วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โลก 360 องศา (ภัยธรรมชาติ - ภัยสงคราม ก่อการร้าย ภาวะโลกร้อน)





การเปลี่ยนแปลงของโลกจะเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลักเพียง 3 ประการ ประการแรกคือ ภัยพิบัติหรือภัยจากธรรมชาติของโลกเอง ประการที่ 2 ภัยจากน้ำมือมนุษย์ จะเกิดได้จากอะไรได้บ้าง อาทิ ภัยสงคราม การก่อการร้าย การทำให้โลกร้อน และประการสุดท้ายภัยจากผลกระทบจากนอกโลกหรือจักรวาล สิ่งแปลกปลอมจากนอกโลก ซึ่งอานุภาพของทั้ง 3อย่างนี้น่ากลัวและใหญ่พอๆ กันเลยทีเดียว และกำลังเป็นกระแสที่กำลังพูดถึงอยู่ในเวลานี้ ซึ่งเราจะมาเรียบเรียงกันดูทีละข้อ ดังนี้

1.ภัยธรรมชาติ
ในที่นี้ขอกล่าวถึงต้นตอของวิกฤติที่เป็นต้นตอของภัยธรรมชาติ มีด้วยกัน 2 อย่างคือ ลานีญ่า และเอลนิโญ่ ความหมายของปรากฎการณ์นี้เป็นอย่างไร ได้แก่
ลา นีญา ความหมายเดียวกัน คือ ปรากฏการณ์ที่กลับกันกับ เอล นิโญ กล่าวคือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก ปรากฏการณ์ ลา นีญา เกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 – 12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี ปกติลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะพัดพาน้ำอุ่นจากทางตะวันออกของมหาสมุทรไปสะสมอยู่ทางตะวันตก ซึ่งทำให้มีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตร้อน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกหรือบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูมีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง สถานการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะปกติเราจึงเรียกว่าสภาวะปกติหรือสภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญ (รูปที่ 1) แต่มีบ่อยครั้งที่สถานการณ์เช่นนี้ถูกมองว่าเป็นได้ทั้งสภาวะปกติและลานีญา อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารูปแบบของสภาวะลา นีญา จะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ ลา นีญา มีความแตกต่างจากสภาวะปกติ (Glantz, 2001) นั่นคือ ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนมีกำลังแรงมากกว่าปกติและพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย ซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือบริเวณดังกล่าวมีการลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกนอกฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์นั้นขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างไปสู่ผิวน้ำ (upwelling) จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลจึงลดลงต่ำกว่าปกติ เช่น ลา นีญาที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531 – 2532 อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าปกติประมาณ 4 o เซลเซียส ผลกระทบของ ลา นีญา
จากการที่ปรากฏการณ์ ลา นีญา เป็นสภาวะตรงข้ามของเอลนีโญ ดังนั้นผลกระทบของ ลา นีญา จึงตรงข้ามกับเอลนีโญ กล่าวคือ ผลจากการที่อากาศลอยขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝนบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเขตร้อนในช่วงปรากฏการณ์ ลา นีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง นอกจากพื้นที่ในบริเวณเขตร้อนจะได้รับผลกระทบแล้ว ปรากฏว่า ลา นีญายังมีอิทธิพลไปยังพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปด้วย โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากกว่าปกติและมีความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น
ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อยและเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาจะแห้งแล้งกว่าปกติทางตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายฤดูร้อนต่อเนื่องถึงฤดูหนาว บริเวณที่ราบตอนกลางของประเทศในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และทางตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูหนาว แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกมีฝนมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว ส่วนผลกระทบของลานีญาที่มีต่อรูปแบบของอุณหภูมิปรากฏว่าในช่วง ลา นีญา อุณหภูมิผิวพื้นบริเวณเขตร้อนโดยเฉลี่ยจะลดลง และมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติ ในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรรวมถึงพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดามีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ แสดงให้เห็นผลกระทบจากปรากฏการณ์ ลา นีญา ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ
ผลกระทบของ ลา นีญา ต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย
จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปี เอล นีโญ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ค่า composite percentile ของปริมาณฝน และ composite standardized ของอุณหภูมิในปี เอล นีโญ จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือน ในช่วงเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543 พบว่า ในปี ลา นีญา ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ ลา นีญา มีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝน ลา นีญา มีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่า ลา นีญา มีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่า ลา นีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น

หมายเหตุ  ลา นินญ่า (ในภาษาสเปน หมายถึง เด็กหญิงตัวน้อย) คือปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับเอลนิโน (เอลนิโญ่)  เป็นการสะท้อนกลับแบบบวก(Positive Feedback)
กระแสน้ำเย็นเปรู จะไหลกลับมาในทิศทางเดิม เพราะลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลมาทางเอเซียอาคเนย์ ทำให้เอเซียอาคเนย์ มีพายุรุนแรงมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอุทกภัย และทำให้ทวีปอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตกมีฝนตกชุก แต่จะช่วยยับยั้งการเกิดพายุในทวีปอเมริกาใต้ 


ปรากฏการณ์เอลนิโญ่
เอลนิโญ่คืออะไร

พื้นโลกรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากัน บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะรับความร้อนมากกว่าขั้วโลกเหนือและใต้
มากมาย น้ำทะเลและอากาศจะเป็นตัวพาความร้อนออกจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกทั้งสอง

วงจรถ่ายเทความร้อนนี้ฝรั่งเรียกว่า CONVECTION CELL
ความร้อนเป็นพลังงานที่ทำให้เกิด CONVECTION CELL โดยน้ำทะเลที่ผิวมหาสมุทรจะร้อนขึ้นจนระเหยกลายเป็นไอขึ้นไป น้ำอุ่นข้างล่างผิวน้ำและใกล้เคียงจะเข้ามาและกลายเป็นไออีก เป็นเหตุให้มีการไหลทดแทนของน้ำและอากาศจากที่เย็นกว่าไปสู่ที่อุ่นกว่า เกิดเป็นวงจรระบายความร้อนและความชื้นออกไปจากโซนร้อนอย่างต่อเนื่อง ในภาวะปรกติ โซนร้อนที่กล่าวถึงนี้คือบริเวณแนวเส้นศูนย์สูตรทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซียและออสเตรเลีย

ลักษณะนี้ทำให้มีลมพัดจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกมาหาแนวเส้นศูนย์สูตรทางแปซิฟิกตะวันตก คนเดินเรือใบในอดีตรู้จักลมนี้ดี โดยเฉพาะชาวจีน เพราะได้อาศัยลมนี้ในการเดินทางมาค้าขายหรือหอบเสื่อผืนหมอนใบมายังเอเชียใต้ ลมนี้คือลมสินค้านั่นเองลมสินค้าได้พัดน้ำให้ไหลตามมาด้วย จากการสำรวจทางดาวเทียมพบว่าน้ำทะเลแถวอินโดนีเซียมีระดับสูงกว่าทางฝั่งเปรูประมาณครึ่งเมตร ซึ่งทางฝั่งเปรูนั้น เมื่อน้ำทะเลชั้นบนที่ร้อนได้ไหลมาทางตะวันตกตามแรงลมแล้ว น้ำทะเลด้านล่างซึ่งเย็นกว่าก็จะลอยขึ้นมาแทนที่ หอบเอาแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารปลาลอยขึ้นมาด้วย ทำให้ท้องทะเลย่านนี้มีปลาเล็กปลาใหญ่ชุกชุม เมื่อมีปลาชุกชุมก็ทำให้มีนกซึ่งกินปลาเป็นอาหารชุกชุมไปด้วย เกิดอาชีพเก็บมูลนกขายอย่างเป็นล่ำเป็นสันขึ้นมา
ส่วนทางแปซิฟิกตะวันตกนั้น เมื่อมีนำอุ่นที่ถูกลมพัดพามาสะสมไว้จนเป็นแอ่งใหญ่ จึงมีเมฆมากฝนตกชุก อากาศบริเวณนี้จึงร้อนชื้น
ที่บอกว่าน้ำทะเลร้อนและเย็นนั้น ตามปรกติก็จะร้อนและเย็นประมาณ 30 และ 22 องศาเซลเซียส ตามลำดับเมื่อเกิดเอลนิโน ลมสินค้าจะมีกำลังอ่อนลงทำให้ไม่สามารถพยุงน้ำทะเลทางแปซิฟิกตะวันตกให้อยู่ในระดับสูงกว่าอย่าง
เดิมได้ น้ำอุ่นจึงไหลย้อนมาทางตะวันออก แอ่งน้ำอุ่นซึ่งเปรียบได้กับน้ำร้อนในกระทะใบใหญ่ซึ่งเคยอยู่ชิดขอบ
ตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก การลอยตัวของน้ำเย็นจากก้นทะเลจึงมีน้อย มีผลทำให้น้ำด้านแปซิฟิกตะวันออกอุ่นขึ้น ทีนี้ก็เกิดวงจรแบบงูกินหางขึ้น คือ น้ำทะเลยิ่งร้อน ลมสินค้าก็ยิ่งอ่อน… ลมสินค้ายิ่งอ่อนน้ำทะเลก็ยิ่งร้อน …นี่เป็นปัจจัยให้แต่ละครั้งที่เกิดเอลนิโน แอ่งนำอุ่นจะขยายใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้นทุกครั้งไป แอ่งนำอุ่นเฉพาะส่วนที่เป็นใจกลางของเอลนิโนที่เกิดขึ้นระหว่างปีก่อนกับปีนี้นั้นมีขนาดใหญ่กว่าประเทศอเมริกาเสียอีก อุณหภูมที่ใจกลางก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้สูงกว่าอุณหภูมิปกติเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 องศาแล้ว
เอลนิโน คือ การไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่งจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลอยู่เดิมตามบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้แผ่ขยายกว้าง ส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนของบรรยากาศแผ่ขยายกว้างออกไป นอกเหนือจากบริเวณน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกปรากฏการณ์เอลนิโนมีความเชื่อมโยงด้านปรากฏการณ์ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ซึ่งทั้งสองสิ่งได้เชื่อมโยงกัน เรียกว่าปรากฏการณ์ "เอนโซ" (ENSO : El Nino-Southern Oscillation) เอนโซถูกระบุว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการแปรปรวนทางภูมิศาสตร์ปีต่อปีบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ เป็นต้น

"เอลนิโญ่" มีคุณอนันต์ นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐได้เปิดเผยผลการวิจัย ชิ้นใหม่ว่าปรากฏการณ์เอลนิโญ่อันเกิดจากอุณหภูมิกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแปรปรวนซึ่งถูกโทษว่าทำให้โลกทุกข์มาก เช่น ทำให้เกิดภาวะแห้งแล้ง พายุหิมะเฮอริเคน และอื่น ๆ ผิดฤดูกาล แต่ก็มีส่วนดีอยู่มาก เพราะมันช่วยลดมลพิษที่ทำให้เกิดอุณหภูมิโลก ร้อนขึ้นผลการวิจัยระบุว่าปรากฏการณ์เอลนิโนจะทำให้พืชพันธุ์ดูดซับเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ต้นเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้นได้ปริมาณมากขึ้นจากการตรวจวัดทางดาวเทียมพบว่าในขั้นแรกปรากฏการณ์ที่ทำให้ โลกร้อนขึ้น เช่น เอลนิโนทำให้ Co2 แพร่ขึ้นสู่บรรยากาศมากขึ้น ซึ่งอาจเนื่องาจากผลของการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชให้เร็วขึ้น แต่หลังจากนั้นประมาณอีก 2 ปี มันจะทำให้พืชพันธุ์แพร่ขยายและเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลให้พืชดูดซับ Co2 อย่างรวดเร็ว ตามไปด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบว่าผลระยะยาวจะยังคงเป็นเช่นนี้หรือไม่
ดังนั้นคำว่า เอลนิโญ่ ที่นักวิทยาศาสตร์ยืมจากชาวเปรูมาใช้จึงมีความหมายขยายวงครอบคลุมบริเวณน้ำอุ่นทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิก มิใช้เฉพาะที่ชายทะเลของเปรู ปรากฏการณ์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘Warm Event’ แต่ชื่อนี้ไม่ติดตลาดเท่าเอลนิโน
ปรากฏการณ์ที่น้ำทะเลร้อนขึ้นผิดปรกตินี้มีขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศระดับผิวน้ำทะเลที่บริเวณด้านตะวันออกกับด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ในทศวรรษต้น ๆ ของศรรตวรรษที่ 20 (ค.ศ.) เซอร์กิลเบอร์ต วอล์คเกอรพบว่า ค่าของความดันบรรยากาศที่ระดับผิวน้ำทะเล ณ เมืองดาร์วินซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียจะสลับสูงต่ำกับค่าความดันที่ตาฮิติ เมื่อความดันที่ตาฮิติสูง ความดันที่ดาร์วินก็จะต่ำ และถ้าความดันที่ตาฮิติต่ำ ความดันที่ดาร์วินก็จะสูง กลับกันแบบนี้ ปรากฏการณ์นี้มีชื่อว่า Sothern Oscillation หรือ ENSO (เอ็นโซ) ดังนั้น จึงมีนัก
วิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ ว่า ‘เอ็นโซ’ แทนที่จะเรียกเอลนิโน แต่ชื่อนี้ก็ไม่ติดตลาดเช่นกัน และก็มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มนำคำทั้งสองมารวมกัน เรียกเป็น ‘El Nino-Southern Oscillation’ ไปเสียเลย อย่างไรก็ตาม

ชื่อนี้แม้จะให้ความหมายชัดเจน แต่ก็รุ่มร่าม คำว่า เอลนิโน หรือ เอลนิลโย จึงเป็นชื่อที่ได้รับความนิยมใช้กันทั่วไปยังไม่มีไครตอบได้ว่าเอลนิโนเกิดขึ้นจากอะไร ทราบแต่เพียงว่า เมื่อเอลนิโนเกิดขึ้นแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นตามมาบ้าง
เอลนิโญ่สลายตัวไปได้อย่างไร และนักวิทยาศาสตร์ก็กำลังสงสัยอยู่ว่าเอลนิโนมีความสัมพันธ์กับ ‘Global Warming’และปรากฏการณ์เรือนกระจกหรือไม่
ฉบับก่อนร่ายยาวเรื่องอายุ, การสลายตัวของเอลนิโน, ความถี่ในการเกิดปรากฏการณ์ และลานินาคืออะไรมาแล้ว ฉบับนี้ก็ถึงคราวเรื่องผลกระทบจากเอลนิโนและลานินา ก่อนจะเข้าเรื่องของผลกระทบ ผมขอย้อนไปกล่าวถึงเรื่องสาเหตุที่ทำให้เกิดเอลนิโนก่อน เพราะมีแนวคิดประการหนึ่งที่ผมเห็นว่าต้องนำเสนอ ได้แก่แนวคิดเรื่องปริมาณความร้อนที่ทำให้เกิดเอลนิโนได้ และที่มาของความร้อนดังกล่าวการที่จะทำให้น้ำทะเลในโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามปรากฏการณ์เอลนิโนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2540-2541 นี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมทางทะเลภาคพื้นแปซิฟิคของสหรัฐอเมริกาได้คำนวณว่าจะต้องใช้พลังงานถึง 35,000 ล้านล้านล้านจูล หรือเทียบได้กับพลังงานจากระเบิดนิวเคลียร์แบบระเบิดไฮโดรเจนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์สร้างได้ถึง 400,000 ลูก ถึงถ้าจะใช้พลังงานไฟฟ้า ก็ต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดถึง 1,500,000 โรง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ว่ากิจกรรมของมนุษย์จะเป็นสาเหตุอย่างฉับพลันของเอลนิโน เมื่อเป็นเช่นนี้การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของฝรั่งเศษจำนวน 6 ครั้งระหว่างกันยายน 2538 ถึงมกราคม 2539 ที่หมู่เกาะโพลีนีเชียซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศษและอยู่ในทะเลจีนใต้ ใกล้ๆ กับเกาะฟิจิ คงไม่เป็นสาเหตุให้เอลนิโนปี 2540/2541 เป็นเอลนิโนที่ร้อนที่สุดไปได้เคยมีแนวคิดว่าเอลนิโนอาจจะมีความสัมพันธ์กับการระเบิดของภูเขาไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระเบิดของภูเขาไฟ Chichon ในเม็กซิโกในปีพ.ศ. 2525 และภูเขาไฟปินาตูโบในฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นปีที่มีเอลนิโนด้วย แต่จากการศึกษาอย่างละเอียด รวมทั้งนำเอาข้อมูลการระเบิดของภูเขาไฟอื่น ๆ มาร่วมวิเคราะห์ด้วย ทำให้พบว่าความสอดคล้องที่เห็นใน 2 ปีนี้เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้นอย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่เกิดเป็นครั้งคราวย่อมไม่ใช่สาเหตุอันแท้จริงเพราะเอลนิโนมีประวัติมายาวนานเกินร้อยปีแล้ว ในปี 2516 มีการศึกษาบริเวณความดันอากาศสูงเหนือระดับน้ำทะเล และพบว่าในมหาสมุทรแปซิฟิกแถบซีกโลกใต้ใกล้ชายฝั่งทะเลของทวีปอเมริกาใต้มีการระเหยน้ำมากที่สุด เมื่อทำเป็นแผนที่แล้วนำมาซ้อนทับกับแผนที่แสดงอุณหภูมิของน้ำทะเลระดับลึกในมหาสมุทรแปซิฟิก พบว่าบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร (Oceanic Ridge) เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งระบายความร้อนจากใต้พื้นผิวโลกสู่มหาสมุทรและความร้อนปริมาณมหาศาลเหล่านี้เองอาจเป็นตัวการสำคัญทำให้อุณหภูมิของผิวน้ำทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกแตกต่างกันมาก ถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริงก็น่าจะมีคำถามต่อไปว่า เพราะเหตุใดจึงต้องมีการระบายความร้อนออกมาจากใต้เปลือกโลกที่บริเวณกลางมหาสมุทรด้วย เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Howell กล่าวว่า เนื่องจากเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรมีความหนาแน่นประมาณ 3 ตันต่อลูกบาศก์เมตร และเปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่นประมาณ 2.7 ตันต่อลูกบาศก์เมตร การที่เปลือกโลกจะลอยตัวอย่างสมดุลบนหินหนืด(isostacy) ได้นั้นจะต้องมีความหนาและบางแตกต่างกัน กล่าวคือเปลือกโลกที่มีความหนาแน่นมากจะต้องบางและไม่หยั่งรากลึกลงไปในหินหนืด แต่เปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่นน้อยกว่า จึงต้องหยั่งรากลึกลงไปในหินหนืดมากกว่าตามหลักการสมดุลของการลอยตัวบนหินหนืด ดังนั้นเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรจึงบางและเป็นจุดเดียวที่จะเกิดการพาความร้อนจากใต้เปลือกโลกขึ้นมาระบายออกสู่น้ำในมหาสมุทรซึ่งมีความจุความร้อนจำเพาะสูงมากพอที่จะรับการระบายความร้อนเหล่านั้น ถ้าข้อสันนิษฐานนี้ เป็นความจริงก็น่าจะมีคำถามต่อไปว่า เพราะเหตุใดจึงต้องมีการระบายความร้อนออกมามากจนเป็นสาเหตุของอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมากในช่วงเวลาทุก 4-5 ปี ในเรื่องนี้Hamblin and Christiansen (1995), Howell (1995) กล่าวถึงธรณีแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลก (Plate Tectonic) ว่าการระเบิดของหินละลายใต้เปลือกโลกบริเวณสันเขากลางมหาสมุทรซึ่งสืบเนื่องมาจากการที่แก่นในของโลกซึ่งเป็นของแข็งหมุนรอบตัวเองคลาดตำแหน่งจากศูนย์กลางเดิมที่เคยหมุนรอบอยู่เป็นประจำ เนื่องจากแก่นในของโลกเป็นของแข็งและแก่นนอกของโลกเป็นของเหลว เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองการหมุนรอบตัวเองของเปลือกโลกและแก่นโลกจะไม่สอดคล้องกันตลอดเวลาเพราะโลกมิได้เป็นของแข็งทั้งก้อน จึงก่อให้เกิดการคลาดตำแหน่งจากศูนย์กลาง และเกิดการผลักดันหินละลายให้ปะทุขึ้นในบริเวณที่สามารถปะทุขึ้นมาได้ซึ่งบริเวณนั้นควรเปราะบางที่สุดและรับการระบายความร้อนได้มากที่สุด เช่น บริเวณสันเขากลางมหาสมุทร และสิ่งนี้อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแตกต่างกันถึง 6 องศาเซลเซียส จนเป็นปัจจัยเสริมกับความผันผวนของอากาศในซีกโลกใต้และผนวกกับการอ่อนกำลังลงของลมสินค้าทำให้เกิดปรากฏการณ์เอลนิโนอย่างรุนแรงถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริง ก็ชวนให้สงสัยอีกว่ามีกลไกอะไรที่ถ่ายเทความร้อนออกไปจากน้ำทะเลจนเป็นเหตุให้เกิดลานินา แต่ลานินาก็อาจจะเกิดจากการไหลของน้ำเย็นมาทดแทนน้ำอุ่นซึ่งมีการระเหยขึ้นไปมากตามวัฏจักรปรกติก็ได้ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโนผลกระทบที่เด่นชัดจากปรากฏการณ์เอลนิโนคือ ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานเริ่มตั้งแต่บางส่วนของทวีปแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ไปจนถึงฮาวาย และความชุ่มชื้นอย่างผิดปกติ เช่นมีพายุเฮอริเคนพัดเข้าสู่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือตอนใต้จนถึงอเมริกาใต้มากกว่าปรกติ จนเป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัย จึงอาจจะกล่าวได้ว่าผลกระทบโดยตรงของเอลนิโนในเชิงลบคือภัยแล้ง อุทกภัย และวาตะภัย จากภัยทั้งสามนี้ยังแตกลูกแตกหน่อออกไปอีกหลายภัยขอยกฮาวายเป็นตัวอย่าง ปกติที่ฮาวายนั้นมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงถึง 3.2 เมตรต่อปี และโดยทั่วไปก็ไม่ต่ำกว่า 15 นิ้วต่อปี แต่จนถึงเดือนเมษายนปีนี้มีฝนตกยังไม่ถึงครึ่งนิ้ว ทางรัฐต้องออกคำสั่งให้ประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำลง 10% ประชาชนในบางพื้นที่ต้องปันน้ำกันใช้ เกษตรกรเดือดร้อนหนักเพราะไม่มีน้ำรดต้นไม้ เจ้าหน้าที่ของรัฐกล่าวว่าถ้าสภาวะเป็นเช่นนี้ไปอีก 2 เดือน ฮาวายจะตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินร้ายแรง นอกจากนี้ฮาวายยังประสบปัญหาไฟไหม้ป่าอีก ซึ่งเผาผลาญป่าไปกว่า 6 พันไร่ ประชาชนเดือดร้อนกว่า3 พันครัวเรือนประเทศไทยประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย คือประสบปัญหาภัยแล้งและอากาศร้อน เกษตรกรในออสเตรเลียเคยประสบปัญหากับความแห้งแล้งเพราะเอลนิโนมาแล้วหลายครั้ง จึงมีการเตรียมตัวรับมือกับเอลนิโนปี 2540/2541 ได้ดี โดยการลดพื้นที่เพาะปลูกลง เปลี่ยนชนิดของพืชที่เพาะปลูก และขายสัตว์เลี้ยงไปเพื่อลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด หากเกษตรกรของไทยไม่ติดตามข่าวเรื่องสภาพภูมิอากาศหรือประมาทไม่เตรียมการล่วงหน้า ก็จะประสบปัญหาขาดทุนหนักเมื่อต้นข้าวหรือพืชที่ปลูกไว้แล้งตายคานาคาไร่ทวีปเอเชียโดยส่วนใหญ่ประสบกับความแห้งแล้งและอากาศร้อนอบอ้าว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบกับความแห้งแล้งที่สุดในรอบ 50ปี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ได้รับผลกระทบทำให้ผลิตข้าวได้น้อย สำหรับประเทศไทย ความแห้งแล้งมีผลกระทบกับข้าวโพดมากกว่าข้าว ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานทำให้ป่าติดไฟได้ง่าย เมื่อมีไฟไหม้ป่าจึงดับได้ยากมาก ซึ่งไฟที่ไหม้ป่าส่วนใหญ่แล้วต้นกำเนิดไฟไม่ได้เกิดเองจากธรรมชาติ มักจะเป็นด้วยน้ำมือคนเสียทั้งสิ้น ทั้งด้วยความเผลอเรอและตั้งใจ ดังไฟป่าที่อุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง เขาใหญ่ และพลุโต๊ะแดง รวม ๆ แล้วปีนี้ไทยเสียพื้นที่ป่าไปเพราะไฟไหม้ประมาณสองสามหมื่นไร่วิธีการเดียวที่ประเทศเรานำมาใช้ดับไฟป่าคือถางป่าที่ยังไม่ไหม้ให้เป็นพื้นที่กันชน ไม่มีสารดับเพลิงสำหรับใช้ดับไฟป่าโดยเฉพาะไม่มีเครื่องบินโปรยสารดับเพลิงหรือบรรทุกระเบิดน้ำ มีแต่มีด จอบ และเสียม เวลาของบประมาณแผ่นดินคงไม่มีใครเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ เครื่องมือดับไฟของเราจึงมีแต่ของโบราณ ๆเฉพาะไฟป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมแล้วก็หลายร้อยแห่ง ไฟป่าในอินโดนีเซียเป็นไฟป่าที่มีอายุการเผาผลาญยาวนานหลายเดือน เกิดควันไฟแพร่กระจายไปปกคลุมหลายประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ไทย และฟิลิปปินส์ มีผู้ป่วยและเสียชีวิตเนื่องจากควันไฟหลายรายประเทศไต้หวันและจีนรับพายุเฮอริเคน ‘ลินดา’ ไปเต็ม ๆ ความรุนแรงอยู่ในระดับเกิน F5 แบบที่เห็นในหนังเรื่องทวิสเตอร์ ลินดามีความเร็วลมที่ศูนย์กลาง 220 ไมล์ต่อชั่วโมง นักอุตุนิยมวิทยายังเห็นว่าพายุนี้รุนแรงเกินระดับ F5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่ได้ตั้งไว้จึงมีการเสนอให้ตั้งระดับใหม่ F6 ขึ้นมา ลินดาเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดของเอเชียตะวันออก มีผู้เสียชีวิตทั้งในจีนและไต้หวันรวม43 คน พม่าก็ถูกพายุฝนกระหน่ำเช่นกันจนน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 30 ปี ประชาชนพม่ากว่า 5 แสนคนกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยจีนก็ใช่ว่าจะพบแต่พายุเท่านั้น จีนยังพบกับความแห้งแล้งในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายนปีที่แล้วด้วย แม่น้ำแยงซีของจีนถึงกับแห้งขาดตอนไปจนเรือขนส่งแล่นไม่ได้ 137 แห่ง แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่ระยะเวลาที่ประสบกับความแห้งแล้งมีไม่นานนักยุโรปโชคดีไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง ส่วนทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ต้องพบกับภาวะสุดโต่ง 2 ด้านคือขาดน้ำกับมีน้ำมากไป ในสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอเนียร์เจอพายุหนักสุด ฝนตกชั่วโมงละ 1 นิ้ว ตามด้วยโคลนถล่ม คนแคลิฟอร์เนียเดือดร้อนกันทั่วหน้าในขณะที่คนชิคาโกยิ้มแย้มแจ่มใส นิยมไปปิคนิคและเดินชอปปิ้งกันมากขึ้นเพราะอากาศอบอุ่น ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่หนาวจนเก็บคนไว้ในบ้านแบบช่วงเดียวกันของปีก่อน ๆส่วนในอเมริกาใต้ เปรูกับเอกวาดอร์เจอพายุไม่แพ้แคลิฟอร์เนีย น้ำท่วมหนัก ถนนและสะพานขาด นับแต่ธันวาคมปีที่แล้วมีคนตายไปกว่า 300 คน ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานกว่า 250,000 คน ที่ชิมโบเตซึ่งเป็นศูนย์กลางการประมงของเปรูมีรายงานว่า ปกติเปรูเคยจับปลาพวกแองโชวีน้ำเย็น (cold-water anchovy) ได้วันละ 25 ล้านตันแต่ตอนนี้เหลือเพียงวันละ 5 ล้านตันเพราะน้ำอุ่นจากเอลนิโนเข้ามาทำให้ฝูงปลาแองโชวีน้ำเย็นอพยพหนีไป นับว่าเปรูสูญเสียรายได้ไปจำนวนมหาศาล เมื่อปลาไม่มี นกกินปลาก็ไม่มา จึงทำให้เปรูขาดรายได้จากการขายปุ๋ยฟอสเฟตจากมูลนกทะเลซ้ำอีกเป็นมูลค่ามหาศาลเช่นกัน

เหตุการณ์เช่นนี้มีผลกระทบต่อการผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เนื่องจากปลาเป็นอาหารโดยตรงและปลาป่นเป็นอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญของโลกเอกวาดอพบกับปัญหาโคลนถล่ม โชคร้ายหนักขึ้นไปอีกที่โคลนถล่มนั้นเกิดขึ้นในบริเวณท่อส่งน้ำมันสายใหญ่สุดของประเทศ ทำให้เกิดการระเบิด เผาน้ำมันไปเปล่าๆ 80 บาเรล และไหลลงสู่แม่น้ำอีก 8,000 บาเรล เกิดปัญหามลพิษตามมาอีกไม่รู้เท่าไร

รัฐบาลเอกวาดอ คาดว่าจะต้องใช้เงินถึง 8 หมื่นล้านบาทมาซ่อมแซมหายนะครั้งนี้ในขณะที่เปรูกับเอกวาดอร์เจอพายุหนัก ทางบราซิล เวเนซูเอลา และโคลัมเบียกลับประสบภาวะแห้งแล้งทั้งๆ ที่ประเทศก็อยู่ติดๆกันนั่นเอง โคลัมเบียก็เจอปัญหาไฟไหม้ป่าหลายแห่ง น้ำไม่พอสำหรับการเกษตร คาดว่าผลผลิตจากการเกษตรปีนี้จะลดลง 7%เวเนซูเอลามีน้ำไม่พอผลิตกระแสไฟฟ้า บราซิลพบกับความแห้งแล้งที่สุดในรอบ 25 ปี เกิดไฟไหม้ป่าลุกลามเข้าไปถึงเขตป่าดึกดำบรรพ์ในลุ่มน้ำอเมซอนซึ่งปรกติเป็นเขตป่าฝน ทำให้พื้นที่ป่าเสียหายไปกว่า 5 แสนตารางกิโลเมตรจากพื้นที่ป่าทั้งหมด 5.2 ล้านตารางกิโลเมตร และที่ชิลีก็พบปัญหาปลาน้ำเย็นอพยพหนีน้ำอุ่นเช่นเดียวกับเปรูดังนั้น เมื่อเกิดปรากฏการ์เอลนิโน ข้อควรระวังหลัก ๆ ก็ได้แก่ พายุ น้ำท่วม ความแห้งแล้ง สำหรับประเทศไทยควรเตรียมตัวรับมือกับประการหลังมากที่สุด

แต่ถ้าเกิดลานินา ก็ต้องระวังเรื่องพายุและน้ำท่วม เพราะจะเกิดพายุไต้ฝุ่นจากมหาสมุทรอินเดียมาเข้าไทยบ่อยมาก มีหลายประการที่หน่วยงานของรัฐบาลต้องเป็นผู้ดำเนินการ ได้แก่ ประกาศเตือนประชาชนแต่เนิ่น ๆ ให้ทราบว่าจะมีปรากฏการณ์เอลนิโนหรือลานินาเกิดขึ้น ทำโครงการกักเก็บน้ำให้พอเพียงแก่การเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า ทำโครงการประหยัดพลังงาน จัดอบรมเกษตรกรเพื่อรับมือกับภัยแล้ง เตรียมการป้องกันไฟป่าและจัดเตรียมอุปกรณ์ดับไฟป่าให้มีผลพร้อมที่จะดับไฟได้อย่างน้อย 10% ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ร่างกฎหมายประกันภัยน้ำท่วม เป็นต้นความจริงเอลนิโนไม่ได้ทำให้อากาศร้อนอย่างเดียว ยังทำให้บางพื้นที่ในประเทศทางซีกโลกเหนือมีความหนาวเย็นและมีหิมะตกหนักกว่าปรกติด้วย เช่นที่ประเทศเกาหลีเหนือนอกจากภัยที่กล่าวมาแล้วยังมีภัยทางอ้อมต่าง ๆ อีก ซึ่งเป็นผลมาจากน้ำและอากาศมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น หรือไม่ก็เพราะแล้งไปหรือชื้นไป พอจะรวบรวมได้ดังนี้

1. สัตว์ทะเลมีโอกาสสูญพันธุ์สูงมาก เมื่อเกิดภาวะเอลนิโนการไหลของกระแสน้ำอุ่นผิดทิศทางไป ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการ ขยายพันธุ์ของปลาและแหล่งอาหารมาก เราคงได้ยินข่าวฝูงปลาวาฬว่ายไปเกยตื้นบ่อยๆ เพราะหลงทิศทางน้ำ ต้นปีนี้ปลาวาฬ เกยตื้นที่ไอร์แลนด์หลายครั้ง ชาวไอร์แลนด์ก็ดีใจหาย ได้ตั้งหน่วยอาสาสมัครช่วยกันจูงปลาวาฬกลับเข้าไปในทะเล

2. นกต่าง ๆ ที่อาศัยปลาเป็นอาหารก็กำลังมีจำนวนน้อยลง เช่น นกเพนกวิน

3. สัตว์ป่าต้องพบกับภาวะแห้งแล้งเช่นกัน หาอาหารได้ยากขึ้น และล้มตายมากมายด้วยไฟป่า

4. เกิดเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ ความจริงนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจนักแต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่จะเกิดขึ้น เพราะอากาสร้อนกว่าปรกติอย่างยาวนาน ที่ไต้หวันมีผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสในลำไส้ไปแล้ว 30 คน ไวรัสตัวนี้ถูกเรียกว่าเป็นไวรัสลึกลับ ในขั้นต้นพบว่ามักแพร่ระบาดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทางการไต้หวันต้องอาศัย ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดของสหรัฐอเมริกามาช่วยตรวจหาสาเหตุการแพร่ระบาด ต้นเดือน มิถุนายนนี้แพทย์ไต้หวันรายงานว่ามีเด็กทารกทั่วไต้หวันติดเชื้อไวรัสดังกล่าวนี้ไม่น้อยกว่า 200,000 คนแล้ว รัฐบาลสิงคโปร์ ประกาศเตือนประชาชนให้ระวังว่าจะติดโรคนี้มาจากไต้หวัน

5. แมลงและสัตว์ขนาดเล็กซึ่งเป็นพาหะของโรคต่าง ๆ ทวีจำนวนมากขึ้น พบว่ามีโรคเก่า ๆ ที่คิดว่าปราบราบคาบ ไปแล้วกลับคืนชีพมาอีกอย่างน่าประหลาดใจ เช่น อาเยนตินาและปากีสถานพบกับการกลับมาอีกครั้งของโรคมาลาเรีย อินเดียก็ พบกับอหิวาตกโรค ในไทยเราก็พบว่ามีผู้เป็นโรคทั้งสองเหมือนกันตามแนวชายแดน โรคที่ควรระวังนอกจากนี้คือ ไทฟอย กาฬโรค และโรคอื่น ๆ ที่มีแมลงเป็นพาหะ

6. แมลงศัตรูพืชเพิ่มจำนวนขึ้น ที่เนวาดาพบว่ามีตั๊กแตนยั้วเยี้ยไปหมด เพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการขยายพันธุ์

7. ที่แคลิฟอเนีย์พบว่ามีสปอร์เชื้อราแพร่กระจายในอากาศมากเนื่องจากอากาศเย็นและชื้น มีผลทำให้คนที่เป็นโรคภูมิแพ้มีอาการ กำเริบขึ้นและทรมาน

8. เครื่องบินตก เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ไม่ยืนยัน แต่คาดว่ามีโอกาศเป็นไปได้สูง เพราะความร้อนทำให้อากาศเบาบาง และเกิดหลุมอากาศได้ และระยะนี้ก็มีเครื่องบินตกบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ เอลนิโนใช่ว่าจะให้แต่โทษเพราะในบางพื้นที่ที่ไม่เคยได้รับฝนก็อาจจะได้รับฝนเพราะอิทธิพลของเอลนิโน

9.นอกจากนี้ยังทำให้อากาศหนาวเย็นในบางพื้นที่อบอุ่นขึ้น พายุเฮอริเคนที่เคยเกิดขึ้นประจำในมหาสมุทรแอตแลนติกพัดไปถล่มอเมริกานั้นในปีนี้ก็ดูสงบเสงี่ยมลงไปมาก แต่ว่าได้ไม่เท่าเสีย โดยเฉพาะกับประเทศไทย ทางสหรัฐอเมริการัฐบาลเขามีการประชุมแก้เกมหาผลประโยชน์จากเอลนิโนกันบ่อย ๆ เช่น เมื่อมีเอลนิโนขึ้นต้องไปจับปลาที่บริติชโคลัมเบีย ลดการจับปลาแถบแปซิฟิกลง และก็เริ่มมองหาลู่ทางที่จะเพาะปลูกพืชผักเมืองร้อนในโอกาสที่เอลนิโนอำนวยเสียเลย อเมริกายังเน้นความสำคัญของการพยากรณ์อากาศมากโดยเฉพาะการพยากร์เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเอลนิโนใลานินาจะให้ผลบวกกับประเทศไทยมากกว่าจะให้ผลลบ เช่นฝนชุก บังคลาเทศและพม่าอาจจะโดนพายุฝนหนักหน่อย พอมาถึงไทยก็อ่อนกำลังลงกลายเป็นพายุดีเพรสชั่น ทำให้มีฝนตกทุกวันและน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ และหากน้ำทะเลในอ่าวไทยกลายเป็นน้ำเย็นเราก็คงได้ทำการประมงน้ำเย็นกันบ้าง ก็จะมีปลาป่นใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศได้อย่างเหลือเฟือ

แถมส่งออกขายต่างประเทศได้อีก คงได้แต่ฝัน เหตุการณอาจจะเป็นตรงข้ามก็ได้ปรากฏการณ์ธรรมชาติ” เอลนิโน “ ได้ส่อแววว่าจะหวนกลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ได้นำปัญหาความแห้งแล้งไปยังหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทยเมื่อราว 3 ปีก่อน โดยรายงานข่าวแจ้งว่าประเทศออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกาได้แจ้งเตือนมายังกรมอุตุนิยมวิทยาของไทยหลายครั้งว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ โดยพื้นที่ความเสี่ยงได้แก่ ชายฝั่งมหาสมุทรอเมริกาใต้ และเขตแปซิฟิกใต้ ซึ่งอาจทำให้ฝนน้อยกว่าปกติหรือเกิดน้ำท่วมเมื่อฝนมากกว่าปกติ เอลนิโนเป็นปรากฏการณ์ที่ไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ไปยังบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวัยออกและชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์

และปัญหาของปรากฏการณ์นี้อยู่ที่การเกิดติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี จะทำให้มีความผันผวนของระบบภูมิอากาศในซีกโลกใต้ แต่ด้วยการวิเคราะห์ดรรชนีเปอร์เซ็นต์ของนักวิชาการไทยเชื่อว่า ไม่มีผลกระทบอย่างรุนแรงภายในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันพบว่ามันได้ผลกระทบต่อระะบบวงจรชีวิตที่ต้องพึ่งพากันในทะเลให้เปลี่ยนไปในทางลบ ทำให้สัตว์ทะเลลดจำนวนลง กระทบถึงการประมงและอุตสาหกรรมอาหารได้

เอกสารอ้างอิง


1.“El Nino’s wrath”, Bangkok Post March 15, 1998

2.The Why Files Staff, 'El Nino Rules!', National Institute for Science Education (NISE) University of Wisconsin-Madison, USA (http://whyfiles.news.wisc.edu/050el_nino/index.html)

3.'What is an El Nino?', U.S.Dept of Commerce / NOAA / PMEL / TAO / El Nino Theme Page (http://www.pmel.noaa.gov/toga-tao/el-nino-story.html)

4.'What is La Nina?', U.S.Dept of Commerce / NOAA / PMEL / TAO / El Nino Theme Page (http://www.pmel.noaa.gov/toga-tao/la-nina-story.html)

5.'So What is an El Nino, Anyway?', SCRIPPS INSTITUTION OF OCEANOGRAPHY (http://meteora.ucsd.edu/ecpc/elnino/whatis.html)
6.'Tour of the Tropical Atmosphere-Ocean (TAO) Project', US Dept of Commerce / NOAA / OAR / ERL / PMEL / TAO (http://www.pmel.noaa.gov/toga-tao/tao-tour.html)

7.'Frequently Asked Questions about El Nino', NOAA / PMEL / TAO Project Office / El Nino Theme Page (http://www.pmel.noaa.gov/toga-tao/el-nino/faq.html#often)

8. 'เอลนีโญในปี พ.ศ. 2540-2541 กับผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย’, ศูนย์เครือข่ายการวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (http://www.start.or.th/elnino/elnino.htm)

9. ดร. วีรศักดิ์ อุดมโชคม,‘ปรากฏการณ์เอลนีโนและภูมิอากาศผันผวนในซีกโลกใต้’

10. Kimberly Amaral, 'El Nino and the Southern Oscillation: A Reversal of Fortune', (http://www.umassd.edu/Public/People/KAmaral/Thesis/ElNino.html)

11. '1997-1998 El Nino Information', NOAA / PMEL / TAO Project Office / El Nino Theme Page (http://www.pmel.noaa.gov/toga-tao/el-nino/1997.html)

12. 'Impacts of El Nino and Benefits of El Nino Predicton', NOAA / PMEL / TAO Project Office / El Nino Theme Page (http://www.pmel.noaa.gov/toga-tao/el-nino/impacts.html#part5c)

13. Carol Rasmussen, 'El Nino and global warming: What's the connection?', (http://www.ucar.edu/quarterly/winter97/connection.html)

14. California El Nino Information (http://ceres.ca.gov/elnino/background.html)

15. ‘El Nino fallout - Will it bring more infectious disease?’ Mayo Foundation for Medical Education and Research, CNN News, May 26, 1998

16. Gary Tuchman, ‘El Nino = big bug boost this summer’, CNN News, May 25, 1998

17.tropical diseases’, CNN News, March 12, 1998

18. ‘Florest Fires’, Bangkok Post, March 24, 1998
2.


2.ภัยสงคราม
หรือเรียกว่าภัยจากน้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง  หากนับสงครามที่เกิดขี้นบนโลกนี้ต้องถือว่านับไม่ถ้วน แต่ที่เป็นที่โจษจันและกล่าวขวัญถึง ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด ก็คือ สงครามโลกครั้งที่ 1 กับสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้มีการทำนายกันว่าอาจจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3-5 ตามมาอีกในอนาคต ซึ่ง 1ในคำทำนายที่คนทั่วโลกรู้จักก็คือ โหรผู้หยั่งรู้ฟ้าดินและโด่งดังในศตวรรษที่ 16-19 ก็คือ นอสตราดามุส คำทำนายของนอสตราดามุส ได้รับการพิสูจน์ว่ามีส่วนที่เป็นจริงค่อนข้างมาก แต่มักเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เกินศตวรรษที่ 20 เนื่องด้วยความแม่นยำของนอสตราดามุสไม่อาจก้าวข้ามมาสู่ถึงยุคศตวรรษที่ 21 ที่เรียกว่ายุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพลวัตอย่างรวดเร็วทั้งในแง่ข้อมูลข่าวสาร ทุน และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แต่ยังมีบุคคลอีกท่านนึงที่เกิดในยุค ศตวรรษที่ 19 และทำนายความเป็นไปของโลกมาถึงศตวรรษที่ 21 ได้อย่างแม่นยำกว่านอสตราดามุส หรือเป็นนอสตราดามุสในยุคต่อมา บุคคลท่านนั้นก็คือ ฮวน พอล วัลเดส ซึ่งเป็นนักบวชชาวสเปน ที่ออกบวชในนิกายโรมันคาโธริก ประวัติและการทำนายของบุคคลผู้นี้เป็นดังนี้

คำทำนายของพระฮวน พอล วัลเดส

ฮวน พอล วัลเดส เป็นพระที่เขามูนเตซในสเปน เกิดเมื่อ 19 สิงหา 1832 และตายเมื่อ 19 สิงหา 1898 ฮวนบวชเป็นพระในนิกายโรมันแคโธลิกตั้งแต่ปี 1860 แต่ด้วยความสามารถพิเศษที่ไม่สำรวมในการทำนายอนาคต ทำให้ฮวนต้องถูกออกจากความเป็นพระในปี 1870 โบสถ์ถือว่าฮวนเป็นพวกนอกคอก เพราะในแต่ละวันฮวนจะใช้เวลาในการจดบันทึกรายละเอียดตามฝันที่โบสถ์ถือว่าไม่สอดคล้องกับจริยวัตรที่ดี

ในปี 1998 จึงครบ 100 ปี หลังการตายของฮวน คำทำนายเป็นสมุดบันทึกถูกเก็บรักษาอย่างดีจากญาติของเพื่อนสนิท การตัดสินใจย้ายที่ฝังศพของฮวน เพื่อเปิดโอกาสให้กับความ

เจริญของท้องถิ่น ก่อให้เกิดความแตกตื่นทั้งในสเปนและประชาคมยุโรป โลงศพของฮวนวางอยู่ใต้แผ่นหินอัคนีขนาดใหญ่ตามที่นิยมทำกันในศตวรรษที่ 18 จึงต้องใช้รถบูลโดเซอร์ขนาดใหญ่ กำลังสูงในการขยับแผ่นหิน เมื่อยกโลงศพของฮวนขึ้นเปิด ญาติของเพื่อนสนิทต้องเป็นพยานในการนี้ เขามีโอกาสอ่านบันทึกของฮวนตั้งแต่ยังเด็ก จึงมีความอยากรู้อยากเห็น เพื่อการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มเติมอีก

เมื่อเปิดโรงศพของฮวน พบว่า โครงกระดูกของฮวนถือไม้กางเขนที่จารึกคำทำนายสุดท้ายของฮวนไว้ว่า หลุมศพของฮวนจะถูกรื้อและเปิดในวันที่ 23 เมษา 1998 ผู้คนที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้ง 17 คนต่างใบ้กิน ตะลึงในความแม่นยำของคำทำนาย เพราะการตัดสินใจที่จะย้ายที่ฝังศพของฮวนกระทำโดยประชาคมเมื่อ 4 วันที่แล้วมานี้เอง เหตุการณ์นี้นำสู่การตีพิมพ์คำทำนายในบันทึกของฮวนที่เก็บไว้กับญาติของเพื่อนสนิท


1. นกทำด้วยเหล็กกล้าบินในท้องฟ้า (เครื่องบิน?)

2. การลอบปลงชีพผู้นำจากครอบครัวโลกตะวันตก (จอห์น เอฟ เคนเนดี และ โรเบิร์ต เคนเนดี?)

3. การล่มสลายของอาณาจักรยิ่งใหญ่ทิศเหนือ (สหภาพโซเวียต?)

4. การกระจายของโรคภัยและเข่นฆ่ามวลมนุษย์ (อีโบลาและเอดส์?)

5. เยรูซาเลมได้อิสระภาพและสร้างชาติใหม่สำเร็จ (อิสราเอล?)

6. การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงอังกฤษที่ทรงครรภ์ในอุบัติเหตุ (เจ้าหญิงไดอานา?)

7. การตายของแม่ชีทูตสวรรค์ (แม่ชีเทเรซา?)

8. แผ่นดินไหวและจำนวนผู้เสียชีวิตที่ถูกต้อง

9. ระเบิดนิวเคลียร์จะเกิดขึ้นรวม 5 ครั้งในการเผชิญหน้ากันระดับโลก (เกิดแล้ว 2 ครั้งในญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังเหลืออีก 3 ครั้ง?)

10. ประเทศที่มีประชาชนจำนวนหนาแน่นในตะวันออกไกล (อินโดนีเซีย?) จะมีปัญหาไม่สงบและการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ 20 ปีหลังสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง และอีกครั้งหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 33 ปี หลังครั้งแรก ในขณะที่ผู้นำชั่วคราว จะปกครองแค่ปีเดียว และจะถูกแทนที่ด้วยเผด็จการผู้รักสงบจนสิ้นปี 1999 ประเทศบอบช้ำอย่างสาหัสทั้งความยากจนและอดอยากซ้ำเติมเพียง 2 ปีให้หลัง การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่นับเป็นครั้งที่ 3 และนองเลือดที่สุด จะเป็นปีเดียวกับสงครามโลกครั้งที่ 3 กว่าจะสงบลงก็ใช้เวลา 16 ปี (หมายเหตุคำทำนายในข้อนี้ ผมคิดว่าน่าจะมีความหมายที่คลาดเคลื่อน ผมเข้าใจว่าน่าจะหมายถึงประเทศอิรักมากกว่า และสงครามที่ว่าน่าจะหมายถึงสงครามอ่าวเปอร์เซีย และรวมถึงสงครามที่อเมริกาบุกถล่มอิรักมากกว่า ซึ่งกินเวลารวม 16 ปี ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริงในช่วงนี้ที่ยังไม่จบไม่สิ้นเลย)

11. สงครามโลกครั้งที่ 3 จะเกิดขึ้นจากเหตุการปลงชีพของผู้นำประเทศตะวันออกกลาง สงครามจะถึงจุดสูงสุด เมื่อประเทศตะวันตกทิศเหนือ ไม่อาจยอมทนต่อไปกับการวางระเบิดแบบสละชีพและก่อการร้าย ของชนประเทศตะวันออกลางต่ออธิปไตยของประเทศ

12. สงครามโลกครั้งที่ 3 มีประเทศร่วม 125 ประเทศ ใช้เวลา 9 ปี

13. สงครามโลกครั้งที่ 3 จะเริ่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์ของประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย ต่อชาติเล็กคู่อริที่ไม่ลงรอยกันเป็นเวลา 50 ปี

14. ระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่ 4 และ 5 จะเกิดในประเทศที่เพิ่งผ่านการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่มีการนองเลือด ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเป็นล้านเฉพาะในประเทศนี้ และเนื่องจากความยากจนข้นแค้น ประเทศนี้จะยึดประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ เป็นเวลาอีก 15 ปี ผู้นำที่มีเชื้อสาย ผู้อพยพจะเป็นผู้ปกครองในปีที่ 16 และประเทศนี้ในที่สุดจะแยกเป็น 8 รัฐ โดยมีผู้ว่าการรัฐปกครองในแต่ละรัฐ

15. สองประเทศจากคาบสมุทรอินเดีย (อินเดียและปากีสถาน?) จะทำสงครามกัน และมีกำลังจากต่างประเทศ (UNSCOM?) ยื่นมือเข้ามาดูแลประเทศทั้งสอง เป็นเวลา 8 ปี และจะแบ่งเป็น 3 ประเทศเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 3

ที่มา http://www.saranair.com/article.php?sid=12143

การก่อการร้ายคืออะไร ?
         โลกปัจจุบันไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ได้ยินข่าวของการก่อการร้ายไม่ว่าจะก่อการร้ายในลอนดอน ก่อการร้ายที่ เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ก่อการร้ายทางภาคใต้ของไทย ทำให้มีความรู้สึกว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นกับโลกที่บูดเบี้ยวใบนี้
         ความพยายามที่จะอธิบายคำว่า "การก่อการร้าย" หรือ Terrorism กันมากมาย อาทิ การใช้ภัยสยอง มาส่งเสริมเป้าหมายทางการเมือง หรือการจงใจใช้หรือคุกคามว่าจะใช้ความรุนแรงต่อพลเรือน หรือเป้าหมายพลเรือน เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมือง
         ในส่วนของกฎหมายไทยกำหนดไว้กว้างขวางมาก โดยกำหนดให้ลักษณะความผิดที่กำหนดว่า เป็นการก่อการร้าย มีดังนี้
  1. ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ต่อร่างกายอย่างร้ายแรง หรือต่อเสรีภาพ
  2. การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่ระบบขนส่งสาธารณะ โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสาธารณะ
  3. การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐ หรือบุคคล หรือต่อสิ่งแวดล้อม ที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจ
  4. มีพฤติการณ์อันเชื่อได้ว่า ได้มีการขู่เข็ญว่าจะกระทำการก่อการร้ายจริง
  5. การสะสมกำลังพลหรืออาวุธ การจัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึก หรือการสมคบกัน หรือการยุยงประชาชน หรือการปกปิด หรือการให้การสนับสนุนในการทำความผิดดังกล่าวข้างต้น เพื่อตระเตรียมการก่อการร้าย
         ฉะนั้น การก่อการร้ายของแต่ละประเทศจึงเป็นคำที่มีการโต้เถียงกันกว้างขวางและมีนิยามหลากหลาย โดยไม่มีความหมายใดที่ได้รับการยอมรับโดยสมบูรณ์ แต่คำนี้โดยทั่วไปแล้วมักใช้ เพื่อเรียกการโจมตีขององค์กรลับ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่มีเป้าหมายเพื่อบังคับรัฐบาลด้วยการกระทำที่ใช้ความรุนแรงต่อรัฐบาล หรือสมาชิก หรือรัฐนั้น
         คำนี้ยังเป็นคำที่ใช้ในทางไม่ดีเสมอและมีความหมายที่กว้างขึ้นตั้งแต่มีการประกาศสงครามกับการก่อการร้ายจนครอบคลุมไปถึงทุกๆ กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรง และเป็นคำที่ใช้เฉพาะเพื่อเรียกฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น ไม่มีกลุ่มใดเรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย" เลย
         ถึงแม้ว่านิยามของคำว่า การก่อการร้ายจะกว้างมาก แต่มักจะประกอบไปด้วยเงื่อนไขที่มีแรงจูงใจเกี่ยวกับการเมืองและศาสนา เป้าหมาย คือ พลเมือง จุดประสงค์เพื่อข่มขู่ การข่มขู่มุ่งเป้าไปที่รัฐบาลหรือสังคม ผู้กระทำนั้นไม่ใช่รัฐ และการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
         แต่ก็ไม่มีเงื่อนไขข้อใดได้รับการยอมรับสมบูรณ์ว่า จำเป็นหรือพอเพียงในการจัดว่าการกระทำใดๆ เป็นการก่อการร้ายแท้จริง จากการที่การก่อการร้ายไม่มีรูปแบบหรือลักษณะตายตัว จึงเป็นเหตุให้หลายคนสงสัยว่า ทำไมนักธุรกิจผู้ยิ่งใหญ่อย่าง โอซามา บินลาเดน หรือนายแพทย์อย่างไอมาน อัล ซาวารี ผู้นำของอัลกออิดะห์ (AL- Qaida) จึงเปลี่ยนวิถีชีวิตของตน ไปเป็นหัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายที่น่ากลัวที่สุดในยุคนี้ได้
         ความข้องใจเกี่ยวกับก่อการร้ายเหล่านี้ ทำให้รัฐบาลอเมริกันต้องระดมนักวิชาการ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ ตลอดจนนักสังคมศาสตร์ 60 คน ร่วมกันหาคำตอบเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย โดยจัดตั้งเป็นศูนย์เฉพาะกิจขึ้น ที่มหาวิทยาลัยแห่งแมรีแลนด์ ภายใต้การดูแลจากกระทรวงความมั่งคงภายในแห่งมาตุภูมิ โดยหวังว่ารัฐบาลสหรัฐ จะสามารถเข้าใจผู้ก่อการร้ายได้มากขึ้น เมื่อเข้าใจได้มากขึ้นก็จะสามารถคาดการณ์ถึงการก่อการร้ายได้แม่นยำขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการป้องกันการโจมตีได้ล่วงหน้านั่นเอง
         ในความเห็นของผมนั้น โครงการนี้นอกจากจะเสียเวลาแล้วคงจะเสียเงินไปโดยได้ไม่คุ้มเสีย เพราะจากคำนิยาม และเงื่อนไขดังกล่าวในตอนต้นของการก่อการร้ายนั้น ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวและยิ่งไปเพ่งเล็งหรือระบุไว้ล่วงหน้าว่า ผู้ก่อการร่ายนั้นส่วนมากจะเป็นชาวอาหรับหรือมุสลิมเท่านั้น ก็ยิ่งทำให้ความเข้าใจเรื่องผู้ก่อการร้ายนั้น คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงมากขึ้นทุกที และโดยเฉพาะเมื่อมองจากมุมมองของอเมริกันชน
         ความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกันนี้ อเมริกันชนซึ่งรวมถึงลูกไล่ของอเมริกาทั้งหลาย ไม่มีทางเข้าใจเหตุการณ์กรณีการขับเครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ในวันที่ 11 กันยายน 2544 โดยเฉพาะเรื่อง "ความตาย" ในความคิดของฝรั่งนั้นเห็นว่า น่าจะเป็นทางเลือกสุดท้าย เขาจึงเข้าใจอย่างง่ายๆ ว่าพวกนี้ "บ้าไปแล้ว"
         ในทางตรงข้ามกลุ่มอัลกออิดะห์ กลับมองว่า พวกเขาไม่ได้บ้า แต่พวกเขากำลังทำหน้าที่อย่างมีเกียรติต่างหาก และที่น่าสังเกตมากกว่านั้น ในการก่อการร้ายในปัจจุบัน ก็คือโลกกำลังเผชิญกับการก่อการร้ายโดยผู้หญิง การใช้ระเบิดพลีชีพของผู้หญิง จึงเป็นสัญลักษณ์ของความขมขื่นอย่างที่สุด เพราะโดยทั่วไปแล้วสตรีเพศ จะเป็นเพศที่ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของผู้ให้กำเนิด และผู้พิทักษ์ชีวิตมากกว่าผู้ทำลาย
         ที่น่าตกใจก็คือการยอมรับต่อคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาของผู้อำนวยการซีไอเอ ว่าอิรักในขณะนี้กลายเป็นเสมือนพื้นที่ฝึกหัดของเหล่าบรรดานักรบศักดิ์สิทธิ์เพื่อต่อต้านสหรัฐ และพันธมิตรเพิ่มขึ้นมามากมายจากเดิมก่อนการเข้าครองของสหรัฐที่มีจำนวนเพียงหยิบมือเดียว
         แม้ว่าจะจับตัว โอซามา บินลาเดน หรือผู้นำอื่นของอัลกออิดะห์ ก็คงไม่ได้หมายความว่า จะสามารถตัดรากเหง้า ของปัญหาการก่อการร้ายให้หมดสิ้นไปได้
         เมื่อคิดถึงเรื่องนี้แล้วก็หนาวครับ เพราะประเทศไทยก็เอาคอไปผูกไว้กับมหามิตรอเมริกาเต็มตัวเสียแล้ว ก็ต้องภาวนาให้พระสยามเทวาธิราชช่วยปกปักคุ้มครองให้ผืนแผ่นดินของเรารอดพ้นจากการก่อการร้ายไปให้ได้ และขอร้องอย่าชักศึกเข้าบ้านเหมือนที่ผ่านมา

อะไรคือ “ การก่อการร้าย”

         เมื่อกล่าวถึงการก่อการร้าย เราอาจจะนึกถึงการกระทำต่อผู้บริสุทธิ์ โดยใช้ความรุนแรง และปราศจากความเมตตาปรานีใดๆ ตลอดจนสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์เช่นนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วมากมายในอดีต และต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ผู้กระทำการอาจเป็นบุคคลเพียงคนเดียว หรือเป็นกลุ่มบุคคล ใช้ความโหดเหี้ยมในการสังหารผู้คน อาวุธที่ใช้อาจเป็นมีด ปืน หรือกระทั่งระเบิด การกระทำดังกล่าวนี้ ไม่เพียงแต่สร้างความตกใจให้กับประชาชนโดยทั่วไป แต่ยังเป็นภัยคุกคาม และเป็นการบีบบังคับรัฐบาลของประเทศนั้นๆ อีกด้วย
         กลุ่มบุคคลหรือองค์กรดังกล่าวนี้ มักจะมีวัตถุประสงค์หรืออุดมการณ์ของกลุ่ม ซึ่งต่างกลุ่มกันก็จะมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้อาจเป็นไปตามความต้องการของบุคคลเพียงคนเดียว ( ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่ม)หรือไม่ก็เป็นวัตถุประสงค์ของทั้งกลุ่ม วัตถุประสงค์นั้นอาจจะเป็นความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม การเมือง อิทธิพล หรืออำนาจต่างๆ บางครั้งก็ต้องการคุกคามหรือข่มขู่ประชาชนทั่วไป ถึงกระนั้นก็ดีประชาชนอาจจะไม่เห็นด้วย หรืออาจเห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่มบุคคลนี้ ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวพยายามที่จะสร้างอิทธิพลครอบคลุมความรู้สึกนึกคิดของประชาชน
เมื่อกลุ่มบุคคลหรือคนในองค์กรมารวมตัวกัน พวกเขาจะมีแนวความคิด ความเชื่อหรืออุดมการณ์ไปในแนวทางเดียวกัน โครงสร้างขององค์กรนั้นบางกลุ่มก็เป็นไปอย่างง่ายๆ แต่บางกลุ่มก็มีความสลับซับซ้อน อย่างไรก็ตาม โครงสร้างขององค์กรดังกล่าวจะต้องสนับสนุนแก่การปฏิบัติงาน และสร้างความเจริญเติบโตให้กับกลุ่ม โครงสร้างนี้บางครั้งอาจใกล้เคียงกับของฝ่ายทหาร กล่าวคือ มีส่วนวางแผน มีส่วนปฏิบัติการ และมีส่วนสนับสนุน บางองค์กรที่มีแนวความคิดหรืออุดมการณ์เหมือนๆ กัน อาจมีการร่วมมือกันในการปฏิบัติการ และโดยทั่วไปแล้ว องค์กรดังกล่าวนี้มักไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วๆ ไป
         องค์กรดังกล่าวนี้ มักจะหลบซ่อนและปกปิดเป็นความลับ เนื่องจากการปฏิบัติของพวกเขานั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย บุคคลที่จะเข้าร่วมกับองค์กร จะต้องผ่านการคัดเลือก และทดสอบ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรักษาความลับ และความจงรักภักดีต่อองค์กร พวกเขาจะทำงานภายใต้การอำพราง และสร้างองค์กรของตนให้สามารถต่อต้านฝ่ายบ้านเมืองได้ในระดับหนึ่ง อาวุธยุทโธปกรณ์จะถูกซุกซ่อนเอาไว้ และจะนำติดตัวก็ต่อเมื่อเคลื่อนกำลังเข้าสู่เป้าหมายซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายที่อ่อนแอกว่าหรืออยู่ในสถานะที่ไม่พร้อมในการต่อสู้ หลังจากก่อการเสร็จก็จะแยกย้ายกันหลบซ่อน
         องค์กรเหล่านี้จะแตกต่างจากกลุ่มมิจฉาชีพธรรมดา เนื่องจากโจรหรือมิจฉาชีพจะไม่มุ่งหวังในการสร้างความตกใจ หรือหวาดกลัวแก่ประชาชน นอกจากนี้ก็มิได้มีความต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในเรื่องการเมืองการปกครอง หรือเปลี่ยนแปลงในด้านสังคมจิตวิทยา กลุ่มโจรมักมุ่งหวังทรัพย์สินหรือสิ่งของมีค่า แต่องค์กรนี้ไม่ต้องการ พวกเขาต้องการสร้างความเดือดร้อนวุ่นวาย ยืดเยื้อยาวนาน และสร้างผลกระทบต่อสังคมให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามวัตถุประสงค์ที่พวกเขาต้องการ
         ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น พอสรุปได้ว่า การก่อการร้าย คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มารวมตัวกันเป็นองค์กรแบบลับๆ ด้วยอุดมการณ์เดียวกัน มีการดำเนินการของกลุ่มที่ผิดกฎหมาย โดยมุ่งหวังให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านการเมืองหรือสังคมจิตวิทยา ตามความเชื่อของตน ปฏิบัติการด้วยคนกลุ่มเล็กๆ ด้วยการใช้ความรุนแรง และโหดร้าย โดยประชาชนผู้บริสุทธิ์อาจตกเป็นเป้าหมาย การกระทำของกลุ่มเพื่อสร้างความตกใจกลัว ข่มขู่ และสร้างความสนใจแก่ประชาชนส่วนใหญ่ เป็นการสร้างอิทธิพล บีบบังคับ และเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาล กลุ่มก่อการร้ายนี้ จะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม เศรษฐกิจ และลักษณะเฉพาะตัวของกลุ่มนั้นๆ
“ การก่อการร้าย” แตกต่างจาก “ การก่อความไม่สงบ” อย่างไร
         การก่อความไม่สงบ เป็นการกระทำของกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันอย่างลับๆ เพื่อต่อต้านกลุ่มผู้มีอำนาจทางการปกครอง หรือรัฐบาล อันมีพื้นฐานความเป็นมาในด้าน ประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม เชื้อชาติ ลัทธิ หรืออื่นๆ วัตถุประสงค์ของกลุ่ม เช่น เพื่อความเป็นเอกราช เพื่อปกครองตนเอง หรือเพื่อแบ่งแยกดินแดนเป็นต้น การกระทำของกลุ่มมีการใช้ความรุนแรง แต่จะไม่เลือกประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นเป้าหมาย ส่วนใหญ่แล้วจะมีประชาชนส่วนหนึ่งเข้าร่วมเป็นฐาน          จุดสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดความแตกต่างระหว่างการก่อการร้าย กับการก่อความไม่สงบ ได้ชัดเจนที่สุดก็คือตัว “ วัตถุประสงค์ ” ของกลุ่ม ดังนั้น หากจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้จะต้องมีกลวิธีในการซักถามเพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงว่า ต้องการอะไร
         เป็นที่ทราบกันดีว่า สนธิสัญญา NATO เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านกลุ่มประเทศสนธิสัญญา วอร์ซอว์ของค่ายคอมมิวนิสต์ยุโรปตะวันออก ที่สหภาพโซเวียตเป็นผู้นำกลุ่ม แต่เมื่อโซเวียต สลายตัวเล็กลงเป็นรัสเซีย ซึ่งบางส่วนแยกตนเองเป็นประเทศอิสระหลายประเทศก็มี กลุ่ม วอร์ซอว์ก็หมดไปโดยปริยาย มิหนำซ้ำบริวารเก่าของโซเวียตบางราย ยังไปเป็นสมาชิกของ NATO อีกด้วย ในทางปฏิบัติ กำลังทหารของ NATO จึงมีขึ้นเพื่อป้องปรามและป้องกันการ รุกรานจากกลุ่มวอร์ซอว์เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นสงครามเย็นของโลก เป็นระยะเวลาถึง ๓๐ ปี จน โซเวียตล่มสลายไปเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วปัญหาก็คือ การก่อการร้ายที่โจมตีสหรัฐ ฯ จนเสียหายมาก มายนั้นอยู่ในข่ายของการโจมตีตามสนธิสัญญาหรือไม่ เริ่มต้นด้วยคำว่า *การก่อการร้ายคือ อะไร?
         มีผู้รู้รวบรวมเอาไว้ว่านิยามของ "การก่อการร้าย" มีถึง ๓๕ นิยาม สำหรับคำ "ผู้ก่อการ ร้าย" มีรากศัพท์จากภาษาละติน Terrere หมายความถึง - ทำให้กลัวตัวประกอบท้ายคำ - ist ประกอบคำในฝรั่งเศสแก่ผู้กระทำความผิดในยุคของความกลัว ช่วงเวลาปฏิวัติในฝรั่งเศส Edward Burke ได้นิยามเป็นภาษาอังกฤษว่า - "พวกปีศาจนรก (Hellhound) ผู้ทำให้ ประชาชนหวาดกลัวเรียกว่าผู้ก่อการร้าย" คำนิยามที่ตรงความหมาย น่าจะได้ที่ว่า "บุคคลหรือ กลุ่มคนผู้ฆ่าฟันผู้บริสุทธิ์แม้เพียงคนเดียว เพื่อแสดงออกทางการเมืองเรียกว่า ผู้ก่อการร้าย" อย่างไรก็แล้วแต่ ทาง NATO ยอมรับว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เสมือนการโจมตีสมาชิกอื่นของ NATO ด้วย
         เมื่อสงครามเย็นถดถอยลง นักการทหารต่างประมาณกันว่าการขัดแย้งต่าง ๆ ในโลกจะ ออกมาในรูปใด แต่เมื่อเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย กรณีอิรักรุกรานคูเวตเป็นสงครามตามแบบ อย่างที่เคยรบกันมามีสนามรบ มียุทธภูมิ มีคู่ต่อสู้ชัดเจนกำลังรบตามแบบยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ตามแบบยังยืนยันว่าเหมือนเดิม ในอนาคตนักยุทธศาสตร์ทหารเรือสหรัฐ ฯ ผู้หนึ่งถึงกับออก ปากว่า - สำหรับทหารเรือในสงครามอ่าว ฯ มีมีอะไรใหม่ อย่างไรก็ตามการสู้รบในส่วนต่าง ๆ ของโลกอันเนื่องมาจากเชื้อชาติแบ่งแยกดินแดน แย่งพรมแดน ฯลฯ ทำให้เกิดบทบาทใหม่ ของกำลังทหารในการ "หย่าศึก" อย่างในโคโซโว ในยูโกสลาเวียในติมอร์ ตะวันออก ฯลฯ ใน ช่วงสงครามเย็นลดระดับลง
         แต่แล้วใน ๓ - ๔ ปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ร้ายที่ถือว่าเป็นการก่อการร้ายหลายแห่ง หลายกรณี นับตั้งแต่การลอบก่อวินาศกรรมที่พักทหารสหรัฐ ฯ ในซาอุดีอาระเบีย การลอบ ทำลายสถานทูตสหรัฐ ฯ ๒ แห่งในแอฟริกา การโจมตีเรือรบสหรัฐ ฯ ในเยเมน ฯลฯ นักการ ทหารเริ่มมองกันว่า จะทำอย่างไรดีต่อภัยคุกคามในรูปการก่อการร้าย ใน พ.ศ.๒๕๔๑ เรือรบ สหรัฐ ฯ ในอ่าวเปอร์เซียได้ยิงจรวดโทมาฮอว์กถึง ๗๐ ลูก ไปยังเป้าหมายใน อัฟกานิสถานที่ เชื่อว่าเป็นที่พักพิงของขบวนการนายบิน ลาเดน ผู้ต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลัง การก่อการร้าย เหล่านั้น แต่นายบินลาเดนไม่เป็นอะไร มีรายงานข่าวว่าพรรคพวกของนาย บินลาเดน ตายไป ด้วยโทมาฮอว์ก สัก ๒๐ คน และนายบินลาเดนอีกเหมือนกันที่สหรัฐ ฯ ระบุว่าเป็นผู้รับผิดชอบ ในการโจมตีนิวยอร์กและวอชิงตันใน ๑๑ กันยายน นั้นด้วย
         ก่อนหน้านั้น มีผู้มองแล้วว่าการต่อต้านการก่อการร้ายจะเป็นงานของทหารดังกองทัพบก สหรัฐ ฯ ว่าเป็น Military Operation rather than War แต่อาจยังมองไม่ถึงว่ามันมากกว่า สงครามเสียอีก นาวาเอก Mark H.Johnson แห่งหน่วยยามฝั่งสหรัฐ ฯ เขียนเรื่อง The Coast Guard Alternative (Naval War College Review-Winter 2000) กล่าวไว้ตอน หนึ่งว่า การก่อการร้ายในประเทศจะมีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภัยของอาวุธ ทำลายล้าง WMD (Weapons of Mass Destruction) ซึ่งมี ๒ แนวทางที่จะต้องกระทำ คือ ป้องกัน การโจมตี และตอบโต้การก่อการร้ายและว่าผู้กำหนดนโยบายจำต้องหันไปหา ทหารในการ ดำเนินการเรื่องนี้ Wirried plocy makers have authomatically turned to the military to handle these issues.
         WMD ของนาวาเอก จอห์นสัน ดูจุไปทางอาวุธเคมี ชีวะเคมี จนถึงนิวเคลียร์ขนาดเล็ก แต่เมื่อเหตุการณ์เครื่องบินโดยสารของสหรัฐ ฯ เอง พร้อมกับน้ำมันเชื้อเพลิงนับแสนลิตรใน แต่ละลำบินชนตึกศูนย์การค้าและกระทรวงกลาโหมอาจเป็น WMD ก็ได้ ซึ่ง ๑๐ วันให้หลัง ประธานาธิบดีบุช แห่งสหรัฐ ฯ ได้ปราศัยหลายครั้งปลุกใจคนอเมริกันและกำหนด หนทาง ปฏิบัติกร้าว ๆ หลายข้อหลายอย่าง สหรัฐ ฯ จำต้องใช้กำลังทหารอย่างแน่นอน เพราะว่า - เมื่อ พูดออกไปแล้ว คำพูดเป็นนายเรา หนึ่งในคำพูดเหล่านั้น บอกไว้ว่างานนี้ไม่จบง่ายๆ สั้น ๆ และ คนอเมริกันยังไม่เคยเห็นมาก่อน - "Americans should not expect one battle,but a lengthy campaign,unlike any othe we have seen."
         การตรวจสอบพฤติการณ์ก่อการร้ายครั้งนี้พบว่ามีการเตรียมการมานาน และวางแผนงาน อย่างล้ำลึก เช่น การฝึกคนขับเครื่องบินเพื่อการพุ่งชนตึกโดยเฉพาะการสอบสวนยังได้วี่แววว่า ผู้ก่อการร้ายจะลงมือตั้งแต่ครั้งการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศเศรษฐี G-7 ในกลางเดือน กรกฎาคมซึ่งคงมีขึ้นที่เมืองท่าเยนัว ในอิตาลี ในครั้งนั้นทางอิตาลี เจ้าภาพ จัดให้ผู้นำทั้งหมด ที่มาร่วมประชุม เว้นผู้นำสหรัฐ ฯ ได้พักอยู่ในเรือสำราญ ชื่อ European Vision เพื่อง่ายต่อ การรักษาความปลอดภัย และไม่ต้องไปเผชิญกับการประท้วงบนบกอย่างที่เคยโดนกันมา แต่ที่ ไม่มีการลงมือครั้งนั้น อาจนึกไม่ถึงว่าทางอิตาลีไปเช่าเรือสำหรับผู้นำพักอาศัย หรือผู้นำสหรัฐ ฯ ไม่อยู่ในเรือก็ได้ ความคิดใช้เรืออย่างนี้แปลกใหม่ดีเหมือนกัน และเป็นการแน่นอนที่ทหาร เรือต้องมีส่วนระวังเหตุร้ายอย่างแน่นอน
         ทั่วโลกเห็นภาพข่าวของการโจมตี นิวยอร์ก และวอชิงตัน เห็นความเสียหายและโศกสลด ที่ติดตามมา แต่ก็เห็นภาพข่าว คนบางพวกบางประเทศ โห่ร้องเต้นแร้งเต้นกา ที่เห็นสหรัฐ ฯ ถูกโจมตี ซึ่งเป็นการแน่นอนว่า ผู้ก่อการร้ายเป็นวีรบุรุษในสายตาของพวกเขา และทำให้เห็น ได้ว่า ภาพข่าวที่เราเห็นกันนั้นมาจากสหรัฐ ฯ และเพื่อน ๆ เท่านั้น ส่วนภาพข่าวแสดงความ คิดเห็นจากฝ่ายตรงข้ามได้เห็นกันน้อยมาก เราจึงไม่รู้แก่นแท้ที่มาที่ไปอันแท้จริง ของการก่อ การร้ายครั้งนี้ แต่ที่แน่นอนก็คือ การทหารของสหรัฐ ฯ และเพื่อน ฯ จะได้รับการจัดการการฝึก และการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ เน้นไปที่การป้องกัน และการตอบโต้การก่อการร้ายมากขึ้น หรือเป็นสำคัญ ในอนาคต อาจยาวนานถึง ๑๐ ปี ๒๐ ปีเพราะ.... alengthy campaign, unlike any other we have seen.
         การต่อสู้ที่ไม่เคยเห็น จะเป็นสงครามเย็นอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ระหว่างโลกเสรีกับโลก คอมมิวนิสต์ โลกตะวันตกกับโลกตะวันออก นาโต้กับวอร์ซอว์ แต่จะเป็นสงครามต่อต้านการก่อ การร้ายสู้กับสงครามจิฮัด มีการสงคราม Anti Terrorism Warfare จะมีการปฏิบัติการการ ปะทะมากครั้งยิ่งกว่าสงครามเย็นครั้งก่อนที่ต่างฝ่ายเย็นกันอยู่
         สำหรับวงการทหารเรือ นักยุทธศาสตร์ นักการทหารเรือ ชาติมหาอำนาจ จะแสดงความ คิดเห็น ออกหลักการ หลักนิยมของสงคราม และการปฏิบัติการทางเรือแปลกๆ ใหม่ๆ นอก จาก Anti Submarine Operations แล้วคงมี Anti Terrorism Operations ที่น่าจะต้อง ใช้กันบ่อย ๆ นับจากนี้ไป ส่วนทหารเรือไทยชาติเล็ก ๆ ที่ไม่มีภูมิหลังและกรรมเก่าให้ใคร อาฆาตมาดร้ายมาจิฮัดด้วย คงต้องยึดมั่นอยู่กับความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ การล่า ทำลายทุ่นระเบิด การระดมยิงฝั่ง การยกพลขึ้นบก ฯลฯ ไม่หลงประเด็น

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศกรองพลังงานจากดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของเรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ครับ  แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใดๆที่เผาเชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่นถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี

ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้โลกของเรามีอุนหภูมิอบอุ่น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ปัจจุบัน การเผาผลาญเชื้อเพลงฟอสซิลต่างๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งการกระทำเหล่านี้ส่งผลให้ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล อันส่งผลกระทบต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยขึ้น และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นครับ



8171



- จำนวนพายุ Hurricane Category 4 และ 5 เพิ่มขึ้นสองเท่า ในสามสิบปีที่ผ่านมา
- เชื้อมาลาเรียได้แพร่กระจายไปในที่สูงขึ้น แม้แต่ใน Columbian, Andes ที่สูง 7000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล
- น้ำแข็ง ใน ธารน้ำแข็ง เขตกรีนแลนด์ ละลายเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
- สัตว์ต่างๆ อย่างน้อย 279 สปีชี่ส์กำลังตอบสนองต่อ ภาวะโลกร้อน โดยพยายามย้ายถิ่นที่อยู่



8172



หากเรายังเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รับรองได้เลยว่าจะเกิดเรื่องอย่างนี้แน่

- อัตรา ผู้เสียชีวิต จาก โลกร้อน จะพุ่งไปอยู่ที่ 300000 คนต่อปี ใน 25 ปีต่อจากนี้
- ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 20 ฟุต
- คลื่นความร้อน จะมาบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น
- ภาวะฝนแล้ง และไฟป่าจะเกิดบ่อยขึ้น
- มหาสมุทรอาร์กติกจะไม่เหลือน้ำแข็ง ภายในฤดูร้อน 2050
- สิ่งมีชีวิตกว่าล้านสปีชี่ส์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์

การแก้ปัญหาโลกร้อน ไม่ใช่แค่คิดจะทำ แต่ต้องลงมือทำจริง
Ten Things To Do จาก An Inconvenient Truth
คู่มือช่วยลด ภาวะโลกร้อน Ten Things To Do จาก An Inconvenient Truth ครับ



8174



1. เปลี่ยนหลอดไฟ
การเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นฟลูออเรสเซนต์หนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี

2. ขับรถให้น้อยลง
หากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนตร์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์

3. รีไซเคิลให้มากขึ้น
ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งนึงจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี

4. เช็คลมยาง
การขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ
น้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20 ปอนด์

5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง
ในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด ์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็น จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 500 ปอนด์

6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ
เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 1200 ปอนด์ต่อปี

7. ปรับอุณหภูมิห้องของคุณ(สำหรับเมืองนอก)
ในฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิของ heater ให้ต่ำลง 2 องศา และในฤดูร้อน ปรับให้สูงขึ้น 2 องศา จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 2000 ปอนด์ต่อปี

8. ปลูกต้นไม้
การ ปลูกต้นไม้ หนึ่งต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน

9. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช่
ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี

และอย่างสุดท้าย

10. บอกเพื่อนๆของคุณเกี่ยวกับวิธีการเหล่านั้นครับ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น