วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

LIVE & LEARN เพราะชีวิตคือชีวิต

 

บทกลอน อักษร กวี LIVE & LEARN เพราะชีวิตคือชีวิต


หมอบพับเพียบเลียบริมน้ำปริ่มฝั่ง

ตะแคงฟังนิยายเพลินจากเนินหญ้า

ระบำมดคดเคี้ยวลับเคียวตา

หยาดน้ำฟ้าลากลิ้งทิ้งใบบอน

แมลงปอเกาะหินเลื่อมปิ่นรุ้ง

ผีเสื้อพุ่งอวดแพรแผ่ปีกร่อน

กิ้งกือหักความอายออกกรายกร

กระรอกหย่อนลูกหว้าหยั่งท้าทาย

เมื่อเอนพิงอิงพักหนุนตักหล้า

แนบเงาฟ้าในน้ำเปี่ยมความหมาย

ธรรมชาติวาดแต้มยังแย้มพราย

และโลกส่ายกายหมุนด้วยคุ้นเคย

เหม่อมองฟ้าสีฟ้ากว้างกว่ากว้าง

คิ้วรุ้งค้างเนตรสูรย์มุ่นหมอกเสย

แย้มเสี้ยวเมฆยิ้มแดดสีแสดเอย

หัตถ์ลมเชยเผยแก้มแพลมยิ้มพลัน

แล้วสบตากับเรา-เงาในน้ำ

ไหลลำนำฉ่ำใจคล้ายเคลิ้มฝัน

พิสทธิ์ใสไล้หล้ารับตาวัน

กล่อมดวงขวัญล่องลิบทิพยา

เรามองโลกสดใสในวันนี้

ด้วยใจที่อ่อนวัยไร้เดียงสา

ทุกสิ่งช่วยอวยสุขทุกเวลา

หากวันหน้าเป็นอย่างไร....ไม่อาจรู้



ห้วงคำนึง , ใบไม้ที่หายไป

โดย จิระนันท์ พิตรปรีชา



คุณจะเป็นอะไรก็ได้อย่างใจคิด

ให้ความล้มเหลวจมอยู่กับความยินดีจอมปลอมของมัน

กับสิ่งน่าอดสูที่เรียกว่า “สิ่งแวดล้อม”

ซึ่งวิญญาณของเราปฏิเสธมัน และเป็นอิสระ

จิตข้ามพ้นกาลเวลา พิชิตสถานที่

คุกคามจอมลวงขี้โม้นาม “ความบังเอิญ”

บัญชาสยบทรราชย์แห่ง “สถานการณ์แวดล้อม”

ถอดถอนมันออกไปเป็นทาสรับใช้เสีย

พลังมุ่งมั่นของมนุษย์มิมีใครมองเห็น

คือผลพวงแห่งวิญญาณอมตะ

อันฝ่าฟันนำเราเข้าสู่ทุกปรารถนา

มาตรว่ากำแพงแกร่งแห่งหินผาจะมาขวางกั้น

จงอดทนในความล่าช้า

และรอคอยเยี่ยงผู้ที่เข้าใจ

เมื่อจิตวิญญาณตื่นขึ้นเป็นนาย

แม้ทวยเทพยังยอมน้อมรับบัญชา



ผลกระทบของความคิดต่อสถานการณ์ชีวิต

จาก As a Man Thinketh โดย เจมส์ แอลเลน



หนึ่งในความงมงายอันมืดบอดที่สุด

คือความงมงายของนักวิทยาศาสตร์

ผู้กล่าวว่ามนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้

โดยปราศจาก ศรัทธา

ศาสนาที่แท้คือการสร้างสัมพันธภาพ

ระหว่างมนุษย์กับชีวิตอันอนันต์ที่แวดล้อมอยู่รอบตัวเขา

โดยพันธนาการชีวิตของเขาไว้กับอนันตภาพ

ซึ่งชี้นำแนวทางปฏิบัติแก่เขาด้วยนั้น

หากท่านรู้สึกว่ากำลังไร้ซึ่งศรัทธา

ขอจงตระหนักว่าท่านกำลัง

เผชิญอันตรายร้ายแรงที่สุดในโลก

ซึ่งมีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่อาจค้นพบตัวเองได้



กฎแห่งความรักและกฎแห่งความรุนแรง

โดย ลีโอ ตอลสตอย



มนุษยคิด ดังนั้นเขาจึงมีอยู่

แต่มันกระจ่างชัดที่ว่าเขาต้องคิดอย่างมีเหตุผล

บุคคลที่คิดอย่างมีเหตุผลนั้น ก่อนอื่น

เขาจะคิดถึงจุดหมายแห่งการมีชีวิตอยู่

เขาคิดถึงจิตวิญญาณของเขาและพระเจ้า

เมื่อมองไปยังสิ่งที่ปุถุชนคิด

พวกเขาคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่ตัวเองชอบ

ยกเว้นในประเด็นดังกล่าว

และคิดถึงแต่เรื่องร้องรำทำเพลงและความบันเทิง

เขาคิดถึงตึกสูงๆ ถึงความมั่งคั่งร่ำรวย ถึงอำนาจ

เขาอิจฉาพวกกษัตริย์และความร่ำรวย

แต่เขาไม่เคยคิดถึงวิธีที่จะเป็นมนุษย์



Pense’es ความคิด

โดย Blaise Pascal หรือ ปาสคาล



คือหิน คือกลุ่มก๊าซ คือหมอกเมฆ คือดวงจิต

คืออนุภาคที่ท่องไปในระหว่างกาแล็กซี่ด้วยความเร็วแสง

ที่รัก เธอมาที่นี่ ด้วยดวงตาสีฟ้าทอประกาย

ช่างลึกซึ้งงดงามจับใจ

เธอดำเนินสู่หนทางที่เตรียมไว้สำหรับเธอ

จากที่ซึ่งปราศจากจุดเริ่มต้น และไร้ที่สิ้นสุด

เธอบอกว่า บนหนทางที่เธอมาสู่ที่แห่งนี้

และได้ท่องผ่านการเกิดดับมาหลายล้านครั้ง

เธอถูกแปรเปลี่ยนเป็นลูกไฟในห้วงอวกาศนับครั้งไม่ถ้วน

เธอใช้ร่างกายของตัวเอง

เป็นมาตรวัดอายุขุนเขาและธารน้ำ

เธออุบัติขึ้นเป็นต้นไม้ ใบหญ้า ผีเสื้อ สิ่งมีชีวิตเซลเดียว

รวมทั้งดอกเบญจมาศ

ทว่าดวงตาที่เธอจ้องมองฉันเมื่อเช้านี้

ได้บอกแก่ฉันว่าเธอจะไม่มีวันตาย

รอยยิ้มของเธอเชื้อเชิญฉันเข้าสู่การเล่นซ่อนหา

ที่ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เริ่ม



รักแท้ ,เมตตาภาวนา คำสอนว่าด้วยรัก

โดย ติช นัท ฮันห์



จงอย่าพูดว่าพรุ่งนี้ฉันจะจากไป

เพราะจนถึงทุกวันนี้ฉันก็ยังคงอยู่

สำรวจทุกๆ ขณะที่ฉันก่อเกิด

เป็นปุ่มปมที่ผุดออกบนกิ่งก้านของฤดูใบไม้ผลิ

เป็นนกน้อยในรังใหม่

เป็นตัวหนอนในเกสรดอกไม้

เป็นมณีที่ซ่อนเร้นตัวเองอยู่ในก้อนหิน

ฉันยังคงอยู่เพื่อหัวเราะและร้องไห้

เพื่อความกลัวและความหวัง

ท่วงทำนองของหัวใจฉันก็คือ

การเกิดดับของสรรพสิ่ง

ฉันเป็นแมงเม่าที่กำลังฟักตัว

อยู่บนผิวน้ำและฉันก็เป็นนก

ที่โฉบลงจิกแมงเม่า

ฉันเป็นกบที่กำลังแหวกว่าย

ในสระน้ำใสอย่างมีความสุข

และฉันก็เป็นงูเขียวที่กลืนกินกบอย่างเงียบเชียบ

ฉันเป็นเด็กในอูกันดา ที่ทั้งเนื้อหนังและกระดูก

ขาลีบบางราวกับไม้ไผ่ และฉันก็เป็นพ่อค้าอาวุธ

ขายอาวุธมหันตภัยให้แก่อูกันดา



บทกวีกราบสามหน ,เมตตาภาวนา คำสอนว่าด้วยรัก

โดย ติช นัท ฮันห์



ภายนอกจิตไม่มีพุทธะ

ภายนอกพุทธะไม่มีจิต

อย่ายึดเกาะกับความดี

อย่าขับไล่ความชั่ว

ความบริสุทธิ์กับความสกปรก

ถ้าเจ้าไม่อิงกับทั้งสองสิ่งนี้

เจ้าจะจับต้องธรรมชาติว่างเปล่าของบาป

ในทุกชั่วขณะมันจับต้องมิได้

เพราะไม่มีธรรมชาติของตัวตน

ฉะนั้นทั้งสามโลกเป็นเพียงความนึกคิดของจิต

จักรวาลและสรรพสิ่ง

คือตราประทับของธรรมะเดียว

(คำว่าสามโลก ในความหมายนี้ หมายถึง อาณาจักรแห่งตัณหา รูปแบบและความไร้รูปแบบ)



คำสอนของอาจารย์หม่าจู่ พระอาจารย์เซน

มังกรเซน โดย วินทร์ เลียววาริณ



สำหรับคำว่า “เป็นอยู่ด้วยความว่าง” นั้นย่อมหมายถึง

สุญญตาวิหาร คือการเป็นอยู่ มีลมหายใจอยู่ด้วย

ความรู้สึกต่อความว่างนั้นตลอดเวลา

อย่างนี้เรียกว่า เป็นอยู่ด้วยความว่าง

คำว่า “ว่างอยู่” ก็หมายความว่า ไม่มีความรู้สึก

ว่าตัว ว่าตน ว่าของตัวหรือของตน

ตัวเราหรือของเรา ตัวกูหรือของกูเหล่านี้

ซึ่งเป็นการปรุงแต่งของตัณหาอุปาทาน

เมื่อว่างจากสิ่งเหล่านั้นอยู่ก็คือว่างอยู่

อะไรมันว่าง ก็หมายถึงจิตอีกนั่นเอง ว่าง

คือว่างอยู่จากความรู้สึกว่าตัวตนหรือว่าของตน

ไม่มีทั้งอย่างหยาบและอย่างละเอียด

อย่างหยาบเราให้ชื่อมันว่าตัวกู—ของกู

อยางละเอียดเราให้ชื่อมันว่าตัวตน-ของตน

ถ้าจิตมีความว่างถึงขนาดว่า

ไม่มีตัวตนอย่างละเอียดก็เรียกว่า

เป็นความว่างเสียเอง คือว่าจิตนั้นเป็นความว่างเสียเอง



แก่นพุทธศาสน์

โดย พุทธทาสภิกขุ



แต่ขอให้มีที่ว่างในการมาอยู่รวมกันของเธอ

และขอให้ลมแห่งสวรรค์เต้นรำอยู่ระหว่างเธอทั้งสอง

รักกันและกัน แต่อย่าสร้างพันธนาการแห่งความรัก

ขอให้มันเป็นทะเลที่เคลื่อนไหวได้ ระหว่างฝั่งของจิตใจของเธอทั้งสอง

เติมถ้วยของกันและกัน แต่อย่าดื่มจากถ้วยเดียวกัน

ให้ขนมปังแก่กันและกัน แต่อย่ากินจากขนมปังก้อนเดียวกัน

ร้องเพลงและเต้นรำด้วยกัน และมีความสุข

แต่ขอให้เธอแต่ละคนได้มีโอกาสอยู่ตามลำพัง

แม้แต่สายของพิณก็ต่างคนต่างอยู่

แต่พวกเขาจะสั่นพลิ้วเป็นทำนองเดียวกัน

ให้ดวงใจของเธอ แต่ไม่ใช่เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเก็บไว้

เพราะมีแต่มือของชีวิตเท่านั้น ที่จะเก็บดวงใจของเธอไว้ได้

จงยืนอยู่ด้วยกัน แต่อย่ายืนใกล้กันมากเกินไป

เหมือนเสาของวิหารที่ต่างยืนห่างจากกัน

และต้นโอ๊ค ต้นไซเปรสนั้น ต่างคนต่างโตด้วยตนเอง

ไม่ได้เติบโตในร่มเงาของกันและกัน



The Prophet หรือปรัชญาชีวิต

โดย คาลิล ยิบราน


ชีวิตภายนอกคือสิ่งสะท้อนชีวิตภายในตัวคุณ

วิธีที่คุณคิดและความรู้สึกที่อยู่ในตัวคุณ จะสอดคล้องกับ

วิธีที่คุณปฏิบัติและประสบการณ์ที่คุณได้รับ

สัมพันธภาพ สุขภาพ ความมั่งมี และสถานะ

คือภาพสะท้อนของโลกที่อยู่ภายในตัวคุณ

ความสงบสุขในจิตใจคือคุณธรรมขั้นสูงสุดของมนุษย์

มันคือสภาวะที่ปกติและเป็นกลาง

จงถามตัวเองว่า “คุณต้องการที่จะได้ชื่อว่าทำถูกต้อง”

หรือคุณต้องการที่จะมีความสุข



กฎแห่งการตอบสนอง , คมความคิด

กฎเหล็กแห่งความสำเร็จ โดย ไบรอัน เทรซี่

นักเขียน Best Seller ผู้เป็นแรงบันดาลใจแห่งยุค

นักเขียน Best Seller ผู้เป็นแรงบันดาลใจแห่งยุค

เชื่อว่าในรอบ 10 ปีมานี้ ท่านผู้อ่านที่เป็นหนอนหนังสือคงไม่มีท่านใดไม่รู้จักนักเขียน 6 ท่านนี้ เพราะเป็นนักเขียนที่มีผลงานออกมาต่อเนื่อง แต่ละเล่มติดอันดับขายดี หรือ Best Seller แต่ไม่ทราบว่าท่านใด ดังกว่ากัน และท่านใดมีหนังสือขายดีกว่ากัน เพราะไม่ได้มีการจัดอันดับไว้ คงต้องไปถามจากสำนักพิมพ์หรือร้านขายหนังสือ แต่อย่างไรก็ดี หากคุณเป็นนักอ่านหรือผู้ที่สนใจอยากจะอ่านหรือหาซื้อหนังสือมาไว้ครอบครองหล่ะก็ คงไม่พลาดที่จะเริ่มจากหาหนังสือของนักเขียนเหล่านี้มาลองอ่านดู ซึ่งหลายเล่มมีคุณค่าและสร้างแรงบันดาลใจแก่เราผู้อ่านได้มากทีเดียว จนจัดได้ว่า ถ้าท่านเป็นนักอ่านในยุคนี้ต้องรู้จักนักเขียนดังเหล่านี้ เพราะเป็นตัวแทนนักเขียนเก่งแห่งยุคนี้ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นคุณ นิ้วกลม  คุณวินทร์ ทพ.สม  คุณฐิตินาถ  ท่าน ว. และ โรเบิร์ต ผมว่านักเขียนทั้ง 6 เป็นขวัญใจในแต่ละยุคดังนี้  คุณโรเบิร์ต ที คิโยซากิ กับคุณวินทร์ เลียววาริณ เป็นขวัญใจของคนยุค Gen-X  คุณฐิตินาถ ณ พัทลุง กับ ทพ.สม สุจีรา เป็นขวัญใจของคนยุค Gen-Y  และท่าน ว.วชิรเมธี กับนิ้วกลม เป็นขวัญใจของคนยุค Gen-Z  แต่หลายคนก็อ่านงานของทุกคน และไม่แบ่งแยกว่าเราผู้อ่านจะอยู่ใน Generation ใดก็ตาม เพราะแบ่งแยกได้ยาก ขึ้นอยู่กับทัศนคติ และความชื่นชอบในสไตล์การเขียนที่ไม่เหมือนกัน  คุณวินทร์กับนิว้กลม เป็นอดีตคนโฆษณาเหมือนกัน งานเขียนจึงอุดมไปด้วยไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ และภาษาที่เฉพาะตัวอย่างยิ่ง ส่วน ทพ.สม กับคุณฐิตินาถ จะคล้ายกันในส่วนของงานเขียนที่แฝงข้อคิด ปรัชญา และสอดแทรกธรรมะ คติสอนใจอยู่ในงานเขียนแทบทุกเล่ม ส่วน ท่าน ว.วชิรเมธี เป็นตัวแทนของพระนักเทศน์ ที่ดำเนินรอยตามท่าน พุทธทาสภิกขุ คือมีงานเขียนที่เป็นคติธรรมะ และเป็นพระนักเทศน์ที่มีผลงานพ็อกเก็ตบุ้คมากที่สุดในยุคนี้แล้ว ส่วนโรเบิร์ต ที.คิโยซากิ ผมว่าเขาเป็นกูรูด้านการเงินส่วนบุคคล ที่มีงานเขียนในระดับโลกไปแล้ว แม้ว่างานเขียนในระยะหลังจะแฝงธุรกิจขายตรงเครือข่ายของเขาเข้าไปในงานเขียนตลอด แต่ก็ถือว่าผู้อ่านได้ประโยชน์จากข้อคิดของเขาที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง  จริงๆ แล้วยังมีนักเขียนดีๆ เก่งๆ อีกจำนวนมากที่โด่งดังและมีงานเขียนคุณภาพในยุคนี้อีกหลายท่านแต่ไม่ได้นำมากล่าวถึง เนื่องด้วยพื้นที่คอลัมน์อาจมากเกินไป ถ้ามีท่านใดน่าสนใจอีก คงต้องยกไปกล่าวถึงในคอลัมน์อื่นในโอกาสต่อไป และ 6 นักเขียนที่ได้กล่าวถึงในคอลัมน์นี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมา ผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของผู้อ่านหลายๆ ท่านและของผู้เขียนบล็อกเอง ประวัติคร่าวๆ ของนักเขียนทั้ง 6 ท่านรวมถึงผลงานเขียนอันโด่งดัง ได้แก่



สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ หรือ นิ้วกลม เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521 เป็นครีเอทีฟโฆษณา นักเขียนชาวไทย มีผลงานสร้างชื่ออย่าง “โตเกียวไม่มีขา”

ชื่อนิ้วกลม เริ่มจากตอนที่เขียนเริ่มใช้อินเทอร์เน็ต ในเว็บบอร์ดคณะ ที่เขามักชอบเข้าไปตั้งกระทู้เห็นคนอื่นมีนามจอ (นามปากกาที่ใช้ในจอคอมพิวเตอร์) อย่าง “ตัวกลม” จึงเริ่มมองดูนิ้วตัวเอง แล้วตั้งนามจอว่า "นิ้วกลม" และจึงใช้นามปากกานี้มาอย่างต่อเนื่อง

นิ้วกลมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์จอห์น จากนั้นศึกษาที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ในช่วงเรียนปี 5 เขากับเพื่อนอีก 7 คน ใช้ชื่อว่า “dim” ทำหนังสือทำมือไปเสนอ กระทั่งได้เขียนคอลัมน์ E=iq2 และงานเขียนต่าง ๆ ที่เป็นลักษณะของสนามทดลองสมมติฐาน เช่น การเขียนกลับหลัง การเขียนด้วยตัวพยัญชนะและรูปแบบที่ไม่คุ้นชิน

หลังจากศึกษาจบเข้าฝึกงานที่ลีโอเบอร์เนตต์ บริษัททางด้านโฆษณา เข้าเรียนเพิ่มเติมการผลิตสื่อโฆษณาของสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอก (B.A.D. Bangkok Art Directors) ผลงานของเขาได้รับรางวัลชนะเลิศในหมู่นักเรียน B.A.D. โดยในการแข่งขันออกแบบโฆษณาสิ่งพิมพ์เพื่อรณรงค์ให้ประเทศไทยปลอดจากคอรัปชั่น โดยเขาประกวดโดยการส่งงานที่เป็นกุญแจรถบีเอ็มดับเบิลยูกับกระดาษพับที่มีข้อความว่า “สวัสดีคณะกรรมการ Junior B.A.D. Awards ทุกท่านครับ เห็นว่าพวกท่านทำงานกันหนัก อยากให้พวกท่านได้นั่งรถสบายๆ จึงส่งรถคันนี้มาเป็นของกำนัล ยังไงตอนให้คะแนนก็ช่วยพิจารณางานชิ้นนี้ของผมเป็นพิเศษหน่อยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ…ประเทศไทยในฝัน? ไม่มีคอรัปชั่น คำตอบอยู่ที่คุณ”

จากนั้นเริ่มงานใหม่ที่ JWT มีผลงานสร้างสรรค์โฆษณาอย่างเช่น เบียร์เชียร์ ช็อกโกแลตคิดแคต แว่นท็อปเจริญ ฯลฯ เขายังทำของผลิตภัณฑ์เครื่องกีฬาระดับโลกอย่างอาดิดาส ที่ประเทศจีน ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง

ด้านผลงานคอลัมนิสต์ เขียนให้กับนิตยสารอะเดย์ และหลังจากนั้นเริ่มมีตีพิมพ์รวมเล่ม โดยเฉพาะสารคดีท่องเที่ยวอย่าง โตเกียวไม่มีขา (2547) กัมพูชาพริบตาเดียว (2548) เนปาลประมาณสะดือ (2549) สมองไหวในฮ่องกง (2550) และ นั่งรถไฟไปตู้เย็น (2551) และยังมีเขียนนวนิยายเรื่อง นวนิยายมีมือ (2550) และรวมบทความชื่อ อิฐ (2548) ณ (2550) และ เพลงรักประกอบชีวิต (2551) เขายังได้เขียนเพลงให้กับวงเซเวนธ์ซีนในเพลง “ทฤษฎีสีชมพู”

ผลงานเขียน

• โตเกียวไม่มีขา (2547)

• กัมพูชาพริบตาเดียว (2548)

• เนปาลประมาณสะดือ (2549)

• สมองไหวในฮ่องกง (2550)

• นั่งรถไฟไปตู้เย็น (2551)

• อาจารย์ในร้านคุกกี้ (2552)

• ปอกกล้วยในมหาสมุทร (2552)

• ฝนกล้วยให้เป็นเข็ม (2553)

• บุคคลสำคัญ (2553)

• สิ่งที่ค้นพบระหว่างนั่งเฉยเฉย (2553)

• สิ่งมหัศจรรย์ธรรมดา (2553)

เว็บไซต์ส่วนตัว

• http://www.roundfinger.com/

วินทร์ เลียววาริณ เกิดที่หาดใหญ่ สงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2499 เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 เมื่ออายุเจ็ดขวบ ที่โรงเรียนวิริยเธียรวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมเล็ก ๆ ครั้นแปดขวบก็ยังเรียนซ้ำชั้น ป.1 ด้วยครูประจำชั้นเห็นว่าจะทำให้ภูมิแน่นขึ้น! เรียนต่อประถมปีที่ 4 ที่โรงแรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิก จึงมีโอกาสเรียนทั้งศาสนาพุทธและคริสต์ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ไปต่อม.ศ. 4 ที่กรุงเทพฯ ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่นที่ 3 และเป็นรุ่นแรกที่เรียน ณ ที่ตั้งของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ปัจจุบัน

วินทร์ สนใจงานศิลปะตั้งแต่เล็ก จึงเลือกเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ จบปริญญาตรี สถ.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์ทันที ทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ร่วมสี่ปีก็เดินทางไปทำงานและเรียนต่อที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเขาเข้าเรียนในหลายมหาวิทยาลัยโดยไม่เอาปริญญา จบแล้วกลับเมืองไทยมาทำงานในวงการโฆษณา และต่อมาเรียนต่อจนได้รับปริญญาโทด้านการตลาด จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วินทร์ เริ่มชีวิตคนโฆษณาด้วยตำแหน่งผู้กำกับศิลป์ และเปิดฉากการเขียนหนังสือควบคู่ไปด้วย เรื่องสั้นเรื่องแรกที่ได้รับการตีพิมพ์คือ ไฟ

ด้านชีวิตส่วนตัว เขาสมรสแล้วกับ ลิเลียน เลี้ยววาริณ ชาวสิงคโปร์ มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ตฤณ เลี้ยววาริณ เกิดเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2534

นอกจากนี้ วินทร์ ยังเขียนเรื่องสั้น และบทความ ลงนิตยสารด้วย เช่น ำ ใน มติชนสุดสัปดาห์ และยังมีผลงานเขียน ร่วมกับนักเขียนรุ่นใหม่อย่าง ปราบดา หยุ่น ในชื่อชุด ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน (ดัดแปลงจากชื่อหนังสือที่ได้รับความนิยมของทั้งคู่ คือ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ของวินทร์ และ ความน่าจะเป็น ของปราบดา) โดยเขียนลงเป็นตอนๆ ลงในนิตยสาร open ในลักษณะการโต้ตอบอีเมลกัน และได้รวมเล่มเป็นหนังสือแล้วเจ็ดเล่ม

ผลงานเขียน

1. สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2537)

2. อาเพศกำสรวล (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2537)

3. ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (นวนิยาย) (พ.ศ. 2537)

4. เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2538)

5. สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (รวมเรื่องสั้นและบทความ) (พ.ศ. 2542)

6. 空劫の大河 タイ民主革命奇綺談 (ภาคภาษาญี่ปุ่นของหนังสือ"ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน") (พ.ศ. 2542)

7. หนึ่งวันเดียวกัน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2544)

8. หลังอานบุรี (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2544)

9. ปีกแดง (นวนิยาย) (พ.ศ. 2545)

10. インモラル・アンリアル ISBN 4763123238 (รวมเรื่องสั้นภาคภาษาญี่ปุ่น) (พ.ศ. 2545)

11. ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน (จดหมาย) (พ.ศ. 2545) (เขียนร่วมกับ ปราบดา หยุ่น)

12. ปั้นน้ำเป็นตัว (รวมเรื่องสั้นและบทความ) (พ.ศ. 2546)

13. ำ (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2546)

14. Democracy, Shaken & Stirred (ภาคภาษาอังกฤษของหนังสือ"ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน") (พ.ศ 2546)

15. วันแรกของวันที่เหลือ (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2547# ฆาตกรรมกลางทะเล (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2547)

16. คดีผีนางตะเคียน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2547)

17. นิยายข้างจอ (พ.ศ. 2548)

18. ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล (พ.ศ. 2548)

19. จรูญจรัสรัศมีพราว พร่างพร้อย (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2548)

20. รอยเท้าเล็กๆของเราเอง(หนังสือเสริมกำลังใจ) (พ.ศ. 2548)

21. โลกด้านที่หันหลังให้ดวงอาทิตย์ (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2549))

22. ผู้ชายคนที่ตามรักเธอทุกชาติ พิมพ์ครั้งที่ 85 (นวนิยาย) (พ.ศ. 2549)

23. ยาแก้สมองผูก ตราควายบิน (คู่มือการเขียนหนังสือแบบสังเคราะห์เรื่อง) (พ.ศ. 2550)

24. ฝนตกขึ้นฟ้า (นวนิยายฟิล์ม นัวร์ ) (พ.ศ. 2550)

25. โลกใบที่สองของโม (นวนิยายภาพรีไซเคิลเรื่องแรกของโลก) (พ.ศ. 2549)

26. ความฝันโง่ ๆ (หนังสือรวบบทความเสริมกำลังใจ ชุดที่ 2) (พ.ศ. 2549)

27. a day in a life (2005) (หนึ่งวันเดียวกัน ฉบับภาษาอังกฤษ)

28. เบื้องบนยังมีแสงดาว (หนังสือเสริมกำลังใจ ชุดที่ 3) (พ.ศ. 2550)

29. น้ำแข็งยูนิต ตราควายบิน (เป็นหนังสือในลักษณะเดียวกับ ยาแก้สมองผูก ตราควายบิน) (พ.ศ. 2550)

30. เดินไปให้สุดฝัน (พ.ศ. 2551)

31. บุหงาปารี (พ.ศ. 2551) (ถูกนำไปสรางเป็นบทภาพยนตร์ ปืนใหญ่จอมสลัด)

32. บุหงาตานี (พ.ศ. 2552) (ภาคต่อของ "บุหงาปารี")

33. เส้นรอบวงของหนึ่งวัน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2552)

34. ยามดึกนึกหนาวหนาว เขนยแนบ แอบเอย (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2552)

35. มังกรเซน (หนังสือศาสนาพุทธนิกายเซน) (พ.ศ. 2552)

36. วินทร์ เลียววาริณ คุยกับหนอน (หนังสือรวมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์) (พ.ศ. 2552)

ผลงานเขียนร่วมกับ ปราบดา หยุ่น

1. ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 1 (จดหมาย 2545)

2. ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 2 (จดหมาย 2547)

3. ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 3 (จดหมาย 2548)

4. ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 4 (จดหมาย 2549)

5. ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 5 (จดหมาย 2550)

6. ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 6 (จดหมาย 2551)

7. ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 7 (จดหมาย 2552)

อื่นๆ

1. ปืนใหญ่จอมสลัด (บทภาพยนตร์ พ.ศ. 2551)

เว็บไซต์ส่วนตัว

• winbookclub.com

• วินทร์ เลียววาริณ (ThaiWriter.net)

ทันตแพทย์สม สุจีรา เป็นชาวจันทบุรีโดยกำเนิด แต่เติบโตและใช้ชีวิตในวัยเด็กที่จังหวัดระยอง สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา พญาไท เรียนอยู่ได้สองปี ต้องการเข้ามหาวิทยาลัยก่อนกำหนดจึงสอบเทียบข้ามชั้น ม.6 เข้าสู่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ควบคู่ไปกับการลงเรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เป็นนักกิจกรรมมาโดยตลอด ทำงานเป็นกรรมการนักเรียนเตรียมอุดมศึกษาฯ เลขานุการชมรมวาทศิลป์ รองประธานเชียร์กรรมการสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ และเป็นนักเขียนนักพูด ให้กับมหาวิทยาลัย คณะทันตแพทย์ ชมรม สมาคมต่างๆ ตลอดเวลาที่เป็นนักศึกษา จนจบระดับปริญญาตรี เมื่อจบเป็นทันตแพทย์เต็มตัว เป็นหมอหนุ่มไฟแรง ได้สมัครไปรับราชการใต้สุดที่จังหวัดสตูล และที่นั่นได้ให้ประสบการณ์ชีวิตที่ประทับใจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนๆแพทย์ในจังหวัดที่อุทิศตัวเพื่อประชาชนอย่างสุดความสามารถ ไม่คำนึกถึงความยากลำบากส่วนตน ในโรงพยาบาลมีแต่กัลยาณมิตร จนคิดจะตั้งหลักปักฐานอยู่ที่จังหวัดสตูลตลอดไป แต่ด้วยความจำเป็นทางครอบครัว จึงต้องย้ายกลับเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา เมื่อกลับมาทำงานที่กรุงเทพฯเกิดความรู้สึกต้องการแสวงหาความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นที่ไม่ใช่ทันตแพทยศาสตร์ด้วย และศาสตร์ที่คิดว่าน่าสนใจที่สุดก็คือ จิตวิทยา จึงตัดสินใจกลับเข้าไปเป็นนักศึกษาอีกครั้ง กับการศึกษามหาบัณฑิตทางจิตวิทยาการให้คำปรึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เรียนจนจบมหาบัณฑิตทางจิตวิทยาสมความตั้งใจ แต่เวลาส่วนใหญ่หลังจากนั้นก็ยังอุทิศให้กับการรักษาทางทันตกรรมจวบจนเมื่อได้โอกาสเข้าปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ใหญ่ภัททันตะอาสภะมหาเถระ ตามคำชักชวนของคุณหญิงสุกฤตา เภกะนันทน์ ฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4 อยู่หนึ่งปี จนได้พบกับความมหัศจรรย์บางอย่างที่ยากจะบรรยาย จึงเริ่มกลับมาค้นคว้าในเรื่องของจิตอีกครั้ง แต่คราวนี้เป็นจิตวิทยาตะวันออก ไม่ใช่จิตวิทยาตะวันตกอย่างที่ร่ำเรียนมาในระดับปริญญาโท ปัจจุบันทำงานเป็นทันตแพทย์ประจำคลินิกส่วนตัวอยู่ที่เสรีไทยคลินิกทันตแพทย์ หมู่บ้านสหกรณ์ ถนนเสรีไทย และศูนย์ทันตกรรมพฤกษชาติ (www.118doctor.com) ควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรม และฝันไว้ว่า ในอนาคตเมื่อจังหวะ เวลา เหตุ และปัจจัยเหมาะสม จะปล่อยวางทุกอย่าง มุ่งสู่การปฏิบัติและเผยแผ่ธรรมะเพียงอย่างเดียว

ผลงานเขียน

-ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เล่ม 1

-ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เล่ม 2

-เกิดเพราะกรรม หรือความซวย

-ทวาร 6 ศาสตร์แห่งการรู้ทันตนเอง

-เจาะตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

-เดอะท็อปซีเคร็ต เล่ม 1

-เดอะท็อปซีเคร็ต เล่ม 2 ความลับสู่ความสำเร็จ

-ทางลัดสู่อัจฉริยะ

-คู่มือแสวงพรสวรรค์

หนังสือชุดเฉลยปัญหา

-ตอบปัญหาวิชาใจ

-ตอบปัญหาวิชาโลก

-ตอบปัญหาวิชาชีวิต

เว็บไซต์ส่วนตัว

http://www.118doctor.com/



ฐิตินาถ ณ พัทลุง ชื่อเล่น คุณอ้อย วันที่เกิด 23 มีนาคม 2512 นักธุรกิจเจ้าของ Working Diamond ภายหลังช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ สามีเธอเสียชีวิต และเป็นหนี้ธนาคารกว่า 100 ล้านบาท ด้วยความมุมานะพยายาม และกำลังใจที่แข็งแกร่ง เธอสามารถเอาตัวรอด ชุบธุรกิจจนฟื้นได้ และมีเงินใช้หนี้แบ็งค์ได้ จากนั้นเธอได้ขายกิจการธุรกิจของสามีเธอทิ้งไป ได้เงินมาจำนวนหนึ่ง จากนั้นจึงดำเนินชีวิตในคอนเซ็ปต์แบบพอเพียง เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านการเงิน ธุรกิจ การดำเนินชีวิต ตามองค์กร สถาบัน มหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนต่างๆ และหันหน้าศึกษาธรรมะอย่างจริงจังด้านวิปัสสนา ฝึกสมาธิ ซึ่งทำให้เธอประสบความสำเร็จและพาชีวิตตัวเธอและครอบครัวรอดจากวิกฤติเศรษฐกิจมาได้ อีกทั้งออกพ็อกเก็ตบุ้คชื่อว่า เข็มทิศชีวิต ซึ่งทำสถิติหนังสือขายดีติดอันดับ 1 ในร้านหนังสือชั้นนำ



ประวัติครอบครัว เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง 3 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน สามีเสียชีวิต (ต้นปี 2540) มีบุตร 1 คน ชื่อ ด.ช.ธฤต ณ พัทลุง (น้องทะเล) การศึกษา และดูงาน

- ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยลอนดอน

- ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน

ประวัติการทำงาน และตำแหน่งหน้าที่

- นักเศรษฐศาสตร์ ที่บริษัทในเครือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

- ทำงานที่บริษัท Gemopolis

- ร่วมหุ้นกับเพื่อนตั้งบริษัท Diamond Today

- กรรมการผู้จัดการ บริษัท Working Diamond จำกัด

- ประธานโรงเรียนแห่งสติปัญญา Happy Kid (ลาออก), ครูของโรงเรียนในหลักสูตรปฏิบัติธรรม

- ปัจจุบันเป็นวิทยากรรับเชิญ และนักเขียน

ผลงานเขียน

เข็มทิศชีวิตเล่ม 1 พิมพ์ครั้งแรกธันวาคม 2547

เข็มทิศชีวิตเล่ม 2 ตอนกฎแห่งเข็มทิศ พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2551

เข็มทิศชีวิตเล่ม 3 ตอนกฎแห่งความสุข พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2552

เว็บไซต์ส่วนตัว http://www.kemtidchewit.com/


พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ว.วชิรเมธี" เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2516 บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูโสภณจริยกิจ เจ้าคณะอำเภอเชียงของ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ โดยมี พระราชสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันพระมหาวุฒิชัยจำพรรษาอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร

ท่าน ว. วชิรเมธี เป็นพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียนพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ เป็นนักปฏิบัติธรรม และนักบรรยายธรรมที่ผลิตผลงานออกมาในรูปสื่อโทรทัศน์ และหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ การประพันธ์บทละครโทรทัศน์และหนังสือเรื่อง "ธรรมะติดปีก" และเพลงประกอบละครธรรมะมากมาย จนได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี 2550

การศึกษา

• พ.ศ. 2543 สอบไล่ได้ เปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

• พ.ศ. 2543 ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

• พ.ศ. 2546 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

กิจกรรมพิเศษเพื่อสังคม

• อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

• อาจารย์พิเศษ สถาบันพระปกเกล้า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน

• อาจารย์พิเศษและวิทยากรบรรยายตามมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล,มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

• วิทยากรบรรยายธรรมตามสถาบัน หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

• บรรณาธิการวารสารเบญจมบพิตรสัมพันธ์

• วิทยากรพิเศษบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนา สอนวิปัสสนากรรมฐานให้กับหน่วยงานของรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ โรงเรียน และมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนหลายแห่ง

• ประธานกลุ่มธรรมะการ์ตูน (ผลิตการ์ตูนแมนิเมชั่น ชุด “พุทธประวัติ” เพื่อทูลเกล้าในมงคลวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา

• ผู้เขียนตำราหมวดวิชาพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

• กรรมการตรวจนักธรรม บาลี สนามหลวง

• เขียนบทความให้กับหนังสือพิมพ์ นิตยสารรายเดือน รายปักษ์ รายสัปดาห์ อาทิ เนชั่นสุดสัปดาห์ กรุงเทพธุรกิจ ชีวจิต ศักดิ์สิทธิ์ WE, HEALTH & CUISINE,Secret เป็นต้น

• เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย (Vimuttayalaya Institute) อันเป็นสถาบันที่ศึกษา วิจัย ภาวนา และเผยเเพร่ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลก ภายใต้หลักการ "พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลก"

• ท่านมีเว็บไซต์ www.dhammatoday.com เพื่อเป็นวัดออนไลน์ในโลกเสมือนจริงทางอินเตอร์เน็ต และสื่อทางอินเทอร์เน็ตมากมาย อาทิ Facebook,Twitter เป็นต้น

• เป็นวิทยากรรับเชิญหลายรายการ อาทิ ที่นี่หมอชิต(ช่อง 7),ธรรมะติดปีก(ทีวีไทย),Club7(ช่อง 7),ธรรมาภิวัฒน์(ASTV),การเดินทางของความคิด(96.5FM คลื่นความคิด)เป็นต้น

ผลงานเขียน

• ดีเอ็นเอ ทางวิญญาณ

• ปรัชญาหน้ากุฏิ

• คิดอย่างเซ็น

• ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยมิลินทปัญหา

• ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา

• พระสงฆ์กับทางออกจากทุกขสัจของสังคม

• ครูกัลยาณมิตรของชีวิตดีงาม

• อารยมรรคา : มรรควิธีเพื่อชีวิตดีงาม

• พระพุทธคุณ 100 บาท

• กรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

• ในหลวงครองราชย์ พุทธทาสครองธรรม

• กำลังใจแด่ชีวิต

• ทุกข์กระทบ ธรรมกระเทือน

• ธรรมะติดปีก

• ธรรมะหลับสบาย

• ธรรมะดับร้อน

• ธรรมะบันดาล

• ธรรมะรับอรุณ

• ธรรมะราตรี

• ธรรมะทำไม

• ธรรมะเกร็ดแก้ว

• ธรรมะสบายใจ

• ธรรมะทอรัก

• ธรรมะงอกงาม

• ธรรมะน้ำเอก

• ธรรมะคลายใจ

• ธรรมะพารวย

• ธรรมะศักดิ์สิทธิ์

• คนสำราญงานสำเร็จ

• สบตากับความตาย

• เชิญตะวัน

• มหัศจรรย์แห่งชีวิต 7 หลักคิดจาก ว.วชิรเมธี

• ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง

• เรารักแม่

• หนังสือธรรมะชาล้นถ้วย

• ลายแทงแห่งความสุข

• มองลึก นึกไกล ใจกว้าง

• รู้ก่อนตาย ไม่เสียดายชาติเกิด

• เปลี่ยนเคราะห์ให้เป็นโชค เปลี่ยนโรคให้เป็นครู

• งานสัมฤทธิ์ ชีวิตรื่นรมย์

• ความทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย

• Love Analysis 1&2

• เข็นธรรมะขึ้นภูเขา

• ตะเเกรงร่อนทอง

• ว่ายทวนน้ำ(เขียนร่วมกับพระไพศาล วิสาโล)

• ธรรมา ค้าขึ้น

• ธรรมาธิปไตย

• การเดินทางของความคิด(ร่วมกับ สรรเสริญ ปัญญาธิวงศ์,นิรุตติ์ ศิริจรรยา,อารียา ศิริโสดา)

• หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา มัธยมศึกษาปีที่ 1-6

ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ

แปลโดยนพมาศ แววหงษ์

• Anger Management (ธรรมะหลับสบาย)

• Looking Death in the Eye (สบตากับความตาย)

• Love Management (ธรรมะทอรัก)

• Mind Management (ธรรมะสบายใจ)

จุดเริ่มต้นของ"ธรรมะอินเทรนด์"

ในปีพ.ศ.2547ท่าน ว.วชิรเมธีได้ออกหนังสือธรรมะติดปีกมาสู่สายตาประชาชนแล้วปรากฎว่า ได้รับความนิยมมาก จึงได้มีผลงานทางธรรมะออกมาอีก 2 เล่มคือ ธรรมะหลับสบายและธรรมะดับร้อน'ซึ่งทั้งหมด ล้วนได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จากกระแสความนิยมของหนังสือทั้ง 3 เล่ม จึงทำให้ช่อง 3นำเนื้อหาจากธรรมะติดปีกมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ จากจุดนี้เองทำให้เกิดกระแสที่ธรรมะกลับมานิยมกันอีกครั้งโดยส่วนมากเรียกว่าธรรมะอินเทรนด์ หรือ ธรรมะติดปีก



โรเบิร์ต ที. คิโยซากิ หรือ โรเบิร์ต โยซากิโทรุ (เกิด 8 เมษายน 1947) เป็นชาวอเมริกัน นักลงทุน , นักธุรกิจแนวพัฒนาตนเอง ,นักเขียน และ นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ . คิโยซากิเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในฐานะผู้เขียนหนังสือขายดี Rich Dad Poor Dad ชุดหนังสือสร้างแรงบันดาลใจและวัสดุอื่น ๆ ที่เผยแพร่ภายใต้ Rich Dad แบรนด์ เขาได้เขียนหนังสือถึงลำดับที่ 15 ได้รวมการขายกว่า 26 ล้านชุด  ถึงแม้ว่าการเริ่มต้นเป็นผู้เผยแพร่แนวความคิดด้วยตนเองต่อมาเขาได้ถูกตีพิมพ์โดย Warner Books , ของหมวด Hachette Book Group USA , ขณะนี้หนังสือเล่มใหม่ของเขาปรากฏอยู่ภายใต้ Rich หนังสือชุดพ่อรวยขายดี ทั้งสามเล่มของเขา, พ่อรวยสอนลูก Rich Dad Poor Dad,   พ่อรวยสอนกระแสเงินสด (เงินสี่ด้าน) Cash flow Quadrant และ พ่อรวยสอนลงทุน Rich Dad 's Guide to Investing หนังสือแนว How to สอนการลงทุนได้ใน 10 อันดับแรกของรายชื่อผู้ขายที่ดีที่สุดพร้อมกันใน Wall Street Journal , USA Today และ New York Times . Rich Kid Smart ถูกตีพิมพ์ในปี 2001 มีเจตนาที่จะช่วยให้ผู้ปกครองสอนบุตรหลานของตนแนวคิดทางการเงิน
โรเบิร์ต ที คิโยซากิ เป็นผู้ที่นำความลับคนรวยซึ่งมักจะถูกถ่ายทอดกันมารุ่นต่อรุ่น มาเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้ทราบกัน ผ่านหนังสือขายดีที่เรารู้จักกันดี ในตระกูลพ่อรวยสอนลูก (Rich Dad Poor Dad) ซึ่งเป็นหนังสือที่โด่งดังมาก ปัจจุบันนี้เขายังเป็นนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอาศัยอยู่ที่อเมริกา ในสมัยเด็ก โรเบิร์ต ไม่ใช่คนที่เรียนเก่ง เรียกได้ว่าผลการเรียนธรรมดามากๆ บางครั้งก็มีตกบ้าง โรเบิร์ตมีพ่อ 2 คน คนหนึ่งคือพ่อแท้ๆ ของเขา ซึ่งเขาเรียกว่าพ่อจน

และอีกคนหนึ่งคือพ่อของเพื่อนสนิทของเขาที่เขาเรียกว่าพ่อรวย สาเหตุที่เขาเรียกพ่อแท้ของเขาว่าพ่อจนไม่ได้หมายความว่าพ่อแท้ของเขาจน จนไม่มีอะไรจะกินนะคะ พ่อแท้ๆ ของเขาเป็นอธิบดีทางด้านการศึกษา แต่ที่เขาเรียกว่าพ่อจนเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนกันมากขึ้นระหว่างความคิดคนของคนสองคน พ่อรวยของเขาเป็นผู้ที่รวยที่สุดในเกาะแมนฮัตตั้น



ในสมัยที่เขายังเป็นเด็ก เขาได้เรียนวิชาการเป็นคนรวยจากพ่อของเพื่อนเขา ซึ่งเขาได้นำเสนอความแตกต่างของความคิดระหว่างคนจนกับคนรวยไว้ในหนังสือของเขา ขอยกตัวอย่างบางประการแล้วกัน เช่น คนจนเวลาเจอของที่อยากได้มักจะบอกกับตัวเองว่า เราไม่มีเงินซื้อ แต่คนรวยเมื่อเจอของที่อยากได้มักจะตั้งคำถามว่า เราจะซื้อมันได้อย่างไร? คนจนมักจะคิดว่า เราทำไม่ได้ แต่คนรวยมักจะคิดว่าทำอย่างไร โรเบิร์ต ยังกล่าวอีกว่าความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวยไม่ได้แตกต่างกันนิดเดียวนะคะ แต่ว่าความคิดคนทั้ง 2 ประเภทนี้ แตกต่างกันจนอยู่คนละด้านเลย โรเบิร์ตบอกว่าคนจนส่วนใหญ่จะชอบบอกว่าคนรวยเห็นแก่ตัว แต่ที่จริงแล้วคนรวยส่วนใหญ่มีน้ำใจเป็นผู้ให้ในขณะที่ คนจนส่วนใหญ่จะเห็นแก่ตัวหลายคน

คุณโรเบิร์ตกล่าวว่า คนจนเห็นแก่ตัวก็เพราะชอบเรียกร้องสิทธิต่างๆ มากมายจากรัฐบาล เช่น ให้ช่วยเหลือสิ่งนั้น ให้ช่วยเหลือสิ่งนี้ และจะชอบกล่าวหาว่าบริษัทให้เงินเดือนน้อย ใช้งานหนัก ไม่ยอมปรับตำแหน่งให้เลย เพราะคุณโรเบิร์ตก็เคยเป็นพนักงานประจำมาก่อนและไม่ได้ร่ำรวยมาก่อน ซึ่งจริงๆแล้วบุคคลเหล่านี้ไม่ได้ลองคิดเลยว่าคุณทำสิ่งต่างๆเพื่อบริษัทบ้างหรือยัง โรเบิร์ตบอกว่าที่คนรวยส่วนใหญ่เป็นคนมีน้ำใจก็เพราะว่าคนรวยชอบช่วยเหลือผู้อื่น ยิ่งธุรกิจใดช่วยเหลือคนมากเท่าไร ธุรกิจนั้นก็ยิ่งรวย เช่น โตโยต้าที่ทำรถยนต์ราคาถูกออกมา เพื่อจะช่วยให้คนสามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ก่อนที่โรเบิร์ต จะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้เขาก็เคยลำบากมาก่อน เริ่มแรกเขาทำงานเป็นเซลล์

หลังจากนั้นก็ไปเป็นทหารและไปออกรบที่เวียดนาม หลังจากนั้นก็เริ่มทำธุรกิจส่วนตัว พอทำไประยะหนึ่ง ก็เกิดปัญหาขึ้นจึงต้องเลิกกิจการ กลายมาเป็นคนถังแตก เขากับภรรยาของเขาเคยเกือบจะยอมแพ้แล้ว ในเวลานั้นเขามี 2 ทางเลือก คือ เดินตามความฝันสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจต่อไป หรือ หันหลังให้ความฝันและเดินกลับไปเป็นพนักงานประจำ จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการเขียนหนังสือชุดพ่อรวยแล้ว ปัจจุบันเขายังเป็นวิทยากรจัดอบรมสัมมนาต่างๆ รวมถึงจัดตั้งธุรกิจเครือข่ายภายใต้ product แบรนด์ที่ชื่อ Agel

ผลงานเขียน 
- Rich Dad Poor Dad  พ่อรวยสอนลูก
- Cash Flow Quadrant พ่อรวยสอนลูก #2 เงินสี่ด้าน
- Rich Kid Smart Kid พ่อรวยสอนลูก #3 สอนลูกให้รวย
- Guide to Investing พ่อรวยสอนลูก #4  พ่อรวยสอนลงทุน
- Guide to becoming Rich ใช้บัตรเครดิตให้รวย
- Who took my Money? ใครเอาเงินของฉันไป?
- Retire Young Retire Rich เกษียณเร็ว เกษียณรวย
- Before you quit your Job เตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะเป็นเจ้าของธุรกิจ
- Business School  โรงเรียนสอนธุรกิจ
- Rich Dad Poor Dad  for Teens  พ่อรวยสอนวัยรุ่น
- Success Stories  เรื่องเล่าความสำเร็จ
- Escape from The Rat Race  สอนหนูให้รวย
- Rich Woman  สอนผู้หญิงให้รวย
- The ABC 's of getting out of Debt  ที่ปรึกษาพ่อรวยสอนปลดหนี้
- Increase Your Financial IQ พ่อรวยสอนปลุกอัจฉริยภาพทางการเงิน
- How to be #1 Your Business  เป็นที่ 1 ให้ได้ในธุรกิจของคุณ
- Why we want you to be Rich  ชวนคุณให้รวย (2 คน หนึ่งคมคิด)
และผลงานเขียนเล่มล่าสุด ได้แก่
- Rich Dad's Conspiracy of the Rich พ่อรวยเล่าเรื่อง เกมการเงินของคนรวย
หนังสือที่เป็นผลงานชิ้นเอกของนักเขียนทั้ง 6 ท่าน ได้แก่












วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วัฒนธรรม Thai Pop มีอยู่จริง หรือ ถึงเวลาที่มันจะถือกำเนิดแล้วหรือไม่



วัฒนธรรม Thai Pop มีอยู่จริง หรือ ถึงเวลาที่มันจะถือกำเนิดแล้วหรือไม่

ภายใต้กระแส J-POP,K-POP อันเชี่ยวกรากนั้น เราขอแหวกกระแส (ชิมิๆ) ไปพิจารณาถึงวัฒนธรรม T-POP ดูบ้างว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ว่ามันมีอยู่จริง แล้วถึงเวลาที่มันจะถือกำเนิด เกิดเป็นกระแสกับเขาได้หรือไม่ แต่ก่อนอื่นขอไปท้าวความถึงวิวัฒนาการ และรากศัพท์คำเหล่านี้ก่อนได้แก่ pop art, pop culture และ post modern  รวมถึงคำอื่นๆ ที่ใช้กัน ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงวัฒนธรรม ซึ่งบัญญัติโดยโลกตะวันตกเขา แต่เราหยิบยืมมาใช้ หรือบางอย่างก็ลอกเลียนมา จะได้เป็นพื้นฐานที่จะกล่าวถึงต่อไป คำศัพท์เหล่านั้น ได้แก่


พ็อพ อาร์ต,ศิลปะประชานิยม
Pop Art 


กลางคริสต์ทศวรรษ 1950-ปลาย 1960
Pop Art เป็นศิลปะที่เฉลิมฉลองวัฒนธรรมพ็อพ (พ็อพพูลาร์ คัลเจอร์) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมระดับมหาชน ที่ถูกจัดว่าเป็นวัฒนธรรมหรือศิลปะระดับล่าง โดยมีศิลปะชั้นสูงเป็นขั้วตรงกันข้าม ศิลปะชั้นสูงที่ว่านี้คือ บรรดางานศิลปะที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นของดีมีคุณภาพ แต่ละชิ้นมีความเป็นต้นแบบต้นฉบับ มีเพียงหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร มีคุณค่าเสียจนสถาบันศิลปะหรือสถาบันระดับรัฐต้องซื้อเก็บสะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์ของประเทศชาติ
ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1940-1950 แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Abstract Expressionism) กระเสือกกระสนแสวงหาชื่อเสียงและการยอมรับ จนกระทั่งนักวิจารณ์ยกย่อง พิพิธภัณฑ์ซื้องานเพื่อเปิดแสดง แต่ชาวบ้านไม่เข้าใจ ภาพเขียน แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ กลายเป็นศิลปะสมัยใหม่ชั้นสูง เป็นสิ่งที่จำกัดอยู่ในชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางที่มีการศึกษาดี เป็นของจำเพาะสำหรับคนในวงการศิลปะ
ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมพ็อพ ที่เป็นวิถีปฏิบัติและรสนิยมแบบตลาดดาษดื่น เป็นวัฒนธรรมแห่งการเสพสินค้าที่ผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม มีจำนวนมากๆ ทุกชิ้นผลิตออกมาเหมือนกัน คนหมู่มากซื้อมาใช้เหมือนกันไปหมด เทียบไม่ได้กับงานฝีมือ งานสร้างสรรค์ชั้นสูง
พ็อพ อาร์ต คือแนวศิลปะที่เป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับศิลปะลัทธิ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ซึ่งเน้นการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก การแสดงความเป็นส่วนตัว มีแนวงานเป็นของตัวเองและเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ แต่ พ็อพ อาร์ต กลับหยิบยืมเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด เช่น วัสดุสำเร็จรูป มานำเสนออย่างมีชีวิตชีวา งานของ พ็อพ อาร์ต มักจะมีอารมณ์ขัน ขี้เล่นและชอบเสียดสี เย้ยหยันต่อศิลปะและชีวิต
ริชาร์ด แฮมิลตัน (Richard Hamilton) ศิลปินชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่ทำงานในแนว พ็อพ อาร์ต เมื่อปี 1956 โดยการใช้เทคนิคปะติดภาพถ่ายและสิ่งพิมพ์ ต่อมาส่งอิทธิพลไปสู่สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี ศิลปะกระแสนี้มีความเคลื่อนไหวคึกคักที่สุดในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 จนถึง 1960
ต้นตอทางรูปแบบและความคิดสามารถสืบย้อนกลับไปที่กลุ่ม ดาด้า ในด้านของการใช้สินค้าบริโภค ข้าวของเครื่องใช้ (วัสดุสำเร็จรูป) อารมณ์ขันและการต่อต้านศิลปะชั้นสูง และแน่นอนว่า นีโอ-ดาด้า (Neo-Dada) ก็มีอิทธิพลต่อ พ็อพ อาร์ต ด้วยเช่นกัน ต่างกันตรงที่ นีโอ-ดาด้า นำเอาฝีแปรงเขียนภาพแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เข้ามาผสมด้วยเท่านั้น
รูปแบบและเนื้อหาของ พ็อพ อาร์ต ไปกันได้ดีกับวิถีชีวิตอเมริกันในคริสต์ทศวรรษ 1960 ยุคที่บริโภคนิยม สินค้าอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมพ็อพกำลังเฟื่องฟูสุดขีด ทุกอย่างกลายเป็นสินค้าสำหรับซื้อขาย บ้านเมืองเต็มไปด้วยสื่อโฆษณา สิ่งพิมพ์ ภาพลักษณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจ เป็นวัฒนธรรมแบบเสพภาพและภาพลักษณ์สำหรับมองดู พ็อพ อาร์ต จึงแสดงความเป็นอเมริกันได้อย่างถึงพริกถึงขิง
พ็อพ อาร์ต คืองานศิลปะของคนเมือง เป็นวัฒนธรรมเมืองโดยแท้ หากลองเปรียบเทียบเรื่องหรือ หัวเรื่องที่ศิลปินในโบราณชอบนำไปเขียนภาพ ศาสนา ตำนาน และประวัติศาสตร์คงเป็นหัวเรื่องยอดนิยมในอดีต ในคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น 20 ธรรมชาติและทิวทัศน์คือแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ เรื่องราวเกี่ยวกับคนและวิถีชีวิตของคนก็เช่นกัน จิตรกรกลุ่ม อิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) เขียนภาพชีวิตคนในเมือง ปิกาสโซ (Picasso) และ มาติสส์ (Matisse) ต่างก็ทำเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและคนมาตลอดชีวิต มีแต่ พ็อพ อาร์ต นี่แหละที่มีวัฒนธรรมพ็อพในเมืองและสินค้าข้าวของต่างๆ เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นครั้งแรกที่ศิลปินสนใจแสดงออกถึงปรัชญาของทุนนิยม บริโภคนิยมอย่างเอาจริงเอาจัง
รูปแบบ วิธีคิด และวิธีทำงานของ พ็อพ อาร์ต ได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปินและกระแสศิลปะในยุคต่อมาเป็นอย่างมาก ศิลปะในลัทธิหลังสมัยใหม่ หรือ โพสต์โมเดิร์นนิสม์ (Postmodernism) ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในไทยขณะนี้ ก็เติบโตมาจาก พ็อพ อาร์ต นี่เอง
คงจะเพราะ พ็อพ อาร์ต เล่นกับภาพลักษณ์และมีการนำเอาการ์ตูน สินค้า และสิ่งออกแบบที่คนชอบและคุ้นเคยมาใช้นั่นเอง ทำให้ พ็อพ อาร์ต เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป กลายเป็นที่ ประชานิยมจริงๆ ไม่ใช่แค่แนวคิดเกี่ยวกับของฮิตเท่านั้น แต่ พ็อพ อาร์ต ได้ทำให้มันเป็นของฮิตขึ้นจริงๆ เลยทีเดียว
ในความสำเร็จของ พ็อพ อาร์ต ในด้านที่เกี่ยวกับการจัดการกับระดับสูง-ต่ำของศิลปะ อาจมองได้สามทางว่า ศิลปินกลุ่มนี้ได้นำเอาศิลปะวัฒนธรรมจากสองขั้วสูง-ต่ำมาเจอกัน หรืออาจมองได้ว่าพวกเขาได้ทำของต่ำให้สูง นำของระดับล่างมาทำให้เป็นศิลปะชั้นสูง หรือไม่ก็เป็นการทำให้ของสูงโน้มลงมาแตะดิน
เป็นการพยายามทำลายหอคอยงาช้างที่พวก โมเดิร์นนิสต์ (Modernist, Modernism) สร้างเอาไว้สูงตระหง่าน สูงขึ้นหิ้งเป็นของเฉพาะกลุ่ม แปลกแยกออกจากสังคม กลายเป็นอะไรที่เป็น อุดมคติเป็นแบบแผนและแข็งตัวจนเกินไป แต่เอาเข้าจริงๆ การทำลายหอคอยงาช้างของ โมเดิร์นนิสต์ แล้วประกาศว่าเป็น โพสต์โมเดิร์น จะทำให้ชาวบ้านเข้าถึงศิลปะมากขึ้นหรือไม่ ยังคงเป็นคำถามที่ชวนคิดอยู่จนถึงทุกวันนี้
แม้ว่าโดยแนวคิดรวมๆ ของ พ็อพ อาร์ต คือ การท้าทายความคลาสิคอันสูงส่งของศิลปะประเพณีที่อยู่ในกรอบระเบียบอันเคร่งครัด และยังทำการล้อเลียนหยอกเย้ากับความเป็นปัจเจกเฉพาะตัว ละเลยความเป็นต้นฉบับที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครตามแนวทางของ ศิลปะสมัยใหม่ (โมเดิร์น อาร์ต) แต่เอาเข้าจริงๆ ศิลปินพ็อพแต่ละคนต่างก็มีรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะไม่เหมือนศิลปินอื่นๆ (แต่ไปเหมือนงานพาณิชย์ศิลป์ที่ตัวเองไปหยิบยืมมา)
แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) ไม่เป็นเพียงหัวหอกของกลุ่มศิลปินพ็อพ แต่เป็นศิลปินชั้นนำระดับซูเปอร์สตาร์ของอเมริกาหรือของโลกเลยทีเดียว นอกจากจะเป็นศิลปินที่มีผลงานยอดเยี่ยมเป็นที่ชื่นชอบแล้ว วอร์ฮอล ยังเป็นดาวสังคมของนครนิวยอร์คอีกด้วย เรียกได้ว่าทั้งชีวิตและผลงานของเขาเป็นพ็อพมากๆ เลยทีเดียว
ลักษณะเฉพาะตัวของ วอร์ฮอล ที่ทุกคนรู้จักดีคือ การทำงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคภาพพิมพ์ซิลค์สกรีน เทคนิคดังกล่าวเป็นวิธีการสร้างงานพิมพ์ในระดับอุตสาหกรรม มักจะใช้ในแวดวงโฆษณาขายสินค้า เช่น ทำโปสเตอร์ บิลบอร์ด และพิมพ์ลวดลายลงบนเสื้อยืด ในสมัยนั้นเทคนิคนี้ยังถือว่าเป็นของค่อนข้างใหม่
แอนดี้ วอร์ฮอล ใช้เทคนิคอุตสาหกรรมนี้พิมพ์ภาพดารา นักร้อง และคนดังระดับตลาดมหาชน เช่น พิมพ์ภาพ มาริลีน มอนโร อลิซาเบ็ธ เทเลอร์ และ เอลวิส เพรสลีย์ บ้างก็พิมพ์ภาพผลงานจิตรกรรมระดับคลาสสิคที่ขึ้นหิ้งของโลก เช่น ภาพ โมนา ลิซ่า (ยอดฮิตที่สุดของการถูกนำไปใช้ ถูกนำไปล้อเลียน) ภาพเทพ วีนัส ฝีมือ บอตติเซลลี ภาพทั้งหมดนี้ วอร์ฮอล นำมาพิมพ์ด้วยสีฉูดฉาดเตะตาในจำนวนเยอะๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรียงกันเป็นพรืดแบบสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตซ้ำได้ทีละมากๆ
รอย ลิชเท็นสไตน์ (Roy Lichtenstein) เป็นศิลปินพ็อพอีกคนที่มีชื่อเสียงในระดับซูเปอร์สตาร์ แต่ยังไม่ถึงขั้นดาวสังคมไฮโซเท่า วอร์ฮอล
ลิชเท็นสไตน์ มีลักษณะเฉพาะตัวด้วยการสร้างงานให้เป็นแนวการ์ตูน เขาหยิบยืมรูปแบบของสิ่งพิมพ์การ์ตูนอุตสาหกรรมที่เล่าเรื่องเป็นช่องๆ มีลักษณะพิเศษอยู่ที่การตัดเส้นภาพลายเส้นด้วยเส้นทึบดำ สร้างสีและน้ำหนักของภาพด้วยการใช้แถบเม็ดสี แถบริ้วสี (เม็ดสกรีนและแพนโทน) บางครั้ง ลิชเท็นสไตน์ ถึงกับนำภาพจากหนังสือการ์ตูนที่วางขายในท้องตลาดมาดัดแปลงเล็กน้อยให้เป็นผลงานของตัวเอง
จุดที่พิเศษไปจากการ์ตูนสิ่งพิมพ์อุตสาหกรรมราคาถูกก็คือ ลิชเท็นสไตน์ นำลักษณะดังกล่าวมาทำเป็นงานจิตรกรรมขนาดใหญ่ เรียกได้ว่า ระบายสีทำงานจิตรกรรมให้เป็นลักษณะอุตสาหกรรม หรือพูดอีกอย่าง ทำสิ่งพิมพ์ให้เป็นจิตรกรรม ทำ ศิลปะระดับล่าง (โลว์ อาร์ต) ให้เป็น ศิลปะชั้นสูง (ไฮ อาร์ต) หรือสลับกัน
และที่ขาดไม่ได้เช่นเดียวกับ แอนดี้ วอร์ฮอล คือการหยอกล้องานคลาสสิคบรมครู ลิชเท็นสไตน์ นำเอาภาพชั้นยอดอย่างเช่น งานสีน้ำมันภาพโบสถ์อันโด่งดังของ โมเนต์ (Monet) ภาพคนเดินหว่านเมล็ดพันธุ์พืชของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent van Gogh) ภาพนามธรรมเรขาคณิตของ มงเดรียน (Mondrian) และภาพปลาในโหลแก้วของ มาติสส์ มาทำเป็นจิตรกรรมและภาพพิมพ์ในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์อุตสาหกรรม ดูเหมือนสินค้าแบบพ็อพในตลาด
คนโดยทั่วไปเมื่อได้ยินคำว่าประติมากรรมหรือรูปปั้นเมื่อใด ก็มักจะนึกถึงงานแกะสลักหินอ่อนรูปเหมือนจริง อย่างเช่น รูป เดวิด ของ ไมเคิลแองเจโล รูปชายหญิงจูบกันของ โรแดง หรือไม่ก็รูปหล่อสำริดที่เป็นอนุสาวรีย์วีรบุรุษวีรสตรีแห่งชาติ แต่ประติมากรรมของ เคลส์ โอลเด็นเบิร์ก (Claes Oldenberg) ปฏิเสธเรื่องราวยิ่งใหญ่แบบคลาสสิคมหากาพย์ทั้งหลาย โอลเด็นเบิร์ก หยิบจับเอาข้าวของในชีวิตประจำวันสมัยใหม่ เช่น ไม้หนีบผ้ากระดุม ก็อกน้ำและสายยาง และขนมพายมาทำประติมากรรม ขยายขนาดจนใหญ่โตมโหฬาร เรียกรอยยิ้มจากคนดูได้เป็นอย่างดี
นอกจากทำของเล็กให้ใหญ่โตแล้ว โอลเด็นเบิร์ก ยังทำงานอีกชุดที่เป็น ประติมากรรมอ่อนนุ่ม (soft sculpture) เขานำเอาข้าวของเครื่องใช้กระจุกกระจิกมาขยายใหญ่โตเกินปกติ และยังใช้วัสดุนุ่มนิ่มมาสร้างประติมากรรม ทำให้สิ่งของเหล่านั้นอ่อนปวกเปียกผิดธรรมชาติของวัตถุต้นแบบนั้นๆ เรียกได้ว่า ท้าทายการคิดการทำประติมากรรมในแบบจารีตประเพณีมากๆ เลยทีเดียว
แม้ว่าความเคลื่อนไหวของ พ็อพ อาร์ต จะมีความตื่นตัวที่สุดในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่แนวทางของ พ็อพ อาร์ต ยังคงร่วมยุคร่วมสมัยกับสังคมและวงการศิลปะในปัจจุบันเป็นอย่างดี เพราะพวกเรายังอยู่ในสังคมยุควัฒนธรรมพ็อพ หรือตามที่มีเสียงกระหึ่มดังว่าเป็นสังคมยุค หลังสมัยใหม่ (โพสต์โมเดิร์น) กันไปแล้ว
เป็นยุคสมัยที่อะไรๆ จากยุคสมัยใหม่ก็ถูก ถอดรื้อและถูกตรวจสอบไปเสียหมด เป็นยุคที่อะไรๆ ก็ถูก ทำให้พ็อพของสูงก็ถูกทำให้กลายเป็นของสามัญ กลายเป็นสินค้าสำหรับซื้อขายไปเสียทุกอย่าง
ศิลปิน: จิม ไดน์ (Jim Dine, 1935-), ริชาร์ด แฮมิลตัน (Richard Hamilton, 1922-), เดวิด ฮอคนีย์ (David Hockney,1937-), โรเบิร์ต อินเดียนา (Robert Indiana, 1928-), อาร์.บี. คิทาจ์ (R.B. Kitaj, 1932-), รอย ลิชเท็นสไตน์ (Roy Lichtenstein, 1923-1997), เคลส์ โอเด็นเบิร์ก (Claes Oldenberg, 1929-), ซิกมาร์ โพลเก้ (Sigmar Polke, 1941-), แกร์ฮาร์ด ริชเตอร์ (Gerhard Richter, 1932-), เจมส์ โรเซ็นควิสท์ (James Rosenquist, 1933-), เอ็ด รัสก้า (Ed Ruscha, 1937-), แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol, 1927-1987), ทอม เวสเซ็ลแมนน์ (Tom Wesselmann, 1931-)
วัฒนธรรมสมัยนิยม หรือ วัฒนธรรมร่วมสมัย (อังกฤษ: popular culture หรือ pop culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม โดยวัฒนธรรมสมัยนิยม มักจะมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมระดับสูง
วัฒนธรรมสมัยนิยม คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความคิด มุมมอง ทัศนคติ ภาพลักษณ์ การเลียนแบบ และปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เชื่อกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นสิ่งที่ชื่นชอบของสังคมในท่ามกลางวัฒนธรรมกระแสหลัก
ส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมสมัยนิยมเช่น เพลงป็อป หรือ เพลงสมัยนิยมที่จะเน้นในลักษณะตามความชอบของคนในสมัยนั้น เพลงป็อปในญี่ปุ่นจะเรียกว่า เจ-ป็อป  ถ้าเป็นเพลงป็อปของเกาหลี ก็จะเรียกว่า เค-ป็อป

Popular culture ในคำแปลภาษาไทยนั้นมีหลากหลายคำด้วยกันไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรมสมัยนิยม, วัฒนธรรมป๊อป, วัฒนธรรมมวลชน, วัฒนธรรมประชานิยม, วัฒนธรรมประชาชน. กระแสป๊อป หรือแม้แต่การใช้ทับศัพท์คำว่า ป๊อป-คัลเจอร์ ซึ่งในความหมายของคำเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วยกิจกรรม ทุกอย่างในชีวิตประจำวันของเราที่สังคมให้ความนิยมชมชอบ แทบทุกกระแสที่อยู่ในความสนใจของคนจำนวนมากโดยการนำเสนอของสื่อมวลชน หรือสินค้า และบริการยอดนิยม ที่อยู่รายรอบตัวเรา ล้วนจัดเข้าข่ายนิยามของวัฒนธรรมสมัยนิยม ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรม, เพลงป๊อป, ดนตรี, ละคร, แฟชั่น, ศิลป, งานเขียนต่างๆ ที่อยู่ในกระแสนิยมจันทรา มุเกอร์จี และไมเคิล ชุดสัน (Chandra Mukeji and Michael Schudson) กล่าวว่า วัฒนธรรมสมัยนิยม หมายถึงความเชื่อและปฏิบัติการรวมถึงสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับหรือการนิยามอย่างแพร่หลาย โดยประชากรกลุ่มหนึ่ง และนันทขว้าง ศิริสุนทร ได้กล่าวเอาไว้ว่า ป๊อป คัลเจอร์ต้องเป็นสิ่งที่มหาชนนิยม เป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมชนชั้นสูง ไม่จำเป็นต้องเป็นชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง เป็นของที่นิยมได้ทุกชนชั้น และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอลิซาเบธ จี. เทราบี (Elizabeth G. Traube) กล่าวว่า "popular culture" เริ่มใช้ในยุโรปในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยโจฮันน์ กอตต์ปรายด์ เฮอร์เดอร์ (Johann Gottfried Herder) ซึ่งได้จำแนกวัฒนธรรมออกเป็นวัฒนธรรมชั้นสูง (high culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของผู้ที่มีการศึกษา เป็นวัฒนธรรมแห่งเหตุผล และวัฒนธรรมชั้นต่ำ (low culture) หรือวัฒนธรรมป๊อป คือวัฒนธรรมไร้เหตุผล ใช้ความรู้สึกดั้งเดิม แม็ทธิว อาร์โนลด์ (Mathew Arnold) ผู้สร้าง Culture and Anarchy งานชิ้นบุกเบิกของวัฒนธรรมป๊อป ถูกมองว่าเป็นต้นเหตุของความปั่นป่วนอนาธิปัตย์ และภาวะแห่งความไร้ระเบียบและกฎเกณฑ์ของสังคม จอนห์ ฟิสเก้ (John Fiske) ได้กล่าวเกี่ยวกับแนวทางในการศึกษาวัฒนธรรมสมัยนิยมเอาไว้ว่าประกอบไปด้วย 3 แนวทางได้แก่ 1. พิจารณาวัฒนธรรมสมัยนิยมจากตัวแบบของการประนีประนอม (a consensual model) มองเห็นวัฒนธรรมสมัยนิยมว่า เป็นเพียงพิธีกรรมของการจัดการความแตกต่างและความตึงเครียดทางวัฒนธรรม และในที่สุดก็จะจบลงด้วยความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของวัฒนธรรมร่วมกันของคนในชาติ

2. พิจารณาวัฒนธรรมสมัยนิยมจากตัวแบบของอำนาจ (a model of power) มองเห็นวัฒนธรรมสมัยนิยมว่าเป็นการกดบีบ การบังคับครอบงำมวลชนหรือกลุ่มคนที่ไร้อำนาจ และอยู่ในฐานะที่ไม่อาจต่อรองได้ในอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ

3. พิจารณาวัฒนธรรมสมัยนิยมในฐานะที่เป็น "สนามของการต่อรองช่วงชิง (a site of struggle) มองเห็นกระบวนการต่อรอง สร้างสรรค์และกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่คนในสังคมใช้ในการรับมือหรือสร้างความหมายทางสังคมให้กับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของตนการวิเคราะห์ตัวตนในกระแสวัฒนธรรมสมัยนิยม
การวิเคราะห์ตัวตนในกระแสวัฒนธรรมสมัยนิยมนั้น สามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 5 ลักษณะ คือ (พัฒนา กิติอาสา, 2546, 46)1. ตัวตนได้จากการเสพสื่อ มีประสบการณ์ผ่านสื่อแล้วนำมาสร้างความเป็นตัวตนให้กับตนเอง
2. ตัวตนเกิดในโลกความจริงเหนือความจริง โดยสื่อมักเป็นผู้สร้างความจริงเหล่านั้น เช่น ผู้หญิงสวยมักต้องมีสัดส่วนที่ผอมบาง
3. ตัวตนที่ถูกแยกย่อย เช่น กลุ่มเกย์ กลุ่มเด็กเซ็นเตอร์พ้อยท์
4. ตัวตนที่อยู่ในโลกที่ขัดแย้งกัน อันเกิดจากการสร้างความหมายที่ขัดแย้งกัน เช่นผู้หญิงต้องเป็นทั้งแม่ และเป็นสาวเปรี้ยวในกลุ่มเพื่อน
5. ตัวตนในโลกแห่งสุนทรียะที่มีระดับแยกไปตามอำนาจที่ผู้อื่นเป็นผู้กำหนด เช่นคนมีเงินดูหนังโรงชั้นหนึ่ง ผู้ใช้แรงงานดูหนังควบตามโรงสองชั้นการสร้างความหมายให้กับตนจึงอาศัยการตีความ การเลือกเปิดรับสื่อ รูปร่างลักษณะภายนอกของตน จังหวะ โอกาส และสถานการณ์ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ มาประกอบการสังเคราะห์เป็นตัวตนของคนแต่ละคนให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นตัวตน เพศสภาพ สัญชาติ สถานะทางสังคม และความหมายที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวตนนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดตามยุคสมัยและบริบทของสังคมวุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ และคณะ(อ้างในพัฒนา กิติอาสา, 2546, 49)ได้นำเสนอว่า เครื่องมือที่สำคัญที่สุดของการสร้างตัวตนในกระแสวัฒนธรรมสมัยนิยม ประกอบด้วยกลวิธี 7 อย่าง ได้แก่1. การใช้คำขวัญ หรือคำสั้น ๆ ที่จำง่ายซึ่งจะช่วยดึงดูดให้ผู้คนสนใจ
2. การตราหน้า การทำให้คนตัดสินใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่ใช้เหตุผลประกอบ
3. การเหมารวม การทำให้คนเกิดความรู้สึกดีหรือประทับใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยปราศจากการวิเคราะห์ ตรวจสอบ
4. การถ่ายโอนสัญลักษณ์ เป็นการใช้สัญลักษณ์ของสิ่งที่น่าเชื่อถือ เป็นที่เคารพมาเพื่อถ่ายโอนลงสู่อีกสิ่งหนึ่ง
5. การแห่ตาม การกระตุ้นความรู้สึกอยากมีพวกพ้อง ความเห็นด้วย
6. ความดึงดูดทางเพศ(sex appeal) การกระตุ้นความรู้สึกทางเพศให้คนหันมาสนใจ
7. เสียงดนตรี การนำเพลงประกอบ ทำให้รู้สึกคล้อยตาม และจดจำได้ง่าย
อ้างอิง : ส่วนหนึ่งของงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา เรื่อง พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ส่วนตัว และเรื่องตัวตนบนไซเบอร์สเปซ ของ เอมอร ลิ้มวัฒนา นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเผยแพร่ใน  เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1059
(เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙)
ปรากฏการณ์ของค่านิยมมวลชนที่มีความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ตามระบบทุนนิยม อันมีเหตุมาจากความเป็น สากลของโลกจากฝั่งตะวันตกที่แทรกซึมลงไปตามพื้นที่สังคมเปิดต่างๆ ผ่านกระแสของสื่ออันเป็นเครื่องมืออย่างดีของระบบทุนนิยม ในลักษณะการถ่ายทอด ผลิตซ้ำ แพร่กระจาย โดยเฉพาะในด้านการอุตสาหกรรม การพาณิชย์ รวมไปถึงการบริโภคในรูปแบบต่างๆ  เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมแนวใหม่ขึ้นมา ซึ่งวัฒนธรรมที่ว่าคือ Popular Culture วัฒนธรรม Pop ที่ว่านี้ไม่ใช่ทฤษฎีที่มีระบบความคิดที่ตายตัว หากเป็นแนวคิดหนึ่งที่มีการพลวัตเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่รู้จบตามแต่แนวนิยมของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละยุคสมัย และได้รับการทำความเข้าใจในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามแต่มุมมองของนักวิชาการในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สื่อสารมวลชน หรือมานุษยวิทยา ที่ตั้งชุดคำถามขึ้นมาวิเคราะห์ร่วมกับผลผลิตจากระบบทุนนิยมอันส่งผลกระทบสืบเนื่องมาถึงเรื่องราวเกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่ตนศึกษา  อ้างอิง : thesis เรื่อง The Comparative Study of the Adapted Versions of Sangthong in Popular CultureWikipedia พูดถึงวัฒนธรรมป๊อปเอาไว้ว่า “Pop culture” can also be defined as the culture that is “left over” when we have decided what “high culture” is.วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตกโดยเฉพาะ Pop Culture จากฝั่งอเมริกันมหาศาล เอลวิส เพรสลีย์, แจกกาลีน เคนเนดี้, จอห์น เวย์น, อลิซาเบธ เทย์เลอร์ เป็นอาทิ วัฒนธรรมเหล่านั้นหลั่งไหลมาในรูปแบบภาพยนตร์ ข้าวโพดคั่ว ดนตรีร็อก ทรงผม แฟชั่นเสื้อผ้า รูปแบบการใช้ชีวิต ความรุนแรงของวัฒนธรรมอเมริกันชนแผ่อิทธิพลไปทั่วโลก ไม่เฉพาะในเอเชีย ชันชนะของวัฒนธรรมป๊อป โหมกระพืออย่างรวดเร็ว เพราะเข้าถึงประชาชนอย่างง่ายดาย ประกอบกับวัยหนุ่มสาวมีอิสรเสรีที่จะคิดและทำได้มากขึ้น การศึกษาที่สูงขึ้นทำให้มนุษย์มีอิสระที่จะเลือก มีสิทธิที่จะดำเนินชีวิตตามครรลองของตนเอง โดยปราศจากการชี้นำจากรัฐบาลหรือจากครอบครัว
กลิ่นหอมหวนของวัฒนธรรมป๊อปคือความหมายของเสรีภาพ เมื่อมันเดินทางไปสู่ประเทศที่เคร่งครัดต่อจารีต และมีรูปแบบที่ชัดเจน ย่อมถูกต่อต้านจากชนชั้นนำอย่างไม่ต้องสงสัย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ต่อต้าน Pop Culture อย่างหนัก โดยเฉพาะยุคปัจจุบัน การก่อตั้งกระทรวงวัฒนธรรม จึงเกิดขึ้นเพื่อกลายเป็นป้อมพระกาฬต่อสู้กับการรุกรานทางวัฒนธรรม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเผยแพร่วัฒนธรรมยุคใหม่ไปยังประเทศหนึ่งใช้เวลาน้อยลง การสื่อสารที่รวดเร็วของข่าวสารใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที รายการโทรทัศน์ได้แผ่ขยายสัญญาณไปจนถึงขอบโลก ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดเรายังติดตามสถานีโทรทัศน์ CNN, MTV และ BBC ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ทันต่อเหตุการณ์ตลอดเวลาจนยากที่จะตกสมัย อินเทอร์เน็ตทำให้การสนทนาข้ามประเทศ เปิดไปสู่ประตูและชุมชนโลกได้เพียงคลิกเดียว จึงไม่แปลกที่ชนชั้นนำจะต่อต้าน Pop Culture ทั้งที่ชนชั้นนำในยุคหนึ่งก็เดินตามวัฒนธรรมยุโรป และมองวัฒนธรรมยุโรปเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผมมองว่าการต่อต้าน Pop Culture สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมที่หลั่งไหลเข้ามานั้น มิได้รับการชี้นำจากกลุ่มชนชั้นสูงอีกต่อไป การสูญเสียอำนาจชี้นำเป็นเรื่องที่หนักหนาต่อระบบแนวคิดการปกครอง เมื่อประชาชนมีสิทธิที่จะเลือกได้อย่างอิสระ ย่อมทำให้การปกครองประเทศยากขึ้นไปด้วยนั่นเอง
อ้างอิง: นิวัติ พุทธประสาท จาก ART gazine Community

Postmodernism เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการตั้งแต่กลางปี ๑๙๘๐ Postmodernism มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด
อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการการเริ่มคิดถึง -postmodernism ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับความทันสมัย-modernism ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากความทันสมัย -Modernism มีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิด -postmodernism.
ประเด็นแรกหรือคำจำกัดความแรกของ -modernism นั้นมาจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเรื่องสุนทรียศาสตร์ในตราประทับของ "modernism." การเคลื่อนไหวนี้นำไปสูจุดหมายปลายทางของแนวคิดศิลปะตะวันตกของศตวรรษที่ ๒๐ (แม้ว่าร่องรอยจะเริ่มปรากฏในช่วงของศตวรรษที่ ๑๙ ก็ตาม) Modernism นั้น อย่างที่ทราบกัน เป็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของแขนงวิชา ทัศนศิลป์ ดนตรี วรรณคดี และการละคอน ซึ่งต่อต้านแนวคิดแบบ Victorian ศิลปะเดิมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ในช่วง "high modernism," ระหว่างปี 1910 ถึง 1930 งานวรรณกรรมในแบบฉบับของ modernism ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงและทบทวน การเขียนโคลงกลอนและนิยายกันใหม่ เช่นผลงานของ Woolf, Joyce, Eliot, Pound, Stevens, Proust, Mallarme, Kafka, และ Rilke ท่านเหล่านี้ถูกจัดเป็นผู้ริเริ่มของวรรณกรรม -modernism แห่งศตวรรษที่ ๒๐.
จากมุมมองทางด้านวรรณกรรม ลักษณะสำคัญของ modernism ประกอบด้วย:
1. เน้นเรื่องความรู้สึกล้วนๆ-impressionism และการเขียนในเชิงนามธรรม (เช่นเดียวกันงานทัศนศิลป์) การเน้นที่เห็น "อย่างไร" (หรือการอ่านหรือการรับรู้ด้วยตัวมันเอง) มากกว่า "อะไร" ที่มองเห็น ตัวอย่างนี้คือ งานเขียนที่เต็มไปด้วยกระแสของจิตที่มีสำนึก (stream-of-consciousness writing)
2. ความเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรอบรู้ในการบรรยายของบุคคลที่สาม มุมมองที่เฉพาะเจาะจง และเงื่อนไขทางศีลธรรมที่ชัดเจน เช่น เรื่องราวการบรรยายของ Faulkner เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวเขียนแบบ modernism.
3. ความกำกวมของความแตกต่างระหว่างเรื่องราวที่เคยสามารถอ่านได้จากภาพ กับบทกลอน ที่เพิ่มความเป็นสารคดี (เช่นงานเขียนของ T.S. Eliot ) และบทรอยแก้ว ที่ค่อนไปทางโคลงกลอนมากขึ้น (เช่นงานเขียนของ Woolf หรือ Joyce)
4. เน้นรูปแบบที่แยกออกเป็นส่วนๆ การบรรยายเรื่องราวที่ไม่ต่อเนื่องและการสุมรวมปะติดปะต่อของสิ่งที่แตกต่างกัน
5. โอนเอียงในทำนองการสะท้อนกลับ หรือรู้สำนึกได้ด้วยตัวเอง ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ เพื่อที่งานแต่ละชิ้นจะได้เรียกร้องความสนใจเฉพาะตามสถานะของการรังสรรค์ในวิธีการที่เป็นพิเศษ
6. รูปแบบทางสุนทรีย์เน้นที่ความน้อยสุด (minimalist designs ..เช่นในงานประพันธ์ของ William Carlos Williams) ส่วนใหญ่ปฏิเสธทฤษฎีสุนทรีย์ศาสตร์ที่เคร่งครัดแบบเดิม สนับสนุนการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการค้นพบด้วยตนเองตามธรรมชาติ
7. ปฏิเสธการแยกเป็นสองขั้ว เช่น สูง และ ต่ำ หรือวัฒนธรรมยอดนิยมเดิมๆ ในการเลือกใช้วัสดุในการผลิตงานศิลปะ และวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ และการบริโภคของงานศิลปะ
Postmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน
แต่..แม้ในความเป็น -postmodernism ดูเหมือนจะคล้ายกับ -modernism ในหลายเรื่อง ความแตกต่างกันอยู่ที่ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆ ดังเช่น Modernism โน้มเอียงไปที่ความเปราะบางในแง่ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์และประวัติศาสตร์ (เช่นความคิดในงานประพันธ์เรื่อง The Wasteland ของ Woolf's To the Lighthouse) โดยเสนอว่า ความเปราะบางนั้นเป็นบางสิ่งที่เลวร้าย บางสิ่งที่เป็นความโทมนัสและเศร้าโศรกในความสูญเสีย งานของนักทันสมัย พยายามหยิบยกความคิดของงานศิลปะที่สนองความเป็นเอกภาพ ยึดเหนี่ยว และให้ความหมายในสิ่งที่สูญหายไปในชีวิตสมัยใหม่ ศิลปะจะสนองตอบในสิ่งที่สูญหายในสถาบันของความเป็นมนุษย์ Postmodernism ในทางกลับกัน ไม่เน้นความเปราะบางของโทมนัส สร้างทดแทน หรือไม่เกาะยึดไว้ แต่ค่อนไปทางเฉลิมฉลอง กระทำดังเช่นราวกับว่าโลกไร้ความหมาย? ไม่แสร้งทำให้ดูเหมือนว่าศิลปะสามารถให้ความหมายได้ กลับปล่อยให้เป็นเรื่องเล่นๆที่ไร้สาระ
อีกแง่ในการมองความสัมพันธ์ระหว่าง modernism และ postmodernism คือการช่วยให้เกิดความกระจ่างในความแตกต่างบางอย่าง ในทัศนะของ Frederic Jameson, modernism และ postmodernism เป็นการก่อรูปทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลัทธิความเป็นทุนนิยม Jameson อ้างสาระสำคัญของวลีสามอย่างของลัทธิทุนนิยม ที่กำหนดความประพฤติทางวัฒนธรรม (รวมศิลปะและวรรณกรรม) เป็นพิเศษคือ สาระแรก เกี่ยวกับตลาดทุนนิยม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงตลอดศตวรรษที่ ๑๙ ในยุโรปตะวันตก อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา (และปริมณฑลโดยรอบ) ในสาระแรกนี้รวมเอาการพัฒนาทางวิทยาการต่างๆ เช่น เครื่องจักร์ไอน้ำ และลักษณะของสุนทรีย์ศาสตร์พิเศษ ที่เรียกว่า ความจริงแท้ -realism. สาระที่สองเกิดต่อจากศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ในสาระนี้ การถือเอกสิทธิ์ของระบบทุนนิยม ด้วยการรวมตัวกันของเครื่องไฟฟ้าและพลังงานและกับความทันสมัย -modernism ในสาระที่สาม วลีของเขาคือว่า เราเดี๋ยวนี้คือนักบริโภคนานาชาติของระบบทุนนิยม (ที่เน้น การตลาด การขาย การบริโภคแบบรวมซื้อเพื่อขายต่อ ไม่ใช่เพื่อการผลิตก่อนแล้วขาย) รวมกันกับวิทยาการด้านนิวเคลียร์และไฟฟ้า และบรรณสานสัมพันธ์กันเป็น postmodernism ในเวลาเดียวกัน
ดังที่ Jameson บ่งชี้ลักษณะของ postmodernism ในแง่กรรมวิธีของการผลิตและเท็คโนโลยี ปัญหาของคำจำกัดความที่สองของ postmodernism ที่มีมาจากประวัติศาสตร์และสังคม มากกว่าวรรณกรรมหรือประวัติศาสตร์ศิลปะ แนวคิดนี้กำหนด postmodernism ในนามของการเข้าไปก่อรูปของสังคมทั้งหมด กำหนดทัศนะคติของสังคม/ประวัติศาสตร์ ที่ชัดเจน คือแนวคิดนี้ขัดแย้งกันในเชิง ระหว่าง "postmodernity" กับ "modernity" แทนที่จะเป็นระหว่าง "postmodernism" กับ "modernism."
อะไรคือความแตกต่าง? "Modernism" โดยทั่วไปอ้างถึงความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรีย์ศาสตร์กว้างๆในศตวรรษที่ ๒๐ ขณะที่ "modernity" อ้างถึงรากฐานทางปรัชญา การเมือง และความคิดด้านจิรยะธรรม ซึ่งถือเป็นรากฐานของความคิดทางสุนทรีย์พื้นฐานของ modernism. "Modernity" มีความเก่าแก่กว่า "modernism" ในการอ้างถึงชื่อ "modern" ประการแรกกำหนดในสังคมวิทยาสมัยศตวรรษที่ ๑๙ หมายถึงความแตกต่างของยุคสมัยปัจจุบันกับยุคสมัยก่อนที่ผ่านมา ซึ่งให้ชื่อว่า "โบราณ-antiquity" นักวิชาการทั้งหลายมักโต้แย้งเมื่อยุค "modern" ที่แน่นอนเริ่มต้น และทำอย่างให้เกิดความแตกต่างระหว่างอะไรที่ทันสมัย และไม่ทันสมัย มันเลยดูเหมือนว่ายุคทันสมัยเริ่มต้นก่อนหน้า ที่นักประวัติศาสตร์จะมองเห็น แต่โดยทั่วไปแล้วยุคของ "modern" จะหมายรวมกันกับยุคพุทธิปัญญาของยุโรป -the European Enlightenment ซึ่งเริ่มคร่าวๆในกลางศตวรรษที่ ๑๘ (นักประวัติศาสตร์บางคนย้อนรอยของพุทธิปัญญานี้กลับไปในสมัยเรเนอร์ซองค์ -Renaissance หรือก่อนหน้านั้นเสียอีก และบางคนอาจเถียงว่าความคิดของสมัยพุทธปัญญานี้เริ่มต้นในศตวรรษที่ ๑๘ แต่สำหรับข้าพเจ้า (ผู้เขียนบทความนี้) มักกำหนดวันที่ของ "modern" จากปีค.ศ.1750 เพียงเพราะข้าพเจ้าจบการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต จากโปรแกรมของมหาวิทยาลัย Stanford ที่ชื่อว่า "Modern Thought and Literature," โปรแกรมนี้เน้นที่งานวรรณกรรมหลังปีค.ศ. 1750).
รากฐานความคิดของพุทธิปัญญา -the Enlightenment โดยคร่าวๆ เป็นเช่นเดียวกับรากฐานความคิดของมนุษย์นิยม -humanism บทความของ Jane Flax ให้ข้อสรุปรากฐานของความคิดเหล่านี้ ถือเป็นหลักฐาน (หน้า 41) โดยข้าพเจ้าจะเพิ่มเติมสองสามอย่างในรายการของเธอ
1. มีเสถียรภาพ ติดต่อกันเป็นเรื่องราว รู้ได้ด้วยตนเอง รู้ได้ในจิตสำนึกของตนเอง มีเหตุ-ผล เป็นอิสระ และครอบคลุมกว้างขวาง ไม่เพียงแค่เงื่อนไขทางกายภาพ หรือไม่มีผลกระทบความแตกต่างในเนื้อหาใจความ ที่ตนเองรับรู้ได้
2. การรู้โดยตนเอง และรู้โลกผ่านเหตุผล มีสติ ในสภาพของจิตใจที่ให้ประโยชน์สูงสุดตามภววิสัย
3. วิธีการรู้ เกิดจากวัตถุประสงค์ของความมีเหตุ-ผลแห่งตนที่เรียก "วิทยาศาสตร์" สามารถบ่งบอกความจริงสากลที่เกี่ยวข้องกับโลก โดยไม่ละเลยความเป็นปัจเจกภาพของผู้รู้
4. ความรู้เกิดจากวิทยาศาสตร์คือ "ความจริง" และไม่เป็นที่สิ้นสุด
5. ความรู้/ความจริง เกิดโดยวิทยาศาสตร์ (ด้วยการรู้วัตถุประสงค์อย่างมีเหตุ-ผลด้วยตนเอง) จะนำพาไปสู่ความก้าวหน้าและสมบูรณ์ ในทุกสถาบันและในการปฏิบัติของมนุษย์ สามารถวิเคราะห์ได้จากวิทยาศาสตร์ (ของวัตุประสงค์/เหตุผล) และปรับปรุงได้เสมอ
6. เหตุผลคือ ผู้ตัดสินสูงสุดว่าอะไรเป็นความจริง อะไรที่ถูกต้อง และอะไรที่ดี (อะไรที่ถูกกฏหมายและอะไรที่มีคุณธรรม) อิสระภาพประกอบด้วยความเชื่อฟังในกฏเกณฑ์ที่ตรงกันกับความรู้ที่ค้นพบด้วยเหตุผล
7. ในโลกที่ปกครองด้วยเหตุผล ความจริงจะเป็นเช่นเดียวกับความดีและความถูกต้อง (และความงาม) จะไม่ขัดแย้งกันระหว่างอะไรเป็นความจริงกับอะไรเป็นความถูกต้อง (ฯลฯ)
8. วิทยาศาสตร์ เช่นนี้..ถือเป็นกระบวนทัศน์ (paradigm) ที่เป็นประโยชน์สำหรับความรู้ต่างๆของสังคม วิทยาศาสตร์เป็นกลางและเป็นภววิสัย นักวิทยาศาสตร์ผู้ผลิตความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วยความสามารถที่ไม่มีอคติ ต้องมีอิสระในการเจริญรอยตามหลักเกณฑ์ของเหตุผล ไม่ถูกชักจูงด้วยสิ่งอื่น (เช่น เงินหรืออำนาจ)
9. ภาษา หรือวิธีการแสดงออก ใช้ประโยชน์ในการนำเสนอและเผยแพร่ความรู้ ต้องมีเหตุ-ผลด้วย การมีสติในเหตุ-ผลนั้น ภาษาต้องโปร่งใส ใช้ประโยชน์เพื่อแทนโลกที่รับรู้จริงๆด้วยการสังเกตุของจิตใจที่มีสติสัมปชัญญะ ต้องมั่นคงและเป็นภววิสัยเชื่อมวัตถุที่รับรู้กับโลกเข้าด้วยกันด้วยบัญญัติ (ระหว่างสัญลักษณ์และผู้กำหนด)
มีบางหลักฐานที่เป็นบรรทัดฐานของความเป็นมนุษย์ หรือของความทันสมัย- modernism ซึ่งมันช่วยในการบอกกล่าว ตัดสินและอธิบายโครงสร้างสังคมและสถาบันได้อย่างแท้จริง รวมทั้งประชาธิปไตย กฏหมาย วิทยาศาสตร์ จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์
Modernity คือมูลฐานหนึ่งของระเบียบ (order) เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะและความมีเหตุ-ผล ระเบียบของการสร้างสรรค์ให้พ้นจากความหายนะ ข้อสันนิษฐานหนึ่งคือว่า การสร้างสรรค์ที่มีเหตุ-ผล จะนำไปสู่การสร้างสรรค์ที่มีระเบียบมากกว่า สร้างสังคมให้มีระเบียบมากกว่า ให้ประโยชน์มากกว่า (มีเหตุ-ผลมากก็จะเป็นประโยชน์มาก) เพราะว่า -modernity จะนำไปสู่การเพิ่มระดับของระเบียบ เป็นสังคมทันสมัย เป็นเกราะป้องกัน "ความไร้ระเบียบ" ที่จะทำลายความเป็นระเบียบ ด้วยเหตุนี้ สังคมทันสมัยจึงขึ้นอยู่กับการสร้างเสริมอย่างต่อเนื่องของสองขั้วระหว่าง "ระเบียบ" และ "ไร้ระเบียบ" เพื่อที่เขาจะรักษา "ระเบียบ" ให้เหนือกว่าอยู่เสมอ แต่การจะกระทำได้ดังนี้ เขาต้องมีสิ่งที่เป็นตัวแทนของความ "ไร้ระเบียบ" สังคมทันสมัยจึงต้องมีการสร้าง/เสริม ความ "ไร้ระเบียบ" ในสังคมตะวันตก ความไร้ระเบียบกลายเป็น "สิ่งอื่น" ที่กำหนดความสัมพันธ์กับสองขั้วตรงข้ามอื่นๆ ฉะนั้น บางสิ่งไม่ขาว ไม่ชาย ไม่แตกต่างทางเพศ ไม่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่เป็นเหตุ-ผล (ฯลฯ) กลายเป็นส่วนของความ "ไร้ระเบียบ" และต้องกำจัดออกไปเสียจากสังคมที่มีระเบียบ สำหรับสังคมที่ทันสมัยและมีเหตุ-ผล
วิถีทางต่างๆที่สังคมทันสมัยดำเนินการจำแนกตราประทับ "ระเบียบ" และ "ไร้ระเบียบ" คือจะต้องพยายามรักษาความสมดุลป์ Francois Lyotard (นักทฤษฎีเช่นเดียวกับ Sarup ซึ่งพรรณาในบทความ-postmodernism ของเขา) จัดความสมดุลป์ด้วยความคิดของ "โมกขบริสุทธิ์-รวมยอด-totality" หรือระบบรวมยอด-totalized system (ตรงนี้ควรนึกถึงความคิดของ Derrida's idea of "totality" เช่นเดียวกับ องค์รวมหรือความสัมบูรณ์ของกระบวนระบบ) การรวมยอด และความสมดุลป์ และระเบียบ Lyotard แย้งถึงการคงไว้ในสังคมทันสมัยผ่านขบวนการของ "การบรรยายโวหารที่กว้างขวาง-grand narratives" หรือ "สร้างโวหารที่ครอบงำ-master narratives," ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่บอกเล่าตัวเองถึงการปฏิบัติและความเชื่อ "การบรรยายโวหารที่กว้างขวาง" ในวัฒนธรรมอเมริกัน อาจเป็นเรื่องราวของประชาธิปไตย คือพุทธิปัญญา (อย่างมีเหตุ-ผล) ถือเป็นรูปแบบของรัฐบาล และระบอบประชาธิปไตยจะนำพาความผาสุขให้กับมนุษย์ทั้งมวล ทุกกระบวนระบบของความเชื่อและความคิดฝันมีการบรรยายโวหารที่กว้างขวาง ในทัศนะของ Lyotard ดังตัวอย่างเช่น ลัทธิมาร์ก โวหารที่กว้างขวาง คือความคิดที่ว่าลัทธิทุนนิยมจะพินาศด้วยตัวของมันเอง และสังคมแบบยูโทเปียจะอุบัติขึ้นแทน ท่านอาจคิดถึงโวหารที่กว้างขวางนี้ เป็นดังเช่นทฤษฎียิ่งใหญ่-meta-theory หรือความคิดฝันที่ยิ่งใหญ่-meta-ideology นั่นคือความคิดฝันที่อธิบายสู่ความคิดฝันอีกอันหนึ่ง (ดังเช่นลัทธิมาร์ก) เป็นเรื่องราวที่ถูกบอกกล่าวเพื่ออธิบายกระบวนระบบของความเชื่อที่ยังคงอยู่
Lyotard แย้งว่ารูปการทั้งหมดของสังคมทันสมัย รวมถึงวิทยาศาสตร์อันเป็นรูปแบบสำคัญของความรู้ ขึ้นอยู่กับโวหารที่กว้างขวาง Postmodernism จึงเป็นบทวิจารณ์ของโวหารที่กว้างขวาง ความเอาใจใส่ต่อโวหารทั้งหลายที่ใช้เป็นเหมือนหน้ากากปิดบังความขัดแย้งและความไร้สมดุลป์ ซึ่งฝังติดอยู่ในการจัดการและการปฏิบัติทางสังคม ในอีกนัย คือทุกความพยายามเพื่อสร้างสรรค์ "ระเบียบ" ต้องการสร้างจำนวนที่เท่าๆกันกับความ "ไร้ระเบียบ" อยู่เสมอ แต่โวหารที่กว้างขวางปิดบังการสร้างของการจำแนกเหล่านี้ โดยอธิบายว่า ความ "ไร้ระเบียบ" แท้จริงแล้ว คือหายนะ และความเลว และความมี "ระเบียบ" แท้จริงหรือความมีเหตุ-ผลและความดี Postmodernism ปฏิเสธโวหารที่กว้างขวางนี้ กลับชื่นชม "การบรรยายโวหารเล็กๆ-mini-narratives," คือเป็นเรื่องราวที่อธิบายการปฏิบัติขนาดย่อม เหตุการณ์ระดับท้องถิ่น แทนที่เป็นแนวคิดขนาดใหญ่ชนิดครอบจักรวาลเดิมๆทั้งหลาย Postmodern ในลักษณะของ "การบรรยายโวหารเล็กๆ" เป็นเช่นสถานการณ์ เป็นเช่นการเตรียมการ เป็นเช่นความไม่แน่นอน และเป็นการชั่วคราว เท่านั้น ไม่เรียกร้องความเป็นสากล ความจริง เหตุผล ความมั่นคง หรือเสถียรภาพใดๆเลย
บางรูปการของความคิดทางพุทธิปัญญา-ในเก้าข้อของข้าพเจ้า-คือความคิดเห็นที่ว่าภาษาคือความโปร่งใส คำ ถูกใช้เพื่อแทนความคิดและสรรพสิ่งทางวัตถุทั้งหลายเพื่อประโยชน์เท่านั้น สังคมทันสมัยขึ้นอยู่กับความคิดเห็นที่ผู้กำหนดชี้ไปที่สิ่งที่บัญญัติ และความเป็นจริงอาศัยกันกับสิ่งที่กำหนด ใน (สังคม)- postmodernism มีเพียงผู้กำหนดเท่านั้น ความคิดของเรื่องเสถียรภาพ หรือความจริงถาวรไม่ปรากฏในสิ่งที่กำหนดซึ่งชี้โดยผู้กำหนด สังคมหลังทันสมัยมีเพียงผิวเปลือก ปราศจากความลึก แค่เพียงผู้กำหนด ไม่ใช่สิ่งที่กำหนด
กล่าวอีกนัย ตามทัศนะของ Jean Baudrillard คือ ในสังคมหลังทันสมัย ไม่มีต้นแบบ มีเพียงสำเนา-หรืออะไรที่เขาเรียกว่า "จินตภาพของบางสิ่ง-simulacra" ท่านอาจเปรียบกันได้เช่น ภาพวาด หรือปฏิมากรรม ที่มีงานต้นฉบับ (เช่นงานของ Van Gogh เป็นต้น) ซึ่งอาจมีสำเนาเป็นพันๆ แต่ต้นฉบับมีเพียงหนึ่งที่มีคุณค่าสูง (โดยเฉพาะค่าของเงิน) ซึ่งตรงข้ามสิ้นเชิงกับงานที่ถูกบันทึกด้วยซีดีหรือการบันทึกเพลง ซึ่งไม่มี "ต้นฉบับ" ของมันดังเช่นงานภาพเขียน-ไม่มีการบันทึกไว้แขวนบนผนัง หรือเก็บไว้ในกรุ มีแต่เพียงแค่สำเนาเป็นร้อยๆที่เหมือนกันทั้งหมด และขายในราคา (โดยประมาณ) เดียวๆกัน อีกความหมายของ "simulacrum" Baudrillard หมายถึงแนวคิดของความเหมือนความจริง ความจริงที่เกิดจากการจำลอง ซึ่งไม่มีต้นฉบับ เช่นตามหลักฐานเฉพาะของเกมจำลองทางคอมพิวเตอร์-ในความคิดของ Sim City, Sim Ant ฯลฯ
ท้ายสุด -postmodernism เกี่ยวข้องกับคำถามการจัดการความรู้ ในสังคมทันสมัยที่ว่า ความรู้เทียบเท่าวิทยาศาสตร์ และตรงข้ามกับการบรรยายโวหาร วิทยาศาตร์เป็นความรู้ที่ดี และการบรรยายโวหารเป็นความรู้ที่เลว โบราณ และไม่มีเหตุ-ผล (อันรวมถึง ผู้หญิง เด็กๆ คนพื้นเมือง และคนป่วยทางจิต) อย่างไรก็ตาม ความรู้เป็นสิ่งดีในตัวมันเอง คนได้รับความรู้ผ่านทางการศึกษา เพื่อการเรียนรู้โดยทั่วไป จึงจะกลายเป็นผู้มีความรู้ นี่คือความคิดฝันของการศึกษาศิลปศาสตร์แบบเสรีนิยม ในสังคมหลังทันสมัย ความรู้ถือเป็นประโยชน์-ท่านเรียนสิ่งต่าง โดยอาจไม่รู้ แต่ใช้ประโยชน์มันได้ ตามที่ Sarup ชี้ไว้ (หน้า138) ว่า นโยบายการศึกษาปัจจุบันเน้นทักษะและการฝึกฝน มากกว่าความนึกคิดในแง่การศึกษาความเป็นมนุษย์ทั่วไป จึงมีคำกล่าวถามเฉพาะและรุนแรงในวิชาภาษาอังกฤษที่ว่า " ท่านจะทำอะไรกับปริญญาของท่าน?"
ไม่เพียงแต่ความรู้ในสังคมหลังทันสมัย ที่บ่งคุณลักษณะในประโยชน์ของมันเท่านั้น แต่ความรู้ยังเผยแพร่ เก็บรวมไว้ และแยกแยะความแตกต่างในสังคมหลังทันสมัยมากกว่าในสังคมทันสมัย โดยเฉพาะ การเกิดขึ้นของเท็คโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้ปฏิวัติวิธีการผลิตความรู้ การเผยแพร่ และการบริโภคในสังคมของเรา (จริงทีเดียวที่บางคนแย้งว่า-postmodernism คือการพรรณาที่ดีที่สุด และมีปฏิสัมพันธ์ จากการอุบัติขึ้นของเท็คโนโลยีคอมพิวเตอร์ เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1960s ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของชีวิตทุกรูปแบบในสังคม) ในสังคมหลังทันสมัย บางสิ่งไม่สามารถแปลความหมายไปสู่รูปแบบที่แสดงหรือเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์-ดังเช่น บางสิ่งไม่สามารถกำหนดเป็นตัวเลข-ที่กำหนดเป็นความรู้ได้ สำหรับกระบวนทัศน์นี้ สิ่งตรงข้ามของ "ความรู้" ไม่ใช่ "ความโง่เขลา" เหมือนเช่นในกระบวนทัศน์ของความเป็นมนุษย์/ความทันสมัย แต่เป็น "การประกาศโด่งดัง-noise" หรือ บางสิ่งซึ่งเทียบคุณภาพไม่ได้กับชนิดของความรู้ คือ "การประกาศโด่งดัง" เป็นบางอย่างซึ่งรับรองไม่ได้ เช่นเดียวกับบางสิ่งภายในระบบนี้
Lyotard กล่าว (ในสิ่งที่ Sarup ใช้เวลามากในการอธิบาย) ว่า คำถามที่สำคัญของสังคมหลังทันสมัย คือ ใคร?คือผู้ตัดสินว่าอะไรคือความรู้ (และอะไรคือ "การประกาศโด่งดัง-noise") และใคร?รู้ว่าอะไรคือความต้องการที่จะตัดสินว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับความรู้นี้จะไม่เกี่ยวข้องกับคุณวุฒิ ของความสัมพันธ์เก่า ของความทันสมัย/ความเป็นมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงความรู้คือความจริง (คุณภาพทางเทคนิคของมัน) หรือความดี หรือความยุติธรรม (คุณภาพทางจริยธรรมของมัน) หรือความงาม (คุณภาพทางสุนทรีย์ของมัน) ทดแทนการโต้แย้งของ Lyotard ในแง่ความรู้ที่ตามกระบวนทัศน์ของเกมทางภาษา ที่เริ่มไว้โดย Wittgenstein ซึ่งข้าพเจ้าจะไม่ลงในรายละเอียดในความคิดของเขาเกี่ยวกับเกมทางภาษา เพราะ Sarup เสนอการอธิบายที่ดีในแนวคิดนี้ไว้ในบทความของเขา ในสิ่งที่ท่านทั้งหลายอาจสนใจ
มีคำถามมากมายที่จะถามเกี่ยวกับ- postmodernism หนึ่งในความสำคัญคือ คำถามที่เกี่ยวกับความเกี่ยวข้องทางการเมือง-หรือง่ายๆ คือกระแสความคิดนำไปสู่ความเปราะบาง การเตรียมการ การปฏิบัติ และความไม่มั่นคงของบางอย่างที่ดี บางอย่างที่เลวของมัน ? ที่มีคำตอบที่หลากหลายเกี่ยวกับคำถามนี้ ในสังคมร่วมสมัยของเราทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาที่จะกลับไปสู่ยุคก่อน-หลังทันสมัย (ความทันสมัย/ความเป็นมนุษย์/ความคิดของยุคพุทธิปัญญา) เอนเอียงที่จะร่วมกันกับการเมือง การศาสนา และกับกลุ่มปรัชญาแบบอนุรักษ์นิยม อันที่จริง ข้อตกลงหนึ่งของ-postmodernism ดูเหมือนว่าเกิดจากศาสนาลัทธิต้นแบบ-religious fundamentalism ในรูปแบบการต่อต้าน การตั้งคำถามของ "การบรรยาโวหารกว้างขวาง" ของความจริงทางศาสนา สิ่งนี้บางที่เห็นได้ชัดแจ้ง (สำหรับพวกเราใน US, บางที) ในศาสนามุสลิมลัทธิต้นแบบในประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งประกาศห้ามหนังสือของยุคหลังทันสมัย-แบบของ Salman Rushdie's The Satanic Verses --เพราะเขาได้รื้อทิ้งโครงสร้างเช่นการบรรยายโวหารแบบกว้างขวางเดิม
การร่วมกันระหว่างการปฏิเสธ-postmodernism กับลัทธิอนุรักษ์นิยม-conservatism หรือลัทธิต้นแบบ-fundamentalism อาจอธิบายในส่วนที่ทำไม-postmodern ประกาศความเปราะบางและเพิ่มความเอนเอียงไปทางความเสรีและรุนแรงมากขึ้น นั่นคือ ทำไม นักทฤษฎีเพศหญิงสนใจ-postmodernism ดังเช่นที่ Sarup, Flax, และ Butler ทั้งหมดชี้ให้ปรากฏ
ในอีกความเห็น-postmodernism ดูเหมือนเสนอทางเลือกเพื่อเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมของโลก ที่ซึ่งบรรษัทข้ามชาติ และรูปแบบของความรู้ ถูกเสนอให้เป็นพลังขับเคลื่อนที่ไกลกว่าพลังของปัจเจกชนที่จะควบคุมได้ ทางเลือกเหล่านี้ เน้นไปที่ความคิดของทุกการกระทำ (หรือการดิ้นรนทางสังคม) เน้นที่ความจำเป็นระดับท้องถิ่น ข้อจำกัด และการมีส่วนร่วม-แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยการล้มเลิกการบรรยายโวหารแบบกว้างขวาง (เหมือนความเสรีของชนชั้นแรงงานทุกชนชั้น) และกลับเน้นที่เป้าหมายในระดับท้องถิ่นโดยเฉพาะ (เช่น การปรับปรุงศูนย์ดูแลเด็กอ่อนของมารดาในชุมชนของเรา) การเมืองหลังทันสมัย เสนอวิถีทางทฤษฎีสถานการณ์ท้องถิ่นที่ลื่นไหลและคาดเดาไม่ได้ ผ่านการสนับสนุนแนวสากลทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ คำขวัญสำหรับนักการเมืองหลังทันสมัยอาจเป็นว่า "คิดแบบสากล แต่กระทำแบบท้องถิ่น-think globally, act locally"--และไม่ควรกังวลกับโครงการใหญ่หรือแผนแม่บทใดๆเลย





อ้างอิงจากข้อเขียนและสมบัติของ Dr. Mary Klages, Associate Professor, English Department, University of Colorado, Boulder. ยินดีให้ทุกท่านอ้างคำกล่าวในบทความนี้ หรือเชื่อมโยงกับเว็บของท่าน กับด้วยสำนึกในการเผยแพร่ที่สมควรและเหมาะสม สำหรับข้อมูลที่อ้างไว้ในบทความนี้ สามารถค้นหาได้ที่ English 2010 Home Page






J-pop และ K-pop ในทรรศนะของผู้เขียน ผมคิดว่าเป็นการตามกระแสดนตรีและแฟชั่นของทางฝั่งตะวันตก เช่น American Culture และ United Kingdom Culture ซึ่งจุดแข็งของวัฒนธรรมอเมริกันก็คือ คาวบอย ยีนส์ ดนตรีร็อคแอนด์โรล ดนตรีคันทรี่ แจ๊ส อาร์แอนด์บี และฮิปฮ็อป ซึ่งต้นกำเนิดมาจากทางอเมริกัน ส่วนด้านวัฒนธรรมทางฝั่งอังกฤษ จะเป็นดนตรีป็อปร็อค พั้งค์ โพรเกรสซีบ หรืออัลเทอร์เนทีฟร็อค ส่วนการแต่งกายของทางอังกฤษที่โด่งดังมากก็คือยุคฮิปปี้ บุปผาชล การแต่งตัวแนวพั้งค์ ทำผมสี ผมตั้ง การแต่งหน้า กางเกงทรงเดฟ มอส รองเท้าส้นตึก ถุงน่องยาว ต่างหู นาฬิกา หมวก เข็มขัด สร้อยคอ การทาเล็บ การเพ้นท์สีบนตัว หรือที่เรียกว่า tattoo การใส่ขนตาเทียม การกัดสีผม ย้อมสีผม แฟชั่นเสื้อเกาะอก สายเดี่ยว ล้วนมีที่มาจากฝั่งยุโรปเป็นส่วนใหญ่


J-POP ต้องไม่ลืมว่าญี่ปุ่นเป็นชาติแรกในเอเชียที่กลายเป็นชาติที่พัฒนาแล้ว เหมือนพวกยุโรป อเมริกา ความที่เป็นประเทศที่มีรากทางวัฒนธรรมแข็งแกร่ง ประกอบกับเป็นเมืองขึ้นของอเมริการมาก่อน ได้ทำให้ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและโดยอ้อมจากสหรัฐมาเต็มๆ ในช่วงยุคที่ญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจ เป็นชาติอุตสาหกรรมใหญ่ คนรุ่นใหม่ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอเมริกาเข้ามาอย่างเต็มที่ แต่จุดเด่นก็คือญี่ปุ่นนำมาประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมของตัวเอง ซึ่งเป็นชาติที่ละเอียดอ่อน ประณีตในทุกส่วน สิ่งใดที่รับเข้ามาก็นำมาประยุกต์ต่อยอดเป็นการสร้างเอกลักษณ์และคาแร็กเตอร์ของตัวเอง แฟชั่นแนวคาวบอยหรือใส่ยีนส์นั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมนักในญี่ปุ่น ผิดกับแนวพั้งค์ร็อค ซึ่งรับมาเต็มๆ เพราะมีสีสันสอดคล้องกับจริตของคนญี่ปุ่น จะเห็นว่าดนตรีเจร็อคจะมีกลิ่นไอของพั้งค์มากที่สุด และจัดจ้านกว่าต้นฉบับเสียอีก คือเว่อร์ได้ตามที่ใจต้องการ จุดนี้ญี่ปุ่นนำมาต่อยอดและสร้างเป็นคาแร็กเตอร์ได้สำเร็จ จนดูว่าถ้าจะดูพั้งค์ให้ไปดูที่ญี่ปุ่นได้ไม่แพ้ใครในโลก ส่วนเจป็อปนำเอาส่วนของแฟชั่นยุค 60’s-80’s มาประยุกต์ให้เข้ากับจริตของญี่ปุ่นได้อย่างเต็มที่ และเพิ่มสีสันที่ฉูดฉาดลงไป ไม่มัวหม่นเหมือนพวกทางฝั่งยุโรปหรืออเมริกา จนบางครั้งจะพบเห็นว่าวัยรุ่นญี่ปุ่นแต่งตัวราวกับตุ๊กตาบาร์บี้หรือตุ๊กตาบลายด์ แต่นั่นแหละคือเอกลักษณ์ความเป็นเจป็อป

K-POP มาทีหลังแต่ดังกว่า ต้องไม่ลืมว่าเกาหลีก็คือลูกไล่หรือเมืองขึ้นของญี่ปุ่นมาก่อน การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมหรือเลียนแบบจะตามมาใกล้เคียงกัน จนบางครั้งแยกแยะไม่ออกว่า อันไหนบอยแบนด์หรือเกิร์ลกรุ๊ปของเกาหลีหรือของญี่ปุ่นกันแน่ แต่ตามทรรศนะของผู้เขียนเห็นว่า เกาหลีนั้นลอกวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาทุกกระเบียดนิ้วก็จริง แต่นำมาปรับให้เข้ากับตนเอง โดยเน้นความเรียบง่ายมากกว่า ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เยิ่นเย้อ ดูดิบและแข็งแรงกว่า เพราะถ้าจะสู้ด้านความละเอียดประณีตแล้วสู้ญี่ปุ่นเขาไม่ได้ ดูอย่างอาหารสิ ของญี่ปุ่นพิถีพิถันและน่ารับประทาน รสชาดก็ดีกว่าอาหารเกาหลี จนในหนังเรื่อง กวนมึนโฮ เอาไปแซวไว้ในเรื่องตอนนึง ที่พระเอกกับนางเอกนั่งกินอาหารในร้านอาหารเกาหลี แล้วเรียกอาเฮียเจ้าของร้านมา แล้วด่าให้ฟังแต่แสร้งทำสีหน้าเป็นว่าชมว่าอาหารอร่อย แต่แท้ที่จริงก็คือสุนัขไม่รับประทาน ทั้งทางด้านดนตรีและการแต่งกาย ของทางเกาหลีจะดูว่าฟังง่ายเรียบเก๋กว่า ไม่สีสันจัดจ้านเหมือนทางญี่ปุ่น ส่วนทางด้านซีรี่ย์แล้ว ต้องบอกเลยว่าของทางญี่ปุ่นกินขาด วงการภาพยนตร์และซี่รี่ย์นั้นไปไกลกว่าเกาหลีมาก ทั้งบทและวิธีการเล่าเรื่อง โปรดักชั่นนั้นพัฒนาไปถึงขั้นฮอลลีวู้ดตั้งนานแล้ว ส่วนทางด้านเทคโนโลยีนั้น ดูเหมือนว่าเกาหลีจะพัฒนามาได้เทียบเคียงหรือบางอย่างดูว่าแซงหน้าไป แต่ต้องบอกเลยว่าวิวัฒนการและการวิจัยพัฒนานั้น ญี่ปุ่นก้าวหน้าไปไกลโข ทั้งวิธีคิด อุดมคติ นั้นญี่ปุ่นเหนือกว่าแน่ๆ แต่มาอ่อนด้อยกว่าเกาหลีในยุคหลังเนื่องจากคนญีปุ่นรุ่นใหม่ขาดจินตนาการ และเดินตามความสำเร็จของคนรุ่นก่อนมากเกินไป ไม่พยายามสร้างชาติด้วยตัวของเขาเอง เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตช้าหรือไม่เติบโตเลยเป็นเวลานาน ภาวะเงินฝืดมีมายาวนานร่วมทศวรรษ ความหื่นกระหายและทะเยอทะยานในความสำเร็จนั้นมีอยู่น้อยกว่าคนเกาหลี และคนเกาหลีต้องการเอาชนะคนญีปุ่นให้ได้ในทุกเรื่อง อันนี้คล้ายๆ คนไทยกับเวียดนาม หรือคนไทยกับมาเลเซียนั่นแหละ พัฒนาการของเกาหลีจึงพุ่งเอาๆ แต่ญีปุ่นไปแบบเนิบๆ เหมือนพี่ไทยเรานั่นเอง

T-POP มีอยู่จริงหรือเป็นไปได้แค่ไหนที่จะมีวัฒนธรรมแบบ ThaiPop ในทรรศนะของผู้เขียนเห็นว่ามีอยู่แล้วจริงตามธรรมชาติของมัน อย่าลืมว่าไทยเราก็เป็นประเทศที่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งชาตินึงของเอเชียเลยก็ว่าได้ ไม่แพ้จีน ญี่ปุ่น อินเดีย คือถ้าจะนับแล้วในเอเชียเราก็เป็นที่ 4 นั่นแหละรองมาจาก 3 ประเทศเหล่านั้น ในแง่จุดแข็งทางวัฒนธรรมแต่สิ่งที่เราไม่มีเหมือน 3 ชาตินั้นก็คือ เราไม่เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมเราเอง ไม่เชิดชู ไม่นำศิลปวัฒนธรรมของเราไปต่อยอดหรือวิจัยหรือนำไปประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมร่วมสมัยเท่าที่ควร สิ่งที่เห็นอยู่จึงเป็นการตามก้นหรือรับเอาวัฒนธรรมทั้งจากฝั่งตะวันตก และจากชาติมหาอำนาจในเอเชียมาทั้งดุ้น คือนอกจากรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาแบบทั้งดุ้นในยุคก่อนแล้ว ในยุคนี้ คนรุ่นใหม่ยังรับเอาวัฒนธรรมเกาหลีมาแบบยกกระบิ ราวกับว่าเราเป็นเมืองขึ้นของเขามาตั้งแต่ชาติปางก่อน เราได้เห็นวัยรุ่นไทยไปแห่แหนตามกรี๊ดศิลปินจากเกาหลี ราวกับพ่อตาตายแม่ยายป่วย จนเป็นภาพที่ชินตามากในช่วง 4-5 ปีมานี้ จนไม่เห็นทีท่าว่าจะลดดีกรีลงมาซักเท่าไหร่ ผู้เขียนเห็นแล้วก็เศร้าใจยิ่งนัก ทั้งที่เรามีของดีอยู่แล้วแต่ไม่ส่งเสริมให้เทียบเท่าหรือออกไปบุกตลาดโลกบ้าง อาทิเช่น วงการภาพยนตร์กับละครไทยนั้นผมไม่ค่อยเป็นห่วงนัก เพราะมีหัวหอกอย่าง GTHและเอ็กซ์แซ็กท์เขาได้ทำหน้าที่นั้นไว้อย่างดีแล้ว แต่ที่เป็นห่วงนั้นคือวงการเพลงมากกว่า ที่กำลังจะถึงทางตันกันหรือไม่

ศิลปินอย่างวงฟองน้ำ และวงบอยไทย ควรมีมากกว่านี้ โดยให้มีการประกวดประชันกันในระดับโรงเรียนมัธยมหรือมหาวิทยาลัย ไม่ให้ดนตรีไทยต้องสูญพันธ์ไปในยุคนี้เลย

ศิลปินที่เป็นวงที่มีลักษณะของความเป็น T-pop อย่างโดดเด่น ผมเห็นก็มี วงโปงลางสะออน วงพี่ก็อต จักรพันธ์ อาบครบุรี

และก็วงลูกทุ่งอีกหลายวง รวมถึงพี่เบิร์ด ในชุดแฟนจ๋าด้วย เฉพาะชุดนั้นนะ ชุดอื่นๆ ที่ตามมาไม่ค่อยมีความเป็น T-pop เท่าไหร่ ดูเหมือนพี่เบิร์ดจะหาเจอแล้วนะ แต่ก็ไม่นำเอามาใช้มากซักเท่าไหร่ และค่ายเพลงแกรมมี่เองเคยมีวงอย่างนกแล แต่ก็ไม่พยายามสร้างฐานต่อยอดให้ยืนยาวต่อมา จนกระแสมีเป็นพักๆ ช่วงๆ แล้วก็หายไป ซึ่งก็น่าเสียดายมาก

วงโปงลางสะออน มีในจุดนี้อย่างล้นเหลือ แต่ดูเหมือนเขาไม่สร้างเป็นมาตรฐานเอาไว้ ให้คนอื่นได้ตามมา ทำเสมือนเป็นคาแรกเตอร์ส่วนตัว อาการแบบรั่วๆ ของลาล่า ลูลู่ หรือแสดงไปด้วยตลกไปด้วย มันเป็นคาแรกเตอร์ส่วนตัว ดีแล้วแต่อย่ามากไป เพราะสุดท้ายแล้วคุณจะเป็นอะไรกันแน่ จะเป็นตลกหรือศิลปินนักร้อง เพราะถ้าจับมารวมกันเป็นจับฉ่าย สุดท้ายแล้วระบบหรือความเป็นมืออาชีพอยู่ที่ตรงไหน มาตรฐานตรงนี้จึงไม่เกิดขึ้นให้คนอื่นเดินตามได้

ส่วนพี่ก็อตกับพี่เบิร์ด ก็เป็นเอนเตอร์เทนเนอร์นักร้องตัวจริง หยิบจับเอาศิลปะ วัฒนธรรมไทยมาใช้ในงานอย่างสม่ำเสมอ แต่พี่ทำไมไม่สร้างเป็นมาตรฐานเอาไว้ ให้คนอื่นเห็นและเดินตาม ส่งเสริมศิลปินรุ่นใหม่ๆ เดินตามมาบ้างสิครับ เพราะถ้าเบอร์ 1 แถวหน้ายังไม่ทำ ยังต้องการเป็นสากลอยู่ เด็กรุ่นใหม่เขาก็ไม่มีตัวแบบที่จะเทียบเคียงหรือพัฒนาตาม

ยังมีพวกวงแบบฉาบฉวย ที่นำเอาวัฒนธรรมที่ดีของเพลงลูกทุ่ง เพลงหมอลำ มาทำลายซะป่นปี้ก็มี อย่างเช่น สาวมาดเมกะแด๊นซ์ อันนี้เป็นตัวอย่างที่ผมเห็นว่า ไม่ใช่ T-pop และก็ทำลายจุดแข็งด้านดีของ T-pop เสียด้วย ดูภาพแบบผิวเผินแล้วเหมือนกับเป็นวงดนตรีลูกทุ่งแบบประยุกต์ทันสมัย ตามกระแสหมอลำซิ่ง แต่ขอโทษทีผมว่าดูแล้วเหมือนโคโยตี้ชั้นต่ำมากกว่า ดูไร้รสนิยม ทั้งเสียงร้อง ดนตรี และการแสดงออก ไม่มีส่วนใดที่เรียกได้ว่าเป็นศิลปะได้เลย ดูหยาบ และฉาบฉวย อย่างมาก ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมคนไทยส่วนใหญ่ชอบ ส่วนดีของไทยมีอยู่เยอะแต่ยังไม่ถูกนำมาขัดสีฉวีวรรณ หรือประยุกต์ต่อยอดในทางที่สร้างสรรค์ ที่มีทำอยู่บ้างแล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นกระแส ก็อย่างเช่น รายการคุณพระช่วย หุ่นละครเล็กโจหลุยส์ การแสดงละครเวทีของภัทราวดีเธียเตอร์ น้องๆ หลายๆ คนที่เคยประกวดในรายการ LG entertainer น่าจะได้มีการสานต่อโครงการและสร้างเป็นศิลปินไทยที่มีคาแรกเตอร์แบบไทยไปสู่เวทีโลกบ้าง ทั้งหมดนี้ นี่ไงเรียกว่า T-pop แต่มันมีจำนวนน้อยและไม่ได้นำมาแพ็คกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่สร้างสรรค์ ส่งเสริม ต่อยอด ให้มีปริมาณที่มากพอ จึงไม่เกิดเป็นกระแสที่จะกล่าวถึง และไม่ใหญ่พอจนเกิดเป็นองคาพยพ ในระดับฐานใหญ่หรือ mass จนสามารถเรียกได้ว่าเป็น T-pop ไม่ขอเรียกร้องผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เกี่ยวข้องหรอก เพราะคงไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก นอกจากคนในวงการศิลปินด้วยกันเองนั่นแหละท่านต้องสร้างกระแสนี้ร่วมกัน เพื่อศักดิ์ศรีของประเทศและของวงการของตัวท่านเอง เพราะยังไงเสียผู้บริโภคเขาเสพงานได้หมด เขามีทางเลือกมากมาย อันไหนดีพอเขาก็ซื้อ อันไหนดีไม่ถึง ก็คงไม่มีใครอยากเสพงาน สุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับการนำเสนอ คุณภาพของงาน รสนิยมและความพอใจของผู้นำเสนอและผู้เสพที่จะเป็นคำตอบอยู่แล้วครับ