Syn HUB ,Co-working Space สำหรับ Startup และ Maker แห่งแรกที่ พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ นำศักยภาพของบริษัท Synergy Technology ทั้งด้าน
Hardware และ Software ในกลุ่มผลิตภัณฑ์
PCB, LED, Home Automation, Medical และ RFID เพื่อช่วยทำให้ฝันของ กลุ่มธุรกิจเกิดใหม่ (Startup) และกลุ่มนักประดิษฐ์ (Maker) ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์จริงๆ
สถานที่ประกอบไปด้วย 6 โซนต่างๆ เช่น โซนที่นั่งทำงาน ทั้ง hot seat และ long-term seat โซนห้องประชุมแบบ Smart
office โซนสำหรับจัดกิจกรรม Workshop โชว์รูมทางเทคโนโลยี
ร้านกาแฟ เป็นต้น สามารถนั่งชมวิว Panorama ของกรุงเทพฯ
ผ่านกระจกใส พร้อมเครื่องดื่มคุณภาพ จึงสามารถเป็นที่รวมตัวของกลุ่มนักธุรกิจ
นักศึกษา และลูกค้าทั่วไปได้ด้วยในตัว นอกจากนี้ Syn HUB จะยังเป็นช่องทางเชื่อมโยงระหว่าง Startup กับหน่วยงานภาครัฐ
และภาคเอกชน เช่น สถาบันวิจัยต่างๆ รวมถึง VC สรุปคำกล่าวจากนายนิติ
เมฆหมอก กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินเนอร์ยี เทคโนโลยี จำกัด
Microsoft
Information Center เปิดโอกาสให้ทุกท่านได้มีโอกาสเรียนรู้ และทำความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง
นับตั้งแต่การเข้าถึงสินค้าหรือบริการ การให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้งาน
ความสะดวกสบายในการเลือกสินค้า
การเลือกผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
ไปจนถึงความอุ่นใจที่ได้เลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัย
มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย
นอกจากนี้ไมโครซอฟท์พร้อมที่จะถ่ายทอดวิสัยทัศน์ในด้าน ‘mobile-first,
cloud-first’ ของเราให้กับลูกค้าทุกราย รวมถึงคู่ค้าทุกท่าน
และ Startup ที่จะเข้ามาใช้พื้นที่ในพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า
โฉมใหม่ สรุปคำกล่าวจากนายเอกราช ปัญจวีณิน
ผู้อำนวยการฝ่ายการบริหารสินค้าคอนซูเมอร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
Intel E-Sport
Arena เวทีสำหรับการแข่งขันเกมส์ และสถานที่ฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬาอี
สปอร์ตที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจะมีกิจกรรมการแข่งขันเกมส์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมี
Intel
Experience Zone เพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยีใหม่ๆ
และยังเป็นศูนย์กลางของการนำโมเดลธุรกิจใหม่ๆ มานำเสนอและพัฒนา
เพื่อช่วยยกระดับวงการไอทีไทยให้ทันสมัยยิ่งขึ้น “สำหรับ
Intel E-Sport Arena จะมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์เดสก์ท้อปที่มี
อินเทล® คอร์™ ไอเซเว่น
โปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุดพร้อมเทคโนโลยีล้ำสมัย อาทิ อินเทล® ไอริส
กราฟิก และอินเทล® เอสเอสดี จำนวน 60 เครื่อง
ตลอดจนมีการอัพเกรดสเปคเครื่องให้ทันสมัยที่สุดอยู่เสมอเพื่อสร้างประสบการณ์การแข่งขันที่ทันสมัยและดีที่สุด
นอกจากนั้น ยังสามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับฝึกซ้อมของทีมต่างๆ
เพื่อเตรียมประลองฝีมือในระดับนานาชาติอีกด้วย” นายสนธิญา
หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
กล่าวเสริม และสำหรับจุดเด่นเดิมนั้นก็ยังคงไว้อยู่
และยกระดับมากขึ้น จัดเป็น Retro zone และ
Handy Man Zone (พื้นที่ใหม่สำหรับการบริการงานซ่อมสินค้าเทคโนโลยี) กล่าวโดยสรุปคือ
พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า จะผสาน content ใหม่ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มากขึ้น
โดยตั้งเป้าว่าจะไม่ใช่ศูนย์การค้าที่คุณมาเมื่ออยากซื้อหรืออยากซ่อมสินค้า
แต่จะเป็นศูนย์การค้าที่คุณจะอยากมาบ่อยๆ ทั้งการมาเพลิดเพลินสนุกสนาน
และการได้มาดูเรื่องธุรกิจไปด้วย นายณภัทร เจริญกุล
กรรมการผู้จัดการกลุ่มรีเทล บริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด อธิบาย
ศูนย์การค้า บ็อกซ์
สเปซ รัชโยธิน (Box Space Ratchayothin)
เปิดคอนเทนเนอร์ มอลล์ ที่นำตู้คอนเทนเนอร์กว่า 20 ตู้ มาปรับโฉมด้วยการเพ้นท์ลวดลายเท่ๆ
จากฝีมืออาร์ติสที่คิดนอกกรอบชั้นแนวหน้าของเมืองไทย
ให้กลายเป็นแหล่งช้อปและจุดแฮงเอ้าท์ของคนรุ่นใหม่ในรูปแบบ “ไลฟ์สไตล์ โซเชี่ยล
คอมมิวนิตี้” โดยพัฒนาภายใต้แนวคิด “Vibrant Box” คือการนำตู้คอนเทนเนอร์มาใช้เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ภายในโครงการแบ่งพื้นที่เป็นทั้งหมด
3
โซน คือ Market Zone,
Plaza Zone และ Hangout Zone โดยโครงการได้สรรหาร้านค้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน นายศุภเดช
เลิศพยับ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าบ็อกซ์สเปซ กล่าวว่า
“บ็อกซ์ สเปซ ได้รวมร้านค้าภายในไว้มากมาย โดยแบ่งเป็นโซนต่างๆ อาทิ
Market Zone
รวมสินค้าที่ตอบโจทย์ขาช็อปทั้งชายและหญิง
โดยจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนสินค้าที่อยู่ในกระแสหรือความสนใจในช่วงเวลานั้นๆ
เช่น ตลาดอาหาร สำหรับนักชิม, ตลาดเสื้อผ้า
สำหรับผู้ชื่นชอบแฟชั่นนิสต้า, ตลาด Indy สำหรับผู้ที่ต้องการความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร เป็นต้น Plaza Zone ภายในโซนจะประกอบด้วยร้านอาหาร เครื่องดื่ม ร้านเสื้อผ้า
ร้านจำหน่ายสินค้า Accessories ต่างๆ และ Hangout Zone โซนที่โครงการต้องการให้เป็นจุดนัดพบ หรือแหล่งพบปะสังสรรค์แห่งใหม่
โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าจากสำนักงาน, กลุ่มนักเรียน นิสิต
นักศึกษา,กลุ่มที่พักอาศัยในแนวพื้นที่จตุจักร, รัชดา และลาดพร้าว เปิดตัวแบบสุดชิคด้วยงาน “บ็อกซ์ สเปซ มาร์เก็ต” จากวัน Grand Opening 12-14 ก.พ.
พร้อมงานแฟร์ที่รวมสุดยอด “พ่อค้าหล่อแม่ค้าแซ่บ” มันส์ไปกับคอนเสิร์ตจากนักร้องดังระดับแนวหน้าเมืองไทย
อาทิ ฮั่น เดอะสตาร์ ROOM39 บ็อกซ์ สเปซ รัชโยธิน (Box
Space Ratchayothin) ได้จัดกิจกรรมพิเศษฉลองเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ชวนมาเพลิดเพลิน เดิน ช้อป ชิล ในงาน “บ็อกซ์ สเปซ มาร์เก็ต”
งานที่รวมร้านค้ามากมายทั้งในโซนพลาซ่าและโซนตลาดนัดที่ฉีกกรอบด้วยคอนเซปต์
“พ่อค้าหล่อแม่ค้าแซ่บ” ให้ได้แซ่บกันตลอดงาน
เพลิดเพลินกับเครื่องดื่มในโซนมินิลานเบียร์จากเบียร์ช้าง
พร้อมดนตรีสุดชิลตลอดค่ำคืน
เปิดประสบการณ์การช้อปรูปแบบใหม่ในตลาดแฟชั่นและงานแฮนด์เมดไอเดียเก๋ที่มีให้เลือกหลากหลายแนว ผู้สนใจสามารถมาเยือน
“บ็อกซ์ สเปซ รัชโยธิน” ได้บริเวณที่ติดกับ SCB รัชโยธินพร้อมบริการพื้นที่จอดรถมากกว่า
300 คัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2117 1111
หนึ่งในดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทยในหลายยุคหลายสมัย ไม่พ้น "ธุรกิจค้าปลีก" ในปี 2559 ทิศทางจะเป็นอย่างไร ต้องจับตากับความท้าทายในบริบทใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ต้องยอมรับก่อนว่าปี 2559 ยังไม่มีปัจจัยบวกที่โดดเด่น เกื้อหนุนต่อภาคธุรกิจค้าปลีกให้ขยายตัวได้อย่างหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งให้ผู้ประกอบการภาคค้าปลีกแตะเบรกการลงทุนได้ ต่างประกาศชัดเดินหน้าแผนการลงทุนขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีใครหยุดนิ่ง "ศุภลักษณ์ อัมพุช" รองประธานกรรมการ บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารสยามพารากอน, เดอะ มอลล์, ดิ เอ็ม โพเรียม และดิ เอ็มควอเทียร์ กล่าวว่า แนวโน้มธุรกิจค้าปลีก เมืองไทยปี 2559 คาดว่าจะเติบโตดีกว่าปี 2558 เนื่องจากความมั่นคงของเสถียรภาพทางการเมืองที่มีมากขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐเข้ามาส่งเสริมเรื่องระบบคมนาคมขนส่ง ทั้งในเรื่องของการเพิ่มเที่ยวบิน การขยายสนามบินภูเก็ต จะมีส่วนช่วยในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในเมืองไทยเพิ่ม และจะส่งผลดีต่อภาพรวมธุรกิจค้าปลีกด้วย "การลงทุนของกลุ่มเดอะมอลล์ยังอยู่ภายใต้แผนการทุ่มงบฯ กว่า 50,000 ล้านบาทใน 6 โครงการ ที่จะทยอยเปิดไปจนถึงปี 2561" เริ่มต้นโครงการระดับลักชัวรี่ เดอะ ดิสทริค เอ็ม ย่านสุขุมวิท 3 โครงการ คือ ดิ เอ็มโพเรียม, ดิ เอ็มควอเทียร์ และดิ เอ็มสเฟียร์ เนื้อที่รวม 50 ไร่ พื้นที่ทั้งหมด 650,000 ตารางเมตร งบลงทุนไม่รวมมูลค่าที่ดินกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้ยังเหลือดิ เอ็มสเฟียร์ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับพื้นที่เตรียมก่อสร้าง เพื่อกำหนดเปิดในปี 2561 ส่วนโครงการใหญ่ที่เหลือเป็นการขยายฐานสู่ทำเลใหม่ๆ กับโปรเจ็กต์บลู คอลเล็กชั่น บุกทำเลหัวหิน ที่มีพันธมิตรอย่างกลุ่มพราว เรียลเอสเตส เปิดโครงการบลูพอร์ต หัวหิน รีสอร์ต มอลล์ เนื้อที่ 25 ไร่ พื้นที่โครงการ 250,000 ตารางเมตร เงินลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท โครงการบลูเพิร์ล ภูเก็ต ที่มีทั้งศูนย์การค้า ศูนย์รวมความบันเทิง คอนเวนชั่น เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ รีสอร์ตโฮเต็ล และเวิลด์คลาส ธีม ปาร์ก เนื้อที่รวม 150 ไร่ พื้นที่โครงการกว่า 650,000 ตารางเมตร และสุดท้ายโครงการ แบงค็อกมอลล์ ตามแผนสร้างย่านในเขตอัพทาวน์ ณ จุดตัดถนนบางนา-ตราด กับสุขุมวิท เชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอุดมสุขและบางนา เนื้อที่กว่า 100ไร่ พื้นที่โครงการ 650,000 ตารางเมตร งบลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท ตรงข้ามกับศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ที่คาดจะเปิดให้บริการในอีก 3 ปีข้างหน้า ส่วนกลุ่มลูกค้าไทยเอง "ชำนาญ เมธปรีชากุล" รองกรรมการบริหาร เดอะมอลล์ กรุ๊ป เตรียมการรับมือการแข่งขันของธุรกิจที่จะมีสูงขึ้นในปี 2559 ด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารงานในยุคใหม่ โดยได้แต่งตั้งผู้นำทัพการตลาดใหม่อย่าง นางวรลักษณ์ ตุลาภรณ์ มาร่วมเป็นพลังสำคัญของสายงานการตลาด ในตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด วางแนวทางการตลาดในปี 2559 เน้นในเรื่อง "One on One CRM-CEM-Customer Engagement" รวมทั้ง "Shopping Experience" หรือการสร้างประสบการณ์ตอบโจทย์ให้แต่ละบุคคล เพื่อเพิ่มการจงรักภักดีให้ลูกค้าของทั้ง 4 ห้าง แต่ก่อนอื่นต้องปรับปรุงระบบเทคโนโลยีครั้งใหญ่ใหม่ ทั้งหมด ใช้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท แบ่งการลงทุนออก เป็นเฟสๆ ซึ่งจะเริ่มทำได้ในปี 2559-2561 เพื่อใช้เก็บฐานข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์หาแนวทาง ทำตลาดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม ที่ปัจจุบันมี มากถึง 30 กลุ่ม "ปี 2559 เชื่อว่าค้าปลีกจะไม่สดใสมากนัก อาจจะทรงๆ แต่จะดีขึ้นจากปี 2558 เดอะมอลล์ตั้งเป้าหมายยอดขายไว้ก่อนเติบโต 5% จากปีก่อนทำได้ 52,000-53,000 ล้านบาท และการทำตลาดลักษณะนี้จะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าได้มากขึ้น ในภาวะการแข่งขันที่รุนแรง" นายชำนาญกล่าวอีกว่า อีกเหตุผลหนึ่งเป็นการสร้างความจงรักภักดีกับเราได้ต่อเนื่อง เพราะกลยุทธ์ตลาดที่จะทำไป ในแต่ละกลุ่มฐานลูกค้าจะมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น และให้ลูกค้าเปลี่ยนไปห้างอื่นน้อยลง
ส่วนอีกบิ๊กของวงการคือ
"เซ็นทรัล" ช่วงปีที่ผ่านมาใส่เกียร์เดินหน้าลงทุนเปิดสาขาใหม่ตลอดปี
ซึ่งเป็นไปตามแผนงานระยะ 3 ปี ระหว่างปี 2558-2560 ภายใต้เงินลงทุน 53,000 ล้านบาท และปี
2559 จะเป็นคิวของโครงการเซ็นทรัลพลาซา นครศรีธรรมราช กับเงินลงทุน 4,000 ล้านบาท ต่อด้วยเซ็นทรัล นครราชสีมา มูลค่าลงทุน 9,300 ล้านบาท พื้นที่ 2.5 แสนตารางเมตร และเซ็นทรัล ภูเก็ต มูลค่าลงทุน 12,700 ล้านบาท เนื้อที่ 3 แสนตารางเมตร เปิดดำเนินการปี 2560 "ปรีชา เอกคุณากูล"
กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด
(มหาชน) หรือซีพีเอ็น กล่าวว่า ยังมีโครงการใหม่อีกไม่น้อยกว่า 20
แห่งที่อยู่ในความสนใจ และการเดินเกมรุกขยายสาขาต่อเนื่องทั้งในเขตปริมณฑล
หัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด รวมทั้งหัวเมืองรอง นอกจากนี้ยังมีอีก 2 โครงการ
เป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ คือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ด้วยงบลงทุน 2,300 ล้านบาท และเซ็นทรัล บางนา ด้วยงบ 1,200 ล้านบาท
เป็นยุทธวิธีของเซ็นทรัล ในการสร้างการเติบโตต่อเนื่อง 15%
ทุกปีควบคู่กับการเพิ่มพื้นที่ใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศสำหรับเป้าหมาย 1.8
ล้านตร.ม.ภายในปี 2560 ด้วยเม็ดเงินลงทุน 1.3-1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ฝากฝั่งของ "โรบินสัน"
ห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเซ็นทรัล ที่วางกลยุทธ์ให้เจาะตลาดในหัวเมือง และจังหวัดรองๆ
ในปี 2559 ต้องปรับแผนการลงทุนเมื่อเศรษฐกิจเป็น แบบนี้
โดยชะลอการขยายสาขาใหม่เหลือแค่ 2 สาขา เท่านั้น คือ นครศรีธรรมราช
ในเซ็นทรัลพลาซา และลพบุรี รูปแบบไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์
จากเดิมที่จะมีการเปิดสาขาใหม่เฉลี่ยปีละ 4-5 สาขา ลงทุนปีละ 15,000 ล้านบาท แต่จะกลับมาลงทุนในเชิงรุกปีละ 4 สาขาอีกครั้งในปี 2561
ด้าน "ซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น" ปีที่ผ่านมา ยังเดินหน้าลงทุนเปิดสาขาต่อเนื่องทุกวัน ใช้งบประมาณ 9 พันล้านบาท เปิดสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นไม่ต่ำกว่า 600 แห่ง เพื่อให้ปี 2559 มีสาขาครบ 10,000 สาขาทั่วประเทศตามแผนที่วางไว้ วันนี้อาจเป็นเรื่องยากในการ คาดการณ์กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า แต่ไม่ใช่อุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกที่พร้อมจะฝ่าฟันเพื่อพลิกฟื้น ให้วงการค้าปลีกดีดตัวกลับมา เป็นหนึ่งใน "จิ๊กซอว์" สำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2559 ตลาดรีเทลภูธรคึกคัก หลังเครือเซ็นทรัลเตรียมผุดอย่างน้อย 5 ห้างใหม่ในช่วง 3 ปี นาวสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เปิดเผยว่าบริษัทมีแผนที่จะขยายสาขาศูนย์การค้าทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ รวมไปถึงเมืองท่องเที่ยวสำคัญ โดยในปีนี้บริษัทเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่อย่างน้อยอีก 4-5 โครงการด้วยงบลงทุนรวมกว่า 12,000-14,000 ล้านบาท สำหรับแผนในการเปิดตัวศูนย์การค้าใหม่ของกลุ่มเซ็นทรัลในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ เริ่มต้นด้วย เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 29 มีนาคม 2557 นี้ ตามมาด้วยเซ็นทรัล พลาซา ศาลายา เปิดให้บริการวันที่ 15 สิงหาคม 2557 ในช่วงต้นปี 2558 จะเป็นกำหนดเปิดเซ็นทรัล พลาซา ระยอง ต่อด้วย เซ็นทรัล เวสท์เกต บางใหญ่ในช่วงกลางปี 2558 และปิดท้ายด้วยเซ็นทรัล พลาซา นครราชสีมา ซึ่งเป็นสาขาที่ 28 ที่บริษัทเพิ่งประกาศการพัฒนา โดยจะเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤษภาคมนี้ และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2559 สำหรับเซ็นทรัล พลาซา นครราชสีมา ใช้เงินลงทุน 7,000 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 52 ไร่บนถนนมิตรภาพสายใหม่ เลี่ยงเมืองโคราช มีพื้นที่โครงการรวม 50,000 ตารางเมตร มีร้านค้ารวมกว่า 400 ร้านค้า เจาะกลุ่มเป้าหมายกำลังซื้อสูงในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้เมื่อเปิดให้บริการ บริษัทคาดว่าจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 50,000-60,000 คนในวันธรรมดา และประมาณ 70,000-80,000 คนในช่วงสุดสัปดาห์ และจะถึงจุดคุ้มทุน 7 ปี
ด้าน "ซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น" ปีที่ผ่านมา ยังเดินหน้าลงทุนเปิดสาขาต่อเนื่องทุกวัน ใช้งบประมาณ 9 พันล้านบาท เปิดสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นไม่ต่ำกว่า 600 แห่ง เพื่อให้ปี 2559 มีสาขาครบ 10,000 สาขาทั่วประเทศตามแผนที่วางไว้ วันนี้อาจเป็นเรื่องยากในการ คาดการณ์กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า แต่ไม่ใช่อุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกที่พร้อมจะฝ่าฟันเพื่อพลิกฟื้น ให้วงการค้าปลีกดีดตัวกลับมา เป็นหนึ่งใน "จิ๊กซอว์" สำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2559 ตลาดรีเทลภูธรคึกคัก หลังเครือเซ็นทรัลเตรียมผุดอย่างน้อย 5 ห้างใหม่ในช่วง 3 ปี นาวสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เปิดเผยว่าบริษัทมีแผนที่จะขยายสาขาศูนย์การค้าทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ รวมไปถึงเมืองท่องเที่ยวสำคัญ โดยในปีนี้บริษัทเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่อย่างน้อยอีก 4-5 โครงการด้วยงบลงทุนรวมกว่า 12,000-14,000 ล้านบาท สำหรับแผนในการเปิดตัวศูนย์การค้าใหม่ของกลุ่มเซ็นทรัลในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ เริ่มต้นด้วย เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 29 มีนาคม 2557 นี้ ตามมาด้วยเซ็นทรัล พลาซา ศาลายา เปิดให้บริการวันที่ 15 สิงหาคม 2557 ในช่วงต้นปี 2558 จะเป็นกำหนดเปิดเซ็นทรัล พลาซา ระยอง ต่อด้วย เซ็นทรัล เวสท์เกต บางใหญ่ในช่วงกลางปี 2558 และปิดท้ายด้วยเซ็นทรัล พลาซา นครราชสีมา ซึ่งเป็นสาขาที่ 28 ที่บริษัทเพิ่งประกาศการพัฒนา โดยจะเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤษภาคมนี้ และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2559 สำหรับเซ็นทรัล พลาซา นครราชสีมา ใช้เงินลงทุน 7,000 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 52 ไร่บนถนนมิตรภาพสายใหม่ เลี่ยงเมืองโคราช มีพื้นที่โครงการรวม 50,000 ตารางเมตร มีร้านค้ารวมกว่า 400 ร้านค้า เจาะกลุ่มเป้าหมายกำลังซื้อสูงในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้เมื่อเปิดให้บริการ บริษัทคาดว่าจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 50,000-60,000 คนในวันธรรมดา และประมาณ 70,000-80,000 คนในช่วงสุดสัปดาห์ และจะถึงจุดคุ้มทุน 7 ปี
http://manager.co.th/Daily/ViewNews....=9580000010539 )
ทุ่ม6หมื่นล้านปรับโฉมการค้าย่านราชประสงค์
สมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์เทเงินร่วมกันกว่า 6
หมื่นล้าน ปรับโฉมใหม่ เล็งขึ้นแท่นติด 1 ใน 3
ย่านการค้าที่สมบูรณ์แบบในเอเชีย วันอังคาร 27 มกราคม 2558 เวลา 16:42 น. นายชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์
เปิดเผยว่า ปีนี้ สมาชิกของสมาคมฯ เตรียมทุ่มงบประมาณรวมกันกว่า 60,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุง และขยายกิจการ รองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(เออีซี) และดึงดูดให้มีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นภายใน 3 ปีต่อจากนี้
จากปัจจุบันที่มีผู้มาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 400,000 คน
เป็นวันละ600,00-800,000 คน พร้อมทั้งวางเป้าหมายขึ้นเป็นที่
1 ใน 3 ของย่านการค้าที่มีสินค้าของบริการครอบคลุม
และสมบูรณ์ที่สุดแบบในเอเชีย ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อพัฒนาทั้งหมดแล้วเสร็จในปี 61 จะส่งผลให้พื้นที่ค้าปลีกในย่านราชประสงค์จะเพิ่มจาก
884,200 ตร.ม. เป็นกว่า 1,000,000 ตร.ม.
และมีจำนวนห้องพักเพิ่มจาก 4,000 ห้อง เป็น 5,000 ห้อง ส่งผลให้เงินสะพัดในย่านเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีมูลค่า375 ล้านบาทต่อวัน เป็น 500 ล้านบาทต่อวัน ขณะเดียวกัน สมาคมฯ
จะร่วมกันสร้างสะพานลอยที่เชื่อมโยง 18 ตึกสมาชิกในย่านราชประสงค์ให้เดินถึงกันได้
เริ่มต้นตั้งแต่สี่แยกราชประสงค์ไปถึงศูนย์การค้าแพลตินัม ย่านประตูน้ำ เพิ่มเติมจากสะพานลอยเดิม
ซึ่งรวมเป็นระยะทาง 1.5 ก.ม. เพื่อสร้างความเชื่อมโยงของพื้นที่การค้า
สำหรับการลงทุนเป็นของ 5 สมาชิกสมาคม แบ่งเป็น
การลงทุนของเซ็นทรัล กรุ๊ป ที่จะปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่ค้าปลีกภายในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์
เซน และอิเซตัน พร้อมทั้งเตรียมเข้าร้านค้าแบรนด์ต่างประเทศเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อยกระดับศูนย์ฯให้พรีเมียมมากขึ้น
, กลุ่มเกษร พร็อพเพอร์ตี้ ลงทุนปรับปรุงภายในศูนย์การค้าเกษร
และพัฒนาอาคารสำนักงานใหม่ สูง 30 ชั้น ส่วนเดอะ แพลตินัม
กรุ๊ป ลงทุนพัฒนาศูนย์ค้าปลีก-ส่งใหม่ ภายใต้ชื่อเดอะ มาร์เก็ต บายแพลตินัม นอกจากนี้
กลุ่มไมเนอร์ กรุ๊ป และดิ เอราวัณ กรุ๊ป ลงทุนเปลี่ยนแบรนด์โรงแรมโฟร์ ซีซั่นส์
กรุงเทพฯ เป็นโรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นโรงแรมในเครือไมเนอร์ กรุ๊ปแทน และสุดท้ายเป็นการพัฒนาโครงการที่พักอาศัยของบริษัทแมกโนเลียควอลิตี้
ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
“เราจะต้องเร่งปรับตัวให้พัฒนาเทียบเท่ากับย่านช้อปปิ้งชื่อดังระดับโลก
เพราะตอนนี้มองไปไกลถึงนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งจุดสำคัญที่จะแข่งขันได้ คือห้างร้านจะต้องเชื่อมโยงถึงกัน
เพราะจะกระจายคนให้เข้าถึงศูนย์การค้าต่าง ๆได้มากขึ้น นอกจากนี้ก็ต้องมีสินค้าบริการที่ครบครันในที่เดียวด้วย” นายรณชิต มหัทธนะพฤทธิ์
รองประธานอาวุโส ฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
กล่าวว่า การพัฒนาห้างและเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในย่านราชประสงค์จะอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว
และทำให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมในย่านคึกคักกว่าปกติอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวเอเชีย
เช่น จีน อินเดีย อาเซียนที่ชื่นชอบ การช็อปปิ้งก็จะนิยมพักใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
เพื่อให้สะดวกกับการเดินทาง ทั้งนี้คาดว่าอัตราการเข้าพักของนักท่องเที่ยวในปี 58
คาดว่าจะอยู่ที่ 83%ซึ่งดีกว่าปีที่ผ่านมาที่อยู่ที่
75%เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์ทางการเมือง (เครดิตอ้างอิงhttp://www.dailynews.co.th/Content/e...B8%84%E0%B9%8C
)
RSTAชูราชประสงค์ดาวน์ทาวน์ เอกชนกางแผนลงทุนรวม6หมื่นล้าน ผู้ประกอบการย่านราชประสงค์ไม่รอภาครัฐ จูงมือร่วมกันลงทุนโครงการมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท พร้อมแนะรัฐหลายด้านเพิ่มศักยภาพธุรกิจไทยแข่งขันนานาชาติ นายชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ หรือ RSTA เปิดเผยว่า นับจากนี้อีก 3 ปีข้างหน้า บริเวณย่านราชประสงค์จะมีการลงทุนพัฒนาโครงการต่างๆ เกิดขึ้นอีกจำนวนมาก เบื้องต้นคาดการณ์ว่าอาจมีมูลค่าราว 60,000 ล้านบาท โดยการลงทุนที่เกิดขึ้นก็เพื่อรองรับปริมาณของนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มมากขึ้น รวมถึงยังเป็นการทำให้ย่านราชประสงค์มีศักยภาพมากพอในการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้นในทางหนึ่งด้วยเช่นกัน “ย่านการค้าหรือแหล่งช็อปปิ้งในต่างประเทศ มักมีการเชื่อมต่อกันภายในย่านเกิดขึ้น เรามองถึงขีดความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันกับต่างชาติในตอนนี้ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน การลงทุนที่เกิดขึ้นมาจากภาคเอกชน ที่จะผลักดันให้ย่านแห่งนี้กลายเป็นโมเดล “ราชประสงค์ดาวน์ทาวน์” และโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจะสร้างให้บริเวณนี้สามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาภายใน 1 วันแล้วคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น” นายชาย กล่าว ด้านประเด็นที่อยากจะฝากถึงภาครัฐให้ดำเนินการต่อไป คงจะเป็นความชัดเจนทางด้านนโยบายของรัฐที่อยากให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการปรับลดภาษีก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยไม่ได้มองว่าต้องถึงระดับศูนย์เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องอยู่ในระดับที่แข่งขันกับประเทศอื่นได้ รวมถึงค่าเงินบาทที่ต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะ มองว่าระดับ 32 บาท เหมาะสมที่สุด สำหรับการลงทุนจากมูลค่าดังกล่าวที่กำลังจะเสร็จสิ้นในอนาคตนั้น มาจากสมาชิกผู้ประกอบการภายในย่านราชประสงค์ด้วยกันหลายราย ได้แก่ 1.กลุ่มเซ็นทรัล เตรียมปรับปรุงศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ครั้งใหญ่ คาดว่าจะดำเนินการได้ในช่วงปี 2559 2.ไมเนอร์ กรุ๊ป จะรีแบรนด์โรงแรมโฟร์ ซีซั่นส์ กรุงเทพฯ ในช่วงงบเดือน มี.ค.นี้ ให้กลายเป็นโรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ ภายใต้เงินลงทุนราว 600 ล้านบาท และจะเป็นแฟลกชิพของโรงแรมในเครืออนันตรา 3.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาก็ได้ใช้เงินลงทุนพัฒนาโครงการไปกว่า 4,000 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้โรงแรมเป็นไอคอนทีสำคัญของย่าน 4. กลุ่มเกษร พร็อพเพอร์ตี้ ใช้เงินลงทุนราว 400 ล้านบาท ในการปรับปรุงและเพิ่มสัดส่วนร้านอาหารเป็น 30% และ 5. เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป ผู้พัฒนาโครงการ เดอะ มาร์เก็ต บาย แพลทินัม บนเนื้อที่ 226,500 ล้านบาท มูลค่าโครงการกว่า 7,500 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 นอกจากนี้ ภายในย่านราชประสงค์ยังมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ “แมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด” มูลค่าโครงการกว่า 6,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ รวมถึงผู้ประกอบการยังได้ร่วมลงทุนในการสร้างทางเชื่อมบางกอกสกายไลน์ยาว 500 เมตรที่มีการเชื่อมต่อจากแพลทินัม ไปจนถึงศูนย์การค้าเกษร ภายใต้เงินลงทุนอีก 400 ล้านบาท จะเปิดใช้งานได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 นายชายยังกล่าวว่า ปัจจุบันผู้เข้ามาใช้บริการภายในย่านราชประสงค์อยู่ที่ประมาณ 4 แสนคนต่อวัน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวราว 40% เชื่อว่าภายหลังจากที่โครงการต่างๆ ได้ถูกพัฒนาจนแล้วเสร็จแล้ว จะส่งผลให้มีผู้เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หรือประมาณ 6-8 แสนคนต่อวัน. (เครดิตอ้างอิง http://www.thaipost.net/news/280115/102209 )
RSTAชูราชประสงค์ดาวน์ทาวน์ เอกชนกางแผนลงทุนรวม6หมื่นล้าน ผู้ประกอบการย่านราชประสงค์ไม่รอภาครัฐ จูงมือร่วมกันลงทุนโครงการมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท พร้อมแนะรัฐหลายด้านเพิ่มศักยภาพธุรกิจไทยแข่งขันนานาชาติ นายชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ หรือ RSTA เปิดเผยว่า นับจากนี้อีก 3 ปีข้างหน้า บริเวณย่านราชประสงค์จะมีการลงทุนพัฒนาโครงการต่างๆ เกิดขึ้นอีกจำนวนมาก เบื้องต้นคาดการณ์ว่าอาจมีมูลค่าราว 60,000 ล้านบาท โดยการลงทุนที่เกิดขึ้นก็เพื่อรองรับปริมาณของนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มมากขึ้น รวมถึงยังเป็นการทำให้ย่านราชประสงค์มีศักยภาพมากพอในการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้นในทางหนึ่งด้วยเช่นกัน “ย่านการค้าหรือแหล่งช็อปปิ้งในต่างประเทศ มักมีการเชื่อมต่อกันภายในย่านเกิดขึ้น เรามองถึงขีดความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันกับต่างชาติในตอนนี้ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน การลงทุนที่เกิดขึ้นมาจากภาคเอกชน ที่จะผลักดันให้ย่านแห่งนี้กลายเป็นโมเดล “ราชประสงค์ดาวน์ทาวน์” และโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจะสร้างให้บริเวณนี้สามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาภายใน 1 วันแล้วคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น” นายชาย กล่าว ด้านประเด็นที่อยากจะฝากถึงภาครัฐให้ดำเนินการต่อไป คงจะเป็นความชัดเจนทางด้านนโยบายของรัฐที่อยากให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการปรับลดภาษีก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยไม่ได้มองว่าต้องถึงระดับศูนย์เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องอยู่ในระดับที่แข่งขันกับประเทศอื่นได้ รวมถึงค่าเงินบาทที่ต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะ มองว่าระดับ 32 บาท เหมาะสมที่สุด สำหรับการลงทุนจากมูลค่าดังกล่าวที่กำลังจะเสร็จสิ้นในอนาคตนั้น มาจากสมาชิกผู้ประกอบการภายในย่านราชประสงค์ด้วยกันหลายราย ได้แก่ 1.กลุ่มเซ็นทรัล เตรียมปรับปรุงศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ครั้งใหญ่ คาดว่าจะดำเนินการได้ในช่วงปี 2559 2.ไมเนอร์ กรุ๊ป จะรีแบรนด์โรงแรมโฟร์ ซีซั่นส์ กรุงเทพฯ ในช่วงงบเดือน มี.ค.นี้ ให้กลายเป็นโรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ ภายใต้เงินลงทุนราว 600 ล้านบาท และจะเป็นแฟลกชิพของโรงแรมในเครืออนันตรา 3.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาก็ได้ใช้เงินลงทุนพัฒนาโครงการไปกว่า 4,000 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้โรงแรมเป็นไอคอนทีสำคัญของย่าน 4. กลุ่มเกษร พร็อพเพอร์ตี้ ใช้เงินลงทุนราว 400 ล้านบาท ในการปรับปรุงและเพิ่มสัดส่วนร้านอาหารเป็น 30% และ 5. เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป ผู้พัฒนาโครงการ เดอะ มาร์เก็ต บาย แพลทินัม บนเนื้อที่ 226,500 ล้านบาท มูลค่าโครงการกว่า 7,500 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 นอกจากนี้ ภายในย่านราชประสงค์ยังมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ “แมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด” มูลค่าโครงการกว่า 6,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ รวมถึงผู้ประกอบการยังได้ร่วมลงทุนในการสร้างทางเชื่อมบางกอกสกายไลน์ยาว 500 เมตรที่มีการเชื่อมต่อจากแพลทินัม ไปจนถึงศูนย์การค้าเกษร ภายใต้เงินลงทุนอีก 400 ล้านบาท จะเปิดใช้งานได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 นายชายยังกล่าวว่า ปัจจุบันผู้เข้ามาใช้บริการภายในย่านราชประสงค์อยู่ที่ประมาณ 4 แสนคนต่อวัน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวราว 40% เชื่อว่าภายหลังจากที่โครงการต่างๆ ได้ถูกพัฒนาจนแล้วเสร็จแล้ว จะส่งผลให้มีผู้เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หรือประมาณ 6-8 แสนคนต่อวัน. (เครดิตอ้างอิง http://www.thaipost.net/news/280115/102209 )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น