วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โลก 360 องศา - (ศาลโลกตัดสินคดีเขาพระวิหาร,ไห่เยี่ยนเคลื่อนตัวเข้าเวียดนามแล้ว,จีนประชุมลับเศรษฐกิจ,อเมริกาเจรจาอิหร่านเรื่องนิวเคลียร์)


เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลโลกอ่านคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร จากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้อง และร้องขอให้ศาลตีความปราสาทพระวิหาร และหลังจากยื่นคำร้องแล้ว กัมพูชาได้อ้างถึงคำร้องธรรมนูญศาล และร้องขอให้มีมาตการชั่วคราว เพราะมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนกัมพูชา โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ศาลก็มีมาตรการชั่วคราวให้แก่ทั้งสองฝ่ายในปี 2011 โดยจะขอเริ่มต้นอ่านคำพิพาษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเทือกเขาดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพรมแดนสองประเทศคือ กัมพูชาตอนใต้ และไทยตอนเหนือ ในเดือน ก.พ.1904 กัมพูชาอยู่ใต้อารักขาของรัฐฝรั่งเศส ที่เทือกเขาดงรักเป็นไปตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นไปตามการประกาศของคณะกรรมการ เรื่องงานที่เสร็จสิ้่นคือ การเตรียมการและตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนั้นมอบให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ต่อมาในปี 1907 ทีมก็ได้เตรียมแผนที่ 17 ระหว่าง อินโดจีนกับไทย และมีแผนที่ขึ้นมา มีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ปี 1953 ประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทในปี 1954 แต่การเจราจาไม่เป็นผล ปี 1959 กัมพูชาร้องต่อศาล และไทยก็คัดค้านตามมา และศาลปฏิเสธการรับฟังของไทย และมีคำพิพาทเกิดขึ้นจริง ซึ่งเทือกเขาดงรักที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น อยู่ในกัมพูชา โดยมีผลบังคับระหว่างรัฐประเทศตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง แต่ในแง่การมีผลผูกพันเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศต้องยืนยันตามสันปันน้ำ ศาลพูดถึงข้อปฏิบัติการในคำพิพากษา ตัดสินว่า พระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยมีผลผูกพัน หรือในบริเวณข้างเคียง และมีพันธะกรณีที่ต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ได้นำออกไปให้นำส่งคืน หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ไทยก็ได้ถอนกำลังออกจากพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนาม หลังจากที่เป็นไปตามมติครม.ของไทยในวันที่ 11 ก.ค.1962 แต่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ ศาลระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหลังจากที่คำพิพกษา เป็นต้นมา ในมุมมองของไทยคือ ได้ออกจากบริเวณปราสาทและไทยได้กำหนดฝ่ายเดียวว่า เขตพระวิหารอยู่ที่ใดซึ่งตามคำพิพากษาในปี 1962 ได้กำหนดตำแหน่งเขตปราสาท ที่ไทยต้องถอนและได้จัดทำรั้ว ลวดหนาม ปราสาทไม่ได้เกินไปกว่าเส้นกำหนดตาม กัมพูชาประท้วงว่า ไทยถอนกำลังออกไปนั้นก็ได้ยอมรับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาจริง แต่กัมพูชาได้ร้องว่า ไทยสร้างรั้วรุกไปในดินแดนกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลและในมุมมองของกัมพูชาต้องการเสนอยูเนสโก แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองมีข้อพิพาทในความหมายและขอบเขตในคำพิพากษาปี 1962 จริง ศาลได้ดูสาระข้อพิพาทเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นไปตามขอบเขตอำนาจศาล ม.60 ตามธรรมนูญศาลหรือไม่และเห็นว่าสองฝ่ายขัดแย้งกัน ซึ่งในข้อพิพาท 1962 ที่บอกว่า คำพิพากษามีผลบังคับใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศ การพิจารณาครั้งนี้ศาลพิจารณาในจุดยืนของฝ่ายที่แสดงออกมาคือ ตามคำขอของกัมพูชา คือ มีสถานที่และได้ต่อสู้เพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีมุมมองต่างกันของขอบเขตและบริเวณ ดินแดน โดย


ข้อที่ 1 ปราสาทอยู่ในดินแดนกัมพูชา ท้ายที่สุดศาลก็ได้ดูเรื่องปัญหาที่สองฝ่ายเห็นต่างคือ พันธกรณีการถอนกำลังออกจากปราสาท ในดินแดนของกัมพูชา และให้ข้อพิพากษาเรื่องการสื่อสารการเข้าใจของสองประเทศในการนำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการปะทะแสดงว่า มีความเข้าใจที่แตกต่างกันจริง คำพิพากษามีความสำคัญ 3 แง่ คือ คำพิพากษาไม่ได้ตัดสินว่า มีข้อผูกพันเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 2.มีความสัมพันธ์กรณีความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณใดเป็นของกัมพูชา และ 3.มีข้อพิพาทในกรณีให้ไทยถอนกำลัง คือ เป็นเป็นไปตามข้อปฏิบัติข้อที่สอง
เมื่อกัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องขอของกัมพูชา ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของทั้งสองฝ่าย ตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีอำนาจรับไว้พิจารณา ศาลจึงคำนึงถึงข้อ 60 ทำให้ขอบเขตมีความชัดเจนขึ้น ด้วยเหตุนี้ศาลจึงต้องดูอยู่ภายใต้ขอบเขตเคร่งครัด ไม่สามารถหยิบเรื่องที่ได้ข้อยุติไปแล้ว ดังนั้น การพิจารณาขอบเขตและความหมายจึงยึดถือข้อปฏิบัติที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ต่อสู้ว่า หลักการกฎหมายห้ามไม่ให้ศาลตีความเกินการตีความในปี 1962 และได้ถูกกล่าวย้ำในข้อต่อสู้ของคู่ความ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 1962 ได้ และกัมพูชาเห็นว่า ข้อสรุปในปี 1962 ทำให้เห็นว่า ศาลได้วินิจฉัยประเด็นต่างๆ ตามข้อวินิจฉัยในปี 1962 และขณะนั้นได้ใช้ข้อ 74 เป็นข้อบังคับในขณะนั้น ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และบทสรุปเป็นเพียงบทสรุปของคำวินิจฉัย ไม่ถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหลักปฏิบัติ ประเทศไทยยังได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของปี 1962 และเดือน ธ.ค. 2008 ที่มีเหตุการณ์ปะทุขึ้นมา คำพิพากษาไม่ถือว่า เป็นสนธิสัญญา หรือตราสารที่ผูกพันคู่ความ การตีความที่อาจจะมีผลกระทบกับพฤติกรรมต่อๆ ไป ดูได้จากสนธิสัญญา ณ กรุงเวียนนา การตีความ จะดูว่าศาลได้พิพากษาอะไร ขอบเขตและความหมายไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมของคู่ความ และการตีความศาลจะไม่พิจารณาในประเด็นนั้น มีลักษณะ 3 ประการในคำพิพากษา 1962
1.พิจารณาว่า เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร และศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 โดยดูในคำคัดค้าน ว่า เป็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเขตแดน ดังนั้น ข้อเรียกร้อง 1-2 ของกัมพูชาในภาคผนวก 1 ศาลจะรับเท่าที่เป็นเหตุ โดยไม่มีการกล่าวถึงภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ไม่มีการแนบแผนที่ในคำพิพากษา ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างก็มีความสำคัญในการกำหนดเขตแดน
2.แผนที่ภาคผนวก 1 ประเด็นที่แท้จริงคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดน ที่เป็นผลจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเสด็จของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงนุภาพ ไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารก็เหมือนการยอมรับโดยอ้อมของสยามในอธิปไตย ถือเป็นการยืนยันของประเทศไทยในเส้นแบ่งแดนภาคผนวก 1 ในปี 1908 และ 1909 ยอมรับในแผนที่ และยอมรับว่า เส้นแบ่งเขตแดนเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา ทำให้แผนที่ภาคผนวกอยู่ในสนธิสัญญา จึงเห็นว่าการตีความสนธิสัญญาจึงต้องชี้ขาดว่า เขตแบ่งตามแผนที่ 1
3.ศาลมีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เล็กมาก และในปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตพิพาทนั้นเล็กมาก และถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรขัดแยังกันในปี 1962 และทันทีหลังจากมีคำพิพากษา ศาลได้อธิบายว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ในทางทั่วไปถือว่า เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ศาลเห็นว่า ปราสาทอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา แต่ต้องกลับมาในบทปฏิบัติการ 2 และ 3 ที่เห็นว่า ผลของคำพิพากษาที่ 1 ตำรวจที่ปฏิบัติการในปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีการพูดถึงการถอนกำลัง และไม่มีการกล่าวถึงว่า หากถอนกำลังต้องถอนไปที่ใด พูดเพียงปราสาทและบริเวณใกล้เคียง ไม่มีการกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอน พูดเพียงว่าเจ้าหน้าที่ที่เฝ้ารักษาการหรือดูแล ศาลจึงเห็นว่า จะต้องเริ่มจากดูหลักฐานที่อยู่ต่อหน้าศาล และพยานหลักฐานเดียวคือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายไทยได้นำเสนอ ซึ่งได้มีการเยือนไปยังปราสาทในปี 1961 แต่ในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานเชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายาม 1 คน และตำรวจ มีการตั้งแคมป์ และไม่ไกลมีบ้านพักอยู่ และทนายฝ่ายไทย กล่าวว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1
ต่อมาปี 1962 กัมพูชาได้เสนอข้อต่อสู้ว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน แต่ศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า สำคัญ เพราะการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกันสันปันน้ำ การที่สถานีตำรวจตั้งใกล้สันปันน้ำ เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อศาลสั่งให้ไทยถอนกำลัง ก็น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆ ตามคำเบิกความของไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า มีเจ้าหน้าที่อื่นใด จึงเห็นว่าควรยาวไปถึงสถานที่ตั้งมั่นของสถานีตำรวจ เส้นแบ่งเขตแดนตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่า เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ศาลจึงเห็นว่า ชัดเจนมากตามภูมิศาสตร์ ที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีหน้าผาที่ชัน และตะวันตกเฉียงเหนือก็เป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาท ดังนั้น การทำความเข้าใจใกล้เคียงพระวิหาร ศาลจึงเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งเขตแดนตามภาคผนวก 1 และไม่ได้ระบุระยะที่ชัดเจน

หลังจากศาลโลกอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น ปรากฎว่านักวิชาการและัสื่อมวลชนไทย ตีความกันออกเป็นหลายแนวทางไม่ตรงกัีน บ้างก็ว่า

-ศาลให้ไทย-กัมพูชา หารือกันเอง มียูเนสโก้เป็นผู้ดูแล กัมพูชายังมีอธิปไตยตามพื้นที่คำตัดสินปี 1962 ส่วนพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ศาลโลกไม่มีการพูดถึง นี้ต้องไปคุยกันเอง
- สรุปศาลไม่ได้ตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาเดิม 2505/ พิพากษาเฉพาะตัวปราสาทไม่แตะพื้นที่ 4.6ตร.กม
-ไม่เสีย 4.6 แต่เสียประมาณ หนึ่งถึงสองตร.กม.รอบปราสาท ไม่เสีย พนมทรัพ หรือภูมะเขือ
- ศาลยึดข้อเท็จจริงเดิมตามคำพิพากษา1962ไม่เอาข้อเท็จจริงใหม่ปน แต่เสียเปรียบที่ครั้งนี้ศาลฟันธงดินแดนที่ปราสาทอยู่เป็นของกัมพูชา

รอคำชี้แจงชัดๆ จากนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทนสู้คดีฝ่ายไทย ที่เตรียมให้สัมภาษณ์สด
"ทูตวีรชัย"ชี้คำพิพากษาศาลโลกไม่ได้เอื้อตามคำขอของ"เขมร"

เมื่อเวลา 17.34 น. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ พร้อมด้วย นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะต่อสู้คดีปราสาทเขาพระวิหาร แถลงภายหลังศาลโลกได้มีคำพิพากษาในดคีปราสาทเขาพระวิหาร โดย นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ผลคำพิพากษาของศาลโลกในวันนี้ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจของฝ่ายเราในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หน้าที่ในการชี้แจงผลการพิพากษา ตนจะมอบให้ทูตวีระชัย เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด

ด้านทูตวีรชัย กล่าวว่า คำพิพากษาในวันนี้ ที่ออกมาศาลได้ชี้เป็นประเด็นต่างๆ เริ่มจาก ศาลมีอำนาจในการวินิฉัย ในคำร้องของกัมพูชาในครั้งนี้หรือไม่ ต่อมาศาลได้วินิจฉัย พื้นที่ใกล้เคียงกับตัวปราสาท ที่ศาลใช้คำเรียกว่า ตัวปราสาท นั้น จะมีตัวเขตจำกัดอย่างไร แต่ไม่ได้มีแผนที่แนบ  เบื้องต้นขอเรียนว่า ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้รับในพื้นที่ , 4.5, 4.6 , 4.7 ตารางกิโลเมตร หรืออะไรก็ตาม ทางกัมพูชาไม่ได้สิ่งที่ได้เรียกร้อง พื้นที่ภูมะเขือฝ่ายกัมพูชา ก็ไม่ได้ ศาลก็ไม่ได้ ชี้ในเรื่องของเขตแดน ศาลไม่ได้ตัดสินในเรื่องของเขตแดน เว้นแต่ พื้นที่แคบมากๆ ศาลได้พยายามเน้นพื้นที่เล็กอย่างมาก ดังนั้น พื้นที่นี้ยังคำนวณอยู่ และศาลไม่ได้ระบุว่า แผนที่ 1.200,000 เป็นส่วนหนึ่งของคำตัดสินเมื่อปี พ.ศ.2505 ตรงนี้ ตนถือว่า เป็นจุดที่มีความสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ศาลยังแนะนำให้ ทั้งสองฝ่าย มารือร่วมกัน ในการที่จะดูแลตัวปราสาทในฐานะเป็นมรดกโลก ซึ่งศาลแนะนำให้ร่วมมือกัน

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ที่ได้ชื่อว่า เป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่น ด้วยความเร็วลม 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเทียบเท่ากับความแรงของเฮอริเคนในระดับ 5 ความแรงของพายุส่งผลให้อาคารหลายแห่งได้รับความเสียหาย และเกิดดินถล่มในหลายๆพื้นที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 4 คน และได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก แม้ว่าทางการจะสั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยแล้วล่วงหน้า ซึ่งอาจป้องกันความสูญเสียได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีประชาชนอีกไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน ที่ยังต้องหาที่หลบภัย เจ้าหน้าที่ของฟิลิปปินส์คาดว่า อิทธิพลของพายุลูกนี้ จะสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างและอาจสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตประชาชนมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ พายุไห่เยี่ยน หรือที่ชาวฟิลิปปินส์เรียกกันว่า พายุโยลันดา ได้ทำให้ บางพื้นที่ของฟิลิปปินส์ ไฟฟ้าและระบบการติดต่อสื่อสารเกือบถูกตัดขาด ทางการต้องสั่งปิดโดรงเรียนและหน่วยงานราชการ ขณะที่เรือข้ามฟากและเที่ยวบินต่าง ๆ ต้องถูกระงับ ด้านเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลทุกแห่ง รวมทั้งทหารได้รับคำสั่งให้เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง

เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาในฟิลิปปินส์เตือนว่า ไห่เยี่ยนอาจสร้างความเสียหายมากพอๆ กับไต้ฝุ่นโบพาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 พันคน (ล่าสุดมีตัวเลขรายงานแล้วว่าเสียชีวิตกว่า 3,600 คน)  พายุไห่เยี่ยนจะเคลื่อนตัวไปยังเวียดนามและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (10 พ.ย.) คาดว่า จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับพื้นที่ตามแนวชายฝั่งของมณฑลกวางตุ้ง ทางใต้ของจีน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเตือนให้เรือรีบกลับฝั่ง และระวังคลื่นลมแรง ด้านสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรของไทย เตือนให้ระวังฝนตกหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากอิทธิพลพายุไห่เยี่ยน โดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมในขณะนี้ ทั้งศรีสะเกษและร้อยเอ็ด โดยไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนจะเคลื่อนตัวผ่านฟิลิปปินส์และเพิ่มความรุนแรง ก่อนเข้าเวียดนามและทางเหนือของไทย

เจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์คาดการณ์ว่าอาจมีผู้เสียชีวิตจากซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ไห่เยี่ยน" เกิน 1 หมื่นราย ซึ่งจะนับว่าเป็นหายนะทางธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ เจ้าหน้าที่ของฟิลิปปินส์คาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตกว่า 1 หมื่นรายในเมืองเลย์เต ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากพายุลูกนี้ ซึ่งซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนนี้ ได้พัดเข้าถล่มเมืองเลย์เต และเมืองใกล้เคียงด้วยความเร็วลมสูงสูดถึง 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำให้เกิดคลื่นสูงกว่า 3 เมตร โดยเชื่อว่าความเสียหายจะกินบริเวณกว่า 600 กิโลเมตรจากเกาะไปถึงตอนกลางของฟิลิปปินส์เลยทีเดียว เจ้าหน้าที่กล่าวว่า บ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างในเมืองเลย์เตถูกพัดเสียหายไปแล้วกว่าร้อยละ 80 รถยนต์ถูกพัดกองรวมกันเกลื่อนกลาด ถนนหลายเส้นถูกตัดขาด รวมถึงไฟฟ้าและระบบการสื่อสารต่าง ๆ ก็ถูกตัดขาดด้วยเช่นเดียวกัน โดยนายเซบาสเตียน โรดส์ สแตมพา หัวหน้าทีมประสานงานรวบรวมความช่วยเหลือของสหประชาชาติกล่าวว่า ภาพความเสียหายระดับนี้ในทาโคลแบน ทำให้นึกถึงหลังเหตุการณ์สึนามิทในคาบสมุทรอินเดียเมื่อปี 2547 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2 แสน 2 หมื่นราย ขณะเดียวกัน ผู้บังคับบัญชาหน่วยรักษาการณ์ชายฝั่งของฟิลิปปินส์กล่าวว่า ในตอนนี้ยังไม่สามารถติดต่อกับพื้นที่ทางตะวันตกของทาโคลแบนได้ เนื่องจากไฟฟ้าและการติดต่อสื่อสารในบริเวณถูกตัดขาด อย่างไรก็ตาม จะมีการประสานความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ต่อไป ขณะที่ทางการสหรัฐฯได้เตรียมส่งเครื่องบินและกำลังทหารเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว และจะอยู่ช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยในฟิลิปปินส์ต่อไปด้วย ล่าสุด มีรายงานว่าพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ไห่เยี่ยน" ลูกนี้ จะพัดขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามในเย็นวันนี้ และรัฐบาลเวียดนามได้ประกาศเตรียมตัวรับมืออย่างเต็มที่ โดยได้เตรียมแผนการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย และการเสริมความแข็งแรงของเขื่อนต่างๆ


ผู้นำทางการเมืองในพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนเปิดประชุมลับ 4 วันโดยเริ่มวันนี้เป็นวันแรก เพื่อกำหนดวาระการปฏิรูปประเทศสำหรับอีก 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากรัฐบาลจีนพยายามที่จะผลักดันการเติบโตให้ยั่งยืนมากขึ้น หลังจากที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและอันตรายมาเป็นเวลา 30 ปี ท่ามกลางข้อถกเถียงว่ารัฐบาลจีนจะดำเนินการปฏิรูประเทศด้วยวิธีใด ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง จะต้องผลักดันมาตรการขับเคลื่อนการเติบโตรูปแบบใหม่ เนื่องจากจีนซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับสองของโลกเริ่มอ่อนกำลังลง จากปัญหาการผลิตภาคอุตสาหกรรมล้นตลาด หนี้รัฐบาลก้อนโต และราคาบ้านที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การประชุมดังกล่าวซึ่งจัดขึ้นภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดที่โรงแรมแห่งหนึ่งทางตะวันตกของกรุงปักกิ่ง จะเป็นการพิสูจน์ถึงความจริงจังในการปฏิรูปประเทศของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง หลังจากที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาซึ่งเป็นกลุ่มคลังสมองของรัฐบาลจีนได้ออกมาแนะเมื่อเดือนก่อนว่ามี 8 เรื่องสำคัญที่ควรปฏิรูป ได้แก่ การเงิน ภาษี ที่ดิน สินทรัพย์ของรัฐ สวัสดิการสังคม นวัตกรรม การลงทุนจากต่างชาติ และธรรมาภิบาล แหล่งข่าวหลายรายระบุว่า บรรดากลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอิทธิพล รวมไปถึงฝ่ายเอียงซ้ายหรืออนุรักษ์นิยม รัฐบาลท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และธนาคารของรัฐ ไม่เห็นด้วยกับแผนปฏิรูปในบางเรื่อง เช่น การปล่อยอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกลไกตลาด การอนุญาตให้เปิดธนาคารเอกชน และการยกระดับเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นเขตการค้าเสรี ทั้งนี้ การปฏิรูปเศรษฐกิจจะเป็นหัวข้อหลักในการประชุม 205 สมาชิกคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีสำนักข่าวเพียงไม่กี่แห่งที่ได้รายงานข่าวระหว่างมีการประชุม แต่โดยปกติแล้ว สำนักข่าวทางการซินหัวจะรายงานข่าวด่วนในวันสุดท้ายของการประชุม


นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ พร้อมด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และสหภาพยุโรป เตรียมเปิดการเจรจากับนายโมฮัมเหม็ด จาวัต ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ถึงขนาดและผลิตผลที่ได้จากโครงการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมของอิหร่าน ซึ่งสามารถจะนำไปใช้กับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า หรืออาจไปใช้ในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ก็ได้ ทั้งนี้ อิหร่านได้ประกาศเจตนารมณ์มาโดยตลอดว่า ไม่เคยคิดจะสร้างอาวุธนิวเคลียร์ และเจตนารมณ์ของโครงการนิวเคลียร์อิหร่านนั้นนอกจากจะผลิตกระแสไฟฟ้าให้ประชาชนแล้ว ก็ยังไปใช้ในด้านการแพทย์และการวิจัยเท่านั้น แต่ด้านสหรัฐและมหาอำนาจในทวีปยุโรปทั้งหลายไม่ไว้วางใจ เพราะอิหร่านสามารถหันไปผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ในทันทีที่ต้องการ ก่อนหน้านี้ ประเทศตะวันตกสงสัยว่า อิหร่านสกัดแร่ยูเรเนียมเพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์ แต่อิหร่านยืนกรานเอาไปไช้เพื่อผลิตไฟฟ้า ไม่ใช่อาวุธนิวเคลียร์ แต่ไม่เคยอนุญาตให้ยูเอ็นตรวจสอบแบบล้วงลึก โดยสหรัฐยื่นข้อเสนอต่ออิหร่านว่า จะยอมผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน เพื่อแลกกับการที่อิหร่านยอมให้คณะตรวจสอบของยูเอ็นเข้าไปตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้อย่างทะลุทะลวง โดยประธานาธิบดีบารัก โอบามา เคยกล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านโดยรวมจะยังคงอยู่ แต่จะผ่อนคลายบางส่วน หากอิหร่านยอมทำตามเงื่อนไขนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น