1.ยุคละครคลาสสิก
(ช่วงปี 2523-2528) ในความทรงจำของผู้เขียน
แทบไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับละครช่อง 5 อยู่ในหัวเลย
ยิ่งในยุคแรกนี้ ไม่รู้ว่าเคยผ่านตาเรื่องอะไรมาบ้าง เราจะมาลองไล่เรียงกัน
ละครบ่าย
ของเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลา 15.30
น.-16.30 น.
ปี 2523 ลมหวน,
นาคี, นางทิพย์
ปี 2524 กระหังพยาบาท,
กามนิต วาสิษฐี, กำแพงหัวใจ
พอเข้าสู่ปี 2525 กลายเป็นช่วงละครเย็น
ช่วงเวลา 17.20 น.-18.30 น. (ผู้จัดคือ
รัชฟิล์มทีวี เข้ามาจัดทำละครให้กับช่อง 5)
ปี 2525 กำแพงหัวใจ,
เกมเกียรติยศ, ประกาศิตเงินตรา, เกียรติศักดิ์ทหารเสือ
ปี 2526 เพลิงแค้น,
ขบวนการสู้ผีไม่มีถอย
ปี 2527 ขอจำจนวันตาย,
ข้ามฟ้าเฉือนคม
ปี 2528 ขายวิญญาณ,
เขยบ้านนอก
จากนั้นผังละครมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
โดยนำละครเก่ามารีรันใหม่ ตั้งแต่กำแพงหัวใจ มารีรันใหม่จนถึงสิ้นปี และมี ภ.ชุดสั้น
ๆ เช่น ปราสาทผีสิง , พ่อจอมเด๋อ เป็นต้น ก่อนจะเข้าสู่ยุคเรอเนซองส์
ที่เปิดโอกาสให้ค่ายละครต่างๆ ผลิตละครให้กับช่อง 5
แทน
2.ยุคเรอเนซองส์
แบ่งช่วงเวลาของยุคนี้ เป็น 4 ช่วงย่อย ดังนี้
2.1 ละครภาคเช้า
(จันทร์-ศุกร์) ตั้งแต่ปี 2529-2541
2.2 ละครภาคค่ำ
(หลังช่วงหัวค่ำ) ตั้งแต่ปี 2534-ปัจจุบัน
2.3 ละครช่วงหัวค่ำ
(ช่วง 3 ทุ่ม, 4 ทุ่ม) ตั้งแต่ปี 2533-2538
2.4 ละครชุดสั้น ๆ หรือ
มินิซีรี่ย์ ผลิตโดย บริษัท กันตนา
2.1 ละครภาคเช้า จันทร์-ศุกร์ ช่วงเวลา
9.30 น.-11.00 น. ผลิตโดย บริษัท
รัชฟิล์มทีวี
ปี 2529 2 คน 2 คม,
ครั้งหนึ่ง...คิดถึงเสมอ, คลั่ง
ปี 2530 ค่าแห่งชีวิต, คำอธิษฐานของดวงดาว,
คุณพ่อจอมเฟี้ยว (รัชฟิล์มร่วมผลิตกับสีบุญเรืองสยามสตูดิโอ), คุณหญิงแสงแข, ทัดดาวบุษยา, อภินิหารตำนานอีสป
(รัชฟิล์มร่วมผลิตกับอาร์เอส)
ปี 2531 เงาปริศนา, จันทร์กะพ้อ,
รอยพยาบาท, จารชนยอดรัก (รัชฟิล์มร่วมผลิตกับสนง.ตำรวจแห่งชาติ)
ปี 2532 จำปูน,
เจ้าต้องจอมยุ่ง, เจ้าสาวไร่ส้ม, มนต์จันทรา, ผี! วิญญาณและความผูกพัน
ปี 2533 ช่องว่างระหว่างแก้ว,
ชั่วฟ้าดินสลาย, ภ.จีน (ฉายขัดตาทัพ) เรื่อง ความรักของหลินจู่
ปี 2534 (มีการปรับเปลี่ยนเวลาเป็น 9.30 น.-10.30 น.) และมีผู้ผลิตรายอื่นมาร่วมแจม
เริ่มด้วย
ชื่นจิตพเนจร
(รัชฟิล์ม), ชุมทางชีวิต (มาสเตอร์แพลน), ศาลาชาวบ้าน (ดาวเรืองสตูดิโอ), ชูศรีซู่ซ่า
(ไฟว์สตาร์), ดรรชนีนาง (รัชฟิล์ม), ศาลาโกหก (ดาวเรืองสตูดิโอ)
ปี 2535 แก้ว (ไฟว์สตาร์),
คนเยอะเรื่องแยะ (ทีวีซีน), ย.ยักษ์ยอดยุ่ง (ทีวีซีน), ดึกเสียแล้ว (สตาร์วิชั่น),
เพียงแค่ใจเรารักกัน (แกรมมี่-สตาร์วิชั่น)
ปี 2536 บอกแล้วไงวัยสะรุ่น
(ทีวีซีน), เสน่หาเงินตรา (ซีวีดี), ดอกตำแย แจกันทอง (ดาวเรืองสตูดิโอ), อสูรเริงไฟ
(มาสเตอร์วัน), แรงเทียน (มีเดียออฟมีเดียส์), เทพบุตรสุดเวหา (ดีวันทีวี)
ปี 2537 ผู้ผลิตเจ้าหลักเหลือเพียง
บริษัท มีเดียออฟมีเดียส์ เจ้าเดียว เริ่มด้วย
ยอดคุณตูบ,
ดงดอกไม้, ฉันชื่อ...ไศลา, มนต์รักทรานซิสเตอร์
ปี 2538 เมียข้างถนน, พฤกษาสวาท,
เพลิงสีรุ้ง, ระบำอสูร, วิมานลวง, พระจันทร์หลงเงา, จิตแพทย์หมายเลข 5
ปี 2539 ผู้ใหญ่ลีกับนางมา, คุณนายโอซาก้า,
สร้อยฟ้าขายตัว, อภินิหารเทพนิยายกริมม์, ดอกไม้ในป่าหนาว, กุหลาบไร้หนาม
ปี 2540 กลับมามีผู้ผลิตหลายราย
เริ่มด้วย เพลิงริษยา
(มีเดียออฟมีเดียส์), สามอนงค์ (อัครมีเดีย), แก้วจอมแก่น (กันตนา)
ปี 2541 อัศจรรย์ในไทยแลนด์
(กันตนา), บุญชูผู้น่ารัก (มีเดียออฟมีเดียส์), ผัวรสมะนาว (อัครมีเดีย),
สุริยาที่รัก หลังจากเรื่องนี้ทางช่อง 5 ก็นำละครเรื่อง
เทพบุตรสุดเวหา มารีรันต่อ
2.2 ละครภาคค่ำ
ผลิตโดย บริษัทไนท์สปอต และสีบุญเรืองสยามสตูดิโอ ช่วงจันทร์-ศุกร์ เวลา 21.55 น.-22.55 น.
ปี 2531 ชมรมต่อต้านผู้หญิง, จิตไม่ว่าง, ชาวเขื่อน,
ห้วงรักเหวลึก
ปี 2532 กิ่งกาหลง, ดวง, เมียไม่ใช่เมีย
2.3 ละครช่วงหัวค่ำ ผลิตโดย
บริษัท มาสเตอร์แพลน ช่วงจันทร์-ศุกร์ เวลา 20.50 น.-21.37 น.
ปี 2534 แดดทอรุ้ง, เดชานี, ต้นส้มแสนรัก
ปี 2535 (ยกเลิกช่วงละครหัวค่ำ
ไว้อาลัยเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ยาว 42 วัน มาเริ่มมิถุนายน
เป็นช่วงเวลาใหม่) เวลา 15.50 น.-17.00 น. มีละครฉายเพียง 2 เรื่องก็คือ
ตะวันตกดิน, ตามรักตามล่า และก็ยกเลิกช่วงเวลานี้ไปอีก ปี 2536 ละครเรื่อง ตามรักตามล่า ถูกเลื่อนไปฉายเวลา 12.45 น.ของวันพุธ
จนอวสาน
2.4 ละครชุดสั้นๆ มินิซีรี่ย์
หรือซิทคอม ช่วงเวลา จันทร์-ศุกร์ 17.30 น.-18.30 น. ผลิตโดย บ.กันตนา
ปี 2523 งาน ชีวิต และความรัก, 38 ซอย
2, บาปบริสุทธิ์ (ฐาปกรณ์,พรสุดา,นัฏฐา,สุรศักดิ์) , ข้าวนอกนา
ปี 2524 (ห)ย่า,
ชาวเขื่อน
ปี 2525 ชาวเขื่อน,
คุณย่าที่รัก
-ช่วงละครชุดสั้นๆ
มินิซีรี่ย์ หรือซิทคอม ช่วงเวลา เสาร์-อาทิตย์ 15.30
น.-16.30 น.
ปี 2526 คุณปู่ที่รัก,
ทิมมวยไทย, สวนทางเถื่อน, กระท่อมดนตรี
ปี 2527 ซีอุย (เทอดพร มโนไพบูลย์),
เหล็กน้ำพี้, คนทะเล, หลอแหล, ล่าวิญญาณ
ปี 2528 ตี๋ใหญ่ (ฉัตรชัย-ฐาปกรณ์) ,
แม่น้ำ (ปวีณา), เงินปากผี, อสูรกาย, แม่เอิบ
ปี 2529 มาเฟียซาอุ,
โผน กิ่งเพชร, ชาติมังกร, หางเครื่อง
ปี 2530 สื่อรักภูติน้อย,
ซูซี่ซิงซิง, เล็บครุฑ
ปี 2531 บาปบริสุทธิ์
ยกกำลัง 2, ร้อยป่า
ปี 2532 (มีการเปลี่ยนเวลาของละครบริษัทกันตนาไปอยู่ช่วงเวลา
ทุกพฤหัส-ศุกร์ 21.55
น.-22.55 น.) เริ่มด้วย ทิวาหวาม, ผมอาถรรพ์, เพื่อนผมชื่อสมปอง,
ยอดพธู, ปีศาจในโลงศพ, สุรีย์รัตน์ล่องหน
ปี 2533 (ย้ายกลับมาอยู่เสาร์-อาทิตย์ เวลา 17.30 น.-18.00 น.)
เริ่มด้วย สุรีย์รัตน์ล่องหน, สลับร่างแสนรัก, เธอคือดวงดาว, สาลิกาไร้รัง พอจบละครเรื่องนี้ ผังละครช่วงนี้ก็ถูกยกเลิกไป
ปี 2534 (ผังละครภาคค่ำ แบ่งเป็น อาทิตย์ละ 2
เรื่อง จันทร์-อังคาร 1 เรื่อง
และพุธ-ศุกร์ อีก 1 เรื่อง ในช่วงเวลา 21.37
น.– 22.22 น.) แบ่งเป็น
จันทร์-อังคาร ผังละครของค่าย อัครมีเดีย เริ่มด้วย ชลาลัย, แม่ผัวมหาภัย
กับสะใภ้สารพัดพิษ, พ่อปลาไหล แม่พังพอน
พุธ-ศุกร์ เป็นละครค่ายกันตนา เริ่มด้วย พิษสวาท (ลีลาวดี-เล็ก ไอศูรย์),
ผู้การเรือเร่, มานวิกาใจร้าย, ปีศาจหรรษา
ปี 2535 (จันทร์-อังคาร,อัครมีเดีย)
กาในฝูงหงส์, เมียนอกกฎหมาย,
เจ้าสาวแสนกล, คนบาป
(พุธ-พฤหัส,กันตนา)
ลางรัก, ทายาทอสูร (ชไมพร-ศานิต), ดวงใจแม่, จะไม่มีช่องว่างระหว่างเรา, หมาต๋า
(ศุกร์-อาทิตย์,เอ็กซ์แซ็กท์) เพิ่มบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่เข้ามาอีก 1 เจ้า กลายเป็นสัปดาห์นึงมี 3 เรื่อง จาก 3 ค่ายละครเป็นครั้งแรก โดยเริ่มจาก รักในรอยแค้น, วังน้ำวน, กุหลาบในเปลวไฟ,
เคหาสน์ดาว
ปี 2536 (จันทร์-อังคาร,อัครมีเดีย) สกุลกา, มฤตยูยอดรัก, พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ,
คนละโลก
(พุธ-พฤหัส,กันตนา) หนุหล่ะเบื่อเสื้อสวมรอย, บ้านไร่ริมธาร,
เทพบุตรสุดเวหา
(ศุกร์-อาทิตย์,เอ็กซ์แซ็กท์) ช่างมันฉันไม่แคร์ (สินจัย-สามารถ-จอห์น), บัลลังก์เมฆ,
ยามเมื่อลมพัดหวน (หมิว-เจ)
ปี 2537 (จันทร์-อังคาร์,อัครมีเดีย) แววมยุรา, ความฝันที่ถูกทำลาย, ปีกมาร (ยุรนันท์-สินจัย-กษาปณ์) ,
แม่นาคพระโขนง 94
(พุธ-พฤหัส,กันตนา) นางฟ้าปีกอ่อน, เกมเกียรติยศ,
เจ้านาง, หนาวน้ำตา
(ศุกร์-อาทิตย์,เอ็กซ์แซ็กท์) ล่า, เพื่อเธอ, สนทนาประสาจน (เครดิตข้อมูลข้างต้น : คุณชัย เว็บเพจ มูลนิธิหนังไทย)
3.ยุคของละครเอ็กซ์แซ็กท์
(ช่วงปี 2535-2557) จัดว่าเป็นยุคเฟื่องฟูของช่อง
5 แม้ว่าจะเหลือผู้จัดละครเพียงค่ายเดียวก็คือ
บริษัทเอ็กซ์แซ็กท์ แต่ก็นับว่าละครของค่ายนี้ประสบความสำเร็จ
ทำเรตติ้งสูงสุดให้กับช่อง 5 และเปิดมิติใหม่ให้กับวงการละครโทรทัศน์
เนื่องจากบทประพันธ์และบทละครส่วนใหญ่เป็นบทประพันธ์ที่แต่งโดยทีมเขียนบทของค่ายละครเอง
และเป็นลายเซ็นต์ของเอ็กซ์แซ็กท์ ซึ่งสร้างความแตกต่างและเป็นรสชาดใหม่ๆ ให้กับวงการละครไทย
ซึ่งละครส่วนใหญ่ของค่ายนี้ ได้รับความนิยม ไม่น้อยหน้าช่องหลักอย่าง ช่อง 3
กับช่อง 7 รวมถึงมีนักแสดงเป็นของค่ายหรือช่องเป็นของตัวเอง
รายละเอียดของรายชื่อละคร และนักแสดง สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD#.E0.B8.9B.E0.B8.B5_2535
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น