ผู้เขียนขอนำมาลงไว้เพียง 4 กลุ่มหรือ 4 ซุปเปอร์ฮีโร่ ที่เป็นตัวแทนของยุคสมัยเท่านั้น
ตำนานอุลตร้าแมน
อุลตร้าซีรีส์ เป็นภาพยนตร์ซีรีส์โทคุซัทสึซึ่งสร้างโดยบริษัท ซึบุราญ่าโปรดักชั่น ซึ่งจะเป็นซีรีส์ที่มียอดมนุษย์ร่างยักษ์ออกมาสู้กับสัตว์ประหลาดต่างๆและในตอนจบก็จะมีลำแสงปิดท้ายยิงใส่สัตว์ประหลาดด้วย
ยุค60-80
• อุลตร้าแมน
• อุลตร้าเซเว่น
• การกลับมาของอุลตร้าแมน (แจ็ค)
• อุลตร้าแมน เอซ
• อุลตร้าแมนทาโร่
• อุลตร้าแมนเลโอ
• อุลตร้าแมน 80
ยุค90
• อุลตร้าแมนทีก้า
• อุลตร้าแมนไดน่า
• อุลตร้าแมนไกอา
ยุค2000
• อุลตร้าแมนคอสมอส
• อุลตร้าแมนเน็กซัส
• อุลตร้าแมนแม็กซ์
• อุลตร้าแมนเมบิอุส
• อุลตร้าเซเว่น X
• อุลตร้าแกแล็คซี่ ไดไคจูแบทเทิล
ยุค2010
• อุลตร้าแมนเซโร่
• อุลตร้าแกแล็คซี่ WARS
ย้อนหลังไปเมื่อ 35 ปีที่แล้ว ยอดมนุษย์ 'อุลตร้าแมน' ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 1966 (ปีเดียวกับที่อังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกและวัฒนธรรมบันเทิงจากแดนผู้ดีกำลังเบ่งบานทั้งดนตรีและภาพยนตร์) ด้วยรูปแบบของรายการซีรีย์ทางทีวีต่อเนื่องกันหลายตอน หนังสือ Pacific Friend เดือนธันวาคมปี 1997 รายงานว่า ประเทศที่อุลตร้าแมนเข้าไปประสบความสำเร็จมากๆก็คือสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียรวมไปถึงในเอเชีย
หลังจากออกอากาศในญี่ปุ่น อุลตร้าแมนกลายเป็นยอดมนุษย์ยอดฮิตมีการขอซื้อไปแพร่ภาพในหลายประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ในยุโรปและตะวันตก (ชาติที่วัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็น 'ของต้องห้าม' อย่างเกาหลีนั้น ในเวลาต่อมาก็มีการนำเข้าไปเผยแพร่) รวมทั้งถูกสร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่น และในที่สุด อุลตร้าแมน กลายเป็นโปรดักท์ที่สร้างชื่อเสียงและเงินทองให้กับทาง Tsubaraya Production เป็นอย่างมาก (มีการสร้างเป็นภาพยนตร์อีกหลายครั้งกับบริษัท Tokusatsu Films) ประจักษ์พยานอย่างหนึ่งที่บอกกับคนดูว่า ซีรีย์ชุดของอุลตร้าแมนได้รับความนิยมมาก คือ บรรดาสัตว์ประหลาด หรือตัวร้ายในซีรีย์ชุดนี้นั้นมีมากกว่า 600 ชนิด ซึ่งถูกผลิตออกมาในเวลากว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา และสมาชิกของอุลตร้าแมนอย่าง อุลตร้าแมน เอซ, อุลตร้าแมน เซเว่น, อุลตร้าแมน ไดน่า ตัวอื่นๆ ยังคงถูกกล่าวขานจนถึงวันนี้
ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ จู่ๆ หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกใหม่ๆ ทำไมถึงมีการสร้างการ์ตูนออกมาจำนวนมาก "ผมคิดว่า ประเทศที่แพ้สงครามนั้นต้องดิ้นรนและพัฒนาประเทศ และต้องทำทุกวิถีทางที่จะเอาเงินเข้าประเทศ จะเห็นได้ว่า ช่วงปี 1965-1966 นั้น ญี่ปุ่นประกาศเลยว่าจะทำการ์ตูนครองโลก คือ จะเอาการ์ตูนครองโลกในวงการทีวี" สมโพธิ แสงเดือนฉาย ลูกศิษย์ของ เอจิ ซึบูราย่า ที่ร่วมค้นคิดประดิษฐ์ยอดมนุษย์ชุดอุลตร้าแมน เคยให้สัมภาษณ์กับ 'จุดประกาย' เมื่อไม่นานมานี้ เขายังบอกอีกว่า ยอดมนุษย์ หรือการ์ตูนของญี่ปุ่น ไม่สามารถเอาไปเปรียบเทียบกับการ์ตูนของฮอลลีวู้ดได้ เพราะเขาเชื่อว่าการ์ตูนของอเมริกานั้นเป็นความบันเทิงที่ฉาบฉวยไม่ต่างจากการ์ตูนของญี่ปุ่นบางชุด "ผมว่าการ์ตูนหรือยอดมนุษย์ยุคใหม่นั้น มีแต่ความรุนแรง ไล่ฆ่ากันลูกเดียว ซึ่งผมคิดว่าบางทีคนดูเขาไม่ได้ต้องการให้ยอดมนุษย์ หรือฮีโร่ของเขามีแต่ความดุร้ายอย่างเดียว" คำพูดของผู้ให้กำเนิดอุลตร้าแมน ทำให้น่าคิดว่าการที่ยอดมนุษย์ชนิดนี้จะสามารถอยู่มายาวนานนั้น จะต้องมีองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ไม่ใช่เก่ง มีอิทธิฤทธิ์เยอะและตีลังกาได้หลายตลบ หากแต่มีคุณธรรมน้ำมิตรและจิตใจที่โอบอ้อมอารี "ผมว่าเขาเป็นฮีโร่ที่สุภาพ มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี จะเห็นได้ว่า บางทีสัตว์ประหลาดสำนึกผิด ก็จะมีการให้อภัย หรือลงโทษด้วยการส่งไปอยู่นอกโลก ไม่ใช่เหมือนการ์ตูนยอดมนุษย์ทุกวันนี้ที่มีแต่ฆ่ากันลูกเดียว มันโหดร้ายกันเกินไป" สมโพธิ บอก "ส่วนหนึ่งที่เป็นแบบนั้นเพราะว่าบริษัทต่างๆ มุ่งที่จะขายกันมากเกินไป เลยต้องสร้างคุณสมบัติที่รุนแรงออกมาเพื่อถูกใจเด็กๆ" หากมองกันในมุมวิเคราะห์ สิ่งที่ สมโพธิ บอกกับ 'จุดประกาย' นั้นน่าจะเป็นจริง อย่างน้อยเมื่อใครสักคนลองมองสำรวจโครงสร้างของอุลตร้าแมน จะเห็นได้ว่า สีที่ทาลงบนตัวของยอดมนุษย์นั้น นอกจากจะดึงดูดด้วย 'สีแดง' ซึ่งเป็นสีที่มี density การที่ใช้สีแดงนั้น ผลดีอย่างหนึ่ง ก็คือ ทำให้ถูกจดจำง่ายและเป็นสีที่มีพลัง แสดงถึงอำนาจและอิทธิฤทธิ์ และที่สำคัญมากที่สุด ก็คือ สีแดง เป็นสีของพระอาทิตย์ (sun) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นเคารพนับถือ และหากลองสังเกตดูวิธีการเดียวกันถูกทำซ้ำในหลายครั้ง โดยเฉพาะที่ตัวการ์ตูนที่ชัดที่สุด ก็คือ โปเกมอน บนแก้มของพลพรรคฟิกาชู แต่ขณะเดียวกัน การดีไซน์เนื้อหาของอุลตร้าแมนไม่ได้ถูกนำเสนอออกมาในแนวดิ่ง แต่กลับทำให้ผู้รับ (audience) สามารถเข้าถึงได้ง่าย ด้วยวาดลวดลายที่กลมมนโค้งเว้า อันแสดงถึงนัยที่อ่อนโยน อบอุ่น ผิดกับตัวสัตว์ประหลาดที่มักมีโครงสร้างลวดลายที่คมเหลี่ยมและเต็มไปด้วยความแหลมของเขา,กระดอง,แขนและขา สีแดงที่มีลวดลายจึง 'น่าจะถูกใช้' เพื่อมีผลทางจิตใจต่อคนดู ขณะเดียวกัน ถ้าเรามองการ์ตูนของญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตมาจนถึงยุคปัจจุบันนั้น เราจะเห็นได้อย่างหนึ่งว่า หลายๆ ครั้งที่มีการส่งออกตัวการ์ตูนไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น ญี่ปุ่นก็ได้ฝัง culture หรือสอดใส่ 'ไส้วัฒนธรรม' ลงไปด้วย ไส้วัฒนธรรมที่ว่านี้ ไม่ใช่ 'ไส้ช็อกโกแลต' หรือ ไส้สตรอเบอร์รี่ แต่เป็น 'ของสอดแทรก' ที่เต็มไปด้วยผลทางจิตใจในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นท่าที, การปล่อยแสง, วิธีการแปลงกาย, ท่าทางที่ตลกและสนุกสนาน, ศีลธรรมจริยธรรม ดังจะเห็นได้ว่า การดีไซน์ของอุลตร้าแมนนั้น เอาเข้าจริงๆ แล้วก็มีวิธี imitate มาจากคนจริงๆ แตกต่างตรงที่รูปทรงส่วนของศีรษะนั้น จะมีการดัดแปลง ทำซ้ำและพลิกแพลงให้เปลี่ยนไปตามแบบต่างๆ การที่รูปทรงของศีรษะถูกดัดแปลงและพลิกแพลงไปตามแบบต่างๆนั้นมีผลอย่างน้อยสองทาง อย่างแรก มันทำให้ยอดมนุษย์ที่มีอยู่หลายตัวนั้น มีความแตกต่างกันออกไป เช่น การที่อุลตร้าเซเว่นมีหน้าตาคล้ายกับวัวนั้น ก็เพราะรูปทรงที่ผู้สร้างดีไซน์ให้ ไม่ต่างจากอุลตร้าอื่นๆ มีสัญลักษณ์ให้คนดูจำได้จากลักษณะเฉพาะบนศีรษะ (อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ปุ่มตามตัวของยอดมนุษย์ก็สามารถสร้างสไตล์หรือคาแรกเตอร์ให้กับตัวละครได้) "ตอนที่ผมคิดผมก็เอาลักษณะบางอย่างของพระพุทธเจ้าไปใส่ไว้ อย่างพระเกศของรูปปั้นพระพุทธเจ้า หรือพระสมัยสุโขทัย คุณดูสิว่าพระเราเป็นพระที่มีเสน่ห์มาก ไม่มีพระองค์ไหนหน้าบึ้งเลย ขณะที่พระญี่ปุ่นหน้าตาจะบึ้งมาก คือ จริงจังมาก"สมโพธิบอก ไม่เพียงแค่นั้น เมื่อถามถึงลิ่วล้ออื่นๆ ของยอดมนุษย์นั้น เขาบอกว่าไม่ใช่จู่ๆ ก็ใส่เข้าไป แต่เขาดัดแปลงคาแรกเตอร์ของลิงองคตบ้าง,สุครีพบ้างจากเรื่อง'รามเกียรติ์'มาใส่ไว้ในอุลตร้าแมน ยังมีอะไรอีกบ้างที่ทำให้ 'อุลตร้าแมน' มีอายุขัย และความเป็นตำนานมาจนถึงทศวรรษ และชนะซูเปอร์ฮีโร่ตระกูลอื่นๆ นอกจากไปจากทัศนะที่ 'จุดประกาย' กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่ถือว่าน่านำมาพิจารณาด้วย ก็คือ ลักษณะการสร้างรายละเอียดที่มีต่อคาแรกเตอร์ ซึ่งน่าจะมีผลต่อการเสพรับของคนดูทุกรุ่น จากพื้นฐานดั้งเดิมนั้น ยอดมนุษย์ยุคหนึ่งเกิดขึ้นมาจากการประดิษฐ์และคิดค้น โดยไม่พึ่งพางานสเปเชียลเอฟเฟคท์ ผลดีอย่างหนึ่งจากการสร้างคาแรกเตอร์โดยไม่พึ่งสเปเชียลเอฟเฟคท์ ก็คือ ทำให้คนดูรู้สึกและสัมผัสได้ถึงความสมจริงซึ่งการ์ตูนหรือยอดมนุษย์ยุคใหม่ไม่มีให้เห็น แสงสีที่วูบวาบและเต็มไปด้วยการสร้างสีสันในแบบ 'เกินจริง' ของเอฟเฟคท์นั้น ผลทางหนึ่งทำให้คนดูไม่รู้สึก 'ความผูกพัน' ต่อตัวละครนั้นๆ ซึ่งความผูกพันต่อคาแรกเตอร์ต่างๆ นั้น เป็นข้อบังคับอย่างหนึ่งในการสร้างความบันเทิงที่มีต่อผู้เสพ หนังหรือการ์ตูน รวมไปถึงละครทีวีอะไรก็แล้วแต่ หากไม่สามารถทำให้คนดูตามตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง นั่นก็เท่ากับว่า ผู้สร้างล้มเหลวไปแล้วครึ่งหนึ่งต่อผู้เสพ (บางคนอาจจะเลือกทำลายตัวละครหนึ่งลงแต่ก็จะมีการสร้างใครสักคนให้คนดูผูกพันเอาใจช่วย) สมโพธิ บอกว่า เขาไม่ชอบการ์ตูนเอฟเฟคท์ เพราะฉาบฉวยและดูวูบวาบ! ความฉาบฉวยและวูบวาบในแสงสีและท่าทางที่ว่านี้แหละ ที่เราน่าจะนำผลมา 'สนับสนุน' ความเป็นตำนานของอุลตร้าแมนหลังจากยอดมนุษย์ชุดนี้ผ่านช่วงเวลามานานกว่าสามทศวรรษ ! สังเกตได้ว่า แสงสีและสเปเชียลเอฟเฟคท์ของการ์ตูนยุคใหม่นั้น (หรือจากหนังแฟนตาซีบางเรื่องอาทิ Star Wars, Star Trek, The Lost in Space) เมื่อถูกปล่อยออกมายังหน้าจอทีวี หรือจอภาพยนตร์ในโรงนั้น มีลักษณะของการโชว์(show) มากกว่าที่จะนำเสนอให้เห็นหรือ'เข้าถึงคุณค่า'(value)ทางจิตใจ ประกายแสงสี หรือภาพวูบวาบที่ปรากฏของยอดมนุษย์ยุคใหม่นั้น ไม่ต่างจากอะไรกับที่ดนตรีแนว Grunge Rock นำมาเสนอกับคนดูบนเวทีคอนเสิร์ต ซึ่งแนวกรันจ์ ร็อค ที่ว่านี้ สีสันอยู่ที่การแสดงหรือการโชว์มากกว่าที่จะนำเสนอถึงคุณค่าในดนตรีและบนเพลง อาจเป็นเหตุผลนี้ก็ได้ ดนตรีแนว กรันจ์ ร็อค ถึงหายไปจากความนิยมของคนฟังอย่างรวดเร็ว เป็นอาการที่ไม่ต่างอะไรจากยอดมนุษย์จำนวนมาก ที่มาพร้อมกับเอฟเฟคท์มากมายในยุคปัจจุบัน และเหนือสิ่งอื่นใดที่ อุลตร้าแมน มี แต่ซูเปอร์ฮีโร่หลายๆ ตัวไม่มีก็คือ อาการขาด cheerfull หรือ 'ความมีชีวิตชีวา' ของตัวละครในหนัง อาการแบบมีชีวิตชีวานี่เอง ที่ทำให้เราเห็นอุลตร้าแมน "ล้อเล่น" กับสัตว์ประหลาด อาการมีชีวิตชีวานี่เอง ที่อุลตร้าเซเว่นแสร้งตีลังกาผิดพลาดอยู่บ้างในบางฉาก แต่เราไม่ค่อยพบและเห็นในการ์ตูนแนวซูเปอร์ฮีโร่ในยุคปัจจุบันอย่างที่สมโพธิบอกกับ"จุดประกาย" อาการมีชีวิตชีวานี่เองที่น่าจะทำให้อุลตร้าแมนอยู่ในใจ และเป็นตำนานตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา เหมือนพวกเขาจะบอกว่า ตำนานที่ว่านี้ ก็คือ สัจธรรมแห่งความจริงที่อยู่คู่โลกมนุษย์ตลอดมา สัจธรรมอันว่าด้วย... 'ความดีงาม' จะอยู่เหนือ 'ความชั่วร้าย' และ 'ธรรมะ' ย่อมชนะ 'อธรรม' ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
หมายเหตุ : ข้อมูลประกอบส่วนหนึ่งจากหนังสือ Pacific Friend (ธันวาคม 1997)
การกลับมาของตำนานไรเดอร์
มาสค์ไรเดอร์ (อังกฤษ: Mask Rider) หรือ คาเมนไรเดอร์ (ญี่ปุ่น: 仮面ライダー Kamen Raidā ?) เป็นชื่อชุดของภาพยนตร์ โทคุซัทสึซึ่งสร้างสรรค์จากความคิดของ โชทาโร่ อิชิโนะโมริ ที่ได้รับความนิยมและมีการสร้างอย่างต่อเนื่องที่สุดชุดหนึ่งของญี่ปุ่น สำหรับในประเทศไทย ภาพยนตร์ชุดนี้ โดยเฉพาะภาพยนตร์ในซีรีส์แรก ๆ มักนิยมเรียกกันว่า ไอ้มดแดง ตามชื่อเมื่อฉายครั้งแรกในไทย (ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ไม่มีไรเดอร์คนใดเลยที่มีต้นแบบมาจากมด)
คำว่า คะเม็ง (ญี่ปุ่น: 仮面 kamen ?) ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง หน้ากาก และ มาสค์ (mask) ในภาษาอังกฤษหมายถึงหน้ากากเช่นเดียวกัน ชุดการสร้างได้ถูกแบ่งออกเป็นสองช่วงคือยุคโชวะที่เริ่มจากคาเมนไรเดอร์ ถึง คาเมนไรเดอร์ BLACK RX และช่วงที่สองคือยุคเฮเซ เริ่มตั้งแต่ มาสค์ไรเดอร์คูกะ ถึงปัจจุบัน
เนื้อเรื่องในซีรีส์แรกของมาสค์ไรเดอร์ (ในไทยใช้ชื่อ ไอ้มดแดงอาละวาด) เกิดขึ้นในโลกที่ถูกรุกรานจากองค์การก่อการร้ายอันลึกลับที่ใช้ชื่อว่า ช็อกเกอร์ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะครองโลก เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ช็อกเกอร์ได้ลักพาตัวคนจำนวนมากเพื่อนำมาเป็นสมุน โดยผ่าตัดดัดแปลงคนเหล่านั้นให้เป็นมนุษย์ดัดแปลงโดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย ก่อนที่จะล้างสมองเป็นขั้นตอนสุดท้าย อย่างไรก็ตาม เหยื่อรายหนึ่ง ผู้ซึ่งมีชื่อว่า ฮอนโก ทาเคชิ ได้รับการช่วยเหลือออกมาก่อนที่จะถูกล้างสมอง เมื่อสำนึกและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเขามิได้ถูกลบล้างไปด้วย ฮอนโกจึงตัดสินใจที่จะใช้พลังที่เขาได้มาจากการดัดแปลงเพื่อต่อสู้กับองค์การช็อกเกอร์ในฐานะซูเปอร์ฮีโรนาม มาสค์ไรเดอร์ หรือ ไอ้มดแดง หลังจากนั้นก็ได้มีการสร้างไอ้มดแดงในรูปแบบต่างกันขึ้นในภาคต่อ ๆ มา
คุณลักษณะสำคัญของมาสค์ไรเดอร์
ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มาสค์ไรเดอร์ในทุกๆภาคจะยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์และลักษณะสำคัญของการเป็นมาสค์ไรเดอร์ดังนี้
หน้ากาก
จุดสำคัญอย่างแรกของมาสค์ไรเดอร์คือหน้ากาก โดยลักษณะเด่นๆนั้นจะอยู่ดวงตาของไรเดอร์ ที่จะมีลักษณะเป็นวงรีโดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับแมลง มีเขาซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นแมลงชนิดใด (ยกเว้นไรเดอร์บางคนที่ไม่ได้มาจากแมลง เช่น อาเมซอนหรือริวคิ เป็นต้น)
เข็มขัด
ซีรีส์ของไรเดอร์ในช่วงโชวะ ไรเดอร์ทุกคนจะเป็นมนุษย์ดัดแปลง ซึ่งอาจจะถูกองค์กรวายร้ายหรือพรรคพวกร่วมกันดัดแปลงก็แล้วแต่ พวกเขาจะมีเข็มขัดฝังอยู่ในร่างกาย เมื่อทำการแปลงร่างเข็มขัดจะปรากฏขึ้นมาและแปลงร่างเป็นไรเดอร์ ในช่วงยุคต่อมาของซีรีส์ไรเดอร์ในยุคปัจจุบันในบางเรื่องเข็มขัดจะเป็นลักษณะถอดออกได้ ทำให้ในบางตอนจะมีลักษณะตอนที่ตัวเอกทำเข็มขัดหายหรือเข็มขัดของไรเดอร์บางคนสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นๆได้ (เช่น ไคสะ จากภาคไฟซ์) ส่วนการแปลงร่างนั้นจะต้องมีเข็มขัดมาก่อนถึงทำการแปลงร่างได้
ท่าแปลงร่าง
ท่าแปลงร่างหรือเฮนชิน ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของไรเดอร์ทุกคน โดยการแปลงร่างจะต้องเป็นลักษณะท่ายืนและต้องพูดคำว่า เฮนชิน โดยอาจจะมีคำเสริมท้ายได้ (เช่น เฮนชินV 3, เฮนชินสตรองเกอร์) โดยไรเดอร์คนแรกที่มีท่าแปลงร่างและใช้คำพูดแปลงร่างอย่างเป็นทางการคืออิจิมอนจิ ฮายาโตะ (มาสค์ไรเดอร์คนที่สอง)
มีไรเดอร์เพียงไม่กี่คนที่ไม่มีท่าแปลงร่าง เช่น อาเมซอน (ใช้คำว่า อา-มา-ซอน), G3 (ใช้สวมชุดเกราะแทน) ส่วนมาสค์ไรเดอร์ Xก็จะใช้คำว่า เซ็ทอัพ (Setup, หรือแปลเป็นไทยว่าประกอบร่าง) ในช่วงแรก แต่ช่วงหลังก็จะใช้ท่าเฮนชินเหมือนปกติ
ความเกี่ยวเนื่องระหว่างภาค
ทีวีซีรีส์ของไรเดอร์ในยุคแรกๆจะเกี่ยวข้องกันหมด ในบางเรื่องจะมีไรเดอร์รุ่นพี่ออกมาให้ความช่วยเหลือไรเดอร์รุ่นน้องที่กำลังลำบาก (โดยเฉพาะ V3 ซึ่งออกมาบ่อยและมีบทบาทมากที่สุด) จนเมื่อมาถึงภาค Super One ซึ่งมีการดำเนินเรื่องในลักษณะภาคใหม่ที่ไม่มีการเกี่ยวข้องกับไรเดอร์ตัวเก่าๆ แต่ในภายหลังก็ได้นำไรเดอร์ทั้ง 7 กลับมาร่วมเรื่องอีกครั้ง
เมื่อมาถึงยุคของแบล็คและแบล็ค RX ได้ตัดขาดเนื้อหากับไรเดอร์เก่าๆทั้งหมด แต่ RX กลับได้รับความนิยมน้อยมากจึงต้องมีการดึงไรเดอร์ทั้ง 10 ออกมาช่วย RX แต่ก็ไม่สามารถกระเตื้องความนิยมได้เท่าใดนัก
ส่วนในยุคปัจจุบันในทุกๆภาคจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ยกเว้นคูกะและอากิโตะที่มีความเกี่ยวข้องกัน (โดยเฉพาะ G3 ที่สร้างโดยนำลักษณะของคูกะเป็นพื้นฐาน)
ส่วนมาสค์ไรเดอร์ริวคิก็เคยมีตอนพิเศษที่คิโดะ ชินจิ ฝันและได้ร่วมสู้กับอากิโตะ
ใน มาสค์ไรเดอร์เดนโอ ได้มีการนำรูปแบบของมาสค์ไรเดอร์รุ่นพี่พบรุ่นน้อง โดยให้มีการพบกับ มาสค์ไรเดอร์คิบะ ในการร่วมมือกำจัดศัตรูในตอนพิเศษขึ้นมา
ใน มาสค์ไรเดอร์ดีเคด ได้มีการนำรูปแบบของมาสค์ไรเดอร์รุ่นพี่พบรุ่นน้องแต่เป็นการพบกันในโลกมิติคู่ขนาน
ยุคแรก
• ค.ศ. 1971 คาเมนไรเดอร์ (หรือ คาเมนไรเดอร์ 1และคาเมนไรเดอร์ 2)
• ค.ศ. 1973 คาเมนไรเดอร์ V3
• ค.ศ. 1974 คาเมนไรเดอร์ X
• ค.ศ. 1974 คาเมนไรเดอร์อาเมซอน
• ค.ศ. 1975 คาเมนไรเดอร์สตรองเกอร์
• ค.ศ. 1979 สกายไรเดอร์
• ค.ศ. 1980 คาเมนไรเดอร์ซูเปอร์-1
• ค.ศ. 1987 คาเมนไรเดอร์ BLACK
• ค.ศ. 1988 คาเมนไรเดอร์ BLACK RX ภาคต่อของไรเดอร์แบล็ค
ยุค ค.ศ. 2000
• ค.ศ. 2000 มาสค์ไรเดอร์คูกะ
• ค.ศ. 2001 มาสค์ไรเดอร์อากิโตะ
• ค.ศ. 2002 มาสค์ไรเดอร์ริวคิ
• ค.ศ. 2003 มาสค์ไรเดอร์ไฟซ์
• ค.ศ. 2004 มาสค์ไรเดอร์เบลด
• ค.ศ. 2005 มาสค์ไรเดอร์ฮิบิกิ
• ค.ศ. 2006 มาสค์ไรเดอร์คาบูโตะ
• ค.ศ. 2007 มาสค์ไรเดอร์เดนโอ
• ค.ศ. 2008 มาสค์ไรเดอร์คิบะ
• ค.ศ. 2009 มาสค์ไรเดอร์ดีเคด และ มาสค์ไรเดอร์ดับเบิ้ล
• ค.ศ. 2010 มาสค์ไรเดอร์โอซ์
คาเมนไรเดอร์ 1 เป็นซีรี่ย์ไรเดอร์ซีรี่ย์แรกที่เกิดจากมันสมองของคุณอิชิโนโมริ โชทาโร่ คุณพ่อของบรรดาไรเดอร์ทั้งหลาย (เจ้าของโปรเจคสกูลแมนและคิไคเดอร์ด้วย ฮีโร่แปลงร่างแนวนี้มาจากไอเดียท่านเยอะมากครับ) และก็เป็นตัวจุดประกายให้มีซีรี่ย์อื่นๆ ตามมาในปัจจุบัน ถือว่าฮิตกันถล่มทลาย ตัวไรเดอร์ 1 เองก็ได้กลายเป็นตำนานของฮีโร่สวมหน้ากากญี่ปุ่นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ดังวลีติดปากในตอนจบ จงสู้ต่อไป ทาเคชิ ที่ยังได้ยินกันอยู่ในปัจจุบัน) เนื้อหาหลักๆเป็นการกล่าวถึงการต่อสู้ระหว่างธรรมะกับอธรรม ด้วยจิตคุณธรรมวิญญาณแห่งความเสียสละซึ่งก็กลายมาเป็นจิตวิญญาณของไรเดอร์ ซึ่งสืบทอดมายังไรเดอร์รุ่นต่อๆ มา จนตราบทุกวันนี้ ไรเดอร์ 1 ออกฉายในปี 1971 กว่าจะเข้าฉายในไทยก็อีกเกือบกว่าปีต่อมา รุ่นผมที่อายุอานามสามสิบกลางๆ แล้วยังไม่ทันได้ดูเลยครับ (มาได้ดู ก็ไรเดอร์ X แล้วครับ) มาได้ดูอีกทีก็เป็น VCD ที่ทางไทก้าผลิตออกมาขายนี่ล่ะครับ ต่อมา เมื่อประมาณปี 2005 ทางโตเอะก็มีไอเดียจะจับไรเดอร์ 1 มาปัดฝุ่น redesign เสียใหม่ นัียว่าทำให้เด็กรุ่นหลังได้ดู เพื่อสืบทอดตำนานไรเดอร์ต่อไปหรืออย่างไรมิทราบได้ โดยจะทำออกมาเป็นเวอร์ชั่นหนังโรง มีการเขียนบท/เขียนเรื่องใหม่ โดยบางส่วนเอามาจากของเดิมภาคทีวีซีรี่ย์ ผสมกับเนื้อหาในส่วนของหนังสือการ์ตูนที่อาจารย์อิชิโนโมริเขียนไว้ โดยงานดีไซน์จะคงรูปแบบเดิมไว้ และเพิ่มความ Modern ของไรเดอร์ยุคใหม่ลงไป จากแวบแรกที่ได้เห็น งานออกแบบถือได้ว่าสวยเลยครับ ดีไซน์ได้ถูกใจคอไรเดอร์รุ่นเก่าอย่างผมเป็นอย่างยิ่ง เป็นงานออกแบบที่ลงตัวมากๆ (ตอนแรกกลัวว่าจะหลุดคอนเซ็ปออกมาเป็นไรเดอร์ลิเกแบบยุคใหม่เหมือนกัน) สวยจนผมอยากให้มีการ Redesign ไรเดอร์รุ่นเก่าทุกตัวแล้วทำออกมาใหม่อย่างนี้ให้หมดเลยเชียว ในส่วนของตัวละคร พระเอกใหม่ที่แคสติ้งมาหน้าตาเจี๋ยมเจี้ยมดีครับ ลุคดูไม่ค่อยเข้ากับผู้พิทักษ์ความยุติธรรมสักเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับน้าคนที่แสดงเป็นฮอนโก ทาเคชิในยุคก่อน ที่เ้ท่ห์มาก ดูสมาร์ทมาดแมน เข้มแข็งสุดๆ แล้วกลายเป็นละอ่อนไปเลย แต่ดูจากบุคลิกตัวละคร ผมว่าเขาพยายามทำให้เหมือนกับบุคลิกในการ์ตูนของอาจารย์อิชิโนโมริมากกว่า (ทรงผมยังเหมือนกันเลยครับ) เนื้อหาก็มีการปรับเปลี่ยนบ้าง มีหลายๆ ฉากที่พยายามดราม่า แต่ก็ดูแล้วขัดๆ อยู่ ตัวอิจิมอนจิ ก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเวอร์ชั่นทีวีซีรี่ย์ครับ (ที่เป็นคนอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เข้ากับคนอื่นได้ง่าย) ภาคนี้ออกแนวดาร์คโทน เจ้าอารมณ์ขี้โมโห ปากไม่ตรงกับใจ (แต่ตัวจริงของนักแสดงที่แสดงเป็นไรเดอร์ 2 ฮัตเซย์คุงนี่โคตรฮาเลยนะครับ อารมณ์ดี ขี้อำเป็นอย่างยิ่ง) การพบกันของตัวเอกทั้งสอง แน่นอนว่าต้องมีการฟาดปากกันเป็นระยะ ก่อนจะมาร่วมมือกัน จุดเด่นคือฉากแอคชั่นที่ต้องถอดหน้ากากต่อยกัน (ตามแบบในหนังสือการ์ตูนที่หน้ากากมันถอดได้ ไม่ไช่ชุดสำเร็จเหมือนไรเดอร์ใหม่ๆ) แน่นอนว่าไม่ใช้ตัวแสตน์อิน เนื้อเรื่องก็ไม่มีอะไรมากครับ ฮอนโก นักศึกษามหาวิทยาลัย (ที่ในเนื้อเรื่องเดิมที่เป็นนักกีฬาแข่งรถ แถมไอคิว 600 เมก้าเคลเวอร์ ฉลาดสุดๆ เลยครับ) ถูกองค์การลับชอคเกอร์จับไปทำมนุษย์แปลง (ในเรื่องจะเป็นการเปลี่ยนถ่ายเลือด) เพื่อให้เป็นสมุนช่วยยึดครองโลก ตอนแรกไปกับเพื่อนมนุษย์แปลงอีกตัว (จำได้ว่าเป็นแมงมุม) แล้วเพื่อนไปฆ่าคู่หมั้นนางเอกเข้า นางเอกเห็นหน้าฮอนโกเลยนึกว่าฮอนโกฆ่า ต่อมากลับใจได้สติ เลยหันหลังให้องค์กร ช็อคเกอร์เลยส่งมนุษย์แปลงอื่นมาฆ่า เป็นมนุษย์แปลงฮอปเปอร์แบบเดียวกับพระเอก (แต่ดันหน้าเหมือนคู่หมั้นนางเอกที่ตายไป) สู้ไปสู้มาก็กลายเป็นเรื่องชิงรักหักสวาทกันซะงั้น แถมทางโตเอะก็พยายามจะเพิ่มฉากดราม่า ก็เลยมีบทให้หนุ่มสาวที่ป่วยไข้ไม่สบายในโรงพยาบาลสองคน ผูกพันธ์รักมั่นกัน แล้วก็โดนจับไปทำมนุษย์แปลงคอบร้ากับสเน็ค ให้มาฆ่าพวกพระเอก ช้อคเกอร์จับนางเอกไปที่รัง พวกพระเอกเลยต้องร่วมมือกันตามไปช่วย แล้วก็มีฉากสู้กันระหว่างพวกพระเอกกับสเน็คและคอบร้า โชว์ฉากแอคชั่นมันๆ กับฉากตายของตัวร้ายคู่รักทั้งสองเรียกน้ำตานิดหน่อย ก่อนที่พระเอกจะถล่มช้อกเกอร์ตามระเบียบครับ (คือถล่มได้แต่รังเท่านั้นแหละ เพื่อให้มีภาคต่อไป) สองปีถัดมา โตเอะก็มีโปรเจคใหม่ เป็นภาคต่อของเดอะเฟิร์ส โดยใช้ชื่อว่า The Next ไม่ต้องเดาก็ทายถูกครับ ว่าเขาจะมาแน่ ไรเดอร์ที่ดังที่สุดคนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไรเดอร์ พี่มดเขียววีสามนั่นเอง จากเรื่องราวในซีรี่ย์เดิม(ที่ดราม่าเคล้าน้ำตาไช่ย่อย) คาซามิ ชิโร่ ชายหนุ่มที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่และน้องสาวสุดที่รัก อย่างมีความสุข แต่เขาก็ต้องมารู้เห็นความลับของการกลับมาของช็อกเกอร์ (จดทะเบียนใหม่ในชื่อเดสตรอน) ก็เลยโดนเดสตรอนตามล่า ชิโร่กลับไปที่บ้านแล้วพบกับอาซามิจาร์กัวร์ (หรือซิสเซอร์จากัีวร์) ก่อนที่มันจะฆ่าพ่อแม่และน้องสาวเขาให้ดูต่อหน้า ชิโร่ขอร้องฮอนโกและฮายาโตะให้ช่วยดัดแปลงเขาเป็นมนุษย์แปลงเพื่อที่จะได้แก้แค้นให้กับครอบครัว แต่ทั้งสองปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น โดยให้เห็นผลว่า ไม่อยากให้ชิโร่เผชิญความปวดร้าวของการเป็นมนุษย์แปลงที่ไม่อาจใช้ชีวิตอย่างมนุษย์ปกติได้อีกต่อไป และการฆ่าเพื่อล้างแค้นก้ไม่ไช่การกระทำของไรเดอร์ (นี่ก็เป็นธีมหลักของซีรี่ย์ไรเดอร์มาถึงยุคปัจจุบันครับ สู้เพื่อผดุงความยุธิธรรม ไม่ไช่เพื่อความแค้นส่วนตัว) ต่อมา ไรเดอร์ทั้งสองติดกับของเดสตรอน ชิโร่ตามมาช่วยเอาไว้ นั่นทำให้เขาได้รับบาดเจ็บสาหัส เพื่อช่วยชีวิตชิโร่ ฮอนโกและฮายาโตะจึงได้ตัดสินใจดัดแปลงชิโร่นั่นจึงเป็นที่มาของไรเดอร์ วีสามครับ แน่นอนครับ ของใหม่ย่อมไม่เหมือนของเก่า ไอ้ที่ผมเล่ามาก็ย่อมไม่อยู่ในภาค The Next ครับ สิ่งที่คงเอาไว้จากของเดิมมีแค่อาซามิจากัวร์ กับน้องสาวชิโร่เท่านั้นแหละครับ เนื้อเรื่องใหม่จะเปิดตัวที่จิฮารุ นักร้องสาวไอดอลชื่อดัง(ที่แสดงในเรื่องฮิบิกิด้วยครับ) ที่เพิ่งจะออกอัลบั้มใหม่ แต่คนที่ฟังเพลงฮิตล่าสุดของเธอ จะต้องมีอันเป็นไป !!! (ภาคนี้เปิดตัวมาเหมือนหนังสยองขวัญเลยครับ) ฮอนโกที่เริ่มต้นชีวิตใหม่เ็ป็นอาจารย์โรงเรียนมัธยม วันๆ ก็ต้องเผชิญกับเหล่านักเรียนสุดแสบ โดยที่ตัวเขาเองก็ยังไม่ทราบเลยว่า ช็อกเกอร์กลับมาแล้ว และกำลังหมายหัวเขาอยู่ เขาต้องเข้าไปพัวพันกับคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะนักเรียนสาวเจ้าปัญหาในห้องเรียนเขา ดันไปเป็นเพื่อนเก่ากับจิฮารุไอดอลคนดัีงคนนั้นเข้า จากการพาตัวเข้าไปหาปัญหา เขาก็ได้พบเจอกับศัตรูเก่า แม่นางกิ้งก่าเลื่อยยนต์สุดเซ็กซี่ ที่มาพร้อมกับบรรดาสมุน ฝูงฮอปเปอร์ฉบับก็อปปี้ 1 ฝูงเต็มๆ (โมเดียวกับฮอนโกนั่นแหละครับ) จากนั้นปัญหาต่างๆ ก็ลากเขาเข้าไปหาตัวเอกอีกตัวหนึ่ง พี่ชายจิฮารุคนเดิม อดีตประธานบริษัทไอทีชื่อดัง นั่นแหละครับ ไม่ต้องเดาหรอก คาซามิ ชิโร่นั่นแหละ แต่คราวนี้ เขาพะยี่ห้อช้อคเกอร์มาด้วย แน่นอนว่าต้องมีฟาดปากกัน ก่อนที่พระเอกจะถุกรุมยำ และฮายาโตะมาช่วยเอาไว้ ยิ่งเขาเข้าใกล้ความจริงมากขึ้น เขาก็ได้พบกับความจริงที่น่าสะพรึงกลัว ช้อกเกอร์เริ่มแผนอำมหิตของมันอีกครั้ง จากการทดลองครั้งแรก ที่บริษัทไอทีชื่อดัง (ของคาซามินั่นแหละ) ในขณะที่คาซามิและเลขาสาว กำลังเดินออกมาส่งน้องสาวคนสวย ช้อกเกอร์โดยการนำของซิสเซอร์จากัีวร์ได้ปล่อยไวรัสอำมหิตมาทางช่องแอร์ สู่ผู้คนทั้งตึก ก่อนจะกักตัวทุกคนเอาไว้ (ในขณะที่จิฮารุไม่สบายขอออกไปก่อน โดยที่เธอก็ยังไม่รู้ตัวว่าได้สูดเอาไวรัสเข้าไปแล้ว) ไวรัสนั้นคือนาโนแมชชีนขนาดเล็กที่จะแทรกซึมเข้าไปในร่างกายทางลมหายใจ และจะทำลายร่างกายของผู้คนเป็นผุยผง นอกจากคนที่มีร่างกายที่ปรับเข้าได้กับมันเท่านั้น โดยไวรัสนาโนบอทจะเข้าไปปรับเปลี่ยนโครงสร้างร่างกายของคนนั้นทั้งหมด จนกลายเป็นมนุษย์แปลงที่เกิดจากนาโนเทคโนโลยีของช็อกเกอร์ ซึ่งผู้รอดจากเหตุการณ์นั้น (ที่ไม่นับน้องสาวชิโร่) คือตัวชิโร่ (ที่กลายเป็นวีสามเรียบร้อยแล้ว) กับเลขาสาว (ที่กลายเป็นกิ้งก่าเลื่อยยนต์) เท่านั้น แผนการณ์ต่อไปของช็อคเกอร์ ก็คือการเปลี่ยนมนุษย์ที่ถูกเลือกทั้งเมือง ให้กลายเป็นมนุษย์แปลง ด้วยไวรัสนาโนบอทนี่เอง (คนที่ไม่ได้รับเลือกก็จะตายด้วยไวรัสไป) ฮอนโกที่รับรู้เรื่องราวทั้งหมดจากชิโร่ได้ตกลงใจที่จะหยุดยั้งแผนการณ์นี้เพียงคนเดียว เพราะรู้ดีว่าฮายาโตะมีปัญหาเรื่องรีเจคชั่น (ถ้าดูจากภาค The First จะรู้ว่าพวกมนุษย์แปลงรุ่นเก่าจะต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเลือดเสียทิ้ง ไม่เช่นนั้นก็จะเกิด Rejection คือร่างกายปฏิเสธเลือดเสียและก็จะตายไป นี่เป็นมาตรการป้องกันคนทรยศของช็อกเกอร์ มีแต่ฮอนโกที่ไม่เกิดการรีเจคชั่นนี้) และมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นานนัก ในด้านของชิโร่ ที่เดินทางไปพบจิฮารุ เพื่อที่จะได้พบกับความจริงว่า จิฮารุที่เขาได้พบนั้นไม่ไช่น้องสาวของเขา แต่เป็นตัวแทนที่ถูกศัลยกรรมให้มีใบหน้าเหมือนกันเท่านั้น จากการเปิดเผยความลับโดยมีนาฬิกาจิฮารุที่ชิโร่ซื้อให้ตอนวันเกิดเป็นสื่อนำผ่านทางเพื่อนจิฮารุ(ที่ทำออกมาได้ดูเหนือจริงและไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก) เขาก็พบความจริงว่า จิฮารุถูกพนักงานในสตูดิโอกลั่นแกล้ง รวมกับปฏิกิริยาที่เกิดจากไวรัส ทำให้เกิดอุบัติเหตุ หกล้มเอาหน้าไปฟาดกับตู้ไฟจนเสียโฉม จิฮารุรับความจริงที่ตัวเองเสียโฉมไม่ได้(ศัลยกรรมตกแต่งไม่ได้เพราะะเยินมาก เข้าใจว่าเป็นเพราะไวรัสด้วย)จึงกระโดดตึกฆ่าตัวตาย ทางโปรดิวเซอร์ (ที่ในเรื่องชั่วกว่าช็อกเกอร์อีกครับ) ก็เลยเอาร่างจิฮารุไปทิ้งท่อระบายน้ำ และศัลยกรรมพนักงานคนอื่นให้หน้าเหมือนกัน แล้วให้สวมรอยเป็นจิฮารุแทน แต่จิฮารุไม่ได้ตายครับ เพราะเธอกลายเป็นมนุษย์แปลงไปแล้ว แต่ด้วยการดัดแปลงที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เธอควบคุมตัวเองไม่ได้ ออกมาอาละวาดไล่ฆ่าทุกคนที่ฟังเพลงของเธอ นั่นเป็นที่มาของเหตุฆาตกรรมนั่นเอง ฮอนโกและฮายาโตะที่ตามมาสมทบ (มีการฟาดปากปรับความเข้าใจกันนิดหน่อย) ได้เข้าขัดขวางเหล่าช้อกเกอร์ ไม่ให้เอาแผงกระจายเชื้อไวรัสมาติดตั้งได้ ในขณะที่พวกเขาอยู่ในภาวะคับขัน ชิโร่ก็ได้เข้ามาช่วย โดยให้เหตุผลว่า ต้องการทำเพื่อจิฮารุ และได้ตรงเข้าต่อสู้กับเหล่าร้ายของช็อกเกอร์ และก็ได้โชว์เหนือให้เห็นถึงความเป็นสุดยอดนาโนเทคโนโลยี ไล่เตะพวกลูกกระจ้อกวงแตกกระจาย ไล่ต้อนเชนซอร์ลิซาร์ด (กิ้งก่าเลื่อยยนต์เลขาเก่าตัวเอง) จนจนมุม ก่อนจะเผด็จศึกด้วยท่าโดดถีบตามสูตร รวมถึงทำลายไวรัสนาโนบอท ... ท่ามกลางเปลวไฟที่ลุกท่วมพื้น เขาก็พบกับจิฮารุในร่างมนุษย์แปลง(มาในแนวพาราไซส์อีพเลยครับ หลอนมาเลย) ในขณะเดียวกัน ฮอนโกและฮายาโตะก็ได้ร่วมมือกันต่อสู้กับซิสเซอร์จากัวร์ที่แสนร้ายกาจ ฮอนโกและฮายาโตะได้ร่วมใจกันกำจัดซิสเซอร์จากัวร์ลงได้ ก่อนจะลงมาช่วยชิโร่ ชิโร่ที่กำลังเผชิญหน้ากับน้องสาวสุดที่รักของตัวเอง และกำลังพยายามกลืนน้ำตาหักใจตอบรับคำขอร้องสุดท้ายของจิฮารุ "ฆ่าหนูด้วยเถอะค่ะ ..พี่" ทั้งสามหนีออกมาจากแรงระเบิดของอาคารทั้งหลังและแยกย้ายจากกันไป ทิ้งหน้ากากวีสามไว้เบื้องหลัง หลังไตเติ้ลจบ ยังอุตส่าห์มีฉากลาตายของฮายาโตะ กับฉากการกลับมาของจิฮารุ (เผื่อว่าจะมีภาคต่อ) ให้ดูด้วยครับ โดยรวมแล้ว The Next ดูสนุกกว่าภาคแรกครับ ดูเป็นภาพยนตร์มากกว่า ลงตัวกว่า มีฉากดราม่า ฉากแอคชั่น และปริศนาในเรื่องที่ซับซ้อนกว่า ไรเดอร์วีสามก็ออกแบบมาได้ดีทีเดียว ยังไงก็ควรค่าจะหามาเก็บไว้ สำหรับแฟนไรเดอร์คงไม่พลาดกันอยู่แล้ว แต่คนที่ไม่เคยดูไรเดอร์ซีรี่ย์มาก่อนก็ดูได้นะครับ ถือเป็นหนังดูเพลินๆ เรื่องหนึ่งทีเดียวครับ
อ้างอิงข้อมูลจากคุณ edit @ 1 Nov 2008 18:35:27 by PlaNaRiA
กัมบาเระ โรโบคอน
(ญี่ปุ่น: がんばれ!!ロボコン Ganbare!! Robokon ?) หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Good Luck, Robocon! เป็นภาพยนตร์ซีรีส์แนวโทคุซัทสึของประเทศญี่ปุ่น เขียนบทโดย โชทาโร่ อิชิโนะโมะริ ผู้ให้กำเนิดไอ้มดแดง ออกฉายทางโทรทัศน์ระหว่าง พ.ศ. 2517 - 2519 เคยเข้ามาฉายในประเทศไทย และนำกลับมาฉายใหม่ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ภายใต้ลิขสิทธิ์บริษัท A.I. Thailand
กัมบาเระ โรโบคอน เป็นเรื่องเกี่ยวกับหุ่นยนต์สีแดงชื่อ โรโบคอน ที่อาศัยอยู่กับครอบครัวคุริฮะระ และอยู่ในการดูแลของโรงเรียนหุ่นยนต์ ซึ่งฝึกฝนให้เป็นหุ่นยนต์ที่มีจิตใจดีงาม ในแต่ละตอนโรโบคอนจะออกไปผจญภัยร่วมกับเพื่อนหุ่นยนต์ โดยมีนางฟ้าคอยให้ความช่วยเหลือ ในตอนท้ายของตอน จะมีการสรุปผลการทำความดีในสัปดาห์นั้น ให้คะแนนโดย Mr. Gantz ครูใหญ่หุ่นยนต์ เป็นรูปหัวใจมาประดับที่ตัว โดยมากโรโบคอนจะทำคะแนนได้ดี แต่ทำผิดพลาดเสียหายในตอนท้าย จึงมักจะถูกหักคะแนนเหลือ 0 อยู่เสมอ
ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า Ganbare! Robocon VS Moero! Robocon
โรโบคอน
หุ่นยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าและน้ำมันเป็นเชื้อเพลิง มีเครื่องยนต์อยู่บริเวณหน้าท้อง รูปร่างคล้ายกระโปรงหน้าของรถเต่าโฟล์กสวาเกน ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น โรโบคอนมีความสามารถพิเศษ เก็บขาเข้าไปในตัวถัง เปลี่ยนเป็นล้อเพื่อให้เดินทางได้อย่างรวดเร็ว และมีใบพัดอยู่ที่หลัง ทำให้สามารถบินได้ และกลัวแมลงสาบเป็นอย่างมาก
ขบวนการนักสู้ หรือ ซูเปอร์เซ็นไท
(ญี่ปุ่น: スーパー戦隊 Sūpā Sentai ?) ในภาษาญี่ปุ่น หมายถึง กลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือคำว่า ขบวนการ ในภาษาไทยนั่นเอง ถือกำเนิดขึ้นจากปลายปากกาของ อ.อิชิโนโมริ โชทาโร่ คนเดียวกันกับที่ให้กำเนิด คาเมนไรเดอร์ นั่นเองคำว่า "ซูเปอร์เซนไท" นี้จะกล่าวถึงเฉพาะภาพยนตร์ที่สร้างโดยบริษัท โตเอะ และสปอนเชอร์หลัก บันได ซึ่งเป็นสปอนเชอร์เดียวกันกับ คาเมนไรเดอร์(มาสค์ไรเดอร์ ซีรีส์)และ เมทัลฮีโร่(ซีรีส์ตำรวจอวกาศ)แพร่ภาพโดย บริษัททีวีอาซาฮี
ภาพยนตร์ซูเปอร์เซ็นไต ในแต่ละเรื่องนั้นเรื่องราวจะไม่ติดต่อกัน เพราะว่าเหตุการณ์ในแต่ละเรื่องนั้นจะถูกกำหนดให้เกิดจากอสูรที่มีที่มาแตกต่างกัน และฉายกันปีต่อปี ยกเว้นขบวนการแรกคือ Himitsu Sentai Goranger ที่ฉายถึง 2 ปี แต่ในยุคหลังๆ จะมีการทำ Crossover กันปีต่อปี หมายความว่า เอาขบวนการที่ฉายไปเมื่อปีที่แล้ว มาพบกับขบวนการที่ฉายในปีปัจจุบัน เพื่อทำเป็นตอนพิเศษขึ้น คล้ายๆ กับการรับน้อง โดยให้รุ่นพี่เป็นคนสั่งสอน ซึ่งขบวนการแรกที่มีการ Crossover กันก็คือ Himitsu Sentai Goranger และ JAKQ Dengekitai หลังจากนั้นก็ไม่มีการ Crossover กันอีก จนกระทั่ง Ninja Sentai Kakuranger และ Chouriki Sentai Ohranger ซึ่งต่อมาก็มีการทำ Crossover กันทุกปี ณ ปัจจุบันนี้ มีขบวนการนักสู้ หรือ Super Sentai ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว 34 ขบวนการด้วยกัน
เนื้อหาของหนังมักจะกล่าวถึงกลุ่มคนหนุ่มสาว 5 คน ที่ได้รับพลังพิเศษ ไม่ว่าจะมาจากเวทมนตร์ หรือ เทคโนโลยีขั้นสูง (แล้วแต่เรื่องไหนจะใช้ แบบใด) ใช้วิชาการต่อสู้ในหลายๆ รูปแบบ ต่างกัน มารวมพลังกันเพื่อต่อสู้กับเหล่าร้ายที่หวังจะครองโลก โดยเหล่าร้ายมักจะแสดงออกมาในรูปของปิศาจ หรืออสูรกายที่มาจากนอกโลกบ้าง หรือมากจากต่างมิติบ้าง และในบางเรื่องก็เป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในโลกเองที่หวังจะครองโลก
ลักษณะโดยทั่วไปของขบวนการนักสู้ ในแต่ละเรื่อง ตัวละครหลักประกอบไปด้วยเหล่านักสู้ที่ปกติเป็นคนธรรมดา แต่สามารถแปลงร่างได้เพื่อมาต่อกรกับเหล่าอธรรม ในการแปลงร่างจะมีเครื่องแบบห้าสี(จะน้อย หรือ มากกว่า 5สี (ย่อมได้) ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีชมพู โดยที่หัวหน้าทีมมักจะเป็นสีแดง (แม้บางเรื่องจะมีสีอื่นเป็นหัวหน้าทีมก็ตาม) และสมาชิกผู้หญิง มักจะเป็นสีชมพูโดยส่วนใหญ่ (บางเรื่องจะเป็นสีอื่น เช่น สีน้ำเงิน สีฟ้า สีเหลือง เป็นต้น) ตัวปิศาจจะพ่ายแพ้ในตอนจบเสมอเช่นกัน
อีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้สำหรับขบวนการ Super Sentai คือหุ่นยนต์ยักษ์ ซึ่งขบวนการแรกที่มีการนำเอาหุ่นยนต์ยักษ์มาใช้คือ Battle Fever J (ส่วนสองขบวนการแรก คือ Himitsu Sentai Goranger และ JAKQ Dengekitai นั้นใช้เพียงยานรบในการต่อสู้เท่านั้น) นับเป็นสีสันที่ขาดไม่ได้สำหรับหนัง Super Sentai ในยุคแรกๆ นั้นจะเป็นยานรบขนาดยักษ์ที่สามารถกลายร่างเป็นหุ่นยนต์ได้ ต่อมาจึงมีการนำเอายานรบประจำตัวของแต่ละคนมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นหุ่นยนต์ยักษ์เพื่อใช้ในการต่อสู้กับอสูรกายที่สามารถขยายร่างได้
เครดิต : อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ วิถีพีเดีย สารานุกรมออนไลน์
1 ความคิดเห็น:
ชอบมากคับอ่านจบเลยรักเลยคับ
แสดงความคิดเห็น