ในจำนวนนี้มีภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงในสาขาต่างๆ มากที่สุดก็คือ
La
La Land
ถูกเสนอชื่อเข้าชิงถึง 14 สาขารางวัล
เทียบเท่าปีของ Titanic และ All About Eve รองลงมาคือ Arrival และ Moonlight ได้เข้าชิงเท่ากันคือ 8 สาขารางวัล รองลงไปอีก Hacksaw Ridge , Lion และ Manchester
by the Sea เข้าชิงเท่ากันคือ 6 สาขารางวัล
นอกนั้นก็ลดหลั่นกันลงไป ภาพยนตร์ที่เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนี้มีความโดดเด่นแตกต่างกันไป
แต่จุดร่วมของหนังที่ได้เข้าชิงสาขาหนังเยี่ยมในปีนี้เกือบทั้งหมดสร้างโดยมีฐานมาจากแรงบันดาลใจของผู้กำกับ
ภาวะกดดันของตัวละครหลัก และที่น่าตั้งข้อสังเกตก็คือปีนี้หนังเข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมทั้ง
9 เรื่อง เป็นหนังฟอร์มเล็ก หรือหนังอิสระเกือบทั้งหมด ไม่มีหนังใหญ่ (Box
Office) แบบ
Avatar หรือ Inception เข้าชิงในปีนี้เลย โดยหนังที่ใช้ทุนสร้างสูงสุดคือ Arrival
ด้วยงบราว 47 ล้านเหรียญ และต่ำสุดคือ
Moonlight ด้วยงบราว 5 ล้านเหรียญ ดีงามเกือบทุกเรื่องที่เข้าชิง
และบทที่เรียกว่ายอดเยี่ยมไม่แพ้กัน ในบรรดาหนังที่เข้าชิงในปีนี้ที่โดดเด่นด้านการแสดงมากจริงๆ
ก็คือ Casey Affleck จาก Manchester by the Sea กวาดมาแทบจะทุกเวทีแบบนอนมา อีกคนที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ Denzel
Washington กับบททีทรงพลังมาก แม้จะไม่ใช่ตัวเต็ง ส่วนฝ่ายหญิงไม่มีใครโดดเด่นแบบนอนมาหรือฉายเดี่ยว
เพราะมีหลายคนได้จากหลากหลายเวทีเกลี่ยๆ กันไป ระหว่าง Emma Stone จาก La La Land ,Natalie Portman จาก Jackie และ Isabelle Huppert จาก Elle แต่ 2 รายหลังไม่ได้เข้าชิงในสาขาหนังเยี่ยม ในปีนี้จะเป็นอีกปีหนึ่งที่ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมออสการ์
ในสาขาภาพยนตร์และผู้กำกับอาจจะไม่ใช่เป็นเรื่องเดียวกันก็เป็นได้
เพราะสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเป็นการแย่งชิงกันของ 3 ตัวเต็งผู้กำกับก็คือ
Damien Chazelle จาก La La Land, Barry Jenkins จาก Moonlight และ Kenneth Lonergan จาก Manchester by the Sea และอีก 2 คนที่เหลืออย่าง Denis Villeneuve จาก Arrival
และ Mel Gibson จาก Hacksaw Ridge ชื่อชั้นและฝีมือก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จึงเป็นอีกปีหนึ่งที่การตัดสินรางวัลออสการ์ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมดูจะตัดสินยากอีกปีหนึ่ง
เพราะไม่รู้ว่าผลจะออกมาแบบ Landslide คือ La La Land
กวาดรางวัลใหญ่ไปเกือบหมด เหมือนปี 1939 Gone
with the Wind (เข้าชิง 13 ได้ 8 รางวัล),ปี 1953 From Here to Eternity (เข้าชิง 13
ได้ 8 เท่ากัน) หรือผลจะออกมาแบบพลิกล็อคถล่มทลายแบบปี 2001 ของ
Moulin Rouge หรือไม่ (เข้าชิง 8 ได้ 2
รางวัล จากสาขาออกแบบงานสร้างและเครื่องแต่งกายเท่านั้น)
ภาพยนตร์ที่เป็นม้ามืดอาจจะมาวิน กวาดรางวัลในสาขาใหญ่ 5 สาขาไปครองมากกว่า
ด้านรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม เรื่อง Hell or High Water กับ Manchester by the Sea แย่งชิงรางวัลกันมาจากสถาบันหลัก
ในขณะที่บทภาพยนตร์ดัดแปลงดูเหมือน Arrival กวาดรางวัลมาจากหลายสถาบันแล้ว
อาจมี Moonlight เป็นตัวสอดแทรก แต่โดยส่วนตัว ผู้เขียนชอบอยู่ 5 เรื่องก็คือ Arrival ,La La Land ,Lion, Manchester by the Sea และ Moonlight แต่ตัวเต็งจริงๆ ของสาขารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
เท่าที่ประมวลดูจากสถาบันต่างๆ ที่มอบรางวัลไปบ้างแล้วเกือบทุกสำนัก เทไปที่ 2
ตัวเต็งคือ La La Land กับ Moonlight จึงขอโฟกัสอยู่แค่เพียง 2 เรื่องนี้เท่านั้น
มิใช่ว่าเรื่องอื่นจะไม่ดี หรือไม่มีสิทธิ์ได้รางวัล แต่โดยองค์รวมและความเข้มข้นของการเดินเรื่อง
และประเด็นในหนัง ผู้เขียนขอยกให้ 2 เรื่องนี้เป็นคู่ชิงที่แท้จริงในโค้งสุดท้าย
สำหรับ La La Land นั้น ทั้งตอนดู trailer และตัวเต็มของภาพยนตร์ให้อรรถรสในแบบที่เคยดูเรื่อง
Dreamgirls (2006) ผสมกับ Notebook
(2004) และ All That Jazz (1979) มันได้บรรยากาศยุค
60’s-70’s บรรยากาศอบอวลละมุนไปด้วยเสียงเพลงแสนไพเราะ จริงๆหนังพูดเรื่องความมุ่งมั่นที่จะแสวงหาความก้าวหน้า
ความฝัน อนาคตของผู้คนอย่างซีเรียสแต่พออยู่ในบรรยากาศของเสียงเพลงแล้วมันเลยซอฟท์ลงและสร้างแรงบันดาลใจให้กับมนุษย์ผู้มีฝันทุกคน
ส่วน Moonlight เป็นอีกรสชาดนึง
ที่ค่อนข้างสะเทือนใจไปทีละน้อย จากการค่อยๆ เล่า ล้วงลึกประเด็นของหนัง ค่อยๆ
เปิดประเด็นทีละนิด ทีมนักแสดงที่เล่นดี จนเราเชื่อ
อารมณ์ของหนังดูคล้ายตอนที่ผู้เขียนเคยได้รับจากการชม ภ.เรื่อง Farewell My Concubine (หนังของเฉินข่ายเก๋อ
ได้รับรางวัลออสการ์สาขาต่างประเทศในปี 1993 ด้วย) แต่นี่เป็นหนังที่สะท้อนสังคมของคนผิวดำ
ในสังคมของคนผิวขาวที่เหยียดผิวและเหยียดเพศไปพร้อมๆ กัน และแต่โดยรวมยังคงยกให้ 2
เรื่องนี้เบียดเข้าวินได้ ในอัตรา 60 : 40 คือน้ำหนักเทไปให้
La La Land เหนือกว่า
Moonlight นิดๆ
ส่วนตัวสอดแทรกที่อาจกลายเป็นม้ามืดที่จะเข้ามาเบียดคว้าชัยไป ก็อาจเป็น Manchester
by the Sea กล่าวโดยสรุปเชียร์
La La Land กับ Moonlight เรื่องใดได้ก็ไม่ถือว่าพลิกความคาดหมาย
Best Picture : Nominations 9 choice
4.
“Manchester
by the Sea” (ROADSIDE
ATTRACTIONS/AMAZON STUDIOS)
Lauren Beck, Matt Damon, Chris Moore, Kimberly Steward, Kevin J. Walsh
Lauren Beck, Matt Damon, Chris Moore, Kimberly Steward, Kevin J. Walsh
5.
“Hidden
Figures” (20TH CENTURY FOX)
Peter Chernin, Donna Gigliotti, Theodore Melfi, Jenno Topping, Pharrell Williams
Peter Chernin, Donna Gigliotti, Theodore Melfi, Jenno Topping, Pharrell Williams
7.
“Hacksaw
Ridge” (LIONSGATE)
Terry Benedict, Paul Currie, Bruce Davey, William D. Johnson, Bill Mechanic, Brian Oliver, David Permut, Tyler Thompson
Terry Benedict, Paul Currie, Bruce Davey, William D. Johnson, Bill Mechanic, Brian Oliver, David Permut, Tyler Thompson
Best
Direction : Nominations 5 choice
- Damien Chazelle – “La La Land“
- Barry Jenkins – “Moonlight“
- Denis Villeneuve – “Arrival“
- Kenneth Lonergan – “Manchester by the Sea“
- Mel Gibson – “Hacksaw Ridge“
Best
Original Screenplay : Nomination 5 choice
- “Manchester by the Sea” – Kenneth Lonergan
- “La La Land” –
Damien Chazelle
- “Hell or High
Water” – Taylor Sheridan
- “20th Century Women” – Mike Mills
- “The Lobster” – Efthimis Filippou, Yorgos
Lanthimos
Best
Adapted Screenplay : Nomination 5 choice
- “Moonlight” –
Barry Jenkins, Tarell McCraney
- “Arrival” – Eric Heisserer
- “Lion”
– Luke Davies
- “Hidden Figures”
– Allison Schroeder
- “Fences” – August Wilson
La
La Land นครดารา
ดินแดนบรรเจิดฝัน อัศจรรย์แห่งเสียงเพลง
นักแสดงสาวผู้มุ่งมั่นกับนักดนตรีแจ๊สหนุ่มผู้ทุ่มเท
พวกเขาพบรักกันที่ลอสแองเจลิส ดินแดนแห่งนักฝัน
ท่ว่าความสำเร็จในชีวิตอาจไม่ใช่เส้นทางเดียวกับความสมหวังในรักเสมอไป...พล็อตข้างต้นดูเผินๆ
คงเรียบง่าย...เกินไป ถึงขั้นอาจถูกจัดว่าโคตรเชย แต่ในขณะเดียวกัน คงไม่เว่อร์ไป
หากจะบอกว่า หนังหวานๆ พล็อต (เหมือนจะ) เลี่ยน และตกยุคแบบ La La Land นี่แหละ ที่โกยคำชื่นชมแต่ยัง ได้ใจ นักวิจารณ์แทบทุกสำนัก
ที่ออกมาอวยกันแบบไม่มีเม้มว่า ในสายตาคอหนังยุคใหม่ หนังเพลงสีสดสด พล็อตซาบซึ้ง
และฉากน่าทึ่งตระการตาเช่นนี้ –หนังที่เคยถูกผลิตออกมาอย่างคึกคักในอดีตแต่ในปัจจุบันนี้แทบไม่มีอีกแล้ว
–เป็นของหายาก ประหนึ่งโอเอซิสกลางทะเลทราย ที่ท่วมท้นไปด้วยหนังแอ็คชั่นที่กระหน่ำตัดต่อรัวระยิบ
และแฟรนส์ไชส์หนังซุปเปอร์ฮีโร่ CG อลังการ
“ถ้าคุณไม่ใช่คนที่ชอบปล่อยใจไปกับเสียงเพลงและการเต้นรำ นี่คงไม่ใช่หนังสำหรับคุณ
“Yahoo.com” ว่าไว้
แต่หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ที่มีดนตรีในหัวใจ และหวั่นไหวกับเรื่องราวชวนซึ้งของนักฝัน -เดเมี่ยน ชาเชลล์
ผู้กำกับหนุ่มที่เคยทำให้คุณตะลึงกับบทเรียนสุดโหดเลือดสาดของมือกลองแจ๊ชช์มาแล้วใน
Whiplash มาแล้ว ขอเชิญคุณมาเยือน นครดารา
ผลงานเรื่องล่าสุดที่ไม่เพียงเป็นหนึ่งในตัวเต็ง หลายสาขาใหญ่ในออสการ์ปีนี้
แต่ยังได้รับนิยามอันสมบูรณ์แบบว่า “นี่ไม่เพียงเป็นจดหมายรักต่อภาพยนตร์ ต่อหนังเพลง ต่อความโรแมนติก
และต่อนครลอสแองเจลิส แต่ยังเป็นบทสรรเสริญแด่ผู้คนที่มีฝัน”
ฝันให้ไกล
แล้วไปให้ถึง
“ผมจำได้ตอนที่ดู The Umbrellas of Cherbourg ครั้งแรก” เดเมี่ยน ชาเชลล์
หวนนึกถึงความหลัง “แน่ละ
ผมดูมันจากวีดีโอเทป VHS ห่วยๆ แต่นั่นไม่สำคัญเลย
ผมไม่เคยดูหนังเพลงแบบนั้นมาก่อน หนังเพลงรูปแบบเลิศหรูอลังการในสไตล์ MGM แต่มันกล่าวถึงทั้งด้านดีและด้านร้าย
พยายามสะท้อนด้านที่ค่อนข้างสมจริงของชีวิต และเหตุผลว่าทำไมสิ่งต่างๆ
ในชีวิตจึงไม่ลงตัว มีบางสิ่งเกี่ยวกับมันที่แสนจะงดงามดังบทกวี
มันจึงยังคงเป็นหนังเรื่องโปรดของผม และ La La Land คงมีจุดเริ่มต้นมาจากตรงนั้นครับ” สำหรับชาเชลล์ผู้มีความทรงจำที่งดงามกับหนังเพลง แถมยังรักดนตรีมากไม่แพ้การทำหนัง -หนังเพลงที่รวมเอาเสน่ห์ของภาพยนตร์และเพลงมาเข้าไว้ด้วยกัน
จึงเป็นหนังในแบบที่เขาอยากทำมาโดยตลอด
และมันก็เริ่มมาตั้งแต่ก่อนที่เขาจะเรียนจบซะอีก นั่นคือ Guy and Madeline
on a Park Bench (2009) หนังเพลงดราม่า
ว่าด้วยหนุ่มนักทรัมเป็ตแจ๊ซซ์กับสาวขี้อาย เรื่องราวชีวิตกับความรักของทั้งคู่ –หนังเล็กๆ ทุนต่ำ ถ่ายทำด้วยฟิล์มขาว-ดำ 16 มม. เพราะเดิมทีชาเชลล์ตั้งใจทำเป็นโปรเจ็คท์วิทยานิพนธ์ก่อนจบการศึกษาจาก
Harvard Film School ขณะที่ Whiplash (2014) ผลงานเรื่องต่อมาที่แม้จะไม่ใช่หนังเพลง
แต่เรื่องราวว่าด้วยมือกลองแจ๊ซซ์หนุ่มดาวรุ่งที่เจอครูฝึกโคตรโหด
ก็ยังคงเกี่ยวข้องกับดนตรีและนักดนตรี อย่างไรก็ดี
ความฝันในการจะได้ทำหนังเพลงที่อลังการจัดเต็มจริงๆ ก็ยังคงคุกรุ่นในใจเขามาตลอด มีบางสิ่งเกี่ยวกับหนังเพลงที่มีเพียงภาพยนตร์เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้
ภาพยนตร์เปรียบดังแดนฝัน ภาพยตร์ในฐานะภาษาแห่งความฝัน
ภาพยนตร์ในฐานะการแสดงออกถึงโลกที่เราเข้าถึงได้ด้วยเสียงเพลง
อารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นได้หักล้างกฏเกณฑ์แห่งความจริง
มีบางสิ่งที่งดงามและเรียบง่ายอย่างแท้จริงเกี่ยวกับมันครับ” ชาเชลล์พรรณนา
“แนวคิดในการจัดวางเพลงลงในหนังคือสิ่งที่เป็นส่วนตัวสำหรับผมมาตลอด
มันเป็นสิ่งที่แสนพิเศษสำหรับผม แต่งานนี้คือต้องใช้เวลานานมากกว่าจะได้ปรากฏออกมาหน้ากล้อง
ผมหมายถึงแนวคิดในการทำหนังเพลงฟอร์มใหญ่ ด้วยภาพมุมกว้าง และเต็มรูปแบบ”
ทว่าก็เช่นเดียวกับนักฝันทั้งหลาย
สิ่งหนึ่งที่ชาเชลล์ได้เรียนรู้ก็คือ ฝันนั้นใช่จะสำเร็จได้ง่ายดังใจนึก – เขาเขียนบท La La Land เสร็จตั้งแต่ปี 2010 แต่ด้วยความที่ (ตอนนั้น) ยังเป็นแค่ผู้กำกับหน้าใหม่ โนเนม
ที่ทำหนังอินดี้เล็กๆ มาแค่เรื่องเดียว แถมสตูดิโอยังไม่ค่อยสนใจลงทุนกับโปรเจ็คท์หนังเพลงร่วมสมัยออริจินัล
(ไม่ได้สร้างจากละครเพลงชื่อดัง) ซึ่งไม่มีฐานแฟนคลับหรือเพลงฮิตติดหู
แถมยังเป็นหนังเพลงแนวแจ๊ซซ์ ซึ่งถูกเรียกว่า “แนวหนังที่สูญพันธุ์” (extinct genre) –
เหล่านี้คือสิ่งที่ชาเชลล์ตระหนักดี ดังนั้น
เมื่อสองผู้อำนวยการสร้าง เฟร็ด เบอร์เกอร์ (Taking Chance) และจอร์แดน
โฮโรวิตซ์ (The Kids are All Right) วางแผนจะทำโปรเจ็คท์นี้กับ
Focus Features ด้วยทุนสร้างราว 1 ล้านเหรียญ
แต่ Focus กลับขอให้ปรับเปลี่ยนหลายจุดสำคัญในบทหนัง เช่น
เปลี่ยนตัวละครนำชายจากนักเปียโนแจ๊ซซ์เป็นนักดนตรีร็อค เปลี่ยนฉากเปิดเรื่องที่ดูซับซ้อน
และยกเลิกตอบจบที่ลงเอยแบบหวานปนขม ฯลฯ ชาเชลล์ซึ่ง
“รับไม่ได้” กับไอเดียพวกนั้น จึงขอรอไปก่อนดีกว่า อย่างไรก็ดี ภายหลังการมาถึงของ
Whisplash (2014) หนังที่เขาเขียนบทขึ้นภายหลังด้วยแนวคิดว่ามันมีคอนเซ็ปต์ที่ขายง่ายและเสี่ยงด้านการลงทุนที่น้อยกว่า
ซึ่งมันไปไกลกว่าเป้าหมายเบื้องต้นหลายเท่านัก ถึงขั้นคว้า 3 รางวัลออสการ์ (จากการเข้าชิง 5 สาขารวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม) แถมยังทำเงินถึง 49 ล้านเหรียญฯ
จากทุนสร้างเพียงแค่ 3.3 ล้านเหรียญฯ ส่งผลให้ชาเชลล์กลายเป็นผู้กำกับดาวรุ่งเนื้อหอมในทันใด
หลังรอมาร่วม 6 ปี
กระแสความสนใจและเงินทุนก็เป็นฝ่ายหลั่งไหลมาหาเขาซะเอง บริษัทผู้สร้างหนัง Summit
Entertainment และ Black Label Media พร้อมผู้อำนวยการสร้าง มาร์ค แพล็ตต์ แห่ง Marc Platt Productions สนใจมาร่วมลงทุนกันใน La La Land แถม แพทริกท์
วอชสเบอร์เกอร์ จากบริษัทผู้สร้าง Liongates ที่เคยดูแลแฟรนส์ไชส์ฮิตอย่าง
Step Up ยังช่วยผลักดันให้ชาเชลล์ได้ทุนสร้างเพิ่มขึ้นอีกด้วย
“หนังเพลงดีๆ ไม่ควรราคาถูก” ว้าว! “ราว 20 ล้านกว่าๆ ครับ”
ชาเชลล์เผยตัวเลขทุนสร้างคร่าวๆ ของ La La Land กับผู้สื่อข่าว
L.A. Times
(คัดลอกจากสกู๊ป cover story โดยคุณสุภางค์
ศรีเสริมเกียรติ,นิตยสาร Starpics ฉบับ 872,ธันวาคม 2016)
รีวิว:
La
La Land นครดารา | โลกฝันที่ซ้อนทับกับโลกจริง
ถือเป็นหนังที่มีผู้ชมกลุ่มนักวิจารณ์และคอหนังรางวัลต่างเฝ้ารอคอย
มากพอกับการที่มันเป็นหนังมีนักแสดงนำระดับแม่เหล็กดึงดูดผู้ชมให้หันมาสนใจ
แต่ด้วยความที่มันเป็นหนังสไตล์มิวสิคัลที่เลือกใช้ดนตรีแจ๊ส
นั่นอาจเป็นกำแพงหนาประมาณนึงเช่นกันที่ทำให้คนไทยบางกลุ่มเลือกจะไม่เข้าไปชมมัน
หนังที่ผสานทุกสิ่งไว้ในหนังเรื่องเดียว
แม้เราจะนิยามว่า ‘La La Land’ เป็นหนังเพลง
แต่ถ้าลองพิจารณาจากสิ่งที่ได้เห็นในหนังแล้ว ก็จะพบว่า Damien
Chazelle (ผู้กำกับฯ
ที่สร้างชื่อมาจาก ‘Whiplash’) เลือกที่จะหยิบชิ้นเล็กชิ้นน้อยจากหนังในตำนานหลายๆ เรื่อง
จับมาคลุกเคล้าให้มันผสานและจัดวางให้อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน
ถ้าดูเฉพาะฉากและสิ่งของในหนัง
มันมีทั้งความสมัยใหม่และสมัยเก่าที่ปะปนอยู่ด้วยกัน
บ้านเรือนดูจะมีความเป็นสมัยเก่าอยู่มาก ผสานไปกับการใช้สีที่ค่อนข้างจะฉูดฉาด
ขณะเดียวกันก็มีของใช้หลายสิ่งที่เป็นสมัยปัจจุบัน
ไม่ว่าจะรถยนต์พริอุสที่นางเอกใช้ แม้แต่ไอโฟนหน้าจอแตกๆ นั่นก็เป็นของสมัยนี้จริงๆ
มันดูขัดแย้งกันแต่มันกลับอยู่ร่วมกันได้อย่างเก๋ๆ เลยแหละ
เป็นหนังเพลงที่หยิบฉากแห่งความทรงจำจากหนังเพลงยุคเก่าๆ
อย่างพวก Singin’ in the Rain, The
Umbrellas of Cherbourg, Top Hat, An
American in Paris และ Sweet
Charity
มาใส่ไว้ในหนังเพลงยุคใหม่ ผสานเคล้าเข้ากันได้อย่างกลมกลืน
ฉากส่วนใหญ่ใช้วิธีการถ่ายในแบบลองเทค
ทุกอย่างจึงต้องใช้การเล่นจริงและเล่นสดที่ซ้อมกันมาอย่างดี
หนังต้อนรับเราสู่โลกของความฝันในแบบ ‘La La Land’ ตั้งแต่ฉากเริ่มต้นเรื่องกันเลยทีเดียว
ดูแล้วต้องทึ่งว่าเขาเซ็ตและถ่ายกันได้อย่างไร และการดำเนินเรื่องนั้นไหลลื่นอย่างมากจนหาที่จะติมิได้เลย
นักแสดงทุกคนต่างเล่นดนตรีเองสดๆ
นักแสดงนำต่างก็ร้องและเล่นเปียโนสดๆ (ได้รับการยืนยันมาแล้วจากนักดนตรีตัวจริง)
การจัดแสงก็ทำได้อย่างยอดเยี่ยม
เล่นกับแสงสีที่แต่งแต้มให้กลายเป็นหนังที่มีสีสันฉูดฉาดแต่เอาอยู่ทุกอณู
การถ่ายทำที่เล่นลองเทคตลอดเวลาทำให้ยิ่งน่าทึ่งไปกับงานเบื้องหลัง
เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ฉาก และมุมกล้อง ต่างทำหน้าที่ร่วมกันได้อย่างไร้ที่ติ จนทำให้นี่คือหนังเพลงในดวงใจไปเรียบร้อยแล้ว
ยุคเปลี่ยนผ่านของเพลงแจ๊ส
ในหนังโรแมนติกมิวสิคัลอย่าง ‘ลาลาแลนด์’ นั้นใส่เพลงแจ๊สไปแทบจะเต็มเรื่อง
และในนั้นบอกเล่าถึงความอนิจจังของสิ่งที่เรียกว่า “แจ๊ส”
ไว้อย่างมีประเด็น
วิถีดั้งเดิมที่ไม่เป็นที่นิยมและกำลังจะสูญสลายไป
หนังกำลังบอกหนทางให้เราเลือก จะเลือกตั้งหน้าตั้งตาอนุรักษ์มันไว้ไม่เปลี่ยนแปลง
หรือปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเพื่อให้มันยังคงอยู่
ก็อาจจะเหมือนกับหลายๆ
สิ่งบนโลกนี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่มีสิ่งใดยั่งยืน
มีแต่ว่าจะเกิดมาแล้วอยู่ได้นานแค่ไหนก็เท่านั้น ถ้าอยากจะอยู่นานๆ
ก็อาจต้องยอมปรับเปลี่ยนตัวเองไปบ้าง หรือถ้าอยากจะอยู่โดยคิดว่าตนนั้นดีแล้ว
ก็อาจเดิมพันด้วยการเป็นตำนานที่คนจดจำ หรือกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนลืมเลือน
โลกฝันที่ซ้อนทับกับโลกจริง
เชื่อไหมว่า
ผมเฝ้าฟังเพลงที่ประกอบอยู่ในหนังซ้ำๆ แล้วน้ำตาก็ไหลซึมออกมา
นึกภาพในหนังแล้วก็เหมือนพบตัวเองเห็นภาพเดิมอีกครั้ง
หนังเพลงมันย่อมไม่ได้มีเนื้อเรื่องมากมายซับซ้อนนัก แต่เรื่องนี้มันทำให้ภาพฝันซ้อนทับกับความรู้สึก
“จริง” ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
Emma Stone และ Ryan Gosling ทั้งสองต่างทำหน้าที่ได้ดีอย่างเหลือล้นที่จะทำให้ผู้ชมมีทั้งรอยยิ้มในช่วงเวลาที่เขาหรือเธอมีความสุข
ทำให้ผู้ชมเสียน้ำตาในช่วงเวลาที่พวกเขาเจ็บปวด ทุกอย่างผ่านออกมาทางสีหน้า สายตา และน้ำเสียงที่ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาในเพลง
คนสองคนที่มีความฝัน
คนหนึ่งฝันอยากจะเจิดจ้าในงานการแสดง อีกคนก็เฝ้าฝันจะส่องแสงในฐานะมือเปียโนแจ๊ส
พวกเขาพยายามเหลือเกินที่จะไล่ตามความฝัน พลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนทดท้อ
แต่ต่างก็ให้กำลังใจแก่กัน
โลกในหนังก็เหมือนโลกแห่งฝัน
ที่สดใสสวยงามตามที่มันยังมีความหวัง ภาพในหนังพาเราล่องลอยอยู่ใน ‘นครดารา’
ที่ดวงดาวพร่างพรายอิ่มเอมเปี่ยมสุขยิ้มละไม แต่นานวันเข้า
ความฝันที่ยิ่งเดินก็ยิ่งเหมือนยังไกลก็ยิ่งทำให้หม่นเศร้าเพราะไม่อาจจะเป็นไปได้อย่างใจหวังและต้องการ
โลกแห่งความเป็นจริง แต่ละคนต่างก็มีฝัน
และมุ่งมั่นจะทำให้เป็นจริง ล้มลุกคลุกคลานแต่ไม่เคยเป็นจริงก็หลายคน
ทดท้อจนล้มเลิกกลางคันก็มากอยู่
หลายคนก็หันเหไปทำอย่างอื่นเพื่อชีวิตที่ต้องอยู่รอด ที่สำคัญกว่านั้น คือ
คนที่สำเร็จได้ดังฝันไม่มีใครไม่เคยล้มไม่เคยทดท้อมาก่อน…
(เครดิตอ้างอิง :
บทรีวิว/วิจารณ์ จาก เว็บไซต์ PatSonic.com)
Moonlight : Black Boys Who Look
Blue คนผิวสีภายใต้แสงจันทร์
Moonlight เล่าถึงการเติบโตสามช่วงวัย
(เด็ก / วัยรุ่น / ผู้ใหญ่) ของชายผิวสีที่ยากจน
เติบโตมาในย่านเสื่อมโทรมที่สุดในไมอามี่ ไม่มีพ่อเป็น Role Model มีแต่แม่ที่เป็นโสเภณีขี้ยา ไม่ค่อยมีเพื่อนคบ แถมยังถูกเพื่อน ๆ
ที่โรงเรียนรังแกไม่เว้นแต่วัน เพราะมีแนวโน้มว่าเป็นตุ๊ดเป็นเกย์ Moonlight แบ่งออกเป็นสามพาร์ท
พาคนดูไปสำรวจการเติบโตและทำความรู้จักกับความรักและการเลือกทางเดินชีวิตของเด็กชายผิวสีคนหนึ่งทั้งสามช่วงวัยตั้งแต่เด็กจนโต
แต่ละพาร์ทตั้งชื่อตามชื่อต่าง ๆ ที่ตัวเอกถูกคนอื่นเรียก
พ่อค้ายารายใหญ่แห่งไมอามี่ Juan (Mahershala Ali จาก The Hunger Games: Mockingjay) ช่วย Little หรือ Chiron (Alex R. Hibbert) จากเพื่อน
ๆ ที่ชอบ bully เขาไว้ ตอน Juan พา Little
ไปส่งที่บ้าน เจอ Paula ผู้เป็นแม่ (Naomie Harris จาก Spectre)
ก็ยิ่งเห็นใจเด็ก เขากับ Teresa แฟนสาวของเขา
(Janelle Monáe จาก Hidden Figures)
จึงเปรียบเสมือนเป็นพ่อและแม่คนที่สองของ Little ไปโดยปริยาย ที่โรงเรียน Little มีเพื่อนคนเดียวคือ Kevin
(Jaden Piner) ผู้สอนให้เขาต่อสู้เวลาโดนรังแก
Chiron ในวัยรุ่น (Ashton Sanders) เริ่มมีความสับสนเรื่องเพศของเขาชัดเจนขึ้นเมื่อเพื่อนคนเดียวของเขา Kevin
(Jharrel Jerome) ไปมีความสัมพันธ์กับผู้หญิง
และ Chiron เองก็ถูกเพื่อนในโรงเรียนกลั่นแกล้งรุนแรงขึ้นเรื่อย
ๆ แม่ของเขาก็ติดยาหนักขึ้น
Chiron ในวัยผู้ใหญ่ ใช้ชื่อว่า
Black (Trevante Rhodes) รูปร่างสูงใหญ่กำยำ
ใส่ฟันทอง และเป็นพ่อค้าขายยาในแอตแลนต้า แทบไม่เหลือเค้า Chiron หรือ Little คนเดิมนอกจากแววตา
เขากลับไปเยี่ยมแม่ของเขาที่ไมอามี่ และแวะพบ Kevin (André Holland) ซึ่งปัจจุบันเป็นเชฟร้านอาหาร
และเป็นพ่อม่ายลูกติด
จะเห็นได้ว่าเรื่องราวในหนัง Moonlight ไม่มีอะไรหวือหวามากนัก ดูไม่ยากแต่ก็ไม่ได้บันเทิง พูดง่าย ๆ
คือพล็อตอาจไม่เหมือนหนังตลาดดูสนุกทั่วไปที่คนดูคุ้นเคย
เพราะมันเล่าเหมือนเล่าชีวิตสุดแสนดราม่าของเกย์ผิวสีคนนึงจริง ๆ
ด้วยงานภาพที่สวยงามน่าค้นหาและสไตล์การเล่าที่ไม่ธรรมดา
หนังตั้งชื่อแต่ละพาร์ทตามชื่อต่าง ๆ
ของตัวเอก โดยแต่ละชื่อล้วนแต่เป็นชื่อที่คนอื่น…คนที่มีความสำคัญไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งในชีวิต…เรียกเขา กล่าวคือ Little ก็เป็นชื่อที่พวกเกเรที่โรงเรียนเรียกเขา,
Chiron ก็เป็นชื่อที่แม่ตั้งให้เขา, Black ก็เป็นชื่อที่
Kevin เพื่อนคนเดียวในชีวิตของเขาตั้งให้เขา
ชายหาดและทะเลที่ไมอามี่เป็นสถานที่ที่เป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตของ
Little
/ Chiron / Black กล่าวคือ ในวัยเด็ก Juan ก็สอนให้
Little ว่ายน้ำเป็นที่นี่ พอวัยรุ่น Kevin ก็จูบเขาครั้งแรกที่นี่
จริง
ๆ แล้ว ตัวละคร Kevin เป็นตัวละครที่แสดงถึงความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพศและการแสดงออกทางเพศที่สะท้อนถึงการพยายามปกปิดสถานะทางเพศที่แท้จริงของเขาเอง
กล่าวคือ ช่วงวัยเด็ก หนังก็จะมีซีนที่ Kevin วัดขนาดอวัยวะเพศของเขากับเพื่อนชายคนอื่นในห้องน้ำโรงเรียน
พอพาร์ทวัยรุ่น Kevin ก็มาคุยโวว่าเขาโดนครูทำโทษเพราะไปมีอะไรกับเด็กผู้หญิงในโรงเรียน
และยังเป็นคนที่สอน Chiron เรื่องเซ็กส์ แล้วสุดท้ายในพาร์ทผู้ใหญ่
เขามีลูกเร็ว แต่งงานเร็ว และแยกกันอยู่ตั้งแต่ลูกยังไม่ทันโต
เพราะเข้ากับศรีภรรยาไม่ได้
ความสัมพันธ์ระหว่าง
Kevin กับ Chiron
อาจจะลึกซึ้ง แต่ด้วยความรู้สึกบางอย่างนั้นแสดงออกไม่ได้
ส่วนใหญ่เราจึงจะได้เห็นแค่ Kevin เป็นครูสอน Chiron เรื่อง “การพยายามทำให้คนอื่นยอมรับ” หรือ “การพยายามเป็นส่วนหนึ่งในสังคม”
แต่น่าเศร้า… การเป็นที่ยอมรับในสังคมแบบนี้หมายความว่าพวกเขาไม่สามารถเป็นตัวเองได้
โดยเฉพาะ homosexuality หรือการเป็นเกย์หรือเป็นตุ๊ดไม่เป็นที่ยอมรับ
เพื่อนจะล้อว่าอ่อนแอ จะรังแกที่เขาแปลกแยก
และน่าเศร้ายิ่งกว่าที่
“ความรุนแรง” ดูจะเป็นคำตอบเดียวที่จะอยู่รอดและได้รับการยอมรับในสังคมนี้
แม้แต่ครูผู้หญิงยังบอกเลยว่า “ถ้าจะให้คนอื่นเลิกรังแก
ต้องแสดงให้เขาเชื่อว่าเราเป็น a man แล้วจริง ๆ เราต้องสู้ ต้องตอบโต้” เหมือนจะสื่อประมาณว่า ถ้า you
ไม่ cruel แปลว่า you ไม่ใช่
a man
Kevin ต้องยอมใช้ความรุนแรง
ต่อยตีคนอื่น เพื่อให้เพื่อนผู้ชายยอมรับ ทั้งที่เขาก็ไม่โอเค พอโตมาอีก Kevin
ก็ยังมีความพยายามจะทำตาม Social Norms หลงคิดว่า
การแต่งงาน มีลูก และมีงานทำ คือชีวิตที่ Happy Ending ทั้งที่ลึก
ๆ เขาก็รู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่ใช่ชีวิตที่เขาต้องการ
Chiron หรือ Black เองก็เช่นกัน เขาเติบโตมาพร้อมกับบาดแผลมากมาย ทั้งภายในและภายนอก
ทั้งมองเห็นได้และไม่อาจมองเห็น เพื่อให้ไม่เกิดบาดแผลซ้ำ ๆ
เขาลงทุนเปลี่ยนแปลงตัวเองทุกอย่าง ฟิตหุ่นจนเป็น Mike Tyson ชนิดที่ไม่มีใครกล้าแหยม และค้ายาเจริญตามรอย Juan ผู้เป็นเสมือนพ่อบุญธรรมของเขา โดยเห็นว่า Juan มีเงิน มีอำนาจ ใคร ๆ ก็ต้องมาง้อซื้อยาจากเขา
ซึ่งเอาจริง
ๆ ตอนที่ Chiron หรือ Black
ยังเป็นแค่เจ้า Little วัยเก้าขวบ Juan
ไม่เคยสอนเขาให้โตมาเป็นแบบเขา ตรงกันข้ามเขาสอนให้ Little เลือกทางเดินชีวิตของตัวเอง
อย่าให้ใครมาตัดสินแทนเราได้ว่าเราจะเป็นหรือไม่เป็นอะไร ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เพราะ Juan
ก็รู้สึกผิดอยู่ลึก ๆ ที่เป็นคนขายยาให้ Paula แม่ของ Little ทำให้ชีวิตครอบครัวของ Little ย่ำแย่อย่างทุกวันนี้
แต่สุดท้าย… อย่างที่เห็น ๆ กันอยู่
ด้วยสภาพแวดล้อมที่เขาเกิดและโตมา
มันไม่ง่ายเลยที่จะเป็นตัวเองแล้วจะอยู่รอดปลอดภัยในสังคม
มันไม่ง่ายเลยที่จะเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเองในเมื่อไม่ได้มีทางเดินที่สวยงามให้เลือกผ่านมากนัก
ที่นี่… เขาเป็นได้แค่ไม่กี่อย่าง… เป็นคนขายยาหรือคนซื้อยา… เป็นผู้ล่าหรือเป็นเหยื่อ…
เป็นคนทำร้ายหรือคนถูกทำร้าย
Moonlight ผลงานสร้างของบริษัท
A24 และ PLAN B ของพระเอกซูเปอร์สตาร์ Brad Pitt ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้เคยอำนวยการสร้างหนังคนผิวสีเรื่อง 12 Years a Slave จนคว้ารางวัลออสการ์
3 สาขามาแล้ว
เป็นหนังขวัญใจนักวิจารณ์ เข้าชิงและกวาดรางวัลมาแล้วหลายสำนัก
(นับ ๆ รวมแล้ว เยอะกว่า La La Land!) รวมถึงรางวัล
“ภาพยนตร์ดราม่ายอดเยี่ยม”
จากเวทีลูกโลกทองคำ อีกทั้งสร้างประวัติศาสตร์ครั้งแรกให้กับหนังคนผิวสี
(People of Color) โดยการเข้าชิงออสการ์ 8 สาขา รวมถึงสาขาสำคัญอย่างสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กำกับยอดเยี่ยม
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และนักแสดงสมทบชายหญิงยอดเยี่ยม
(เครดิตอ้างอิง : บทรีวิว/วิจารณ์จาก บล็อกคุณขวัญมณี www.kwanmanie.com)
วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย หยิกแกมหยอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น