Driveless Car หรือ Self-Driving Car
Self-Driving Car รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
(หรือในอีกชื่อหนึ่ง: รถยนต์ไร้คนขับ)
นับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดในขณะนี้ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต่างๆเช่น
Google, Apple, Uber, Baidu เลยไปจนถึง Intel และอื่นๆ ต่างก็กระโดดเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดนี้กันอย่างแน่นขนัด
ไม่นับรวมไปถึงบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆอีกมากมาย
แต่ตัวตนแท้จริงของรถยนต์ไร้คนขับนั้นเป็นอย่างไรกันแน่? บทความนี้จะแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกันแบบชัดเจนยิ่งขึ้น
(ส่วนหนึ่งของบทความอ้างอิงและเรียบเรียงมากจาก Everything about Self
Driving Cars Explained for Non-Engineers)
เทคโนโลยีหลักในการสร้างรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัตินั้นเป็นนวัตกรรมที่บูรณการเทคโนโลยี
4 อย่างเข้าด้วยกัน ได้แก่ Computer Vision, Deep
Learning, Robotic, และ Navigation
Computer Vision นั้นเปรียบเสมือนตาของรถที่ทำให้รถยนต์นั้นรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวได้
เทคโนโลยีที่ใช้ก็มีตั้งแต่การติดตั้งกล้องถ่ายภาพ
การใช้คลื่นเสียงเบื่อตรวจจับวัตถุรอบๆในลักษณะเดียวกับเรดาร์ และการใช้เลเซอร์
ตัวอย่างการใช้เซนเซอร์ คลื่นเสียง
และกล้อง ใน Tesla (Credit: Tesla)
Deep Learning ถือเป็นสมองของรถยนต์ไร้คนขับเลยทีเดียว
โมเดล Deep Learning ที่ถูกเทรนด์มาอย่างดีจะทำหน้าที่วิเคราะห์สภาพในท้องถนน
เช่น การตรวจจับว่ารถขับตรงเลนหรือไม่ การตรวจจับผู้ใช้ทางเท้า
การระบุป้ายจราจรและสัญญาณไฟจราจร ความเหมาะสมในการเร่งเครื่องหรือเบรก
และอื่นๆอีกมากมาย เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานของการตัดสินใจกระทำใดๆของรถ
Robotic นั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา
แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง นั่นคือการแปลงจากคำสั่งที่ประมวลผลมาแล้ว
(สัญญาณไฟฟ้า) ให้กลายเป็นคำสั่งที่ใช้กับเครื่องยนต์และส่วนต่างๆของรถได้จริง
Navigation เทคโนโลยีการนำทางเป็นทั้งส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจากข้อมูลแผนที่
การประมวลผล และการตัดสินใจเส้นทางการขับเคลื่อนของรถยนต์
การทำงานโดยทั่วไปของรถยนต์ไร้คนขับนั้นจะอาศัยการรับข้อมูลผ่านทางกล้องหรือคลื่นเสียงแล้วนำมาประมวลผลด้วย
Deep Learning แล้วจึงนำคำตอบจาก Deep
Learning นี้ (เช่น: มีป้ายจราจรให้ลดความเร็ว)
ไปเปลี่ยนเป็นคำสั่งในการขับเคลื่อนรถยนต์ต่อไป
ระดับของรถยนต์ไร้คนขับ
เมื่อไม่นานมานี้ BMW
ประกาศตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไร้คนขับเลเวล 5 ภายในปี 2021 “เลเวล 5” นี้หมายความถึงระดับของความอัตโนมัติของรถยนต์
ซึ่งมีการแบ่งออกเป็นหลายระดับ ดังนี้
•Level 0
คือรถยนต์ที่มนุษย์ต้องควบคุมทุกอย่างด้วยตัวเอง ไล่ไปตั้งแต่การบังคับทิศทาง เบรก
สตาร์ทเครื่อง ฯลฯ
•Level 1 รถยนต์โดยมากยังถูกควบคุมโดยมนุษย์
แต่มีบางฟังก์ชั่นที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ เช่นการยังคับทิศทาง หรือการเร่งเครื่อง
•Level 2
การบังคับทิศทางหรือการเร่งเครื่องอย่างใดอย่างหนึ่งถูกทำโดยระบบอัตโนมัติซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องใช้ทั้งแขนและขาพร้อมกัน
เช่น ระบบ cruise control
•Level 3
รถยนต์ขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติแต่ต้องมีผู้ขับขี่คอยเฝ้าระวังและแทรกแซงในกรณีที่ฉุกเฉินหรือต้องการความปลอดภัยสูง
•Level 4
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบเต็มตัว
แต่สามารถขับเคลื่อนในสภาวะที่มันถูกออกแบบมาเท่านั้น
•Level 5 รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติซึ่งมีความสามารถในการขับขี่เทียบเท่ามนุษย์
มาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดยหน่วยงาน National
Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) ของสหรัฐฯดังกล่าวจะทำให้ผู้ใช้มีจุดอ้างอิงที่ชัดเจน
อีกทั้งยังสำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมิณอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาในบริษัทผู้ให้บริการประกันรถยนต์
ประโยชน์ของรถยนต์ไร้คนขับ
แน่นอนว่ารถยนต์ไร้คนขับนั้นไม่ใช่เพียงนวัตกรรมเท่ๆเท่านั้น
สำนักข่าว Business Insider สรุปประโยชน์ของรถยนต์ไร้คนขับไว้อย่างตรงประเด็น
3 ข้อใหญ่
1.ท้องถนนจะมีความปลอดภัยมากขึ้น
รถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่รับรู้และตอบสนองต่อสภาพภายนอกได้อย่างรวดเร็วนั้นย่อมจะช่วยให้การขับขี่มีความปลอดภัยมากขึ้น
งานวิจัยจาก Eno Centre for Transportation กล่าวว่าหาก
90% ของรถยนต์ในสหรัฐฯเป็นรถอัตโนมัติ จะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงได้เกือบ
80% เลยทีเดียว Credit: Waymo
2.การจราจรและการใช้เชื้อเพลิงจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การลดอุบัตเหตุนั้นนอกจากจะลดความสูญเสียแล้วยังเป็นการกำจัดสาเหตุที่รถติดบนท้องถนน
การมีแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติจะจูงใจให้ผู้คนใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง
และการตัดสินใจของระบบอัตโนมัติจะทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยการเบรกและเร่งอย่างมีประสิทธิภาพ
ลดการใช้พลังงานโดยไม่จำเป็น
และมีการคาดการณ์ว่าจะสามารถลดอัตราการเกิดคาร์บอนได้สูงถึง 300 ล้านตันต่อปี
3.มีเวลามากขึ้น
เมื่อรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
ผู้ใช้งานสามารถนำเวลาในการเดินทางไปทำอย่างอื่นได้อย่างเต็มที่
และการที่รถอัตโนมัติช่วยลดการเกิดรถติด จะทำให้เวลาในการเดินทางสั้นลง McKinsey
มีการประเมิณว่าเมื่อรถยนต์อัตโนมัติเข้าสู่กระแสหลัก
จะช่วยประหยัดเวลาในท้องถนนรวมๆแล้วกว่า 1 พันล้านชั่วโมงต่อวัน
ใครอยู่ตรงไหนของเกมนี้
การพัฒนา ลงทุน และทดสอบรถยนต์ไร้คนขับนั้นปรากฎให้เห็นในหน้าข่าวไม่เว้นแต่ละวัน
บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งทางด้านเทคโนโลยี
และผู้ผลิตรถยนต์ต่างก็มีแผนที่จะผลิตรถยนต์ดังกล่าวขึ้น Navigant
Research ทีมวิจัยและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสีเขียวทั่วโลกได้ทำการศึกษาและประเมิณกลยุทธและการดำเนินงานของบริษัทต่างๆในการสร้างรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและได้เผยการศึกษาออกมาในช่วง
Q2 ของปี 2017 ที่ผ่านมา มีผลลัพธ์ดังนี้
Leaderboard ผู้นำด้านรถยนต์ไร้คนขับ
(Credit: Navigant)
การศึกษาครั้งนี้มีเกณฑ์อยู่ 10 ข้อ
ได้แก่วิสัยทัศน์, แผนการตลาด, พาร์ทเนอร์, แผนการผลิต, เทคโนโลยี,
ยอดขาย, การตลาดและการกระจายสินค้า, กำลังการผลิต, คุณภาพของสินค้า, สินค้าที่ผ่านๆมา, และความมั่นคงของบริษัท
แม้จะยังไม่มีการแข่งขันในตัวสินค้าออกมาเป็นรูปธรรมแต่ก็เป็นตัวชี้วัดที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเพิ่มเติม
•คอร์ส Self-Driving Car
Engineer Nanodegree ของ Udacity ที่มีเป้าหมายในการผลิตวิศวกรรถยนต์ไร้คนขับเข้าสู่ตลาด
และบล็อคเกี่ยวกับเทคนิค Computer Vision ในคอร์สเรียนนี้
•MIT มีหน้าเว็บสำหรับคลาสเรียน
Deep Learning for Self-Driving Cars ให้ผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาได้
•บล็อคของ Nvidia เกี่ยวกับการใช้ Deep Learning ในการสร้างรถยนต์ไร้คนขับโดยละเอียด
•วิดีโอ Self-Driving
Car ในแบบฉบับของ Google (Waymo)
(เครดิตข้อมูลบทความจากเพจ Techtalkthai.com)
Disruption แปลว่า การหยุดชะงัก
ชะงักงัน
Digital Disruption คืออะไร
เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ
Digital Disruption คือ
สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจขึ้นมาใหม่
นวัตกรรมและรูปแบบใหม่เหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมเดิม
ตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพคือ Amazon, Netflix, Hulu Plus ทำให้วงการสื่อและวงการบันเทิงหรือการค้าต้อง
“หยุดชะงัก” โดยการเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงของผู้บริโภค
และสร้างรายได้จากการลงโฆษณาของผู้ที่จะโฆษณา
แล้ว Digital Disruption คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
Digital Disruption เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม
โดยจะช่วยนำทางให้ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีแบบ Real-time
รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร และเทคโนโลยี Cloud, Big
Data, Robotics, Machine Learning(Ai) และอื่นๆ Disruption สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน Disruption
จึงเป็นทางเลือกในการสร้างสิ่งที่แตกต่างจากผู้นำตลาด
หรือบรรดาคู่แข่งในตลาดที่เป็นอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าคุณทำสำเร็จจะทำให้ผู้นำตลาดในทุกอุตสาหกรรมจะพบกับความท้าทายในการตัดสินใจครั้งใหญ่
เกี่ยวกับอนาคตขององค์กร
ที่ต้องแข่งขันกับองค์กรขนาดเล็กแต่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆที่ทันสมัย
ที่กำลังเข้ายึดพื้นที่ marketplace และจะทำให้องค์กรเดิมที่มีอยู่เกิดปัญหาและอุปสรรค
ถ้าหากยังดำรงอยู่ในตลาดในรูปแบบเก่า
ถ้าสู้กันด้วยรูปแบบวิธีการดำเนินการแบบเก่า
สิ่งที่จะต้องคำนึงคือเมื่อคุณต้องการจะนำสินค้าเข้าสู่ตลาด
ต้องเป็นสินค้าที่ไม่อยู่ในตลาดที่ผู้นำตลาดกำลังทำอยู่ เพราะไม่ว่าจะเป็น ราคา
ช่องทางการจำหน่าย และอื่นๆ ผู้นำตลาดจะมีกำลังอำนาจทางการตลาด
และงบประมาณที่มากกว่า ซึ่งยากที่จะเป็นคู่แข่ง
Digital Disruption คืออะไร
ดังนั้นธุรกิจที่มีอยู่เหล่านี้จะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว
ไม่อย่างนั้นถ้าธุรกิจไม่แข็งแรงจริง
ก็เสี่ยงที่จะต้องถูกเขี่ยออกจากธุรกิจไปทั้งๆที่เคยเป็นผู้นำตลาด ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก
Digital Disruption ทำให้เกิดธุรกิจบริการแท็กซี่
Uber และ Grab ในไทยที่ผู้ให้บริการ
ทำให้ผู้ใช้บริการเข้าร่วมการใช้บริการได้โดยใช้แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์เคลื่อนที่
ทำให้ลูกค้าสามารถเรียกใช้บริการได้อย่างง่ายและสะดวก และยังมีอีกหลากหลายธุรกิจ
เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ
ปัจจุบันมีการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างมาก
ทำให้เพิ่มโอกาสในการหยุดชะงักทางดิจิทัลในหลายอุตสาหกรรม Digital
Disruption ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันมีอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น
ซีบีเอสเอ็นบีซีและเอบีซีในสหรัฐอเมริกายังคงได้รับรายได้จากรายการโทรทัศน์กระจายเสียง
แต่พวกเขาไม่สามารถคิดค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นได้
ปัจจุบันเครือข่ายโทรทัศน์ต้องใช้วิธีการหลายช่องเพื่อสร้างรายได้ให้กับตน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ Live และ Stream เพื่อทำรายได้จากการทำโฆษณา
(เครดิตข้อมูลบทความจากเพจ Ourgreenfish.com)
Diversify แปลว่า
การเปลี่ยนแปลง , Risk แปลว่า ความเสี่ยง
Risk Diversification คือ การกระจายความเสี่ยง
Portfolio Diversification เบสิก
คืออะไร ทำไปทำไม
What is “Portfolio Diversification”?
Portfolio Diversification คือการกระจายการลงทุนในพอร์ตการลงทุนของเราเพื่อเป้าหมายทางการลงทุน
ในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงครับ ดังคำยอดฮิตของนักลงทุนเรื่องนี้
ได้กล่าวไว้ว่า “อย่าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน –
Don’t put all your eggs in one basket” มาดูกันต่อเลยครับว่าแล้วคำกล่าวนี้มันเป็นยังไง
Why it matters?
เจ้าคำกล่าวนั้นหมายความว่าถ้าเราลงทุนด้วยเงินทั้งหมดของเราไปในหุ้นตัวใดตัวหนึงก็เหมือนใส่ไข่ทั้งหมด
(เงินลงทุน) ไว้ในตระกร้าใบเดียว ถ้าเผลอทำตระกร้าตกขึ้นมาไข่ในตระกร้าก็พลอยตกแตกไปด้วย
เหตุทุกวันนี้ตลาดหลักทรัพย์การลงทุนของเรา อาจจะเพิ่มขึ้น ลดลง
ได้วันละหลายเปอร์เซ็น ถ้าหุ้นเล็กๆหน่อยก็มีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น/ลดลง
ได้วันละเป็นสิบเปอร์เซ็นต่อวันเลยทีเดียว มันจึงเป็นการไม่ฉลาดนักถ้านักลงทุนเชิง
Quants จะลงทุนในหลักทรพย์ตัวใดตัวหนึงเท่านั้น
เพราะมันจะทำให้มีความเสี่ยง (เช่น Standard Deviation ในโพสก่อน)
ของพอร์ตฟอลิโอของเราก็เพิ่มขึ้น
อย่างเช่นในช่วงเวลาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ถ้าเราลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ธนาคาร หรือ กลุ่มอาหารจะอยู่รอดมากกว่ากันครับ
ถ้าว่ากันด้วยคอมม้อนเซ้นคนเราอาจจะไม่ซื้อคอมพ์ ไม่ซื้อของเทคโนโลยีได้
แต่ไม่อาจจะเลิกกินอาหารได้ใช่ไหมครับ
ตามหลักการหุ้นกลุ่มขายอาหารน่าจะอยู่รอดได้มากกว่า
ถึงจะไม่เสมอไปเพราะความเป็นจริงแล้ววิกฤตเศรษฐกิจจะละเอียดกว่านี้มากแต่ขอยกตัวอย่างแบบง่ายๆให้ดูพอเป็นไอเดียของการ
Diversification ครับ
(หลังจากนี้เราจะมีวิธีการเลือกมันโดยใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์)
ตัวอย่างหุ้นถ้าเราถือหุ้น TMB
ในช่วงเวลา 2007 ถึง 2010 ซึ่งช่วงเวลานั้นได้เกิดวิกฤตซับไพรม์พอดี
ผลที่ได้ในช่วงเวลานั้น จะมีกำไรเฉลี่ยต่อปีที่ -1.17% และ Standard
Deviation ต่อปีที่ 0.48
หรือเหวี่ยงขึ้นลงที่ 48% ในช่วงเวลานั้นเลยทีเดียว
มาลอง Diversify กันดูครับ
โดยเราจะลองสุ่มถือหุ้น เพิ่มดูซัก 5
ตัวผ่านช่วงเวลาวิกฤตเศรษฐกิจและช่วงฟื้นตัวดูครับ โดยจะถือแบบ equal
weight หรือ ถือเท่ากันทุกตัวในพอร์ต และ
เป็นเพียงแค่การสุ่มหุ้นมาถือเท่านั้นว่าจะช่วงแบ่งเบาความเสี่ยงได้หรือเปล่า
โดยหุ้นที่เลือกมาเป็น
•บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์
จำกัด(HMPRO)
•บริษัท ปตท. จำกัด(PTT)
• บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
จำกัด(CPF)
•ธนาคารทหารไทย จำกัด (TMB)
•ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (SCB)
เป็น ธนาคารซะ 2 พลังงาน อาหาร และ
เครื่องเรือน อย่างละ 1 ลองพล๊อตดูครับ ช่วงเวลาเดียวกันนี้ถ้าเราถือทั้งหมดนี้
เท่ากับอย่างละ 20% ของพอร์ตจะเป็นอย่างไร
ผลที่ได้ตามนั้นครับ สีฟ้าอ่อน
คือผลจากพอร์ตที่เราถือหุ้นตัวอื่นอย่างละเท่าๆกัน
ผลจากที่ตาเห็นเราก็พอจะบอกได้ว่ามันดีกว่าถือหุ้นแค่ TMB
ตัวเดียวแน่ๆ แต่มันก็ไม่อาจจะดีไปกว่าตัวที่ทำผลงานได้ดีที่สุด และ
ไม่ได้แย่ไปกว่าตัวที่แย่ที่สุด อย่างว่าครับ เราไม่รู้อนาคต
ถ้าเรารู้เราคงสามารถใส่ไข่ทั้งหมดไปในตระกร้าใบเดียวได้ แต่ในเมื่อเราไม่รู้
ก็ต้องให้มันเฉลี่ยกันครับ พูดมามากแล้วมาดูตัวเลขจากการ Diversify แบบ Simple นี้กันดีกว่า ว่ามัจะทำให้ Standard
deviation ของเราลดลงไหม
หรือส่งผลอย่างไรกับกำไรเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆในพอร์ต
รูปด้านบน แสดงค่า stdev และ return
ของหุ้นแต่ละตัว และ
แสดงค่าเดียวกันนี้ของทั้ง Portfolio ในบรรทัดสุดท้าย
ที่เขียนไว้ว่า Diversify จากผลลัพธ์จะเห็นว่า การ Diversify พอร์ตฟอลิโอ้ทำให้ความเสี่ยง
(stdev) ลดลงอย่างมาก เช่น ถ้าเราถือ TMB ตัวเดียว ค่า stdev จะอยู่ที่ 48% ต่อปี หรือ
ถ้าถือตัวอื่น จะอยู่ที่ 30-39% ต่อปี แต่ถ้าเราถือทั้งหมดนี้
ค่าความเสี่ยงโดยรวมของ portfolio ของเราก็จะมีค่าประมาณ 26% เท่านั้น ลองนึกดูครับ
จากความเสี่ยงสูงสุดถึง 48%
ซึ่งนับว่าแทบจะรับไม่ได้เลย เราทำให้ portfolio ของเราลดความเสี่ยงลงมาได้จะเหลือ 26% เท่านั้น
ค่อยหายใจได้ทั่วท้องหน่อยใช่มั้ยครับ
ในด้านของการทำกำไร Diversified
portfolio ของเราก็ยังสามารถทำได้เฉลี่ย 18% ต่อปี
ถึงจะไม่ทำได้เยอะเท่าการถือ HMPRO หรือ CPF แต่ก็สามารถป้องกันการขาดทุนจากการถือ TMB และยังสามารถทำกำไรได้มากกว่า
PTT และ SCB อีกด้วย
ขณะที่ความเสี่ยงยังคงต่ำสุด
Diversify แบบนี้จะลดความเสี่ยงได้เสมอหรือไม่?
คำตอบคือ “ไม่” ครับ
ถ้าเราโชคร้ายไปจัดพอร์ตเป็นหุ้นที่เหมือนๆกันหมดหรือเจอหุ้นที่แย่ๆเหมือนกันหมดมันก็อาจจะไม่ช่วยอะไรมากนักก็ได้
ฉะนั้นเราต้องจัดมันให้ดีกว่าเลือกมั่วๆครับ
เช่น
•เลือกด้วยเหตุผล เช่น
กระจายตามกลุ่มธุรกิจแตกต่างกัน
•เลือกด้วยคณิตศาสตร์
หาตัววัดที่วัดความเหมือนความต่างมาวัดและจัดพอร์ตตามหลักการ Uncorrelated
(โพสหน้าจะมาอธิบายกันนะครับว่าอะไรคือ Covariance,
Correlation)
•ใช้ทั้งสองอย่าง
สรุปแล้ว
บทความนี้ก็ถือเป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ ที่เรายังไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรเลยนะ
มันยังก่อให้เกิดผลแตกต่างได้ ถือเป็นการยืนยันประโยค “Don’t
put all your eggs in one basket” ได้ในระดับหนึ่งแล้วนะครับ
ถ้าต่อไปเรานำเทคนิคเหล่านี้มาเป็นพื้นฐานในการสร้างพอร์ตฟอลิโออย่างเป็นระบบล่ะ
นี่เป็นแค่การ Buy and Hold เท่านั้น
ถ้าเราใช้ระบบซื้อขายที่เป็น Trend Following, Mean Reversal, Pair Trading
หรือ Machine Learning ล่ะ
แล้วใช้วิธีการจัดการพอร์ตที่ Advance กว่านี้มันจะทำได้ขนาดไหน
ก็จะค่อยๆนำเสนอไป เพราะรายละเอียดค่อนข้างมากทีเดียว ขอบคุณครับ
เกร็ดเล็กๆน้อยๆ คำกล่าว “Don’t
put all your eggs in one basket” อันโด่งดังไม่ได้โดนพูดครั้งแรกโดยนักลงทุนในตำนานท่านไหน
แต่มาจากหนังสือนิยายคบาสสิคอย่าง “Don Quixote” ต่างหาก
รูปประโยคคือ “It is the part of a wise man to keep himself today for
tomorrow, and not venture all his eggs in one basket” (Cr.
http://www.investopedia.com/university/risk/, https://herbison.com/herbison/broken_eggs_quixote.html)
เครดิตข้อมูลบทความจากเพจ algoaddict.com)
Divorce
แปลว่า การหย่าร้าง
สถิติการหย่าร้างของคู่รักคนไทย พบว่าปี 2559
มีกว่า 118,539 คู่ สะท้อนแนวโน้มอัตราการหย่าร้างในชีวิตคู่รักของคนไทย
ที่นับวันจะเพิ่มขึ้น ขีวิตจริงยิ่งกว่าละคร #เมีย 2018
ละครดังสะท้อนสังคม
เตียงหัก !!สถิติปี 59
คนไทยหย่าร้างสูงถึง 1 แสนคู่
กรมสุขภาพจิตเผยสถิติในปี 2559
คู่สามีภรรยาหย่าร้างกันมากถึง 118,539 คู่ เพิ่มจากร้อยละ 27 ใน 2549
เป็นร้อยละ39 ในปี 2559 เร่งป้องกันความเสื่อมสัมพันธ์
เน้นให้คู่สามีภรรยายึดหลักร่วมกันสร้างกฎเหล็กในครอบครัว “5 ข้อต้องทำ 8คำห้ามใช้”
นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง
ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า มีความเป็นห่วงสถาบันครอบครัว
ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพประชากรเพื่อสร้างอนาคตประเทศ
จากสถิติประชากรไทยของกระทรวงมหาดไทย
ล่าสุดในปี 2559 พบว่าประเทศไทยมีจำนวนครอบครัวทั้งหมด
25 ล้านกว่าครัวเรือน แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนไป
ทำให้ขนาดครอบครัวต่างจากอดีตที่เป็นครอบครัวขยายมีพ่อแม่ลูก ปูย่า
พี่น้องอยู่รวมกันลดลง จำนวนครอบครัวเดี่ยวที่อยู่กันเฉพาะพ่อแม่ลูกมีมากขึ้น
ทำให้ครอบครัวคนไทยยุคใหม่มีความเปราะบางขึ้นและน่าเป็นห่วงต่อปัญหาการหย่าร้างและแยกทางกัน
ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิตของลูกตามมาด้วย ข้อมูลกระทรวงมหาดไทยระบุว่าในปี
2559 มีคนไทยจดทะเบียนสมรสรวม 307,746 คู่ และมีผู้จดทะเบียนหย่าจำนวน 118,539
คู่ โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
อัตราการหย่าร้างมีแนวโน้มสูงขึ้นจากร้อยละ 27 ในปี 2549 เพิ่มเป็นร้อยละ 39 ในปี
2559
“ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของการหย่าร้างประการหนึ่งคือ
การได้รับแรงกดดันจากภายนอกเช่น ความเครียดจากการทำงาน สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม
ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพภายในครอบครัว
โดยเฉพาะในคู่สามีภรรยาการสื่อสารเชิงบวกถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา
เพราะการใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมหรือที่เรียกว่าฟังแล้วปรี๊ดหู
มีผลบั่นทอนจิตใจและความรู้สึก อาจทำให้เรื่องเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่
ทำให้ความสัมพันธ์เปราะบางและแตกหักลงในที่สุด” อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว
อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวต่อไปว่า
กรมสุขภาพจิตมีคำแนะนำสำหรับการใช้ชีวิตคู่
เพื่อสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและมีความสุขให้ยึดหลักการร่วมกันสร้างกฎเหล็กในครอบครัวคือ
“5 ข้อที่ต้องทำ 8 คำห้ามใช้ ” โดย
5 ข้อที่ต้องทำได้แก่
1. ร่วมกันสร้างกฎของครอบครัวที่ทุกคนยอมรับและปฏิบัติได้
2.
เมื่อมีปัญหาต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไข อย่าคิดว่าเป็นปัญหาของคนใดคนหนึ่ง
3. โต้เถียงกันได้
เป็นเรื่องธรรมดาของครอบครัว แต่ต้องไม่ตะคอกข่มขู่หรือยั่วโมโหอีกฝ่าย
4.
เมื่อต่างฝ่ายต่างรู้ตัวว่าเริ่มมีความโกรธเพิ่มขึ้น ให้เตือนสติตนเอง หยุดพูด
เมื่อมีความพร้อมจึงกลับมาพูดกันใหม่และ
5.เมื่อพร้อมที่จะแก้ปัญหา
ควรหันหน้ามาร่วมกันปรึกษาหาทางแก้ไข และประการสำคัญต้องไม่ดูถูกความคิดของอีกฝ่าย
สำหรับ 8 คำพูดที่ห้ามใช้ในครอบครัว มีดังนี้
1. คำสั่งเผด็จการ เช่น “เงียบไปเลย”“ทำอย่างนี้สิ”
2.คำพูดที่ประชดประชัน เปรียบเทียบ
หรือพูดถึงปมด้อย เช่น “ก็เป็นซะแบบนี้
ถึงได้ดักดานอยู่แค่นี้”“ถ้าฉันแต่งงานกับแฟนเก่า
ป่านนี้คงสบายไปแล้ว”
3. คำพูดท้าทาย เช่น “ถ้าแน่จริงก็เก็บของออกไปเลย” หรือ “พูดแบบนี้ก็เลิกกันไปเลยดีกว่า”
4. คำพูดเอาชนะกัน เช่น “ที่มีปัญหาอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะแกนั่นแหละ” หรือ “เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของฉัน”
5. คำพูดที่ขุดคุ้ยเรื่องเก่ามาพูดซ้ำ
เช่น “บอกกี่ทีๆก็ไม่เชื่อ ครั้งที่แล้วก็แบบนี้”
“อยู่กินกันมา 10 ปีไม่เห็นเธอทำอะไรสำเร็จสักอย่าง
6. คำพูดเชิงกล่าวหา กล่าวโทษ เช่น “อย่ามาอ้างว่าติดประชุม ติดเด็กน่ะสิ”
7. คำพูดหยาบคาย
8. คำพูดล่วงเกิน
เช่นพูดดูถูกเหยียดหยามบุพการีญาติพี่น้องของอีกฝ่าย ซึ่งคำพูดที่กล่าวมานี้มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดและการกระทำ
ก่อให้ความรู้สึกด้านลบ เช่น โกรธ ขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย
“สมการของการใช้ชีวิตคู่ที่สำคัญคือ
การรับฟังกันมากขึ้น บวกกับการพูดคุยกันมากขึ้น จะได้ผลเท่ากับความเข้าใจ
และรักกันมากขึ้น ” อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว
ในระดับโลกก็มีอัตราการหย่าร้างสูง
ในประเทศที่ยิ่งเจริญเท่าไหร่ อัตราการหย่าร้างก็จะสูงตาม
The 20 places where
divorce is most common
1Maldives - 10.97 per year per 1,000 inhabitants
2Russia - 4.5
3Aruba - 4.4
4Belarus - 4.1
5United States - 3.6
6Lithuania - 3.2
7Gibraltar - 3
8Moldova - 3
9Denmark - 2.9
10Cuba - 2.9
11Ukraine - 2.8
12Hong Kong - 2.76
13Latvia - 2.6
14Jordan - 2.6
15Estonia - 2.6
16Finland - 2.5
17San Marino - 2.5
18Czech Republic - 2.5
19Costa Rica - 2.5
20Sweden - 2.5
Credit : Telegraph.co.UK