฉินฮุ่ยไปโดยปริยาย
แน่นอนว่าเมื่อขาดแม่ทัพฝีมือดีที่สุดไปราชวงศ์หนานซ่งก็ไม่ต่างจากกวางที่ถูกกองทัพจินที่ร้ายกาจเหมือนเสือไล่ขย้ำ ซึ่งฉุนฮุ่ยก็รอจังหวะนี้อยู่แล้วจึงเสนอให้ฮ่องเต้ซ่งเกาจงทำการแลกดินแดนกับพระมารดาและสงบศึกซะ ฮ่องเต้ซ่งเกาจงไม่มีทางเลือกและต้องการพบหน้าพระมารดาจึงตกลงตามนั้น ผลก็คือกองทัพจินได้รับดินแดนครึ่งหนึ่งของราชวงศ์หนานซ่งเพื่อแลกกับการสงบศึกและปล่อยตัวพระมารดาของฮ่องเต้ซ่งเกาจง
เครดิตข้อมูลและภาพจาก เพจ SpokeDark.TV

อ่านเรื่อง "งักฮุย" แล้วย้อนดูประเทศของเราบ้าง ตอนที่ 1

ช่วงนี้ขอเว้นบทความ พิภพราชา ภาคขยายความ ตอนที่ 12 เอาไว้ก่อน เพราะยังไม่มีเวลา และสมาธิที่จะเขียนถึง ขอคั่นด้วยการหยิบเอาบทความ เกร็ดประวัติศาสตร์ แม่ทัพ ผู้รักชาติ รักแผ่นดินที่สุดคนหนึ่ง
เรื่องราวของงักฮุย มาลงให้อ่านไปพลางๆ ก่อน




ขุนนางโฉด! เส้นทางสู่อำนาจของ ‘ฉินฮุ่ย’ กังฉินที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์จีน (ตอนที่ 1)




ฉินฮุ่ยเกิดในรัชสมัยของฮ่องเต้ซ่องเจ๋อจงแห่งราชวงศ์ซ่ง ตรงกับปี ค.ศ.1089 โดยเป็นบุตรปลัดอำเภอในเมืองเจียงหนิง (นานกิงในปัจจุบัน) ช่วงยังเป็นเด็กฉินฮุ่ยนั้นมีร่างกายที่เล็กกว่าเด็กวัยเดียวกันจึงทำให้ต้องกลายเป็นลูกไล่ของเพื่อนๆ คอยวิ่งไปซื้อของ หรือทำตามสั่งเพื่อนที่ตัวใหญ่กว่าเสมอ ทั้งหมดที่ฉินฮุ่ยทำไปนั้นก็เพื่อไม่ให้ตนเองตกเป็นเป้าถูกรังแก ซึ่งฉินฮุ่ยก็ทำหน้าที่ได้ดีจนเพื่อนๆ ให้ฉายาว่า “นักวิ่งประจำกลุ่ม”

ฉินฮุ่ยใช้ชีวิตโดยการโอนอ่อนตามสถานการณ์ไปจนอายุได้ 26 ปี ก่อนจะสอบติดได้เป็นข้าราชการ โดยในขณะนั้นราชวงศ์ซ่งถูกกองทัพจินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวแมนจูรุกรานจนบ้านเมืองระส่ำระส่าย ในการสอบข้อเขียนนั้นฉินฮุ่ยได้เขียนข้อแนะนำในการรับมือกับกองทัพจินว่าราชวงศ์ซ่งนั้นจำเป็นที่จะต้องสรรหาบุคคลมีฝีมือในด้านต่างๆ มาใช้ในการขับไล่กองทัพจินให้ถอยออกไป อีกทั้งยังแนะนำให้ราชสำนักปรับปรุงในเรื่องความเด็ดขาดในการใช้อำนาจ



SHUTTERSTOCK

ข้อเสนอของฉินฮุ่ยในข้อสอบนั้นได้สร้างความประทับใจให้แก่ราชสำนักเป็นอย่างมากจนได้คะแนนระดับสูง แต่ทว่าโอกาสของฉินฮุ่ยนั้นยังไม่เปิด เขาได้ถูกส่งไปรับตำแหน่งบัณฑิตในท้องที่ที่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจ ฉินฮุ่ยทำงานอยู่ในชนบทอยู่สักระยะหนึ่งจนมีการสอบเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งคราวนี้ฉินฮุ่ยก็ทำคะแนนได้สูงเช่นเคยจึงถูกย้ายมาให้ประจำการในโรงเรียนมหาดเล็กภายในเมืองหลวงในตำแหน่งอาจารย์นับตั้งแต่นั้นมา



ในปี ค.ศ.1125 ขณะที่ฉินฮุ่ยอายุได้ 36 ปี กองทัพจินได้กรีธาทัพเข้ามายึดหัวเมืองสำคัญในภาคเหนือได้เกือบหมด และส่งทัพเข้ามาเพื่อตีเมืองหลวงทำให้ฮ่องเต้ซ่งฮุยจงต้องทิ้งราชบัลลังก์เพื่อหนีเอาชีวิตรอดลงภาคใต้ ทำให้บัลลังก์นั้นตกเป็นของพระโอรสและขึ้นเป็นฮ่องเต้ที่มีพระนามว่า “ซ่งชินจง” ฉินฮุ่ยได้เขียนหนังสือแนะนำให้ฮ่องเต้ซ่งชินจงเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งข้อเสนอของฉินฮุ่ยนั้นได้สร้างความประทับใจให้ฮ่องเต้ซ่งชินจงเป็นอย่างมาก จนถึงขนาดเรียกตัวฉินฮุ่ยเข้ามาพูดคุยเป็นการส่วนพระองค์พร้อมกับเลื่อนตำแหน่งให้ฉินฮุ่ยมาเป็นที่ปรึกษาด้านการทหารส่วนพระองค์
ในข้อเสนอของฉินฮุ่ยที่แนะนำให้ฮ่องเต้ซ่งชินจงนั้น ใจความหลักคือการเจรจาเพื่อยุติศึกโดยเสนอมอบดินแดนบางส่วนให้กับกองทัพจินเพื่อให้เลิกรา ฮ่องเต้ซ่งชินจงจึงแต่งตั้งให้ฉินฮุ่ยเป็นทูตเพื่อไปเจรจาสงบศึก ในการเจรจานั้นฉินฮุ่ยได้แสดงความพินอบพิเทากับแม่ทัพจินอย่างมากจนแม่ทัพจินนั้นมองออกว่าน่าจะใช้ประโยชน์ในตัวฉินฮุ่ยได้ จึงยอมตกลงที่จะรับดินแดนทั้ง 3 ที่ราชวงศ์ซ่งนั้นจะมอบให้เพื่อแลกกับการสงบศึก
การเจรจานั้นมีทีท่าว่าจะไปได้สวยแต่ทว่าในวันพิธีส่งมอบ ฮ่องเต้ซ่งชินจงกลับเปลี่ยนพระทัยไม่ยอมยกเมืองให้ตามข้อตกลง ทำให้แม่ทัพจินนั้นโมโหอย่างมากจึงจับคณะทูตที่มีทั้งเชื้อพระวงศ์ที่เป็นหัวหน้าคณะเจรจา ขุนนาง ไว้เป็นตัวประกันและปล่อยตัวฉินฮุ่ยกลับไปเพื่อนำข้อความไปกราบทูลฮ่องเต้
การที่ฉินฮุ่ยถูกปล่อยตัวกลับไปนั้นก็ยิ่งทำให้ฮ่องเต้ซ่งชินจงมอบความไว้วางใจให้กับฉินฮุ่ยเป็นอย่างมากเพราะมันแสดงถึงความมีไหวพริบในการเจรจาจนให้แม่ทัพจินไว้วางใจจนต้องปล่อยตัวกลับมา คราวนี้ฉินฮุ่ยได้รับการโปรโมทเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญต่างๆ เริ่มจากการนั่งในเก้าอี้รองราชเลขาธิการและต่อมาก็เลื่อยเก้าอี้ราชเลขาธิการคนเก่าด้วยการให้เป่าหูฮ่องเต้และในที่สุดฉินฮุ่ยก็ได้ขึ้นนั่งในตำแหน่งราชเลขาธิการในที่สุด



WIKIPEDIA CC @HELENNAWINDYLEE

ผลของการเปลี่ยนใจไม่ยกดินแดนให้กับกองทัพกิมในคราวนั้นส่งผลให้อีก 1 ปี ให้หลังในปี ค.ศ.1126 กองทัพจินแต่งทัพมาเต็มสูบ ไล่ตีหัวเมืองต่างๆ จนกระทั่งสามารถตีเมืองหลวงแตกได้ภายใน 3 เดือน ฮ่องเต้และเชื้อพระวงศ์นั้นถูกปลดลงไปเป็นสามัญชนและถูกต้อนกลับไปยังอาณาจักรจิน ซึ่งก่อนที่จะไปนั้นแม่ทัพจินได้มีการตั้งให้ “จางปางชาง” อดีตอัครมหาเสนาบดี (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) เป็นฮ่องเต้พระองค์ใหม่ซึ่งเปรียบเหมือนกับหุ่นเชิดให้กับกองทัพจินคอยดูแลบ้านเมือง
ฉินฮุ่ยได้รับการไหว้วานจากขุนนางที่ยังภักดีต่อราชวงศ์ก่อน ให้ช่วยเจรจาให้กองทัพจินแต่งตั้งคนแซ่จ้าว ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ซ่งให้มาปกครองแทนเนื่องจากไม่อยากให้อำนาจตกไปอยู่กับคนธรรมดาและชาวเมืองอาจจะเกิดการไม่ยอมรับ ซึ่งฉินฮุ่ยก็เห็นว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์กับตนเองถ้าเจรจาสำเร็จจึงได้ร่างหนังสือส่งไปให้กับแม่ทัพจินให้พิจารณา แต่หนังสือที่ส่งไปนั้นทำให้แม่ทัพจินนั้นโหโหเห็นว่าฉินฮุ่ยไม่เคารพในการตัดสินใจจึงสั่งจับฉิินข้วยและต้อนกลับไปยังอาณาจักรจินด้วย
ถึงแม้ว่าจะถูกจับไปเป็นเชลย ชีวิตของฉินฮุ่ยถ้าเทียบกับขุนนางและบรรดาเชื้อพระวงศ์ที่ถูกจับมาด้วยกัน ฉินฮุ่ยนั้นดูเหมือนว่าจะโชคดีกว่าคนอื่นๆ เพราะได้รับการดูแลที่ดีกว่า มีอิสระมากกว่าและที่สำคัญยังได้รับใช้รองแม่ทัพจินนาม “ต้าหลาน” อย่างใกล้ชิดในฐานะอาจารย์ของลูกชายคอยสอนหนังสือ ซึ่งลูกชายของต้าหลานนั้นมักจะสั่งให้ฉินฮุ่ยคลานสี่เท้าพร้อมกับขึ้นไปขี่บนหลังและเอาไม้โบยก้นเหมือนกับขี่ม้า โดยที่ฉินฮุ่ยก็แสร้งทำว่าเป็นสนุกไปด้วย
เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ SpokeDark.TV

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562

พิภพราชา ภาคขยาย ตอนที่ 11 (พาร์ทที่ 3 ศึกเมืองบริวารทั้ง 5 ครั้งที่ 2 และโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่)

พาร์ท 3 ของภาคที่ 4 เป็นเรื่องราวเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของมหิทธินาศรังสรรค์นคร กับเมืองบริวารทั้ง 5 (ล้านช้าง,กระเหรี่ยง,มอญ,ทะนาน และสวัลญา) จับเหตุการณ์ช่วงที่ มังกระยอเปี๋ยะ เจ้าเมืองสวัลญาคนใหม่ ซึ่งเป็นน้องชายของมังตูปิยอร์ เจ้าเมืองสวัลญาคนก่อนที่ถูกเจ้าชายฤทธีราสังหาร ตัดศีรษะ เสียบประจานอยู่ตรงประตูเมือง อันเนืองมาจากมังตูปิยอร์ จับกุมตัวเจ้าชายอัศวเทพไปเป็นตัวประกัน ขณะนัดไปเจรจาเพื่อสงบศึก แต่กลับเล่นตุกติก ใส่ยาสลบในน้ำจัณฑ์ ให้เจ้าชายอัศวเทพดื่ม แล้วจับเป็นตัวประกัน เพื่อเอาไว้ต่อรอง โชคดีที่เจ้าชายฤทธีรา ที่แอบสะกดรอยตามไป พอเห็นเหตุการณ์จึงลงมือช่วยเหลือพระเชษฐาของตน แล้วสังหารมังตูปิยอร์  เหมือนเชือดไกให้ลิงดู เป็นการปรามไม่ให้เจ้าเมืองอีก 4 เมืองก่อหวอด คิดแข็งข้ออีก นั่นคือเหตุการณ์ในช่วงศึกเมืองบริวารครั้งที่ 1 ซึ่งอยู่ในภาคที่ 3






พอมาภาคที่ 4 นี้ ตัวละครใหม่ที่โผล่ขึ้นมามีอีกเพียบเลย คนแรกก็คือ มังกระยอเปี๊ยะ เป็นน้องชายแท้ๆ ของมังตูปิยอร์ เจ้าเมืองสวัลญาที่เสียชีวิต มังกระยอเปี๊ยะ เป็นเด็กเกเรและกบฏ และไปเป็นลูกศิษย์ของราชปักษา อดีตเสนาธิการกองทัพเว้ ได้ฝึกปรือวิชาฝีมือจากราชปักษา ภายหลังติดตามราชปักษาเป็นโจรปล้นสะดม กลายเป็น หน.โจรตั้งแต่วัยรุ่น จวบจนราชปักษาเสียชิวต มังกระยอเปียะก็ได้กลายเป็น หน.กองโจร และแอบนิยมชมชอบ สุภาวดี ซึ่งเป็นหลานสาวของเจ้านฤทธิ์นรเดช เจ้าเมืองเว้ ทำให้มังกระยอเปี๊ยะ มีศักดิ์เป็นหลานเขยของเจ้านฤทธิ์นรเดช แต่ในความเป็นจริง เจ้านฤทธิ์นรเดช ไม่ได้เห็นดีเห็นงามกับหลานสาวตนเองที่ไปนิยมชมชอบโจรเป็นว่าที่สามีหรอก เพียงแต่เห็นถึงความใจกล้าบ้าบิ่นและมีฝึมือของมังกระยอเปี๊ยะเท่านั้น จึงต้องการเก็บเอาไว้เป็นเบี้ยใช้งาน และเมื่อถึงคราวที่ต้องการใช้งานแล้ว แผนการบุกยึดครองมหิทธิเกศถูกวางแผนไว้นานแล้ว เพียงแต่รอจังหวะเหมาะเคราะห์ดีเท่านั้น เพราะในช่วงเวลาที่ภายในมหิทธินาศรังสรรค์ องค์พ่ออยู่หัวโรจนาถราชาออกผนวจเป็นพราหมณ์ไปอยู่ศรีวิชัย แผ่นดินขาดผู้ปกครองที่แท้จริง แม้จะแต่งตั้งเจ้าชายอัศวเทพเป็นผู้สำเร็จราชการแทนก็ตาม แต่ใครก็มองออกว่า เจ้าชายพระองค์นี้ยังไม่มีบารมี และขาดประสบการณ์ ความสามารถที่จะปกครอง อาศัยเพียงขุนพลข้างกายพระบิดาเท่านั้นที่คอยช่วยอุ้มชู ในขณะที่นครรัฐนวเกศเศรษฐี เมืองน้องพี่ ก็กำลังอยู่ในช่วงผลัดแผ่นดิน เกิดกลุ่มก่อรัฐประหารทำการล้มราชบัลลังก์พระราชามนัสกษัตร และปลงพระชนม์ชีพมนัสกษัตร ที่ทำการปิตุฆาตองค์พระเจ้าอยู่หัวปัณณฑัต ทำให้แผ่นดินตกไปอยู่ที่มหาเทพสุกรี องค์ราชบุตรบุญธรรมขึ้นมาปกครองแทน แต่ว่ายังอยู่ในช่วงบูรณะและจัดการปัญหาภายใน ยังไม่มีความพร้อมที่จะออกรบ นี่เป็นช่วงสุญญากาศทางอำนาจของอาณาจักรมหิทธิเกศ ที่ทำให้เจ้านฤทธิ์นรเดชเล็งเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะช่วงชิงการยึดครองแผ่นดินมหิทธิเกศให้ได้




โดยแผนการของเมืองเว้คือไปผูกสัมพันธ์เป็นพันธมิตรกับเจ้าชายอัทธิ์ถิรวารแห่งรัฐจาม และเจ้าชายอภิมันตราแห่งรัฐขอม อีกด้านนึงยืมมือว่าที่หลานเขย โดยส่งมังกระยอเปี๊ยะเจ้าเมืองสวัลญา ทำการเกลี้ยกล่อมเชิงบังคับให้เมืองบริวารอีก 4 ร่วมมือกันทำการก่อหวอด แข็งข้อ และยื่นเงื่อนไข 3 ประการให้มหิทธินาศรังสรรค์ต้องยินยอม มิเช่นนั้น ก็จะต้องก่อสงครามไม่จบสิ้น เงือนไขข้อแรกก็คือขอยกเลิกสถานะเมืองบริวาร งดส่งบรรณาการให้กับทางราชอาณาจักรอีก 2.ขอเชลยศึกที่ถูกจับกุมตัวไปคืน โดยแลกกับผลิตผลทางการเกษตรแทน และ 3.แต่งตั้งองค์ชายฤทธีรา ขึ้นเป็นองค์รัชทายาทอันดับ 1 แทน เพื่อปูทางไปสู่การขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งมหิทธินาศรังสรรค์แทน  ซึ่งเมื่อมีการยื่นเงื่อนไขไปแล้ว ปรากฏว่าข้างฝ่ายของมหิทธิเกศ ไม่มีใครยอมรับเงื่อนไขของฝ่ายเมืองบริวารได้ เจ้าชายอัศวเทพจึงรับสั่งเปิดศึก โดยใช้ยุทธวิธีแบ่งกองกำลังออกเป็น กองกำลังย่อยๆ เพื่อแยกกันเข้าตีเมืองบริวารทั้ง 5 อันประกอบด้วย ล้านช้าง มอญ กระเหรี่ยง ทะนาน และสวัลญา แต่ไม่คาดคิดยูทธวิธีมีจุดอ่อนหลายประการ ทั้งการขาดเอกภาพในการรบ แม้มีผู้นำในแต่ละทัพแยกออกไป แต่ว่าการส่งกำลังบำรุง และการสื่อสารระหว่างทัพย่อยๆ ไม่สามารถติดต่อกันได้โดยสะดวก และรวดเร็ว แม้ว่าจะมีม้าเร็วคอยวิ่งประสานงานกัน และมีทัพหลวงประจำอยู่ที่มหิทธินาศ โดยเจ้าชายฤทธีรา เป็นผู้ดูแลทัพหลวงอยู่ที่พระนคร พอมองเห็นเหตุการณ์ในภาพรวม ก็เริ่มรู้สึกว่ายุทธวิธีการรบเช่นนี้ ก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเป็นอันมาก และแล้วก็เป็นจริง เมื่อรบกันไปได้ 2 เดือน เกิดศึกยืดเยื้อ กองกำลังในแต่ละทัพสูญเสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหลงกลกับดักของฝ่ายเมืองบริวาร ที่ใช้กลยุทธ์แบบกองโจร ซึ่งมังกระยอเปี๊ยะ เป็นผู้นำวิธีการนี้มาใช้ เนื่องจากชำนาญการรบแบบกองโจร คือวางกับดักล่อฝ่ายของราชสำนักมาติดกับ จากนั้นก็ลอบโจมตี ซุ่มโจมตีทำร้าย โดยมีทั้งกับดัก และอาวุธที่ทันสมัย และกองทัพม้าเหล็กของมังกระยอเปี๊ยะ ก็เป็นทัพของเด็กหนุ่มที่ถูกฝึกปรือมาเป็นอย่างดี และยังได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธที่ทันสมัยจากเมืองเว้และรัฐจาม,ขอม ทำให้เหมือนเสือติดปีก ยิ่งรบไปนานเข้าฝ่ายราชสำนักก็บาดเจ็บล้มตายลงไปครี่งหนึ่งของกำลังพลที่ส่งไปรบในแต่ละทัพ จากนั้นเจ้าชายอัศวเทพสั่งถอยทัพกลับทั้งหมด เพื่อกลับมาตั้งหลักใหม่ ด้านออกญาเทพฤทธิ์ และแม่ทัพหมื่นพยัคฆ์กล้า หารือกันว่า ยุทธวิธีการรบของเจ้าชายอัศวเทพผิดพลาดทำให้เกิดการปราชัยแก่ข้าศึก และสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก จึงเสนอต่ออำมาตย์ไกรสิทธิเดช ให้เปลี่ยนตัวผู้บังคับบัญชาการรบใหม่เป็นเจ้าชายฤทธีรา แต่ฝ่ายของอำมาตย์ไกรสิทธิเดช ที่มีพระยาอาจนเรศ และพระลิขิตเมธี ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าความปราชัยนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเจ้าชายอัศวเทพ แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นความปราชัยร่วมกัน




ทัพหน้าบริเวณเมืองล้านช้าง ที่ฝ่ายราชสำนักส่งกองกำลังไปรบนั้นมีจำนวนมากที่สุด เกิดเพลี่ยงพล้ำ บรรดากองกำลังตกอยู่ในวงล้อมกับดักของข้าศึก โดยเฉพาะนักรบอภิบาลกระฏุมพี ซึ่งเป็นนักรบฝีมือดี คู่ใจของเจ้าชายฤทธีรา ตกอยู่ในวงล้อม พอเจ้าชายฤทธีราทราบข่าวจึงลอบไปช่วยเหลือจนเหล่านักรบเหล่านั้น หลุดจากวงล้อมมาได้ และเมื่อกลับมาถึง เจ้าชายฤทธีราทรงสังเกตเห็นว่ากองกำลังของฝ่ายเมืองบริวารมีนักรบหน้าตาคุ้นๆ ทรงนึกออกว่าเป็นทหารของเมืองเว้แน่ๆ เนื่องจากเจ้าชายฤทธีรา มีศักดิ์เป็นพระนัดดาของเจ้านฤทธิ์นรเดช ไปมาหาสู่กับเมืองเว้ตั้งแต่เด็กจึงจำได้ จึงให้อินคาไปสืบที่เมืองเว้ ว่า เมืองเว้ให้การสนับสนุน 5 เมืองบริวารจริงๆ หรือไม่ หรือเป็นเพียงทหารรับจ้างของเมืองเว้ที่มาช่วยทำศึกเท่านั้น แต่ปรากฏว่า พออินคาไปแฝงตัวเป็นสายสืบจนรู้เบาะแสแล้วกลับมารายงานต่อเจ้าชายฤทธีรา กลับกลายเป็นว่า งานนี้ไม่ใช่เพียงแต่เมืองเว้ที่ให้การสนับสนุนต่อเมืองบริวาร แต่ยังมีรัฐจาม และรัฐขอมอยู่เบื้องหลังทัพของพวกเมืองบริวารอีกด้วย ทำให้เจ้าชายฤทธีรา นำเรื่องนี้ไปฟ้องต่ออำมาตย์ไกรสิทธิเดช ที่เป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงอยู่ในเวลานี้ในราชสำนักมหิทธินาศให้รับทราบ

ด้านเจ้าชายอัศวเทพ พอกลับจากทัพหน้าสู้สึกกับพวกล้านช้างแล้ว รู้ว่าตนเองตกเป็นเป้าติฉินนินทาของพวกข้าราชบริพาร ว่าไม่มีน้ำยา เป็นผุ้นำทัพออกรบแล้วปราชัยพ่ายแพ้ สูญเสียกองกำลังทหารไปเป็นจำนวนมาก เกิดจากตนเองอ่อนด้อยประสบการณ์และไม่มีศักยภาพในเชิงการรบที่ดีพอ ทรงเสียพระทัย จึงตัดสินใจที่จะไปเจรจากับเจ้าเมืองบริวารทั้ง 5 ด้วยตนเอง โดยให้ม้าเร็วส่งสาส์นไปนัดแนะก่อน จากนั้น เจ้าเมืองล้านช้างที่อาวุโสสุด เสนอใช้สถานที่ของตนเป็นที่นัดแนะเจรจา เจ้าชายอัศวเทพเสด็จไปพร้อมพระยาอาจนเรศ พัดเศวก องครักษ์สุทิน โดยไม่ได้บอกแก่อำมาตย์ไกรสิทธิเดช โดยหวังว่ากุศโลบายนี้จะได้ผล โดยเจ้าชายอัศวเทพ เสนอเงื่อนไขกลับมาว่า เงื่อนไขข้อแรกไม่อาจตัดสินใจได้ เพราะไม่มีอำนาจเต็มก็คือ การปลดแอกจากเมืองบริวาร แต่เงื่อนไขข้อที่ 2 สามารถสนองได้ทันที ก็คือปล่อยเชลยศึกคืนให้กับเมืองบริวาร โดยไม่ต้องนำผลิตผลทางการเกษตรมาแลก และเงื่อนไขที่ 3 ขึ้นอยู่กับองค์พ่ออยู่หัวโรจนาถ ที่จะแต่งตั้งองค์รัชทายาทคนใหม่เป็นเจ้าชายฤทธีราหรือไม่ เมื่อฟังแล้ว 5 เมืองบริวาร ก็แบ่งรับแบ่งสู้ เนื่องจากได้ตามเงื่อนไขเพียงข้อเดียว อีก 2 ข้อ เจ้าชายอัศวเทพไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ จึงแค่เป็นการมาเจรจาต่อรองเพื่อปรับความสัมพันธ์กันเท่านั้น และพักรบชั่วคราว
อำมาตย์ไกรสิทธิเดช พอทราบจากเจ้าชายฤทธีราว่า เมืองเว้กับรัฐจาม,ขอม อยู่เบื้องหลังเมืองบริวารทั้ง 5 คิดแข็งข้อ จึงเดินทางไปกราบทูลต่อองค์พ่ออยู่หัวโรจนาถราชา ให้ทรงเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำกองทัพใหม่เป็นเจ้าชายฤทธีรา เพราะเห็นแล้วว่าเจ้าชายอัศวเทพไม่ทันเล่ห์กลของฝ่ายเมืองบริวาร และยังกลายเป็นเงื่อนไขเสียเอง ซี่งองค์พ่ออยู่หัวก็ทรงลงพระนามในพระราชโองการแต่งตั้งเจ้าชายฤทธีราเป็นผู้สำเร็จราชการแทน และเป็นผู้นำกองทัพของมหิทธินาศแทนเจ้าชายอัศวเทพ พอเดินทางกลับมา นำราชโองการแต่งตั้งเจ้าชายฤทธีราแล้ว ก็ถามหาเจ้าชายอัศวเทพ ว่าอยู่ที่ใด ก็ไม่มีใครพบ เพราะทุกคนไม่มีใครอยู่ใกล้ชิดเจ้าชายอัศวเทพเลยซักคน และหนล่าสุดที่เจอกันก็คือวันที่ทรงเสด็จแอบไปเจรจาต่อรองกับเจ้าเมืองบริวารทั้ง 5 โดยไม่ได้ปรึกษาใคร เมื่ออำมาตย์ไกร กับเจ้าชายฤทธีราทรงทราบก็รู้สึกว่า การที่เจ้าชายอัศวเทพเสด็จไปโดยพลการ ไม่ได้นำกองกำลังไปด้วย เสี่ยงต่อการถูกพวก 5 เมืองบริวารจับกุม จึงร่วมกันออกตามหา

แท้ที่จริงเจ้าชายอัศเทพ ถูกมังกระยอเปี๊ยะชวนไปดื่มน้ำจัณฑ์ต่อที่บริเวณที่พักของตน เพือต้องการซื้อใจเจ้าชายอัศวเทพ ว่ามีความจริงใจหรือไม่ พอเห็นว่าเจ้าชายอัศวเทพเมามายและพูดจาไม่รู้เรื่องแล้ว จึงให้องครักษ์สุทินส่งเสด็จกลับพระราชวังไป แต่ระหว่างทางที่เสด็จกลับ เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

มีชายชุดดำกลุ่มหนึ่งราว 7 คน ซุ่มโจมตี และลอบทำร้ายเจ้าชายอัศวเทพ ซึ่งในเวลานั้นเมามายหมดสติ ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จะต่อสู้ขัดขืนได้ จึงทรงถูกปลงพระชนม์ โดนจ้วงแทงจากกลุ่มคนร้าย และตัดพระเศียรไป ท่ามกลางการเห็นเหตุการณ์ของพัดเศวกที่ติดตามมาเจอเข้ากับเหตุการณ์พอดี แต่ไม่อาจจะช่วยไว้ได้ทัน องครักษ์สุทินแบกร่างของเจ้าชายอัศวเทพขึ้นบนหลังม้า แล้วควบกลับมา เมื่อทุกคนพบเห็นเจ้าชายอัศวเทพ เป็นร่างที่ไร้วิญญาณ ต่างเศร้าโศกเสียใจ ท้องฟ้ามหิทธินาศรังสรรค์มืดมิดในบัดดล สมกับคำทำนายของโหรพราหมณ์ปุราณะภิฌาน แห่งศรีวิชัย ที่เคยเสด็จเยือนและได้เชื้อชวนองค์พ่ออยู่หัวโรจนาถราชา ออกผนวชเป็นพราหมณ์ เพื่อจะได้สร้างบุญบารมีต่ออายุมหิทธินาศรังสรรค์ให้ผ่านพ้นภัยให้ได้ แต่แล้ว ก็ไม่อาจหลีกพ้นการสูญเสีย ทันทีที่ทราบข่าวร้ายนี้องค์พ่ออยู่หัวโรจนาถราชา ก็ทรงแต่งตั้งเจ้าชายฤทธีราเป็นองค์รัชทายาท และเสด็จกลับมหิทธินาศรังสรรค์เพื่อมาเข้าร่วมในงานพระราชพิธีถวายการเคารพพระบรมศพของเจ้าชายอัศวเทพโดยทันที  พ่ออยู่หัวโรจนาถราชายังไม่ต้องการลาสิกขาจากสมณพราหมณ์ แต่ก็ไม่อาจว่างเว้นจากงานปกครองราชการงานเมืองได้ จึงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ แล้วแต่งตั้งเจ้าชายฤทธีรา เป็นพระราชาองค์ใหม่ของมหิทธินาศรังสรรค์ พร้อมด้วยอภิเษกสมรสพระมเหสีสร้อยแก้วให้กับพระเจ้าฤทธีราด้วย  




เหตุการณ์นี้ทำให้เจ้าชายฤทธีรา ผูกใจเจ็บ 5 เมืองบริวาร และประกาศกร้าวว่าจะต้องจัดการกับ 5 เมืองบริวารนี้ให้จงได้ โดยเฉพาะมังกระยอเปี๊ยะ เจ้าเมืองสวัลญา เพราะสงสัยว่าจะเป็นคนอยู่เบื้องหลังปลงพระชนม์เจ้าชายอัศวเทพ และให้เร่งสืบหาพระเศียรของพระเชษฐาที่ถูกโจรชุดดำเอาไป เหตุการณ์นี้นำมาซึ่งแผนย้อนศร ของพระเจ้าฤทธีราที่ร่วมกันวางแผนกับพระมหาเทพสุกรี เพื่อเล่นงานเมืองเว้กลับ

เจ้าชายฤทธีราอาศัยนักรบอภิบาลกระฏุมพี ที่มีรูปกายกำยำแฝงตัวเข้าไปเป็นนักฟ้อนรำดาบ และโชว์การร่ายรำพลองไฟ ต่อหน้าพระพักตร์พระมเหสีและพระสนมของเจ้านฤทธิ์นรเดช ในงานวันคล้ายวันเกิดของพระมเหสี โดยอาศัยนักรบรูปงามเหล่านี้ยั่วยวนเสน่ห์จนพระมเหสีและพระสนมตกบ่วงเสน่ห์ เชื้อชวนไปร่ายรำพลองกันในวัง 2 ต่อ 2 เป็น 2 คู่ โดยเป็นตำหนักส่วนตัว โดยที่ไม่มีทหารเข้าไปข้องแวะ ทำให้พอเสร็จกิจ นักรบทั้ง 2 ทำการลักลอบจับกุมพระมเหสีและพระสนมที่ถูกทำให้สลบและนำตัวไปเป็นตัวประกัน ในขณะที่เจ้าชายฤทธีราเสด็จไปยังเมืองเว้ ไปขอเข้าพบพระอัยกา (เจ้านฤทธิ์นรเดช) เพื่อขอเจรจา โดยเสนอเงื่อนไข 3 ข้อแลกกับการปล่อยตัวพระมเหสีกับพระสนมคืนให้กับพระอัยกา ซี่งเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อก็คือ 1.ต้องการให้นำตัวมังกระยอเปี๊ยะออกมา มอบให้แก่ตน 2.ให้พระอัยกาวางมือจากการบงการหรืออยู่เบื้องหลังเมืองบริวารทั้ง 5 ไม่ให้การสนับสนุนด้านการทหารอีก และทำสนธิสัญญาสงบศึกต่อกัน 3.ขอให้คืนพระเศียรศีรษะของเจ้าชายอัศวเทพคืนมา เพื่อนำไปทำพิธีถวายพระบรมศพต่อไป โดยมีคำขู่ว่า ตอนนี้ราชอาณาจักรมหิทธินาศ ไม่ได้มีเพียงกองกำลังที่เป็นเอกเทศแต่ยังได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับนวเกศเศรษฐี และราชอาณาจักรลิขิตเทพ(นิมิตรนคร)ด้วย โดยมีกรุงโลกาบรรณพิภพ นพธารานคร และอมรเมฆาธานี ผนึกกำลังเป็นกองกำลังทหารของฝ่ายพันธมิตร 5 นครรัฐ โดยแสร้งนำธงสัญลักษณ์ตราประจำนครรัฐทั้ง 5 มาแสดงให้ดูด้วย เพื่อที่จะข่มขวัญว่ามหิทธินาศก็มีพวก ไม่ใช่เพียงแต่เว้ร่วมมือกับจาม ขอมและเมืองบริวาร ดังนั้น พระอัยกา (เจ้านฤทธ์นรเดช) จะต้องใคร่ครวญตัดสินพระทัยให้ดี แต่ในเมื่อพระมเหสีกับพระสนมตกอยู่ในมือของฤทธีรา ทำให้ทรงยินยอมในเงื่อนไข เพียงแต่กล่าวว่า จะไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับมังกระยอเปี๊ยะอีก ไม่ให้การสนับสนุน แต่เรื่องความแค้นส่วนตัว ก็ขอให้เจ้าชายฤทธีราไปล่าตัวเอาเอง ส่วนเรื่องพระเศียรศีรษะของเจ้าชายอัศวเทพ ทรงกล่าวว่าไม่ได้รับรู้และอยู่เบื้องหลังการลอบปลงพระชนม์ จึงไม่ทราบว่าใครนำพระเศียรไป และอยู่ที่ใด อยู่กับใคร แต่แค่นี้ก็ทำไห้เจ้าชายฤทธีราทรงล่วงรู้แล้วว่า เป็นฝีมือของมังกระยอเปี๊ยะฝ่ายเดียว หลังจากนี้ก็จะสามารถไล่ล่าเอาชีวิตมังกระยอเปี๊ยะได้โดยไม่ต้องมีพระอัยกา เข้ามาช่วยเหลือเกี่ยวข้อง และยังเป็นประกาศให้เมืองเว้ และเมืองบริวารได้รับรู้ด้วยว่า อย่ามาแหยมกับมหิทธินาศในเวลานี้ ก็เพราะว่า ถ้ายังแข็งข้อขัดขืน ก็จะเผชิญศึกกับกองทัพใหญ่ ที่ไม่ใช่มีเพียงแต่กองทัพของมหิทธินาศรังสรรค์เท่านั้น คล้อยหลังเจ้าชายฤทธีรากลับไป ในเวลาต่อมา เมื่อเจ้านฤทธิ์นรเดช นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมของฝ่ายเมืองบริวาร และรัฐพันธมิตรอย่างจาม และขอมแล้ว ได้มีมติที่ประชุมเห็นตรงกันว่า จำเป็นต้องเปิดศึกถล่มกรุงโลกาบรรณพิภพก่อน เพราะว่า ถ้ายึดกรุงโลกาสำเร็จ ด่านต่อไป มหิทธิเกศ ก็ไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ ย่อมสามารถยึดครองได้โดยง่ายกว่า ส่วนอีกด้านก็ปรึกษาไปยังรัฐกลิงคะ และรัฐศรีวิชัย ว่าเห็นดีเห็นงามจะร่วมทำศึกเป็นพันธมิตรด้วยหรือไม่ ถ้าสนใจที่จะเข้าร่วม ก็ให้เปิดศึกในสมรภูมิที่แยกกัน นั่นก็คือ ให้ไปถล่มนพธารานครแทน เพราะว่าเป็นรัฐในราชอาณาจักรลิขิตเทพหรือนิมิตรนครเช่นกัน 

เหตุการณ์ในพาร์ทที่ 4 พาร์ทต่อไป เป็นการนำเข้าไปสู่การเปิดศึกสมรภูมิรบอย่างแท้จริงใน 2 สมรภูมิ ก็คือสมรภูมิแผ่นดินใหญ่อุษาคเณย์โดยมีกรุงโลกาบรรณพิภพเป็นศูนย์กลางถูกรุมกินโต๊ะ และสมรภูมิบริเวณมหาสมุทรบริเวณแหลมอินโดจีนโดยมีนพธารานครถูกรุมกินโต๊ะ โปรดติดตามในตอนต่อไป