วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2019 (อันดับที่ 10,9,8)

อันดับ 10 ตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในไทย ยังคงโตต่อเนื่อง แต่ปีนี้ยอดจำหน่ายในหลายๆ รุ่น และหลายๆ ยี่ห้อลดลง ตามสภาวะกำลังซื้อและเศรษฐกิจ รวมถึงยอดส่งออกที่ลดลงตามไปด้วย


ตัวอย่าง งาน Motor Expo 2019 อีเว้นต์ใหญ่ส่งท้ายปลายปี : เผยยอดจำหน่ายโดยรวมลดลง คาดสาเหตุจากหลายปัจจัย  งาน Motor Expo 2019 หรือ มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 36 ปิดฉากด้วยยอดขายรถรวมเฉียด 40,000 คัน รถเก๋งเล็กขายดี รถเอสยูวี รถหรู จักรยานยนต์ คึกคัก ผู้ชมทะลัก 1.5 ล้านคน เม็ดเงินหมุนเวียนกว่า 5 หมื่นล้าน
ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 36 เปิดเผยว่า “งานปีนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ด้วยแรงสนับสนุนจาก บริษัทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์เกี่ยวเนื่อง รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนผู้เข้าชมงาน และสื่อมวลชนทุกแขนง”
“ยอดขายรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ภายในงานรวม 44,740 คัน ลดลงจากปีก่อน 16.2% มีสาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้ง ปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น สภาวะเศรฐกิจตกต่ำ สงครามการค้า และปัจจัยภายในประเทศ เช่น การปรับขึ้นอัตราภาษีที่ดิน รวมถึงภาษีรถจักรยานยนต์อัตราใหม่คิดตามค่าการปล่อยแกสคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะเริ่มวันที่ 1 มกราคม 2563 ส่งผลให้ประชาชนใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ส่วนยอดผู้เข้าชมงาน ยังได้รับความสนใจจากประชาชนตามเป้าที่ตั้งไว้”
ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดมีดังต่อไปนี้




• ยอดขายรถยนต์จาก 34 ผู้ผลิต มีจำนวนทั้งสิ้น 37,489 คัน ลดลงจากปีก่อน 15.2% จากข้อมูลของผู้ร่วมกิจกรรม “ซื้อรถ...ชิงรถ” พบว่า รถยนต์ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมสูงสุด 6 อันดับแรก ได้แก่ HONDA, TOYOTA, MITSUBISHI, MAZDA, MG และ NISSAN
• ปีนี้รถเก๋งได้รับความสนใจสูงสุด มีสัดส่วนยอดขาย 45.5% มากกว่าปีก่อน (38.9%) แบ่งเป็นเก๋งซีดาน 29.2% แฮทช์แบค 12.6% และเก๋งประเภทอื่น 3.7% โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ HONDA CITY, NISSAN ALMERA, HONDA CIVIC, MAZDA 2 และ TOYOTA YARIS
• รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) มีสัดส่วน 33.4% ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย (34.3%) 5 อันดับแรก ได้แก่ MITSUBISHI PAJERO SPORT, MG ZS, MG HS, FORD EVEREST, และ TOYOTA FORTUNER
• รถกระบะมีสัดส่วน 14.5% ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย (17.2%) 5 อันดับแรก ได้แก่ ISUZU D-MAX, TOYOTA REVO, FORD RANGER, MITSUBISHI TRITON และ NISSAN NAVARA
• รถหรู มียอดขายรวม 4,181 คัน โดย 5 แบรนด์ ที่ได้รับความสนใจสูงสุด ได้แก่ BMW, MERCEDES-BENZ, VOLVO, PORSCHE และ AUDI
• รถจักรยานยนต์จาก 26 ผู้ผลิต ยอดขายรวม 7,251 คัน ลดลงจากเป้าที่ตั้งไว้เล็กน้อย จากข้อมูลของผู้ร่วมกิจกรรม “ซื้อมอเตอร์ไซด์...ชิงบิกไบค์” พบกว่า รถจักรยานยนต์ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ HONDA, YAMAHA, KAWASAKI, HARLEY-DAVIDSON และ GPX
• ราคาเฉลี่ยของรถที่ขายได้ในงาน 1,251,743 บาท และราคาเฉลี่ยของรถจักรยานยนต์ 265,860 บาท เงินหมุนเวียนภายในงานราว 50,000 ล้านบาท ผู้เข้าชมงานจำนวน 1,510,307 คน ใกล้เคียงปีก่อน (1,534,961)


• โตโยต้าชี้ปีนี้ยอดขายรถโตเท่าเดิม พิษศก.โลกกระทบส่งออกร่วง2%
เครดิตข้อมูลและภาพจาก เว็บ sanook.com, และมติชนออนไลน์

อันดับ 9 ตลาดโทรศัทพ์สมาร์ทโฟน ของไทยยังคงโตต่อเนื่องโดยมี OPPO แซงขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ด้านยอดขาย และจับตาผู้เล่นรายใหม่มาแรงอย่าง Realme 

สรุปยอดขายมือถือ Q3 ปี 2019 - realme พุ่งแรงแบบก้าวกระโดด Huawei ยังยิ้มไม่สนโดนแบน! สิ้นปี ค.ศ. 2019 มาทุกขณะ โดยที่ผ่านมาแบรนด์สมาร์ทโฟนทั้งแบรนด์น้อยแบรนด์ใหญ่ ต่างพากันแก่งแย่งส่วนแบ่งการตลาดกันแบบดุเดือดมาตลอดทั้งปีแบบไม่หยุดไม่หย่อน ซึ่งยืนยันได้จากตัวเลขบนทางเว็บไซต์ counterpointresearch.com ที่แสดงให้เห็นว่าช่วงไตรมาสที่ 3 ในปี ค.ศ. 2019 แต่ละแบรนด์ยังมีการเติบโตแบบต่อเนื่อง โดยเฉพาะ realme ที่พุ่งแรงจนน่ากลัว
ส่วนแบ่งการตลาด นับถึงแค่ไตรมาส 3/2019 3 แบรนด์หัวแถว Samsung, Huawei และ Apple ยังเกาะกลุ่มเป็น 3 ยักษ์ใหญ่ของวงการสมาร์ทโฟน และทั้ง 3 แบรนด์รวมกันมีการกินส่วนแบ่งการตลาดไปกว่าครึ่งหนึ่งของแบรนด์สมาร์ทโฟนที่เหลืออีกด้วย




-Samsung ยังคงกินส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนได้มากที่สุด และมีการเติบโตขึ้นจากไตรมาสที่ 3 เมื่อปีที่แล้วถึง 8.4% แน่นอนว่ายอดขายหลักของพวกเขาอยู่ที่ Samsung Galaxy Note 10 Series และ Samsung Galaxy A Series
-Huawei ยังอยู่ในอาการที่สมบูรณ์ มีส่วนแบ่งการตลาดที่โตขึ้นถึง 28.5% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ในปีที่แล้ว และตลาดในประเทศจีนพวกเขายังยึดไปกว่า 40% อีกด้วย เห็นทีการที่ Huawei โดนแบนจากประเทศสหรัฐฯ จะไม่ระแคะระคายกับการขายสมาร์ทโฟนของพวกเขาแต่อย่างใด และ
-Apple ดูทางจะแย่แต่ไม่ถึงกับเสียหายหนัก โดย iPhone ของ Apple มีการจัดส่งลดลง 4% และส่วนแบ่งการตลาดลดลงจากปีที่แล้วในไตรมาสเดียวกันถึง 11% อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเปิดตัว iPhone 11 Series น่าจะมากระตุ้นส่วนแบ่งการตลาดในไตรมาสที่ 4 ของพวกเขาได้อยู่ และต้องลุ้นกันว่าจะสามารถแย่งอันดับที่ 2 คืนมาจาก Huawei ได้หรือไม่ หลังจากต้นปี 2019 โดนแซงยาวมาถึงปัจจุบัน ส่วน
-Realme สร้างความฮือฮาได้มากทีเดียว เพราะพวกเขาเป็นแบรนด์ที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ขึ้นมารั้งอันดับที่ 7 ในการจัดอันดับส่วนแบ่งการตลาดไตรมาสที่ 3 ของปี 2019 ทั้งๆ ที่พวกเขาพึ่งกระโดดเข้าตลาดในช่วงปลายปี 2018 นี้เอง โดยการเติบโตที่รวดเร็วนี้้เป็นเพราะยอดขายที่ดีเป็นเทน้ำเทท่าในประเทศอินเดีย และอินโดนิเซียนั้นเอง และในกลุ่ม



-BKK Group (OPPO, Vivo, Realme, และ OnePlus) กลุ่มแบรนด์ชั้นนำจากประเทศจีน ใกล้จะเป็นเครือข่ายผลิตสมาร์ทโฟนที่ใหญ่ที่สุดในโลกมากขึ้นทุกที ทั้งหมดยังมีการกินส่วนแบ่งการตลาดรวมกันกว่า 20% และมี 3 แบรนด์จาก 4 แบรนด์ ที่ติดชาร์ต 10 อันดับ ในการจัดอันดับส่วนแบ่งการตลาดไตรมาสที่ 3 ในปี 2019 อีกด้วย สุดท้าย ยังต้องรอดูการจัดอันดับในไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 อีกครั้ง เพราะแต่ละแบรนด์ยังมีไม้เด็ดที่เตรียมปล่อยออกมาให้เห็นกันแน่นอน โดยเฉพาะ iPhone 11 Series ของทาง Apple จะมากระตุ้นในส่วนแบ่งการตลาดนี้ได้มากแค่ไหน รวมไปถึง Huawei Mate 30 Pro ที่ไม่มี GMS (Google Mobile Service) มาด้วยจะส่งผลกระทบกับแบรนด์ Huawei อย่างไร
(เครดิตข้อมูลและภาพจาก news.siamphone.com)


สถานการณ์ตลาดสมาร์ทโฟนในไทย OPPO แซง Samsung ขึ้นอันดับ 1 ตลาดสมาร์ทโฟนไทย (อีกครั้ง) ส่วน Huawei วูบหนักรั้งอันดับ 4 ไตรมาสที่ 4 ของปี 2018 และ 1/2019 เราได้ฮือฮากันไปรอบนึงแล้ว เนื่องจากแบรนด์มือถืออย่าง OPPO ประกาศขึ้นมาครองอันดับ 1 ในตลาดมือถือของประเทศไทยด้วยการแซง Samsung ขึ้นมาได้ ตามรายงานของ Canalys แต่หลังจากนั้นหลังทาง Samsung ก็กระชากบัลลังก์คืนกลับไปเมื่อช่วงกลางปี ล่าสุดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ OPPO ก็สามารถผงาดขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 ได้อีกครั้งแล้ว OPPO ขึ้นแท่นแบรนด์ยอดขายโทรศัพท์มากที่สุดในไตรมาสที่ 3 / 2019ของทาง Canalys* มาเผยแพร่ ว่า
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 OPPO สามารถไต่อันดับขึ้นมาอยู่ที่ 1 ของตลาดมือถือประเทศไทยได้ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 23.4% ตามด้วยอันดับ 2 คือ Samsung ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 22.5% และอันดับ 3 คือ vivo ที่ 17.7% ซึ่งผิดจากที่หลายฝ่ายคิดไว้ว่า Huawei จะยังสามารถรักษายอดขายเอาไว้ได้ แต่สุดท้ายแล้วกับยอดวูบลงไปไม่น้อยและรั้งอันดับ 4 ที่มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 8.3% เท่านั้น อย่างไรก็ดีตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงจำนวนเครื่องของมือถือที่ขายได้ แต่จะยังไม่รวมจำนวนมูลค่าเงินที่ขายได้ ซึ่งหากดูที่ส่วนนี้ตัวเองก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอันดับกันได้อีกรอบ
oppo คุยโว เพราะผลิตภัณฑ์ที่ดี และบริการที่ยอดเยี่ยม ยอดขายจึงเพิ่มขึ้น ทางออปโป้ได้เปิดเผยว่าสิ่งที่ทำให้ยอดขายของบริษัทเติมโตขึ้นมากนั้นเกิดจากที่ผู้บริโภคได้เห็นถึงการนำเอานวัตกรรมใส่เข้ามาในรุ่นเรือธง สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แฟนๆ ทั้งกล้องหน้าแบบ Pop up ที่เด้งขึ้นมาได้เก๋กว่าใคร เลนส์ซูมสิบเท่าใน OPPO Reno 10X Zoom หรือการชาร์จไวของ SuperVOOC 2.0 65W แบตเต็มเร็วกว่าใคร โดยทาง OPPO ได้ทุ่มทุนวิจัยไปกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าคู่แข่งรายใด มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ นวัตกรรมล้ำ ๆ ส่งออกมาสู่ตลาดเรื่อย ๆ การอัพเดทเฟิร์มแวร์ก็เริ่มมีให้ได้เห็นกัน และเรื่องบริการหลังการขายที่ลูกค้า OPPO หลายๆ คนพึงพอใจเป็นอย่างมาก ด้วยบริการซ่อมด่วนภายใน 1 ชม. แถมยังมีบริการรับ-ส่งเครื่องซ่อมถึงมือลูกค้าอีกด้วย
Huawei อ่วม ยอดวูบหายร่วงไปอันดับ 4 ช่วงต้นปีที่ผ่านมาทางหัวเว่ยประเทศไทยได้เคยให้ข้อมูลว่าส่วนแบ่งตลาดในประเทศของบริษัทจะอยู่ที่อันดับ 2-3 มาโดยตลอด ซึ่งก็น่าจะไม่ต่ำกว่า 15% แต่หลังจากเหตุการณ์ปัญหา Trade War ระหว่างจีนและสหรัฐ หลายฝ่ายก็ให้ความเป็นห่วงว่าส่วนแบ่งของหัวเว่ยจะได้รับผลกระทบแค่ไหน และยังไม่เคยมีใครให้ข้อมูลส่วนนี้ จนทาง OPPO ได้เปิดเผยข่าวชิ้นนี้ออกมา ทำให้ได้ทราบว่าสงครามการค้าส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไปไม่น้อย และยอดขายวูบไปอย่างน่าเป็นห่วง ปัจจุบันรั้งอันดับ 4 ที่ 8.3% เท่านั้น ปัจจุบันสมาร์ทโฟนตัวเรือธงอย่าง Mate 30 Pro ที่คาดการณ์ว่าจะเขย่าตลาดและทำยอดขายได้ถล่มทลาย กลับไม่สามารถใช้บริการ GMS (Google Mobile Services) ได้ ทำให้ลูกค้าไม่กล้าที่จะซื้อมาใช้งาน และน่าจะพาลกระทบไปถึงยอดขายของรุ่นอื่นๆ ตามไปด้วย จากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าในครั้งนี้
ถ้าอเมริกาเลิกแบนเมื่อไหร่ Huawei สามารถอัพเดท Mate 30 ให้ได้รับบริการ Google ทั้งหมดคืนมาได้ในชั่วข้ามคืน แม้ว่า HUAWEI ในไทยร่วง แต่ภาพรวมกลับเป็นแบรนด์จีนเพียงเจ้าเดียวที่ส่วนแบ่งในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ก็ต้องมารอดูกันต่อไปครับว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 OPPO จะยังสามารถครองแชมป์ในตลาดมือถือบ้านเราได้อยู่อีกรึเปล่า หรือ Samsung จะกลับมาทวงแชมป์คืนกันแน่ ส่วน Huawei จะมีแววร่วงลงไปต่ำกว่าอันดับ 4 มั้ย?…เอาไว้เราจะมาอัพเดทให้ทราบกันต่อไป (เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ droidsans.com
รู้จักแบรนด์ realme สมาร์ทโฟนน้องใหม่มาแรง ล้ำด้วยสเป็คเทพในราคาจับต้องได้ ซึ่ง realme สามารถนำเสนอสมาร์ทโฟนที่มีพร้อมทั้งดีไซน์ทันสมัย และประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ทั่วโลกได้สามารถใช้ชีวิตได้อยางพึงพอใจด้วยเทคโนโลยี และความสวยงาม เรียกว่าเป็นส่วนผสมของ Functional และ Emotional ได้อย่างลงตัว

อันดับ 8 ตลาดที่อยู่อาศัยของไทย โครงการเปิดตัวใหม่ ลดลงกว่า 50% ในไตรมาสที่ 3/2562 เป็นการลดลง 3 ไตรมาสติด ในขณะที่ตลาดคอนโดมิเนียม อยู่ในภาวะปรับฐาน ประเมินปีนี้ตลาดหดตัว 20% เซ็กเมนต์ ลักชัวรีอ่วมสุด


ข้อมูลจากการเคหะแห่งชาติ ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศมีทั้งสิ้น 101,704 ยูนิต เพิ่มขึ้น 11.1% มูลค่ารวมทั้งสิ้น 227,793 ล้านบาท (ข้อมูลนับถึงสิ้นไตรมาส 3/2562) คาดภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยทั้งปีเปิดตัวอยู่ที่ 112,044 ยูนิต ลดลง 23.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน
โดยบ้านจัดสรร เปิดตัวลดลง 57.3% มาอยู่ที่ 8,879 ยูนิต ในขณะที่คอนโดมิเนียม เปิดตัวลดลง 56.5% มาอยู่ที่ 11,984 ยูนิต
จากจำนวนหน่วยที่โอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด ณ สิ้นไตรมาส 3 ทั้งสิ้น 101,704 ยูนิต แบ่งเป็น
• เป็นที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล ประมาณ 53,936 ยนิต คิดเป็นสัดส่วน 53 %
• เป็นที่อยู่อาศัยในภูมิภาค (20 จังหวัด) ประมาณ 47,768 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 47 %
ทั้งนี้ หากดูในเชิงมูลค่าการโอนโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด ณ สิ้นไตรมาส 3 ปีนี้มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 227 ,793 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 12.4% แบ่งเป็น
• เป็นที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมมูลค่า 146,827 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 64.5%
• เป็นที่อยู่อาศัยในภูมิภาค (20 จังหวัด) รวมมูลค่า 80,966 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 35.5%
สำหรับภาพรวมการเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาส 4 ปี 2562 คาดว่า บ้านจัดสรรจะเปิดตัวโครงการใหม่รวม 14,954 ยูนิต และคอนโดมิเนียมเปิดใหม่ 29,339 ยูนิต พร้อมกันนี้ทางศุนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ยังได้คาดการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยตลอดทั้งปี 2562 น่าจะมีโครงการเปิดตัวอยู่ที่ 112,044 ยูนิต ลดลง 23.2% เมื่อเทียบกับปี 2561 แบ่งเป็น
• บ้านจัดสรรที่ปิดตัวใหม่ทั้งปีอยู่ที 46,010 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 41.1% โดยเปิดตัวลดลง 24.4%
• คอนโดมิเนียมเปิดตัวใหม่ 66,034 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 58.8% โดยเปิดตัวลดลง 22.4%
ส่วนยอดโอนกรรมสิทธิ์รวมทั้งประเทศนั้นคาดว่าน่ามีถึง 361,696 ยูนิต คิดเป็นมูลค่ารวม 820,624 ล้านบาท ลดลง 2.2% เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ก่อนที่ภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯด้วยการลดค่าธรรมเนียมในการโอนและจดจำนองลงเหลือ 0.01% (ตั้งแต่ 2 พ.ย.ปี 2562 ถึง 24 ธ.ค.ปี256 )ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาฯได้ประเมินภาพโดยรวมของตลาดที่อยูอาศัยทั้งประเทศน่าจะปรับตัวลดลงไม่น้อกยว่า 5% แต่ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯมาส่งผลบวกต่อธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี ทำให้จำนวนหน่วยเหลือขายหรืออุปทาน (Supply)ระบายออกได้ดีขึ้น




สำหรับแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2563 ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ประมาณการณ์ไว้ดังนี้ คือ
• ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2562 แต่จะมีการขยายตัวไม่มากนักโดยจะขยายตัวไม่เกิน 5%
• โครงการที่อยู่อาศัยใหม่จะมีการเปิดตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2562 เพื่อรองรับมาตรการ ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนใกล้เคียงกับยอดการเปิดตัวในปี 2562
• ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยสาคัญคืออัตราดอกเบี้ยขาลง และ มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ส่งผลให้อุปทานในตลาดจะถูกทยอยดูดซับ
• ในปี 2563 ผู้ประกอบการยังคงต้องให้ความสาคัญกับการบริหาร Inventory และ stock เพื่อให้ ให้อุปทานไม่ค้างอยู่มากเกินไป
ตลาดอสังหาฯ โดยเฉพาะคอนโดฯ ระบุไตรมาส3/65เปิดขายใหม่น้อยกว่าช่วงเดียวกันปี61 ถึง 40% ส่วนใหญ่เป็นระดับราคา 100,000 บาทต่อตารางเมตร หรือไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อยูนิต พื้นที่แนวรถไฟฟ้าเปิดบริการแล้วยังได้รับความนิยมมากสุด รายใหญ่หันผุดโครงการในซอย ลดต้นทุนที่ดิน คาดทั้งปีเปิดขายรวม 45,000 ยูนิต ด้านกำลังซื้อจากต่างชาติโดยเฉพาะจีนชะลอตัวลงกว่า 50% เทียบปี61
(เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ prop2morrow.com,forbesthailand.com)
ส่วนปี 2563 นั้นมีปัจจัยที่น่าสนใจซึ่งจะมีผลต่อธุรกิจอสังหาฯ ได้แก่
พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่จะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2563
ผังเมืองใหม่กรุงเทพมหานครซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ช่วงปลายปี 2563
การกำกับควบคุมวินัยทางการเงินประชาชน เช่น มาตรการยกเลิกหรือจำกัดการผ่อนชำระสินค้าดอกเบี้ย 0% หรือการกำหนด DSR (Debt Service Ratio) ของผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน


บทวิเคราะห์และเรียบเรียงโดย เพจหยิกแกมหยอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น