วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คาสเซ็ทท์รีวิว - อัลบั้ม 6-2-12

Cassette Review


อัลบั้ม 6-2-12

ข้อมูลโดยสังเขป  เป็นอัลบั้มพิเศษ ฉลองครบรอบ 15 ปี บริษัทแกรมมี่ รวบรวมศิลปินตัวท็อปสุดของค่าย จำนวน 6 ศิลปิน (คริสติน่า,เจ,มอส,ทาทา,นัท,ยูเอชที) เพื่อทำอัลบั้มพิเศษ โดยจะร้องกันคนละ 2 ซิงเกิ้ล ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า 6-2-12 คือ 6 ศิลปิน 2 ซิงเกิ้ล รวมเป็น 12 บทเพลง

เพลงหน้า A

เพลง /ศิลปิน /คำร้อง-ทำนอง-เรียบเรียง แนวเพลง-สไตล์ /โปรดิวเซอร์

แล้วมารักกันต่อ /คริสติน่า อากีล่าร์ /อรรณพ จันสุตะ-ชุมพล สุปัญโญ /เทคโนแด๊นซ์ /โสฬส ปุณกะบุตร

รักกันเลย /มอส ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ /นันทนา บุญหลง-ธนา ลวสุต /แด๊นซ์ /ธนา ลวสุต

คนแบบฉัน /ทาทายัง /นิติพงษ์ ห่อนาค-อภิไชย เย็นพูนสุข /สโลว์ /โสฬส ปุณกะบุตร

อย่าทำ อย่าทำ /นัท มีเรีย เบเนเด็ตตี้ /ดี้ นิติพงษ์-พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา /ฮิพฮ็อพแด๊นซ์ /โสฬส ปุณกะบุตร

พันธุ์เพ้อเจ้อ /UHT /ประชา พงศ์สุพัฒน์-อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ /ฮิพฮ็อพแด๊นซ์ /โสฬส ปุณกะบุตร

ชีวิต ความรัก น้ำใจ /เจ เจตริน วรรธนะสิน /จักราวุธ แสวงผล-โสฬส ปุณกะบุตร /เทคโนแด๊นซ์ /โสฬส ปุณกะบุตร

เพลงหน้า B

เพลง /ศิลปิน คำร้อง-ทำนอง-เรียบเรียง แนวเพลง-สไตล์ /โปรดิวเซอร์

เตรียมไว้เลย /ทาทายัง /ดี้ นิติพงษ์-ธนา ลวสุต /ร็อคแด๊นซ์ /ธนา ลวสุต

ไม่เคยลืม /เจ เจตริน วรรธนะสิน /จักราวุธ -พงษ์พรหม สนิทวงศ์ /เทคโนแด๊นซ์-แร็พ /ธนา ลวสุต

จากเพื่อนคนหนึ่ง /นัท มีเรีย เบเนเด็ตตี้ /สีฟ้า-ธนา ลวสุต /อาร์แอนด์บี /ธนา ลวสุต

ฉันจะรอดู /คริสติน่า อากีล่าร์ /นวฉัตร-ธนา ลวสุต /ร็อคแด๊นซ์ /ธนา ลวสุต

สาหัส /มอส ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ /ประชา-โสฬส ปุณกะบุตร /ร็อคแด๊นซ์ /โสฬส ปุณกะบุตร

ทุกนาที...ให้เธอ /UHT /ดี้ นิติพงษ์-อภิไชย เย็นพูนสุข /อาร์แอนด์บี /ธนา ลวสุต


อัลบั้มนี้ มีโปรดิวเซอร์ 2 ท่านคือ โสฬส ปุณกะบุตร และ ธนา ลวสุต

เอ็กเซคคลูทีฟ โปรดิวเซอร์ เป็น พี่เต๋อ เรวัติ พุทธินันท์

โปรดักชั่น โค-ออดิเนเตอร์ เป็น พี่ดี้ นิติพงษ์

โค-โปรดิวเซอร์ เป็น จักราวุธ แสวงผล

มิกซ์ดาวน์ เป็น โสฬส ปุณกะบุตร, ปณต สมานไพสิฐ ,ธนา ลวสุต

ควบคุมการร้อง โดย พี่เต๋อ(เรวัติ),พี่โอม(ชาตรี),พี่ติ๊ด(โสฬส),พี่อ้อม,พี่ปอนด์(ธนา),แว่น(จักราวุธ)

ดรีมทีมมากๆสำหรับผู้อยู่เบื้องหลังอัลบั้มชุดนี้ จัดเป็นสุดยอดอัลบั้มแห่งปี 2539
(วางแผงเมื่อ  ต้นปี ม.ค.2539) เพลงเปิดตัว  แล้วมารักกันต่อ,ชีวิต ความรัก น้ำใจ,คนแบบฉัน,อย่าทำ อย่าทำ,รักกันเลย,ทุกนาที...ให้เธอ   ,เพลง แล้วมารักกันต่อ/ติ๊นา  ครั้งแรกที่ได้ฟังก็ชอบเลย บีทของดนตรีบวกกับภาพ MV ที่ดูล้ำทันสมัย เป็นความแปลกใหม่ในยุคนั้น อารมณ์ประมาณตอนได้ฟังเพลงจริงไม่กลัว ชุด 2 ของติ๊นา เพลงนี้น่าจะเป็นตัวแทนของอัลบั้มชุดนี้ ตอบโจทย์คอนเซ็ปต์อัลบั้มได้เป็นอย่างดี คืออัลบั้มเพลงแด๊นซ์ ท่วงทำนองทันสมัย จังหวะดนตรีสุดล้ำ ปราดเปรียว หลากหลายอารมณ์เพลง ชอบการออกแบบปกอัลบั้มที่เป็นรูปแผนภูมิคลื่นเสียง มีการใช้สัญลักษณ์สีฟ้ากับสีแดง สีแดงเป็นตัวแทนของคลื่นเพลงเร็ว จังหวะสนุก และสีฟ้าเป็นตัวแทนของคลื่นเพลงช้า สโลว์ ในขณะที่สีเขียวในอักษรตัวเลข 6-2-12 เป็นตัวแทนของความทันสมัย ปราดเปรียวและตัดด้วยเส้นของสีแดงนั่นก็คือความสนุก กระฉับกระเฉง ซึ่งเป็นธีมของอัลบั้มนี้  ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ อัลบั้มชุดนี้แจ้งเกิดนัท มีเรียจริงๆ เพลงของนัทดังทั้ง 2 เพลง ในขณะที่คนอื่นดังกันคนละเพลงเดียว นัทในเพลงจากเพื่อนคนหนึ่ง ทั้งสวยและเซ็กซี่มาก แม้ว่าการร้องเพลงยังติดสำเนียง ช ฟ ค แต่ผลงานเพลงในช่วงหลังๆ ของเธอนั้นดีขึ้นมากแล้ว เป็นที่ฮือฮากันมากสำหรับเสียงลือเสียงเล่าอ้าง กับข่าวลือที่ว่าจะมีการรียูเนี่ยนคอนเสิร์ตศิลปินกลุ่มที่เคยได้รับความนิยม และเป็นไอด้อลเพลงแด๊นซ์ของค่าย Gmm Grammy ในช่วงปลายของยุค 90’s ที่เคยโด่งดังจากอัลบั้มพิเศษของค่ายเพลงแกรมมี่ ในตอนนั้นจำได้ว่าอัลบั้มได้รับการตอบรับค่อนข้างดีมาก ขายได้เป็นหลักล้านตลับในยุคนั้น และมีการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ที่สนามกีฬากองทัพบก ซึ่งมีคนดูเรือนแสน กลายเป็นคอนเสิร์ตในตำนานของประเทศ คอนเสิร์ตนึงทีเดียว และไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านเนิ่นนานไปอย่างไร ปรากฏว่าศิลปินทั้ง 6 ในอัลบั้มนี้ ยังคงโลดแล่นอยู่ทั้งในวงการบันเทิง วงการเพลงต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน และเมื่อมองย้อนกลับไปหรือกลับไปเปิดเพลงจากอัลบั้มนี้ฟังกี่หน ก็ยังคงความไพเราะของบทเพลง ร้องตามได้เกือบทุกเพลง ดนตรีมีความทันสมัยมาก หากมาเทียบกับสมัยนี้ก็ไม่ถือว่าเชยหรือล้าสมัย ทำให้เมื่อมีข่าวลือถึงการที่แกรมมี่อาจมีการรวมการเฉพาะกิจ จับเอา 6 ศิลปินมารียูเนี่ยนคอนเสิร์ตมีกระแสการตอบรับที่ค่อนข้างดี แม้ว่านักดนตรี นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ในอัลบั้มชุดนี้ได้ลาออกจากแกรมมี่ไปเป็นส่วนใหญ่แล้วก็ตาม แต่หากมีการรียูเนี่ยนได้จริงตามข่าวลือ ก็จะเป็นการปลุกกระแสเพลงแด๊นซ์ในบ้านเราให้กลับมาคึกคักได้อีก หลังจากในปีที่ผ่านมาหลายคอนเสิร์ตของบรรดาตัวพ่อตัวแม่เพลงแด๊นซ์ในบ้านเรา เมื่อกลับมารียูเนี่ยนก็ปรากฏว่าขายดิบขายดี บัตรหมดอย่างรวดเร็วทุกคอนเสิร์ต บางคอนเสิร์ตก็ต้องเพิ่มรอบเพื่อรองรับกับบรรดาแฟนคลับทั้งเก่าใหม่ ที่ให้ความสนใจอย่างมาก

อัลบั้มชุดนี้ได้แจ้งเกิดนักร้องใหม่(ในขณะนั้น)คือนัท มีเรีย เบเนเด็ตตี้ ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้ออกอัลบั้มเป็นศิลปินเดี่ยว แต่ก็ทำให้แฟนคลับเซอร์ไพร้ซ์ในเสียงร้อง และลีลาการร้องการเต้นของเธอ ที่เรียกได้ว่าไม่แพ้นักร้องรุ่นพี่ในค่ายเลยทีเดียว ผู้เขียนชอบเพลงช้าทุกเพลงในอัลบั้มนี้ ทั้งไพเราะและมีเนื้อหา ความหมายดีหมด ไม่ว่าจะเป็น คนแบบฉัน-ทาทายัง,จากเพื่อนคนหนึ่ง-นัท มีเรีย,ทุกนาที...ให้เธอ-UHT ส่วนเพลงเร็วในอัลบั้มนี้ ชอบเพลงที่เป็นของฝั่งพีติ๊ด (โสฬส ปุณกะบุตร) โปรดิวเซอร์ทุกเพลง ดนตรีทันสมัย และมีรายละเอียด กิมมิค ลูกเล่น รวมถึงทำนอง เรียบเรียงเสียงประสานดีกว่าของทางพี่ธนา ลวสุตโปรดิวซ์ อาจเพราะพี่ติ๊ด(โสฬส) นั้นมือเก๋ากว่าในวงการเพลง และถือว่าทำงานกับพี่เต๋อมาอย่างยาวนานมากกว่า วิทยายุทธ์นั้นล้ำเลิศที่สุดคนนึงของวงการ งานที่พี่เขาโปรดิวซ์แทบทุกศิลปินนั้นสบายใจ หายห่วงได้ว่าคุณภาพมว๊าก...........จริงๆ




วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประณามรัฐตำรวจทำเกินกว่าเหตุ สลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา โดยไม่ทำตามขั้นตอน 1-2-3 จากเบาไปหาหนัก




'เสธ.อ้าย'ประกาศยุติการชุมนุมแล้ว อ้างจำนวนไม่เข้าเป้า และเป็นห่วงความปลอดภัย 'ประสงค์'นัดถกกำหนดท่าที

เมื่อเวลาประมาณ 17.00น.ของวันที่ 24 พ.ย.2555 พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้าย ประธานองค์การพิทักษ์สยาม อพส. ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ยังไม่พอใจกับจำนวนผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมเนื่องจากยังไม่เข้าเป้าเนื่องจากถูกสกัด จึงต้องดูสถานการณ์ต่อในวันที่ 25 พ.ย.อีกครั้ง หากไม่เข้าเป้าจริงๆก็จะยุติการชุมนุมทันที

ต่อมาเวลา 17.15น. พล.อ.บุญเลิศได้ขึ้นเวทีปราศรัยว่าเสียใจที่รัฐบาลทำแบบนี้ ทั้งที่ที่องค์การพิทักษ์สยามยืนยันแล้วว่าจะชุมนุมสงบ ไม่ยืดเยื้อ ไม่ยึดสภา หากตนไม่มีเกียรติยศ คงพามวลชนบุกเข้าสภาไปนานแล้ว โดยที่ผ่านมามีการระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาจำนวนมาก แต่ทางตำรวจไม่ควรทำร้ายประชาชนมือเปล่า รวมถึงจับมวลชนไปอีกหลายคนด้วย ซึ่งตนไม่อยากให้คนรักชาติมาเสียชีวิตจากการกระทำของตำรวจแบบนี้ นอกจากนี้ ยังมีการสกัดกั้นทำให้มวลชนไม่สามารถเข้ามาร่วมชุมนุมได้ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ตนขอกราบเท้ามวลชนที่เข้ามาร่วมชุมนุม แต่เพื่อเป็นการรักษาชีวิตของทุกคน ตนขอประกาศยุติการชุมนุม บัดนี้เป็นต้นไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทำให้มวลชนได้ลุกขึ้นยืนปรบมือพร้อมส่งเสียงเชียร์ ซึ่งเป็นขณะเดียวกันกับที่มีสายฝนตกลงมาในพื้นที่ลงมาอย่างหนักด้วย หลังจากพล.อ.บุญเลิศประกาศยุติการชุมนุม แต่ประชาชนที่มาชุมนุมยังไม่ยอมเดินทางกลับ ทำให้พล.อ.บุญเลิศ จึงกล่าวผ่านเครื่องขยายเสียงอีกครั้งเมื่อเวลา 17. 40 น. ว่า "อยากจะกล่าวว่าเสียใจ และพล.อ.บุญเลิศ มันได้ตายไปแล้ว"

โฆษกอพส.แจงยุติชุมนุม

พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี โฆษก อพส. ให้สัมภาษณ์ทางเนชั่นทีวีถึงการยุติชุมนุมว่า เนื่องจาก เสธ.อ้ายไม่ต้องการให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายจึงประกาศยุติชุมนุม เพราะเกรงว่าเจ้าหน้าที่จะมีแผนโหด จากการข่าวของเราพบว่าตำรวจเริ่มใช้ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเรียกกำลังเสริมเข้ามา มีการตัดน้ำตัดไฟ เราจึงต้องรักษาชีวิตประชาชน ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ทำตามหลักการของรัฐธรรมนูญ ส่วนที่บอกว่ามีแผนเด็ดนั้นพล.อ.ท.วัชระกล่าวว่า ก็เป็นคลิปที่นำมาเปิดเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้อย่างแท้จริง ส่วนจะนัดชุมนุมอีกเมื่อไหร่นั้น ขณะนี้ยังไม่มี แต่ในส่วนของแกนนำจะมีการคุยกันในคืนนี้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าประชาชนคงเข้าใจสถานการณ์ เพราะมีการเตรียมใช้ความรุนแรงมาสลายชุมนุม ด้านน.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ แนวร่วมองค์การพิทักษ์สยาม กล่าวว่า วันที่ 25 พ.ย. ตนจะหารือภายในกลุ่มตัวเอง ว่าจะเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไร แต่การหารือครั้งนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแกนนำองค์กรพิทักษ์สยาม แน่นอน

'เสธ.อ้าย'ลั่นยอมตายหากเอา'รบ.'ลงไม่ได้

ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 13.58 น.ผู้ชุมนุมที่นั่งฟังการปราศรัยขององค์กรพิทักษ์สยามอยู่ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ได้มีเสียงดังคล้ายระเบิดอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง ให้ทำให้ผู้ที่นั่งฟังปราศรัยแตกตื่นลุกขึ้นยืนเเละรอฟังแกนนำบนเวที ด้านสื่อมวลชนที่มาทำข่าวที่เวทีได้เก็บอุปกรณ์สื่อสารเพื่อเตรียมรายงานสถานการณ์ทันที ต่อมาเวลา 14.00 น. พล.อ.บุญเลิศ เเก้วประสิทธิ์ และแกนนำหลายคนขึ้นเวที เเละพล.อ.บุญเลิศ กล่าวบนเวทีหลังเสียงดีงคล้ายระเบิดว่า"ประกาศยอมตาย หากเอารัฐบาลลงไมได้" จากนั้นเวลา 14.04 น. พล.อ.บุญเลิศได้ลงจากเวทีพร้อมกับการ์ดเพื่อเดินไปยังเเยกมิสกวันเพื่อเจรจากับตำรวจที่ยิงเเก๊สน้ำตามาด้านนี้ เวลา 14.06 น. สมณะโพธิรักษ์ เจ้าสำนักสันติอโศกได้ถูกแก๊สน้ำตาทางกองทัพธรรมจึงนำตัวมาปฐมพยาบาลที่ด้านหลังเวที

เปิดคลิปทักษิณ-เเกนนำนปช.พาดพิงสถาบัน

พล.อ.บุญเลิศ ขึ้นเวทีอีกครั้งเเละนำคลิปเเกนนำนปช .รวมถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมระบุว่าบุคคลข้างต้นพาดพิงสถาบัน พล.อ.บุญเลิศ กล่าวหลังการเปิดคลิปว่า"คงเห็นเเล้วว่ารัฐบาลทักษิณเลวร้ายเพียงใด จะเอาไว้หรือไม่ ขอสัญญว่าผมก็ไม่เอาเหมือนทุกคน"

'สุริยะใส'ประณามรบ.ก่อความรุนแรง

'สุริยะใส'ประณามรัฐบาลก่อความรุนแรง เปลือยตัวตน 'ยิ่งลักษณ์'แนะ ตร.เปิดพื้นที่ มัฆวานฯ-แยกมิสกวัน เพราะมวลชนล้นลานพระรูปฯ

24 พ.ย.55 นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า ตนขอประณามการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม เป็นความรุนแรงที่จงใจสลายการชุมนุมทั้งที่ผู้ชุมนุมไม่ได้ก่อความรุนแรงแค่ขอให้เปิดทางเพื่อไปสมทบกันที่ลานพระรูปทรงม้าเท่านั้น เป็นความรุนแรงที่เตรียมการมาล่วงหน้าเพื่อหยุดยั้งการชุมนุมอย่างชัดเจน ทั้งนี้ โดยหลักการเจ้าหน้าที่ต้องเปิดเส้นทางบริเวณสี่แยกมิสกวันกับสะพานมัฆวานฯ เพื่อให้ผู้ชุมนุมใช้พื้นที่ถนนราชดำเนินนอกเป็นพื้นที่รองรับมวลชน เพราะบริเวณลานพระรูปฯ พื้นที่รองรับไม่เพียงพอแล้ว ซึ่งถ้าตำรวจเปิดทางก็จะไม่มีเหตุรุนแรงใดๆ แต่ถ้าตำรวจยังตรึงพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะทำให้เกิดความวุ่นวายต่อเนื่องและมีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้น

"ตำรวจและรัฐบาลต้องยอมรับความจริงว่าวิธีดังกล่าวสกัดมวลชนไม่ได้ เพราะยิ่งมีคนทยอยมาสมทบมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีการสกัดกั้นทุกวิถีทางก็ตาม และขอเตือนรัฐบาลว่าอย่าฉวยโอกาสลักไก่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสลายการชุมนุม เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์รุนแรงจนกลายเป็นการจราจลกลางเมืองในที่สุด ความรุนแรงที่เริ่มต้นโดยเจ้าหน้าที่ครั้งนี้ได้เปลือยตัวตน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชัดเจนว่าอำมหิตกว่าที่หลายๆ คนคิด แม้ ผบ.ตร.จะเป็นผู้คุมสถานการณ์แต่ถ้าเห็นว่าบานปลายเอาไม่อยู่ นายกฯต้องสั่งระงับเหตุ และหาวิธีลดอุณหภูมิของสถานการณ์ไม่ใช่ยั่วยุแบบนี้" นายสุริยะใส กล่าว

การเคลื่อนไหวในช่วงก่อนวันชุมนุม

วิชามารทุกรูปแบบถูกนำมาใช้ทุกทิศทุกทาง สำหรับรัฐบาลนี้ ในการสกัดการชุมนุมของภาคประชาชน ด้วยการส่งตำรวจมะเขือเทศ จำนวนกว่า 5,000 คน คุมพื้นที่บริเวณรอบลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งจะใช้เป็นจุดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 24 พ.ย.2555 นี้

รัฐบาลส่งตำรวจมะเขือเทศ ตั้งด่านสกัดการเข้ามาชุมนุมจากทั่วทุกสารทิศ บางถนนรายงานว่า เจอด่านตำรวจกว่า 30 จุด ทำเอาการจราจรเป็นอัมพาตทั่วประเทศ

ส่งผู้ว่าราชการจังหวัด,นายอำเภอ,กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน ไปคุกคาม ข่มขู่ลูกบ้าน ห้ามไม่ให้มาชุมนุม หากฝ่าฝืนจะถูกกลั่นแกล้งรังแก ในหลายรูปแบบ

กดดันขนส่ง รถ บขส. รถทัวร์ทั่วประเทศ ไม่ให้ขนคนเข้ามาชุมนุม โดยการใช้มาตรการควบคุมใบอนุญาตขับรถเข้าเขตชั้นใน หรือไม่ต่อใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ

ล่าสุด เมื่อตอนช่วง 02.00 น. มีผู้ไม่ประสงค์ดี นำงู (ไม่ทราบว่ามีพิษหรือเปล่า) มาปล่อยกลางวงสถานที่ชุมนุม ทำให้ผู้ชุมนุมแตกตื่น แต่ก็ช่วยจับไปปล่อย ในขณะที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึง ความปลอดภัยว่า ตำรวจตั้งด่านไว้มากมายทำไมปล่อยให้คนนำงูมาปล่อยได้

ด่วน รัฐตำรวจใช้เครื่องยิงแก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุมบริเวณทางเข้าชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ไม่ให้ผู้ชุมนุมและรถปราศรัยเคลื่อนที่ของแกนนำชุมนุมผ่านเข้าไปทางนั้น ซึ่งใกล้กับเขตบริเวณที่ชุมนุมได้ แต่ตำรวจให้ผู้ชุมเลี่ยงไปเข้าชุมนุมอีกทางด้านนางเลิ้งแทน ตอนนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บแล้วหลายคน

ตำรวจเตรียมแผนสลายการชุมนุมให้ได้ภายในบ่ายนี้ (24 พ.ย.) ในขณะที่ผู้ชุมนุมก็รอการตัดสินใจจาก เสธ.อ้าย ว่าจะทำอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และก็เป็นที่ทราบกันแล้วว่า เสธ.อ้าย แกนนำองค์การพิทักษ์สยาม ก็ได้ประกาศยุติการชุมนุม เพื่อรักษาชีวิตผู้ชุมนุมเอาไว้

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ในวันที่ประชาชนไม่เชื่อในผลและสำนักวิจัยโพลล์อีกต่อไป

แรกเริ่มเดิมที การจัดทำรายงานการสำรวจหรือผลวิจัยนั้น แต่เดิมจะอยู่ในแวดวงวิชาการ และในเวลาต่อมาก็มีวิวัฒนาการถูกนำมาใช้ในแวดวงธุรกิจ ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำรวจความนิยมในด้านสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภค ทัศนคติ ความต้องการซื้อ ตลอดจนไปถึงการตัดสินใจของผู้บริโภค  หรือถูกนำไปใช้ในแวดวงของธุรกิจสื่อ ที่ใช้เป็นเครื่องมือสำรวจความนิยม เรตติ้งของรายการโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ หรือแม้กระทั่งในโลกอินเตอร์เน็ต  โซเชียลเน็ตเวิร์คก็นำข้อดีของโพลล์สำรวจเหล่านี้ไปทำเป็นฟีเจอร์ ให้กดกัน เช่น ปุ่ม like ในเฟซบุ้ค ที่เป็นตัววัดความนิยมของหัวข้อ กระทู้ เว็บบล็อก หรือแม้แต่นำไปคำนวณเป็นรายได้ที่จะได้รับจาก facebook หรือ google ที่เป็นเว็บ hosting  หรือ เว็บ portal อีกที

ภายหลังต่อมาการสำรวจวิจัยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำรวจความนิยมในด้านการเมือง ซึ่งกาลต่อมาก็เลยใช้เป็นเครื่องมือหลักในการใช้เป็นดัชนีชี้วัดเวลาต้องการทราบผลการเลือกตั้งแบบคาดคะเนล่วงหน้าหรือพยากรณ์เอาผลแพ้ชนะ เช่น การทำ exit poll หรือโพลล์สำรวจก่อนการเลือกตั้ง โพลล์ดีเบต จนเลยเถิดมาถึงปัจจุบันที่โพลล์ถูกนักการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการชี้นำประเด็นทางสังคม ประเด็นทางการเมือง ให้เป็นไปตามความต้องการของนักการเมือง เพื่อชักจูง โน้มน้าว หรือเบี่ยงประเด็น อันจะมีผลต่อการสร้างความนิยมหรือความเชื่อมั่นศรัทธาต่อผู้ว่าจ้างหรือนักการเมืองผู้อยู่เบื้องหลังการจัดทำโพลล์อันนั้น

ระบอบทักษิณ โดย พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ดูเหมือนจะเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านการทำโพลล์ซึ่งได้มีการนำมาใช้ตั้งแต่เริ่มแรกก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เพราะตัวคุณทักษิณนั้นสนิทกับดร.นิยม ปุราคำ ที่เคยเป็นอดีตผอ.สำนักงานสถิติแห่งชาติมาก่อน และเป็นบุคคลที่คุณทักษิณเรียกใช้บริการบ่อยในช่วงก่อตั้งพรรคดังกล่าว การสำรวจความต้องการของประชาชนจนนำมาซึ่งการร่างนโยบายประชานิยมต่างๆ ให้โดนใจประชาชนก็มีจุดเริ่มต้นตอมาจากการทำวิจัยของตัว ดร.ทักษิณทั้งสิ้น และใช้เป็นเครื่องมือในการชี้นำ ชักจูง หรือเบี่ยงเบนความสนใจของสังคมในวาระที่ตัวเองกำลังเพลี่ยงพล้ำ ผลโพลล์จะมาถูกที่ถูกเวลากับช่วงเวลาที่รัฐบาลของทักษิณ มีประเด็นถูกตั้งคำถามจากสังคม หรือกำลังมีปัญหาถูกโจมตี หรือเกิดวิกฤติศรัทธาในด้านใดก็ตาม ก็จะมีโพลล์ที่ถูกว่าจ้าง (ผู้เขียนขอใช้คำว่าเป็นสำนักโพลล์รับจ้างทางการเมือง) เหล่านี้ออกมาแถลงผลการสำรวจที่เป็นการส่งเสริม เป็นคุณ ให้ภาพด้านบวกแก่รัฐบาลของคุณทักษิณอยู่เสมอ ๆ ราวกับมีการเตี๊ยมกันมาอย่างดี ที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าโพลล์การเมือง คือมีการตั้งคำถามชี้นำประเด็น ตั้งธงไว้ทั้งคำถาม และคำตอบ มีการล็อคคำตอบเอาไว้แค่ช้อยส์ที่ต้องการให้เลือก หรือทำโพลล์ในประเด็นที่เป็นคุณแก่ฝ่ายระบอบทักษิณ ในขณะที่หลีกเลี่ยงประเด็นที่ถูกโจมตี ไม่มีการกล่าวถึง หรือเบี่ยงไปประเด็นอื่นที่มีน้ำหนักน้อยกว่า  เพื่อลดทอนประเด็นเนื้อหาที่ถูกโจมตี ในขณะที่เวลาออกข่าวผ่านสื่อก็จะกล่าวถึงผลโพลล์เน้นเฉพาะประเด็นที่เป็นคุณด้านบวกแก่ตน เพื่อสร้างคะแนนความนิยม สร้างภาพลักษณ์ หรือสร้างความชอบธรรมมากลบประเด็นที่กำลังถูกตรวจสอบโจมตี ซึ่งหลายครั้งก็ได้ผล เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่เชื่อในสำนักวิจัยชั้นนำในบ้านเรา โดยที่เนื้อใน ใส้ในจะเป็นอย่างไรก็ไม่สนใจใคร่รู้ หรือตั้งคำถาม เพราะไม่มีใครทราบ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจ ทั้งปริมาณและคุณภาพเป็นอย่างไร  สมมติฐานในการสำรวจวิจัยในแต่ละครั้ง ประเด็นและคำถามมีการตั้งคำถามในลักษณะอย่างไร ระเบียบและวิธีการวิจัยเป็นอย่างไร รวมถึงสูตรและค่าสถิติที่นำมาใช้ในการสำรวจวิจัย ใช้วิธีใด แบบใด สิ่งเหล่านี้ประชาชนโดยทั่วไปไม่มีใครมีความรู้หรือลงลึกด้านเทคนิคต่างๆเหล่านี้หรอก จึงทำให้คนไทยไว้ใจผู้ทำสำรวจ ซึ่งมักจะเป็นสำนักโพลล์ที่อิงแอบอยู่ในสถาบันการศึกษาที่พอจะมีชื่อเสียง แต่ระยะหลังนั้นดูเหมือนผู้ที่เป็นผู้อำนวยการของสถาบันวิจัยเหล่านั้นทำตัวเป็นผู้รับใช้ทางการเมือง (ไม่อยากจะกล่าวหาว่าท่านรับงานมาจากนักการเมืองหรือไม่ หรือมีวาระซ่อนเร้นอะไรอย่างไร)  แต่ผลการสำรวจที่ออกมาในระยะหลัง ประชาชนจะเห็นผ่านสื่อมาโดยตลอดนั้น เป็นเรื่องสำรวจที่เกี่ยวกับการเมืองแทบทั้งสิ้น  เรื่องที่เป็นประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม การศึกษา การวิจัยเชิงวิชาการจริงๆ กลับมีน้อย ทั้งๆ ที่เป็นสถาบันการศึกษา มัวไปรับตังค์อยู่กับใคร ทำไมไม่เห็นผลการวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับทางวิชาการออกมาบ้างเลย ทำให้เครดิตความน่าเชื่อถือของสำนักวิจัยเหล่านี้เสื่อมลง และเกิดวิกฤติศรัทธาในสำนักโพลล์เหล่านั้นเสียแล้ว ถ้าไม่รีบกลับไปทบทวนบทบาทตัวเองเสียใหม่ ในระยะเวลาอันใกล้นี้ สำนักโพลล์เหล่านั้นจะมีสภาพเป็นอย่างนี้  หรือไม่

 
สำนักวิจัย Gallop Poll ทำการสำรวจความน่าเชื่อถือของสำนักโพลล์ต่างๆ ในประเทศไทย ปรากฏผลการสำรวจออกมาดังนี้  (บางส่วนของผลการวิจัยและแบบสำรวจ) 

1.  สำนักโพลล์ที่มีคนเชื่อถือมากที่สุด
         -นิด้าโพลล์   45.5 %
         -หอการค้าไทย 35.5%
         -อื่นๆ 19.00%

2.  สำนักโพลล์ที่มีคนเชื่อถือน้อยที่สุด
         -ดุสิตโพลล์   43.00 %
         -เอแบ็คโพลล์  35.00 %
         -กรุงเทพโพลล์ 12.00%        
         -บ้านสมเด็จโพลล์  10.00 %

3.  สาเหตุที่ทำให้แบบสำรวจการวิจัยและผลการวิจัยของสำนักโพลล์ไม่น่าเชื่อถือ
         -หัวข้อคำถามการตั้งประเด็นชี้นำหรือมีธงเอาไว้ก่อน    55%
         -ตัวเลือกของคำตอบน้อยหรือล็อคคำตอบไว้      5%
         -เลือกกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจไม่มากพอหรือไม่กระจายกลุ่มตัวอย่าง   23%
         -ความโปร่งใสในวิธีการสำรวจ       4%
         -วิธีการสัมภาษณ์หรือผู้ที่ออกไปสำรวจ      3%
         -ค่าความคลาดเคลื่อนหรือ error ในกลุ่มตัวอย่างและคำตอบบางกรณีคลุมเครือไม่ชัดเจน  5%
         -ช่วงจังหวะเวลาของการทำการสำรวจ และช่วงเวลาของการแสดงผลสำรวจ ไม่สอดคล้องหรือปัจจัยตัวแปรเปลี่ยนมีผลต่อการแสดงความรู้สึกหรือการแสดงออกของกลุ่มตัวอย่าง  5%

4.  สาเหตุที่ทำให้สำนักโพลล์หรือผู้จัดทำวิจัยไม่น่าเชื่อถือ
        -มักจัดทำผลโพลล์ออกมาช่วยสนับสนุนประเด็นทางการเมือง   24.0%
        -ผลโพลล์มักออกมาสอดรับ เสริมหรือให้น้ำหนักต่อประเด็นที่ถูกตรวจสอบโจมตีในทางบวก  55.5%
        -พฤติกรรมในอดีต คือเป็นโพลล์ที่เชียร์หรือสนับสนุนทางการเมืองให้กับบางขั้วอย่างชัดเจน  2%
        -ไม่ค่อยเห็นผลงานการวิจัยด้านวิชาการออกมาเผยแพร่ซักเท่าไหร่ หรือไม่เน้นเลย   12%
        -จัดทำผลการวิจัยแต่เรื่องการเมืองเป็นหลัก     5%
        -ผู้จัดทำวิจัยมีแนวโน้มฝักใฝ่พรรคการเมืองบางพรรค หรือมีวาระซ่อนเร้น   1.5%

5. ทางออกของการสำรวจวิจัยที่เกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองเพื่อลบข้อครหาเรื่องการชี้นำหรือเบี่ยงประเด็นทางการเมือง ควรเป็นอย่างไร
        -จัดทำผลการสำรวจประเด็นทางการเมืองเอาไว้ในช่วงเวลาที่เกิดประเด็น แต่นำผลการวิจัยเผยแพร่ออกผ่านสื่อภายหลังครบระยะเวลา 1 ปี ไปแล้ว     36%
        -ไม่ควรสำรวจประเด็นอ่อนไหวทางการเมืองใดๆ ทุกกรณี   1.8%
        -ปรับมุมมองของการตั้งประเด็น สมมติฐาน และทัศนคติของผู้จัดทำวิจัยเสียใหม่ ก่อนที่จะทำผลการสำรวจ    22%
        -จัดทำผลการสำรวจประเด็นทางการเมืองเอาไว้ แต่ห้ามเผยแพร่ผ่านสื่อหลัก ๆ ผู้ที่สนใจผลการสำรวจสามารถขอทราบผลการวิจัยผ่านสำนักโพลล์ได้โดยตรง   40.2%

การสำรวจวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างหลากหลายกลุ่มอาชีพ ฐานรายได้ตั้งแต่ 8,500 บาทถึง 56,000 บาทต่อเดือน การศึกษาตั้งแต่ระดับประถมจนถึงปริญญาเอก  แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯ 35%  และกลุ่มตัวอย่าง ตจว.ภูมิภาค อีก 65% รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น  23,854 ตัวอย่าง  ใช้วิธีการสำรวจแบบสัมภาษณ์ตัวต่อตัว  มีแบบสำรวจที่ไม่สมบูรณ์ ผิดพลาดหรือเสีย จำนวน 1,284
ตัวอย่าง  แบบสำรวจเป็นแบบช้อยส์ให้เลือก ตัวเลือก 3-4 ตัวเลือก และทุกคำถาม มีตัวเลือกคำตอบแบบปลายเปิดให้ตอบด้วย เพื่อทราบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเป็นบางราย/บางกรณี  มีการตั้งสมมติฐานในการวิจัยครั้งนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ค่าสถิติหลายตัว ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์  ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป spss ในการถอดค่าและประมวลผล 

ตัวอย่างผลโพลล์ที่ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกต และยกไว้เป็นกรณีศึกษา ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูว่าเข้าข่ายของโพลล์ชี้นำทางการเมือง และต้องการทำลายน้ำหนักของฝ่ายตรงข้ามหรือไม่

เอแบคโพลล์ ชี้ ปชช.ส่วนใหญ่94.5% ไม่เห็นด้วยการชุมนุมที่นำปท.ไปสู่การปกครองที่ไม่เป็นปชต.
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คำอธิษฐานของคนไทยต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สมุทรปราการ อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงราย มุกดาหาร หนองคาย สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ เลย ยะลา นราธิวาส และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,267 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 11 – 17 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 7 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 ทราบข่าวการนัดชุมนุมขับไล่รัฐบาลของกลุ่มองค์กรพิทักษ์สยามซึ่งนำโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.4 คิดว่าการนัดชุมนุมขับไล่รัฐบาลของกลุ่มองค์กรพิทักษ์สยามเป็นสิทธิของประชาชนที่สามารถแสดงออกได้ทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.5 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่จะนำพาประเทศไปสู่การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มีเพียงร้อยละ 5.5 เท่านั้นที่เห็นด้วย ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.9 คิดว่าการนัดชุมนุมขับไล่รัฐบาลของกลุ่มองค์กรพิทักษ์สยามจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติต่อรัฐบาลไทย ถ้าเกิดความรุนแรงขึ้นในการชุมนุม ในขณะที่ร้อยละ 31.1 คิดว่าไม่กระทบ โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.4 คิดว่าการนัดชุมนุมขับไล่รัฐบาลครั้งนี้เป็นเรื่องการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 32.6 คิดว่าไม่ใช่เรื่องการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.7 คิดว่าถ้ามีการชุมนุมของคนจำนวนมากตามที่ประกาศไว้จะกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 25.3 คิดว่าไม่ส่งผลกระทบ ที่น่าสนใจคือ คำอธิษฐานของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.0 อยากให้การชุมนุมวันที่ 24 พ.ย. เป็นไปด้วยความสงบ เป็นระเบียบเรียบร้อย รองลงมาคือ ร้อยละ 81.2 ขอให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีจิตสำนึกรู้คุณแผ่นดิน ร้อยละ 73.8 อยากเห็นคนไทยรักกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีอะไรก็พูดจากัน ร้อยละ 67.8 อยากเห็นการปรองดองเกิดขึ้นอย่างแท้จริง และร้อยละ 67.2 อยากให้ผู้ชุมนุมทุกคนมีสติ ไม่ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มผู้นิยมความรุนแรง นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.8 ไม่คิดว่าการชุมนุมวันที่ 24 พ.ย.นี้จะยืดเยื้อ

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า จากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า ส่วนใหญ่มีความกังวลต่อการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงจากมือที่สามเพื่อทำให้เกิดความวุ่นวายและการสูญเสีย และยังกังวลต่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพราะความไม่เพียงพอของจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องตรวจตราท้องที่ในช่วงที่มีการชุมนุมใหญ่ จึงต้องการให้ผู้ใหญ่ในสังคมไทยที่มีหน้าที่บริหารจัดการปัญหาบ้านเมืองและฝ่ายการเมืองช่วยกันคิดหาทางออกที่เหมาะสมกับสถานการณ์การเมืองของประเทศ ในเวลานี้โดยไม่ทำให้ประเทศและประชาชนทั้งประเทศต้องเสียหายเดือดร้อน โดยขอให้ช่วยกันประคับประคองบ้านเมืองให้ก้าวไปข้างหน้าและเชื่อมั่นว่ากลุ่มนักการเมืองน้ำดีและกระบวนการยุติธรรมจะสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาการเมืองที่กำลังเป็นบทพิสูจน์ความรักชาติบ้านเมืองที่แท้จริงของประชาชนคนไทยทุกคนในเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการชุมนุมก็คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการเมืองที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเพราะเล็งเห็นว่าไม่มีความสมดุลของจำนวนสมาชิกฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลในสภาฯ จึงต้องการให้มีการเมืองนอกสภาจากภาคประชาชนมาถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายการเมือง จึงน่าจะเป็นข้อมูลสำคัญให้ฝ่ายที่มีอำนาจไม่ประมาท ไม่ทำให้สาธารณชนรู้สึกว่ารัฐบาลกำลังใช้พวกมากในสภาฯ กอบโกยผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องต่อไป จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.7 เป็นชาย ร้อยละ 50.3 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 3.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.9 อายุระหว่าง 20–29 ปี ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 30–39 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40–49 ปี และ ร้อยละ 35.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 58.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ ร้อยละ 41.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 32.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 10.6 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 9.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.3 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ที่มา มติชนออนไลน์ 18 พ.ย.2555


กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ--26ธ.ค.2555--ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ที่สุดของความคิดสร้างสรรค์แห่งปี 2555” โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 15-20 ธันวาคม ที่ผ่านมาจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพ และทุกภูมิภาคทั่วประเทศด้วยคำถามปลายเปิดและให้ผู้ตอบคิดคำตอบเองทุกข้อ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,275 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.9 และเพศหญิงร้อยละ 53.1 สรุปผลได้ดังนี้

1. นักการเมืองของไทยที่มีผลงานสร้างสรรค์มากที่สุดในรอบปี 2555 คือ อันดับ 1 น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 52.1 อันดับ 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะร้อยละ 16.3 อันดับ 3 นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ร้อยละ 15.3 อันดับ 4 ร.ต.อ เฉลิม อยู่บำรุง ร้อยละ 7.1 อันดับ 5 พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 2.6

2. โครงการ/นโยบายของรัฐบาลที่คิดว่าสร้างสรรค์มากที่สุดในรอบปี 2555 คือ อันดับ 1โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ร้อยละ 18.1 อันดับ 2 โครงการรถยนต์ใหม่คันแรกตามนโยบายรัฐบาล ร้อยละ 16.4 อันดับ 3 โครงการค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ร้อยละ 13.8 อันดับ 4นโยบายปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 8.8 อันดับ 5 โครงการขยายเส้นทางเดินรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินสายต่างๆร้อยละ 7.7

3. หน่วยงาน /องค์กร ภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีภาพลักษณ์สร้างสรรค์มากที่สุดในรอบปี 2555 คือ อันดับ 1 กองทัพไทย ร้อยละ 8.9 อันดับ 2 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) ร้อยละ 8.7 อันดับ 3 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ร้อยละ 8.5 อันดับ 4 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 7.9 อันดับ 5 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 7.7

4. ละครทีวีของไทยที่สร้างสรรค์มากที่สุดในรอบปี 2555 คือ อันดับ 1 แรงเงา ร้อยละ 56.3 อันดับ 2 รากบุญ ร้อยละ 6.7 อันดับ 3 กี่เพ้า ร้อยละ 5.6 อันดับ 4 ธรณีนี่นี้ใครครอง ร้อยละ 4.5 อันดับ 5 ขุนศึก ร้อยละ 3.6

5. รายการทีวีที่สร้างสรรค์มากที่สุดในรอบปี 2555 คือ อันดับ 1 เรื่องเล่าเช้านี้ ร้อยละ 18.5 อันดับ 2 คนค้นฅน ร้อยละ 7.5 อันดับ 3 กบนอกกะลา ร้อยละ 7.3 อันดับ 4 ชิงร้อยชิงล้าน ร้อยละ 7.0 อันดับ 4 ตี 10 ร้อยละ 7.0 อันดับ 5 The Voice ร้อยละ 6.7

Tags: กรุงเทพโพลล์

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เศรษฐศาสตร์ชาตินิยม (Nationalism Economics) Attitude Review Serie

ตอนที่ 7 หน้าผาทางการเงินการคลังของไทย น่าเป็นห่วงสุด




โครงการประชานิยมต่างๆ ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย คือต้นตอของการผลาญเงินงบประมาณประเทศไปแบบสิ้นคิด ขาดซึ่งวินัยทางการเงินการคลัง ผิดหลักวิชาการ ขาดซึ่งธรรมาภิบาล ขาดความโปร่งใส ปกปิดข้อมูล หรือไม่ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงแก่สาธารณะชน มิยอมให้มีการตรวจสอบความถูกต้อง ไม่ฟังคำท้วงติงจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น พอถูกจับได้ไล่ทัน ก็จะหาข้ออ้าง ตะแบง เล่นลิ้น พลิกแพลง แก้ไข เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หรือใช้วาทกรรมอำพรางข้อเท็จจริง เพื่อชักจูงโน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจผิดไปอีกทางหนึ่ง กล่าวโดยสรุปก็คือไม่เข้าองค์ประกอบของ Good Governance (ธรรมาภิบาลในภาครัฐ) เลยซักข้อ หนำซ้ำยังนำพารัฐนาวาในส่วนของการคลังของประเทศไปสู่หุบเหวแห่งความหายนะลงทุกขณะจิต ที่เรียกว่า หนาผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) และอยู่ในสภาพของรัฐที่ล้มเหลวแล้วในทางพฤตินัย (Failed State)

วาทกรรมเรื่องการจำนำข้าว ที่แท้คือการรับซื้อข้าวโดยภาครัฐ โดยทำลายกลไกตลาดเสียเอง ผูกขาดตัดตอนทำตัวเป็นพ่อค้าผูกขาดรายใหญ่ ทำลายระบบการค้าซื้อขายข้าวพังลงอย่างเบ็ดเสร็จ หรือบูรณาการ อย่างที่รัฐบาลชุดนี้ชอบใช้กัน เฉกเช่นวาทกรรมเรื่องรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย ผ่านการเลือกตั้งมาด้วยเสียงประชาชน แต่ในทางพฤตินัยแล้ว ส.ส.ที่ผ่านการเลือกตั้งมานั้น ถูกซื้อตัวจากเจ้าของพรรค ใช้จ่ายเงินซื้อเสียงประชาชนมาเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง หนำซ้ำพอเข้าสภามายังทำตัวเป็นลูกจ้างของเจ้าของพรรคการเมือง ทำหน้าที่เพียงยกมือตามใบสั่งของเจ้าของพรรค เพราะกินเงินเดือนเจ้าของพรรค กลายเป็นเผด็จการรัฐสภาโดยระบบทุนนิยมสามานย์อยู่เบื้องหลังโดยเอาประชาธิปไตยมาบังหน้า จากนั้นก็ใช้วาทกรรมรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินนโยบายต่างๆ ทั้งขายชาติ ทุจริต คอรัปชั่น ผลาญเงินงบประมาณต่างๆ แล้วนำผลประโยชน์เหล่านั้นเข้ากระเป๋าตัวเอง แบบไม่ยำเกรงหรือฟังเสียงท้วงติงจากใครทั้งสิ้น แม้แต่ประชาชนเจ้าของประเทศ

ข่าวและบทความที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เงินงบประมาณสำหรับนโยบายประชานิยมของรัฐ
หนังสือด่วนที่สุด 2 ฉบับ(ที่ กค 0904/16437 ลงวันที่ 18 กันยายน 2555 และที่ กค 0904/17560 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2555) ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ที่ส่งถึงรัฐบาลโดยมีเนื้อหาสรุปภาพรวมโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งถ้าอ่านอย่างวิเคราะห์และพิจารณาแล้วจะพบว่า สบน.แสดงความเป็นห่วงเรื่องภาระหนี้สาธารณะต่องบประมาณในอนาคตที่กำลังเพิ่มมากขึ้นๆ อันเกิดจากโครงการจำนำข้าวของรัฐบาล ซึ่งก็สอดคล้องกับคำเตือนของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุลอดีตรองนายกฯ และรมว.คลัง ที่กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ว่า ถ้าเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป หนี้(สาธารณะ)จะมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนอาจถึงขีดอันตราย คือ 60% ของ จีดีพี (GDP) ซึ่ง ณ สิ้นเดือนตุลาคม หนี้สาธารณะก็สูงกว่า 47.8% ของจีดีพีแล้ว ยังไม่รวมภาระค้ำประกันหนี้ ธ.ก.ส.อีกประมาณ 1.9 หมื่นล้านและต้องเพิ่มทุนให้ ธ.ก.ส. รัฐวิสาหกิจ ธนาคารเอสเอ็มอี และธนาคารอิสลาม ถ้ารวมแล้วจะมีหนี้เป็น 49.9% ของจีดีพี

ข้อมูลนี้Linkจาก: http://www.naewna.com/politic/columnist/4092


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการสัมมนาเรื่อง ข้าว ชาวนา นักการเมืองและประเทศชาติ ใครได้ใครเสีย ? จัดโดยสำนักข่าวไทยพับบลิก้า ในต้นสัปดาห์นี้ โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลกระทบต่อหนี้สาธารณะและความน่าเชื่อถือของประเทศจากโครงการรับ จำนำข้าวของรัฐบาล หลังจากที่คณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตร ได้ประเมินความเสียหายหลังสิ้นสุดโครงการได้ 3 เดือน โดยพบว่าจะมีความเสียหายเกิดขึ้นประมาณ 32,000 ล้านบาท

ม.ร.ว.ปรีดิ ยาธรกล่าวว่า การคำนวณความเสียหายของคณะกรรมการปิดบัญชีฯ เป็นการประเมินจากปริมาณข้าวที่รับจำนำเข้ามา 6.95 ล้านตัน ด้วยต้นทุนทั้งหมด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 แต่หากคิดจากปริมาณข้าวที่จะเข้ามาตามโครงการรับจำนำทั้งปี 2555 ราว 21.64 ล้านตันแล้ว คาดว่าผลขาดทุนทั้งปี 2555 ของรัฐบาลจะอยู่ที่ 140,000 ล้านบาท และหากรัฐบาลยังไม่ยอมยกเลิกโครงการรับจำนำปี 2555/56 จากปริมาณข้าวที่จะรับจำนำเข้ามาทั้งสิ้น 33 ล้านตัน ก็จะทำให้มีผลขาดทุนสูงถึง 210,000 ล้านบาท หากนำข้อมูลผลการ ขาดทุนข้างต้นมาคำนวณหนี้สาธารณะแล้วก็จะพบว่า การขาดทุน 140,000 ล้านบาท รวมกับหนี้ค้างจ่ายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมถึงการเพิ่มทุนให้ธนาคารของรัฐต่าง ๆ แล้วจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 49.9% รัฐบาลชุดนี้บอกว่า จะทำงบประมาณสมดุลภายใน 5 ปี แต่หากดูจากรายการกู้จาก 3 ส่วนแล้ว ทั้งการกู้เงินเพื่อตั้งกองทุนประกันภัย 50,000 ล้านบาท กู้เพื่อโครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอีก 2.27 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนตามแผนของรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว 70% แต่ก็จะมีส่วนที่มาใช้งบประมาณอยู่ 30% หรือ 680,000 ล้านบาท แม้จะยอมให้ GDP โตได้ปีละ 4.5% พอถึงปี 2562 หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเป็น 53.7% ของ GDP แต่ถ้าโครงการรับจำนำข้าวยังเดินหน้าต่อและรัฐบาลต้องขาดทุนต่อไปเรื่อย ๆ ปีละ 210,000 ล้านบาท หนี้สาธารณะ ณ ปี 2562 จะอยู่ที่ 61%

ขณะ ที่ นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวถึงวิธีการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลว่า รอบนี้บริษัทผู้ส่งออกข้าวที่มีสายสัมพันธ์กับนักการเมืองมีวิธีการระบาย ข้าวที่สลับซับซ้อน จากเดิมที่ใช้บริษัทเดียวเข้ามาประมูลไปขาย ปรากฏว่า "ไม่ประสบความสำเร็จ" มารอบนี้จึงเปลี่ยนเป็นรูปแบบการใช้บริษัทนายหน้าหลายบริษัทและกินส่วนต่าง กว่าข้าวจะไปถึงผู้ส่งออกต้องผ่าน 3-4 ขั้นตอน "สลับซับซ้อนมาก การตามเรื่องนี้ไม่ใช่ง่าย ๆ"
"ต้องระวังว่า โครงการรับจำนำข้าวแบบนี้กำลังทำลายผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลุ่มเกษตรกรที่ พยายามพัฒนาข้าวคุณภาพ สุดท้ายแล้วจะเหลือแต่โรงสีขนาดใหญ่ที่เข้าโครงการ ทำให้โรงสีเหล่านี้กลายเป็นฐานการเมืองที่เข้มแข็งขึ้น เท่าที่ผมติดตามข้อมูลการรับจำนำข้าว ปริมาณข้าวในตลาด ราคาข้าวในประเทศควรจะสูงขึ้น แต่ปรากฏว่า ราคาข้าวในประเทศไม่ปรับขึ้น หมายความว่า อาจมีการอนุมัติขายข้าวในประเทศโดยไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ" ทั้งนี้จากการประเมินปริมาณข้าวที่รัฐบาลคาดว่า จะระบายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4/2555 และตลอดปี 2556 คาดว่ารัฐบาลจะมีการขาดทุนทั้งสิ้น 172,000 ล้านบาท ซึ่งประโยชน์ทั้งหมดจะตกสู่ชาวนาอยู่ประมาณ 1.1 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเสียไปกับค่าดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงการที่ข้าวเสื่อมสภาพ โดยเมื่อแยกย่อยผลประโยชน์ที่ชาวนาได้รับแล้วพบว่า ชาวนาจนได้ประโยชน์อยู่ 18% ชาวนาฐานะปานกลาง 42% และชาวนารวย 39% แสดงให้เห็นชัดว่า โครงการนี้ออกแบบมาเพื่อการเมือง เพราะผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับชาวนาฐานะปานกลางกับร่ำรวยเป็นฐานการเมือง ขนาดใหญ่กว่าชาวนายากจน นอกจากนี้โครงการรับจำนำข้าวจะส่งผลกระทบ ต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศด้วย เพราะรัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากไปกับโครงการนี้ ยกตัวอย่างเช่น ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลทำงบประมาณขาดดุลและกู้ยืมได้ 480,000 ล้านบาท ถ้าโครงการรับจำนำข้าวเดินหน้าต่อจะทำให้การกู้ยืมกว่า 66% ต้องหมดไปกับโครงการนี้ และเหลือการกู้ยืมเพื่อโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพียง 34% เท่ากับว่าคนที่เกี่ยวข้องกับข้าว 3 ล้านคนได้ประโยชน์ไป 66% และมีส่วนเหลือมาลงทุนเพื่อประโยชน์แก่ส่วนคนไทยอีก 60 กว่าล้านคนเพียง 34%

ด้าน นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวได้ทำให้ใน 9 เดือนแรกการส่งออกข้าวหดตัวลงถึง 44% แม้ตอนนี้จะยังเป็นผู้นำด้านมูลค่าการส่งออก แต่พบว่า ช่วงห่างของราคาเทียบกับข้าวเวียดนามแล้ว แคบลงจาก 84% เหลือ 31% กล่าวคือ 9 เดือนแรกของปีที่แล้วไทยและเวียดนามมีมูลค่าส่งออก 5,800 ล้านดอลลาร์ และ 2,800 ล้านดอลลาร์ แต่มาปีนี้อยู่ที่ 3,400 ล้านดอลลาร์และ 2,600 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ คาดว่าหากดำเนินโครงการรับจำนำข้าวแบบนี้ต่อไปเวียดนามจะแซงประเทศไทยในแง่ มูลค่าการส่งออกข้าวได้ภายใน 1-2 ปี
"โครงการรับจำนำข้าวที่ รัฐบาลกำลังทำอยู่นี้ ไม่น่าจะทำให้ราคาข้าวในตลาดปรับตัวสูงขึ้น เพราะขณะนี้ประเทศผู้ผลิตไม่มีปัญหาด้านอุปทานที่จะออกสู่ตลาด ขณะ ที่ผู้ผลิตสำคัญ เช่น พม่าและกัมพูชา ก็เปิดตัวเองเพื่อส่งออกมากขึ้น ตลอดจนการระบายข้าวออกของรัฐบาลไทยนี่เองที่จะกดให้ราคาข้าวในตลาดโลกปรับ ตัวลดลง แม้ภาพรวมของประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ดีมานด์ข้าวไม่ได้สูงขึ้น ดังนั้นจึงง่ายมากที่จะมีคู่แข่งมาแทนที่ผู้ส่งออกข้าวไทยได้ง่าย โอกาสที่จะถูกแย่งมาร์เก็ตแชร์มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่คุณภาพข้าวมีแต่แย่ลง เพราะเกษตรกรไม่สนใจเรื่องคุณภาพ เพราะปลูกยังไงก็นำมาจำนำกับรัฐบาลได้"  อย่างไรก็ตาม ที่น่าห่วงอีกประการหนึ่งคือ การขายข้าวแบบลับ ๆ ของรัฐบาลที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายรัฐบาลที่แล้ว ต่อเนื่องมาถึงต้นรัฐบาลชุดนี้ ทำให้ฝ่ายค้านไม่ค่อยกล้าตีเรื่องนี้มากนัก ซึ่งกรณีนี้ทำให้เห็นว่า ผู้ส่งออกข้าวบางบริษัทมียอดส่งออกข้าว พุ่งขึ้น ประมูลข้าวได้ในราคาถูกกว่าตลาด จึงขายได้สวนทางกับบริษัทส่งออกรายอื่นที่อยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ เหมือนเป็นการสร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (unfair competition) ซ้ำเติมวงการข้าวไทย

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เรียกว่า ยิ่งนานวันยิ่งเห็นสัญญาณผิดปกติมากขึ้นเป็นลำดับ สำหรับ อภิมหาประชานิยม กับทั้ง “โครงการรับจำนำข้าว” และ “โครงการรถยนต์คันแรก” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และยิ่งแก้เกมก็ยิ่งทำให้เห็นร่องรอยของความพินาศฉิบหายปรากฏให้เห็นมากขึ้นเป็นลำดับ
กล่าวสำหรับโครงการรับจำนำข้าวนั้น พิรุธและความผิดปกติประการแรกก็คือ วันดีคืนดี “นายบุญทรง เตริยาภิรมย์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สายตรง “เจ๊ ด.” แอบยัดไส้เป็นวาระจรด้วยการเสนอเข้ามาเป็น “วาระลับ” ให้คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พ.ย.2555 ที่ผ่านมาอนุมัติการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะเวลา 3 ปีนับตั้งแต่ปี 2556-2558  เพราะในความเป็นจริงแล้ว เรื่องสำคัญที่เป็นความเป็นความตายของรัฐบาลระดับนี้สมควรที่จะเสนอเป็นวาระปกติ ไม่ใช่เป็นวาระจร แถมเป็นการเสนอในช่วงระหว่างที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอีกต่างหาก เนื่องจากติดภารกิจการประชุมอาเซ็นอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ทั้งนี้ เหตุผลที่นายอัครพงศ์ ทีปวัชระ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศให้ไว้ก็คือ เป็นเพราะตัวแทนจากรัฐบาลจีนจะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อหารือเรื่องข้าวในช่วงต้นเดือนธันวาคม ทำให้ไม่สามารถรอนำเรื่องเข้าประชุมครม.ในวาระปกติได้ เนื่องจากไม่ทันต่อสถานการณ์  แต่นั่นดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ข้ออ้างที่ทำให้คลายข้อสงสัยได้เท่าใดนัก เพราะเรื่องนี้จำเป็นที่จะต้องมีความรอบคอบเนื่องจากเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องรีบเร่ง แถมยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดอีกว่า ราคาขายที่เซ็นลงนามในเอ็มโอยูฉบับดังกล่าวเป็นอย่างไร  ประเทศจีนมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงอย่างไรถึงได้ตัดสินใจเซ็นเอ็มโอยูสั่งซื้อข้าวจากไทยเพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งซื้อขายปีละ 300,000 ตัน เป็นไม่เกินปีละ 5,000,000 ตัน ประเทศไทยต้องซื้อสินค้าชนิดใดจากจีนเป็นข้อแลกเปลี่ยนรถไฟ... แท็บเล็ต.... หรือมีความเชื่อมโยงกับการตัดสินใจคัดเลือกบริษัทที่ได้รับคัดเลือกการลงทุนระบบน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ฯลฯ และราคาสินค้าดังกล่าวจะสูงลิ่วจนผิดจากธรรมชาติที่ควรจะเป็นหรือไม่ เพราะมีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะเสียเปรียบประเทศจีนในการลงนามในเอ็มโอยูฉบับดังกล่าว เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีความต้องการที่จะระบายข้าวออกเป็นการเร่งด่วนเพื่อสร้างภาพทางการเมืองและลดภาระทางการคลังที่กำลังหนักหนาสาหัส ดังนั้น จึงอาจยินยอมที่จะเสียเปรียบโดยความสมัครใจ  แต่ที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นคำสั่งอันพิลึกกึกกือว่า แม้ครม.จะเห็นดีเห็นงามตามที่นายบุญทรงอธิบาย แต่ก็มีการกำชับอย่างหนักแน่นว่า ไม่ให้มีการเปิดเผยในรายละเอียดหรือแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้แต่อย่างใด

คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ มีความลับอันใดซุกซ่อนอยู่ในเอ็มโอยูฉบับนี้ถึงต้องปกปิดต่อสาธารณชน

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมครม.ในวันดังกล่าว ยืนยันอย่างแข็งขันว่า “เป็นเรื่องดีไม่มีปัญหา” แต่ทำไมถึงไม่กล้าเปิดเผยรายละเอียดของเรื่องดีๆ แถมยังโบ้ยให้ไปถามรายละเอียดเอากับกระทรวงพาณิชย์อีกต่างหาก ขณะที่ “ชูเกียรติ โอภาสวงศ์” นายกกิตติมศักดิ์สมาคมส่งออกข้าวไทย ให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวเอาไว้อย่างมีนัยสำคัญว่า หากทำได้จริงจะดึงราคาข้าวสูงขึ้น 10-15% แต่ประเด็นคือจะมีการส่งมอบข้าวจริงหรือไม่ หรือเป็นแค่ลมปากเพราะเป็นแค่เอ็มโอยู และตัวเลขส่งมอบให้จีนปีละ 5 ล้านตันสูงจนโอเวอร์ ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ เพราะโดยปกติจีนจะนำเข้าข้าวแค่ปีละ 1-1.5 ล้านตัน มีปีนี้ที่จีนนำเข้าข้าวเพิ่มเป็น 2.5 ล้านตัน เพราะพื้นที่เพาะปลูกในภาคใต้ประสบน้ำท่วม ที่สำคัญไม่มีประเทศไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่จีนนำเข้า

ข้อมูลแห่งความพินาศฉิบหายประการที่สองที่ปรากฏให้เห็นก็คือ หนังสือด่วนที่สุด ที่ กค.0904/17560 ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ลงนามโดย นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม เรื่อง “รายงานผลการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 และพิจารณาปริมาณและวงเงินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56” โดยเสนอต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวมีทั้งหมด 6 หน้า ระบุถึงปัญหาและความห่วงใยต่อโครงการรับจำนำข้าวไว้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญคือ ในตอนท้ายของข้อ 2.1 ระบุไว้ว่า "...เป็นภาระงบประมาณที่สูงมาก จำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบายสินค้าเกษตรได้ช้าและไม่มีงบประมาณเพียงพอ ดังนั้นก่อนการดำเนินโครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตรต่อไป จึงควรมีการประเมินผลกระทบโครงการและแนวทางการบริหารจัดการวงเงินสำหรับการดำเนินโครงการอย่างเป็นรูปธรรม" ขณะที่ข้อ 2.2 ระบุว่าเนื่องจากวงเงินดำเนินโครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตร ปีการผลิต 2554/55 เป็นวงเงินที่สูงและเป็นภาระต่อเนื่องต่องบประมาณ ทั้งในส่วนเงินทุน ธ.ก.ส. กรอบวงเงินกู้เดิม และส่วนที่อยู่ระหว่างขยายปริมาณและกรอบการใช้เงิน (กรณีพิเศษ) เพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น 408,160 ล้านบาท (90,000+268,660+49,500) รวมทั้งกินวงเงินค้ำประกันของโครงการลงทุนของประเทศของหน่วยงานอื่นๆ ดังนั้นหากจะมีการดำเนินโครงการต่อเนื่อง ควรมีการวิเคราะห์และประเมินผลของโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว รวมทั้งนโยบายการระบายผลิตผลทางการเกษตรที่รับจำนำอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนการดำเนินการโครงการใหม่ ซึ่งใช้วงเงินสูงถึง 405,000 ล้านบาท ทำให้ภาระงบประมาณเพิ่มสูง หากยังไม่มีการระบายผลผลิตโครงการรับจำนำผลิตผลทางเกษตรดังกล่าว จะส่งผลต่อความสามารถของกระทรวงการคลังในการค้ำประกันเงินกู้โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56  “และหากกรณีระบายผลิตผลที่รับจำนำได้ใน 3 ปี จะมีภาระการบริหารการปรับโครงสร้างหนี้เฉลี่ยปีละ 224,553 ล้านบาท ซึ่งกระทบต่อการระดมทุนในตลาดเงินที่มีสภาพคล่องตึงตัว ทั้งในด้านต้นทุน การกู้เงินที่สูงขึ้น และเป็นภาระงบประมาณเพิ่มสูงขึ้นต่อไป” หนังสือระบุ
นอกจากนี้ ข้อ 2.3 หนังสือของกระทรวงการคลังยังระบุอีกว่า การรายงานผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ดังกล่าว ไม่สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะต้องกำกับ ติดตาม ควบคุม รวมทั้งรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงาน การเบิกจ่าย การระบายสินค้า ปริมาณและมูลค่าสินค้าคงเหลือ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น สำหรับโครงการที่ดำเนินการในปีการผลิต 2554/55 ทุกโครงการ...ความไม่สอดคล้องที่ว่านั้น ย่อมหมายถึงว่า การดำเนินโครงการในปีการผลิต 2554/2555 กระทรวงพาณิชย์ของเจ๊ ด.มีการหมกเม็ดข้อมูลเอาไว้เป็นจำนวนมาก มิฉะนั้นแล้ว กระทรวงการคลังจะไม่มีทางที่ติติงในประเด็นดังกล่าวเอาไว้อย่างแน่นอน  ที่สำคัญคือ ในข้อ 2.6 กระทรวงการคลังจะระบุว่า “โครงการรับจำนำข้าวเปลือก เป็นโครงการที่ดีที่ช่วยเหลือเกษตรกร” แต่กระทรวงการคลังก็ได้เตือนด้วยเช่นกันว่า การรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ด ควรมีมาตรการวางแผนการรับจำนำที่ดี และควรดูแลเรื่องข้าวสวมสิทธิ์จากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในอนาคตเมื่อมีการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 นอกจากนั้นโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของประเทศไทยส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น ประเทศส่งออกรายอื่นได้ประโยชน์ ดังนั้น เพื่อลดภาระของประเทศไทยและผลประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าว จึงควรจะได้มีการรวมกลุ่มประเทศผู้ส่งออก โดยกำหนดราคาขั้นต่ำในการส่งออกและร่วมกันตั้งกองทุนเพื่อรักษาระดับราคาข้าวขึ้น ซึ่งจะทำให้รายได้ของเกษตรกรของประเทศผู้ผลิตสูงขึ้น  แต่ที่เด็ดที่สุดเห็นจะเป็นข้อเสนอแนะ 2.10 ซึ่งกระทรวงการคลัง ระบุว่า เนื่องจากเงินค้ำประกันในปีงบประมาณ 2556 มีจำกัด ดังนั้น เห็นควรจัดสรรวงเงินกู้ไม่เกิน 150,000 ล้านบาท สำหรับเป็นการหมุนเวียนในการดำเนินโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลทางการเกษตรตามนโยบายรัฐบาล โดยโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 เป็นส่วนหนึ่งของกรอบหนี้ โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินกู้และดอกเบี้ย รัฐบาลรับภาระชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจากเงินกู้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการทั้งหมด “วงเงินส่วนที่เหลือเห็นควรให้ ธ.ก.ส.ระดมเงินจากตลาดและเงินฝาก ธ.ก.ส.ตามกรอบของพระราชบัญญัติ ธ.ก.ส.เป็นลำดับแรก หากไม่เพียงพอให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ให้โดยไม่ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว” หนังสือระบุ

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ซึ่งนำเอกสารดังกล่าวมาเปิดเผย ระบุว่า เนื้อหาของหนังสือ 2 ฉบับ สะท้อนปัญหาของโครงการรับจำนำข้าว 3 ประการหลักๆ คือ 1.การอนุมัติข้าวนาปี วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต้องระดมเงินจากตลาดและเงินฝาก โดยกระทรวงการคลังจะไม่ค้ำประกัน 2.ให้กระทรวงพาณิชย์ต้องระบายข้าวให้เร็ว กระทรวงการคลังจะไม่ต้องกู้เงิน 3.มาตรการอุดช่องโหว 10 ข้อตามเอกสาร ที่เห็นว่าการจ่ายเงินให้โครงการดังกล่าวไม่คุ้มค่า “เอกสารดังกล่าวนี้เป็นเอกสารชัดเจนยิ่งกว่าใบเสร็จ ที่ทำให้เห็นว่าการรับจำนำข้าวที่ราคาสูงกว่าท้องตลาด 50% เป็นปัญหา และรัฐบาลไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะข้อมูลไม่ได้มาจากนักวิชาการ ฝ่ายค้าน หรือ ส.ว. แต่เป็นคนในรัฐบาลเสนอเอง โดยเฉพาะการลงนามในฉบับแรกโดยนายกิตติรัตน์ และฉบับ 2 ของนายทนุศักดิ์ จึงอยากถามว่า นายกิตติรัตน์หัวหน้าทีมเศรษฐกิจจะตอบเรื่องนี้อย่างไร และจะมีความเห็นขัดแย้งกันเองหรือไม่”นายคำนูณแจกแจงด้วยเหตุและผลดังกล่าวที่ยืนยันถึงความผิดพลาดในการดำเนินนโยบาย รวมถึงปัญหาอันหนักหนาสาหัสที่จะตามมาหลอกหลอนไปอย่างต่อเนื่อง เพราะใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 4 00,000 ล้านบาท ทำให้ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรรัปชัน ที่มีนายประมนต์ สุธีวงศ์ เป็นประธาน ได้เสนอเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับพิจารณาและตรวจสอบการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว เพราะเห็นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง ซึ่งล่าสุด ป.ป.ช.ได้รับเรื่องไว้แล้ว และอยู่ระหว่างการเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบในเรื่องนี้ต่อไป
สำหรับโครงการประชานิยมโครงการที่ 2 ที่กำลังสั่นสะเทือนสถานะทางการคลังของรัฐบาลอย่างหนักไม่แพ้กันก็คือ “โครงการรถยนต์คันแรก” เพราะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า กรมสรรพสามิตจะต้องใช้เงินเพื่อการนี้สูงทะลุ 2.9 หมื่นล้านบาทอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
“ปัจจุบันมีผู้มาขอใช้สิทธิรถยนต์คันแรกแล้ว 3.08 แสนราย เป็นเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท คาดว่าถึงสิ้นปีจำนวนเงินที่ต้องใช้เกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ 3 หมื่นล้านบาท โดยล่าสุด คืนเงินให้ผู้ใช้สิทธิไปแล้ว 1.09 หมื่นราย คิดเป็นเงิน 849 ล้านบาท ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2556 กระทรวงการคลังต้องคืนเงินให้ผู้ใช้สิทธิในโครงการ 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณมาแล้ว 7,500 ล้านบาท และขณะนี้กรมบัญชีกลางได้ขอใช้งบกลางเพื่อนำเงินมาใช้ในโครงการอีก 10,500 ล้านบาทแล้ว”นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ให้ข้อมูล
แต่ที่น่าเป็นห่วงมากไปกว่านั้นก็คือ การที่ ครม.มีมติขยายเวลารับมอบรถยนต์ และยื่นเอกสารหลักฐานตามมาตรการรถคันแรกออกไป 90 วันหลังรับมอบรถเพื่อชดเชยกับระยะเวลาที่โรงงานผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์หยุดดำเนินการเนื่องจากประสบปัญหาอุทกภัย และเพื่อไม่ให้ประชาชนเสียสิทธิได้รับเงินคืนภาษีเนื่องจากได้รับการส่งมอบรถล่าช้าจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ นั้น กำลังจะก่อปัญหาที่หนักหนาสาหัสต่อเม็ดเงินที่จะนำไปใช้ เพราะมีแนวโน้มที่อาจส่งผลให้ยอดซื้อรถคันแรกที่เข้าโครงการพุ่งทะลุเกินกว่า 5 แสนคัน และรัฐต้องคืนภาษีมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพราะยังเหลือเวลาอีกไม่น้อยกว่าโครงการจะสิ้นสุด และบรรดาผู้ประกอบการต่างเข็นรถที่เข้าข่ายได้รับสิทธิตามโครงการนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การประมาณการยอดรถที่จะเข้าร่วมโครงการพุ่งขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่า งบประมาณที่ตั้งไว้ในเบื้องต้น 3 หมื่นล้านบาทก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะใช้คืนเงินตามนโยบายที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง  นอกจากนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ วันนี้คือ การคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อรถที่ล่าช้า และมีเสียงบ่นออกมา โดยที่กรมสรรพสามิต กรมบัญชีกลาง และกรมการขนส่งทางบก ยังไม่สามารถเชื่อมระบบเพื่อตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพื่อคืนเงินให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งๆ ที่ตอนเริ่มต้นโครงการ บอกไว้อย่างชัดเจนว่าใช้เงินสำหรับโครงการนี้สูงถึง 100 ล้านบาทในการดำเนินการ โดยไม่เกี่ยวข้องกับเงินที่คืนภาษี 3 หมื่นล้านบาทแต่อย่างใด แต่ด้วยเหตุผลอันใดไม่ทราบจึงไม่มีการนำงบ 100 ล้านบาทมาใช้วางระบบเชื่อมต่อ 3 กรมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การคืนเงินสะดวกและรวดเร็วขึ้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าเงิน 100 ล้านบาทล่องหนไปอยู่ในกระเป๋าใคร
ขณะที่ปัญหาเรื่องการตั้งงบประมาณคืนเงินให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการโดยกรมบัญชีกลางได้จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ได้รับสิทธิไปแล้ว 3 งวด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 849 ล้านบาท จํานวน 10,987 คัน และกรมบัญชีกลางได้เสนอขอใช้งบกลางในปี 2556 เพิ่ม 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อนํามาใช้ในการคืนเงินในโครงการรถคันแรกเพิ่มเติม จากเดิมที่ตั้งงบประมาณไว้ในปี 2556 จํานวน 7.5 พันล้านบาท แต่ไม่เพียงพอ  งานนี้เป็นที่พิสูจน์ชัดแล้วว่า นโยบายประชานิยมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้นำพาความพินาศฉิบหายมาสู่ประเทศไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

น้ำลดตอผุด โครงการคืนภาษีรถคันแรกยอดใช้สิทธิพุ่งเกินเป้า 5 แสนค้น งบประมาณ 3 หมื่นล้านบาทไม่พอ ขณะที่การเชื่อมโยงข้อมูล กรมบัญชีกลาง-สรรพสามิต-กรมการขนส่งทางบกไม่เรียบร้อย สูญเงิน 100 ล้านบาท ยื้อคืนเงิน 1 แสนบาทล่าช้า “ทนุศักดิ์” สั่งปิดตายโครงการ รับถังแตกไม่มีเงินโปะแล้ว   คณะรัฐมนตรี (ครม.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 เดินหน้าโครงการคืนภาษีสรรพสามิตรถยนต์คันแรก และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ซึ่งในขณะนั้นเป็น รมช.คลังกำกับดูแลกรมสรรพสามิตก็เร่งเดินหน้าโครงการอย่างเต็มที่ โดยจะคืนเงินภาษีโดยตรงให้แก่ผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของรถยนต์ ซึ่งจะเริ่มพิจารณาจากหลักฐานการจองซื้อตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 และสิ้นสุดโครงการ 31 ธันวาคม 2555  เริ่มแรกโครงการเหมือนจะไม่ได้รับการตอบรับจากประชาชนทั่วไปมากนัก แต่ภายหลังเกิดมหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มเติมให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมเข้าร่วมโครงการนี้ได้ด้วยเช่นกันจนทำให้โครงการนี้ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม แม้ว่าห่วงโซ่การผลิตจะได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยที่ป้อนชิ้นส่วนให้แก่ค่ายรถยนต์รายใหญ่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการส่งมอบรถที่เข้าร่วมโครงการ

จนกระทั่งล่าสุด นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลังคนใหม่สายตรง เจ๊ ด.เข้ามารับไม้ต่อโครงการรถยนต์คันแรกจากนายบุญทรงก็ได้คาดการณ์ว่า ตามมติ ครม.ที่ขยายเวลารับมอบรถยนต์ และยื่นเอกสารหลักฐานตามมาตรการรถคันแรกออกไป 90 วันหลังรับมอบรถเพื่อชดเชยกับระยะเวลาที่โรงงานผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์หยุดดำเนินการเนื่องจากประสบปัญหาอุทกภัย และเพื่อไม่ให้ประชาชนเสียสิทธิได้รับเงินคืนภาษีเนื่องจากได้รับการส่งมอบรถล่าช้าจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ยอมรับว่าการขยายเวลาดังกล่าวอาจส่งผลให้ยอดซื้อรถคันแรกที่เข้าโครงการพุ่งทะลุเกินกว่า 5 แสนคัน และรัฐต้องคืนภาษีมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท  แน่นอนว่าเส้นทางย่อมไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป เมื่อเป้าหมายที่วางไว้เบื้องต้นว่าจะมีปริมาณรถเข้าร่วมโครงการเพียง 5 แสนคัน แต่ยังเหลือเวลาอีกกว่า 1 ไตรมาสจะครบกำหนดสิ้นสุดโครงการ และบรรดาผู้ประกอบการต่างเข็นรถที่เข้าข่ายได้รับสิทธิตามโครงการนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การประมาณการยอดรถที่จะเข้าร่วมโครงการพุ่งขึ้นตามไปด้วย งบประมาณที่ตั้งไว้ในเบื้องต้น 3 หมื่นล้านบาทก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะใช้คืนเงินตามนโยบายที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง   แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ วันนี้คือ การคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อรถที่ล่าช้า และมีเสียงบ่นออกมา โดยที่กรมสรรพสามิต กรมบัญชีกลาง และกรมการขนส่งทางบก ยังไม่สามารถเชื่อมระบบเพื่อตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพื่อคืนเงินให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งๆ ที่ตอนเริ่มต้นโครงการ รัฐมนตรีบุญทรงได้บอกไว้อย่างชัดเจนว่าใช้เงินสำหรับโครงการนี้สูงถึง 100 ล้านบาทในการดำเนินการ โดยไม่เกี่ยวข้องกับเงินที่คืนภาษี 3 หมื่นล้านบาทแต่อย่างใด แต่ด้วยเหตุผลอันใดไม่ทราบจึงไม่มีการนำงบ 100 ล้านบาทมาใช้วางระบบเชื่อมต่อ 3 กรมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การคืนเงินสะดวกและรวดเร็วขึ้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าเงิน 100 ล้านบาทล่องหนไปอยู่ในกระเป๋าใคร

ขณะที่ปัญหาเรื่องการตั้งงบประมาณคืนเงินให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการโดยกรมบัญชีกลางได้จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ได้รับสิทธิไปแล้ว 2 งวด และที่จะจ่ายเพิ่มอีกงวด 5 พฤศจิกายน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 849 ล้านบาท จํานวน 10,987 คัน และกรมบัญชีกลางได้เสนอขอใช้งบกลางในปี 2556 เพิ่ม 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อนํามาใช้ในการคืนเงินในโครงการรถคันแรกเพิ่มเติม จากเดิมที่ตั้งงบประมาณไว้ในปี 2556 จํานวน 7.5 พันล้านบาท แต่ไม่เพียงพอเนื่องจากจํานวนที่ยื่นไว้ และมีสิทธิได้รับเงินรวมทั้งสิ้น 1.8 หมื่นล้านบาท จากจํานวนที่ยื่นเข้าโครงการแล้วทั้งสิ้น 2.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 3.1 แสนคัน
งบกลางปีที่มีอยู่อย่างจำกัด และถูกโครงการประชานิยมต่างๆ ของรัฐบาลรุมทึ้งอาจไม่เพียงพอต่อการจ่ายคืนสำหรับโครงการรถคันแรก หรือทำให้การจ่ายคืนล่าช้าออกไปจากเดิมซ้ำเติมกับปัญหาการตรวจสอบสิทธิที่ยังไม่บูรณาการกันระหว่าง 3 กรมดังที่กล่าวมาดังกล่าว ซึ่ง รมช.คลังก็ยืนยันออกมาเองว่าจะไม่ขยายเวลาออกไปอีกอย่างแน่นอน เพราะใช้เงินงบประมาณในโครงการนี้มากแล้ว หากเพิ่มอีกรัฐบาลจะถังแตกได้

ธ.ก.ส. ถังแตก หลังทุ่มเงินหมดหน้าตักลุยโครงการรับจำนำข้าว อ้อนรัฐบาลจัดงบชดเชยด่วน


เมื่อวานนี้ (23 กรกฎาคม) นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า คาดว่าการปิดโครงการรับจำนำข้าว, มันสำปะหลัง และการแทรกแซงราคายางพารา ในปีนี้ธนาคารต้องใช้เงินในโครงการดังกล่าวถึง 3 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นการใช้เงินของธนาคาร 9 หมื่นล้านบาท และเงินที่กระทรวงการคลังกู้มาให้ 2.1 แสนล้านบาท โดยปัจจุบัน ธนาคารใช้เงินเพื่อดำเนินโครงการจำนำข้าวไปแล้ว 2.7 แสนล้านบาท เป็นเงินของธนาคาร 9 หมื่นล้านบาท เป็นเงินกู้ของกระทรวงการคลัง 1.2 แสนล้านบาท ยังค้างเงินจ่ายธนาคารอีก 6 หมื่นล้านบาท ที่ธนาคารต้องใช้สภาพคล่องของธนาคารไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าวไปก่อน โดยกระทรวงการคลังจะทยอยใช้ให้ภายใน 2 เดือน พร้อมกับเงินกู้ที่เหลืออีก 3 หมื่นล้านบาท ต้องนำไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าวรอบต่อไปด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของการรับจำนำข้าวทั้งหมด คาดว่าจะสูงถึง 17-18 ล้านตัน โดยเป็นข้าวนาปี 6.8 ล้านตัน และเป็นข้าวนาปรัง 11 ล้านตัน เนื่องจากเกษตรกรเร่งปลูกข้าวหลังน้ำท่วมจำนวนมาก
"การรับจำนำข้าวรอบใหม่ ทางธนาคารได้แจ้งกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง แล้ว ว่า ทางธนาคารไม่มีสภาพคล่องที่จะมาปล่อยกู้ในโครงการดังกล่าวต่อไปได้ ต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรับจำนำหารือเพื่อหาสภาพคล่องมาให้กับธนาคาร หากยังมีการรับจำนำข้าวในรอบต่อไป ซึ่งเข้าใจว่าคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) อยู่ระหว่างการปรึกษาสรุปนโยบายรับจำนำข้าวรอบใหม่อยู่" นายลักษณ์ กล่าว
นายลักษณ์ กล่าวอีกว่า ธนาคารจะเสนอเรื่องการเพิ่มทุนเรือนหุ้นจาก 5 หมื่นล้านบาท เป็น 6 หมื่นล้านบาท ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาใหม่ โดยหลังจากรับการอนุมัติแล้ว ก็จะทำการเพิ่มทุนซึ่งส่วนหนึ่งมาจากเงินปันผลที่ธนาคารจ่ายให้กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้น ซึ่งมีมติ ครม. ให้โอนกลับมาชำระเงินทุนจำนวน 1,800 ล้านบาท อีกส่วนหนึ่งมาจากเงินงบประมาณปี 2556 จำนวน 750 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้กองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หรือ BIS ของธนาคารที่ปัจจุบันอยู่ที่ 9% กว่า ไปอยู่ที่ 10%

ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ยังกล่าวอีกว่า เงินกองทุนของธนาคารที่ลดลงมา เนื่องจากธนาคารต้องใช้เงินไปรับจำนำข้าวถึง 9 หมื่นล้านบาท โดยในส่วนของการรับจำนำที่ใช้เงินกู้จากกระทรวงการคลัง ไม่ถูกนำมาคิดคำนวณเงินกองทุนของธนาคาร เพราะมติ ครม. กำหนดให้แยกบัญชีออกมาต่างหาก













วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จับตารัฐบาลฉลาดทำแต่เรื่องโง่ๆ จะไปลงนามเป็นทาสอเมริกา



 VS

 

นักวิชาการ เตือน เจรจาความตกลง TPP ต้องรอบคอบ อาจทำไทยเสียเปรียบสหรัฐฯ ด้านภาคเอกชนหนุนร่วมเจรจา เชื่อดันการค้า-ลงทุนเพิ่มขึ้น

หลังคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้เห็นชอบร่างประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ ทีพีพี และรื้อฟื้นการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐ หรือ ทิฟฟ่า ในช่วงที่ นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ จะเดินทางเยือนประเทศไทยสุดสัปดาห์นี้นั้น

นางถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า บอกว่า ความตกลงทีพีพี เป็นนโยบายระดับประเทศที่ต้องมองผลกระทบในภาพรวม และต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะในเรื่องการเข้าถึงยาและบริการทางสาธารณสุขของประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นคนยากจน เพราะเสี่ยงที่ไทยจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการเจรจา ซึ่งผู้กำหนดนโยบายต้องพิจารณา และน่าจะนำเข้าหารือในรัฐสภาก่อน

นายปณิธาน วัฒนายากร อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกว่า จุดยืนไทยคือไม่เห็นด้วยกับความตกลงทีพีพีมาโดยตลอด และหลายกระทรวง แม้แต่กระทรวงพาณิชย์ก็มีความกังวล ซึ่งเข้าใจว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันเพิ่งเปลี่ยนจุดยืนช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

นายปณิธาน บอกอีกว่า ความตกลง ทีพีพี มีเนื้อหากว้างขวางครอบคลุมและผูกพันหลายสาขามาก เกี่ยวข้องกับงานหลายกระทรวง ทบวงกรม และเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ จึงต้องอาศัยความเห็นของหลายหน่วยงานและต้องมีความรอบคอบสูงมาก ซึ่งหลายประเด็นในความตกลงทีพีพี ค่อนข้างอ่อนไหวต่อประเทศไทย

โดยเฉพาะประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา // แรงงานข้ามชาติ // ค้ามนุษย์ // และอัตราภาษีหลายรูปแบบ ซึ่งคิดว่าไทยยังไม่พร้อม และการใช้เวทีทิฟฟ่าน่าจะเหมาะสมกว่า ส่วน เอฟทีเอไทย-สหรัฐ หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี คงไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะผ่านช่วงเวลาที่รัฐสภาของสหรัฐจะรับรอง เนื่องจากปัญหาการเมืองภายในของไทยที่ค่อนข้างแปรปรวน
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย บอกว่า ภาคเอกชนเห็นด้วยที่รัฐบาลจะเข้าร่วมความตกลงทีพีพี เพราะขณะนี้โลกเคลื่อนไหวไปเร็ว และถ้าไทยไม่เข้าร่วมเจรจาจะทำให้ไทยตกขบวนรถไฟ ซึ่งในอนาคตจะแข่งขันไม่ได้ และไม่มีข้อตกลงมาดูแลผลประโยชน์ของไทย โดยการเข้าร่วมเจรจาช่วงนี้อาจช้าไปบ้าง แต่ไม่ถือว่า เสียหาย

ส่วนการเจรจาระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐฯอาจจะไม่จำเป็นหลังจากนี้ เพราะสหรัฐฯต้องการผลักดันข้อตกลงพหุภาคี โดยกรอบข้อตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐเป็นการเจรจาที่ไม่มีข้อผูกมัดเหมือนการเจรจา ข้อตกการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ เพียงแต่เป็นแนวทางที่จะช่วยให้การค้าและการลงทุนดีขึ้นและเป็น จุดเริ่มต้นของข้อตกลงที่มีผลผูกมัด

สอดคล้องกับนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. ที่บอกว่า ส.อ.ท.แสดงท่าทีสนับสนุนให้รัฐบาลเข้าร่วมเจรจาทีพีพีมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งการที่ไทยเข้าร่วมเจรจาในช่วงนี้ถือว่า ไม่ช้าเกินไป เพราะการเจรจายังไม่ได้ข้อยุติและน่าจะใช้เวลาอีกหลายปี โดยเชื่อว่า ทีพีพีจะทำให้โอกาสการส่งออกเพิ่มมากขึ้น

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงท่าทีของรัฐบาลที่สนับสนุนกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ว่า เท่าที่ดูข้อตกลง ไทยจะมีทั้งได้เปรียบและเสียเปรียบ ซึ่งคงต้องมีการหารือร่วมกันอีกหลายรอบว่าข้อตกลงที่จะทำนั้นประเทศได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน และสหรัฐมีข้อเรียกร้องอะไรบ้าง

ทั้งนี้ หากมีความตกลงแล้ว ก็ควรพิจารณาว่าความร่วมมือด้านใดควรทำก่อนหรือทำหลัง เพราะต้องยอมรับว่า ทีพีพี แตกต่างจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพราะการพัฒนาของกลุ่มประเทศเออีซีอยู่ในระดับเดียวกันและมีความยืดหยุ่นมากกว่า

ขณะที่ภาคการเงินที่จะเปิดเสรีตามข้อตกลงของ TPP ก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบและดูความเชื่อมโยงกับการเปิดเออีซีด้วย

"สถาบันการเงินไทยเราแข็งแกร่งสามารถรับมือกับต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยได้ก็จริง แต่หากออกไปแข่งขันในต่างประเทศยังเสียเปรียบในด้านฐานทุน เทียบกับสหรัฐแล้วเรายังสู้ไม่ได้ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า จากการที่ภาคการเงินเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การเจรจาด้านนี้คงเป็นไปด้วยความระมัดระวัง"

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกคณะรัฐมนตรี (เงา) ของพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) แถลงผลการประชุม ครม.เงาว่า ที่ประชุมมีข้อกังวลทางเศรษฐกิจจากกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินหน้าความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(Trans Pacific Partnership หรือTPP) กับ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ความตกลงTPP มีมาตรฐานสูงกว่าข้อตกลงที่มีในกลุ่มอาเซียน+3 หรืออาเซียน+6 ซึ่งหลายกรณีอาจมีพันธะผูกพันหากมีการเดินหน้าทำข้อตกลง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม การระงับข้อพิพาท ตลอดจนนโยบายด้านการแข่งขัน ซึ่งก็มีหลายเรื่องที่ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องลิขสิทธิ์ยา มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม ซึ่งหากเดินหน้าโดยไม่มีการศึกษาผลกระทบก็จะเกิดปัญหาได้

"ครม.เงาเสนอให้รัฐบาลทำการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เป็นอิสระ เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างครบถ้วนและครม.เงามีการตั้งคำถามว่า รัฐบาลรู้หรือยังว่าจะเจรจาในเรื่องใด เพราะการเจรจาต้องนำกรอบการเจรจาเข้าสู่การหารือในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา ตามมาตรา190 แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องมีการศึกษาวิจัยและเปิดเผยผลการวิจัย ก่อนที่จะนำมาทำเป็นกรอบเจรจาเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาได้ทราบ จึงอยากให้รัฐบาลระมัดระวังในการดำเนินการ" น.ส.รัชดา กล่าว

ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่คัดค้านที่รัฐบาลจะตอบรับเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือTPP ตามที่สหรัฐฯเชิญร่วม แต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและมีกรอบข้อตกลงที่ชัดเจน ดังนั้นการแถลงความร่วมมือระหว่างไทยสหรัฐฯในโอกาสที่ นายบารัค โอบามา มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ถือว่ายังไม่มีผลผูกพัน ซึ่งยังไม่ใช่การลงนาม เป็นเพียงการแถลงร่วมเพื่อแสดงเจตนารมณ์ เพราะยังมีขั้นตอนที่จะต้องเข้าสู่ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้ความเห็นชอบตามมาตรา190 ก่อน

ขณะที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม เปิดเผยถึงการลงนามเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ร่วมว่าด้วยการเป็นพันธมิตรด้านการป้องกันประเทศไทย-สหรัฐอเมริกา2012 ว่าตนอยากจะชี้แจงในวันที่ 15พฤศจิกายนนี้ เพราะขณะนี้ยังไม่ได้ลงนามอะไร อยากให้ลงนามเซ็นให้เรียบร้อยก่อน ทั้งนี้ยืนยันว่าการลงนามครั้งนี้ประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา ไมได้มีสิทธิประโยชน์ซึ่งกันและกัน เป็นเพียงความร่วมมือความเป็นพันธมิตรหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนี้ในหลายๆด้าน ซึ่งถือเป็นความร่วมมือในภาพกว้างๆ ไม่ได้มีสเปกลงไปว่าจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้การลงนามความร่วมมือดังกล่าวไม่ต้องนำเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 190 เพราะเป็นข้อตกลงทางด้านการทหาร ไม่ได้เกี่ยวกับอาณาเขต หรือพื้นที่ทับซ้อน

ทางด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมมาตรการรักษาความปลอดภัยการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของ นายบารัค โอบามา ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.ว่า เตรียมไว้หมด แผนเหล่านี้บอกไม่ได้ แต่ตำรวจมีความพร้อมและวันที่ 15พ.ย.จะประชุมสรุปอีกครั้งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)และหน่วยล่วงหน้าสหรัฐฯเองก็พอใจ และอนุญาตให้มีการปิดการจราจรถนนด้านนอกรอบทำเนียบ รวมถึงเฝ้าระวังจุดสูงข่มแล้ว ทุกอย่างไม่มีปัญหาอะไร

เช่นเดียวกับ นายมนัสวี โสดาภณ อธิบกรมสารนิเทศ ในฐานะคณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์เตรียมการต้อนรับนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ และนายเหวย เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนในฐานะแขกของรัฐบาล กล่าวว่า วันนี้ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการฯโดยมีผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ กองทัพอากาศ กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานการต่างประเทศ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักโฆษกรัฐบาล การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย โดยเราพร้อมต้อนรับผู้นำทั้งสองอย่างเต็มที่แล้ว

นายพงศ์เทพ เทพกากาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ว่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาว่า า มีกำหนดการเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 18 พ.ย. ที่โรงพยาบาลศิริราช ในเวลาประมาณ 17.00น. หลังจากนั้นจะมีพิธีต้อนรับที่ทำเนียบรัฐบาล รวมถึงการเข้าเจรจาหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในเวลาประมาณ 17.45 น. เป็นต้นไป โดยการหารือนั้น ก็จะเป็นคณะใหญ่ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายสหรัฐฯ

ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) เป็นความตกลงการค้าเสรีกรอบพหุภาคีที่มีมาตรฐานสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจในด้านการเปิดตลาดการค้าสินค้า บริการและการลงทุน การปฏิรูป การสร้างความสอดคล้องในกฎระเบียบทางเศรษฐกิจให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ ทรัพย์สินแห่งปัญญา มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมนั้น ประเทศสมาชิกประกอบด้วย ชิลี นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และบรูไน หรือที่เรียกว่า The Pacific -4 (P4) ได้มีการลงนามความตกลง TPP ฉบับดั้งเดิม (The original agreement) เรียกว่า ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : Trans – Pacific SEP) ไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2005 โดยมีผลบังคับใช้ใอวันที่ 28 พฤษภาคม 2006 และต่อมา สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เปรู เวียดนาม และมาเลเซียได้เข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ซึ่งประเทศสมาชิก TPP ทั้ง 9 ประเทศต่างเป็นสมาชิก APEC ด้วย ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก TPP ยังไม่มีแนวโน้มที่จะรับสมาชิกใหม่จนกว่าการเจรจาจะเสร็จสิ้น
  • ประเทศสมาชิกทั้ง 9 ประเทศได้อะไรจากการเข้าร่วม TPP ?
ก่อนที่จะมีความตกลง TPP นั้น กลุ่มประเทศที่ก่อตั้ง TPP (P4) ได้มีการจัดทำความตกลง Trans – Pacific SEP ขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดเสรีการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือในการจัดทำยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และต่อมาสหรัฐฯ ออสเตรเลีย เปรู เวียดนาม และมาเลเซีย ได้เข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ซึ่งทั้ง 9 ประเทศต่างก็มีเหตุผลในการเข้าร่วม TPP ดังนี้
สิงคโปร์ มองว่า ความตกลง Trans – Pacific SEP ทำให้ผู้ส่งออกสิงคโปร์ส่งสินค้าไปยังชิลีได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ความตกลง Trans – Pacific SEP ยังมีข้อผูกพันทางการค้ามากกว่า FTA ที่สิงคโปร์ได้จัดทำกับนิวซีแลนด์ และบรูไน

นิวซีแลนด์ มองว่า ความตกลง Trans – Pacific SEP ทำให้ผู้ส่งออกนิวซีแลนด์ส่งสินค้าไปยังชิลีและบรูไนได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์นม ที่จะมีภาษีเป็นศูนย์ทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ
ชิลี มีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุน รวมถึงเป็น Hub ของภูมิภาคละตินอเมริกา เพื่อให้บริษัทจากภูมิภาคเอเชียมาจัดตั้ง regional office ในชิลี
บรูไน มองว่า ความตกลง Trans – Pacific SEP นำไปสู่การเปิดตลาดในภาคการส่งออกและภาคบริการ รวมถึงการอำนวยความสะดวกทางการลงทุนของบรูไนกับประเทศในกลุ่ม P4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชิลีซึ่งเป็นประเทศที่บรูไนยังไม่มีการจัดทำ FTA ด้วย
สหรัฐฯ เห็นว่า TPP เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการว่างงานของประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการพ่ายแพ้การเลือกตั้งกลางเทอมของ Democrat ของประธานาธิบดีบารัก โอบามา นอกจากนี้ สหรัฐฯยังมองว่า FTA ทวีภาคีที่สหรัฐทำกับประเทศต่างๆจำนวน 17 ประเทศนั้น มีคุณภาพสู้ TPP ไม่ได้ โดยมีข้อจำกัดที่สินค้าบางสาขาได้รับการยกเล้นไม่เปิดเสรี
มาเลเซีย เนื่องจากการจัดทำ FTA กับสหรัฐฯที่มีการเจรจามาตั้งแต่ปี 2006 ยังไม่ได้ข้อสรุป ดังนั้นมาเลเซียเห็นว่า การเข้าร่วมการเจรจา TPP จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการค้า และการเปิดตลาดกับสหรัฐ
เวียดนาม มองว่า การเข้าร่วม TPP สามารถดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดของประเทศในกลุ่ม TPP ในอัตราภาษีที่ลดลง
เปรู มองว่า การเข้าร่วมการเจรจา TPP จะนำไปสู่การขยายตลาดด้านการค้าและการลงทุนฝในภูภาคเอเชีย เพิ่มมากขึ้น โดยที่นโยบายด้านต่างประเทศของเปรูนั้น ได้ให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียเพิ่มมากขึ้น
ออสเตรเลีย มองว่า การเข้าร่วม TPP ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญของรัฐบาลนาย Kevin Rudd ที่ต้องการให้เกิดการบูรณาการด้านเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งจะทำให้ออสเตรเลียไม่ถูกโดดเดี่ยวจากการรวมกลุ่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งการเข้าร่วมการเจรจา TPP ของออสเตรเลียก็ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการศึกษา ภาคแรงงาน ประชาคมต่างๆและหน่วยงานภาครัฐ
อย่างไรก็ดี นอกจากสมาชิกทั้ง 9 ประเทศข้างต้น ยังมีประเทศสมาชิก APEC อื่นๆที่กำลังสนใจเข้าร่วมการเจรจา TPP เพิ่มเติม ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย แต่ก็มีปัญหาและอุปสรรคต่างๆดังนี้
1) ญี่ปุ่น จะต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างด้านการเกษตร และได้รับฉันทามติภายในประเทศก่อน นอกจากนี้เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบร้อยกว่าปีของญี่ปุ่น เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาน่าจะทำให้กรเข้าร่วมการเจรจา TPP ของญี่ปุ่นต้องชะลอออกไป
2) แคนาดา ยังมีประเด็นที่เป็นปัญหากับประเทศสมาชิก TPP ได้แก่ นิวซีแลนด์เกี่ยวกับการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของแคนาดา ในสาขาผลิตภัณฑ์นม และสัตว์ปีก และสหรัฐฯเกี่ยวกับเรื่องทรัยพ์สินทางปัญญา ซึ่งแคนาดาถูกจัดอันดับให้เป็น Priority Watch List ในรายงาน Special 301 ของสหรัฐ
3) เกาหลีใต้ ต้องรอให้การเจรจา FTA กับสหรัฐฯผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน จึงจะสามารถเจรจา TPP ได้
4) อินโดนีเซีย รอดูแนวโน้มการเจรจารอบโดฮาก่อนการตัดสินใจ
  • สถานะ แนวโน้ม ปัญหา/อุปสรรคของการเจรจา
ปัจจุบัน ได้มีการเจรจาความตกลง TPP ไปแล้ว 7 รอบ โดยรอบแรกได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2010 ณ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งครั้งล่าสุดในรอบที่ 7 เมื่อเดือนมิถุนายยน 2011 ณ ประเทศเวียดนาม การเจรจามีความคืบหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการจัดทำ legal text ที่ครอบคลุมทุกประเด็นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าร่วมกัน การทบทวนข้อเสนอใหม่ๆที่สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกอื่นๆเสนอ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ความโปร่งใส โทรคมนาคม ศุลกากร สิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมถึงประเด็นการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดเฉพาะสินค้า รวมถึงได้มีการหารือเกี่ยวประเด็นที่มีความคาบเกี่ยวกัน (cross cutting issues) ประเด็นความสอดคล้องทางกฎระเบียบ (regulatory coherence) และการหาแนวทางในการลดช่องว่างของการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก TPP หลังจากนั้น จะมีการเจรจาร่วมกันอีก 2 รอบ คือ เดือนกันยายน 2011 ณ ประเทศสหรัฐฯ และเดือนตุลาคม 2011 ณ ประเทศเปรู ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกมีเป้าหมายที่จะสรุปผลการเจรจาเกี่ยวกับสาระสำคัญในด้านต่างๆ(substantive negotiations) ได้แก่ รูปแบบการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาด กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนด้านการลงทุน รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา ฝห้สำเร็จก่อนการประชุมเอเปค ในเดือนพฤศจิกายน 2011 ณ ประเทศสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี การเจรจาในรอบต่างๆที่ผ่านมายังมีประเด็นที่ไม่สามารถตกลงหรือหาข้อสรุปร่วมกันได้ คือ 1) รูปแบบการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดสินค้า สหรัฐฯสนับสนุนรูปแบบการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดในแบบทวิภาคีกับประเทศสหรัฐฯยังไม่ได้มีความตกลง FTA ด้วย ขณะที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์สนับสนุนการเจรจาการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดเดียว (Single Market Access) 2) การลงทุน สหรัฐฯสนับสนุนการใช้กลไกระงับข้อพิพาทระหว่างภาครัฐและเอกชน ขณะที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่เห็นด้วย 3) เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา สหรัฐฯต้องการผลักดันข้อบทเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้มีความเข้มข้นมากกว่าความตกลง TRIPs ภายใต้ WTO ขณะที่นิวซีแลนด์ไม่เห็นด้วย ดังนั้น การเจรจาความตกลง TPP อาจไม่สามารถบรรลุผลตามเป้าหมายก่อนการประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายน 2011 ตามที่ประเทศสมาชิกกำหนดไว้ หรือถ้าหากการเจรจาสามารถสรุปผลได้ทัน สหรัฐฯก็จะต้องนำผลการเจรจาดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อขอรับความเห็นชอบ ซึ่งในชั้นนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐสภาของสหรัฐฯจะพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่
  • TPP จะมีผลกระทบอย่างไรต่อ ASEAN
TPP ถือได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่นอกเหนือไปจาก ASEAN+3 หรือ ASEAN +6 โดยมีข้อเสนอให้นำความตกลง TPP ไปเป็นรูปแบบสำหรับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีเอเชียและแปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia Pacific: FTAAP) ในอนาคต ซึ่งหากการเจรจา TPP ประสบความสำเร็จอาจจะมีผลทำให้แผนงานต่างๆของ ASEAN ถูกลดความสำคัญลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหารจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เนื่องจากความตกลง TPP มีสมาชิก ASEAN จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นสมาชิก รวมถึงอิโดนีเซียและฟิลิปปินส์ก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ประเทศสมาชิก ASEAN จะให้ความสำคัญกับ ASEAN น้อยลก ซึ่งมีผลทำให้บทบาทความเป็นแกนกลางของ ASEAN (ASEAN Centrality) ในภูมิภาคต้องสูญเสียไป รวมถึงความร่วมมือในกรอบต่างๆที่มี ASEAN เป็นแกนกลาง ได้แก่ ASEAN-CER, ASEAN+3, ASEAN+6 การจัดตั้งประชาคมตะวันออก (East Asian Community : EAC) ไปจนถึงแนวคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีตะวันออก (East Asia Free Trade Area: EAFTA) ก็ถูกลดบทบาทลงไปด้วย เนื่องจากความตกลง TPP มีประเทศคู่เจรจาของ ASEAN คือ ออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์เป็นสมาชิก รวมถึงญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ก็ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ในอนาคต นอกจากนั้น TPP สามารถที่จะนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียและแปซิฟิก (ASIA-Pacific Community – APC) ที่เสนอโดยอดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Mr.Kevin Rudd ซึ่ง APC จะทำให้บทบาทและความเป็นกลางทางสถาปัตยกรรมภูมิภาค (Regional Architecture) ของ ASEAN ต้องสูญเสียไป โดยเฉพาอย่างยิ่ง TPP จะมีผู้เล่นที่มีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศสูงอย่าง สหรัฐฯ เข้ามาเป็นแกนกลาง และสามารถกำหนด agenda ต่างๆที่เกิดประโยชน์ต่อสหรัฐฯแต่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อ ASEAN
  • TPP เครื่องมือและกลไกการค้าเสรียุคใหม่ของสหรัฐฯ
ที่ผ่านมาสหรัฐฯให้การสนับสนุนการเจรจา TPP เป็นอย่างมาก โดยฝ่ายบริหารพยายามที่จะผลักดันการเจรจา TPP ให้สำเร็จโดยเร็ว ซึ่งจะมีผลต่อความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ การถ่วงดุลอำนาจจัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น และการเพิ่มบทบาทของการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมทางภูมิภาค (Regional Architecture) ของเอเชียในกรอบต่างๆ เช่น ASEAN+3 ASEAN+6 รวมถึงการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (EAC) จะไม่มีสหรัฐฯเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งแน่นอนว่าสหรัฐฯจะต้องพยายามหากลไก หรือแนวทางเพื่อให้ตนเองกลับเข้ามามีบทบาทในการดำเนินความสัมพันธ์ และแผ่ขยายอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียได้ต่อไปในระยะยาว ซึ่งก็คือ ความตกลง TPP
ทั้งนี้ แม้ว่าสหรัฐฯจะมีการทำ FTA ทวิภาคีกับประเทศต่างๆถึง 17 ประเทศ แต่ว่าคุณภาพของ FTA ทวิภาคีที่ทำกับประเทศต่างๆไม่สามารถสู้ TPP ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาถึงเรื่องผลประโยชน์ของสหรัฐฯที่ต้องการเปิดเสรีในสาขาต่างๆให้มากที่สุด ซึ่ง FTA ทวิภาคีมีข้อจำกัดที่บางสาขาได้รับการยกเว้นไม่เปิดเสรี ซึ่งก็ต้องดูต่อไปว่าสหรัฐฯจะสามารถผลักดัน TPP ให้เป็น FTA ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หรือกลายเป็น FTA ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคตได้หรือไม่
  • ท่าทีของไทยต่อ TPP
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ควรที่จะให้ความสำคัญกับประเทศ ASEA ก่อนเป็นอันดับแรก โดยที่ความร่วมมือต่างๆในกรอบ ASEN นั้น ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักด้านการต่างประเทศของไทย ซึ่งในขณะนี้ ไทยยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP โดยมีเหตุผล และประเด็นในการพิจารณา ดังนี้
1. ความสัมพันธ์กับจีน ที่ผ่านมาจีนมีความร่วมมือ รวมถึงความสัมพันธ์ที่ดีกับไทยในด้านต่างๆทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ และความสัมพันธ์โดยทั่วๆไปมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน จีนได้แซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นแท่นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองขากสหรัฐฯ และมีอิทธิพลด้านเศรษฐกิจและการเมืองเพิ่มขึ้น (The Rise of China) เป็นอย่างมากในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ความตกลง TPP นั้นเป็นความตกลงที่มีนัยยะทางการเมืองระหว่างประเทศ (International Political Implication) ซึ่งสหรัฐฯใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางหนึ่งในหารถ่วงดุลอำนาจจีนในภูภาค รวมถึงทำให้สหรัญฯสามารถกลับเข้ามามีบทบาท และแผ่ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียได้ต่อไปในระยะยาว ดังนั้น การเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ของไทยอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับจีน
2. TPP เป็นความตกลงที่มีมาตรฐานสูง จะเห็นได้ว่า TPP เป็นความตกลงทางการค้ารูปแบบใหม่ที่มีมาตรฐานสูง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ในด้านต่างๆเช่น การเปิดเสรีทางการค้าบริการ และการลงทุน การปฏิรูปและสร้างความสอดคล้องในกฎระเบียบทางเศรษฐกิจ การจัดซื้อโดยรัฐ (Government Procurement) ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) มาตรฐานด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเสรีในภาคบริการ และการลงทุนที่ไทยจะเสียเปรียบประเทศสมาชิก TPP เช่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เป็นต้น
3. การดำเนินการตามขั้นตอนในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 จะต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบ/ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ การทำประชาพิจารณ์ รวมถึงต้องมีการเสนอกรอบการเจรจาให้รัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบก่อน
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรที่จะมีการจัดทำการศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากไทยเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP การเตรียมท่าทีของฝ่ายไทย หากเข้าร่วมการเจรจา รวมถึงมาตรการเยียวยาผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับภาครัฐและเอกชนหากไทยต้องการเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ในอนาคต

ที่มา : ชาญชัย โฉลกคงถาวร, สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ  วารสารเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปีที่ 7 ฉบับที่ 26 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554