เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ นายอิสสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายการบริหารงานแก่หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดทั่ว ประเทศว่า งานหนึ่งซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับกระทรวงพัฒนาฯ คือการเป็นเจ้าภาพในนามรัฐบาลไทยร่วม จัดงานแสดงในงาน "World Expo 2010" ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยประเทศไทยได้จัดสร้างอาคารศาลาไทยบนพื้นที่ 2 ไร่ ซึ่งในวันซ้อมใหญ่วันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้เปิดให้คนจีนเข้าชมฟรีวันละ 5 แสนคน ปรากฏว่าจากจำนวน 190 ประเทศและ 50 องค์กรระหว่างประเทศที่นำผลงานเข้าร่วมแสดงในงานนี้อาคารศาลาไทยได้รับความ สนใจติด 1 ใน 5 ที่มีคนจีนนิยมเข้าชมมากที่สุด ถึงแม้ว่าต้องใช้เวลารอคิวเข้าชมถึง 3 ชม.
ขณะที่การสำรวจผ่านทางเว็บไซต์ก็พบว่าอาคารศาลาไทยติด 1 ใน 3 ที่มีคนสนใจชมมากที่สุด และในวันที่ 18 มิ.ย.นี้พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี จะใช้พื้นที่อาคารศาลาไทยดังกล่าวเป็นเวทีแถลงข่าวเพื่อเสนอให้ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน เวิลด์ เอ็กซ์โป 2020 นอกจากนี้ตนกำลังให้มีการจัดพิมพ์หนังสือรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอาคารศาลาไทยเพื่อแจกจ่ายไปยังหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาและเอกชน เพื่อเผยแพร่และรับทราบถึงผลงานของประเทศไทย คาดว่าจะเสร็จภายใน 1-2 สัปดาห์นี้
นายอิสสระ กล่าวด้วยว่า ตนได้หารือกับสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทัพษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้เดินทางไปดูผลงานอาคารศาลาไทย รวมทั้งอยากจะสนับสนุนให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) ได้มีโอกาสเดินทางไปดูด้วย เนื่องจากเราเป็นเจ้าภาพงานนี้ เพราะแม้แต่กระทรวงมหาดไทย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทยยังมีนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดได้ไปศึกษาดูผลงาน ไทยในเวิลด์ เอ็กซ์โป 2010
"ผมรู้สึกดีใจกับผลงานครั้งนี้มาก จาก 5 ปีที่แล้วที่ประเทศไทยร่วมนำผลงานไปแสดงใน World Expo ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ แต่ครั้งนั้นถูกสื่อมวลชนโจมตีถึงผลงานค่อนข้างมาก แต่ครั้งนี้ประสบผลสำเร็จดียิ่ง และเสร็จตามกำหนดเวลา ซึ่งประเทศไทยติด 1 ใน 30 ประเทศที่เสร็จตามกำหนดเวลา แม้แต่นายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ก็ยังไม่มั่นใจว่า พม.มาเกี่ยวข้องกับงานนี้ ได้อย่างไร" นายอิสสระกล่าว
รัฐบาลไทยได้ตอบรับเข้าร่วมงาน The World Exposition Shanghai China 2010 โดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานหลักในการเข้าร่วมงาน ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม 2553 โดยมีหัวข้อหลัก (Theme)ในการจัดแสดง คือ “Better City, Better Life”
การจัดงาน World Expo ในครั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศเจ้าภาพประสงค์จะให้โลกบันทึกไว้ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบน เนื้อที่ 5.28 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,000 ไร่ ของนครเซี่ยงไฮ้ โดยคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ที่จะเข้าชมงานนี้สูงถึง 70 ล้านคน แนวคิดในการเข้าร่วมงานมหกรรมโลกของประเทศไทย นําเสนอในหัวข้อ “Thainess: Sustainable Ways of Life : ความเป็นไทย วิถีแห่งความยั่งยืนของชีวิต” ด้วยการจัดแสดงนิทรรศการในอาคารศาลาไทยรวมทั้งจัดการแสดงด้านวัฒนธรรมต่างๆ ในพื้นที่ 3,117 ตารางเมตร การออกแบบด้านสถาปัตยกรรมของอาคารศาลาไทย ในงาน The World Exposition Shanghai China 2010 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอ “ประเทศไทย” และแสดง “ความเป็นไทย” ให้นานาประเทศได้รู้จัก ในฐานะประเทศที่มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันเก่าแก่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และนำเสนอให้เห็นถึงความพร้อมของประเทศที่จะพัฒนา และก้าวทันกระแสโลกาภิวัตน์ การออกแบบอาคารศาลาไทยครั้งนี้ ภายใต้แนวความคิด “Thai Perspective” ที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิตวิถีไทยที่ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติคุ้นเคยเป็นอย่างดี นำมาเรียงร้อย จัดวางให้เป็นเรื่องราว รวมทั้งได้หยิบยกเอาสถาปัตยกรรม และศิลปะของไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น นำมาจัดวางผสมผสานในการ
วางผัง และก่อสร้างอาคารศาลาไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่เข้าชมงานสามารถเข้าใจในภาพรวมของประเทศไทย และวิถีความเป็นไทยจากการชมทัศนียภาพภายนอกของผลงานสถาปัตยกรรมของอาคารศาลา ไทยครั้งนี้
ห้องจัดแสดงนิทรรศการที่ 1 จากต้นสายแหล่งกำเนิด: A Journey of Harmony
แนวคิด : วิถีแห่งน้ำ วัฎจักรแห่งชีวิต
“หลากวัฒนธรรม ผสมผสานอย่างกลมเกลียว บนผืนแผ่นดินทอง”
“เที่ยวทั่วถิ่น ดินแดนงาม สยามประเทศ”
ร่วมเดินทางย้อนผ่านกาลเวลาไปสู่ครั้งโบราณกาล สัมผัสบรรยากาศเริ่มแรกครั้งบรรพบุรุษไทยได้ก่อตั้งรกรากผ่านวิถีชีวิตความ เป็นไทยแบบดั้งเดิมนับตั้งแต่เริ่มกำเนิดชาติไทย การห ลอมรวมของคนหลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายวัฒนธรรมภายใต้ผืนแผ่นดินทอง ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตพึ่งพาธรรมชาติ จุดเริ่มต้นแห่ง “วัฒนธรรมสายน้ำ” ถ่ายทอดผ่าน”วัฎจักรของน้ำ” อันเปรียบดั่งเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตเกิดควบคู่ไปพร้อมๆกัน ทั้งสอดแทรกความสำคัญของ “น้ำ” ที่ถือเป็นส่วนสำคัญของชีวิต และเป็นสิ่งเชื่อมโยงวิถีชิวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้หลอมรวมกันเป็น หนึ่งเดียว เพื่อเป็นการแนะนำภาพรวมของประเทศไทยและ “ความเป็นไทย” ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ก่อนเข้าสู่ห้องถัดไป
ห้องจัดแสดงนิทรรศการที่ 2 เกิดร้อยพันหลายวิถี: A Harmony of Different Tones
แนวคิด : ประเทศไทยกับการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ นำมาซึ่งวิวัฒนาการของแผ่นดิน
“ดินแดนแห่งอารยธรรม”
“อู่ข้าวอู่น้ำของโลก”
“มิตรจิตมิตรใจพร้อมมอบให้”
“สายสัมพันธ์ยาวนาน ไทย – จีน สองแผ่นดิน”
จากชาติที่มีเอกลักษณ์ วัฒนธรรมอันงดงาม มาถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ของประเทศไทยกับนานาชาติ รวมถึงความสัมพันธ์พี่น้องสองแผ่นดินไทย-จีนที่มีมาเนิ่นนาน ซึ่งการก้าวเข้ามาของต่างชาติคือก้าวแรกของการผสมผสานวัฒนธรรมที่หลาก หลาย(Blending of Diverse Cultures in the City) ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตชาวไทยและพบเห็นได้ทั่วไปในสังคมไทยปัจจุบัน
นอกจากนั้นยังสื่อถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง สังคมเมืองและสังคมชนบท (Interaction between Urban and Rural Areas) ซึ่งถึงแม้กาลเวลาจะผันผ่านไปเช่นไร ความก้าวหน้า การพัฒนาได้ก้าวเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงดำรงอยู่ นั่นก็คือ วิถีชีวิตของคนไทยที่รักสงบ และคงไว้ด้วย “เอกลักษณ์ความเป็นไทย” อย่างไม่แปรเปลี่ยน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ผู้เข้าชมงานเกิดความประทับใจกับความงามและ ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ในสังคมชนบท เห็นความเจริญก้าวหน้าทางด้านธุรกิจและเทคโนโลยีของสังคมเมือง เสริมให้เกิดกระแสการท่องเที่ยว เพื่อดึงเม็ดเงินเข้าประเทศไทยในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกซบเซา
ห้องจัดแสดงนิทรรศการที่ 3 หลอมรวมชีวีสู่วิถีความเป็นไทย: Happiness through Harmony
แนวคิด : ปรัชญาพอเพียง ดั่งเทียนส่องสว่าง สู่หนทางแห่งความสุขอันยั่งยืน
“วิถีชีวิตไทยในศตวรรษที่ 21”
“ความ สุขในทุกพื้นที่ ทุกอาชีพ ทุกชนชั้น”
“พระมหากษัตริย์ผู้นำความสุขสู่ปวง ชน”
บทสรุปของเรื่องราวทั้งหมดในอาคารศาลาไทย ภายในห้องนี้นักท่องเที่ยวจะได้พบกับประเทศไทยในอีกแง่มุมหนึ่ง ที่ถึงแม้เปลือกนอกจะถูกฉาบด้วยเทคโนโลยี และความทันสมัยแบบต่างชาติ แต่ลึกๆ ลงไปยังแก่นแท้ของคนในชาติ เรายังคงอยู่อย่างเรียบง่ายภายใต้หลักการดำเนินชีวิต “พอเพียง” ที่สามารถปรับใช้ได้ในทุกระดับชนชั้น เพื่อดำรงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ผล ที่คาดว่าจะได้รับ : ชาวต่างชาติได้เห็นถึงความสําคัญของพระมหา กษัตริย์ไทยที่ทรงปกครองประชาชนด้วยทศพิธราชธรรม ทรงเป็นดวงใจของคนไทยทั้งชาติ พระองค์ทรงวางแนวทางในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวทางการดํา รงอยู่และปฏิบัติตน ของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์ด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมทั้งการดําเนิน ชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และมีความรอบคอบเพื่อให้สมดุล และพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและกว้างขวางทั้งในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในฐานะ ประเทศที่มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย ด้วยความแตกต่างของชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว
ละครไทยโกอินเตอร์
ละครไทยถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายโดยสถานีโทรทัศน์ต่างประเทศ
จีน
- สาวใช้หัวใจชิคาโก้
- โซดากับชาเย็น
- สายลมแสงดาว
- หงส์เหนือมังกร
- หัวใจช็อกโกแลต *แฟนๆแจ้งว่าเรทติ้งดี*
- เลือดขัตติยา *แฟนๆแจ้งว่าเรทติ้งดี*
- เลือดหงส์
มาเลเซีย
- เลือดหงส์
- หัวใจช็อกโกแลต
- เลือดขัตติยา
- สายลมกับแสงดาว
- หนี้รัก
- ร้อยเล่ห์เสน่ห์ร้าย
เวียดนาม
- เลือดหงส์
ฮ่องกง
- หัวใจช็อกโกแลต
- บุญดีผีคุ้ม
ไต้หวัน
- เลือดขัตติยา
Credit :
http://www.hanmediaculture.com/th/company_profile.php และจากแฟนต่างชาติ
บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 บริษัทฯ ตั้งอยู่ในประเทศไทย และมีบริษัทในเครืออยู่ใน ฮ่องกง และกวางเจา บริษัทฯมุ่งเน้นในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนผ่านทางการจัดจำหน่ายภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ ปัจจุบัน บริษัท ฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จำกัด มีกิจกรรมหลักในด้านการจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ การร่วมผลิต การประสานงานในการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ จากการที่บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญในด้านตลาดสื่อบันเทิง ทั้งยังมีความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ และสถานีโทรทัศน์ต่างๆทั่วโลก
การจัดจำหน่ายภาพยนตร์, ตลาดภาพยนตร์และเทศกาลระดับนานาชาติต่างๆ :
บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จำกัด เป็นตัวแทนในการจัดจำหน่ายธุรกิจด้านบันเทิงให้กับเหล่าผู้ผลิตค่ายต่างๆจำนวนมาก ปัจจุบันเรามีภาพยนตร์,ละคร,การ์ตูน,สารคดี,เทเลมูฟวี่,รายการโทรทัศน์ที่เราเป็นตัวแทนในการจัดจำหน่ายรวมแล้วมากกว่า 100 เรื่อง
บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ไม่เพียงมีความเชี่ยวชาญในด้านภาพยนตร์ไทยเท่านั้น แต่ยังจัดจำหน่ายภาพยนตร์ร่วมสร้างระหว่าง จีน-มาเลเซีย คือ ภาพยนตร์สยองขวัญ เรื่อง “Possessed” โดย Sam Wong ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นที่สนใจของหลายชาติ อาทิ สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ภาพยนตร์เรื่อง “The Remaker” (คนระลึกชาติ) จากฝีมือการสร้างของ ผู้สร้างชาวฮ่องกง ออกไซด์ แปง( The Eye, One Take Only, Bangkok Dangerous, Re-Cycle) ได้ถูกขายล่วงหน้าไปหลายประเทศก่อนที่ตัวภาพยนตร์จะสร้างเสร็จ ได้แก่ อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, สหรัฐฯ, ไต้หวัน, จีน, ฮ่องกง ฯลฯ
“Sars War” (ขุนกระบี่ผีระบาด) ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่น-คอมมาดี-แฟนตาซีได้ถูกคัดเลือกให้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์สำคัญๆ ใน ฮ่องกง, อัมสเตอร์ดัม, เกาหลี, อังกฤษ และสหรัฐฯ
ภาพยนตร์เรื่อง “Zee-Oui: The Man Eater” (ซีอุย) เป็นภาพยนตร์ไทยอีกเรื่องที่ได้รับการคัดเลือกให้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์ “Udine Far-East Film Festival 2005” ที่ประเทศอิตาลี และในเทศกาลภาพยนตร์ที่ Shanghai รวมถึงเทศกาลภาพยนตร์แฟนตาซีที่ Montreal และเทศกาลภาพยนตร์แฟนตาซีนานาชาติที่ Brussels โดยตัวภาพยนตร์ได้รับคำวิจารณ์ที่โดดเด่นมากๆ
รวมถึงละครโทรทัศน์อย่าง “Chocolate love (หัวใจช็อคโกแลต)” “A Maid from Chicago” (สาวใช้หัวใจชิคาโก้), “Phoenix Blood” (เลือดหงส์) และ “The Princess” (เลือดขัตติยา) ละครเหล่านี้ได้รับการซื้อไปออกอากาศผ่านช่องสถานีโทรทัศน์ต่างๆ เช่น CCTV, RTM, TV3 (มาเลเซีย), VTV (เวียดนาม), TVB (ฮ่องกง) และ I-Cable (ฮ่องกง)
บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จำกัด ได้เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์และตลาดซื้อขายภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง อาทิ China International Film & TV Program Exhibition, Shanghai Film Festival, Changchun Film Festival, Sichuan Film & TV Festival, Hong Kong Filmart, BCWW Show, MIFED, Cannes Market, MIFED (Milan), American Film Market และ Bangkok Film Festival ซึ่งได้รับคำวิจารณ์ท่วมท้นต่อภาพยนตร์ไทยของเรา
กิจกรรมหลัก และเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ :
ในเดือน มิถุนายม 2545 คณะกรรมการเทศกาลภาพยนตร์ที่ Shanghai ได้เชิญบริษัทผลิตภาพยนตร์ต่างๆ ของไทยให้เข้าร่วมงานเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยที่ได้ขยายขอบเขตไปยังดินแดนใหม่ๆ
บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ ได้เซ็นสัญญากับสถานีโทรทัศน์ CCTV ของจีน สำหรับภาพยนตร์ไทยเรื่อง “แม่เบี้ย” ซึ่งออกอากาศทาง CCTV ช่อง 6 ในปี พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ CCTV ยังได้ออกอากาศละครโทรทัศน์ของไทยเรื่องแรก คือ “สาวใช้หัวใจชิคาโก้” ทางช่อง 8 ในปี 2546 อีกด้วย
ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “โอ เนกาทีฟ” และ “ข้างหลังภาพ” ก็ได้รับผลตอบรับจากผู้ชมอย่างดี หลังจากการฉายภาพยนตร์เหล่านี้ทาง CCTV เหล่าผู้จัดจำหน่าย VCD ของจีนก็ให้ความสนใจในลิขสิทธิ์ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ของไทยมากยิ่งขึ้น
หลังจากภาพยนตร์ไทยเรื่อง “แม่เบี้ย” ตลาดวีซีดีสำหรับภาพยนตร์แนวนี้ก็เป็นนิยมมากๆ เราได้เห็นโอกาสและได้นำเสนอ “สาง” รวมถึงละครโทรทัศน์แนวรักวัยรุ่นอื่นๆอีก อาทิ “โซดากับชาเย็น”, “สายลมแสงดาว” ซึ่งผู้ชมชาวจีนให้การต้อนรับละครเหล่านี้อย่างท่วมท้น
ในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2545 เราได้เข้าร่วมงาน BCWWW Show ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ ซึ่ง บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไทยสู่ตลาดภาพยนตร์เอเชีย หลังจากงาน BCWWW Show ละครไทยเรื่อง Phoenix Blood (เลือดหงส์) ได้ถูกซื้อไปออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ของประเทศมาเลเซียและเวียดนาม
ในเดือน พฤศจิกายน 2546 เราได้เข้าร่วมงาน MIFED ซึ่งถูกจัดเป็นครั้งที่ 70 ที่ประเทศอิตาลี นี่เป็นครั้งแรกที่บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จำกัด ได้นำเสนอภาพยนตร์ไทยสู่เทศกาลนี้ นอกจากนี้ ธนิตย์ จิตนุกูล ผู้กำกับภาพยนตร์แนวแอ็คชั่น-ย้อนยุค “Sema: The Warrior of Ayodhaya” (ขุนศึก) สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อจากยุโรปและอเมริกาและผู้ชมจากทั่วโลกได้เป็นอย่างดี ลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกจัดจำหน่ายไปยังประเทศญี่ปุ่น, เยอรมัน, สหรัฐอเมริกา, ฮ่องกง และจีน
บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ยังจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จีนและละครจีน อาทิ “Turn Left, Turn Right”, “Sonic Youth” ( ไต้หวัน ), “Young Sheriff” and “The Ascott” (จีน) สู่ประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
ช่วงเดือน มีนาคม 2547 บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ ได้เข้าร่วมงาน American Film Market (AFM) ที่จัดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทผลิตภาพยนตร์ไทยหลายบริษัทได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน ภาพยนตร์ไทยได้รับการตอบรับและการยกย่องจากเหล่าบริษัทผลิตภาพยนตร์ชื่อดังของต่างชาติในตลาดภาพยนตร์ของอเมริกาครั้งนี้
เดือนพฤษภาคม 2547-2548 บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ ได้เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกที่เมือง Cannes ประเทศฝรั่งเศส ฮัน มีเดีย คัลเจอร์ ยังได้แนะนำภาพยนตร์ระทึกขวัญ The Remaker (คนระลึกชาติ) จากฝีมือของออกไซด์ แปง (The Eye 1 และ 2), The Siam Renaissance (ทวิภพ), Yaowarat (เยาวราช), Province 77 (จังหวัด 77) ภาพยนตร์หลายเรื่องของเราได้รับการฉายรอบปฐมทัศน์ที่เทศกาลนี้ และได้รับคำวิจารณ์อันโดดเด่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์และจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เหล่านี้ในหลายประเทศต่อไป
ช่วงเดือนเมษายน 2547 เราได้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์วีซีดีภาพยนตร์เรื่อง Immortal Enemy (แก้วขนเหล็ก) ไปยังประเทศฮ่องกง และภาพยนตร์เรื่องนี้มียอดขายที่น่าประทับใจมากๆ ในเดือนกรกฎาคม 2547 เราได้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์วีซีดีภาพยนตร์ เรื่อง “อินเดียน่าโจ๋ย” ไปยังประเทศจีน และในปี 2548 เราได้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์วีซีดีสารคดี “มวยไทย” ไปยังประเทศจีนอีกด้วย
บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จำกัด ได้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายซีรีย์ภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น Pang Pond (ปังปอนด์) และได้นำเสนอลิขสิทธิ์ไปยัง CCTV, CITVC และ Fortune TV Entertainment Production ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่ผู้ชมชาวจีนได้มีโอกาสชม อ่าน และสนุกไปกับภาพยนตร์การ์ตูนที่ฉายทางทีวี หนังสือ และวีซีดีการ์ตูนไทย
ช่วงเดือนมีนาคม 2551 เราได้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เรื่อง Zee Oui (ซีอุย) ไปยังประเทศญี่ปุ่น
ร่วมสร้าง :
บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จำกัด ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการภาพยนตร์ไทย ภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้ทำการประสานงานและร่วมมือกับบริษัทผลิตภาพยนตร์จากต่างชาติเพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครโทรทัศน์ สารคดีและโฆษณา เราได้จัดหาบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาสถานที่ การแปลภาษา จัดหาเครื่องมือ งานด้านเอกสารทางกฏหมาย และบริการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
บริษัทฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จำกัด ได้ประสานงานกับ Beijing Hairun ในการผลิตละครโทรทัศน์ “Bangkok In Rain” และทำเพลงประกอบภายใต้ชื่อ “Road of Dream”
ในด้านการจัดอีเวนต์ ในเดือนมิถุนายน 2547 บริษัทของเราร่วมมือกับ Beijing Century Disc ในการจัดคอนเสิร์ต “12 Girls Band” เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งการแสดงดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง หลังจากความสำเร็จด้านการจัดอีเวนต์ครั้งนี้ เราได้มีโอกาสนำเสนอการแสดงหลายชุดจากประเทศจีนสู่ประเทศไทย
ผลงานในปี 2550-2551 (ภาพยนตร์ไทย และ ละครไทยไปสู่ตลาดโลก)
ปี 2550 – ตัวแทนจำหน่ายละครเรื่อง “เลือดขัตติยา” ในไต้หวัน, ประเทศจีน ซึ่งทำให้ “ติ๊ก เจษฏาภรณ์” โด่งดังมากในประเทศจีน ณ ขณะนี้
ปี 2551 – ตัวแทนจำหน่ายละครเรื่อง “สงครามนางฟ้า” ในประเทศจีน และประเทศในแถบเอเชีย
ปี 2551 – ตัวแทนจำหน่ายละครเรื่อง “บุญดีผีคุ้ม” ออกฉายทางสถานีโทรทัศน์ของฮ่องกง
ปี 2551 – ตัวแทนจำหน่ายภาพยนตร์ เรื่อง “เขียนเป็นส่งตาย” และ “เมมโมรี่*รักหลอน” ในไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, บรูไน, ฮ่องกง
ปี 2551 – ตัวแทนจัดจำหน่ายภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง “ก้านกล้วย” เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่
จุดแข็งของละครไทย เมื่อ เปรียบเทียบกับซีรีส์เกาหลี เรียงตามลำดับดังนี้
หลังจากที่ ละครไทยไปโด่งดังที่ ประเทศจีน และไต้หวัน และมีหลายเรื่องได้มีโอกาศไปฉาย ที่ช่องกลางของรัฐบาลกลางคือช่อง CCTV8 คือเรื่อง "รอยอดีตแห่งรัก" จนเป็นที่ถูกอกถูกใจชาวจีน เป็นจำนวนมาก อีกทั้ง เรื่อง "ดอกรักริมทาง" ก็มีคิวในการฉายทางช่อง CCTV8 ภายในปีนี้อีกด้วย
ซึ่งก่อนหน้านั้นก็มีละครไทยหลายๆเรื่องไปโด่งดังมาแล้ว เช่น เลือดขัตติยา หัวใจช๊อกโกแลต ใจร้าว จำเลยรัก ฯลฯ เยอะมาก
แม้ว่า ละครไทย จะไม่ได้รุกตลาดประเทศจีน อย่างเต็มที่ และรัฐบาลไทยก็ไม่ได้สนใจผลักดัน แบบซีรีส์เกาหลี ที่รัฐบาลเกาหลีอุดหนุนเต็มที่ แต่ละครไทยยังมาได้ถึงขนาดนี้ ถือว่า "ไม่ธรรมดา"
มีคำถามว่า ทำไม รูปแบบของละครไทย หรือที่เรียกว่า content ดันไปถูกอกถูกใจชาวจีนเขาได้ ก็จึงลองมาหาจุดแข็งของละครไทยว่า มีอะไรบ้าง ซึ่งเรียงตามลำดับตามทัศนของผู้เขียนดังนี้
1. หน้าตาของนักแสดง ที่สวยหล่อตามธรรมชาติ
2.วัฒนธรรมไทย
3. โลเคชั่น หรือสถานที่ถ่ายทำละคร
4. เอกชนในวงการบันเทิงของไทยเก่งมาก
5.ทีมงานเบื้องหลังและงานการตัดต่อของละครไทย
6. ความสามารถของนักแสดง
7. โปรดักชั่น และมุมกล้อง เทคนิคการถ่ายทำ
และคำถามนี้ได้ตั้งคำถามไว้ในเว๊ปไซต์พันทิพ ห้องเฉลิมไทย ก็ได้ผลโหวตดังนี้
.............................
1. หน้าตาของนักแสดง ที่สวยหล่อตามธรรมชาติ
กระแสตอบรับเรื่องหน้าตาของดาราไทย จากเมืองจีน ค่อนข้างดีมาก แต่ทว่าขออนุญาตบรรยายรูปนี้ก่อน เป็นรูปของรายการญี่ปุ่น จากเว๊ปยูทูป ตามลิงค์ข้างล่างนี้
http://www.youtube.com/watch?v=IMePgBa9HNs
มีรายการเกมส์โชว์ ของญี่ปุ่นรายการหนึ่ง ตั้งคำถามกับผู้ร่วมรายการว่า สาวๆที่เห็นในรูป คือคนจากประเทศไหน คนในรายการก็ทายกันไป แต่สรุปคือคำตอบว่า ในรูปนั้น คือ คนไทย จากนั้น คนในรายการก็ร้องกันโอ้โห กันใหญ่ และเริ่มสงสัยว่าทำไมคนประเทศนี้หน้าตาดีกันจัง รายการนี้จึงบุกเมืองไทย เพื่อหาคำตอบ จากนั้น พิธีกรก็เลย มาเดินถ่ายรูปสาวๆในประเทศไทย และพบว่า สาวไทย หน้าตาสวยๆ เดินกันเยอะมาก ส่วนรูปสุดท้ายจะค่อนข้าง ฮา เพราะพิธิกร เข้าไปถามสาว (ประเภท 2) ว่าพวกเธอกำลังกินอะไร แต่ด้วยน้ำเสียงของสาวที่ พิธีกรเข้าไปถาม มีน้ำเสียงใหญ่ผิดปรกติ พิธิกรเขาจึงถามตรงๆว่า ผู้ชายหรือผู้หญิง สรุปว่าเป็นผู้ชาย (ปลอมตัวมา) จึงได้ฮากันทั้งรายการ (ความจริงกระเทยสวยของเมืองไทยโด่งดังมาก) ส่วนฉากสุดท้ายจะมีพอลล่า มาตอบพิธีกรว่า "คนไทยหน้าตาดีเพราะกินน้ำพริก" ซะงั้น
หรือแม้แต่รายการจากลิงค์นี้
http://www.youtube.com/watch?v=e7Kkr8mfIbc
ลิงค์นี้ คือรายการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ก็มีการตั้งคำถามเหมือนกัน และ เขาค่อนข้างจะทึ้งกับหน้าตาดาราบ้านเรามาก
............................
อนึ่ง จาก feedback หลังจากที่ละครไทยหลายๆเรื่องได้มีโอกาศไปฉายที่ ประเทศจีน และไต้หวัน ซึ่งผลตอบรับที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือ "หน้าตา" ของดารานักแสดงบ้านเราที่เขามองว่า Hot มาก (จากที่ท่องเว๊ปไซต์บอร์ดต่างประเทศ ชาวจีนเขาว่างั้น)
ปรากฎการณ์เรื่องหน้าตานี้เช่น ปรากฎการณ์ มาริโอ ในไต้หวัน บี้ ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ ในจีน รวมถึงดารานักร้องอีกหลายคน
สิ่งนี้ในวงการบันเทิงเราจะเรียกรวมๆว่า "วัฒนธรรม Idol" หรือการคลั่งไคล้รูปร่าง หน้าตา หรือความสามารถของตัวศิลปิน ซึ่งหากว่า ละครไทยสามารถสร้าง Idol ให้กับชาวจีน หรือชาวเอเชียได้ แฟนละคร ก็จะติดตาม ผลงานของศิลปินคนนั้น โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
สิ่งที่ซีรีย์เกาหลี ในหลายๆเรื่องพลาดไป นั่นก็คือ หน้าตาของนักแสดง ในที่นี้รวมถึงนักแสดงตัวประกอบด้วย ที่ควรจะต้องคัดกันซักหน่อย (ส่วนใหญ่แฟนซีรีย์ต่างชาติเอเชีย จะผิดหวังกับหน้าตาของพระเอกเกาหลี ในซีรีย์เกาหลีชุดแรกๆ) เมื่อเป็นแบบนี้ ก็มีแฟนซีรีย์บางส่วนไปคอมเมนส์ ในเว๊ปไซต์ของประเทศเกาหลี ผลก็คือ ซีรีย์เรื่องหลังๆมา หน้าตาของพระเอก นางเอก หรือแม้แต่ตัวประกอบ ก็สวยหล่อขึ้นอย่างผิดหูผิดตา แม้จะมีการศัยกรรมบ้างก็ตาม
และเราอาจจะได้ยินเสียงบ่นของคนไทยที่ไปเที่ยวเกาหลีว่า "คนสวยๆหล่อๆ แบบในซีรีย์ มันอยู่ไปอยู่ไหนหมดฟ๊ะเนี๊ยะ" (คนอื่นเขาว่ามาอีกที)
หันกลับมาดูละครไทยโดยเฉพาะละครสมัยใหม่ ที่มีการคัดหน้าตานักแสดง ที่หน้าตาดีตั้งแต่พระเอกยันคนขับรถ
จุดแข็งของละครไทยจุดนี้ เมื่อก่อนไม่มีใครคิดว่ามันสำคัญ เพิ่งมารู้เอาตอน feedback จากประเทศจีนนี้แหละ อาจจะเป็นเพราะ "คนไทยชินหน้าชินตากันเอง" จึงทำให้รู้สึกว่า นักแสดงไทยหน้าตาธรรมดามาก แต่ทว่าคนประเทศอื่น เมื่อเห็นดาราของเรา เขาอาจจะรู้สึกแปลกตา (อาจจะออกแนวที่ว่า ลางเนื้อชอบลางยาก็ได้) และตรงจุดนี้เองเราสามารถสร้างทัศนคติให้แฟนละครไทยในประเทศจีนได้ว่า "ละครไทย ดาราสวย หล่อ ตามธรรมชาติ" (ถ้าเอาคอนเซ็บนี้มาขาย อาจจะมีบางประเทศจุกได้)
เนื่องจากผู้เขียน มาจากห้องหว้ากอ ซึ่งมีการถกเถียงกันเรื่องความสวยความหล่อในทางวิทยาศาสตร์ ก็ได้ใจความของคำว่า "หน้าตาดี" ดังนี้
1.ความสมมาตรของใบหน้า และรูปร่าง หมายถึง ตา ใบหู แก้ม รูจมูก แขน ขา ฯลฯ ทั้ง 2 ข้างซ้าย ขวา จะต้องเท่ากันอย่างมาก (ยิ่งเท่ากันมาก ยิ่งดูดีว่างั้น)
2.ความอ่อนเยาว์ และสุขภาพ (คงไม่มีใครเถียงนะ)
3.สัดสวนตามธรรมชาติ เรียกว่า the golden ratio(phi) มีค่าประมาณ1.61803398874989 (กรุณาหาความรู้เพิ่มเติมจากคำว่า นิยามความงาม เชิงวิทยาศาสตร์)
4.ผู้หญิงในช่วงไข่สุก (ผู้หญิง ในช่วงไข่สุก จะมีผิวที่เปร่งปรั่ง และหน้าตาจะผ่องใสมากกว่าปรกติ)
5.ทัศนคติของผู้คนในยุคนั้นๆ เช่นบางยุคมองว่าผู้หญิงอ้วน คือผู้หญิงสวย บางยุคเช่นในจีนมองว่าผู้หญิงเท้าเล็กคือผู้หญิงสวย ฯลฯ
6.ความประสบความสำเร็จของชนชาตินั้นๆ เช่นสมัยก่อน ฝรั่งเป็นเจ้าอาณานิคม และรวยมาก จึงเกิดกระแส "นิยมฝรั่ง" หรือจีนในสมัยก่อนจะถูกเรียกว่า เจ๊ก พอจีนเริ่มรวย ก็เกิด กระแสนิยม "หมวย" ไปทั่วโลกเช่นกัน
อนึ่ง "เรื่องหน้าตา" เคยมีงานวิจัยชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่กล่าวว่า หน้าตา มีผลต่อ การประสบความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั้นหมายถึง คนที่หน้าตาดีนั้นจะมีโอกาสได้ทำงาน และมีโอกาสที่ดีในชีวิต ที่มากกว่าคนหน้าตาไม่ดี
อนึ่ง คนส่วนใหญ่ รู้จักวิทยาศาสตร์การกีฬากันดีแล้ว คือ จะมีการคัดนักกีฬา การดูมวลกระดูก ดูมวลกล้ามเนื้อ อาหารการกินของนักกีฬา ฯลฯ แต่เรายังไม่เข้าใจเรื่อง "วิทยาศาสตร์การบันเทิง" ที่จะกล่าวถึง จิตวิทยามนุษย์และมวลชน และเรื่องหน้าตาของดารานักแสดง ก็จะเป็นอีก 1 สิ่ง ที่จะสะกด คนดูให้นั่งติดเบาะ จนลุกไปไหนไม่ได้เลยที่เดียว (ออกแนวสะกดจิต)
ดังนั้น ละครไทยยุคหลังๆ จึงมีการคัดหน้าตาตัวละครเรียกได้ว่าเกือบจะทุกตัวเลยที่เดียว คือคัดตั้งแต่นางเอก จนกระทั้ง ถึง คนใช้ เลยทีเดียว
ที่จริง เรื่องหน้าตาของคนไทย ได้รับการคอนเฟิมร์ มาจากบอร์ดต่างประเทศทั้ง คนฝรั่ง คนอินเดีย คนจีน คนญี่ปุ่น ฯลฯ มาแล้ว รวมถึงงานสำรวจความคิดเห็นด้วย แต่เราไม่ค่อยรู้ตัวกัน
ถ้าคุณเป็นผู้หญิง หน้าตาธรรมดาในเมืองไทย ก็ลองไปเดินบนถนนในอินเดียดู และจะพบว่า คนอินเดียจะมองคุณ หยั่งกับดูทีวีเลยทีเดียว (ห้องไกลบ้านเขาบอกมา ฮ่าๆๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าที่คนอินเดียเขามอง เขาจะมองว่าสวย หรือมองว่าแปลก ฮ่าๆๆ แต่น่าจะอย่างหลังมากกว่า ฮ่าๆๆ)
เอาละ ข้อสรุปอีกข้อ จากห้องหว้ากอ เรื่องหน้าตาของคนไทย ที่ทำไมคนประเทศอื่นบอกว่า คนไทยหน้าตาดี ซึ่งบทสรุปจากหว้ากอคือ
คนไทยเป็นพวกลูกผสมเยอะ เรามีทุกเชื้อชาติ โดยเฉพาะลูกผสมจีนจะมีเยอะที่สุด เพราะชาวจีนอพยพในอดีต ถูกนโยบายกลื่นชาติ ในสมัย จอมพล.ป.พิบูรณ์สงคราม จนหมด อาจจะพูดได้ว่า เดียวนี้ แทบจะไม่มีคนจีนในประเทศไทยแล้ว แต่เป็นคนไทยทั้งหมด ซึ่งจะต่างกับ ประเทศมาเลเซีย และอินโดนี้เซีย ที่คนจีน กับคนเจ้าถิ่น ไม่ค่อยถูกกัน จึงไม่มีการผสมข้ามสายพันธุ์กันเกิดขึ้น ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ "การผสมข้ามสายพันธุ์" จะเป็นการดึงลักษณะเด่นของแต่ละเชื้อชาติออกมา
สรุปว่า "พวกแกจงภูมิใจเถอะ เพราะคนประเทศอื่นเขาบอกว่า พวกแกมันหน้าตาดีกันทั้งนั้น ฮ่าๆๆ หลงตัวเองแบบนี้คนประเทศอื่นจะหมั่นไส้ไหมฟ๊ะเนี๊ยะ ฮ่าๆๆ"
.......................
2.วัฒนธรรมไทย
เอกลักษณ์ และวัฒนธรรมไทยเป็นจุดแข็งอีกข้อ ที่ไม่มีประเทศไหนเลียนแบบได้ เพราะด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของเรานั่นเอง เราสามารถทำละครย้อนยุคได้แบบไม้ซ้ำใคร
ยกตัวอย่างเช่น ซีรีย์เกาหลีแนวโบราณเรื่อง "ซอนต๊อก" ที่การเดินเรื่อง ตามบท และการตัดต่อค่อนข้างทำได้ดี ชวนให้น่าติดตาม แต่ทว่า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย สถานที่ถ่ายทำ ชีวิตผู้คนในเนื้อเรื่อง หากไม่บอกว่าเป็นซีรีย์เกาหลี คนทั่วๆไปก็อาจจะก็คิดว่าเป็นหนังจีนย้อนยุค แม้ว่าเกาหลีจะพยายามสร้างเอกลักษณ์ของตัวเอง แต่ก็เป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก
อนึ่ง หากว่า เอาบทซีรีย์เรื่อง "ซอนต๊อก" ทั้งหมด มาทำในเวอร์ชั่นไทย เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเป็นชุดไทย สถานที่ถ่ายทำก็ใช้พระบรมมหาราชวัง (ไม่ต้องสร้างวังจำลองแบบเรื่องซอนต๊อก ซึ่งวังจำลอง ความยิ่งใหญ่สู้วังของจริงไม่ได้เลย) ความยิ่งใหญ่ และเอกลักษณ์ของหนังแนวนี้ของไทยจะขนาดไหน ถ้ามีการสร้างจริง แฟนละครมองแว๊บแรกก็รู้ทันทีเลยว่า ละครไทยแน่นอน
ข้อมูลเพิ่มเติมที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=googoo&month=05-2010&date=08&group=4&gblog=1
ข้อควรระวัง ในการใส่เอกลักษณ์วัฒนธรรม
หากว่า เป็นหนังที่อ้างอิงเหตุการณ์ในปัจจุบัน เวลาใส่เอกลักษณ์วัฒนธรรมเข้าไป ต้องใส่อย่างแนบเนียน และกลมกลื่น เพราะหากว่าใส่เยอะเกินไป ก็จะเกิดสิ่งที่คนดูหนังเรียกว่า "การยัดเหยียดทางวัฒนธรรม" ซึ่งเกิดขึ้นกับซีรีย์เกาหลี ที่ฉายในหลายๆประเทศ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา (ถ้านึกภาพไม่ออก ก็ลองเปรียบเทียบกับ การโฆษณาสินค้าแฝงในละคร หรือในภาพยนต์ ซึ่งทำให้คนดู รู้สึกขัดใจมาก ถ้ามีน้อยๆไม่เป็นไร แต่มีมากไป มันไม่ดี)
แต่ถ้าหากว่า ตัวเนื้อเรื่อง เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ หรือตัวละครเป็นแนววัฒนธรรม ก็ควรใส่ให้เต็มๆไปเลย เอาให้สุดๆ เพราะคนดูเขาจะยอมรับได้ เพราะเขาตั้งใจมาดูหนังแนวนี้อยู่แล้ว
อนึ่ง เรื่องวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ของประเทศเกาหลี และประเทศจีน จึงทำให้ ชาวเกาหลีบางส่วน ดูแคลนชาวจีน และคอมเมนในเชิงที่ว่า วัฒนธรรมหลายอย่างที่ชาวจีนเอาไปใช้ เช่นอักษรจีน ความจริงแล้วคนเกาหลีบางส่วน บอกว่า อักษรที่จีนใช้ ชาวเกาหลีเป็นผู้คิดค้นขึ้น จึงเกิดการตอบโต้กันไปมาตามเว๊ปไซต์ต่างๆ เกิดปรากฎการณ์ที่ไม่ดีคือ ชาวจีน และ ชาวเกาหลี บางส่วนทะเลาะกันตามเว๊ปบอร์ดต่างๆมากมาย
อนึ่ง เรารับรู้มาว่า ชาวเกาหลี เป็นประเทศที่มีชาตินิยมสูง เนื่องด้วยเพราะอาจจะต้องการแข่งขันกับประเทศญี่ปุ่น แต่ก็นั้นแหละ "ชาตินิยมสูง" แม้จะมีข้อดีในเรื่องการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน เช่น อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกดูแคลนชนชาติอื่นได้
3. โลเคชั่น หรือสถานที่ถ่ายทำละคร
ประเทศไทยมีโลเคชั่นสวยๆจำนวนมาก ทั้งป่า เขา ลำเนาไพร แม่น้ำ ทะเล สถานที่ประวัติศาสตร์ พระบรมมหาราชวัง ฯลฯ เยอะมากจริงๆ แม้แต่สถานที่ธรรมดา เช่นสวนยางพารา ละครบางเรื่องก็สามารถถ่ายทำ โลเคชั่นสวนยางพารา ออกมาได้อย่างแปลกตา แม้ประเทศไทย จะไม่มีโลเคชั่นที่เป็น ทะเลทรายของจริง กับโลเคชั่นที่เป็นหิมะ แต่โดยรวม โลเคชั่นของประเทศไทย ทิ้งห่างประเทศเกาหลีหลายขุมเลยทีเดียว
..................................
4. เอกชนในวงการบันเทิงของไทยเก่งมาก แม้จะขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ
ในส่วนของ เอกชนไทย ต้องขอชมว่า "เก่งมาก" เพราะ ประเทศไทย มีความไม่แน่นอนทางการเมืองสูง และรัฐบาลเอง ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญของวงการบันเทิงเลย ซึ่งในอดีตนั้น นอกจากรัฐจะไม่ส่งเสริมแล้ว ยังสกัดดาวรุ่งอีก ด้วยการเก็บภาษีในอัตราที่สูงมากอีกด้วย เพราะรัฐมองว่า วงการบันเทิงเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย
จนกระทั้ง "เกิดกระแสเกาหลีฟีเวอร์" ซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ และสินค้าเกาหลีอย่างมหาศาล รัฐบาลไทยจึงเริ่มเข้ามาส่งเสริม แต่ก็ดูเหมือนว่า จะผลักดันได้ช้า ผิดกับรัฐบาลเกาหลี ที่เขาทำเรื่องนี้อย่างจริงจังมาก
แม้ว่าจะขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ แต่เอกชนไทย ก็สามารถไปเปิดตลาดต่างประเทศได้บ้าง ซึ่งหัวหอกคนสำคัญ ของเรื่องนี้อีกคนคือ แกรมมี่ และอาร์เอส ที่กล้าไปบุกตลาดเอเชีย ด้วยตัวเอง
แต่ทว่าบทเรียนราคาแพงก็คือ "การไปทำตลาดแข่งกับเจ้าของตลาดเดิมของประเทศนั้นๆ" เพราะเราไม่รู้ระบบกลไกตลาดของประเทศเขา พูดง่ายๆคือเราไม่ใช้เจ้าของพื้นที่ อุปมาอุปไมย เหมือนการไปเที่ยวบ้านคนอื่น แล้วหาสวิตซ์เปิดไฟไม่เจอ
หลังๆมามีการปรับแผนธุรกิจใหม่ โดยเน้นการหาพันธมิตร โดยจะไม่ไปแข่งกับเจ้าบ้าน แต่จะอาศัยร่วมมือกัน เสนอคอนเทนส์ของเรา ว่าเขาสนใจหรือไม่ หากเจ้าบ้านสนใจ และคิดว่าขายได้ในบ้านเขา เขาก็จะเอาไปทำตลาดในบ้านเขาให้เอง เรียกว่า ได้ประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งศัพท์ทางธุรกิจเขาจะเรียกว่า วิน-วิน (win-win)
อนึ่ง ปัจจุบัน ละครไทย ในประเทศจีน คอนเทนส์ และละครของไทยกลับเป็นที่ถูกอก ถูกใจกับแฟนละครชาวจีน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลก เพราะถ้าเทียบกับ ซีรีย์เกาหลี ที่รัฐบาลเกาหลีมีการผลักดันอย่างหนัก แต่ทำไปทำมา ละครไทยยังสามารถแทรกอยู่ในกระแสได้ คิดเล่นๆว่า ถ้าละครไทยมีการผลักดันจากรัฐ ให้ได้สักครึงหนึ่งของรัฐบาลเกาหลี กระแสมันจะขนาดไหน นักท่องเที่ยวชาวจีน จะมาเที่ยวประเทศไทยสักกี่ล้าน
.....................................
5.ทีมงานเบื้องหลัง และงานการตัดต่อของละครไทย
ว่ากันว่า ละคร หรือ ภาพยนต์ จะดูสนุก และดูรู้เรื่องหรือไม่นั้น การตัดต่อ และการใส่เสียงดนตรีประกอบ มีส่วนสำคัญอย่างมาก
โจทย์ใหญ่ที่ผู้ทำละคร ต้องตีให้แตกก็คือ "ทำอย่างไร ให้คนที่บังเอิญ เปลี่ยนช่องมาเจอละครของเรา แล้วเขาสามารถหยุดค้างดู ให้ได้อย่างน้อยสัก 5 นาที" โจทย์นี้ มี คีย์เวอร์ด ที่สำคัญคือ หน้าตา และความสามารถของนักแสดง ฉาก ดนตรี และที่สำคัญ การตัดต่อ ที่ฉากแต่ละฉากจะต้อง ทำใหคนดูละคร "ได้ลุ้น" จะต้องมีการ "กระฉากอารมณ์คนดู" หรืออิงไปกับละครของเรา เรียกว่าใช้เทคนิค "บีบแล้วปล่อย"
ขอยกตัวอย่างฉากหนึ่ง ในละครเรื่อง "ดอกรักริมทาง" ความจริงฉากนี้ ไม่มีอะไรมาก ก็แค่ คุณวี สงสัยว่าทำไม อู๊ด จึงเปลี่ยนเสื้อผ้าไม่เสร็จ แต่สุดท้าย อู๊ดก็เปลี่ยนเสื้อเสร็จ แต่การตัดต่อ ทำให้การดูละครรู้สึกว่า "ได้ลุ้น" โดยเฉพาะรูปที่ 5 ที่เป็นฉากเสียบกุญแจ ซึ่งความจริงถ้าคนตัดต่อ และคนออกแบบฉากไม่เก่งพอ เขาก็จะข้ามรายละเอียดตรงนี้ไป ซึ่งความจริง ฉากแบบนี้ ใช้เวลาเพียวไม่กี่วินาทีเท่านั้น
แม้แต่ละครของช่อง 3 ช่อง 7 ฉากกระชากอารมณ์คนดู แบบนี้ ก็มีเยอะมาก แต่ฉากกระชากอารมณ์คนดู ก็มีจุดอ่อนเรื่องความรุ่นแรงเช่นกัน
ฉากกระชากอารมณ์ ถ้ามีเยอะไปก็ไม่ดี ควรจะต้องสนับกับ ฉากผ่อนคลาย สบายๆเปิดเพลงให้ฟัง หากมีฉากกระชากอารมณ์เยอะเกินไป คนดูจะตายก่อนแน่
.....................................
6. ความสามารถของนักแสดง
นักแสดงไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก บทแรงก็เล่นได้ บทร้องไห้ บท บ้าบอคอแตก บทปัญญาอ่อน ฯลฯ บางที่ก็ออกแนว โอเวอร์เอ๊กติ้งด้วยซ้ำ และแน่อน ทั้งค่ายเพลง และคนทำละคร สิ่งที่ต้องคำนึงถืงก็คือ "คุณภาพของดารา และศิลปิน" เพราะสิ่งนี้ถือเป็นสินค้า กว่าจะพัฒนา ศิลปิน หรือดาราขึ้นมาได้ ไม่ง่ายเลย
......................................
7. โปรดักชั่น และมุมกล้อง เทคนิคการถ่ายทำ
หลังๆมาเนี๊ยะ ละครไทยหลายๆเรื่อง โปรดักชั่นอลังการ อีกทั้งมุมกล้อง การจัดแสง ถือว่า ดีขึ้นมาก ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ต้นไทร ในเรื่องไทรโศก กับเรื่อง แผลเก่า ต้นไทรเหมือน กัน แต่มุมการถ่ายต่างกัน ภาพที่ออกมาคนละแบบเลยที่เดียว