วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

Brand Ultimatum - Case Study Hot Mail

ใครจะรู้ว่าต้นกำเนิดของเจ้าอีเมลล์ชื่อดังอย่าง Hotmail.com นั้นไม่ใช่ผลผลิตของคนอเมริกัน แต่เป็นชาวอินเดีย เป็นความริเริ่มสร้างสรรค์ของนายซาเบียร์ บาร์เธีย เขาเกิดและเติบโตที่เมืองบังกาลอร์ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย บิดาเป็นข้าราชการระดับสูง ในกระทรวงกลาโหม ส่วนแม่เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสในธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง


ตั้งแต่เด็กเขาก็มีความคิดอยากจะเป็นเถ้าแก่ บาร์เธียร์เป็นลูกชายเพียงคนเดียวของครอบครัว เป็นเด็กดี ไม่เคยทำให้พ่อแม่ผิดหวัง เมื่อเขาเติบโตขึ้น พ่อแม่ต้องการให้เขาได้รับตำแหน่งการงานที่ดีในบริษัทใหญ่ๆ ในอินเดีย แต่ใครจะรู้ว่าเด็กหนุ่มคนนี้มีความฝันที่ต่างออกไปจากเด็กทั่วไป เขามีความฝันที่จะเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กซักอย่างนึง ช่างบังเอิญเหลือเกินที่วิทยาลัยใกล้ๆ บ้านได้เปิดดำเนินการ เขาจึงตัดสินใจที่จะทำร้านแซนวิสเล็กๆ เริ่มธุรกิจของตนเองเป็นครั้งแรก แต่แผนการของเขาจำต้องล้ม มีอันเป็นไปเสียก่อน แม่ของเขาได้ยับยั้งโครงการ บังคับให้เขาต้องเรียนหนังสือต่อไป ต่อมาในปี ค.ศ.1988 ความเป็นอัจฉริยะของเขาก็ได้ฉายแววขึ้น คือเขาได้ไปชนะรางวัลของ The California Institute of Technology ในเมืองพาซาเดนา ด้วยอายุเพียง 19 ปี ได้รับเงินรางวัลไปจำนวน 250 ดอลล่าร์ (ความภูมิใจซึ่งเป็นเงินก้อนแรก และครั้งแรกในชีวิตที่เขาสามารถหาเงินได้จากความสามารถของเขาเอง) ภายหลังจากจบปริญญาตรี เขาก็ได้เข้าไปเรียนต่อปริญญาโททางด้านวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา หลังจากจบปริญญาโท เขาก็ได้เข้าทำงานเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ของโลก ใครต่อใครก็ยินดีที่เขาได้ทำงานในบริษัทแห่งนี้รวมไปถึงครอบครัวของเขาที่หมายมั่นว่า เขาน่าจะทำงานที่บริษัทนี้ไปให้นานๆ หรืออาจนานไปถึง 20ปี ก็เป็นได้ แต่หลังจากที่เขาทำงานผ่านไปได้เพียง 9 เดือน เขาได้ไปอ่านเจอบทความชิ้นนึง เกี่ยวกับ “คนหนุ่มที่เริ่มต้นทำธุรกิจขายถั่วต้มและก็ขายได้หมดทุกวัน ขายดีมาก” บทความนี้ทำให้ความฝันในวัยเด็กของเขาเริ่มจุดประกายความคิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เขาเริ่มครุ่นคิดว่าจะสามารถทำธุรกิจอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้บ้างโดยที่เขาไม่จำเป็นที่จะต้องละทิ้งความรู้ ความชำนาญด้านนี้ไป แล้วเขาก็เกิดความคิดที่จะสร้างซอฟท์แวร์ขึ้นมาตัวนึง เรียกว่า “จาวาซอฟท์” ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้สร้างฐานข้อมูลส่วนบุคคล เช่น สามารถจัดทำตารางทำรายการต่างๆหรือแม้แต่ใช้ถ่ายรูป เมื่อเขาได้คิดค้นซอฟท์แวร์ตัวนี้สำเร็จขึ้นมาแล้ว จึงนำเสนอแผนนี้ให้แก่ แจ๊ค สมิธ เพื่อนร่วมงานที่บริษัทแอปเปิ้ล ทั้ง 2คนได้วางแผนนำสิ่งที่เรียกว่า “อี-เมลล์” เพิ่มเข้าไปที่จาวาซอฟท์ เนื่องจากการใช้อี-เมลล์ เป็นเรื่องง่ายและสะดวก ทุกคนสามารถใช้อี-เมลล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ หรือที่ไหนก็ได้ หลังจากคิดถึงการใส่อี-เมลล์เข้าไปได้แล้ว ก็มาคิดถึงชื่อของอี-เมลล์ตัวนี้ (ชื่อแบรนด์โปรดักท์) ซึ่งเขาคิดไว้หลายชื่อไม่ว่าจะเป็น speedmail, hypermail, supermail แต่ท้ายที่สุดแล้ว เขาก็ได้ชื่อที่ดีที่สุด คือ “ Hotmail” นับแต่นั้นมาชื่อนี้ก็ถือกำเนิดขึ้นบนโลก

ความคิดแรกนั้น บาร์เธีย ตั้งใจจะขายชื่อเจ้า Hotmail ไว้ด้วยสนนราคาเพียง 6,000 เหรียญ/ดอลล่าร์ เขาเริ่มมองหาผู้ร่วมทุนที่อยู่แถวซานฟรานซิสโก แต่ทุกสิ่งก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เมื่อ 4 ปีก่อนหน้านั้น เป็นเรื่องยากมากที่จะขายความคิดนี้ได้ เพราะมีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่คิดว่าอินเตอร์เน็ตมีจริง และมีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ คนส่วนใหญ่คิดว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเพียงความนิยมชั่วขณะ เหมือนกระแสแฟชั่น เขาได้หันมาเสนอโครงการของเขาให้กับบริษัทร่วมทุน Draper Fisher Jurvetson โดย Steve Jurvetson และเพื่อนคนนี้ก็ได้ลงเงินร่วมลงทุนกับบาร์เธียเป็นเงิน 300,000 ดอลล่าร์ ซึ่งก็แทบจะไม่พอสำหรับการดำเนินงาน แต่จนแล้วจนรอด Hotmail ได้ปรากฏมีการใช้งานอย่างจริงจังในวันที่ 4 กรกฏาคม 1996 ซึ่งเป็นวันชาติของอเมริกา เขาให้เหตุผลว่า ต้องการให้ฮอตเมลล์เป็นตัวแทนของความเป็นอิสระ และ ณ สิ้นปีแรกของการดำเนินงาน เขาก็เริ่มมีสมาชิกถึง 1,000,000 ราย ในขณะที่บาร์เธียมีอายุได้เพียง 28 ปี


บิลล์ เกตต์ บอสใหญ่ของบริษัทไมโครซอฟท์ เล็งเห็นอนาคตของฮอตเมลล์ จึงประสงค์ที่จะซื้อบริษัทของบาร์เธียในทันที และได้พาบาร์เธียไปเยี่ยมชมอาณาจักรของไมโครซอฟท์ เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ เขาได้ยื่นข้อเสนอที่จะซื้อบริษัทของบาร์เธียเป็นเงินถึง 160 ล้านดอลล่าร์ แต่บาร์เธียยังไม่ยอมตกลงในเงื่อนไขเบื้องต้น ขอกลับไปพิจารณาก่อน เมื่อถึงเดือนธันวาคม 1997 ไมโครซอฟท์ยื่นข้อเสนอใหม่เป็นเงินถึง 400 ล้านดอลล่าร์ เพื่อเข้าเทคโอเวอร์ฮอตเมลล์ คราวนี้เป็นผลสำเร็จ ฮอตเมลล์ได้เปลี่ยนเจ้าของไปเป็นของเจ้าพ่อซอฟท์แวร์ชื่อดัง ส่วนบาร์เธียได้เปลี่ยนบทบาทตนเองไปเป็น General Manager of Strategic Business Development ของไมโครซอฟท์เน็ตเวิร์กแทน ทุกวันนี้ฮอตเมลล์เป็นบริการอี-เมลล์ทางอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่และแพร่หลายที่สุดแห่งนึง มีสมาชิกมากกว่า 360 ล้านคนทั่วโลก บริการ 36 ภาษา (ข้อมูล ณ เดือน กรกฏาคม ปี 2011) ปัจจุบันบริการอี-เมลล์ที่ใหญ่ที่สุดได้ตกไปเป็นของกูเกิ้ลแล้วคือ Gmail ด้วยสมาชิกที่มากกว่า 425 ล้านคน บริการ 54 ภาษา (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2012) Gmail ก่อตั้งเมื่อ 1 เมษายน 2004

บาร์เธียมีทรัพย์สินถึง 200 ล้านดอลล่าร์ เขากำลังเดินแผนงาน(ในขณะนั้น) ต่อคือ “one-click” เป็นการร่วมทุนทาง อี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเรียกว่า Arzoo เป็นไอเดียใหม่คล้ายฮอตเมลล์ ซึ่งเป็นการหาวิธีหรือเครื่องมือเข้าสู่โลกการค้าทางอินเตอร์เน็ตในรูปแบบใหม่ เพียงแค่คลิกเม้าส์ เพื่อที่จะเข้าไปซื้อขายของกันทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเขาได้นำออกมาทดลองใช้ในเดือน พฤศจิกายนในอีกปีถัดมา ถึงแม้ฮอตเมลล์จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ทางด้านอินเตอร์เน็ตแล้ว แต่บาร์เธียเชื่อว่าเขาจะทำให้ Arzoo นั้นมีความยิ่งใหญ่มากกว่าฮอตเมลล์ถึง 2 เท่า เขาต้องการที่จะขยายเครือข่ายเข้าไปในอินเดีย เพื่อเป็นการปฏิวัติทางด้านสังคมและเศรษฐกิจและยกระดับฐานะของคนในประเทศอินเดีย การที่ฮอตเมลล์แพร่หลายในอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดการค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก มันคงไม่ใช่เป็นเพราะเพียงแค่เด็กหนุ่มจากเมืองบังกาลอร์เป็นคนคิดค้นขึ้นมา ถึงทำให้เป็นที่แพร่หลายได้ แต่การส่งอี-เมลล์นั้นง่ายกว่าการใช้โทรศัพท์และไม่มีค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการส่งสารทางอื่น บาร์เธียมั่นใจว่าอินเดียจะมีการใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่จะทำอย่างไรเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เข้าถึงทุกครัวเรือน คำตอบก็คือการเชื่อมต่อกับเคเบิ้ลและขายเครื่องมือติดตั้งในการเปลี่ยนทีวีให้เป็นทางไปสู่อินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งมีมูลค่าทั้งหมด 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เขาคาดการณ์ว่าจะทำมันเสร็จภายใน 2-3 ปี จะติดขัดอยู่ก็เพียง กฏหมายต่อต้านและการปฏิบัติงานที่ล่าช้าของระบบราชการ เขากล่าว

แต่เขาคาดการณ์ผิด บาร์เธียต้องผิดหวัง เมื่อต้องใช้เวลานานถึง 10ปี กว่ามันจะเป็นรูปเป็นร่าง แต่อุปสรรคนี้ไม่ได้ทำให้เขาย่อท้อ เขาได้เป็นกรรมการของบริษัทอินเดียที่ชื่อ โฮมแลนด์ซึ่งเก็บข้อมูลผู้ใช้เว็บไซต์ต่างๆ จึงมีข้อมูล ตั้งเป้าหมายสร้างฐานผู้ใช้ และการเข้าหาหรือติดต่อหน่วยงานรัฐเพื่อที่จะผลักดันกฎหมายในการช่วยส่งเสริมการปฏิวัติทางข้อมูลข่าวสาร บาร์เธียได้เชิญบุคคลที่มีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลอินเดียมาฟังคำแถลงของเขา และนี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บาร์เธียกลายเป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิพลด้านสื่อสารโทรคมนาคมของอินเดีย และได้รับคำเชิญไปปาฐกถาหรือบรรยายให้ความรู้ตามหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ทั่วทั้งอินเดียและทั่วโลก

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตอบโจทย์ เรียลลิตี้ทอล์คโชว์ดราม่าเสียยิ่งกว่าเดอะสตาร์,เอเอฟ


กรณีเรื่องรายการตอบโจทย์ ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส (ทีวีไทย) ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางอยู่ในเวลานี้นั้น ตอนแรกผู้เขียนชั่งใจอยู่หลายวันเหมือนกันว่าจะเขียนถึงดีมั๊ย  เพราะเบื่อข่าวสารเรื่องการเมืองมากในเวลานี้ ไม่อยากจะติดตาม ไม่อยากจะพูดถึง และยิ่งเป็นประเด็นเดิมๆอย่าง กรณี ม.112 การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ มันมีแง่มุมที่ละเอียดอ่อน และมองได้หลายมิติมาก ความสนใจของผู้เขียนกลับมุ่งไปยังประเด็นเศรษฐกิจมากกว่าที่สำคัญและให้น้ำหนักมากกว่า (จะได้เขียนถึงในบทความถัดๆ ไป) แต่ดูเหมือนประเด็นของ ม.112 ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ มีความพยายามจะจุดติดประเด็นนี้ให้เป็นความขัดแย้งในสังคมให้จงได้หลากหลายครา หลากหลายบุคคล ต่างกรรม ต่างวาระกัน ซึ่งผู้เขียนเองก็ปล่อยผ่านมาหลายครั้งแล้ว อาทิ เช่น กรณี อ.ใจ อึ๊งภากรณ์กับจักรภพ เพ็ญแข กรณีนางดา ตอร์ปิโดพูดปราศรัยบนเวทีเสื้อแดง,ทอม ดันดี, การปราศรัยหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของแกนนำเสื้อแดงหลายคน อาทิ นางดารณี กฤตบุญญาลัย,พอ.อภิวันท์ วิริยะชัย,แกนนำเสื้อแดงอย่าง ก่อแก้ว พิกุลทอง,ยศวริศ ชูกล่อม,อดิศร เพียงเกษ,อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง,สุนัย จุลพงศธร,จตุพร พรหมพันธุ์ กรณีนายสุชาติ นาคบางไทร ,นายสุรชัย แซ่ด่าน, บก.ลายจุด สมบัติ บุญงามอนงค์ ,สมยศ พฤกษาเกษมสุข (แกนนำกลุ่ม 24 มิ.ย.ฯ) กับคดีหมิ่นเบื้องสูง (เพิ่งมีคำสั่งตัดสินไปไม่นานมานี้) กรณีส่งข้อความด่าทอทางมือถือของ (อากง) นายอำพน ตั้งนพกุล,กระบวนการช่วยอากงของ นางคำผกา โตวิระ และ voice tv, กรณีเด็กน.ศ.(พลอย,ก้านธูป)มธ.,กรณีพิธีกรในช่อง Asia Update ใส่เสื้อ"เรารักพระบรม" ,อีป้าเสื้อแดงที่ชื่อ ฐิตินันท์ แก้วจันทรานนท์ เตะรูปพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ,ทราย เจริญปุระ ,ฟลุ้ค เดอะสตาร์ ,มาร์คเอเอฟ7,กรณีกลุ่มนิติราษฏร์ (คณาจารย์กลุ่มนึง ใน มธ.)ออกแถลงการณ์ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะหมวดพระมหากษัตริย์, กรณีนักคิดนักเขียน,นักวิชาการกว่า 112 คน ร่วมลงชื่อสนับสนุนการยื่นแก้ไขกฎหมาย ม.112,กรณีคลิปเสียงของทักษิณหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ เสธ.อ้าย เอามาเปิดกลางม็อบของกลุ่มพิทักษ์สยาม,  กรณีบทอาเศียรวาทของ นสพ.มติชน ในวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 5 ธ.ค. จนมาล่าสุดกรณีรายการตอบโจทย์ที่เชิญนักวิชาการเสื้อแดง อย่าง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กับ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาออกรายการและวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ อย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังมีต่างชาติโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐและฝรั่งเศสก็มีส่วนในการสนับสนุนการแก้ไขกฏหมาย ม.112 นี้ด้วย จากกรณีฑูตสหรัฐอย่างนางคริสตี้ที่เคยออกมาวิพากษ์วิจารณ์กฏหมายฉบับนี้ จนถูกถล่มในเฟซบุ้คของสถานฑูตอเมริกาประจำประเทศไทย รวมถึงรมต.ฝรั่งเศสท่านนึงที่มาเยือนไทยเมื่อไม่นานมานี้ ก็เคยมาแสดงความคิดเห็นเห็นด้วยเกี่ยวกับการแก้ไขกฏหมายในหมวดนี้ ทั้งหลายเหล่านี้ ผู้เขียนเชื่อว่ามันเป็นกระบวนการเดียวกันคือ “ขบวนการล้มเจ้า”  ทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญแน่ๆ มีการเขียนบทให้เล่นกันเป็นทอดๆ มีผู้บงการอยู่เบื้องหลัง มีการวางแผนเตรียมการกันมาอย่างดี หรืออาจจะตั้งสมมติฐานกับสิ่งเหล่านี้ว่า มันคือบทภาพยนตร์เรื่องนึงที่มีที่มาที่ไปแบบว่า  “ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และทำไม”


คำถามแรกที่ผู้เขียนอยากจะโยนไปให้ใครก็ตามที่มีส่วนต้องรับผิดชอบต่อกรณี “รายการตอบโจทย์” ตอนที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่นี้ก่อนเลยก็คือว่า

1.สถานี ผู้บริหารสถานี ผู้ควบคุมรายการ ผู้เช่าเหมาช่วงจัดรายการ ผู้ดำเนินรายการดังกล่าว (คุณภิญโญ) มีวาระซ่อนเร้นอะไร อย่างไรหรือไม่ ถึงได้ตั้งประเด็นเนื้อหา หรือหยิบเนื้อหาเกี่ยวกับ ม.112 มาเป็นประเด็นถกเถียงกัน ทั้งๆ ที่มันไปเข้าทางฝ่ายการเมือง เหมือนเตะหมูเข้าปากสุนัข (ซึ่งต้องการจะแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งฉบับอยู่เวลานี้ และประเด็นหลักที่ต้องการจะแก้ ก็คือ ม.112 ซึ่งเป็น 1 ในหัวข้อที่ต้องการจะแก้)เทียบเคียงเรื่องนี้คล้ายๆ กับสำนักโพลล์และบรรดาโพลล์ต่างๆ ที่ชอบทำมาเพื่อรับใช้นักการเมืองทั้งหลาย ภายหลังถูกจับได้คาหนังคาเขาว่าไปรับเงินมา แต่ก็ยังหน้าด้านที่จะทำต่อไป และเป็นเรื่องของคนกลุ่มเล็กๆ ที่เดือดร้อนกัน อาทิ กลุ่มเสื้อแดงบางปีกและนักวิชาการกลุ่มนิติราษฏร์ที่ไม่รู้เป็นเดือดเป็นร้อนอะไรนักหนากับประเด็นนี้  

2.ทำไมประเด็นสาธารณะ หรือหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนในวงกว้าง และสำคัญกว่าเรื่อง ม.112 อย่างเรื่องปากท้อง น้ำมันแพง ค่าจ้าง 300 บาทมีผลทำให้ตกงาน,รถยนต์คันแรกส่อเค้าสร้างหนี้, การตั้งเงินงบประมาณ 2.2 ล้านๆ บาท ภาษีและภาระของประชาชนในระยะยาว ความจำเป็นเร่งด่วนหรือตั้งงบประมาณเพื่อคอรัปชั่น ,ค่าเงินบาทแข็งกระทบผู้ส่งออกและอุตสาหกรรมอะไรบ้าง,ผลผลิตเกษตรกรปีนี้ นาแล้ง,เงินแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทำไปถึงไหนแล้ว เป็นต้น) หัวข้อหรือ topic สำคัญๆ ที่มีความน่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในฐานกว้าง กลับไม่เคยมีการนำมาพูดถึงกันในรายการเลย มีแต่ประเด็นทางการเมือง จึงอยากจะถามไปยังผู้ดำเนินรายการและทางสถานีว่า รายการนี้มันต้องการจะตอบโจทย์แต่เพียงพวกนักการเมือง แต่เพียงอย่างเดียวเหรอ แล้วไหนคุยโม้ว่าเป็นสถานีของประชาชน เป็นสถานีสาธารณะ เป็นสื่อที่ปฏิรูปตัวเองเรียบร้อยแล้ว ใช้เงินภาษีของประชาชนไปก่อตั้งสถานีแท้ๆ แต่บทบาทการทำหน้าที่ ความเป็นสื่อ ในครั้งนี้เป็นที่เคลือบแคลง แฝงวาระซ่อนเร้น ไม่ต่างจากทีวีช่อง 11 NBT ซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นสาขาของ Voice TV หรือ Asia Update อีกช่องนึง รายการตอบโจทย์ช่วงหลังๆ มานี้ ผู้เขียนเองก็ยังเคยคิดว่ากำลังนั่งดู voice tv อยู่หรือนี่  มันช่างไม่ต่างจากรายการแตกประเด็นของสรยุทธ์ ทางช่อง 3 เลย คือดุดัน รุกไล่เก่งในประเด็นที่เขาต้องการจะให้ผู้ร่วมรายการคู่กรณีที่เขาเชิญมาตอบ แต่ผู้ร่วมรายการอีกฝ่ายที่เป็นพวกเดียวกัน ชงหวานซะงั้นให้ตอบหรือพูดในสิ่งที่เขาต้องการนำเสนอ บุคลิกการดำเนินรายการของคุณภิญโญเริ่มใกล้เคียงสรยุทธ์เข้าไปทุกที  มันจึงไม่แปลกที่ประชาชนกลุ่มที่ทนไม่ไหว เขาจะมองว่าพวกคุณมันเป็นแดง พรรคพวกเดียวกัน


การที่คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมมา ออกมาดราม่า ทำเป็นขอลาออกหรือยุติการทำรายการ “ตอบโจทย์” เพื่อรับผิดชอบต่อการประท้วงต่อต้านของคนดูกลุ่มนึงนั้น ผู้เขียนเห็นว่าคุณจะลาออกทำไม ในเมื่อคุณอ้างว่าคุณทำถูกต้องแล้ว มีความเป็นมืออาชีพ มีความเป็นกลาง เชิญมาทั้ง 2 ฝ่าย ก็ในเมื่อยืนยันว่าตัวเองมีความบริสุทธิ์ใจเช่นนี้แล้ว จะลาออกทำไม ก็จัดมันต่อไปสิ  เพียงแต่ประชาชนเขารู้สึกว่าคุณไม่ยุติธรรมแค่นั้นแหละ นำเสนอแต่ประเด็นที่เป็นวาระของฝ่ายการเมือง ไม่นำเสนอประเด็นของอีกฝ่ายที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับฝ่ายการเมือง หรือรัฐบาลในปัจจุบันเลย เขาไม่ได้ต่อต้านคุณเพียงเพราะคุณไปเชิญพวกเสื้อแดงมาพูดแต่ประเด็น ม.112 หรือไม่ได้บอกว่าสื่ออย่างคุณจัดหรือพูดเรื่องพวกนี้ไม่ได้  ไม่ใช่ แต่คุณให้เวลากับอีกฝ่ายนึงบ้างมั๊ย  ทำไมกับแค่การให้เวลา การให้ความสำคัญกับประเด็นสาธารณะที่มันใกล้เคียงกับความรู้สึกของมหาชน ประชาชนแค่นี้ คุณทำเป็นอินโนเซ้นท์ ไร้สาระซะงั้น แต่กับเรื่องไม่เป็นเรื่องอย่างเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน ทำเป็นเก่งจังเลย มีแง่มุมรอบด้าน หลากหลายมิติจังเลย ถกเถียงกันหน้าดำคร่ำเครียด ราวกับว่าถ้าประเทศนี้ ชาวบ้านมันวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์กันไม่ได้ มันจะตายกันทั้งประเทศมั๊ง ทีกับเรื่องความไม่ชอบมาพากลของนโยบายพลังงาน ปตท. การเล่นลิเกเรื่องประหยัดพลังงาน จะไม่มีไฟฟ้าใช้บ้างหล่ะ หรือนโยบายประหยัดพลังงานกำมะลอ อย่างนี้ ทำไมสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ไม่คิดจะมาตอบโจทย์บ้างเลยเหรอ  หรืออย่างเรื่องเขาพระวิหาร ประเทศไทยจะเสียดินแดนอยู่มะรำมะร่อ ใครได้ใครเสีย ใครต้องมีส่วนรับผิดชอบกับการแพ้คดีศาลโลกแล้วเสียดินแดน ทำไมทีวีไทย แกไม่มาตอบโจทย์ชาวบ้านบ้างหล่ะ ,ปัญหาข้าวของแพง ค่าครองชีพสูงไม่สำคัญพอที่จะมาตอบโจทย์เลยเหรอ  มันช่างสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานีจริงๆ รวมไปถึงสภาผู้ชมอะไรนั่นของสถานีด้วย ทำอะไรบ้างกับกรณีรายการตอบโจทย์นี้   


ต่อกรณี"ตอบโจทย์" ผู้เขียนคิดว่า ไทยพีบีเอสนั้นทำเอาภาพลักษณ์นั้นเสื่อมเสียไปแล้วจริงๆ นับแต่นี้ สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ยังจะเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนได้อีกหรือ ความน่าเชื่อถือที่สั่งสมมาหลายปี นับแต่ก่อตั้งสถานีมากลับกลายเป็น 0 ใหม่ก็คราวนี้ หวังว่าทางผู้บริหารสถานีและเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะหันกลับมาทบทวนบทบาทหน้าที่ของตนใหม่ ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการต่างๆ รวมไปถึง กสทช.ด้วย ว่าจะมาอ้างแต่ความเป็นมืออาชีพ อุดมการณ์ จุดยืน จรรยาบรรณของสื่อ แต่เพียงอย่างเดียวเพื่อมาใช้เป็นมาตรวัด ในการตัดสินใจ หรือทำหน้าที่ของสื่อเท่านั้น แต่ควรเพิ่มคำว่า ขนบ ธรรมเนียม จารีต ประเพณี ครรลอง  3 เสาหลัก คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และคำว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เข้าไปด้วย เวลาที่จะหาข้ออ้างในการตัดสินใจอะไรที่ผิดพลาดออกไป แล้วไม่เคยออกมาขอโทษประชาชนเลย เป็นตรรกะ และสันดานเดียวกับ นักการเมืองไทยจริงๆ ขอโทษที่ต้องพูดแรงๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ และนี่เป็นเพียงเสียงสะท้อนบางส่วนเท่านั้นจากประชาชนคนนึง ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กเขาด่ากันแรงกว่านี้มากนัก
ทีนี้มาดูไอ้เจ้าตัวต้นเรื่องของประเด็นดราม่าที่ชื่อว่า ม.112 ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน "นิติเร้ด" เอ๊ยไม่ใช่ "นิติราษฏร์"
คณะนิติราษฎร์ เป็นกลุ่มอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้มีข้อเสนอทางวิชาการ ในการลบล้างผลพวงของการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 โดยออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีของรัฐประหารดังกล่าว และต่อมายังเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ว่าด้วยความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
สมาชิกคณะนิติราษฎร์
·         รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
·         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
·         อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
·         อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร
·         อาจารย์ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล
·         อาจารย์สาวตรี สุขศรี
·         อาจารย์ปูนเทพ ศิรินุพงศ์

กลุ่มนักวิชาการชื่อ 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2549 ด้วยการนำเสนอบทความทางวิชาการ ออกมาเป็นระยะ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553 กลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และเพื่อนอาจารย์ เปิดตัวเว็บไซต์คณะนิติราษฎร์ พร้อมทั้งจัดงานเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ 4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนพฤษภาอำมหิต อนาคตทางสังคมไทย โดยมีคณะนิติราษฎร์เป็นองค์ปาฐก ต่อมาในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 คณะนิติราษฎร์แถลงข้อเสนอทางวิชาการ ในหัวข้อ 5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์ จนก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ข้อเสนอการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112


คณะนิติราษฎร์ แถลงข้อเสนอทางวิชาการ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยสรุปดังต่อไปนี้
1.    ยกเลิกมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
2.    เพิ่มเติมลักษณะความผิด เกี่ยวกับพระเกียรติของ กษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในประมวลกฎหมายอาญา
3.    แบ่งแยกการคุ้มครอง สำหรับตำแหน่งกษัตริย์ ออกจาก ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
4.    แก้ไขอัตราโทษ โดยไม่บัญญัติอัตราโทษขั้นต่ำ เพิ่มโทษปรับ ลดอัตราโทษขั้นสูง โดยเปรียบเทียบกับอัตราโทษ ที่ใช้ในกรณีของบุคคลทั่วไป ให้การกระทำผิดต่อพระมหากษัตริย์ สูงกว่าบุคคลทั่วไป 1 ปี และแยกแยะโทษของการกระทำผิด ฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่น
5.    บัญญัติเหตุยกเว้นความผิด ในกรณีติชมหรือแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อรักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ
6.    บัญญัติเหตุยกเว้นโทษ ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง แต่หากการพิสูจน์นั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามมิให้พิสูจน์
7.    ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษ โดยให้อำนาจกองนิติการ ของสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้กล่าวโทษ

ต่อมาในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะนิติราษฎร์ ร่วมกับ กลุ่มนักวิชาการ คณาจารย์ นักเขียน ศิลปิน และปัญญาชน จัดตั้ง "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" (ครก. 112) เพื่ออธิบายรายละเอียด ของข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และรวบรวมรายชื่อ เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 112 ฉบับที่คณะนิติราษฎร์จัดทำขึ้น เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

รายชื่อผู้ลงชื่อเสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ 112 คนแรกที่มีการประกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ได้แก่


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ
ผาสุก พงษ์ไพจิตร เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุจิตต์ วงษ์เทศ นักวิชาการ นักเขียน
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ วุฒิสมาชิกและอัยการ
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล
อภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์/ศิลปิน
ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปิน
ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน
ธเนศวร์ เจริญเมือง รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อานันท์ กาญจนพันธุ์ สังคมและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ยศ สันตสมบัติ สังคมและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สิงคโปร์
กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ศรีประภา เพชรมีศรี โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
ขวัญระวี วังอุดม โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
เอกกมล สายจันทร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โกสุมภ์ สายจันทร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฉลาดชาย รมิตานนท์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วัฒนา สุกัณศีล สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชัชวาล ปุญปัน อดีตอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ ม.เชียงใหม่
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธีระ สุธีวรางกูร นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปิยะบุตร แสงกนกกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปูนเทพ ศิรินุพงษ์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประจักษ์ ก้องกีรติ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันรัก สุวรรณวัฒนา ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อนุสรณ์ อุณโน สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นลินี ตันธุวนิตย์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มรกต ไมยเออร์ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วาด รวี นักเขียน
ปราบดา หยุ่น นักเขียน
วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียน
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน นักแปล
มุกหอม วงษ์เทศ นักเขียน
สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการ
ไอดา อรุณวงศ์ วารสาร "อ่าน"
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ
วิจักขณ์ พานิช นักเขียน นักแปล
สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน-นักวิชาการอิสระ
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ สื่อมวลชน
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สื่อมวลชน
นพ. กิตติภูมิ จุฑาสมิต ผู้อำนวยการรพ. ภูสิงห์ จ.ศรีษะเกษ
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน
จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการ สำนักข่าวประชาไท
จิตรา คชเดช ผู้นำแรงงาน, กลุ่ม Try Arm
สมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมสังคม
แดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ
ภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
อานนท์ นำภา ทนายความ
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความ
อนุสรณ์ ธรรมใจ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
อันธิฌา ทัศคร ปรัชญาและศาสนา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กานดา นาคน้อย เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue) สหรัฐอเมริกา
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ดร.พงศาล มีคุณสมบัติ นักวิชาการอิสระด้านพลังงานนิวเคลียร์
ไชยันต์ รัชชกูล มหาวิทยาลัยพายัพ
คมลักษณ์ ไชยยะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ชัชวาลย์ ศรีพาณิชย์ อดีตนายกสมาคมธรรมศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนีย
ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เอมอร นิรัญราช คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิติ ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นฤมล ทับจุมพล รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉลอง สุนทรวาณิชย์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวิมล รุ่งเจริญ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธนาพล ลิ่มอภิชาต อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษม เพ็ญภินันท์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
วัฒน์ วรรยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา
อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารเวย์
เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์สามัญชน
ดวงมน จิตร์จำนงค์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พิเชฐ แสงทอง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์
อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียน
อุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์
เรืองรอง รุ่งรัศมี นักเขียน นักแปล
ทองธัช เทพารักษ์ นักเขียน การ์ตูนนิสต์ ศิลปิน
เดือนวาด พิมวนา นักเขียนรางวัลซีไรต์
ประกาย ปรัชญา กวี
ซะการีย์ยา อมตยา กวีรางวัลซีไรต์
วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักเขียน
กฤช เหลือละมัย กวี
วินัย ปราบบริปู นักเขียน ศิลปิน

จรัล ดิษฐาอภิชัย

 ดูจากรายชื่อบรรดานักคิด นักเขียนเหล่านี้แล้ว ยิ่งทำให้ผู้เขียนรู้สึกหดหู่ใจ บางตนคือคนที่เราเคยตามงานเขียนเขาอยู่ด้วย บางคนเราเคยชื่นชอบในผลงานการเขียนเป็นอย่างมาก แต่บัดนี้เราต้องมานั่งทบทวน ปรับทัศนคติเสียใหม่ พยายามทำความเข้าใจในวิธีคิด และจุดยืนของพวกเขาซึ่งไม่ใช่สิ่งเสียหาย และเป็นไปได้ ยอมรับได้ ผู้เขียนสามารถแยกแยะได้ระหว่างวิธีคิด ทัศนคติ รสนิยม กับผลงาน บอกได้เลยว่าผู้เขียนยังคงติดตามงานเขียนของนักคิด นักเขียนเหล่านั้นอยู่บางท่าน แต่ก็เลือกที่จะเสพงานแบบระมัดระวัง พิถีพิถันมากขึ้น และเลือกเสพที่เป็นงานคุณภาพจริงๆ ส่วนในประเด็นเรื่อง ม.112 หรือประเด็นทางการเมือง เราสามารถเห็นต่างกันได้ ไม่ผิด เป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แต่ผู้เขียนก็ยังเชื่อว่าสังคมไทยเติบโตมาได้ รักษาชีวิตรอดและสร้างชาติเป็นปึกแผ่นมาได้ก็ด้วยมีระบอบพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็ง เปรียบเสมือนสถาบันครอบครัวที่ผู้เป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงดูบุตรหลานมาอย่างดี ป้อนน้ำป้อนข้าว ให้การส่งเสียให้เรียนหนังสือ มีชีวิตที่สุขสบาย  พ่อแม่มีแต่ให้เสมอมา ไม่เคยดุด่าลูกเลย มีแต่พร่ำสอนตักเตือนในสิ่งที่ดี  วันนึงลูกหลานเติบใหญ่มีหน้าที่การงานใหญ่โต มาขอลำเลิกบุญคุณหรือต้องการขอบทบาทที่จะวิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่ได้บ้าง ขอเถียงหรือด่าว่าเวลาพ่อแม่จะสั่งสอนได้บ้าง แล้วอ้างหลักการเสรีภาพ ประชาธิปไตย ผู้เขียนลองถอดหัวโขนทุกหัวโขน เอาปริญญาบัตรการศึกษาทุกปริญญาวางลง แล้วใช้ตรรกะวิธีคิดโง่ๆแบบชาวบ้านลองวิเคราะห์ดู ก็ปรากฏว่า พฤติกรรมเยี่ยงนี้นี่มึงมันลูกทรพีชัดๆ นี่หว่า เพราะไม่มีลูกหลานดีๆ ที่ไหนมันจะทำกันหรอก ฝากไว้เป็นข้อคิดเตือนใจกันนะ เพราะทุกคนก็มีชีวิต ศักดิ์ศรี มีต้นทุนทางสังคม มีการศึกษาดีกันทั้งนั้น ฝากอีกสักประโยคนึงให้เห็นภาพชัดก็คือ "ระบอบพระมหากษัตริย์นั้นสร้างชาติ สร้างแผ่นดินเอาไว้ แต่ระบอบเดรัจฉาน กัดกินทุกเมล็ด ทุกเม็ด สร้างแต่ความหายนะ ฉิบหายไว้ในแผ่นดิน"  คุณยังจะเลือกระบอบใดก็ลองคิดดูเอาก็แล้วกัน  

หมายเหตุ  กฎหมายรัฐธรรมนูญในหมวดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ก็คือ ม.112 มีถ้อยคำที่เขียนเอาไว้ดังนี้
“มาตรา 112 – ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

คำกล่าวอ้างที่บอกว่า ม.112 นั้นห้ามไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นไม่จริง เพราะตัวอย่างที่เห็นอยู่ในรายการตอบโจทย์นี้เรียกว่าอะไร ยิ่งกว่าวิพากษ์วิจารณ์ แต่กฎหมายเพียงแต่กำหนดโทษสำหรับคนที่หมิ่นประมาท (คนทั่วไปยังฟ้องหมิ่นประมาทได้เลย) อาฆาตมาดร้ายพระองค์ท่าน พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทน ซึ่งไอ้พวกที่โดนคดีอยู่นั้นเป็นเพราะเข้าข่ายหมิ่นประมาทลับหลังพระองค์ท่าน รวมถึงยังจาบจ้วง ด่าทอ อาฆาตมาดร้ายพระองค์ท่านด้วย ส่วนโทษมีตั้งแต่ 3-15 ปี ผู้ใดจะได้รับโทษกี่ปี หรือสูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่/เจ้าพนักงานสั่งฟ้อง และผลสุดท้ายก็คือศาลท่านจะเป็นคนตัดสินตามความเหมาะสมของน้ำหนักความผิดเอง ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องโดนจำคุกคดีละ 15 ปีทุกคนไป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการพูดเพื่อสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้น กฏหมาย ม. 112 ไม่ได้ร้ายแรง หรือละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยใดๆ เลย วิญญูชนที่เป็นพลเมืองดีๆ โดยทั่วไป ถ้าไม่ทำผิด คิดร้ายต่อพระองค์ท่าน ไฉนจะต้องมาเดือดร้อนกับกฏหมายนี้ อยากให้ผู้อ่านทุกท่านลองนำไปพิจารณาหรือใช้วิจารณญาณไตร่ตรองดูเหตุและผลของพวกที่ต้องการจะแก้ไข กฏหมาย ม. 112 ให้ดี ว่ามีจุดประสงค์อะไรอื่นเคลือบแฝงหรือไม่ เพราะโดยตัวกฏหมายแล้วมีการกำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนมานานแล้ว ไม่เห็นมีใครเดือดร้อน แต่ทำไมมา พ.ศ.นี้ ถึงมีคนจงใจ เจตนาจะฝ่าฝืนทำผิด แล้วมาอ้างว่ากฏหมายไม่ดี ไม่ถูกต้อง มีใครเสี้ยมอยู่ข้างหลังหรือไม่ และจุดประสงค์ในการเคลื่อนไหวทั้งหลายเหล่านั้น ทำไปเพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์  ผมเชื่อว่าประชาชนดีๆ ที่จงรักภักดี และเคารพรัก เทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทุกคนคงจะเข้าใจ และไม่มีทางจะสั่นคลอนสถาบันฯ อันเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทยได้ และขอให้พวกที่คิดร้าย มีเจตนาไม่บริสุทธิ์มีอันเป็นไปด้วยเทอญ     

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

โลก 360 องศา - (พายุถล่มหนักทั่วยุโรป,ซากหมูตายเกลื่อนที่แม่น้ำเซี่ยงไฮ้)


พายุหิมะปลายฤดูหนาวยังส่งผลกระทบต่อการเดินทางเป็นวงกว้างทั่วทั้งบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแม้ว่าหิมะตกจะบรรเทาลงก็ตาม เที่ยวบินหลายร้อยเที่ยวที่สนามบินหลักๆ ถูกยกเลิกและบริการรถไฟหลายสายระงับการให้บริการ รวมถึงรถไฟความเร็วสูงยูโรสตาร์ด้วย

พื้นที่ส่วนใหญ่ทางภาคเหนือของฝรั่งเศสเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด หลายพื้นที่ประกาศคำเตือน บ้านเรือนกว่า 80,000 หลังในพื้นที่ตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือไม่มีไฟฟ้าใช้ ผู้ใช้รถกว่า 2,000 คนติดอยู่ในรถของตนเองตลอดคืนเนื่องจากหิมะที่ตกหนักทำให้ถนนหลายสายในแคว้นนอร์มังดีและบริตานีเป็นอัมพาตหลายคนต้องอาศัยนอนอยู่ในศูนย์พักพิงฉุกเฉิน

ที่สนามบินแฟรงค์เฟิร์ตของเยอรมนี ซึ่งมีเครื่องบินขึ้นลงมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของยุโรป เที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกต้องถูกระงับโดยสิ้นเชิงเนื่องจากรันเวย์เต็มไปด้วยหิมะ เที่ยวบินอย่างน้อย 160 เที่ยวถูกยกเลิก ขณะที่การจราจรบนทางด่วน ในเมืองมูเอ็นเซนแบร์ก ทางเหนือของนครแฟรงก์เฟิร์ตก็เผชิญกับหิมะตกหนักจนทำให้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันต่อเนื่องถึงกว่า 100 คัน ที่ทางด่วนหมายเลข A45 มีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีผู้เสียชีวิต  นอกจากนี้ สภาพถนนในกรุงปารีสยังมีหิมะปกคลุม ขณะที่อุณหภูมิดิ่งลง -6 องศาเซลเซียสในช่วงกลางคืน และคาดว่าจะมีหิมะตกมากขึ้น ส่วนสนามบินหลัก 2 แห่งในกรุงปารีส ได้แก่ สนามบินชาร์ลส์เดอโกล และสนามบินออร์ลี ได้ยกเลิกเที่ยวบิน 1 ใน 4 ของทั้งหมด ขณะที่รถไฟความเร็วสูงยูโรสตาร์ระหว่างกรุงลอนดอนกับกรุงปารีส รถไฟความเร็วสูงเตเจเว ระหว่างกรุงปารีส-กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียม และรถไฟความเร็วสูงสายอื่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสระงับการให้บริการทั้งหมดในวันอังคาร  ทั้งนี้สำนักอุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสได้ประกาศเตือนภัยระดับสีแดงในจังหวัดกาลวาโดสและจังหวัดมองช์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสและขอให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้านแต่ได้ยกเลิกประกาศดังกล่าวในตอนค่ำวันอังคาร อย่างไรก็ตาม ประกาศเตือนภัยสีส้มยังคงมีอยู่ในพื้นที่อื่นๆอีก 21 แห่ง  การจราจรและระบบขนส่งมวลชนในเบลเยียมเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ได้รับผลกระทบจากพายุหิมะครั้งนี้เช่นกัน การจราจรในเบลเยียมเป็นอัมพาต เนื่องจากหิมะและถนนที่มีน้ำแข็งปกคลุม โดยในช่วงเช้าวานนี้ เกิดรถติดเป็นทางยาวรวมกันทั่วประเทศกว่า 1,600 กม. ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน

 
ส่วนในเยอรมนี รถไฟหลายสายในกรุงเบอร์ลินถูกยกเลิกหรือล่าช้า สนามบินแฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนี ซึ่งมีผู้คนใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับสามในยุโรปต้องปิดสนามบินเนื่องจากมีหิมะตกหนัก และเพิ่งเริ่มเปิดใช้ทางวิ่ง 2 แห่งอีกครั้งในคืนวันอังคารที่ผ่านมา โฆษกสนามบินกล่าวว่า อาจต้องยกเลิกเที่ยวบินเพิ่มหรือมีเที่ยวบินล่าช้าในวันพุธ นอกจากนี้ ยังเกิดอุบัติเหตุรถชนกันในหลายพื้นที่ของประเทศเนื่องจากสภาพถนนลื่นมีน้ำแข็งปกคลุมและหิมะตกหนัก เช่นเดียวกับในอังกฤษ ประชาชนหลายร้อยคนติดอยู่ในรถตลอดทั้งคืนเนื่องจากหิมะตกหนักและมีลมแรงในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศและสถานีรถไฟในกรุงลอนดอนของอังกฤษที่ได้ยกเลิกบริการรถไฟหลายเที่ยว

ตะลึงพบศพหมูตายเกลื่อนกว่า 6,000 ตัวแล้ว ที่แม่น้ำเซี่ยงไฮ้
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ว่า ทางการจีนพบซากสุกรกว่า 1,200 ตัว (ปัจจุบันนับได้เกือบ 6,000 ตัวแล้ว ตัวเลขจำนวนยังไม่นิ่ง) ลอยอยู่ในแม่น้ำสายหลักของนครเซี่ยงไฮ้ สร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทันทีว่า น้ำดื่มที่กำลังใช้อุปโภคและบริโภคอาจเจือปนไปด้วยเชื้อโรค หรือสารพิษร้ายแรง

หนังสือพิมพ์ ไชน่า เดลี่รายงานโดยอ้างข้อมูลจากสำนักงานเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ว่าเจ้าหน้าที่เขต ซ่งเจียง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครเซี่ยงไฮ้ สามารถกู้ซากสุกรได้แล้วกว่า 1,200 ตัว ซึ่งถูกกระแสน้ำซัดลอยมาขึ้นอืดรวมกันอยู่บริเวณปากแม่น้ำ หวงผู่ แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านกลางเมือง ทั้งนี้ ซากของสุกรที่พบนั้นมีทั้งลูกสุกรและสุกรโตเต็มวัยปะปนกันไป

แม้จะยังไม่มีรายงานใดสามารถระบุได้แน่ชัดว่า ซากสุกรจำนวนมากเหล่านี้ลอยตามน้ำมาจากสถานที่แห่งใด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่พบป้ายร้อยที่ใบหู หรือรหัสตามตัวของสุกรที่พอจะเป็นหลักฐาน ช่วยให้เจ้าหน้าที่สืบแกะรอยหาเจ้าของสุกรได้ แต่เบื้องต้นมีการสันนิษฐานว่า สุกรเหล่านี้อาจลอยตามน้ำมาจากมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งมีข่าวว่า เกษตรกรในพื้นที่พากันนำซากสุกรเหล่านี้ ซึ่งเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส เซอร์โค ( พีซีวีดี ) มาโยนทิ้ง บวกกับมีรายงานการพบซากสุกรจำนวนหนึ่งที่มณฑลเจ้อเจียง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความวิตกกังวลและหวาดระแวงให้แก่ชาวนครเซี่ยงไฮ้ทันที ซึ่งพากันออกมาเรียกร้องให้ทางการออกมารับผิดชอบ ด้วยการตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยด่วน ขณะที่ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขของนครเซี่ยงไฮ้ระบุว่า คุณภาพน้ำในพื้นที่ยังเป็น ปกติ

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

The Wizard of Oz เวทมนตร์คือมายา ขยันหาคือของจริง


ก่อนที่วรรณกรรมเยาวชนอย่าง Harry Potter จะได้รับความนิยมจนถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์จนโด่งดังติดอันดับ Box Office อย่างยาวนาน มีการสร้างภาคต่อมาถึง 7 ตอนนั้น เมื่อราว 100 ปีที่แล้วก็มีวรรณกรรมเยาวชนที่โด่งดังมากเป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่านทั่วโลก จนถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน ชื่อเดิมว่า The Wonderful Wizard of Oz เขียนโดย ลีแมน แฟรงค์ บาม เป็นขวัญใจของนักอ่านนิทาน จนถูกนำมาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อว่า The Wizard of Oz ออกฉายในปี 1939

เรื่องย่อของหนังมีอยู่ว่า สาวน้อยนามว่า “โดโรธี”  ถูกลมหอบหิ้วตัวเธอไป พลัดพรากจากครอบครัว จากบ้านที่เมืองแคนซัส ไปตกลงยังดินแดนที่เรียกว่า ออซ  ด้วยความที่อยากกลับบ้าน หนูน้อยโดโรธีพยายามที่จะหาทางทำทุกวิถีทางให้ได้กลับบ้าน หนูน้อยจึงออกเดินทางไปยังเมืองมรกต เพื่อไปหาคนที่ชื่อว่า “พ่อมดออซ”  ผู้ยิ่งใหญ่ โดยคิดไปว่าจะช่วยตัวเธอได้ เพราะคิดหวังว่าพ่อมดออซจะมีเวทมนตร์คาถาที่จะช่วยพาเธอกลับไปบ้านได้  ระหว่างเดินทาง ตลอด 2 ข้างทางนั้น โดโรธีก็ได้ไปพานพบเรื่องราวต่างๆ มากมาย ทั้งยังได้เพื่อนร่วมเดินทางมาอีกถึง 3 คน  คนแรกเป็น “หุ่นไล่กา”  ที่คิดเสมอว่าตนเองนั้นโง่  จึงอยากไปให้พ่อมดออซ ช่วยใส่สมองให้  อีกคนหนึ่งเป็น “ชายตัดไม้”  ที่ร่างกายถูกสร้างขึ้นมาด้วยดีบุก  เขาคิดไปเองว่าตัวเองไม่มีหัวใจ  จึงอยากออกเดินทางไปเพื่อให้พ่อมดออซ เจ้าแห่งเวทมนตร์ช่วยใส่หัวใจให้  และคนสุดท้ายก็คือ “สิงโต”  มีอุปนิสัยขลาดกลัว จึงอยากไปหาพ่อมดออซเพื่อให้มอบความกล้าหาญมาให้กับตน เมื่อมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้ง 4 จึงร่วมออกเดินทางไปผจญภัยกับสิ่งที่อยู่ภายภาคหน้า และเมื่อไปถึง “เมืองมรกต”  ที่ที่เป็นจุดหมายปลายทาง สหายทั้ง 4 ก็ได้ค้นพบว่า แท้ที่จริงแล้ว พ่อมดแห่งออซ  นั้นก็เป็นเพียงคนธรรมดาจอมปลอมคนนึง และไม่ได้มีเวทมนตร์ คาถา ความสามารถใดๆ วิเศษเลย  ทำให้ทุกคนผิดหวัง แต่ทั้ง 4 คนก็ยังตั้งปณิธานที่จะยังคงร่วมเดินทางกันต่อไป สุดท้ายทุกคนก็ได้ค้นพบว่า สิ่งที่ตัวเองปรารถนาและไขว่คว้านั้น แท้ที่จริงแล้ว ก็มีอยู่ในตัวของพวกเขาเองนั่นแหละ หาใช่ต้องพึ่งพาเวทมนตร์ คาถาใดๆ จากพ่อมดคนใดทั้งสิ้น

ในปี 1938 สตูดิโอเอ็มจีเอ็มตัดสินใจครั้งสำคัญ ในการซื้อลิขสิทธิ์วรรณกรรมเยาวชนที่ขายดีที่สุดของสหรัฐอเมริกาเรื่องนี้ เพื่อนำมาผลิตเป็นภาพยนตร์ ภายใต้การดูแลงานสร้างของวิคเตอร์ เฟลมมิ่ง ครั้นพอเมื่อออกฉายในโรง หนังก็ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายไม่แพ้ตัวหนังสือเลย หนังสามารถคว้ารางวัลออสการ์มาครองได้ 2 รางวัล ซึ่งเป็นสาขาที่เกี่ยวกับดนตรีทั้ง Best Song จากเพลง Somewhere Over the Rainbow  และรางวัล Best Original Score อีกรางวัล นอกจากนี้ความมหัศจรรย์ของดินแดนพ่อมดออซ ก็ยังสร้างตำนานในโลกภาพยนตร์ขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งอย่าง นั่นก็คือ จูดี การ์แลนด์ นักแสดงสาวที่มารับบทเป็นโดโรธี สามารถแจ้งเกิดจากบทนี้อย่างเต็มตัว จากนั้นเธอก็เป็นที่จดจำจากคอหนังมาถึงทุกวันนี้ จริงอยู่ว่า ถ้าหากจะมีผู้นำหนังเรื่องนี้กลับมาสร้างขึ้นใหม่ในยุคนี้ งานด้านเทคนิคต่างๆ น่าจะล้ำนำหน้ากว่ายุคนั้น แต่อย่าลืมว่าการมีสเปเชียลเอ็ฟเฟ็คท์ที่ตื่นตาตื่นใจก็ไม่ใช่เครื่องยืนยันว่านั่นคือภาพยนตร์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ หากบทและเนื้อหาจะต้องดีตามด้วย  รวมถึงกลวิธีในการเล่าเรื่องของผู้กำกับต่างหากที่สำคัญกว่า ของบางอย่างถ้ามันดีอยู่แล้ว เราก็ควรปล่อยมันไว้อย่างนั้นจะดีกว่า “ถ้าหากพ่อมดแห่งออซสามารถส่งเด็กสาวโดโรธีกลับบ้านได้ สามารถใส่สมองให้หุ่นไล่กา ใส่หัวใจให้ชายตัดไม้  และมอบความกล้าหาญให้กับสิงโต ก็จะทำให้ The Wizard of Oz เป็นเพียงหนังขายฝันดาดๆ ไม่มีอะไรให้ข้อคิดและคงไม่ได้กลายมาเป็น 1 ในหนังดีที่สุดตลอดกาลอย่างแน่นอน”  (ถอดความบางส่วนจากคอลัมน์ 1001 movies you must see before you die ของคุณพรทิพย์ แย้มงามเหลือจาก Entertrend,Bizweek ฉบับวันที่ 8 กรกฏาคม 2550)

ผู้เขียนคิดว่า ข้อคิดที่ได้จากวรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้หรือการชมภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นเป็นคติสอนใจที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ยังคงนำมาใช้ได้กับทุกชีวิต ทุกเรื่องบนโลกนี้ ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ ฟรีๆ โดยที่คุณไม่ได้ออกแรงทำอะไร บางครั้งสิ่งที่มีอยู่ในตัวเราเองนั้นมีคุณค่าและมีพลังมหาศาล แต่เราหามันไม่เจอ และมองข้ามมันไป ในทางตรงกันข้าม กลับไปวิ่งไขว่คว้าในสิ่งที่เราเอื้อมไปไม่ถึง หรือไม่มีทางเป็นไปได้ หรือเป็นสิ่งที่เป็นเพียงมายาคติ ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงภาพลวงตา ไม่น่าเชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนที่แต่งโดยคนสมัยก่อนจะชี้ประเด็นสอนใจเราได้ดีถึงเพียงนี้ คล้ายๆ ปรัชญาพุทธ จากเนื้อหาที่แข็งแรงมีแก่นสารที่หนักแน่นนี้เอง ทำให้ตัวหนังถูกยกย่องให้เป็น 1 ในภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลอีกด้วย

และก็ได้ข่าวว่าเร็วๆนี้ (ไม่ใช่สิ หนังถูกนำมาสร้างใหม่ ตีความใหม่ โดยใช้ชื่อใหม่ Oz The Great and Powerful 2013) ภ.เรื่องนี้จะถูกนำมาสร้างใหม่ โดยไม่ใช่ฉบับรีเมค แต่เป็นการตีความใหม่ โดยเนื้อหาจะเป็นการขยายในส่วนของพ่อมดออซ หรือที่มาที่ไปก่อนจะมาเป็นพ่อมดออซ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นภาคก่อนของ The Wizard of Oz ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะนำหนังที่ขึ้นชั้นคลาสสิก มาทำในส่วนต่อขยาย เพราะหลายเรื่องพอทำออกมาแล้วก็ได้รับเสียงตอบรับวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่ไม่ค่อยดีนัก ตัวอย่างเช่น เรื่อง Hobbit ที่ทำออกมาขยายความบทนำก่อนจะสู่เนื้อหาในเรื่อง The Lord of the Ring ซึ่งขยายความมากไปถึง 3 ภาค เนื้อหาไม่กระชับ และเยิ่นเย้อ ทำให้ไม่น่าประทับใจ หรืออย่าง Starwars ไตรภาคที่ทำไว้ดีแล้ว พอมาทำไตรภาคก่อน ก็ออกมาถูกสับเละจากนักวิจารณ์ว่าเป็นลิเกไซไฟกันเลยทีเดียว และภายหลังลูคัส ได้ขายลิขสิทธิสตาร์วอร์สทั้งหมดให้กับวอลท์ดิสนี่ย์แล้ว กำลังจะทำไตรภาคหลัง (ตอน 7-9) ออกฉายเร็วๆนี้ โดยได้ผู้กำกับคนเก่งจากสตาร์เทร็คภาคล่าสุดมาดูแลงานสร้าง ผลจะเป็นอย่างไรนั้นต้องติดตามกันต่อไป ในส่วนของ The Wizard of Oz ฉบับปี 1939 คงจะหาดูหาชมได้ยากมากในยุคนี้ ไม่รู้ว่ามีการทำรีมาสเตอร์ออกมาเป็นบลูเรย์แล้วหรือยัง แต่ถ้ามีก็น่าจะซื้อมาเก็บไว้อีกเรื่องนึง ผู้เขียนเคยชมเป็นฉบับวีดีโอนานมากแล้ว ก็ยังรู้สึกประทับใจมากจนถึงทุกวันนี้ และกำลังรอ The Wizard of Oz ฉบับใหม่ที่กำลังจะเข้าโรงฉายในซัมเมอร์ปีนี้ ว่าจะออกมาดีเพียงใด จึงจะสามารถมาเปรียบเทียบกับเรื่องอื่นๆ ที่กล่าวมาได้ครับ   

 



ประวัติและผลงานของผู้กำกับ

Victor Lonzo Fleming (February 23, 1889 – January 6, 1949) was an American film director, cinematographer, and producer. His most popular films were The Wizard of Oz (1939), and Gone with the Wind (1939), for which he won an Academy Award for Best Director. Fleming holds the achievement of being the only film director to have two films listed in the top 10 of the American Film Institute's prestigious 2007 AFI's 100 Years...100 Movies list.เขาเป็นผู้กำกับมือเก๋าของฮอลลีวู้ดที่ล่วงลับไปแล้ว มีผลงานกำกับหนังกว่า 50 เรื่อง,เป็นผู้กำกับภาพ 17 เรื่อง และเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับหนัง 3 เรื่องก่อนเสียชีวิต

 

ร่วมไว้อาลัยแก่ ปธน.ฮูโก้ ชาเวซ แห่งเวเนซูเอล่า (ประเทศต้นแบบของการประชานิยมที่คนรากหญ้าได้ประโยชน์อย่างแท้จริง)

ข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของผู้นำจิตวิญญาณและ ปธน.ของประเทศเวเนซูเอล่า อาจไม่ใช่ข่าวใหญ่ในบ้านเราและของโลก เนื่องจากเขาไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจใดๆ เป็นเพียงประเทศเล็กๆในลาตินอเมริกา
แต่เขาเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นวีรบุรุษในใจคนของประเทศเกือบจะทั้งทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้นแบบของวีรบุรุษกู้ชาติ ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องจากประเทศโลกที่ 3 และในประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ทุนนิยมหรืออีกนัยนึงก็คือประเทศที่ไม่ฝักใฝ่อเมริกาและพวกยุโรปนั่นแหละ สื่อดังๆ ในประเทศทุนนิยมต่างโจมตีและกล่าวร้ายหาว่าเขาเป็นผู้นำเผด็จการที่ใช้ประชานิยมมอมเมาประชาชน โดยไม่ได้ดูเนื้อแท้หรือผลลัพธ์ในท้ายที่สุดหรือผลประโยชน์ที่แท้จริง รวมไปถึงวิธีการ กุศโลบายต่างๆ ของเขา เพราะเขาคือผู้ที่มาฆ่าทุนนิยมสามานย์ที่เอาเปรียบประเทศที่ยากจน วิธีการเขาทำอย่างไรนั้นควรค่าแก่การศึกษาเป็นบทเรียนยิ่งนัก ใครจะมองว่าเขาเป็นพวกเผด็จการ สังคมนิยมซ้ายจัดอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งที่เขาทำนั้น สุดท้ายแล้วเขาทำเพื่อประชาชน และผลประโยชน์ของชาติอย่่างแท้จริง ไม่ใช่ประชานิยมจอมปลอม ทำเพื่อเป็นฐานเสียง และแล้วผลประโยชน์ไปตกอยู่กับนักการเมืองไม่กี่คน ผู้เขียนคิดว่าบุคคลผู้นี้น่าศึกษาแล้วเอาข้อดีของเขามาเป็นแบบอย่าง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่คิดดี ทำดี รักบ้านรักเมือง หายากมากในยุคนี้ ที่จะมีผู้นำที่แข็งแกร่ง ยืนหยัด ต่อสู้ จนวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่ใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อชาติบ้านเมือง และลูกหลานของเขาอย่างแท้จริง เขาไม่ได้ตายไปแต่ชื่อ ยังทิ้งอุดมการณ์เอาไว้ให้แก่ประชาชนของเขาสู้ต่อไปกับมหาอำนาจทุนนิยมทั้งหลาย ดูภาพข่าวที่คนทั้งประเทศร้องไห้ ไว้อาลัยผู้นำของเขาสิ ไม่ใช่ถูกบังคับให้มาร้องไห้เหมือนบางประเทศที่เป็นสังคมนิยม และไม่ใช่การร้องไห้แบบเสียซุปเปอร์สตาร์นักร้องชื่อดังอะไร แต่เป็นการร่ำไห้ให้กับความดี ความศรัทธา และความมั่นคงของประเทศของเขาจริงๆ

 
ประวัติของผู้นำสูงสุดและปธน.ประเทศเวเนซูเอล่า
อูโก ราฟาเอล ชาเบซ ฟรีอัส (สเปน: Hugo Rafael Chávez Frías; 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 5 มีนาคม ค.ศ. 2013) เป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลาตั้งแต่ปี 1999 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี 2013 เขาเป็นอดีตผู้นำพรรคการเมืองขบวนการสาธารณรัฐที่ห้า (Fifth Republic Movement) นับแต่ก่อตั้งในปี 1997 ถึงปี 2007 เมื่อเขากลายเป็นผู้นำพรรคสหสังคมนิยมแห่งเวเนซุเอลา (PSUV) ตามข้อมูลของรัฐบาล เขามุ่งนำการปฏิรูปสังคมนิยมไปปฏิบัติในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสังคมชื่อ การปฏิวัติโบลีวาร์ ที่เห็นการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การโอนอุตสาหกรรมหลักหลายประเภทเป็นของรัฐ การเพิ่มเงินทุนด้านสาธารณสุขและการศึกษาของรัฐ และการลดความยากจนลงอย่างสำคัญ ตามอุดมการณ์ทางการเมืองโบลีวาร์นิยม (Bolivarianism) และ "สังคมนิยมแห่งศตวรรษที่ 21" ของเขาเอง

เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกรรมกรในซาบาเนตา รัฐบารีนัส ต่อมาเป็นนายทหารอาชีพ และหลังไม่พอใจกับระบบการเมืองเวเนซุเอลา เขาได้ก่อตั้งขบวนการปฏิวัติโบลีวาร์-200 (MBR-200) ขึ้นในต้นทศวรรษ 1980 เพื่อดำเนินการโค่นล้มรัฐบาล ชาเบซนำ MBR-200 ในรัฐประหารที่ล้มเหลวต่อรัฐบาลพรรคกิจประชาธิปไตยของรัฐบาลการ์โลส อันเดรส เปเรซในปี 1992 ซึ่งเขาถูกจำคุก เมื่อได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในอีกสองปีให้หลัง เขาก่อตั้งพรรคการเมืองขบวนการสาธารณรัฐที่ห้าซึ่งมีอุดมการณ์สังคมประชาธิปไตย และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลาในปี 1998 ภายหลัง เขาริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเพิ่มสิทธิแก่กลุ่มที่ถูกเบียดขับ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐบาลเวเนซุเอลา และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในปี 2000 ระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง เขาริเริ่มระบบภารกิจโบลีวาร์ (Bolivarian Mission) สภาชุมชน (Communal Council) และสหกรณ์ที่มีกรรมกรเป็นผู้จัดการ เช่นเดียวกับโครงการปฏิรูปที่เดิน ขณะที่ยังโอนอุตสาหกรรมสำคัญหลายประเภทเป็นของรัฐ วันที่ 7 ตุลาคม 2012 ชาเวซชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สี่ และได้ดำรงตำแหน่งอีกสมัยเป็นเวลาหกปี

ชาเวซอธิบายนโยบายของตนว่า ต่อต้านจักรวรรดินิยม และเขาเป็นนักวิจารณ์เสรีนิยมใหม่และทุนนิยมปล่อยให้ทำไป โดยทั่วไป ชาเบซเป็นปรปักษ์สำคัญของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เขาวางตนเป็นพันธมิตรอย่างเข้มแข็งกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของฟีเดล และราอูลต่อมา ในคิวบา และรัฐบาลสังคมนิยมของเอโบ โมราเลสในโบลิเวีย ราฟาเอล กอร์เรอาในเอกวาดอร์ และ ดาเนียล ออร์เตกาในนิการากัว การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "คลื่นสีชมพู" สังคมนิยมที่กวาดไปทั่วละตินอเมริกา เขาสนับสนุนความร่วมมือละตินอเมริกาและแคริบเบียน และเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้งสหภาพประชาชาติอเมริกาใต้ พันธมิตรโบลีวาร์เพื่อทวีปอเมริกา ธนาคารใต้ (Bank of the South) ที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค และเครือข่ายโทรทัศน์ภูมิภาคเทเลซู (TeleSur) ชาเบซเป็นบุคคลซึ่งเป็นที่ถกเถียงและมีความเห็นแตกแยกมากทั้งในและต่างประเทศ

วันที่ 30 มิถุนายน 2011 ชาเวซแถลงว่าเขากำลังฟื้นตัวจากการผ่าตัดเพื่อนำเนื้องอกฝีที่มีเซลล์มะเร็งออก เขาต้องเข้ารับการผ่าตัดครั้งที่สองในเดือนธันวาคม 2012 เขามีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2013 แต่รัฐสภาเวเนซุเอลาตกลงเลื่อนพิธีเข้ารับตำแหน่งเพื่อให้เขามีเวลาฟื้นตัวและกลับจากการเดินทางเพื่อไปรักษาพยาบาลเป็นครั้งที่สามที่คิวบา ชาเบซถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2013 ด้วยวัย 58 ปี

ประธานาธิบดีฮูโก้ ชาเวซ เป็น 1 ในผู้นำที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคนหนึ่งของโลก ในฐานะผู้นำสังคมนิยมคนสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลกยุคปัจจุบันและเป็นผู้นำที่ตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับมหาอำนาจสหรัฐฯอย่างเปิดเผย

ประธานาธิบดีฮูโก้ ชาเวซ เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 ในครอบครัวที่ยากจนโดยบิดาและมารดามีอาชีพเป็นครู หลังอายุ 17 ปี ชาเวซได้เข้าศึกษาในโรงเรียนทหารของเวเนซุเอล่า หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในคณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยซิโมน โบลิวาร์ แม้จะไม่จบแต่ก็จุดประกายให้ชาเวซสนใจในเรื่องการเมือง

หลังรับราชการทหารมาเป็นเวลา 17 ปี ชาเวซได้ก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมือง โดยเป็นแกนนำก่อรัฐประหารโค่นอำนาจประธานาธิบดีคาร์ลอส แอนเดรส เปเรซ ที่ล้มเหลวในการบริหารประเทศเมื่อปีพ.ศ.2535 แม้จะรัฐประหารไม่สำเร็จ แต่ชาเวซก็สามารถครองใจประชาชนที่กล้าต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการและคอรัปชั่น

การรัฐประหารที่ล้มเหลว ทำให้ชาเวซถูกจำคุก ก่อนจะได้รับการอภัยโทษจากผู้นำคนใหม่ที่เข้าดำรงตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีเปเรซที่ต้องลงจากอำนาจ จากนั้นชาเวซได้ก่อตั้งขบวนการสาธารณรัฐที่ 5 และลงเลือกตั้งประธานาธิบดีจนสามารถคว้าชัยได้เป็นผู้นำเมือปีพ.ศ.2542 จากการหาเสียงที่ดุเดือดโดนใจประชาชน

ชาวเวซได้รับการกล่าวขานว่า เป็นนักสังคมนิยมแห่งศตวรรษที่ 21 และตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับมหาอำนาจสหรัฐอย่างเปิดเผย นอกจากนี้ยังต่อต้านระบบทุนนิยมและการเสรีของสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะโค่นชาเวซลงจากอำนาจหลายครั้ง รวมทั้งการปฎิวัติเมื่อปีพ.ศ.2545 แต่ชาเวซก็รอดพ้นวิกฤตมาได้ ขณะที่กลุ่มพรรคฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณ์ชาเวซอย่างรุนแรงที่ไปผูกมิตรกับชาติที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน/คิวบาและลิเบีย

ชาเวซ ยังใช้ทรัพยากรน้ำมันที่เป็นรายได้หลักของเวเนซุเอล่า ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก เป็นปัยจัยขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ การเมืองและการต่างประเทศอย่างได้ผล ช่วยให้ครองใจประชาชนจนสามารถคว้าชัยได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 4 ก่อนจะจบชีวิตด้วยโรคมะเร็งร้าย ด้วยอายุ 58 ปี

ฮูโก้ ชาเวซ ประธานาธิบดีแห่งเวเนซูเอลา ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่สร้างสีสันให้กับโลก ชาเวซไม่เพียงเป็นผู้นำที่หลงใหลในลัทธิสังคมนิยมเท่านั้นหากยังเป็นศัตรูตัวฉกาจของสหรัฐอเมริกา

ชาเวซเกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม พุทธศักราช 2497 บิดาเป็นครูมีฐานะยากจน ส่งชาเวซและพี่ชายไปอยู่กับย่า เมื่ออายุ 17 ปี เข้าเรียนที่โรงเรียนทหารของเวเนซูเอลา จากนั้นเข้าเรียนต่อในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยซิโมนโบลิวาร์ (ตั้งตามชื่อของนักปฎิวัติผู้ยิ่งใหญ่แห่งละตินอเมริกา)แต่ไม่จบ

การเรียนที่มหาวิทยาลัยซิโมนโบลิวาร์ทำให้ชาเวซสนใจการเมือง โดยเฉพาะแนวคิดของฝ่ายซ้ายและอุดมการณ์ของ" โบลิวาร์" พร้อม ๆ กับการเป็นนักกีฬาเบสบอล และเขียนบทกวี บทละคร และนิยายระหว่างรับราชการทหารเป็นเวลา 17 ปี ทั้งในหน่วยรบและเป็นอาจารย์ในโรงเรียนทหาร ชาเวซวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและสังคมอย่างเผ็ดร้อน และก่อตั้งขบวนการปฏิวัติโบลิวาร์-200 (Revolutionry Bolivarian Movement-200) หรือ MBR-200

ปี 2535 “ชาเวซฉวยจังหวะเป็นแกนนำก่อรัฐประหาร ขณะที่ประธานาธิบดีคาร์ลอส อังเดร เปเรซ กำลังอยู่ในสถานะง่อนแง่น การบริหารประเทศล้มเหลว โดยเข้ายึดสถานที่สำคัญๆในกรุงคาราคัส

แต่รัฐประหารล้มเหลว ชาเวซขาดกำลังสนับสนุน จึงยอมจำนนต่อฝ่ายรัฐบาลและออกโทรทัศน์เรียกร้องให้กองกำลังปฏิวัติตามเมืองต่าง ๆ วางอาวุธ และถึงแม้จะเป็นฝ่ายแพ้แต่ชาเวซก็กลายเป็นขวัญใจของชาวเวเนซูเอลา ในฐานะผู้ที่กล้าลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการและคอรัปชั่น ชาเวซต้องโทษจำคุก แต่การรัฐประหารครั้งนั้นส่งผลให้ประธานาธิบดีเปเรซหลุดจากตำแหน่งในเวลาต่อมา และประธานาธิบดีคนใหม่อภัยโทษให้ ชาเวซก่อตั้งขบวนการสาธารณรัฐที่ 5 (The Fifth Republic Movement) ขึ้น และลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี 2541 โดยชูอุดมการณ์ของซิโมน โบลิวาร์ และการสถาปนาสาธารณรัฐใหม่ ลีลาปราศรัยหาเสียงของ"ชาเวซ"ดุดันถึงลูกถึงคน ทำให้คะแนนนิยมพุ่งขึ้นจนสามารถชนะคู่แข่งขัน และก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีเวเนซูเอลาในปี 2542

แนวคิดทางการเมืองของชาเวซเป็นการผสมผสานระหว่างอุดมการณ์ของซิโมน โบลิวาร์ และนักปฏิวัติอเมริกาใต้คนอื่น ๆ กับลัทธิมาร์กซิสต์ และสังคมนิยมแบบลาตินอเมริกัน รวมทั้งปรัชญาทางการเมืองของเช เกวารา และฟีเดล คาสโตร ชาเวซเรียกแนวคิดดังกล่าวว่า ลัทธิโบลิวาร์ประธานาธิบดีชาเวซปฏิรูปทางการเมือง โดยสร้างขบวนการประชาธิปไตยใหม่ โดยการจัดตั้งองค์กรประชาสังคม ที่มีสมาชิกไม่เกิน 30 ครอบครัว เรียกว่า องค์กรชีวิตชุมชน หรือ community living organization-OCVs ในทุกชุมชน ทุกเขต ทุกจังหวัด รวมทั้งในเมืองหลวง แล้วจัดสรรงบประมาณจากภาษีอากร และจากรายได้จากน้ำมันให้องค์กรเหล่านี้ ไปดำเนินการในเรื่องการสุขอนามัย การศึกษา การฝึกอาชีพ สร้างสถานอนุบาลเด็กอ่อน  ประธานาธิบดีชาเวซ ยังจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมาอีก 3 กระทรวง คือ กระทรวงการเคหะ เพื่อจัดการแก้ปัญหาคนไร้บ้านให้มีบ้านอยู่กันทุกคน  กระทรวงอาหารเพื่อแก้ปัญหาความอดอยากของประชาชนโดยเฉพาะเด็ก กระทรวงพลัง เศรษฐกิจรากหญ้า เพื่อประสานงานกับกระทรวง และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ เพื่อปล่อยสินเชื่อรายย่อยให้ประชาชนรากหญ้า บริษัทขนาดเล็ก และขนาดกลาง ให้ตั้งตัวได้ นอกจากนี้ ยังได้จัดสรรงบประมาณอีก 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับดำเนินการโครงการเร่งด่วน 10 โครงการที่เรียกว่า "พันธกิจของรัฐ" ให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัยดำรงชีพ เช่น อาหาร บ้าน การศึกษา และสาธารณสุข ให้กับประชาชนระดับรากหญ้าจำนวนหลายล้านคน ที่มีมาตรฐานชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจนได้มีบ้าน และสามารถอ่านออกเขียนได้  คนแก่เฒ่าทุกคนจะได้รับเงินบำนาญเลี้ยงดูประจำเดือน นอกจากนี้ประธานาธิบดีชาเวซ ยังผูกมิตรกับประเทศคิวบา โดยการขายน้ำมันให้ในราคาพิเศษวันละ 53,000 บาร์เรล แลกกับหมออาสาสมัครชาวคิวบา จำนวน 13,000 คนที่เข้ามาประจำการ 24 ชั่วโมงเพื่อดูแลคนป่วย คนแก่ และเด็กโดยรัฐไม่คิดเงินแม้แต่ค่ายาก็ไม่ต้องจ่าย โครงการนี้ใช้รายได้จากการขายน้ำมันของประเทศมาเป็นค่าใช้จ่าย นับเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ที่ผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และมีมากที่สุด คือ น้ำมัน ได้กลับคืนมาให้ประชาชนเจ้าของประเทศผู้เป็นเจ้าของ ทรัพยากรที่แท้จริงได้  ผลผลิตน้ำมันของเวเนซุเอลา ได้ส่งออกให้ตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาคิดเป็นร้อยละ 15 ของยอดใช้น้ำมันของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นอเมริกาจึงมีบทบาทอย่างมาก ในการร่วมมือกับพรรคการเมือง และนักการเมืองหน้าเก่า 2 พรรค ร่วมกันบ่อนทำลายเสถียรภาพ ของประธานาธิบดีชาเวซในทุกด้าน  ประธานาธิบดีชาเวซ ไม่ยอมให้ผลประโยชน์น้ำมันของชาติถูกนักการเมืองฉกฉวยเอาไปเข้ากระเป๋าตนเอง และสมัครพรรคพวก หรือขายให้ต่างชาติในราคาถูกๆ อีก โดยการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่า ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากน้ำมัน จะให้เอกชนได้รับในสัดส่วนที่มากกว่ารัฐไม่ได้ อันเป็นการอุดช่องโหว่การรั่วไหลของรายได้ของรัฐ แล้วนำรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์  นอกจากนี้ ประธานาธิบดีชาเวซยังเป็นตัวตั้งตัวตี ในการจัดประชุมกลุ่มประเทศผลิตน้ำมันโอเปก ในกรุงคาราคาส เพื่อจำกัดปริมาณการผลิตของแต่ละประเทศ ทั้งนี้เพื่อรักษาราคาน้ำมันของโลกให้เจ้าของบ่อน้ำมันมีกำไร กล่าวได้ว่า ชาเวซคือนักประชานิยมตัวจริงเสียงจริงของเวเนซูเอลาวันนี้ ได้สิ้นลมอย่างสงบ
(ถอดความจากคอลัมน์ เดินคนละฟาก โดย กมล กมลตระกูล ประชาชาติธุรกิจ )